การตั้งเมืองหลวงที่กรุงธนบุรีสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงคำนึงถึงปัจจัยใดมากที่สุด

การตั้งเมืองหลวงที่กรุงธนบุรีสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงคำนึงถึงปัจจัยใดมากที่สุด

การกอบกู้เอกราชของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชนั้นเป็นอีกหนึ่งเหตุการณ์สำคัญของประวัติศาสตร์ชาติไทยที่น่ายกย่องชื่นชม เพราะท่านเป็นวีรบุรุษที่ทำให้ประเทศชาติมีถึงทุกวันนี้ได้
หลังจากที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงขับไล่พวกพม่าออกไปจากกรุงศรีอยุธยาแล้ว พระองค์จึงทรงย้ายราชธานีจากกรุงศรีอยุธยาไปยังกรุงธนบุรี ซึ่งเคยเป็นเมืองหน้าด่านมาก่อน และนี่คือ 12 เหตุผลที่ทำไมกรุงธนบุรีจึงเหมาะที่จะเป็นราชธานีหรือเมืองหลวงแห่งใหม่แทนที่จะเป็นกรุงศรีอยุธยาตามเคย

1. หลังจากที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชและกองทัพ ได้กอบกู้เอกราชคืนมาหลังสงครามเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 กรุงศรีอยุธยาถูกทำลายจนยากแก่การบูรณะให้ดีดังเดิม

2. เนื่องจากกรุงศรีอยุธยาเกิดจากการรวมตัวของแคว้นละโว้กับแคว้นสุพรรณภูมิ จึงทำให้มีบริเวณที่กว้างขวางมากเกินกว่าจำนวนกำลังกองทัพที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชมีอยู่

3. ก่อนจะเกิดสงครามเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 ไทยได้ทำสงครามกับพม่าถึง 6 ครั้ง ทำให้ข้าศึกรู้ลู่ทางภูมิประเทศและจุดอ่อนของกรุงศรีอยุธยาเป็นอย่างดี ทำให้เสียเปรียบและยากในการป้องกันพระนคร

4. ถึงแม้กรุงศรีอยุธยาจะตั้งอยู่บนที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา และยังมีแม่น้ำอื่นๆอีกมากมายไหลผ่าน แต่อยู่ห่างจากทะเลมากเกินไป ไม่สะดวกต่อการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศ

5. กรุงธนบุรีเป็นเมืองขนาดเล็ก พอเหมาะกับกำลังพลของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชที่จะป้องกันรักษาได้

6. หากเกิดกรณีที่ข้าศึกมีกำลังที่มากกว่าจะรักษาราชธานีไว้ได้ ก็อาจย้ายไปตั้งมั่นที่เมืองจันทบุรีที่มั่นคงกว่าโดยทางเรือ เพื่อรวบรวมกำลังผู้คน อาวุธ เสบียงอาหาร

7. กรุงธนบุรีมีป้อมปราการที่สร้างไว้ตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช สามารถใช้ป้องกันข้าศึกได้

8. กรุงธนบุรีมีทำเลที่ตั้งเหมือนกรุงศรีอยุธยา คือ ตั้งอยู่บนเกาะ และยังมีสภาพเป็นที่ลุ่ม มีบึงน้อย บึงใหญ่อยู่รายล้อมทั่วไป ทำให้ข้าศึกไม่สามารถโอบล้อมพระนครได้โดยง่าย

9. กรุงธนบุรีอยู่ใกล้ปากน้ำ สะดวกแก่การค้าขายกับชาวต่างประเทศ เรือสินค้าต่างๆ สามารถเข้าจอดเทียบท่าได้โดยไม่ต้องขนถ่ายสินค้าลงเรือเล็กอย่างสมัยอยุธยา ทำให้ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย

10. กรุงธนบุรีเป็นเมืองเก่า มีวัดต่างๆ จำนวนมากที่สร้างไว้ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ทำให้ไม่จำเป็นต้องสร้างวัดขึ้นมาใหม่ให้สิ้นเปลือง เพียงแต่บูรณปฏิสังขรณ์บ้างเท่านั้น

11. กรุงธนบุรีเป็นแหล่งเกษตรกรรมที่สำคัญมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา โดยสภาพของพื้นที่เป็นที่ลุ่ม มีดินดี มีคลองและแม่น้ำหลายสาย มีน้ำใช้ตลอดปี เหมาะแก่การทำเกษตร ทำนา ปลูกข้าว ทำสวนผักและสวนผลไม้

12. กรุงธนบุรีมีที่ตั้งที่ไม่ห่างจากกรุงศรีอยุธยามากนัก จึงทำให้สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชมีพระราชอำนาจปกครองกรุงศรีอยุธยาแล้ว และยังสามารถป้องกันกรุงศรีอยุธยาจากชุมนุมอื่นๆ และกองทัพพม่าได้ง่าย

“ทุกวันนี้ศึกไกลยังไม่ห่วง แต่หวั่นทรวงศึกใกล้ไล่ข่มเหง ถ้าคนไทยหันมาฆ่ากันเอง จะร้องเพลงชาติไทยให้ใครฟัง”

ที่มา : รศ. ดร.ไพฑูรย์ มีกุศล และคณะ, หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน ประวัติศาสตร์ ม.2

การตั้งเมืองหลวงที่กรุงธนบุรีสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงคำนึงถึงปัจจัยใดมากที่สุด

การสถาปนากรุงธนบุรี ภายหลังการสูญเสียกรุงศรีอยุธยา แก่พม่าแล้ว บ้านเมืองอยู่ในสภาพระส่ำระสาย ขาดพระเจ้าแผ่นดินปกครอง ประชาชนพากันหลบหนีไปอยู่ตามป่า และหัวเมืองห่างไกล  อย่างไรก็ตาม การเสียกรุงครั้งที่ 2  นี้ยังมีหัวเมืองอีกหลายแห่ง ที่รอดพ้นจากการทำลายของพม่า จึงได้มีผู้นำคนไทยตั้งตัวเป็นเจ้าชุมนุมขึ้น  เพื่อรวบรวมกำลังเข้ากอบกู้อิสรภาพต่อไป

ชุมนุมคนไทยทั้ง  5 ชุมนุม ได้แก่

1.ชุมนุมเจ้าพิมาย

2.ชุมนุมเจ้าพระฝาง

3.ชุมนุมเจ้าพระยาพิษณุโลก

4.ชุมนุมเจ้านครศรีธรรมราช

5.ชุมนุมเจ้าตาก  หรือพระยาตาก (สิน)  ซึ่งสามารถกอบกู้เอกราชกลับคืนมาได้  ภายในปีเดียวกันนั้นโดยใช้เวลาเพียง 7  เดือน

พระราชประวัติพระเจ้าตากสินมหาราช  และการกอบกู้อิสรภาพ พระเจ้าตากสินมหาราช มีพระนามเดิมว่า สิน มีชาติกำเนิดเป็นสามัญชน บิดาชื่อขุนพิพัฒน์ (ไหฮอง-เชื้อชาติจีน) มารดาชื่อนางนกเอี้ยง ได้รับการศึกษาอบ รมจนได้้รับราชการเป็นขุนนางในตำแหน่ง เจ้าเมืองตาก พระยาตาก มีฝีมือในการรบเข้มแข็งจึงถูกเกณฑ์มาช่วยรักษากรุงศรีอยุธยา แต่เกิดความท้อใจจึงนำพรรคพวกประมาณ 500 คน ตีฝ่ากองทัพพม่าออกไป พระยาตากได้รวบรวมหัวเมืองทะเลตะวันออก แล้วตั้งที่มั่นที่เมืองจันทบุรี เพราะเป็นเมืองที่อุดมสมบูรณ์ด้วยข้าวปลา อาหาร เมื่อต่อเรือและรวบรวมผู้คนได้พร้อมแล้ว พระยาตากจึงได้เคลื่อนทัพเรือ มุ่งเข้าตีกองทัพพม่า ที่ค่ายโพธิ์สามต้น  สุกี้พระนายกองได้ต่อสู้จนตายในที่รบ

หลังจากกอบกู้เอกราชได้แล้ว  เจ้านายและข้าราชการ ได้พร้อมใจกันอัญเชิญให้พระยาตาก ขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดิน  ทรงพระนามว่า  สมเด็จพระรามาธิบดีที่  4  แต่ประชาชนทั่วไปนิยมเรียกว่า  พระเจ้าตากสิน  หรือพระเจ้ากรุงธนบุรี หลังจากสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชสามารถกู้เอกราชคืนมาจากพม่าแล้ว สภาพบ้านเมืองของกรุงศรีอยุธยาทุดโทรมมาก ไม่เหมาะสมที่จะใช้เป็นเมืองหลวงอีกต่อไป เพราะ

1. กรุงศรีอยุธยาถูกทำลายชำรุดทรุดโทรมมาก ยากแก่การบูรณะให้ดีดังเดิมได้

2. กรุงศรีอยุธยามีบริเวณกว้างขวางมาก เกินกว่ากำลังของพระองค์ที่มีอยู่ เพราะผู้คนอาศัยอยู่ตามเมืองน้อย ส่วนมากหลบหนีพม่าไปอยู่ตามป่า จึงยากแก่การรักษาบ้านเมืองได้สะดวกและปลอดภัย

3. ข้าศึกโดยเฉพาะพม่ารู้ลู่ทางภูมิประเทศและจุดอ่อนของกรุงศรีอยุธยาเป็นอย่างดี ทำให้ไทยเสียเปรียบในด้านการรบ

