การจัดเก็บภาษีเกิดขึ้นในสมัยใด

ใครที่เริ่มมีรายได้กันแล้ว ต้องเห็นด้วยกับคำพูดของ เบนจามิน แฟรงคลิน แน่ๆ เพราะว่าทำงานได้เงินมา เราก็ต้องโดนหักเงินส่วนหนึ่งไปกับภาษีอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แถมรูปแบบการเก็บภาษีนั้นก็มีมากมาย เข้าใจยากเสียเหลือเกิน แต่เคยสงสัยกันมั้ยหล่ะครับว่า ภาษีเนี่ยมันเริ่มขึ้นตอนไหน ละมันเริ่มขึ้นมาได้อย่างไร ใครเป็นคนคิดให้มันซับซ้อนขนาดนี้นะ ?

อย่างที่ทราบกันดีว่าภาษีที่เก็บจากประชาชนอย่างเราไป จะต้องถูกนำไปพัฒนาประเทศในการบริการทางสาธารณะต่างๆ ถ้าไม่มีภาษีรัฐก็จะไม่สามารถเกิดขึ้นได้เลย เรียกได้ว่าการเก็บภาษีอยู่คู่กับการสร้างประเทศและความยิ่งใหญ่มาโดยตลอด การเก็บภาษีนั้นเริ่มต้นและพัฒนามาพร้อมกับอารยธรรมของมนุษย์เราตั้งแต่สมัยโบราณ วันนี้ aomMONEY IDEAS จะพาเพื่อนๆ ย้อนเวลากลับไปเพื่อตามหาที่มาของเจ้าตัวภาษีนี้กันครับ


ถ้าจะให้โดเรมอนพาไปหาตำนานการจัดเก็บภาษีที่เก่าแก่ที่สุด คงต้องนั่งไทม์แมชชีนย้อนกลับไปเมื่อประมาณ 6,000 ปีก่อนคริสตกาล

ย้อนกลับไปที่เมือง Lagash ซึ่งเป็นเมืองหนึ่งของอารยธรรมเมโสโปเตเมีย แหล่งอารยธรรมที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก แต่หลักฐานที่พบก็ยังไม่ชัดเจนมากนัก เพราะสิ่งที่พบมีลักษณะคล้ายกับเม็ดดิน ซึ่งคาดว่าเป็นสิ่งใช้แทนเงินสมัยโบราณ

การเก็บภาษีในยุคแรกเริ่มนั้นมีวัตถุประสงค์ไม่ต่างกับปัจจุบันมากนัก หลักๆ ก็จะใช้เพื่อจัดตั้งการบริการทางสาธารณะ และเพื่อก่อตั้งกองกำลังทหาร ไว้ใช้ในยามศึกสงคราม โดยที่รูปแบบการเก็บภาษีนั้นส่วนมากจะเป็นการเก็บภาษีอย่างง่าย ไม่ซับซ้อนมากเหมือนในปัจจุบัน


เช่น ในยุค อียิปต์โบราณ เมื่อ 3,000 ปีก่อนคริสตกาล ก็มีการจัดเก็บภาษีด้วยวิธีประเมินจากทรัพย์สินเงินทองที่เป็นเจ้าของ โดยจะประเมินรวมที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง หรือแม้กระทั่งสัตว์เลี้ยงต่างๆ และทาสด้วย แล้วเก็บ 1 ส่วนจาก 100 ส่วนนั้น บางครั้งอาจจะเพิ่มถึง 3 ส่วนในช่วงที่เกิดสงคราม ถ้าเป็นในปัจจุบันจะเรียกภาษีรูปแบบนี้ว่า ภาษีทรัพย์สิน ยิ่งมีทรัพย์สินมากก็ต้องเสียมาก มีน้อยก็เสียน้อย ฟังดูยุติธรรม เกิดการกระจายรายได้ได้ดีทีเดียว


เมื่อจักรวรรดิต่างๆ เริ่มขยายตัว อารยธรรมของมนุษย์ก็เริ่มที่จะมีโครงสร้างซับซ้อนมากขึ้น การจัดเก็บภาษีนั้นจึงมีรูปแบบที่หลากหลายมากขึ้น ซึ่งจักรวรรดิใดที่มีระบบการจัดเก็บภาษีและนำไปพัฒนาประเทศอย่างดี ก็จะทำให้เกิดความเจริญรุ่งเรืองอย่างมาก เช่น จักรวรรดิโรมัน หนึ่งในจักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของโลกตลอดกาล

