ความสัมพันธ์ระหว่างกษัตริย์กับราษฎรในสมัยสุโขทัยมีลักษณะเป็นอย่างไร

การปกครองสมัยสุโขทัย

     อาณาจักรสุโขทัยเมื่อแรกตั้งเป็นอาณาจักรเล็กๆสมัยที่รุ่งเรืองที่สุดคือสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชมีอาณาเขต                          

                   ทิศเหนือจรดเมืองลำพูน

                  ทิศตะวันออกเฉียงเหนือจรดเทือกเขาดงพญาเย็นและภูเขาพนมดงรัก

                  ทิศตะวันตกจรดเมืองหงศาวดีทางใต้จรดแหลมมลายู มีกษัตริย์ปกครองเป็นเอกราชติดต่อกันมา 6 พระองค์

g

ความสัมพันธ์ระหว่างกษัตริย์กับราษฎรในสมัยสุโขทัยมีลักษณะเป็นอย่างไร

          อาณาจักรสุโขทัยเสื่อมลงและตกเป็นเมืองขึ้นของกรุงศรีอยุธยาเมื่อสมัยพญาไสลือไทโดยทำสงครามปราชัยแก่พระบรมราชาที่ 1

      แห่งกรุงศรีอยุธยาในปีพ.ศ.1921  และราชวงศ์พระร่วงยังคงปกครองในฐานะประเทศราชติตต่อกันมาอีก 2พระองค์

      จนสิ้นราชวงศ์ พ.ศ.1981

            ลักษณะการปกครองสมัยสุโขทัย

       แบ่งออกเป็น 2ช่วง คือ การปกครองสมัยสุโขทัยตอนต้นและการปกครองสมัยสุโขทัยตอนปลาย ดังต่อไปนี้

        1.การปกครองสมัยสุโขทัยตอนต้นเมื่อขอมปกครองสุโขทัยใช้ระบบการปกครองแบบนายปกครองบ่าวเมื่อสถาปนากรุงสุโขทัย

      ขึ้นใหม่พ่อขุนศรีอินทราทิตย์จึงจัดการปกครองใหม่เป็นแบบบิดาปกครองบุตรหรือพ่อปกครองลูก หรือ ปิตุลาธิปไตย

       ซึ่งมีลักษณะสำคัญ 4 ประการ คือ

         1. รูปแบบราชาธิปไตย หมายถึงพระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้ปกครองสูงสุด ทรงใช้อำราจสูงสุดที่เรียกว่า อำนาจอธิปไตย

         2. รูปแบบบิดาปกครองบุตร หมายถึงพระมหากษัตริย์ทรงมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับประชาชนมากจึงเปรียบเสมือนเป็นหัวหน้าครอบครัว     

            หรือพ่อจึงมักมีคำนำหน้าพระนามว่าพ่อขุน

         3. ลักษณะลดหลั่นกันลงมาเป็นขั้นๆเริ่มจากหลายครอบครัวรวมกันเป็นบ้านมีพ่อบ้านเป็นผู้ปกครองหลายบ้านรวมกันเป็นเมืองมีพ่อเมือง

             เป็นผู้ปกครองหลายเมืองรวมกันเป็นประเทศมีพ่อขุนเป็นผู้ปกครอง

        4. การยึดหลักธรรมในพุทธศาสนาในการบริหารบ้านเมือง

        2.การปกครองสมัยสุโขทัยตอนปลายการปกครองแบบบิดาปกครองบุตรเริ่มเสื่อมลงเนื่องจากสถาบันพระมหากษะตริย์ไม่มั้นคงเกิดความ

        รำส่ำระสายเมืองต่างๆแยกตัวเป็นอิสระพระมหาธรรมราชาที่ 1จึงทรงดำเนินพระราชกุศโลบายทรงทำนุบำรุงส่งเสริมพระพุทธศาสนา