4. ที่ตั้งของกรุงศรีอยุธยาเป็นอันตรายทั้งทางบกและทางน้ำ ข้าศึกสามารถโจมตีได้สะดวก

5. กรุงศรีอยุธยาตั้งอยู่ห่างจากปากแม่น้ำมากเกินไป ทำให้ไม่สะดวกในการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศ ซึ่งนับวันจะเจริญขึ้นเรื่อยๆ

ดังนั้นสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช จึงทรงตัดสินใจเลือกเอากรุงธนบุรีเป็นราชธานีด้วยสาเหตุสำคัญต่อไปนี้

1. กรุงธนบุรีเป็นเมืองขนาดเล็ก เหมาะสมกับกำลังป้องกันทั้งทางบกและทางน้ำ

2. กรุงธนบุรีตั้งอยู่ปากแม่น้ำเจ้าพระยา สะดวกในการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศ

3. สะดวกในการควบคุมการลำเลียงอาวุธและเสบียงต่างๆ ไปตามหัวเมืองหรือจากหัวเมืองเข้ามาช่วย เมื่อเกิดศึกสงคราม

4. ถ้าหากข้าศึกยกกำลังมามากเกินกว่ากำลังของทางกรุงธนบุรีจะต้านทานได้ก็สามารถย้ายไปตั้งมั่นที่จันทบุรีได้ โดยอาศัยทางเรือได้อย่างปลอดภัย

5.กรุงธนบุรีมีป้อมปราการอยู่ทั้งสองฟากแม่น้ำ ที่สร้างไว้ตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชหลงเหลืออยู่ สามารถใช้ในการป้องกันข้าศึกได้บ้างที่จะเข้ามารุกรานโดยยกกำลังมาทางเรือ  คือ ป้อมวิไชยประสิทธิ์ และป้อมวิไชเยนทร์

การรวบรวมไทยให้เป็นปึกแผ่น และการขยายอาณาจักร พระเจ้าตากสินมหาราช ทรงกอบกู้เอกราช และรวบรวมไทยให้เป็นปึกแผ่น โดยใช้เวลาเพียง 3 ปี สาเหตุที่ พระเจ้าตากสินมหาราช สามารถกอบกู้เอกราชและรวบรวมไทยให้เป็นปึกแผ่นได้ เนื่องจาก

1. พระปรีชาสามารถในการรบ

2. พระปรีชาสามารถในการผูกมัดใจคน

3. ทหารของพระองค์มีระเบียบวินัย  กล้าหาญ มีความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน

หลังจากกอบกู้เอกราช รวบรวมไทยให้เป็นปึกแผ่น และตั้งกรุงธนบุรีเป็นราชธานีแล้ว ไทยต้องทำสงครามกับพม่า  เพื่อป้องกันอาณาจักรอีกถึง 9 ครั้ง โดย สามารถป้องกันบ้านเมืองไว้ได้สำเร็จ

การขยายอาณาจักร

1. การขยายอำนาจไปยังเขมร  เขมรเกิดการแย่งอำนาจกัน  พระเจ้ากรุงธนบุรี จึงโปรดยกทัพไปปราบปราม  แต่ครั้งแรกยังไม่สำเร็จ ในปี พ.ศ. 2314  โปรดให้ยกทัพไปตีเขมรอีก และสามารถตีเขมรได้สำเร็จ ในปี พ.ศ. 2323 ได้เกิดกบฎในเขมร จึงโปรดให้ยกทัพไปปราบปรามอีกแต่ยังไม่ทันสำเร็จพอดีเกิดการจลาจลในกรุงธนบุรี จึงยกทัพกลับ

2. การขยายอำนาจไปยังลาว การตีเมืองจำปาศักดิ์ การตีเมืองเวียงจันทน์  ซึ่งทำให้ได้พระพุทธรูปที่สำคัญมา 2 องค์ คือ  พระแก้วมรกต และ พระบาง อาณาเขตประเทศไทยในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสิน มีดังนี้

– ทิศเหนือ ได้ดินแดนเมืองหลวงพระบาง เวียงจันทน์

– ทิศตะวันออก ได้ดินแดนลาว และเขมรทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง จดดินแดนญวน

– ทิศใต้ ได้ดินแดนเมืองกลันตัน ตรังกานู และไทรบุรี

– ทิศตะวันตก จดดินแดนเมืองเมาะตะมะ ทวาย และตะนาวศรี

เหตุการณ์ตอนปลายสมัยธนบุรี

ในปลายรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช พระราชพงศาวดารฉบับต่างๆ บันทึกไว้ว่า สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงมีพระสติฟั่นเฟือนไป เข้าพระทัยว่าทรงบรรลุโสดาบัน และจะให้พระสงฆ์กราบไหว้พระองค์ซึ่งเป็นคฤหัสถ์ ราษฏรได้รับความเดือดร้อนทั่วแผ่นดินจากข้าราชการที่ทุจริตกดขี่ข่มเหงหาประโยชน์ส่วนตัว เป็นเหตุทำให้เกิดจลาจลขึ้นในกรุงธนบุรี ราษฎรต่างทิ้งบ้านเรือนหนีเข้าป่าไปเป็นอันมาก

ขณะเดียวกันก็เกิดกบฏขึ้นที่กรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทราบข่าวกบฏ จึงสั่งพระยาสรรค์ขึ้นไปสอบสวน แต่พระยาสรรค์กลับไปเข้า พวกกบฏ ยกพวกเข้าปล้นพระราชวังที่กรุงธนบุรี ในเดือนเมษายน 2324 บังคับให้สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชออกผนวขเเละคุมพระองค์ไว้ที่พระอุโบสถวัดอรุณราชวราราม และพระยาสรรค์ก็ตั้งตนเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินแทน

ส่วนสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก กำลังจะยกทัพไปตีเมืองเสียมราฐ เมื่อทราบข่าวเกิดจลาจลในกรุงธนบุรี จึงรีบยกทัพกลับขณะนั้นเป็นเดือนเมษายน 2325 เมื่อมาถึงกรุงธนบุรี พระองค์ได้ซักถามเรื่องราวความยุ่งยากที่เกิดขึ้น จึงให้ประชุมข้าราชการ ปรากฏว่าที่ประชุมลงความเห็นว่าให้สำเร็จโทษพระเจ้าตากสินมหาราช ขณะนั้นทรงมีพระชนม์ 48 พรรษา รวมเวลาครองราชย์ 15 ปี

ในสมัยรัชกาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช พระองค์ทรงตรากตรำในการสู้รบ เพื่อรักษาและขยายของเขตแผ่นดินโดยมิได้ว่างเว้น จนสามารถขยายเป็นอาณาจักรใหญ่ในแหลมทองนี้ได้ พระองค์ทรงเป็นนักรบ มิได้ทรงมีโอกาสแม้แต่จะเสวยสุขสงบในบั้นปลายพระชนม์ชีพ เพราะได้เกิดกบฏพระยาสรรค์ขึ้นก่อน บ้านเมืองวุ่นวาย จนเป็นเหตุให้ทรงถูกสำเร็จโทษดังที่กรมหลวงนรินทรเทวีบันทึกไว้ในจดหมายเหตุความทรงจำของท่านว่า  “เมื่อต้นแผ่นดินเย็นด้วยพระบารมี ชุ่มพื้นชื่นผลจนมีแท่น ปลายแผ่นดินแสนร้อย รุมสุมรากโคนโค่นล้มถมแผ่นดิน ด้วยสิ้นพระบารมีแต่เพียงนั้น”

ปัจจัยที่มีผลต่อการสถาปนาอาณาจักรไทย
          การสถาปนาอาณาจักรไทยทั้งกรุงสุโขทัย  กรุงศรีอยุธยา  กรุงธนบุรี  และกรุงรัตนโกสินทร์  ล้วนเกิดจากปัจจัยที่แตกต่างกัน  โดยปัจจัยหลัก ๆ ได้แก่  ปัจจัยทางภูมิศาสตร์  ปัจจัยทางการเมือง  และประวัติศาสตร์

          1.  กรุงสุโขทัย  (พ.ศ. 1792 - 2006)
                    ปัจจัยที่มีผลต่อการสถาปนากรุงสุโขทัย  ได้แก่
                    1)  ปัจจัยทางภูมิศาสตร์  การเลือกที่ตั้งเมืองหลวงในอดีตส่วนใหญ่มักใกล้แม่น้ำ  แต่เมืองสุโขทัยไม่ได้ตั้งอยู่ริมน้ำเพราะแม่น้ำยมอยู่ห่างจากตัวเมืองสุโขทัยไปประมาณ 13 กิโลเมตร  การเลือกตั้งเมืองหลวงที่สุโขทัยคงเป็นเพราะสุโขทัยเป็นเมืองสำคัญมาแต่เดิม
                    นอกจากนี้  การที่สุโขทัยยังตั้งอยูท่ามกลางเทือกเขาถนนธงชัย  เทือกเขาตะนาวศรี  และเทือกเขาเพชรบูรณ์  ทำให้อากาศไม่ร้อนมากจนเกินไป  และมีลมมรสุมพัดผ่าน  จึงทำให้มีฝนตกชุก  รวมทั้งมีทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์

