สถาบันการเงินประเภทธนาคาร มีอะไรบ้าง

 

ธนาคาร หรือสถาบันการเงิน เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของระบบเศรษฐกิจ เนื่องจากเป็นแหล่งที่ช่วยระดมเงินออมจากเอกชน ธุรกิจและรัฐบาล เพื่อนำไปบริการเงินกู้แก่เอกชน ธุรกิจ หรือรัฐบาลที่มีความต้องการเงินทุนไปลงทุน
       สถาบันการเงิน หมายถึง สถาบันธุรกิจที่ทำหน้าที่ระดมเงินออกจากประชาชน มาให้ผู้ที่ต้องการกู้ยืมเพื่อบริโภค การลงทุน หรือการประกอบธุรกิจต่าง ๆ และรับภาระการเสี่ยงจากการให้กู้นั้นแทน โดยอาศัยเครื่องมือเครื่องมือหรือตราสารทางการเงิน สถาบันการเงินจึงทำหน้าที่เสมือนตัวกลางระหว่างผู้ออม และผู้ลงทุนโดยมีกฎหมายให้การคุ้มครองจึงช่วยลดการเอาเปรียบจากเจ้าหนี้และสถาบันการเงิน เช่น ธนาคารพาณิชย์ช่วยเหลือผู้กู้เงินเพื่อการลงทุน โดยให้คำแนะนำเกี่ยวกับช่องทางการลงทุนในกิจการต่าง ๆ เพื่อให้ผู้กู้สามารถตัดสินใจในการลงทุนได้ดียิ่งขึ้น

สถาบันการเงินที่สำคัญของประเทศไทย

ประเทศไทยแบ่งประเภทของสถาบันการเงิน เป็น 2 ประเภท คือ สถาบันการเงินประเภทธนาคาร และสถาบันการเงินที่มิใช่ธนาคาร พอสรุปได้ดังนี้
       1) สถาบันการเงินประเภทธนาคาร เช่น ธนาคารพาณิชย์ต่าง ๆ ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร เป็นต้น
       2) สถาบันการเงินประเภทมิใช่ธนาคาร เช่น กิจการประกันภัย สหกรณ์การเกษตร สหกรณ์ออมทรัพย์ บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ และโรงรับจำนำ เป็นต้น

1. สถาบันการเงินประเภทธนาคาร

     

  1) ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือธนาคารกลาง เป็นสถาบันการเงินที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย เมื่อ วันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2485 มีฐานะเป็นองค์การอิสระอยู่ภายใต้การกำกับของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง มีลักษณะสำคัญ คือ ไม่แสวงหากำไรจากการประกอบการและไม่ทำธุรกิจโดยตรงกับประชาชน จัดตั้งขึ้นเพื่อทำหน้าที่ดังนี้
          - จัดพิมพ์ธนบัตรและนำออกใช้เป็นเงินตรา

          - รักษาเสถียรภาพทางการเงินและเศรษฐกิจของประเทศ
          - ควบคุมการดำเนินงานของธนาคารพาณิชย์
          - เป็นนายธนาคารของรัฐบาล กล่าวคือ ให้ความคิดเห็นแก่รัฐบาลในด้านการเงินและเศรษฐกิจของประเทศ รักษาบัญชีเงินฝากของรัฐวิสาหกิจและหน่วยงานของรัฐบาล ให้รัฐวิสาหกิจและรัฐบาลกู้ยืมเงิน ตลอดจน เป็นตัวแทนทางการเงินของรัฐบาลทั้งในประเทศและต่างประเทศ เช่น ติดต่อหาแหล่งเงินกู้ให้รัฐบาล เป็นตัวแทนขายพันธบัตรรัฐบาล เป็นต้น
          - เป็นแหล่งเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารทางเศรษฐกิจและการเงินทั้งในและประเทศและต่างประเทศ
          - ควบคุมปริมาณเงินที่หมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ
          - ควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
          - ส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจ


       2) ธนาคารพาณิชย์

ธนาคารพาณิชย์นับเป็นสถาบันการเงินที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย สามารถระดมเงินออมจากประชาชนได้มากที่สุด เพราะมีปริมาณเงินฝากและจำนวนเงินให้กู้สูงสุด เมื่อเทียบกับสถาบันการเงิน อื่น ๆ ทำหน้าที่ของธนาคารพาณิชย์ มีดังนี้
          - รับฝากเงินจากประชาชน มีทั้งเงินฝากออมทรัพย์ เงินฝากประจำ และเงินฝากกระแสรายวัน โดยเงินฝากแต่ละประเภทจะมีอัตราดอกเบี้ยที่แตกต่างกัน
          - การให้กู้ยืมเงิน เพื่อการบริโภคหรือการลงทุนตลอดจนนำเงินออมที่มีผู้นำมาฝากไปลงทุนในหลักทรัพย์ เพื่อให้เกิดผลตอบแทน
          - การให้บริการอื่น ๆ เช่น การโอนเงิน การซื้อขายเงินตราต่างประเทศ การให้เช่าตู้นิรภัย การรับชำระค่าบริการต่าง ๆ เป็นต้น