เมื่อ 500 ปีก่อนคริสตกาล ในสมัยของจักรพรรดิออกุสตุส บุตรบุญธรรมของจูเลียส ซีซ่าร์ เริ่มเล็งเห็นว่าประชาชนทำมาค้าขายมีรายได้ค่อนข้างมาก รวมถึงพ่อค้าแม่ค้าจากต่างแดนด้วย จึงเกิดไอเดีย ปิ้ง!! ขึ้นมาว่า ถ้าเราเก็บเงินส่วนหนึ่งจากการค้าขายของเหล่าพ่อค้าแม่ค้าที่มาจากต่างแดน น่าจะก่อให้เกิดรายได้กับรัฐได้มาก โดยที่พ่อค้าเหล่านั้นก็ไม่น่าจะขัดขืนแต่อยากใด เนื่องจากได้รับรายได้จากการค้าขายไปมากแล้ว ซึ่งการเก็บภาษีในรูปแบบนี้ยังมีอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งก็คือ Tariff หรือ ภาษีศุลกากร นั่นเอง


ภาษีอีกรูปแบบหนึ่งที่สำคัญคือ “ภาษีเงินได้” จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์พบว่า ในช่วงทศวรรษแรกของคริสตศักราช ณ แดนมังกร จักรวรรดิจีนโบราณ สมเด็จพระจักรพรรดิวังแมง (Wang Mang) แห่งราชวงศ์ซิน ได้มีการจัดเก็บภาษีจากรายได้ของราษฎรทั้งพ่อค้าแม่ค้า แรงงานมีฝีมือ ในอัตราร้อยละ 10 ของรายได้เท่ากันหมดทุกคน ซึ่งปัจจุบันก็ได้ถูกพัฒนาไปสู่การเก็บในรูปแบบอัตราก้าวหน้าในรูปแบบที่เราคุ้นเคยเพื่อกระจายรายได้ให้เกิดความเท่าเทียมมากขึ้น


ภาษีที่ทุกคนต้องจ่ายไม่ว่าจะมีรายได้เท่าไหร่ อย่าง VAT พึ่งถือกำเนิดได้ไม่นาน


และอีกหนึ่งภาษีที่เราคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี เวลาไปกินข้าวตามร้านอาหารเป็นต้องเห็นมันตอนจ่ายตังค์เสมอ นั่นคือ ภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ VAT นั่นเอง แต่ VAT นั่นถือว่าเป็นรูปแบบการเก็บภาษีน้องใหม่ เพึ่งถือกำเนิดมาได้ไม่นาน ในปี ค.ศ. 1954 โดย นักเศรษฐศาสตร์ชาวฝรั่งเศส และเริ่มแพร่หลายไปทั่วยุโรปและทั่วโลกในเวลาต่อมา


การเก็บภาษีนั้นเป็นสิ่งที่สร้างจักรวรรดิสร้างชาติให้ยิ่งใหญ่มาแล้วมากมาย เรียกได้ว่าที่ใดมีการปกครองที่นั่นย่อมมีเรื่องการเก็บภาษีเข้ามาเกี่ยวด้วยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งในอดีตการเก็บภาษีนั้นยังเป็นแรงผลักดันสู่การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญหลายๆ ครั้ง อย่างภาษีเกลือที่พวกพ่อค้าชาวอินเดียโดนเอาเปรียบอย่างหนักจนนำไปสู่การประท้วงเพื่อการประกาศเอกราชในที่สุด

อย่างว่าล่ะครับ สิ่งใดที่สามารถทำประโยชน์ได้สูงสุดก็อาจจะทำให้เกิดผลกระทบที่ร้ายแรงได้เช่นกัน เพราะจักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่อย่างโรมัน กลับไม่ได้ให้ความสำคัญถึงระบบการจัดเก็บภาษีที่เป็นธรรม ชนชั้นสูงและทหารได้รับการยกเว้นภาษี แต่สามัญชน พ่อค้าแม่ค้าต่างๆ ที่มีฐานะยากจนอยู่แล้ว ต้องเสียภาษีอย่างหนัก ความเหลื่อมล้ำทางรายได้เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ การค้าขายแย่ลง สภาพเศรษฐกิจก็แย่ลง จนนำไปสู่การล่มสลายของอาณาจักรโรมันในที่สุด