                    2)  ปัจจัยทางการเมืองและประวัติศาสตร์  ก่อนการสถาปนาอาณาจักรสุโขทัยนั้น  ในเขตสุโขทัยและศรีสัชนาลัยมีชุมชนที่มีผู้นำไทยอยู่ก่อนแล้ว  เช่น  พ่อขุนศรีนาวนำถุม  เจ้าเมืองเชลียง  พ่อขุนผาเมือง  เจ้าเมืองราด  โอรสของพ่อขุนศรีนาวนำถุม  และพ่อขุนบางกลางหาว  เจ้าเมืองบางยาง  (ต่อมาคือพ่อขุนศรีอินทราทิตย์)
                    ต่อมาเมื่อพ่อขุนศรีนาวนำถุมสิ้นพระชนม์ลง  ขอมสบาดโขลญลำพงซึ่งอาจเป็นขุนนางเขมรได้เข้ายึดเมืองศรีสัชนาลัย  สุโขทัย  พ่อขุนผาเมืองและพ่อขุนบางกลางหาวได้ทรงช่วยกันต่อสู้ขับไล่ขอมสบาดโขลญลำพง  และพ่อขุนศรีอินทราทิตย์สถาปนาอาณาจักรสุโขทัยขึ้นมา  กล่าวได้ว่าบริเวณสุโขทัยมีพัฒนาการทางการเมืองมานานแล้วก่อนมีการสถาปนาอาณาจักร  ดังพบโบราณสถานที่มีอิทธิพลเขมร  ซึ่งสร้างก่อนตั้งกรุงสุโขทัย  เช่น  ศาลตาผาแดง  พระปรางค์วัดศรีสวายและวัดพระพายหลวง  เป็นต้น

          2.  กรุงศรีอยุธยา  (พ.ศ. 1893 - 2310)
                    ปัจจัยที่มีผลต่อการสถาปนากรุงศรีอยุธยา  ได้แก่
                    1)  ปัจจัยทางภูมิศาสตร์  กรุงศรีอยุธยามีสภาพภูมิศาสตร์ที่เหมาะสมต่อการสถาปนาอาณาจักร  เนื่องจากตั้งอยู่บริเวณที่ราบลุ่มกล้างใหญ่  มีแม่น้ำลำคลองหนองบึงมากและมีความอุดมสมบูรณ์  ทำให้การเกษตรกรรมได้ผลดี  รวมทั้งมีแม่น้ำสำคัญหลายสายไหลผ่าน  คือ  แม่น้ำลพบุรีทางเหนือ  แม่น้ำป่าสักทางตะวันออก  แม่น้ำเจ้าพระยาทางตะวันตกและทางใต้  กรุงศรีอยุธยาจึงติดต่อกับหัวเมืองต่าง ๆ ได้สะดวก  รวมทั้งตั้งอยู่ไม่ไกลจากอ่าวไทย  ทำให้กรุงศรีอยุธยาพัฒนาเป็นเมืองท่าที่สำคัญของภูมิภาค  มีการติดต่อค้าขายกับดินแดนต่าง ๆ ทั้งที่อยู่ใกล้เคียง  เช่น  เขมร  มอญ  และดินแดนที่อยู่ห่างไกล  เช่น  อินเดีย  จีน  อาหรับ  และชาติตะวันตก  ทำให้ได้รับวัฒนธรรมต่างชาติมาผสมผสานกัน
                    2)  ปัจจัยทางการเมืองและประวัติศาสตร์  กรุงศรีอยุธยามีพัฒนาการมาจากอาณาจักรละโว้และสุพรรณบุรี  เมื่อพระเจ้าอู่ทองมาตั้งเมืองที่กรุงศรีอยุธยาได้ทรงสร้างวังที่บริเวณเวียงเหล็กก่อน  ต่อมาทรงเห็นว่าบริเวณหนองโสนหรือบึงพระรามในปัจจุบันมีความเหมาะสมมากกว่า  จึงทรงย้ายวังไปบริเวณหนองโสน  จะเห็นได้ว่าการสถาปนากรุงศรีอยุธยาได้มีการพิจารณาทั้งในด้านภูมิศาสตร์และมีพัฒนาการทางการเมืองการปกครองมาก่อน  ทำให้กรุงศรีอยุธยามีความพร้อมในการตั้งเป็นอาณาจักร
                    3.  กรุงธนบุรี  (พ.ศ. 2310 - 2325)
                    ปัจจัยที่มีผลต่อการสถาปนากรุงธนบุรี  ได้แก่
                    1)  ปัจจัยทางภูมิศาสตร์  เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชสถาปนาราชธานีแห่งใหม่ยังเป็นช่วงที่บ้านไม่มั่นคง  การเลือกตั้งเมืองที่กรุงธนบุรีจึงคำนึงถึงปัจจัยทางด้านความมั่นคงเป็นหลัก  กรุงธนบุรีอยู่ในจุดยุทธศาสตร์ที่ดี  เพราะอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาและอยู่ไม่ไกลจากอ่าวไทย  หากข้าศึกยกทัพมาแล้วสู้ไม่ได้ก็สามารถหนีออกทางทะเลได้
                    2)  ปัจจัยทางการเมือง  เมื่อกรุงศรีอยุธยาล่มสลาย  สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้เป็นผู้นำในการขับไล่กองทัพพม่าและสถาปนาตนขึ้นเป็นกษัตริย์  ตั้งราชธานีใหม่ที่กรุงธนบุรี  เพราะกรุงศรีอยุธยาเสียหายจนยากจะฟื้นคืนดังเดิม

          4.  กรุงรัตนโกสินทร์  (พ.ศ. 2325 - ปัจจุบัน)                    ปัจจัยที่มีผลต่อการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์  ได้แก่
                    1)  ปัจจัยทางการเมือง  ในช่วงปลายสมัยธนบุรีเกิดความไม่สงบขึ้นในบ้านเมืองและเกิดกบฎพระยาสรรค์  หลังจากปราบกบฎพระยาสรรค์แล้ว  สมเด็จพระยามหากษัตริย์ศึกได้สถาปนาราชวงศ์จักรีและกรุงรัตนโกสินทร์  พร้อมกับสำเร็จโทษสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชตามธรรมเนียมการเมืองในอดีต
                    2)  ปัจจัยทางภูมิศาสตร์  กรุงรัตนโกสินทร์ถูกตั้งขึ้นบนฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา  ตรงข้ามกับกรุงธนบุรี  การย้ายเมืองหลวงมายังที่ใหม่หรือฝั่งกรุงเทพ ฯ  เพราะมีพื้นที่กว้างขวางกว่ากรุงธนบุรีซึ่งเหมาะแก่การขยายบ้านเมืองต่อไปในอนาคต  นอกจากนี้  กรุงเทพ ฯ  ยังมีที่ตั้งที่ดีในการติดต่อค้าขายกับต่างชาติเพราะอยู่ใกล้ปากอ่าวไทย

ประวัติพระเจ้าตากสินมหาราช

เพลงของ พระเจ้าตากสิน

พระปรมาถิไธย

สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีมีพระนามเรียกที่แตกต่างกัน ดังนี้

  • เมื่อพระองค์ทรงขึ้นครองราชย์ ทรงใช้พระนามว่า "พระศรีสรรเพชร สมเด็จบรมธรรมิกราชาธิราชรามาธิบดี บรมจักรพรรดิศร บวรราชาบดินทร์ หริหรินทร์ธาดาธิบดี ศรีสุวิบูลย์ คุณรุจิตร ฤทธิราเมศวร บรมธรรมิกราชเดโชชัย พรหมเทพาดิเทพ ตรีภูวนาธิเบศร์ โลกเชษฏวิสุทธิ์ มกุฏประเทศคตา มหาพุทธังกูร บรมนาถบพิตร พระพุทธเจ้าอยู่หัว ณ กรุงเทพมหานคร บวรทวาราวดีศรีอยุธยา มหาดิลกนพรัฐ ราชธานีบุรีรมย์อุดมพระราชนิเวศมหาสถาน
  • พระราชพงศาวดาร กรุงศรีสัตนาคนหุต เรียกว่า สมเด็จพระเอกาทศรถ
  • พระราชพงศาวดาร ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) เรียกว่า พระบรมหน่อพุทธางกูรเจ้า
  • จดหมายเหตุกรุงธนบุรีในสมุดไทยดำ ชื่อพระราชสาสน์และศุภักษรโต้ตอบกรุงธนบุรีและกรุงศรีสัตนาคนหุตจุลศักราช 1140 ใช้ พระบาทสมเด็จพระเอกาทศรถอิศวรบรมนาถบรมบพิตร และพระบาทสมเด็จพระเอกาทศรุทอิศวรบรมนาถบรมบพิตร
  • ตอนปลายรัชกาล พระรัตนมุนี ได้ถวายพระนามใหม่ว่า สมเด็จพระสยามยอดโยคาวจร
  • พระราชพงศาวดาร ฉบับราชหัตถเลขา เรียกว่า สมเด็จพระบรมราชาที่ 4
  • พระนามที่เรียกกันตามหนังสือประวัติศาสตร์ทั่วไป เรียกว่า สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี
  • ประชาชนทั่วไปขนานนาม สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

พระราชกรณียกิจ

การที่สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงกู้เอกราชกรุงศรีอยุธยากลับคืนจากพม่าได้นั้นทำให้กิตติศัพท์เลื่องลือไปทั่ว พระเกียรติยศของพระองค์จึงแพร่ไปว่าเป็นผู้สามารถกู้แผ่นดินไทยให้พ้นจากอำนาจพม่าข้าศึกได้ ทำให้ไพร่บ้านพลเมืองที่ยังหลบลี้อยู่ตามที่ต่างๆ พากันมาอ่อนน้อมเข้าร่วมกับสมเด็จพระเจ้าตากสินเป็นจำนวนมาก ซึ่งจะเป็นกำลังในการศึกสงครามและการบูรณะบ้านเมืองต่อไป พระราชกรณียกิจที่สำคัญ ดังนี้

