สินค้านำเข้าในสมัยรัตนโกสินทร์คืออะไร

�ҡ���������������  ��кҷ���稾�й���������������� �������ɮ��Ҫ��� �ç�繹ѡ��ä�ҷ����ʺ������������㹸�áԨ��ä�� ���դ�����ԭ��觤��  �����੾�о��ͧ��  ���ѧ�ӼŻ���ª��������ҹ���ͧ  ���ͧ��ç�繾�ͤ�ҷ��ŧ�ع���Ѻ��ЪҪ��ͧ���ͧ��  ŧ�ع���Ѻ��ҹ���ͧ����Ȫҵ�  �������ѧ�ŵͺ᷹  �繷���Шѡ��Ѵ���  ���ç�ӹ֧�֧��ǹ���ͧ����¹͡�ҡ��ЪҪ�����蹴Թ��  ��觤��·ء���������㨡ѹ�Դ�ٹ������õԤس�ͧ���ͧ����� �ç�� ��кԴ���觡�ä����.

นับตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เสด็จขึ้นครองราชย์ใน พ.ศ.2325 เป็นต้นมา จนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เศรษฐกิจของคนไทยโดยส่วนรวมอยู่ในสภาพที่พอจะอยู่กันได้โดยไม่เดือดร้อนมากนัก ถึงแม้ว่าในสมัยรัชกาลที่ 1 และรัชกาลที่ 2 จะเก็บภาษีอากรได้ไม่พอกับการจ่ายเบี้ยหวัดเงินปีแก่ขุนนาง ข้าราชการก็ตาม แต่ทางราชการก็ได้นำเงินกำไรจากการค้าสำเภากับต่างประเทศมาใช้จ่ายเพิ่มเติมแก้ไขปัญหาในแต่ละปีได้ ดังเห็นได้จากในสมัยรัชกาลที่ 2 จอห์น ครอว์ฟอร์ด ชาวอังกฤษที่เดินทางเข้ามาติดต่อกับไทยได้บันทึกเอาไว้ว่า ไทยจัดเก็บภาษีได้ประมาณปีละ 2,260,000 บาท

Advertisment

ในสมัยรัชกาลที่ 3 เกิดมีรายจ่ายเพิ่มมากขึ้น จึงต้องหาวิธีเพิ่มรายได้แก่ประเทศ ทั้งในด้านการค้าสำเภากับต่างประเทศและการใช้วิธีประมูลผูกขาดการเก็บภาษี จนต้องเพิ่มภาษีใหม่ถึง 38 ชนิด จึงทำให้ประเทศมีรายได้เพียงพอกับรายจ่าย

สภาพทางเศรษฐกิจในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นมีลักษณะดังต่อไปนี้

Advertisement

1.ผลิตผลทางการเกษตร ในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ผลิตผลทางการเกษตรที่สำคัญของไทย ได้แก่ ข้าว อ้อย และพริกไทย พื้นที่ที่ใช้ปลูกข้าวกว้างใหญ่ที่มีน้ำท่วมถึงลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งเป็นบริเวณที่มีดินอุดมสมบูรณ์มาก สามารถปลูกข้าวได้ผลิตผลสูง รวมไปถึงพืช ผัก ผลไม้อื่นๆ ด้วย

1.1) ข้าว : ในปี พ.ศ.2392 ไทยส่งข้าวไปขายยังประเทศจีนประมาณ 200,000 หาบ ข้าวจึงจัดเป็นสินค้าที่จัดอยู่ในลำดับที่ 5 ของสินค้าส่งออกมากตามลำดับ อันได้แก่ น้ำตาล ฝ้าย ไม้หอม ดีบุก และข้าว… ข้าวถือได้ว่าเป็นผลผลิตทางการเกษตรที่ส่งออกของไทยมาก่อน พ.ศ.2398 แต่ปริมาณส่งออกยังเอาแน่นอนไม่ได้ ขึ้นอยู่กับสภาวะตามธรรมชาติภายในประเทศและความต้องการของตลาดต่างประเทศ