การจัดเก็บภาษีเกิดขึ้นในสมัยใด


หลักจากทราบที่มาที่ไปของภาษีกันแล้ว เรามาดูประวัติศาสตร์การเก็บภาษี ที่เรียกได้ว่าเป็นตำนานของโลก เป็นจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญทางประวัติศาสตร์กันเลยทีเดียว


การกดขี่ทางภาษี จุดเริ่มต้นของการปฎิวัติฝรั่งเศส

ย้อนกลับไปในยุคพระเจ้าหลุยที่ 16 รัฐบาลประสบปัญหาการเงิน เศรษฐกิจตกต่ำย่ำแย่ รัฐจึงเก็บภาษีมากขึ้น แต่ด้วยความไม่เท่าเทียมทางสังคมในสังคมสมัยนั้น ทำให้พวกขุนนางหรือนักบวชที่มีชนชั้นทางสังคมสูงกว่าไม่ถูกเก็บภาษี แน่นอนว่าต้องทำให้ประชาชนระดับรากหญ้าไม่พอใจเป็นอย่างมาก การลุกฮือขึ้นประท้วง ลุกลามใหญ่โต จนเกิดเป็นการปฎิวัติฝรั่งเศสครั้งสำคัญ ที่จะไม่มีใครไม่ถูกเก็บภาษีอีกต่อไป


ภาษีเกลือ ชนวนเหตุสู่การประกาศเอกราชของอินเดีย

ในสมัยที่ประเทศอินเดียยังเป็นอาณานิคมของประเทศอังกฤษ ทุกการค้าขาย พ่อค้าจากประเทศอินเดียจะโดนเก็บภาษีอย่างหนักมาก โดยเฉพาะกับเกลือ ซึ่งเป็นสิ่งค้าส่งออกไปยังอังกฤษที่สำคัญของอินเดีย รัฐบาลอังกฤษนั้นทำการผูกขาดและกดขี่ทางภาษีอย่างหนัก เกิดความไม่พอใจในหมู่พ่อค้าอินเดีย ทำให้นักเคลื่อนไหวทางการเมืองที่เรารู้จักกันในนาม มหาตมะ คานธี เล็งเห็นถึงความไม่พอใจดังกล่าว และได้ยกระดับการประท้วงด้วยหลัก “อหิงสา”หรือการขัดขืนโดยปราศจากความรุนแรง จนประเทศอินเดียเป็นอิสระภาพจากอังกฤษในที่สุด


ปาร์ตี้น้ำชาบอสตัน จุดเริ่มต้นการแข็งข้อต่ออังกฤษ

เมื่อปี ค.ศ. 1773 ในยุคที่ประเทศอังกฤษมีสิทธิผูกขาดการซื้อขายชากับทุกประเทศใต้อาณานิคม แถมยังเรียกเก็บภาษีอย่างหนักกับทุกประเทศ ทำให้เกิดความไม่พอใจในวงกว้าง และเมื่อถึงจุดแตกหักในวันที่ 16 ธันวาคม ค.ศ. 1773 ที่พ่อค้าชาได้มารวมตัวกันในงานเลี้ยงน้ำชาที่บอสตัน ต่างได้พูดคุยถึงความไม่พอใจในการเก็บภาษีในอัตราที่สูงมาก และจะไม่ยอมรับการกดขี่อีกต่อไป หลังจากนั้น เหล่าพ่อค้าชา ได้แสดงสัญลักษณ์การต่อต้านอังกฤษ ด้วยการนำใบชาปริมาณมหาศาลทิ้งลงทะเลจนหมด ทำให้อังกฤษใช้มาตรการที่รุนแรงขึ้นเพื่อตอบโต้การแข็งข้อของพ่อค้าชา ในที่สุดความขัดแย้งก็ขยายตัวเป็นสงครามในเวลา 2 ปีต่อมา กลายเป็นตำนาน “งานเลี้ยงน้ำชาบอสตันจุดเริ่มต้นแห่งการประกาศอิสรภาพจากอังกฤษ”