ด้านการรวมชาติ

ากผลของการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง ทำให้อาณาจักรอยุธยาไม่อาจกลับมาตั้งใหม่เป็นอาณาจักรของคนไทยได้อีก ทั้งยังเกิดปัญหาด้านเศรษฐกิจและความปลอดภัยในชีวิตตามมา ซึ่งตามทัศนะของนิธิ เอียวศรีวงศ์นั้น ได้อธิบายว่า มีการรวมกลุ่มของประชาชนขึ้นด้วยวัตถุประสงค์แตกต่างกัน แต่สำคัญคือเพื่อเอาชีวิตรอด นอกจากนี้กลุ่มการเมืองหรือ "ชุมนุม" ขนาดใหญ่ ๆ นั้นยังแตกออกเป็น 4-6 ก๊กใหญ่ แต่ไม่มีก๊กใดเลยที่คิดจะกอบกู้เอกราชหรือฟื้นฟูชาติกลับคืนมาดังเดิม

ครั้นพระเจ้ามังระทราบข่าวว่ามีคนไทยตั้งตนเป็นใหญ่อีกครั้ง จึงได้มีพระราชโองการให้เจ้าเมืองทวาย ยกทัพมาปราบปรามกองทัพพม่ายกมาถึงอำเภอบางกุ้ง ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของกรุงธนบุรี มีกำลังตามพระราชพงศาวดาร 2,000 คน สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีเสด็จนำกองทัพออกตีพม่าจนแตกพ่าย กิตติศัพท์ที่ทรงรบชนะทำให้พระราชอำนาจทางการเมืองในภาคกลางยิ่งเข้มแข็งยิ่งขึ้น

ราวปี พ.ศ. 2311 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงเริ่มจากยกทัพไปตีชุมนุมพิษณุโลกเป็นก๊กแรก แต่กระสุนปืนต้องถูกพระองค์ จึงต้องยกทัพกลับและรักษาพระองค์ยังพระนคร ชุมนุมพิษณุโลกนี้ภายหลังอ่อนแอลงจนกระทั่งถูกชุมนุมเจ้าพระฝางผนวกไป หลังหายจากพระอาการประชวรแล้ว สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีได้ทรงใช้เวลาในการปราบปรามชุมนุมอื่น ๆ เพื่อรวบรวมแผ่นดินให้เป็นปึกแผ่นต่อไป โดยเริ่มจากชุมนุมเจ้าพิมาย กรมหมื่นเทพพิพิธทรงถูกปราบปรามและถูกสำเร็จโทษในปี พ.ศ. 2311ตามด้วยชุมนุมเจ้านครศรีธรรมราช ซึ่งพระปลัดผู้รั้งเมืองนครศรีธรรมราชได้ตั้งตัวเองขึ้นเป็นเจ้าเจ้านครศรีธรรมราชสู้ไม่ได้หนีต่อลงไปยังหัวเมืองทางใต้ พระยาปัตตานีกลัวก็จับตัวมาส่งให้สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ในปี พ.ศ. 2313 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงยกทัพไปตีชุมนุมเจ้าพระฝาง ในหัวเมืองฝ่ายเหนือ โดยยึดได้เมืองพิษณุโลก และก๊กเจ้าพระฝางเมืองสวางคบุรี รบกันได้เพียง 3 วัน เจ้าพระฝางก็แตกหนี เมื่อทรงปราบปรามชุมนุมต่าง ๆ ลงอย่างราบคาบแล้ว รัฐบาลจีนก็เริ่มให้การยอมรับสถานะพระมหากษัตริย์ของพระองค์อย่างเป็นทางการ

สงครามป้องกันประเทศ

ในปี พ.ศ. 2312 เจ้านายเขมรได้เกิดวิวาทกัน คือ นักองตนไปขอกองทัพญวณมาตีเขมร และนักองนนท์สู้มิได้ก็พาครอบครัวหนีมาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร ณ กรุงธนบุรี จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระยาอภัยรณฤทธิ์กับพระยาอนุชิตราชา (ตอนนี้เป็นตอนต้นรัชกาล สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกยังมียศศักดิ์เพียงพระยาอภัยรณฤทธิ์) ยกทัพไปตีเขมรและทำการโจมตีได้เมืองเสียมราฐแล้วพักรอฤดูฝนอยู่ พอดีได้ข่าวว่าสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชยกทัพไปตีเมืองนครศรีธรรมราช แล้วสิ้นพระชนม์ลง การตีเขมรครั้งนั้นจึงยังไม่เสร็จ

เมื่อชุมนุมเจ้าพระฝางถูกตีแตก อภัยคามณี โปมะยุง่วน เจ้าเมืองเชียงใหม่ที่พม่าตั้งขึ้น เห็นเป็นโอกาสจะแผ่อาณาเขตลงมา จึงยกทัพลงมาล้อมสวรรคโลกไว้เมื่อปี พ.ศ. 2313 แม่ทัพธนบุรีรักษาเมืองไว้มั่นคง ครั้นกองทัพธนบุรีที่ยกมาช่วยเหลือ พอถึงก็เข้าตีกระหนาบพ่ายกลับไป ฝ่ายสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีเห็นสบโอกาส ก็ยกทัพขึ้นไปจะตีเอาเมืองเชียงใหม่บ้าง แต่ล้อมได้เพียงเก้าวันก็ต้องยกถอยกลับลงมา

ระหว่างที่สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรียกขึ้นไปตีเมืองเชียงใหม่นั้น ฝ่ายสมเด็จพระนารายณ์ราชา พระเจ้ากรุงกัมพูชา ได้ฉวยโอกาสยกทัพมาตีเมืองตราดและจันทรบูร แต่ถูกตีแตกกลับไป พอสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงทราบก็ขัดเคือง หลังจากพักรี้พลพอสมควรแล้วก็ทรงเตรียมทัพจะไปตีกัมพูชา สามารถเข้าไปจนถึงเมืองบันทายเพชร ราชธานีกรุงกัมพูชา สมเด็จพระนารายณ์ราชาเห็นว่าสู้ไม่ได้ก็หนีไปพึ่งญวน สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงตั้งให้พระรามราชาเป็นพระมหากษัตริย์กัมพูชาต่อไป แล้วเลิกทัพกลับเมื่อปี พ.ศ. 2314 แต่ต่อมาญวนเกิดกบฏไตเซิน สมเด็จพระนารายณ์ราชาขาดกำลังสนับสนุน ก็กลับมาสวามิภักดิ์ต่อสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี พระองค์ก็ทรงให้เป็นมหาอุปโยราช มีฐานะรองจากพระรามราชา

ในปี พ.ศ. 2314 นักองตนซึ่งครองเขมรอยู่ได้ข่าวพม่ายกมาตีไทย จึงถือโอกาสยกทัพมาตีเมืองจันทบุรีและตราด จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาจักรียกทัพไปตีเขมร ทัพไทยตีได้เมืองโพธิสัตว์ เมืองพระตะบอง เมืองบริบูรณ์ เมืองกำพงโสม และเมืองบันทายมาศ นักองตนพ่ายแพ้หนีไปอยู่กับญวณ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นักองนนท์ครองเขมรสืบไป

นปีเดียวกันนี้ ได้เกิดวิวาทกันในหมู่เจ้าเมืองแคว้นกรุงศรีสัตนาคนหุต ฝ่ายหนึ่งสู้ไม่ได้ก็ขอกำลังพม่ามาช่วย พอปราบปรามสำเร็จแล้ว แม่ทัพพม่าก็ยกทัพมาตั้งที่เชียงใหม่ เมื่กองทัพยกผ่านเมืองน่านก็แบ่งกำลังให้นายทัพหน้าตีเมืองบางส่วนของธนุบรี ลึกเข้าไปถึงพิชัย ปลายปี พ.ศ. 2315 เจ้าเมืองพิชัยป้องกันเมืองไว้มั่นคงแล้วก็ขอกำลังพิษณุโลกไปช่วย พอมาถึงก็ออกตีกระหนาบ กองทัพพม่าเป็นฝ่ายแตกกลับไป ในปี พ.ศ. 2316 ได้เกิดเหตุการณ์ลักษณะคล้ายกัน และพม่ายกเข้ามาตีเมืองพิชัยอีกครั้งหนึ่ง แม่ทัพธนบุรีตั้งซุ่มสกัดข้าศึกตรงบริเวณชัยภูมิ พอมาถึงก็ตีทัพพม่าแตกกลับไป การรบครั้งนี้เองที่เกิดวีรกรรม พระยาพิชัยดาบหัก

พม่ากับมอญเกิดรบกัน สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีโปรดให้ยกทัพไปตีเชียงใหม่อีกครั้ง ได้พระยาจ่าบ้านกับพระยากาวิละเข้ามาสวามิภักดิ์ เมื่อยกไปถึงเชียงใหม่แล้วก็ตั้งค่ายล้อมไว้ เมื่อทัพหลวงของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีซึ่งเดิมตั้งคอยรับชาวมอญที่เมืองตากมาถึงเชียงใหม่แล้ว ทัพธนบุรีก็ระดมตีค่ายพม่า จนโปมะยุง่วนต้องทิ้งเมืองหนี เสร็จสิ้นในปี พ.ศ. 2317 เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง น่านและแพร่ก็ปลอดจากพม่าตั้งนั้บแต่นั้น

