ประกัน สังคม มาตรา 33 คือ แบบ ไหน

THAIRATH MEMBERSHIP

Live ชมรายการสด

ข่าว

ข่าว

  • ข่าวล่าสุด
  • พระราชสำนัก
  • ทั่วไทย
  • ในกระแส
  • การเมือง
  • เศรษฐกิจ
  • ต่างประเทศ
  • อาชญากรรม
  • ยานยนต์
  • เทคโนโลยี
  • ราคาทองคำ
  • รายงานพิเศษ

กีฬา

  • ฟุตบอลต่างประเทศ
  • ฟุตบอลไทย
  • Sport insider
  • ไฟต์สปอร์ต
  • กีฬาโลก
  • วิดีโอ
  • แกลเลอรี่
  • ซีเกมส์ 2021

ไทยรัฐทีวี

  • ดูย้อนหลัง
  • วาไรตี้บันเทิง
  • กีฬา
  • ผังรายการ
  • Live

โปรโมชั่น

โปรโมชั่น

  • ซื้อ-ขาย
  • ส่วนลด
  • เช็คราคา

Thairath Talk

หนังสือพิมพ์

คอลัมน์

บันเทิง

ดวง

หวย

นิยาย

วิดีโอ

Podcast

ไลฟ์สไตล์

กิจกรรม

Thairath Plus

Thairath Plus

  • Speak
  • Money
  • Everyday Life
  • Nature Matter
  • Subculture
  • Futurism
  • Spark

Mirror

Mirror

100 ปี ชาตกาล
กำพล วัชรพล

  • ร่วมงานกับเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ติดต่อเรา
  • ติดต่อโฆษณา

facebookfacebook twittertwitter instagraminstagram youtubeyoutube


ผู้ประกันตนมาตรา 33 คือ กลุ่มคนลูกจ้างที่ทำงานในสถานประกอบการ และหน่วยงานราชการ เช่น พนักงานออฟฟิศ พนักงานโรงงาน เป็นต้นค่ะ โดยคุ้มครอง 7 กรณีด้วยกัน ได้แก่
• กรณีเจ็บป่วย
• กรณีคลอดบุตร
• กรณีทุพพลภาพ
• กรณีเสียชีวิต
• กรณีสงเคราะห์บุตร
• กรณีชราภาพ และ
• กรณีว่างงาน

โดยในแต่ละความคุ้มครองมีเงื่อนไขการใช้สิทธิดังนี้
• กรณีเจ็บป่วย
ผู้ประกันตนจะสามารถใช้สิทธิประโยชน์นี้ได้ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย เมื่อเข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลที่เลือกไว้ตามสิทธิ โดยจะส่งเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนวันรับบริการทางการแพทย์
• กรณีคลอดบุตร
ผู้ประกันตนจะต้องจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนวันคลอดบุตร โดยสามารถเบิกค่าคลอดบุตรเหมาจ่าย 15,000 บาท ไม่จำกัดจำนวนครั้ง
• กรณีทุพพลภาพ
กรณีนี้... ผู้ประกันตนจะได้รับสิทธิประโยชน์เมื่อสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนทุพพลภาพ
• กรณีตาย
เมื่อผู้ประกันตนเสียชีวิต หรือตาย จะจ่ายค่าทำศพ 50,000 บาทและเงินสงเคราะห์กรณีตาย โดยคำนวณจากการส่งเงินสมทบ สิทธิประโยชน์นี้จะเกิดขึ้นได้ เมื่อจ่ายเงินสมทบไม่น้อยกว่า 1 เดือน ภายในระยะเวลา 6 เดือน ก่อนเดือนที่ถึงแก่ความตาย
• กรณีสงเคราะห์บุตร
ผู้ประกันตนสามารถรับเงินสงเคราะห์บุตรเหมาจ่าย เดือนละ 800 บาทได้ เมื่อจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน ภายในระยะเวลา 36 เดือน ก่อนเดือนที่มีสิทธิ โดยเบิกได้ตั้งแต่เกิดจนถึง 6 ปี บริบูรณ์

• กรณีว่างงาน
ผู้ประกันตนจะได้รับเงินทดแทนระหว่างการว่างงาน เมื่อจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนการว่างงาน
และกรณีสุดท้าย
• กรณีชราภาพ
โดยจะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพ เมื่อผู้ประกันตนมีอายุครบ 55 ปี และความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง หรือจะเกิดขึ้นเมื่อเป็นผู้ทุพพลภาพหรือตาย

หากมีข้อสงสัย สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ เว็บไซต์ของสำนักงานประกันสังคม www.sso.go.th หรือแอด Line Official @ssothai เท่านี้ ก็สามารถสอบถามและไม่พลาดทุกความเคลื่อนไหวจากสำนักงานประกันสังคม


ผู้ประกันตนมาตรา 33 คืออะไร?

