ส่วนท้ายของรายงานมีอะไรบ้าง

การเรียบเรียงรายงาน และ ส่วนประกอบของรายงาน

การเรียบเรียงรายงาน ต้องมีเนื่อที่สมบูรณ์ โดยรายงานที่ดี ควรมีลักษณะดังต่อไปนี้

ส่วนท้ายของรายงานมีอะไรบ้าง

  1. แสดงให้เห็นว่าผู้เขียนได้ศึกษาค้นคว้าอย่างจริงจัง และผู้เขียนมีความเข้าใจแจ่มแจ้งในเรื่องที่เขียน
  2. การเรียบเรียงเนื้อเรื่องครบถ้วนตามหัวข้อที่กำหนด และมีความถูกต้องแม่นยำ
  3. จัดเรียงลำดับเนื้อหาได้อย่างต่อเนื่อง และมีความสัมพันธ์กันเป็นอย่างดี
  4. แสดงหลักฐานที่มีได้อย่างละเอียดถี่ถ้วน
  5. ใช้ภาษาได้อย่างถูกต้อง และเป็นภาษาที่นิยมใช้กันทั่วไป เป็นต้น

ภาษาที่ใช้ในการเขียนรายงาน ต้องใช้ภาษาที่เป็นทางการ ไม่ใช้ภาษาพูด ควรระมัดระวังในเรื่องของการสะกดคำ เครื่องหมาย การแบ่งวรรคตอน มีการจัดเรียงรูปประโยคที่ถูกต้องและถูกหลักในการเขียนรายงาน

ส่วนท้ายของรายงานมีอะไรบ้าง

ส่วนประกอบของรายงาน

รายงานที่ดี ควรประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วนดังนี้ คือ

  1. ส่วนประกอบตอนต้น หรือ ส่วนนำ ส่วนที่อยู่ตอนต้นเล่มของรายงานก่อนถึงเนื้องเรื่อง ประกอบไปด้วย ปกนอก ใบรองปกใน ปกใน คำนำ สารบัญ บัญชีตาราง บัญชีภาพประกอบ
  2. ส่วนประกอบตอนกลาง หรือ ส่วนเนื้อเรื่อง คือส่วนที่อยู่ต่อจากส่วนประกอบตอนต้น หรือ ส่วนนำ เป็นส่วนที่สำคัญที่สุดของรายงาน เพราะจะครอบคลุมเนื้อเรื่องทั้งหมดของรายงาน ประกอบไปด้วย บทนำ เนื้อหา สรุป
  3. ส่วนประกอบตอนท้าย คือ ส่วนอ้างอิงที่แสดงหลักฐาน หรือแหล่งที่มาของข้อมูลที่ใช้ประกอบการเขียนรายงาน เป็นส่วนที่ทำให้รายงานมีความน่าเชื่อถือ และเป็นการแสดงมารยาททางวิชาการของผู้เขียนรายงานอีกด้วย

นอกจากส่วนอ้างอิงแล้ว รายงานบางเล่ม ยังมีภาคผนวก ซึ่งเป็นส่วนที่เพิ่มเติมจากเนื้อหารายงาน ซึ่งจะช่วยให้เข้าใจเรื่องราวและเนื้อหาของรายงานมากยิ้งขึ้น

You may also like...

รูปแบบการทำรายงานการศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้

ส่วนประกอบรายงานมีส่วนประกอบดังต่อไปนี้

ส่วนที่ 1 : ส่วนประกอบตอนต้น

  1. หน้าปก
    1. ใบรองปก
    2. หน้าปกใน
    3. คำนำ
    4. สารบัญ

ส่วนที่ 2 : ส่วนเนื้อหา

  1. บทนำ

หลักการและเหตุผล

วัตถุประสงค์

สมมติฐาน

ขอบเขตของการดำเนินงาน

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

นิยามศัพท์เฉพาะ

2. แนวคิด  ทฤษฎี และเอกสารที่เกี่ยวข้อง

3. วิธีการดำเนินการ

4. การนำเสนอผลของข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล

5. สรุป  อภิปราย และข้อเสนอแนะ

ส่วนที่ 3  :  ส่วนประกอบตอนท้าย

  1. บรรณานุกรม
  2. ภาคผนวก
  3. ประวัติผู้ค้นคว้า
  4. ใบรองปกหลัง
  5. ปกหลัง

หลักการทำรายงานการศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้

ส่วนประกอบของรายงาน

1.  ส่วนนำเรื่อง (Front matter)  ประกอบด้วย

1.1  ปกนอก (Cover) มีวิธีการเขียนดังนี้

1.1.1  ส่วนบน เขียนชื่อรายงานไว้ด้านกลางหน้า

1.1.2  ส่วนกลาง เขียนชื่อ นามสกุล โดยไม่ต้องเขียนคำนำหน้าชื่อ (เด็กหญิง  เด็กชาย นาย หรือ นางสาว) อาจเขียนชั้นที่ศึกษาและเลขที่ของผู้ทำรายงานไว้บรรทัดถัดไป

กรณีรายงานที่มีผู้จัดทำ 3 คนขึ้นไป ให้เขียนชื่อคนที่มีตัวอักษรนำหน้าเป็นลำดับแรกของชื่อผู้จัดทำทั้งหมด ตามด้วยคำว่าคณะ แล้วให้เขียนชื่อผู้จัดทำทั้งหมดในหน้าปกใน

1.1.3  ส่วนล่าง แบ่งเป็น 3 บรรทัด

–  บรรทัดแรก เขียนชื่อรายวิชา ตามด้วยในวงเล็บรหัสวิชา  โดยใช้คำว่า “รายงานฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา………….. (รหัสวิชา)”

–  บรรทัดที่ 2 เขียนชื่อโรงเรียน “โรงเรียนพิมานพิทยาสรรค์”

–  บรรทัดที่ 3 เขียนภาคเรียนที่ และปีการศึกษา ที่เขียนรายงาน

การเขียนหน้าปก ควรกะระยะตัวอักษรที่เขียนให้อยู่กึ่งกลางหน้ากระดาษ โดยเว้นที่ว่างทางด้านซ้ายและขวาให้เท่ากัน และเว้นช่องว่างส่วนบนและล่างให้เท่าๆกัน

            1.2  ใบรองปก  เป็นกระดาษเปล่าหนึ่งแผ่น ต่อจากปกนอก

            1.3  ปกใน (Title page) เขียนข้อความเดียวกับปกนอกกรณีรายงานที่มีผู้จัดทำ 3 คนขึ้นไป ให้เขียนชื่อผู้จัดทำทุกคน เรียงตามลำดับตัวอักษรของชื่อ หรือตามลำดับชั้น และเลขที่

           1.4  คำนำ (Preface) ควรแบ่งเป็น 3 ย่อหน้า และควรกล่าวรายละเอียดดังนี้

ย่อหน้าที่ 1 กล่าวถึงจุดมุ่งหมายของการเขียนรายงาน เป็นการเกริ่นนำถึงสาเหตุหรือแรงบันดาลใจที่ศึกษาค้นคว้าในการทำรายงานเรื่องนี้

ย่อหน้าที่ 2 กล่าวถึงขอบเขตของเนื้อหาในรายงานอย่างย่อๆ ว่ากล่าวถึงอะไรบ้าง

ย่อหน้าที่ 3 กล่าวขอบคุณผู้ที่ให้ความร่วมมือ ให้ความช่วยเหลือ หรือให้ความสนับสนุน อันมีส่วนทำให้รายงานฉบับนี้สมบูรณ์

(คำว่า “คำนำ” ให้เขียนไว้กลางหน้ากระดาษ ไม่ต้องขีดเส้นใต้ ใช้รูปแบบอักษร TH Sarabunขนาด 18 พิมพ์หนา เว้น 1 บรรทัด แล้วจึงขึ้นย่อหน้าที่ 1” หรือห่างจากขอบบน 2 นิ้ว )