       3) ธนาคารพิเศษ หรือธนาคารที่จัดตั้งขึ้นด้วยวัตถุประสงค์เฉพาะอย่าง ประกอบด้วยธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และธนาคารอาคารสงเคราะห์

1. ธนาคารออมสิน เป็นสถาบันการเงินของรัฐ ที่ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการระดมเงินออมจากประชาชนสู่รัฐบาล เพื่อให้หน่วยงานของรัฐบาลและรัฐวิสาหกิจกู้ไปใช้เป็นเงินทุนพัฒนาประเทศ ปัจจุบันธนาคารออมสินดำเนินงานตามพระราชบัญญัติออมสิน พ.ศ. 2489 ให้บริการแก่ประชาชนทั้งทางด้านการธนาคารและการออกสิน ดังนี้
       ด้านการธนาคาร มีการรับฝากและให้บริการ 4 ประเภท คือ รับฝากเงินกระแสรายวัน รับฝากเงินประจำ จำหน่ายตั๋วแลกเงินเพื่อเดินทางภายในประเทศ และให้ผู้เช่าตู้นิรภัย
       ด้านการออมสิน มีการรับฝากเงินรวม 8 ประเภท คือ รับฝากเผื่อเรียกและฝากประจำ ออกฉลากออมสินพิเศษ ออกพันธบัตรออมสิน รับฝากประเภทรับจ่ายและโอนเงิน รับฝากประเภทสงเคราะห์ชีวิตและครอบครัว รับฝากประเภทชีวิตและการศึกษา รับฝากประเภทสงเคราะห์ทวีคูณ และรับฝากประเภทเคหะสงเคราะห์
       เงินทุนที่ระดมได้ของธนาคารออมสินจะนำเงินรับฝากส่วนใหญ่ไปลงทุนซื้อตั๋วเงินคลังและพันธบัตรรัฐบาล ตลอดจนให้กู้แก่เอกชนเพื่อการลงทุน
2. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2509 เป็นรัฐวิสาหกิจภายใต้การควบคุมของกระทรวงการคลัง การดำเนินงานของธนาคารที่สำคัญ คือ การให้เงินกู้และรับประกันกู้แก่เกษตรกร กลุ่มเกษตรกร และสหกรณ์การเกษตร นอกจากนี้ยังมีโครงการพิเศษ อื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมายจากรัฐบาล เช่น โครงการเงินกู้เพื่อรวบรวมข้าวเปลือกและผลผลิตทางการเกษตร โครงการปลดเปลื้องหนี้สินเกษตรกร โครงการเงินกู้ระดับปานกลางพิเศษ เป็นต้น
3. ธนาคารอาคารสงเคราะห์ จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2496 โดยมีรัฐบาลเป็นเจ้าของอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงการคลัง มีวัตถุประสงค์ คือ การให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชน ที่มีฐานะปานกลางให้สามารถมรบ้านที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง โดยให้ความช่วยเหลือทางด้านการเงินกล่าวคือ ให้กู้ในระยะยาว ดอกเบี้ยต่ำ

2. สถาบันการเงินประเภทมิใช่ธนาคาร

       1) บริษัทเงินทุนและบริษัทหลักทรัพย์ เริ่มดำเนินการในประเทศไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2512 แล้วขยายตัวอย่างรวดเร็ว บริษัทเงินทุน ทำหน้าที่ประกอบกิจการกู้ยืมหรือรับเงินจากประชาชน แล้วนำไปใช้ในกิจการต่าง ๆ เช่น ให้กู้ยืมเงินระยะสั้นไม่เกิน 1 ปี ซึ่งเรียกว่า ธุรกิจเงินทุนเพื่อการพาณิชย์ ให้กู้ยืมเงินระยะเกิน 1 ปีขึ้นไป ซึ่งเรียกว่า ธุรกิจเพื่อการพัฒนา ให้กู้ยืมแก่ผู้ประกอบกิจการให้เช่าซื้อหรือให้ประชาชนเช่าซื้อซึ่งเรียกว่า ธุรกิจเงินทุนเพื่อการจำหน่ายและการบริโภค และให้กู้ยืมแก่ประชาชนหรือผู้ประกอบกิจการอันเกี่ยวกับการจัดหาที่ดินและบ้านที่อยู่อาศัยโดยให้ประชาชนเช่าซื้อ ซึ่งเรียกว่า ธุรกิจเงินทุนเพื่อการเคหะ เป็นต้น ส่วนบริษัทหลักทรัพย์ ทำหน้าที่ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทใดประเภทหนึ่งหรือหลายประเภท ได้แก่ กิจการนายหน้าซื้อขายแลกเปลี่ยนหลักทรัพย์ กิจการค้าหลัก กิจการที่ปรึกษาการลงทุน กิจการการจำหน่ายหลักทรัพย์ กิจการจัดการลงทุน