  • ลูกจ้างผู้ทำงานให้กับนายจ้างที่อยู่ในสถานประกอบการ หรือพนักงานเอกชน

ผู้ประกันตนมาตรา 33 จะได้รับความคุ้มครอง 7 กรณี ดังนี้

1. กรณีเจ็บป่วย

    1.1. กรณีเจ็บป่วยปกติ

  • เมื่อเข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลที่สำนักงานกำหนดสิทธิ หรือเครือข่ายของสถานพยาบาลนั้น ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ
  • หากหมดสิทธิได้รับค่าจ้างจากนายจ้างในวันลาป่วยตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานแล้ว จะได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ 50% ของคึ่าจ้างจริง สูงสุดแต่ไม่เกิน 15,000 บาท ไม่เกิน 90 วันต่อครั้ง และไม่เกิน 180 วันต่อปี

*เว้นแต่ ป่วยด้วยโรคเรื้อรังจะได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ ไม่เกิน 365 วัน (กรณีป่วยด้วยโรคเรื้อรัง เมื่อเสียชีวิตจะได้รับค่าทำศพ และเงินสงเคราะห์กรณีตายเช่นเดียวกับกรณีตาย)

    1.2. กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยฉุกเฉิน

  • ถ้าเข้ารับรักษากับสถานพยาบาลที่ไม่ใช่สถานพยาบาลที่สำนักงานกำหนดสิทธิหรือเครือข่าย จะได้รับค่าบริการทางการแพทย์อย่างไร? กรณีผู้ประกันตนได้สำรองจ่ายค่ารักษาพยาบาลไปก่อน สามารถเบิกคืนจากสำนักงานประกันสังคมในอัตราที่กำหนด ดังนี้

          เข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลของรัฐ

          - ไม่ว่าจะประสบอันตราหรือเจ็บป่วยฉุกเฉิน ขอรับค่าบริการทางการแพทย์ได้โดยไม่จำกัดจำนวนครั้ง ตามรายละเอียดดังนี้

  • ผู้ป่วยนอก เบิกค่ารักษาพยาบาลได้เท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็น
  • ผู้ป่วยใน เบิกค่ารักษาพยาบาลได้เท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นภายในระยะเวลาไม่เกิน 72 ชั่วโมง

*ยกเว้น ค่าห้องและค่าอาหารเบิกได้ไม่เกินวันละ 700 บาท

          เข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลเอกชน

          - ทั้งประสบอันตราย หรือเจ็บป่วยฉุกเฉิน สามารถเบิกได้ดังนี้

  • ผู้ป่วยนอก

          - เบิกค่าบริการทางการแพทย์เท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 1,000 บาท
          - เบิกค่าบริการทางการแพทย์เท่าที่จ่ายจริงเกิน 1,000 บาทได้ ถ้ามีการตรวจรักษาตามรายการในประกาศคณะกรรมการการแพทย์ ดังนี้
               - การให้เลือดหรือส่วนประกอบของเลือด
               - การฉีดสารต่อต้านพิษจากเชื้อบาดทะยัก
               - การฉีดวัคซีนหรือเซรุ่มป้องกันโรคพิษสุนักบ้า (เฉพาะเข็มแรก)
               - การตรวจอัลตร้าซาวด์กรณีที่มีภาวะฉุกเฉินเฉียบพลันในช่องท้อง
               - การตรวจด้วย CT-SCAN หรือ MRI จ่ายตามเงื่อนไขที่กำหนด
               - การขูดมดลูกกรณีตกเลือดหลังคลอด หรือตกเลือดจากการแท้งบุตร
               - ค่าฟื้นคืนชีพ และกรณีที่มีการสังเกตอาการในห้องสังเกตอาการตั้งแต่ 3 ชั่วโมงขึ้นไป

  • ผู้ป่วยใน

          - ค่ารักษาพยาบาล กรณีที่ไม่ได้รักษาในห้อง ICU เบิกได้ไม่เกินวันละ 2,000 บาท
          - ค่าห้องและค่าอาหารเบิกได้ไม่เกินวันละ 700 บาท
          - ค่าห้อง ค่าอาหาร ค่ารักษาพยาบาล กรณีที่รักษาในห้อง ICU เบิกได้ไม่เกินวันละ 4,500 บาท
          - กรณีที่มีความจำเป็นต้องผ่าตัดใหญ่เบิกได้ไม่เกินครั้งละ 8,000-16,000 บาท ตามระยะเวลาการผ่าตัด
          - ค่าฟื้นคืนชีพรวมค่ายา และอุปกรณ์เบิกได้ไม่เกิน 4,000 บาท
          - ค่าตรวจทางห้องปฏิบัติการ และหรือเอกซเรย์ เบิกได้ไม่เกินรายละ 1,000 บาท
          - กรณีมีความจำเป็นต้องตรวจวินิจฉัยพิเศษ ได้แก่ การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ, การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง, การตรวจคลื่นสมอง และการตรวจอัลตร้าซาวด์ตามประกาศ
          - การสวนเส้นเลือดหัวใจและเอกซเรย์, การส่องกล้อง, การตรวจด้วยการฉีดสี, การตรวจด้วย CT-SCAN หรือ MRI ตามประกาศ