          1.5  สารบัญ (Table of Contents) หมายถึง บัญชีหัวข้อสำคัญและหัวข้อย่อยในรายงานทั้งหมด โดยเขียนเรียงลำดับที่ปรากฏในรายงานตั้งแต่หน้าแรกจนถึงหน้าสุดท้ายพร้อมทั้งบอกเลขหน้าด้วยว่า หัวข้อนั้น ๆ อยู่หน้าใด เพื่อสะดวกในการค้นคว้า กรณีที่มีภาพหรือตารางภายในรายงาน ให้มีสารบัญภาพ (List of Figures) และสารบัญตาราง (List of Tables) ด้วย โดยการกำกับลำดับภาพหรือตารางให้นับตามบท เช่น ถ้าเป็นภาพที่ 1 ของบทที่ 1 ให้กำกับว่า “ภาพที่ 1.1” หรือ “Figure 1.1”  ถ้าเป็นภาพที่ 4 ในบทที่ 2 ให้กำกับว่า “ภาพที่ 2.4”หรือ “Figure 2.4”

(คำว่า “สารบัญ” ให้เขียนไว้กลางหน้ากระดาษ ไม่ต้องขีดเส้นใต้ ใช้รูปแบบอักษร               TH Sarabun ขนาด 18 พิมพ์หนา เว้น 1 บรรทัด แล้วจึงขึ้นย่อหน้าที่ 1” )

2.   ส่วนเนื้อเรื่อง (Text) ประกอบด้วย

            2.1  บทนำ (Introduction) เป็นส่วนที่บอกเหตุผลและวัตถุประสงค์ในการทำรายงานเรื่องนั้นชี้แจงขอบเขตของเรื่อง บอกให้ทราบว่าการทำรายงานนั้นมีความมุ่งหมายอย่างไร งานค้นคว้ากว้างหรือแคบเพียงใด ใช้วิธีดำเนินการศึกษาค้นคว้าอย่างไร มีการจัดระเบียบข้อมูลอย่างไรมีสมมติฐานของการศึกษาค้นคว้าอย่างไร

บทนำเป็นสิ่งแรกที่จะทำให้ผู้อ่านได้สัมผัสกับความคิดและกลวิธีการเขียนของผู้เขียน มีส่วนสำคัญในการจุดประกายความสนใจของผู้อ่านให้อยากติดตามอ่านต่อไป ถ้าบทนำไม่น่าสนใจ  สับสน  หรือคลุมเครือ ผู้อ่านจะไม่สนใจอยากอ่าน  ดังนั้นบทนำจึงต้องชัดแจ้ง  น่าอ่าน  และกระตุ้นความสนใจของผู้อ่าน

            2.2  เนื้อหา (Body of Paper) คือข้อมูลทั้งหมดที่ได้จากการเลือกสรร จากการศึกษาค้นคว้าทั้งหมดและได้จัดระเบียบข้อมูลนั้นอย่างดี ถ้ามีเนื้อเรื่องมาก ควรแบ่งเป็นบท ถ้าเป็นเรื่องเล็กๆ ก็แบ่งเป็นหัวข้อเรื่อง ตัวเรื่องจะประกอบด้วยหัวข้อใหญ่ หัวข้อรอง หัวข้อย่อย แต่ละหัวข้อจะมีสารัตถะขยายความ ได้แก่ เรื่องราว ข้อเท็จจริง ข้อมูล ภาพ แผนภูมิ ฯลฯ ในการเขียนเนื้อหา   ถ้าผู้เขียนเรียบเรียงจากการค้นคว้าจากแหล่งอื่น เช่น หนังสือ วารสารสัมภาษณ์ ฯลฯ ผู้เขียนควรระบุด้วยว่าข้อความตอนใด ได้มาจากแหล่งใด ตามหลักการเขียนอ้างอิงแบบนาม-ปี เพื่อเป็นแนวทางสำหรับผู้อ่านที่ต้องการศึกษาเพิ่มเติมและเพื่อแสดงมารยาทในการเขียนรายงานวิชาการของผู้เขียน

            2.3  บทสรุป (Conclusion) มิใช่การย่อความโดยนำเนื้อหาสาระมากล่าวซ้ำ แต่เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลและสาระสำคัญเพื่อประมวลแง่มุมต่างๆ ที่น่าสนใจ แล้วนำเรียบเรียงเป็นบทสรุป  ภาษาที่ใช้ในการนำเสนอเรื่องมักเป็นภาษาทางการ ใช้วิธีเขียนด้วยการลำดับความใช้  คำง่าย มีการใช้เหตุผลนำเสนอ นิยมใช้ถ้อยคำสำนวนของผู้เขียนเอง  เป็นการเขียนย้ำหรือเน้นประเด็นสำคัญของเนื้อหาหรือสรุปผลของการศึกษาค้นคว้า