ในปี พ.ศ. 2317 หลังจากได้ทำสัญญาสันติภาพกับจีนแล้ว พระเจ้ามังระก็ทรงส่งทหารมาอีก 5,000 นาย แต่ถูกล้อมที่บางแก้ว ราชบุรี สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีดำริให้ตั้งล้อมไว้เฉย ๆ ไม่ให้เข้าตี และรอจนพม่าเป็นฝ่ายอดอาหารยอมจำนนเอง หลังจากล้อมอยู่นาน 47 วัน พม่าก็ยอมจำนน โดยพระองค์ทรงหวังว่าจะเป็นการปลุกขวัญคนไทยให้หายกลัวพม่า

อะแซหวุ่นกี้ตีหัวเมืองเหนือ พ.ศ. 2318 เป็นสงครามที่ใหญ่มาก อะแซหวุ่นกี้เป็นผู้นำที่เชี่ยวชาญศึก มีอัธยาศัยสุภาพ ส่วนทางด้านฝ่ายไทยนั้นมีเจ้าพระยาจักรี(ทองด้วง)และเจ้าพระยาสุรสีห์พิษณุวาธิราช (บุญมา) ในการครั้งนี้พม่ายกพลมา 30,000 คนเข้าล้อมเมืองพิษณุโลก อีก 5,000 คนล้อมเมืองสุโขทัย ส่วนเมืองพิษณุโลกมีพลประมาณ 10,000 คนเท่านี้น สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงยกทัพไปช่วยและในที่สุดอะแซหวุ่นกี้ต้องยกทัพกลับ เนื่องจากพระเจ้ามังระสวรรคต กองทัพพม่าส่วนที่ตามไปไม่ทันจึงถูกกองทัพทหารจับ

พระเจ้าจิงกูจาโปรดให้เกณฑ์ทัพพม่ามอญ 6,000 คนยกมาตีเชียงใหม่เมื่อปี พ.ศ. 2319 พระยาวิเชียรปราการได้พิจารณาแลเห็นว่านครเชียงใหม่ไม่มีพลมากมายขนาดที่จะว่าป้องกันเมืองได้ จึงให้ประชาชนพลเรือนอพยพลงมาอยู่ที่เมืองสวรรคโลก สมเด็จพระเจ้าตากสินจึงโปรดเกล้าฯ ให้พระยาสุรสีห์คุมกองทัพเมืองเหนือขึ้นไปสมทบกองกำลังพระยากาวิละเจ้าเมืองนครลำปางยกไปตีเมืองเชียงใหม่คืนสำเร็จ และทรงให้นครเชียงใหม่เป็นเมืองร้างถึง 15 ปี จนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์จึงได้ฟื้นฟูใหม่

หลังจากทัพไทยกลับจากเขมรในปี พ.ศ. 2323 แล้ว นักองตนก็ยกทัพมาตั้งมั่นอยู่ที่เมืองบันทายมาศ ส่วนนักองนนท์เกรงกลัวญวณจึงคงตั้งมั่นอยู่ที่เมืองกำปอด ต่อมาองไกเซนเป็นกบฏยึดญวณไว้ได้ นักองตนสิ้นที่พึ่ง จึงขอประนีประนอมยอมให้นักองนนท์ครองกรุงกัมพูชา สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระรามราชา (นักองนนท์) เป็นเจ้ากรุงกัมพูชา พระนารายณ์ราชาธิบดี (นักองตน) เป็นมหาอุปโยราช และนักองธรรมเป็นมหาอุปราช

ต่อมานักองธรรมถูกลอบฆ่าตายและนักองตนก็เป็นโรคตาย เป็นที่สงสัยว่าถูกวางยาพิษ ฟ้าทะละหะเข้าใจว่าพระรามราชาแกล้งฆ่าคนทั้งสอง จึงพร้อมด้วยข้าราชการรวมกันจับพระรามราชาถ่วงน้ำเสีย แล้วยกนักองเองราชบุตรขึ้นเป็นเจ้ากรุงกัมพูชา มีฟ้าทะละหะเป็นผู้สำเร็จราชการ ต่อมาฟ้าทะละหะได้เอาใจออกห่างไทยไปฝักใฝ่ญวณ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก เจ้าพระยาสุรสีห์ กรมขุนอินทรพิทักษ์ ยกทัพไปตีเขมร ตีได้หลายหัวเมืองแล้ว พอจะตีเข้าเมืองหลวงก็พอดีเกิดการจลาจลขึ้นในกรุงธนบุรีจำเป็นต้องยกทัพกลับ

การขยายพระราชอาณาเขต

นอกจากขับไล่พม่าออกไปจากอาณาจักรได้แล้ว สมเด็จพระเจ้าตากสินยังได้ขยายอำนาจเข้าไปในลาว ได้หัวเมืองลาวเข้ามาอยู่ในอำนาจอาจกล่าวได้ว่า สมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินเป็นสมัยแห่งการกู้เอกราชของชาติ รวบรวมประเทศให้เป็นปึกแผ่นมั่นคง ขับไล่ข้าศึกออกไปจากอาณาเขตไทยและขยายอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวางในรัชสมัยของพระองค์ ไทยจึงยิ่งใหญ่เท่าเทียมเมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยามีความรุ่งเรือง

พ.ศ. 2319 ในขณะที่ไทยติดศึกพม่าที่เมืองพิษณุโลกนั้น มีเหตุเกิดขึ้นทางนครราชสีมา คือ เจ้าเมืองนางรอง (ปัจจุบันเป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดบุรีรัมย์) ซึ่งเป็นเมืองขึ้นต่อนครราชสีมา วิวาทกับพระยานครราชสีมา แล้วเอาเมืองไปขึ้นต่อเจ้าโอ เมืองนครจำปาศักดิ์ซึ่งตั้งตนเป็นอิสระอยู่ พระยานครราชสีมามีใบ้บอกเข้ามายังกรุงธนบุรี

ในเดือนมีนาคมปีเดียวกัน สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาจักรียกทัพไปปราบ เมื่อปราบได้ให้ประหารเจ้าเมืองนางรองเสีย เจ้าพระยาจักรีปราบได้สำเร็จ พอปราบเสร็จสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงทราบว่าเจ้าโอกับเจ้าอินอุปราช เมืองนครจำปาศักดิ์เตรียมพล 10,000 นายจะมาตีนครราชสีมา สมเด้จพระเจ้าตากสินจึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาสุรสีห์คุมทัพไปสมทบอีก 1 ทัพและให้ปราบจำปาศักดิ์เสีย ทัพไทยตีจำปาศักดิ์แตกและจับตัวเจ้าโอกับเจ้าอินได้ที่เมืองสีทันดร และยังตีได้เมืองอัตตะปือด้วยพร้อมกันนั้น เจ้าพระยาจักรีและเจ้าพระยาสุรสีห์ออกเกลี้ยกล่อมเมืองเขมรป่าดง ระหว่างจำปาศักดิ์กับนครราชสีมาเป็นพวกได้อีก 3 เมือง คือ สุรินทร์ สังขะ ขุขันธ์ ทั้ง 3 เมืองยอมเข้าเป็นเขตเมืองไทย เสร็จศึกครั้งนี้เจ้าพระยาจักรีได้เลื่อนเป็น "สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก" มีเครื่องยศอย่างเจ้าต่างกรม

พ.ศ. 2321 พระวอเสนาบดีเมืองเวียงจันทน์เป็นกบฏ แต่สู้เจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุตไม่ได้ ก็พาสมัครพรรคพวกหนีมาอยู่ที่ตำบลดอนมดแดง (จังหวัดอุบลราชธานีในปัจจุบัน) และขอขึ้นต่อไทย ต่อมาพระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุต ได้ยกทัพมาตีตำบลดอนมดแดงและจับฆ่าพระวอเสีย สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงขัดเคืองมาก จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกเป็นแม่ทัพ พร้อมด้วยเจ้าพระยาสุรสีห์ยกทัพไปตีเวียงจันทน์กองทัพไทยได้แสดงความสามารถตีเมืองเวียงจันทน์ได้ และหัวเมืองลาวทั้งหลายได้พากันมาขึ้นต่อไทย และในครั้งนี้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกได้อัญเชิญพระแก้วมรกตและพระบางลงมายังกรุงธนบุรีด้วย

การศึกสงครามดังกล่าวนี้ ส่งผลให้พระราชอาณาจักรไทยเป็นเอกราชและมีความมั่นคงสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน ดังนั้น อาณาเขตของประเทศไทยในสมัยกรุงธนบุรี มีดังนี้

  • ทิศเหนือ ตลอดอาณาจักรล้านนา
  • ทิศใต้ ได้ดินแดนกลันตัน ตรังกานู และไทรบุรี
  • ทิศตะวันออก ได้ดินแดนลาว เขมร จรดอาณาเขตญวน
  • ทิศตะวันตก จรดดินแดนเมาะตะมะ ได้ดินแดน เมืองทวาย มะริด ตะนาวศรี