1.2) น้ำตาล : เรื่องการผลิตน้ำตาลจากอ้อยนั้น โดยสามารถผลิตน้ำตาลจากอ้อยได้ตั้งแต่ต้นสมัยรัชกาลที่ 2 แล้ว แต่ต่อมาชาวจีนได้รับอนุญาตจากทางราชการไทยให้ปลูกอ้อยทำน้ำตาลได้ จึงได้มีการส่งสินค้าออกไปจำหน่ายนอกประเทศ อุตสาหกรรมประเภทนี้จึงเติบโตอย่างรวดเร็ว ใน พ.ศ.2366 ไทยส่งน้ำตาลไปนอกราชอาณาจักรมีปริมาณถึง 80,000 หาบต่อปี และใน พ.ศ.2392 สามารถผลิตได้ประมาณ 101,000 หาบ จะเห็นได้ว่าปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

Advertisement

1.3) พริกไทย : ผลผลิตทางการเกษตรของไทยในสมัยต้นรัตนโกสินทร์อีกประเภทหนึ่ง คือ พริกไทย ซึ่งอยู่ในกำมือของชาวจีน บริเวณที่สามารถปลูกพริกไทยได้เป็นอย่างดี คือ จันทบุรี และมีการส่งออกพริกไทยไปยังประเทศจีนในช่วงเวลาก่อน พ.ศ.2366 ประมาณปีละ 60,000 หาบ ซึ่งในขณะนั้นพริกไทยเป็นสินค้าที่พ่อค้าต่างชาติต้องการมาก

2.ทรัพยากรธรรมชาติ : ทรัพยากรธรรมชาติที่ทำรายได้ให้กับแผ่นดินต้นรัตนโกสินทร์ มีอยู่ 3 ประเภท คือ

2.1) ไม้สัก : ไม้สักมีมากบริเวณเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แพร่ น่าน ในสมัยรัชกาลที่ 3 ไม้สักตกอยู่ในกำมือของพ่อค้าคนจีน ซึ่งเป็นผู้ประมูลผูกขาดป่าไม้จากเจ้าเมืองฝ่ายเหนือ นอกจากคนจีนแล้ว ทางราชการก็เป็นผู้ดำเนินการโค่นไม้สักเอง เพื่อนำไปใช้ในราชการต่อเรือและส่งไปขายที่เมืองจีนและอินเดีย

2.2) ไม้ฝาง : ไม้ฝางเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีค่าอีกประเภทหนึ่ง ใช้ทำสีย้อมผ้า ไทยได้ส่งไม้ฝางเป็นสินค้าส่งออกเป็นจำนวนมาก รวมทั้งไม้กฤษณาซึ่งเป็นไม้หอม ชาวตะวันตกก็มีความต้องการมาก ไม้เหล่านี้จึงกลายเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญอย่างหนึ่งของไทยในสมัยนั้น

2.3) ดีบุก : ดีบุกเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีอย่างอุดมสมบูรณ์และกระจายอยู่ทั่วไป โดยเฉพาะที่ “ภูเก็ต” ได้กลายเป็นแหล่งผลิตดีบุกมากที่สุด ใน พ.ศ.2328 ไทยสามารถผลิตดีบุกเป็นสินค้าส่งออกได้ถึง 8,000 หาบ หรือ 500 ตัน แร่ดีบุกเป็นสินค้าผูกขาดที่จะต้องนำมาขายให้กับพระคลังสินค้าเท่านั้น โดยเจ้าเมืองจะเป็นผู้ซื้อดีบุกจากราษฎรแล้วนำไปขายต่อให้พ่อค้าต่างชาติอีกต่อหนึ่ง

ในตอนปลายรัชกาลที่ 3 แร่ดีบุกเริ่มเป็นที่ต้องการของตลาดในยุโรป เพราะการปฏิวัติอุตสาหกรรมทำให้ค้นพบว่า การเอาดีบุกไปเคลือบเหล็กจะทำให้เหล็กไม่เกิดสนิม จึงทำให้ตลาดโลกต้องการมาก ราคาดีบุกก็สูงถึงหาบละ 30-35 บาท ดังนั้น จึงทำให้มีการขุดแร่ดีบุกจากเมืองชายหาดชายทะเล หัวเมืองมลายูและหัวเมืองปักษ์ใต้เพิ่มปริมาณมากขึ้นตามไปด้วย