       คำว่า หลักทรัพย์ (Securities) หมายถึง ตราสารหรือเอกสารการแสดงสิทธิในหนี้หรือทรัพย์สินที่ซื้อขายกัน เช่น หุ้น หุ้นกู้ พันธบัตร ตั๋วเงิน เป็นต้น


       2) บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

       จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2502 โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะจัดหาทุนเพื่อให้กู้ระยะยาวแก่กิจการอุตสาหกรรม เพื่อสร้างสินทรัพย์ถาวร เช่น สร้างโรงงาน เครื่องมือ เครื่องจักร เป็นต้น นอกจากนี้บรรษัทฯ ยังรับประกันเงินกู้ให้กับลูกค้าที่สามารถกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงินทั้งภายในและนอกประเทศ เพื่อส่งเสริมพัฒนากิจการอุตสาหกรรมอีกด้วย
       บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยดำเนินการในรูปบริษัทจำกัด มีธนาคารพาณิชย์สถาบันการเงินต่าง ๆ บริษัทห้างร้าน และประชาชนทั่วไปเป็นผู้ถือหุ้น รัฐบาลให้ความช่วยเหลือทางด้านเงินกู้ และส่งผู้แทนเข้าร่วมเป็นคระกรรมการของบริษัทด้วย
       3) บริษัทประกันชีวิตและประกันภัย เป็นสถาบันการเงินอีกแบบหนึ่งที่ส่งเสริมให้ประชาชนรู้จักประหยัดสร้างความมั่นคงแก่กิจการและครอบครัวของตน ดำเนินการรับประกันภัยให้แก่ผู้อื่นโดยได้รับเบี้ยประกันตอบแทน และบริษัทผู้รับประกันจะต้องเสียค่าสินไหมให้แก่ผู้เอาประกันเมื่อได้รับความเสียหาย และจะต้องคืนเบี้ยประกันให้เมื่อหมดกำหนดอายุสัญยาประกันภัย การประกันที่นิยมแพร่หลาย อาจแบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะ คือ
       1. การประกันชีวิต เป็นการประกันความตายที่ทุกคนต้องประสบ แต่เมื่อได้ประกันชีวิตไว้โดยเสียค่าประกันที่ตกลงกันไว้ หากผู้ประกันชีวิตเสียชีวิตลง ทายาทก็จะได้รับเงินจำนวนหนึ่ง หรือถ้าครบกำหนดแล้วผู้เอาประกันยังมีชีวิตอยู่ บริษัทผู้รับประกันก็จะคืนเงินให้ตามเงื่อนไขที่ตกลงกัน
       2. การประกันวินาศภัย เป็นการประกันภัยอันอาจจะพึงเกิดแก่ทรัพย์สิน เมื่อผู้เอาประกันได้รับความเสียหาย บริษัทผู้ประกันวินาศภัยจะต้องจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้ตามจำนวนที่ตกลงกันไว้แก่ผู้เอาประกัน
      4) สหกรณ์การเกษตร เป็นสถาบันการเงินที่ตั้งขึ้นเพื่อให้แกษตรกรร่วมมือกันช่วยเหลือในการประกอบอาชีพของเกษตร และให้เกษตรกรกู้เงินสหกรณ์การเกษตร ส่วนใหญ่จึงตั้งอยู่ในชนบท และมีผู้บริหารเป็นข้าราชการดำเนินกิจการตามพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2511
      5) สหกรณ์ออมทรัพย์ เป็นสถาบันการเงินที่รับฝากเงินจากสมาชิกและให้สมาชิกกู้ยืมโดยไม่คิดดอกเบี้ย และนำกำไรที่ได้รับจากการดำเนินงานมาแบ่งปันให้สมาชิกตามมูลค่าหุ้นที่ถือและตามมูลค่าดอกเบี้ยเงินกู้ เงินทุนของสหกรณ์ออมทรัพย์ส่วนใหญ่ได้จากเงินค่าหุ้นของสมาชิก ซึ่งผ่อนชำระเป็นรายเดือนจนกว่าจะครบมูลค่าหุ้นที่มีสิทธิถือได้ แล้วนำเงินทุนให้สมาชิกกู้ยืมเพื่อวัตถุประสงค์ต่าง ๆ กัน เช่น เพื่อเหตุฉุกเฉิน เพื่อการอุปโภคบริโภค สหกรณ์ที่มีเงินทุนมากก็อาจให้สมาชิกกู้ยืมระยะยาว เพื่อจัดหาที่อยู่อาศัยด้วย
       6) บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ (Credit Foncier Companies) เป็นบริษัทที่ดำเนินกิจการระดมทุนด้วยการออกตั๋วสัญญาใช้เงินเสนอขายต่อประชาชนทั่วไป เพื่อนำมาให้ประชาชนกู้ไปซื้อที่ดินและสร้างที่อยู่อาศัย
       7) โรงรับจำนำ เป็นสถาบันการเงินขนาดเล็กที่พบเห็นได้ทั่วไปตามแหล่งชุมชน ทำหน้าที่ให้กู้ยืมเงินแก่ประชาชนทั่วไป โดยการรับจำนำสิ่งของและเครื่องใช้ต่าง ๆ ทั้งของใหม่และของที่ใช้แล้ว โรงรับจำนำมีอยู่ 3 ประเภทตามลักษณะของผู้ดำเนินงานคือ โรงรับจำนำที่ดำเนินการโดยเอกชน โรงรับจำนำที่ดำเนินการโดยกรมประชาสงเคราะห์ รียกว่า สถานธนานุเคราะห์ และโรงรับจำนำที่ดำเนินการโดยเทศบาล เรียกว่า สถานธนานุบาล
       การธนาคารหรือสถาบันการเงินที่กล่าวมาข้างต้นนี้ นักเรียนจะเห็นว่าเป็นสถาบันการเงินที่ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับการเงิน กล่าวคือ ทำหน้าที่เป็นแหล่งระดมเงินทุน จากประชาชน แล้วนำมาให้ผู้ลงทุนกู้ยืมไปเพื่อการบริโภคหรือเพื่อการลงทุน สถาบันการเงินที่ทำหน้าที่เสมือนตัวกลางระหว่างผู้ออมและผู้ลงทุนโดยมีกฎหมายให้ความคุ้มครอง จึงช่วยลดการเอารัดเอาเปรียบจากเจ้าหนี้และสถาบันการเงิน เช่น ธนาคารพาณิชย์ บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยเหล่านี้ยังช่วยเหลือผู้กู้เงินโดยให้คำแนะนำเกี่ยวกับช่องทางการลงทุนในกิจการต่าง ๆ เพื่อให้ผู้กู้เงินสามารตัดสินใจในการลงทุนได้ดียิ่งขึ้น