ด้านการปกครอง

หลังจากที่กรุงศรีอยุธยาแตก กฎหมายบ้านเมืองกระจัดกระจายสูญหายไปมาก จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทำการสืบเสาะ ค้นหามารวบรวมไว้ได้ประมาณ 1 ใน 10 และโปรดฯ ให้ชำระกฎหมายเหล่านั้น ฉบับใดยังเหมาะแก่กาลสมัยก็โปรดฯ ให้คงไว้ ฉบับใดไม่เหมาะก็โปรดให้แก้ไขเพิ่มเติมก็มี ยกเลิกไปก็มี ตราขึ้นใหม่ก็มี และเป็นการแก้ไขเพื่อราษฎรได้รับผลประโยชน์มากขึ้น เช่น โปรดฯ ให้แก้ไขกฎหมายว่าด้วยการพนันให้อำนาจการตัดสินลงโทษขึ้นแก่ศาลแทนนายตราสิทธิ์ขาด และยังห้ามนายตรานายบ่อนออกเงินทดลองให้ผู้เล่น เกาะกุมผูกมัดจำจองเร่งรัดผู้เล่น กฎหมายพิกัดภาษีอากรก็เกือบไม่มี เพราะผลประโยชน์แผ่นดินได้จากการค้าสำเภามากพอแล้ว กฎหมายว่าด้วยการจุกช่องล้อมวงก็ยังไม่ตราขึ้น เปิดโอกาสให้ราษฎรได้เฝ้าแหนตามรายทาง โดยไม่มีพนักงานตำรวจแม่นปืนคอยยิงราษฎร ซึ่งแม้แต่ชาวต่างประเทศก็ยังชื่นชมในพระราชอัธยาศัยนี้ เช่น มองเซนเยอร์ เลอบอง ได้บรรยายไว้ในจดหมายถึงผู้อำนวยการคณะต่างประเทศว่า

การตั้งเมืองหลวงที่กรุงธนบุรีสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงคำนึงถึงปัจจัยใดมากที่สุด

บรรดาคนทั้งหลายเรียกพระเจ้าตากว่าพระเจ้าแผ่นดิน แต่พระเจ้าตากเองว่าเป็นแต่เพียงผู้รักษากรุงเท่านั้น พระเจ้าตากหาได้ทรงประพฤติเหมือนอย่างพระเจ้าแผ่นดินก่อน ๆ ไม่ และในธรรมเนียมของพระเจ้าแผ่นดินฝ่ายทิศตะวันออกที่ไม่เสด็จออกให้ราษฎรเห็นพระองค์ด้วยกลัวจะเสื่อมเสียพระเกียรติยศนั้น พระเจ้าตากไม่ทรงเห็นชอบด้วยเลย พระเจ้าตากทรงพระปรีชาสามารถยิ่งกว่าคนธรรมดา เพราะฉะนั้นจึงไม่ทรงเกรงว่าถ้าเสด็จออกให้ราษฎรพลเมืองเห็นพระองค์ และถ้าจะมีรับสั่งด้วยแล้วจะทำให้เสียพระราชอำนาจลงแต่อย่างใด เพราะพระองค์มีพระราชประสงค์ทอดพระเนตรการทั้งปวงด้วยพระเนตรของพระองค์เอง และจะทรงฟังการทั้งหลายด้วยพระกรรณของพระองค์เองทั้งสิ้น

การตั้งเมืองหลวงที่กรุงธนบุรีสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงคำนึงถึงปัจจัยใดมากที่สุด

สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงปกครองบ้านเมืองคล้ายคลึงกับพระราโชบายของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช คือ แบบพ่อปกครองลูก เป็นพระมหากษัตริย์ไทยพระองค์เดียวที่ไม่ถือพระองค์ มักปรากฏพระวรกายให้พสกนิกรเห็น และมักถามสารทุกข์สุขดิบของพนกนิกรทั่วไป ทรงหาวิธีให้ไพร่บ้านพลเมืองได้ทำมาหากินโดยปกติสุข ใครดีก็ยกย่องสรรเสริญ ผู้ใดทำไม่พอพระทัย ก็ดุด่าว่ากล่าวดังพ่อสอนลูก อาจารย์สอนศิษย์ ซึ่งสมกับโคลงยอพระเกียรติของนายสวนมหาดเล็กที่ว่า

พระเดียวบุญลาภเลี้ยง ประชากร
เป็นบิตุรมาดร ทั่วหล้า
เป็นเจ้าและครูสอน สั่งโลก
เป็นสุขทุขถ้วนหน้า นิกรทั้งชายหญิง

เนื่องจากตลอดรัชสมัยของพระองค์ เป็นช่วงเวลาที่มีการทำศึกสงครามเกือบตลอดเวลา จึงทำให้ไม่มีเวลาที่จะชำระพระราชกำหนดกฎหมายต่าง ๆ ทำให้ต้องใช้กฎหมายที่มีมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา โดยให้กรมวังหรือกระทรวงวังเป็นผู้รับผิดชอบในการพิจารณาว่าคดีใดควรขึ้นศาลใด แล้วส่งคดีไปยังศาลกรมนั้น ๆ โดยได้แบ่งงานศาลออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ ๆ คือ

  • ฝ่ายรับฟ้อง มีหน้าที่ในการเขียนคำฟ้องและพิจารณารูปคดีว่าควรจะฟ้องหรือไม่ ก่อนจะส่งขึ้นศาลเพื่อพิจารณา เรื่องปรับไหมและลงโทษผู้กระทำผิด
  • ฝ่ายตรวจสำนวนและพิพากษา ฝ่ายนี้เดิมเป็นหน้าที่ของพราหมณ์ผู้เชี่ยวชาญกฎหมายแขนงต่าง ๆ จำนวน 12 คน โดยเรียกว่า "ลูกขุน ณ ศาลหลวง" ต่อมาได้มีคนไทยที่เชี่ยวชาญกฎหมายเข้ามาทำหน้าที่นี้ด้วย คณะลูกขุน ณ ศาลหลวงนี้จะไม่มีอำนาจในการปรับหรือลงโทษแต่อย่างใด

อย่างไรก็ตาม ในรัชกาลของสมเด็จพระเจ้าตากสิน พระองค์จะทรงใช้ศาลทหารเป็นส่วนใหญ่ โดยในการตัดสินคดีทุกครั้ง แม้พระองค์จะตัดสินให้ลงโทษสูงสุดแล้ว แต่ก็จะมีรับสั่งให้ทยอยการลงโทษจากขั้นต่ำสุดก่อน ซึ่งหลายครั้งจะปรากฏว่านักโทษที่มีความผิดร้ายแรงก็มักจะได้รับการพระราชทานอภัยโทษหนัก โดยให้ไปกระทำการอย่างอื่นเป็นการไถ่โทษแทน

  • การออกพระราชกำหนดสักเลก พ.ศ. 2316 เพื่อสะดวกในการควบคุมกำลังคน การขยายอำนาจเข้าไปในดินแดนที่เคยเป็นประเทศราชของไทยในลาวและเขมรเพื่อทำให้ประเทศเข้มแข็งมั่นคง และการเตรียมการให้กรมขุนอินทรพิทักษ์ไปปกครองเขมรในฐานะเมืองประเทศราช  แต่ได้เกิดจลาจลในกรุงธนบุรีเสียก่อนจึงไม่สำเร็จ ส่วนหัวเมืองใหญ่ ๆ ที่เป็นทางผ่านของทัพพม่าก็โปรดให้แม่ทัพนายกองที่มีความสามารถไปปกครอง เช่น เจ้าพระยาสุรสีห์ไปครองเมืองพิษณุโลก เจ้าพระยาพิชัยราชาไปครองเมืองสวรรคโลก

ด้านเศรษฐกิจ

ผลกระทบโดยตรงของสงครามคราวเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง คือ การเกิดทุพภิกขภัยครั้งร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ไทย นอกจากนี้เศรษฐกิจยังเสียหายอย่างร้ายแรงอันเนื่องมาจากการปล้นสะดม และเมืองท่าที่สำคัญตกเป็นของพม่าอย่างเด็ดขาดถึงสองเมือง ได้แก่ มะริดและตะนาวศรี และยังเสียปืนใหญ่และปืนคาบศิลารวมหลายหมื่นอีกด้วย

เพื่อที่จะหาทรัพย์มาใช้จ่าย สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงยกเลิกประเพณีงดเก็บส่วยอากร 3 ปีเมื่อมีพระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่เสด็จขึ้นครองราชย์ อันเป็นประเพณีซึ่งมีมาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงแจกจ่ายข้าวของเงินทองอันได้มาสี่ครั้ง ได้แก่ เมื่อครั้งตีค่ายชาวบ้านกง ครั้งตีเมืองจันทบุรี ครั้งปล้นเรือสำเภาพ่อค้าจีนที่ตราด และครั้งตีเมืองนครศรีธรรมราช สามารถช่วยราษฎรได้หลายหมื่นคน บรรดาข้าราชการทหารพลเรือนได้รับแจกข้าวสารหนึ่งถังกินยี่สิบวัน และโปรดให้ซื้อข้าวสารบรรทุกมาขายจากพุทไธมาศ ถังละ 3-5 บาท เมื่อราษฎรทั้งหลายทราบก็ได้อพยพตามหัวเมืองต่าง ๆ มายังกรุงธนบุรีเป็นจำนวนมาก ต่อมา ทรงให้ข้าราชการทั้งหลายทำนาปรังทุกแห่งทุกตำบล ราคาข้าวเริ่มถูกลงใน พ.ศ. 2311 ก่อนจะกลับมีราคาสูงผิดปกติอีกเมื่อปลายปี พ.ศ. 2312 เนื่องจากมีหนูระบาด เมื่อหนูหายไปแล้ว ราคาข้าวก็กลับลดลงอีก

พระองค์ทรงวางแผนเพิ่มพื้นที่ปลูกข้าวในกรุงธนบุรี โดยในปี พ.ศ. 2314 ทรงให้ปรับพื้นที่สวนป่านอกกำแพงพระนครให้เสมอกันไว้ทำนา ครั้นบ้านเมืองสงบก็ทรงให้แม่ทัพคุมกองทัพมาทำนา ซึ่งทำให้กรุงธนบุรีกลายสภาพเป็นแหล่งทำนาแห่งใหม่ และได้ชื่อว่าเป็นแหล่งปลูกข้าวที่ดีที่สุดของประเทศไทย