        และทรงปฏิบัติธรรมเป็นตัวอย่างแก่ราษฏรเพือ่ให้ราษฎรเลื่อมใสศรัทธาในหลักธรรมของพระพุทธศาสนาสร้างความสามัคคีในบ้านเมือง

        ลักษณะการปกครองสุโขทัยตอนปลายจึงเป็นแบบธรรมราชาดังนั้นจึงนับได้ว่าพระองค์ธรรมราชาพระองค์แรกและพระมหากษัตริย์องค์

        ต่อมาทรงพระนามว่า"พระมหาธรรมราชาทุกพระองค์"

การปกครองสมัยสุโขทัย

ความสัมพันธ์ระหว่างกษัตริย์กับราษฎรในสมัยสุโขทัยมีลักษณะเป็นอย่างไร

        การเมืองการปกครอง สมัยสุโขทัย แบ่งเป็น 3ลักษณะ คือ

            1. การปกครองแบบพ่อปกครองลูกเป็นลักษณะเด่นอขงการปกครองตนเองในสมัยสุโขทัยการปกครองลักษณะนี้พระมหากษัตริย์เปรียบเหมือนพ่อของประชาชน

            และปลูกฝังความรู้สึกผูกพันระหว่างญาติมิตรการปกครองเช่นนี้เด่นชัดมากในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช

            2. การปกครองแบบธรรมราชาหรือธรรมาธิปไตยลักษณะการปกครองทรงยึดหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาและต้องเผยแพร่ธรรมะสู่ประชาชนด้วยการปกครอง

          แบบธรรมราชานั้นเจริญรุ่งเรืองมากในสมัยพระมหาธรรมราชาที่ 1พระองค์ทรงออกบวชและศึกษาหลักธรรมอย่างแตกฉาน นอกจากนี้ยังทรงพระราชนิพนธ์

         หนังสือเตภูมิกถา(ไตรภูมิพระร่วง)ไว้ให้ประชาชนศึกษาอีกด้วย

           3. ทรงปกครองโดยยึดหลักสิทธิเสรีภาพเป็นการปกครองที่พระมหากษัตริย์ไม่ได้ทรงใช้อำนาจอย่างเด็ดขาด แต่ให้มีสิทธิเสรีภาพในการประกอบอาชีพด้านต่าง ๆ

           ตามความถนัดเป็นต้น

           การปกครองของอาณาจักรสุโขทัย แบ่งการปกครองออกเป็น

 

ความสัมพันธ์ระหว่างกษัตริย์กับราษฎรในสมัยสุโขทัยมีลักษณะเป็นอย่างไร

         1. เมืองหลวงหรือราชธานีเป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์พระราชวังและวัดจำนวนมากตั้งอยู่ในและนอกกำแพงเมืองราชธานีเป็นศูนย์กลางทางการปกครอง

        การศาสนาวัฒนธรรมศิลปะและขนบประเพณีพระมหากษัตริย์ทางเป็นผู้ปกครองเอง

        2. เมืองลูกหลวงเป็นเมืองหน้าด่านตั้งอยู่รอบราชธานีห่างจากเมืองหลวงมีระยะทางเดินเท้าประมาณ 2วัน ได้แก่ เมืองศรีสัชนาลัย เมืองสองแคว เมืองสระหลวง

        เมืองชากังราว  เมืองลูกหลวงเป็นเมืองที่เจ้านายเชื้อพระวงส์ได้รับแการแต่งตั้งจากพระมหากษัตริย์

ความเสื่อมของอาณาจักรสุโขทัย

        1. การเปลี่ยนแปลงการปกครองสุโขทัยสมัยแรกๆปกครองแบบพ่อปกครองลูกและได้เปลี่ยนเป็นสมมติเทพในสมัยพญาเลอไทซึ่งทำให้ความสัมพันธ์ของ

        พระมหากษัตริย ์กับประชาชนห่างเหินกันมากขึ้นความสัมพันธ์แบบเครือญาติหมดไปพระมหากษัตริย์ต้องปกครองประเทศโดยลำพังทำให้เกิดความขัดแย้งได้ง่าย