นอกจากดีบุกแล้ว ยังมีเหล็ก ทองแดง ตะกั่ว ทองคำ ซึ่งมีอยู่ทั่วไป แร่ดิบส่วนใหญ่ได้รับการถลุงขั้นแรกที่บริเวณแหล่งแร่ ต่อจากนั้นจะถูกขนส่งมายังกรุงเทพฯ ซึ่งมีโรงงานผลิตเครื่องครัวและเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ ฉะนั้น สินค้าประเภทเหล็กจึงเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญและมีค่าที่สุดอย่างหนึ่งของไทย

3.การจัดเก็บภาษี : ในสมัยรัตนโกสินทร์ยุคต้น ตั้งแต่รัชกาลที่ 1 ถึงรัชกาลที่ 2 การจัดเก็บภาษียังคงมีลักษณะเหมือนกับในสมัยอยุธยา ภาษีอากรที่เรียกเก็บสมัยรัชกาลที่ 1 ก็คือ… อากรสุรา อากรบ่อนเบี้ย อากรค่าน้ำเก็บตามเครื่องมือ อากรสมพัตสร (อากรพืชล้มลุก) อากรค่านา อากรส่วย อากรสวน เป็นต้น ส่วนในรัชกาลที่ 2 ประเภทของภาษีประกอบด้วย จังกอบ อากร ส่วย ฤชา

ในสมัยรัชกาลที่ 3 : ได้มีการแก้ไขวิธีการเก็บภาษีอากรใหม่เพื่อให้มีรายได้เพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม ทั้งนี้ เพราะในสมัยนี้มีศึกสงครามกับข้าศึกภายนอก ดังนั้นรัชกาลที่ 3 จึงได้ทรงตั้งภาษีอากรใหม่ถึง 38 ชนิด เช่น อากรบ่อนเบี้ยจั่น อากรหวย ภาษีเบ็ดเสร็จลงสำเภา ภาษีพริกไทย (ซึ่งเรียกเก็บจากผู้ซื้อและชาวไร่ผู้ปลูก) ภาษีไม้ฝาง ภาษีไม้แดง (ซึ่งเรียกเก็บจากผู้ซื้อลงเรือและเรียกจากผู้ขาย) ภาษีเกลือ ภาษีน้ำมันมะพร้าว ภาษีน้ำมันต่างๆ ภาษีกระทะ ภาษีต้นยาง ภาษีฟืน ภาษีใบจาก เป็นต้น

สำหรับการเก็บอากรค่านานั้น ในสมัยรัชกาลที่ 1-2 ใช้วิธีเก็บหางข้าวจากราษฎร ต่อมาในรัชกาลที่ 3 เรียกเก็บเป็นตัวเงินแทน เนื่องจากมีความต้องการทางด้านการเงินเพิ่มมากขึ้น การเก็บภาษีอากรค่านาในสมัยรัชกาลที่ 3 จึงเรียกเก็บในอัตราไร่ละสลึงเฟื้อง เนื่องจากในรัชกาลที่ 3 มีการเก็บภาษีอากรเพิ่มขึ้นหลายชนิดเพื่อให้การเก็บภาษีอากรได้ผลเต็มเม็ดเต็มหน่วย จึงได้ใช้วิธีการผูกขาดการเก็บภาษีอากร ซึ่งเป็นวิธีการเก็บภาษีในลักษณะที่มีผู้เสนอรับทำภาษีของบางอย่าง ดังนั้น ผู้ใดสามารถประมูลได้
(ผู้ที่ทำสัญญาจะให้ผลประโยชน์ตอบแทนสูง)ก็เป็นผู้ได้รับสิทธิผูกขาดจัดเก็บภาษีของสิ่งของนั้นๆ ผู้ประมูลได้ เรียกว่า “เจ้าภาษีนายอากร”

รัฐบาลจะมอบสิทธิขาดในการจัดเก็บภาษีอากรให้ไปดำเนินการเอง และเมื่อถึงกำหนดเวลาจะต้องนำเงินภาษีอากรที่เก็บได้มาส่งให้ครบตามที่ประมูลไป