พระองค์ยังทรงทำนุบำรุงการค้าขายทางเรืออย่างเต็มที่ ทรงแต่งสำเภาหลวงออกไปหลายสาย ทางตะวันออกถึงจีน ทางตะวันตกถึงอนุทวีปอินเดีย ผลกำไรจากการค้าช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจ และมีรายได้จากภาษีเข้าออกของเรือต่างชาติ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรียังทรงส่งเสริมการนำสินค้าพื้นเมืองไปขาย ทำให้ราษฎรมีงานทำ มีรายได้ ทั้งมีพระราชประสงค์ที่จะฝึกให้คนไทยเชี่ยวชาญการค้าขาย ป้องกันมิให้การค้าตกอยู่ในมือชนต่างชาติ และรักษาประโยชน์ของสินค้าพื้นเมืองมิให้ถูกทอดทิ้ง พระองค์ทรงพยายามผูกไมตรีกับจีนเพื่อประโยชน์ทั้งในด้านความมั่นคงของชาติและประโยชน์ในด้านการค้า

ด้วยความสัมพันธ์อันดีกับจีน สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงกระตุ้นให้ชาวจีนเข้ามาตกรกร้างในธนบุรี โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากเมืองแต้จิ๋ว ซึ่งบางส่วนมีจุดประสงค์เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจที่ซบเซา

ด้านคมนาคม

ในยุคนี้ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงยกเลิกความคิดแนวเก่าที่ว่าหากถนนหนทาง ทางคมนาคมดีมากแล้วจะเป็นการอำนวยประโยชน์ให้ข้าศึกศัตรูและพวกก่อการจลาจล แต่กลับทรงเห็นเป็นประโยชน์ในทางค้าขายมากกว่า ดังนั้น ในฤดูหนาวหากว่างจากศึกสงคราม จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตัดถนนและขุดคลอง จะเห็นได้จากแนวถนนเก่าๆ ในเขตธนบุรีซึ่งมีอยู่หลายสาย ส่วนการขุดชำระคลองมักมีวัตถุประสงค์เบื้องต้นเพื่อประโยชน์ทางยุทธศาสตร์ เช่น คลองท่าขาม จากนครศรีธรรมราชไปออกทะเล เป็นต้น

ด้านการศึกษา

สมัยกรุงธนบุรีเป็นระยะเวลาที่บ้านเมืองยังไม่สงบเรียบร้อย การฟื้นฟูการศึกษาจึงทำได้ไม่มากนัก แต่วัดก็ยังเป็นแหล่งที่ให้การศึกษาอยู่ โดยมีแต่เด็กผู้ชายเท่านั้นที่มีโอกาสศึกษา เพราะต้องอยู่กับพระที่วัดเรียนหนังสือและได้รับการอบรมความประพฤติ เรียนพระธรรม ภาษาบาลีสันสกฤต และศัพท์เขมร เพื่อประโยชน์ในการอ่านคัมภีร์พระพุทธศาสนา นอกจากนี้มีวิชาเลข เน้นมาตรา ชั่ง ตวง วัด มาตราเงินไทย และการคิดหน้าไม้ ซึ่งจะต้องนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน มีวิชาช่างฝีมือสำหรับเด็กโต ส่วนใหญ่เกี่ยวกับงานช่างก่อสร้าง เพื่อประโยชน์ในการบูรณะซ่อมแซมเสนาสนะ และสิ่งก่อสร้างภายในวัด สำหรับการเรียนวิชาชีพโดยตรงนั้นเป็นหน้าที่ของพ่อแม่ ใครมีอาชีพอะไรก็ถ่ายทอดวิชานั้นๆ ให้แก่ลูกหลานของตนตามสายตระกูล เช่น วิชาแพทย์แผนโบราณ วิชาช่างปั้น ช่างถม ช่างแกะสลัก ช่างปูนปั้น ช่างเหล็ก ช่างเงิน ช่างทอง ส่วนการศึกษาสำหรับเด็กหญิง จะถือตามประเพณีโบราณคือ เรียนเย็บปักถักร้อย ทำกับข้าว การจัดบ้านเรือน การฝึกอบรมมารยาทของกุลสตรี สังคมสมัยนั้นไม่นิยมให้ผู้หญิงเรียนหนังสือ จึงมีน้อยคนที่อ่านออกเขียนได้

สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี จึงโปรดเกล้าฯให้บำรุงการศึกษาตามวัดต่างๆ และยังโปรดเกล้าฯให้ตั้งหอหนังสือขึ้นเช่นเดียวกับสมัยอยุธยา ซึ่งคงเทียบได้กับหอพระสมุดในระยะหลัง นอกจากนี้ยังโปรดเกล้าฯให้แสวงหาและรวบรวมตำราต่างๆ ที่กระจัดกระจายไปเมื่อคราวกรุงแตกไว้ที่พระอารามหลวงหรือหามาจำลองไว้เป็นแบบฉบับเพื่อใช้ศึกษาเล่าเรียน

การตั้งเมืองหลวงที่กรุงธนบุรีสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงคำนึงถึงปัจจัยใดมากที่สุด

"เรื่องจริง ของพระเจ้าตาก"

เรื่องราวนี้เป็นเรื่อง เล่าจากประสบการณ์ของพระเดชพระคุณพระธรรมสิงหบุราจารย์ (จรัญ จิตธัมโท /หรือพระครูเจริญ จิตธัมโม) ซึ่งได้เจริญกรรมฐานจนได้อนิสงส์สามอย่างคือ ระลึกชาติได้เจ็ดชาติ เห็นกฏแห่งกรรม และเกิดปัญญาแก้ปัญหาได้

"เรื่องจริง ของพระเจ้าตาก"

สรุปข้อเท็จจริงเรื่องพระเจ้าตากสิ้นพระชนม์อย่างไร

ข้อเท็จจริงตามประวัติศาสตร์ที่ว่าพระเจ้าตากนั้นเป็นผู้กู้เอกราชให้กับ ไทยนั้น พระองค์ทรงเป็นกษัตริย์นักรบที่เก่งกาจกล้าหาญ และเสียสละอย่างมาก อย่างที่ชนธรรมดามิได้ล่วงรู้.กมากมาย แต่เรื่องที่จะเล่า เกี่ยวกับพระเจ้าตากนั้นไม่ได้มีในประวัติศาสตร์ที่เราเคยเรียนกัน

- พระเจ้าตากมิใช่เป็นลูกของคนจีนสามัญชนตามประวัติศาสตร์ แต่เป็นโอรสในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศกับสนมลับชาวจีนชื่อไหฮอง แต่เนื่องจากสมัยอยุธยานั้นมีการแก่งแย่งชิงดีกันมาก มีการฆ่ากันเพื่อชิงราชสมบัติ พระมารดาของพระเจ้าตากเกรงจะเป็นอันตรายจึงได้ปิดเป็นความลับ และบอกว่าบิดาของพระเจ้าตากชื่อไหฮอง (ชื่อของนางเอง) และมารดาชื่อนางนกเอี้ยง (ชื่อที่แต่งขึ้นไม่มีตัวตนจริง)

ประวัติศาสตร์นั้นได้ถูกบันทึกไปตามเหตุการณ์ที่ถูกทำให้เป็นว่าเป็นไป โดยที่หามีใครรู้ข้อเท็จจริงไม่(โดยส่วนตัวของข้าพเจ้าในสมัยที่เรียน ประวัติศาสตร์นั้น ก็มีความรู้สึกไม่ค่อยเชื่อว่าคนที่จะขึ้นมาเป็นระดับพระมหากษัตริย์นั้นจะ เกิดมาจากคนสามัญชนเพียงเท่านั้น เพราะผู้ที่จะเป็นพระมหากษัตริย์นั้นย่อมต้องมีบุญบารมีสูง ย่อมน่าจะสืบสายเลือดมาจากเชื้อพระวงค์)

- พระเจ้าตากไม่ได้สติวิปลาสและถูกสำเร็จโทษด้วยท่อนจันทน์ ดังที่ได้บันทึกในประวัติศาสตร์ ความจริง เป็นพระประสงค์ของพระองค์เองที่จะสละความเป็นกษัตริย์เพื่อหันไปออกผนวช เป็นพระภิกษุ จึงได้ขอร้องให้พระสหายร่วมสาบานปราบดาภิเษกแทน (พระสหายนี้คือรัชกาลที่หนึ่งนั่นเอง) ความจริง พระสหายนั้นมีความซื่อสัตย์ภักดีต่อพระเจ้าตากเป็นมั่น มิได้มีความคิดที่จะก่อกบฏหรือหวังขึ้นตั้งตัวเป็น กษัตริย์ และก็ไม่ยอมทำตามพระประสงค์ของพระเจ้าตาก แต่ด้วยเหตุผลของพระเจ้าตากว่า พระองค์ เป็นกษัตริย์ที่ยากจนเข็ญใจ เงินในท้องพระคลังไม่มีเลย ไม่มีแม้แต่เบญจาชกกุณฑ์ (เครื่องหมายแสดงความเป็นพระราชา มี ๕ ได้แก่ พระขรรค์ ธารพระกร อุณหิส ฉลองพระบาท และ วาลวิชนี) เนื่องจากผลของสงคราม ข้าวยากหมากแพง พระองค์ต้องช่วยเหลือราษฎรของพระองค์ จน ต้องเป็นหนี้กับจีนถึงหกหมื่นตำลึง ถ้าหากพระองค์จะค่อยๆ ผ่อนใช้ก็พอได้ แต่เมื่อรู้ว่าจีนคิดมิซื่อหวังยึด เอาไทยเป็นของตน ดังนั้นจึงมิอาจยอมได้ ทรงคิดว่าการผลัดแผ่นดินเป็นการล้างหนี้ที่ดีที่สุด พระองค์ทรงใช้กุศโลบายเพื่อรักษาเอกราชของชาติ โดยแสร้งทำตนว่าสติวิปลาส แล้วให้พระสหายขึ้น ปราบดาภิเษก ถึงตอนนั้นจีนก็ไม่สามารถยึดเอาไทยไปได้ เพราะผู้ที่ทำสัญญากับจีนนั้นเป็นพระเจ้าตาก เพียงผู้เดียวที่รับผิดชอบ