สถาบันการเงินที่เป็นธนาคารมีอะไรบ้าง

SFIs แบ่งออกเป็น 2 ประเภทได้แก่.
1. สถาบันการเงินเฉพาะกิจที่ทำหน้าที่เป็นธนาคารที่ให้บริการทางการเงินทั้งด้านเงินฝากและให้สินเชื่อ ซึ่งปัจจุบันมี 4 แห่ง คือ.
1.1 ธนาคารออมสิน (Government Savings Bank) ... .
1.3 ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (Government Housing Bank) ... .
1.4 ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (Islamic Bank of Thailand).

ข้อใดไม่ใช่สถาบันการเงินประเภทธนาคาร

สถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคาร ( Non-Bank Institutions ) บรรษัทเงินทุน เป็นสถาบันการเงินที่ท าหน้าที่ระดมเงินออมจากประชาชนทั่วไป โดยการ ออกตั๋วสัญญาใช้เงินจ าหน่ายแก่ประชาชนคล้ายกับการรับฝากเงินของ ธนาคารพาณิชย์ แต่อาจให้ดอกเบี้ยในอัตราที่สูงกว่าธนาคารพาณิชย์ทั่วไป แล้วน าไปให้กู้ยืมและลงทุนในหลักทรัพย์

สถาบันการเงิน 3 ประเภทมีอะไรบ้าง

ประเภท ๑. ธนาคารแห่งประเทศไทย ๒. ธนาคารพาณิชย์ ๓. ธนาคารที่มีวัตถุประสงค์พิเศษ

สถาบันการเงินทั่วไปมีอะไรบ้าง

สถาบันการเงินสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ธนาคาร และสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคาร 1. ธนาคาร