        ถ้าพระมหากษัตริย ์อ่อนแอ

        2. การกระจายอำนาจในการปกครองการปกครองแบบนี้ทำให้หัวเมืองต่างๆตั้งตัวเป็นอิสระได้ง่าย เพราะมีอิทธิพลในการปกครองตนเอง

        3. การแตกแยกในราชวงศ์สาเหตุนี้ทำให้บ้านเมืองทรุดโทรมและสูญเสียกำลังมากเพราะการฆ่าฟันกัน

        4. การสิ้นสุดของอาณาจักรสุโขทัยซึ่งเกิดจากการสถาปนากรุงศรีอยุธยาที่มีความพร้อมและมีความเข้มแข็งมากกว่า

 

ความสัมพันธ์ระหว่างกษัตริย์กับราษฎรในสมัยสุโขทัยมีลักษณะเป็นอย่างไร

 การสถาปนาอาณาจักรสุโขทัย

              อาณาจักรสุโขทัยสถาปนาขึ้นประมาณตอนปลายพุทธศตวรรษที่ 18 ในบริเวณภาคเหนือตอนล่าง ซึ่งมีปัจจัยที่เอื้อต่อการสถาปนาดังนี้

        1. การเสื่อมอำนาจของอาณาจักรขอม  อาณาจักรขอมเคยเจริญรุ่งเรืองอยู่ประมาณพุทธศตวรรษที่ 16 จนถึงกลางพุทธศตวรรษที่ 18 ในบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง

         ตอนล่าง มีเมืองนครธม(พระนครหลวง) เป็นเมืองหลวงในประเทศกัมพูชาในปัจจุบันและแผ่อิทธิพลเข้ามายังบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย

         รวมทั้งบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่างด้วย  ในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 (   พ. ศ. 1724 – 1761) อาณาจักรขอมเจริญรุ่งเรืองมาก

         หลังจากนั้นพระมหากษัตริย์องค์ต่อมาอ่อนแอ ไม่สามารถรักษาอำนาจไว้ได้อาณาจักรขอมจึงเสื่อมอำนาจลงเรื่อย ๆจึงเปิดโอกาสให้ชนชาติอื่นที่อาศัย

        ในบริเวณนั้นตั้งตัวเป็นอิสระอย่างเช่นชนชาติไทยได้สถาปนาอาณาจักรสุโขทัยขึ้นมา

        2. ความสามารถของผู้นำชาวไทย ในตอนหลายพุทธศตวรรษที่ 18 ขอมที่มีศูนย์กลางการปกครองที่สุโขทัย เมืองของคนไทยอยู่ภายใต้การปกครองของขอม

       ได้แก่เมืองศรีสัชนาลัย เมืองบางยาง เมืองรากได้รวมตัวกันอย่างมั่นคงและมีความสัมพันธ์ทางเครือญาติที่แน่นแฟ้นเมื่อขอมเสื่อมอำนาจจึงร่วมมือกันขับ

       ไล่ขอมสบาดโขลญลำพงออกจากสุโขทัยได้เป็นอาณาจักรของคนไทยได้สำเร็จ

 

ความสัมพันธ์ระหว่างกษัตริย์กับราษฎรในสมัยสุโขทัยมีลักษณะเป็นอย่างไร

พระมหากษัตริย์ที่ปกครองอาณาจักรสุโขทัย

พระมหากษัตริย์แห่งอาณาจักรสุโขทัยเป็นกษัตริย์ราชวงศ์พระร่วงมีจำนวน 9 พระองค์ ดังนี้