ในแต่ละบท ให้ระบุเลขที่บทและหัวข้อใหญ่ของแต่ละบท โดยคำว่า“บทที่…” และหัวข้อใหญ่ของแต่ละบท  ให้เขียนไว้กลางหน้ากระดาษ ไม่ต้องขีดเส้นใต้ใช้รูปแบบอักษร TH Sarabun ขนาด 18 พิมพ์หนา โดยเขียน “บทที่…” ไว้บรรทัดแรก และบรรทัดถัดมาเป็นหัวข้อของบทนั้น แล้วเว้น 1 บรรทัด แล้วจึงขึ้นในส่วนของเนื้อหา

3.  ส่วนท้าย  (Back matter) ประกอบด้วยเรื่องราวต่างๆ ดังนี้

             3.1  เอกสารอ้างอิงหรือบรรณานุกรม (References หรือ Bibliography) เป็นบัญชีประมวลรายชื่อหนังสือ วารสารและเอกสารต่างๆที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า ถ้าเป็นบัญชีที่แสดงเฉพาะเอกสารที่ใช้ในรายงานหรือที่ปรากฏในอ้างอิงแบบนาม-ปี ให้ใช้คำว่า “เอกสารอ้างอิง” แต่ถ้ามีเอกสารอื่นๆ ที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าที่นอกเหนือจากที่ปรากฏในอ้างอิงแบบนาม-ปีในรายงาน ให้ใช้คำว่า “บรรณานุกรม”

(คำว่า “เอกสารอ้างอิง” หรือ “บรรณานุกรม” ให้เขียนไว้กลางหน้ากระดาษ ไม่ต้องขีดเส้นใต้ ใช้รูปแบบอักษร TH Sarabunขนาด 18 พิมพ์หนา เว้น 1 บรรทัด แล้วจึงเขียนบรรทัดแรกตามรูปแบบการเขียนที่กำหนดในบทที่ 2”

           3.2  ภาคผนวก (Appendix) เป็นเรื่องที่นำมาเพิ่มเติมรายงานให้สมบูรณ์ แต่มิใช่เนื้อหาโดยตรงของเรื่อง จัดแยกไว้ท้ายเล่ม ถ้ามีหลายเรื่องก็จัดเป็นภาคผนวก ก ภาคผนวก ข ตามลำดับ

ในการเขียนภาคผนวก ให้เขียนไว้ส่วนท้ายสุดของเล่ม โดยให้เขียนคำว่า “ภาคผนวก” ไว้ตรงส่วนกลางของหน้ากระดาษ ไม่ต้องขีดเส้นใต้ ใช้รูปแบบอักษร TH Sarabun ขนาด 18 พิมพ์หนา แล้วหน้าถัดไปบรรทัดแรก ให้เขียนคำว่า “ภาคผนวก” ไว้ตรงส่วนกลางของหน้ากระดาษ ไม่ต้องขีดเส้นใต้ ใช้รูปแบบอักษร TH Sarabun 18 พิมพ์หนา แล้วเว้น 1 บรรทัด จึงเริ่มเขียนรายละเอียดของภาคผนวก

รูปแบบการเขียนรายงาน

  1. กำหนดให้ใช้กระดาษสีขาว ชนิดไม่ต่ำกว่า 70 – 80 แกรม ขนาด A4 ไม่มีเส้นและใช้เพียง

หน้าเดียว (หรือตามความเหมาะสม)

  1. กระดาษทำปกให้ใช้กระดาษสีขาว หรือสีพื้น หรือแบบที่มีลวดลายในตัว หรือมีรูปภาพประกอบที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาในรายงาน
  2. รูปแบบตัวอักษร ให้ใช้เป็นสีดำ คำว่า   “คำนำ” “สารบัญ” “บทที่” และหัวข้อใหญ่ ให้ใช้