เพราะว่าไม่ใช่แค่พวกเราสักหน่อยเน้าะที่ต้องจ่ายภาษีกัน

เห็นมั้ยครับว่า การเก็บภาษีจากประชาชนอย่างพวกเรานั้น ถ้านำไปใช้อย่างมีประโยชน์ก็จะเป็นส่วนสำคัญในการสร้างประเทศให้เจริญรุ่งเรื่องเลยทีเดียว เพราะถ้าจักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่อย่างโรมัน ไม่มีการเก็บภาษีแล้วหล่ะก็ จะเอาเงินที่ไหนมาใช้ในการบำรุงกองทัพทหาร หรือสร้างสิ่งปลูกสร้างที่แสดงถึงอารยธรรมที่ใหญ่โตได้หละ

ไม่น่าเชื่อเลยใช่มั้ยหล่ะครับว่าเจ้าภาษีนั้นจะอยู่คู่กับอารยธรรมมนุษย์เรามาช้านาน ตั้งเกือบหมื่นปีมาแล้วแหน่ะ พอได้อ่านเรื่องราวทางประวัติศาสตร์แล้ว ก็รู้สึกสบายใจขึ้นมาหน่อย เพราะว่าไม่ใช่แค่พวกเราสักหน่อยเน้าะที่ต้องจ่ายภาษีกัน เพื่อนร่วมชะตากรรมเรามีมาตั้งแต่สมัยโบราณเลยนะเนี่ย


สำหรับเพื่อนๆ คนไหนที่อยากรู้เรื่องเกี่ยวกับภาษีในแง่มุมอื่นๆ เพิ่มเติม ไม่ว่าจะเป็น การวางแผนภาษีหรือเทคนิคการลดหย่อนต่างๆ ก็สามารถหาอ่านเพิ่มเติมได้ที่ GURU --> [TAXbugnorms] หมวดภาษีของเวป aomMONEY กับพรี่หนอม กูรูผู้เชี่ยวชาญด้านภาษีแห่งยุค รับประกันความเต็มอิ่มสำหรับความรู้เรื่องภาษีแน่นอน

ภาษี เริ่ม เก็บ ครั้งแรก เมื่อ ใด

หลักฐานทางประวัติศาสตร์ไทยที่อ้างอิงได้เกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีเกิดขึ้นตั้งแต่ 700 กว่าปีก่อน (พ.ศ. 1835) ในสมัยสุโขทัย โดยปรากฎบนศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงหลักที่ 1 ด้านที่ 1 บรรทัดที่ 18-21 ความว่า … เมื่อชั่วพ่อขุนรามคำแหง เมืองสุโขทัยนี้ดี ในน้ำมีปลาในนามีข้าว เจ้าเมืองบ่เอาจกอบในไพร่ลู่ทาง

รัชสมัยใดที่มีการยกเว้นการเก็บภาษี

ประเทศไทยมีการจัดเก็บภาษีอากรมาตั้งแต่ก่อนสมัยสุโขทัย ปรากฏในศิลาจารึกหลักที่ 1 ว่า "เมื่อชั่วพ่อขุนรามคำแหง เมืองสุโขทัยนี้ดี...เจ้าเมืองบ่เอาจังกอบในไพร่ลู่ทาง เพื่อนจูงวัวไปค้าขี่ม้าไปขาย..." หมายความว่า ในสมัยพ่อขุนรามคำแหงเป็นสมัยปลอดภาษีในการค้าขาย

การเก็บภาษีปากเรือ สมัยใด

1) ภาษีเบิกร่องหรือภาษีปากเรือ คือ ภาษีที่เก็บจากเรือสินค้าต่างประเทศ โดยคิดจากขนาดความ กว้างของปากเรือหรือยานพาหนะที่บรรทุกสินค้าเข้ามา สมัยรัชกาลที่1 คิดว่าละ 12 บาท ต่อมาเพิ่มเป็นวาละ 20 บาท สมัยรัชกาลที่2 คิดเป็นวาละ 80 บาท สมัยรัชกาลที่3 ถ้าเป็นเรือสินค้าที่ไม่ได้บรรทุกสินค้าเข้ามาขายคิดว่า ละ 1,500 บาท ถ้าบรรทุก ...

กรมสรรพากรได้จัดตั้งขึ้นในสมัยใด

ประกาศมา ณ วันที่ 2 กันยายน พุทธศักราช 2458 เป็นวันที่ 1757 ในรัชกาลปัจจุบัน