ลำดับ

พระนาม      

 ปีที่ขึ้นครองราชย์

 ปีที่สิ้นสุดรัชสมัย

1

  พ่อขุนศรีอินทราทิตย์  

 พ.ศ. 1792 

  ไม่ปรากฎ

2

 พ่อขุนบานเมือง

  ไม่ปรากฏ

   พ.ศ. 1822

3

   พ่อขุนรามคำแหงมหาราช 

 พ.ศ.1822

 พ.ศ. 1841

4

  พระยาเลอไท 

 พ.ศ.1841 

   ไม่ปรากฎ

5

 พระยางั่วนำถม 

 ไม่ปรากฎ 

 พ.ศ.1890

6

      พระมหาธรรมราชาที่ 1(ลิไท)

  พ.ศ. 1890  

          ระหว่าง พ.ศ. 1911-1916

7

     พระมหาธรรมราชาที่

      ระหว่าง พ.ศ. 1911-1916 

พ.ศ. 1942

8

       พระมหาธรรมราชาที่ 3(ไสลือไท) 

พ.ศ.1943

  พ.ศ.1962

9

      พระมหาธรรมราชาที่ 4(บรมปาล) 

 พ.ศ.1962  

พ.ศ.1981

ความสัมพันธ์ระหว่างกษัตริย์กับประชาชนในสมัยสุโขทัยเป็นแบบใด *

ความสัมพันธ์ระหว่างพระมหากษัตริย์กับราษฎร มีลักษณะแบบเจ้ากับข้า การจัดระเบียบการปกครองราชธานี เป็นแบบจตุสดมภ์ เป็นลักษณะผสมระหว่างการปกครองแบบไทยที่ได้รับมาจากสุโขทัยและแบบเขมร ส่วนที่รับมาจากเขมร คือ การที่พระมหากษัตริย์มอบหมายหน้าที่และความรับผิดชอบให้แก่เสนาบดี 4 ตำแหน่ง ซึ่งเรียกว่า จตุสดมภ์ คือ เวียง วัง คลัง นา

การปกครองแบบพ่อปกครองลูกของอาณาจักรสุโขทัยมีลักษณะเป็นอย่างไร

ระบบพ่อปกครองลูก เป็นคำศัพท์ที่ใช้เรียกลักษณะการปกครองแบบโบราณที่ผู้ปกครองเป็นเสมือน “พ่อ” และประชาชนเปรียบเสมือน “ลูกในทางคำศัพท์จะใช้เรียกแทนพฤติกรรมของบุคคล องค์กร หรือการปกครองที่จำกัดสิทธิเสรีภาพและความอิสระของประชาชน ในบางความหมายจะใช้แทนการเรียกระบบสังคมที่จำกัดสิทธิของคนบางกลุ่มและให้คนบางกลุ่มที่เป็นส่วนน้อย ...

พระพุทธศาสนามีความเกี่ยวข้องกับการปกครองในสมัยสุโขทัยอยาง ไร

การปกครองที่อาศัยพระพุทธศาสนานี้เรียกว่าการปกครองแบบธรรมราชา พระมหากษัตริย์จะทรงตั้งมั่นอยู่ในทศพิธราชธรรม การปกครองแบบธรรมราชานี้ถูกนำมาใช้จนประทั่งสิ้นสุดสมัยสุโขทัย การปกครองแบบกระจายอำนาจ

เพราะเหตุใดการปกครองในสมัยสุโขทัยจึงเรียกว่า การปกครองแบบ พ่อปกครองลูก *

สำหรับสังคมไทย คำว่าระบบพ่อปกครองลูกจะถูกใช้แทนการปกครองของรัฐบาลที่มีพระมหากษัตริย์เป็นผู้นำในสมัยสุโขทัยนั้น ทำให้เข้าใจได้ว่า มีข้าราชการเกิดขึ้นแล้วเรียกว่า "ลูกขุน" โดยมีพระมหากษัตริย์เป็น "พ่อขุน" และมีประชาชนเป็น "ท่วย" หรือ "ไพร่ฟ้า" เพราะฉะนั้น กษัตริย์ในฐานะพ่อจึงสามารถใช้อำนาจเด็ดขาดในการปกครองลูกได้ เพื่อ ...