4.สภาพการค้าขาย

4.1) การค้าภายใน : ในสมัยรัตนโกสินทร์ยุคต้น การค้าขายยังจัดอยู่ในขอบเขตจำกัด เพราะเศรษฐกิจส่วนใหญ่เป็นแบบเลี้ยงตัวเอง บรรดาพืชผลต่างๆ ซึ่งผลิตได้ส่วนมากจะใช้บริโภคในครัวเรือน ส่วนที่เหลือจากการบริโภคและอุปโภคแล้วจึงจะนำมาซื้อขายแลกเปลี่ยนกันภายในตลาดท้องถิ่นนั้นๆ

การค้าขายภายในส่วนใหญ่มักจะดำเนินไปตามริมแม่น้ำลำคลอง ระบบเงินตรายังใช้เบี้ยเป็นสื่อการซื้อขาย แต่เนื่องจาก
ระบบเงินตรายังไม่ได้มาตรฐานทั่วไป คนส่วนมากจึงนิยมการแลกเปลี่ยนกันในรูปสินค้ามากกว่า

การค้าขายเริ่มขยายตัวขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 โดยมีชาวจีนได้เข้ามามีบทบาททางการค้ามากขึ้น ชาวจีนจะเป็นคนกลางนำสินค้าจากท้องที่หนึ่งไปขายยังอีกท้องที่หนึ่งซึ่งอยู่ห่างไกล

ในสมัยรัชกาลที่ 3 ภายหลังที่รัฐบาลได้ทำการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศแต่เพียงผู้เดียว ราษฎรต้องการขายผลผลิตให้กับพระคลังสินค้า รัฐจะเป็นผู้ควบคุมปริมาณและราคาสินค้าโดยเฉพาะสินค้าที่มีราคา และเป็นที่ต้องการของพ่อค้าต่างชาติ ราษฎรต้องนำไปขายให้กับพระคลังสินค้าเท่านั้น จะขายให้ผู้ใดโดยตรงมิได้

4.2) การค้ากับต่างประเทศ :

4.2.1) ระบบผูกขาดการค้าของพระคลังสินค้า : สมัยรัตนโกสินทร์ยุคต้น (พ.ศ.2325-2394) การค้าขายกับต่างประเทศดำเนินไปตามวิธีการผูกขาดการค้าโดยพระคลังสินค้า เสนาบดีกรมท่าจะมีบทบาทสำคัญในการควบคุมดูแลกิจการค้ากับต่างประเทศ พระคลังสินค้าจึงเป็นหน่วยงานที่มีบทบาทในการควบคุมการค้ากับต่างประเทศเหมือนสมัยอยุธยา

พระคลังสินค้าจะดำเนินนโยบายการค้าในรูปแบบการค้าผูกขาดของหลวง โดยพระคลังสินค้าจะออกประกาศบังคับว่า สินค้าบางอย่างให้ราษฎรนำมาขายให้กับพระคลังสินค้าเท่านั้น จะขายให้ผู้อื่นไม่ได้ ส่วนพ่อค้าต่างประเทศจะต้องมาซื้อสินค้านั้นๆ จากพระคลังสินค้าเท่านั้น เมื่อเรือสินค้าจากต่างประเทศเข้ามาเทียบท่า ทางเจ้าหน้าที่ของไทยจะไปตรวจเลือกซื้อสิ่งของที่ต้องการก่อน เมื่อรัฐบาลได้สินค้าที่ต้องการเพียงพอแล้ว จึงยอมให้จำหน่ายแก่คนทั่วไป แต่ถ้าเป็นสินค้าอาวุธยุทธภัณฑ์ซึ่งเป็นของที่จำเป็นต้องใช้ในราชการ เมื่อมีพ่อค้านำเข้ามา ไทยจะบังคับซื้อจากพ่อค้าในราคาต่ำกว่าปกติ