รูปแบบอักษรเป็น TH Sarabun ขนาด 18 พิมพ์หนา และในส่วนของเนื้อหากำหนดให้ใช้รูปแบบตัวอักษร TH Sarabun ขนาด 16 พิมพ์ธรรมดา แต่ในส่วนของหัวข้อย่อยให้ใช้พิมพ์หนา

  1. การตั้งค่าหน้ากระดาษกำหนดดังนี้

–              กั้นหน้าหรือด้านซ้าย (ส่วนที่เย็บเล่ม)  และขอบบน ตั้งค่า 1.5 นิ้ว หรือ 3.81 เซนติเมตร

–              กั้นหลังหรือด้านขวา และขอบล่างตั้งค่า 1.0 นิ้ว หรือ 2.54 เซนติเมตร

  1.    การย่อหน้า ย่อหน้าแรกให้เว้นจากกรอบซ้าย 7 ช่วงตัวอักษร แล้วพิมพ์ตรงตัวที่ 8 ย่อหน้าที่

สอง หรือย่อหน้าต่อๆ ไปให้เว้นเข้าไปอีกครั้งละ 3 ช่วงตัวอักษร หรือใช้วิธีการตั้งแท็บเพื่อให้ตัวอักษรตรงกันโดยย่อหน้าแรกตั้งเป็น 0.6 นิ้วและย่อหน้าต่อๆ ไปให้เว้นเข้าไปอีกครั้งละ 3 ช่วงตัวอักษร เลขกำกับหน้า ให้พิมพ์ไว้มุมบนขวา ห่างจากขอบบน 1 นิ้ว โดยแบ่งเป็น 2 ส่วน ดังนี้

–               เลขกำกับหน้าของส่วนนำเรื่อง ซึ่งในการเขียนรายงานภาษาไทยนิยมใช้ ก ข และ ค

ตามลำดับ ส่วนในรายงานภาษาอังกฤษ อาจใช้เป็น a, b และ c หรือ ใช้เป็นตัวเลขโรมัน

I, II และ III

–              เลขกำกับหน้าของส่วนเนื้อเรื่องให้ลำดับตัวเลข 1, 2, …

  1. การจำแนกหัวข้อ ควรให้หัวข้อกับรายละเอียดอยู่ในหน้าเดียวกัน และมี 3 รูปแบบ ดังนี้

–  แบบที่ 1 ถ้าลำดับหัวข้อใหญ่แล้วตามด้วยหัวข้อรองโดยไม่มีข้อความคั่น ให้เขียนหัวข้อ

ย่อยลงไปได้แค่ x.x.x เท่านั้น แล้วให้เปลี่ยนรูปแบบ อาจใช้เป็น ก ข ค หรือ 1) 2) 3) ก็ได้ เช่น

1.//หัวข้อใหญ่

     1.1//หัวข้อรอง

         1.1.1//หัวข้อย่อย

1)//ข้อความ……………………………………………………………………………………………….

2)//ข้อความ……………………………………………………………………………………………….

3)//ข้อความ……………………………………………………………………………………………….

         1.1.2//หัวข้อย่อย

                 1)//ข้อความ……………………………………………………………………………………………….

2)//ข้อความ……………………………………………………………………………………………….

3)//ข้อความ……………………………………………………………………………………………….

    1.2//หัวข้อรอง

         ข้อความ…………………………………………………………………………………………………………….

……………………………………………………………………………………………………………………………………

– แบบที่ 2  ถ้ามีข้อความคั่นระหว่างหัวข้อใหญ่และหัวข้อรอง ให้ตัวเลขของหัวข้อรองตรงกับย่อหน้าแรกของข้อความ (แท็บ 0.6 นิ้ว) และข้อความของหัวข้อรองให้ย่อหน้าตรงกับตัวอักษรตัวแรกของหัวข้อรอง

1. หัวข้อใหญ่

ข้อความ……………………………………………………………………………………………………………….

………………………………………………………………………………………………………………………………………….

           1.1//หัวข้อรอง

                  ข้อความ…………………………………………………………………………………………………………

………………………………………………………………………………………………………………………………………….

           1.2//หัวข้อรอง

                  ข้อความ…………………………………………………………………………………………………………

………………………………………………………………………………………………………………………………………….