ผู้ที่ถูกสังหารด้วยท่อนจันทน์ ไม่ใช่พระเจ้าตาก แต่เป็นสหาย.กคน (หลวงอาสาศึก) ที่หน้าตาท่าทางคล้ายกับพระเจ้าตากเป็นอันมาก ยอมเสียสละชีวิตตนแทน ส่วนพระเจ้าตากนั้นพระสหายได้แอบพาหนีไปที่อื่นอย่างปลอดภัยนี่แสดงให้เห็น ถึงความเสียสละของพระเจ้าตาก กับความรักความสามัคคีและความซื่อสัตย์ที่พระสหายมีต่อพระเจ้าตากนั้นเป็น ที่สูงสุด และนี้จึงเป็นผลบุญให้พระสหายซึ่งต่อมาได้สืบพระราชวงค์ใหม่ ได้มีแต่ความเจริญยั่งยืนสืบยาวนานตลอดรัชกาล

พระเจ้าตากสิ้นพระชนม์ (ละสังขาร) อย่างไร

เมื่อครั้งที่พระเจ้าตากได้ไปตั้งค่ายในป่า ได้พบกับพระรูปหนึ่งได้ให้กรรมฐานแก่พระเจ้าตาก จึงทรงมิอยากครองราชต่อไป ทรงดำเนินแผนการว่า ทางอยุธยาเกิดเรื่อง จึงสั่งให้พระยาสวรรค์ยกกองทัพไปปราบ เสร็จแล้วให้กลับมายังกรุงธนบุรีและล้อมพระราชฐานไว้ แล้วจับพระองค์บวชเสีย แต่ปรากฏว่าพระยาสวรรค์เกิดลืมตัวอยากเป็นใหญ่ตั้งตนเป็นกษัตริย์ขึ้นมาจริงๆ สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก (รัชกาลที่หนึ่ง) จึงได้ยกทัพลงมาปราบส่วนพระเจ้าตากได้ไปเจริญวิปัสนากรรมฐานในถ้ำแห่งหนึ่ง ที่เพชรบุรี ในวันที่พระองค์บรรลุธรรมสูงสุดคือวันที่ท่านละสังขารขณะที่กำลังดูดดื่ม อยู่ในวิมุติสุข พระองค์ถูกชายสองคนใช้ไม้คมแฝกฟาดที่ศรีษะอย่างนับไม่ถ้วน ชายสองคนนั้นเป็นพวกกลุ่มคนที่ต้องการเอาความดีความชอบเมื่อรู้ว่าผู้ที่ถูกสำเร็จโทษไม่ใช่พระเจ้าตากตัวจริงจึงสืบหาเพื่อตามสังหาร แต่กรรมตามทัน มีการกบฏซ้อนกบฎกันวุ่นวายพวกนั้นก็ฆ่ากันตายเองส่วนพระเจ้าตากได้สำเร็จ เป็นพระอรหันต์กลายเป็นวิสุทธิเทพในที่สุด

หนังสืออ้างอิง ความหลงในสงสาร, (สุทัสสา อ่อนค้อม), ๒๕๔๙

- เรื่องราวนี้เป็นเรื่อง เล่าจากประสบการณ์ของพระเดชพระคุณพระธรรมสิงหบุราจารย์ (จรัญ จิตธัมโท /หรือพระครูเจริญ จิตธัมโม) ซึ่งได้เจริญกรรมฐานจนได้อนิสงส์สามอย่างคือ ระลึกชาติได้เจ็ดชาติ เห็นกฏแห่งกรรม และเกิดปัญญาแก้ปัญหาได้ ท่านได้พบกับพระเจ้าตากซึ่งเป็นพระวิสุทธิเทพแล้วเมื่อยี่สิบกว่าปีก่อน พระเจ้าตาก

ได้เล่าเรื่องราวต่างๆให้ฟังด้วยต้องการให้นำไปเผยแพร่ข้อเท็จ จริง เพราะท่านเห็นว่าคนไทยเราต่างมีความขัดแย้งกันมากมาย ที่สำคัญคือท่านไม่ต้องการให้สถาบันกษัตริย์เสื่อมเสียเพราะจากความเข้าใจ ผิดและความมิชฉาทิฐิ

- ท่านที่ได้อ่านจะเชื่อหรือไม่ก็แล้วแต่ปัญญาและสัมมาทิฐิของแต่ละบุคคล แต่โดยส่วนตัวของข้าพเจ้ามิได้มีอำนาจอิทธิฤทธิ์ใดๆ ที่จะเห็นได้ว่าเรื่องที่เล่านั้นจริงหรือไม่ เพียงแต่อ่านแล้วรู้สึกเกิดแรงบันดาลใจที่จะเล่าต่อต่อให้แก่กัน โดยหวังว่าอานิสงค์นี้จะช่วยก่อให้เกิคผลแก่ประเทศชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ให้ประชาชนได้เกิดความสามัคคี อย่าได้มีความขัดแย้งแตกแยกกัน จงเกิดปัญญาและสัมมาทิฐิ รู้ข้อเท็จจริงด้วยปัญญาของตนเอง มิใช่จากการฟังเสียงลือเสียงเล่าอ้างแล้วมิได้ไตร่ตรองจนทำให้เกิดความ ทะเลาะเบาะแว้ง

"กุ...ว่าพระเจ้าตากแอ๊ด คาราบาว"

ปัจจัยใดส่งเสริมการก่อตั้งกรุงธนบุรี

1.กรุงธนบุรีเป็นเมืองขนาดเล็ก เหมาะสมกับกำลังป้องกันทั้งทางบกและทางน้ำ 2.กรุงธนบุรีตั้งอยู่ปากแม่น้ำเจ้าพระยา สะดวกในการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศ 3.สะดวกในการควบคุมการลำเลียงอาวุธและเสบียงต่างๆ ไปตามหัวเมืองหรือจากหัวเมืองเข้ามาช่วย เมื่อเกิดศึกสงคราม

ปัจจัยใดที่ทำให้สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงเลือกกรุงธนบุรีเป็นที่ตั้งราชธานีแห่งใหม่แทนกรุงศรีอยุธยา

สำหรับสาเหตุที่พระเจ้าตากสินมหาราชเลือกที่นี่ เพราะ "กรุงธนบุรี" เป็นเมืองขนาดเล็ก เหมาะสมกับกำลังป้องกันทั้งทางบกและทางน้ำ โดยตั้งอยู่ปากแม่น้ำเจ้าพระยาที่สะดวกในการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศ และยังสะดวกในการควบคุมการลำเลียงอาวุธและเสบียงต่างๆ ไปตามหัวเมืองเมื่อเกิดศึกสงคราม

พระมหากษัตริย์พระองค์ใดทรงสถาปนากรุงธนบุรีเป็นเมืองหลวง

พระเจ้าตากสิน ทรงกอบกู้เอกราชครั้งที่ 2ให้กับกรุงศรีอยุธยาได้สำเร็จ และทำพิธีปราบดาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์ พระนามว่า สมเด็จพระบรมราชาที่ 4 ขณะมีพระชนมายุได้ 33 พรรษา และสถาปนา กรุงธนบุรีเป็นราชธานีใหม่แทนกรุงศรีอยุธยา

ปัญหาที่สำคัญยิ่งตลอดรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชคือปัญหาใด

ปัญหาร้ายแรงอย่างยิ่งเฉพาะหน้า ที่จะต้องดำเนินการโดยรีบด่วนทันที ก็คือการแก้ไขความอดอยากขาดแคลน เครื่องอุปโภคบริโภคของราษฎร สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีได้ทรงดำเนินการด้วยวิธี จ่ายพระราชทรัพย์ เป็นจำนวนมาก ซื้อข้าวสาร ที่พ่อค้าต่างประเทศบรรทุกสำเภาเข้ามาขาย โดยให้ราคาสูงเป็นพิเศษ ถึงถังละ 3-5 บาท บางคราวก็ถึงถังละ 6 บาท ...

ปัจจัยใดส่งเสริมการก่อตั้งกรุงธนบุรี ปัจจัยใดที่ทำให้สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงเลือกกรุงธนบุรีเป็นที่ตั้งราชธานีแห่งใหม่แทนกรุงศรีอยุธยา พระมหากษัตริย์พระองค์ใดทรงสถาปนากรุงธนบุรีเป็นเมืองหลวง ปัญหาที่สำคัญยิ่งตลอดรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชคือปัญหาใด ชนชั้นใต้ปกครองในสมัยธนบุรี หมายถึงบุคคลกลุ่มใด อาณาจักรธนบุรี สรุป ความเข้มแข็งทางการทหาร ส่งผลต่อความมั่นคงและความเจริญรุ่งเรืองของอาณาจักรธนบุรีอย่างไร ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อความเจริญรุ่งเรืองของอาณาจักรธนบุรี ความเข้มแข็งทางด้านการทหาร ในสมัยธนบุรี ไทยกับพม่ามีการทำสงครามที่สำคัญกี่ครั้ง