บรรดาสินค้าต่างๆ ทั้งหลายที่มีราคา เช่น ยาง ดีบุก ลูกกระวาน ตะกั่ว นอแรด งาช้าง พริกไทย กฤษณา เป็นต้น รัฐจะขึ้นบัญชีเป็นสินค้าของหลวง ผู้ใดมีไว้ครอบครองจะต้องนำมาถวายพระเจ้าแผ่นดินตามราคาที่กำหนดไว้ ส่วนสินค้าต้องห้ามที่ชาวต่างประเทศนำเข้ามาจะถูกบังคับให้ขายกับพระคลังสินค้า ได้แก่ ปืนและดินปืน สินค้าชนิดอื่นๆ ถ้ารัฐบาลต้องการซื้อก็มีสิทธิซื้อก่อนผู้ใด

4.2.2) สภาพการค้ากับต่างประเทศ : ในสมัยต้นรัชกาลที่ 2 การค้าขายกับต่างประเทศเริ่มขยายตัวมากขึ้น เพราะพ่อค้าชาวตะวันตกเริ่มเข้ามาค้าขายกับไทย ในระยะนี้ที่เรือสินค้าของไทยและต่างชาติผ่านไปมาค้าขายมากถึง 241 ลำ

ต่อมาในตอนปลาย พ.ศ.2368 อังกฤษได้ส่ง เฮนรี เบอร์นี เข้ามาติดต่อทำสัญญาทางพระราชไมตรีและการค้าขายกับไทยในรัชกาลที่ 3 ไทยจึงได้ทำสัญญากับอังกฤษใน พ.ศ.2369 ในสัญญานี้มีข้อความระบุว่า… “พวกพ่อค้าต้องเสียภาษีการค้าขายตามประเพณีของสถานที่แล้วจึงได้รับอนุญาตให้ซื้อและขายโดยไม่ได้รับการแทรกแซงจากผู้อื่น”…บรรดาพ่อค้าต่างปฏิบัติตามกฎหมายไทย ห้ามนำข้าวสาร ข้าวเปลือกออกนอกราชอาณาจักร ปืนและกระสุนปืนที่นำเข้ามาจะต้องไม่ขายให้ผู้อื่นนอกจากรัฐบาล ถ้ารัฐบาลไม่ต้องการสินค้าเหล่านี้ พ่อค้าจะต้องนำกลับออกไป สินค้าอื่นอนุญาตให้ซื้อขายได้ ทางด้านสินค้าส่งออกไปขายยังต่างประเทศนั้น มีหลายชนิดที่สำคัญ คือ น้ำตาล พริกไทย ข้าว และ
ดีบุก ในสมัยรัชกาลที่ 3 หลังจากทำสัญญาไมตรีและการค้ากับอังกฤษ และสหรัฐอเมริกาแล้ว พ่อค้าต่างประเทศเริ่มเข้ามาค้าขายในกรุงเทพฯ มากขึ้น ทำให้สินค้าส่งออกของไทย เป็นที่ต้องการของพ่อค้าต่างชาติมากขึ้น

ทางด้านการสั่งสินค้าต่างประเทศเข้ามาในไทยนั้น ส่วนมากเป็นผ้าไหมจากจีน ผ้าเนื้อธรรมดาจากอินเดียและแถบมะละกา เครื่องลายคราม ชา ไหมดิบ ไหมสำเร็จรูป ฝ้ายชนิดต่างๆ ทองแท่ง เงินแท้ นอกจากนี้ก็เป็นอาวุธปืน เครื่องแก้ว และสินค้าประเภทฟุ่มเฟือยอีกมากมาย

โดยสรุป สภาพเศรษฐกิจของไทยในสมัยรัตนโกสินทร์ยุคต้น เริ่มต้นขยายตัวและเจริญรุ่งเรืองขึ้นตามลำดับ ตั้งแต่ปลายสมัยรัชกาลที่ 2 จนกระทั่งมาถึงรัชกาลที่ 3 เพราะระบบการค้าแบบผูกขาดโดยพระคลังสินค้า และการเข้ามาติดต่อค้าขายของชาวตะวันตกในสมัยรัชกาลที่ 3 ภายหลังจากการจัดทำสนธิสัญญาเบอร์นีระหว่าง “ไทย” กับ “อังกฤษ” และติดตามด้วย “สหรัฐอเมริกา” สำหรับการค้าขายกับ “จีน” นั้น ยังคงดำเนินไปตามปกติ และยังคงเป็นประโยชน์ต่อฝ่ายไทยเป็นอย่างมากด้วยไงเล่าครับ