                 1.2.1//หัวข้อย่อย

                         ข้อความ……………………………………………………………………………………………….

………………………………………………………………………………………………………………………………………….

                 1.2.2//หัวข้อย่อย

                         ข้อความ……………………………………………………………………………………………….

………………………………………………………………………………………………………………………………………….

–     แบบที่ 3  ถ้าไม่กำกับเลขของหัวข้อใหญ่ ก็ให้นับลำดับของหัวข้อรองเป็น 1, 2,…

หัวข้อใหญ่

ข้อความ……………………………………………………………………………………………………………………..

………………………………………………………………………………………………………………………………………….

1.//หัวข้อรอง

          ข้อความ…………………………………………………………………………………………………………………

………………………………………………………………………………………………………………………………………….

       2.//หัวข้อรอง

          ข้อความ…………………………………………………………………………………………………………………

………………………………………………………………………………………………………………………………………….

หมายเหตุ   /  หมายถึง จำนวนครั้งการเคาะ space bar

การสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยเรียน (CAL) วิชาภาษาไทย

เรื่อง การวิเคราะห์วรรณคดี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

The Computer Assisted Learning Lessons in Thai Language Subject on The Topic of  “Analysis Literature” For Mathayom 6

โสภิตา   สังฆะโณ

รายงานฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาการศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ IS 32201

โรงเรียนพิมานพิทยาสรรค์

ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา  2555

คำนำ

(ข้อความ)………………………………………………………………………………………………………………………………

……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

 (ข้อความ)…………………………………………………………………………………………………………………………….

……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

(ข้อความ)………………………………………………………………………………………………………………………………

……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

โสภิตา  สังฆะโณ

7 มิถุนายน 2555

สารบัญ

เรื่อง                                                                                                     หน้า

คำนำ                                                                                                    ก

สารบัญ                                                                                                  ข

สารบัญภาพ                                                                                             ค

สารบัญตาราง                                                                                          ง

บทที่ 1  ชื่อบท                                                                                        1

1.//หัวข้อใหญ่                                                                               1

1.1//หัวข้อรอง                                                                            1

1.2//หัวข้อรอง                                                                            2

2.//หัวข้อใหญ่                                                                                3

2.1//หัวข้อรอง                                                                            3

2.2//หัวข้อรอง                                                                            4

บทที่ 2  ชื่อบท                                                                                         6

บทที่ 3  ชื่อบท                                                                                         15

บรรณานุกรม                                                                                           21

ภาคผนวก ก                                                                                            24

ภาคผนวก ข                                                                                            26

ประวัติผู้ค้นคว้า

สารบัญภาพ

                                                                                                          หน้า

ภาพที่ 1.1                                                                                              1

ภาพที่ 1.2                                                                                              3

.

.

.

.

.

.

.

.

.

.

.

.

.

.

สารบัญตาราง

                                                                                                          หน้า

ตารางที่ 1.1                                                                                            2

ตารางที่ 2.1                                                                                            6

.

.

.

.

.

.

.

.

บทที่ 1

ชื่อบท

(ข้อความ)……………………………………………………………………………………………………………….

…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………….

1.//หัวข้อใหญ่

.

.

.

.

.

.

.

.

.

.

.

.

.

.

.

.

.

บรรณานุกรม

กอบกาญจน์  ภิญโญมารค. 2547. ภาษากับความคิดและการสื่อสาร. ปัตตานี: มิตรภาพ

พูลสุข  เอกไทยเจริญ./2550./การเขียนรายงานการค้นคว้า./กรุงเทพฯ:/สุวีริยาสาส์น

*ถ้ามีบรรทัดที่สอง ให้เว้นไป 8 ตัวอักษรแล้วจึงเขียนตัวแรกของบรรทัดที่สอง เช่น

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ. 2544.  /

////////ความรู้เบื้องต้นด้านวัสดุ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: งานฝึกอบรม ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและ

////////วัสดุแห่งชาติ.

ภาคผนวก

ภาคผนวก ก

ภาคผนวก ข

เอกสารอ้างอิง

พูลสุข   เอกไทยเจริญ. (2551). การเขียนรายงานการค้นคว้า . กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

4.รูปแบบการทำรายงานการศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้