   1.3. กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต

          - กรณีผู้ประกันตนประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต สามารถเข้ารับบริการทางการแพทย์ ณ สถานพยาบาลเอกชนที่ใกล้เคียงได้ทุกแห่ง โดยไม่ต้องสำรองค่าใช้จ่าย สำนักงานประกันสังคมจะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในการรักษาผู้ประกันตนจนพ้นภาวะวิกฤตให้แก่สถานพยาบาลที่รักษาภายในระยะเวลา 72 ชั่วโมง โดยนับรวมวันหยุดราชการ และกรณีที่ผู้ประกันตนได้รับบริการทางการแพทย์จนพ้นภาวะวิกฤตแล้ว จะส่งตัวไปเข้ารับการรักษาต่อ ณ สถานพยาบาลที่สำนักงานกำหนดสิทธิ
          - ผู้ประกันตนมีสิทธิได้รับค่าอวัยวะเทียมและอุปกรณ์การบำบัดโรคกรณีสูญเสียสมรรถภาพของอวัยวะบางส่วนได้ตามความจำเป็นตามหลักเกณฑ์ และอัตราที่ประกาศคณะกรรมการการแพทย์ฯ กำหนด

   1.4. กรณีทันตกรรม จะได้รับสิทธิอะไรบ้าง?

  • กรณีถอนฟัน อุดฟัน ขูดหินปูน และผ่าตัดฟันคุด ผู้ประกันตนมีสิทธิได้รับค่าบริการทางการแพทย์เท่าที่จ่ายจริง ตามความจำเป็นในอัตราไม่เกิน 900 บาทต่อปี *ในกรณีที่ผู้ประกันตนเข้ารับบริการทางการแพทย์ ณ สถานพยาบาลที่ทำความตกลงกับสำนักงานให้ผู้ประกันตนจ่ายค่าบริการทางการแพทย์ให้กับสถานพยาบาล เฉพาะส่วนเกินจากสิทธิที่ได้รับ
  • กรณีใส่ฟันเทียมชนิดถอดได้บางส่วน ได้รับค่าบริการทางการแพทย์ และค่าฟันเทียมเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นในอัตราไม่เกิน 1,500 บาท ภายในระยะเวลา 5 ปี นับแต่วันที่ใส่ฟันเทียม ตามหลักเกณฑ์ ดังนี้
    1) 1-5 ซี่ เท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นไม่เกิน 1,300 บาท
    2) มากกว่า 5 ซี่ เท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นไม่เกิน 1,500 บาท
  • กรณีใส่ฟันเทียมชนิดถอดได้ทั้งปาก ได้รับค่าบริการทางการแพทย์เท่าที่จ่ายจริง ไม่เกิน 4,400 บาท ภายในระยะเวลา 5 ปี นับแต่วันที่ใส่ฟันเทียม ตามหลักเกณฑ์ดังนี้
    1) ฟันเทียมชนิดถอดได้ทั้งปากบนหรือล่าง เท่าที่จ่ายจริง ไม่เกิน 2,400 บาท
    2) ฟันเทียมชนิดถอดได้ทั้งปากบนหรือล่าง เท่าที่จ่ายจริง ไม่เกิน 4,400 บาท

2. กรณีคลอดบุตร

     ได้สิทธิได้รับค่าคลอดบุตรโดยไม่จำกัดจำนวนครั้ง ดังนี้

  1. ผู้ประกันตนหญิง สามารถคลอดบุตรที่สถานพยาบาลใดก็ได้ จะได้รับเงินค่าคลอดบุตรเหมาจ่าย จำนวน 13,000 บาท และเงินสงเคราะห์ก่ีหยุดงาน เพื่อการคลอดบุตรในอัตรา 50% ของค่าจ้างเฉลี่ยเป็นเวลา 90 วัน (เงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตร เบิกได้ไม่เกิน 2 ครั้ง)
  2. ผู้ประกันตนชาย ที่มีภริยาจดทะเบียนสมรส หรือหญิงซึ่งอยู่กินกันฉันสามีภริยา แต่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส จะได้รับเฉพาะเงินค่าคลอดบุตรเหมาจ่าย จำนวน 13,000 บาท
  3. ค่าตรวจและรับฝากครรภ์ ตามหลักเกณฑ์ที่สำนักงานประกันสังคมประกาศกำหนด

3. กรณีทุพพลภาพ

   3.1. เงินทดแทนการขาดรายได้

  • กรณีทุพพลภาพระดับความสูญเสียไม่รุนแรง ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ ดังนี้
    - ไม่อาจทำงานตามปกติ และงานอื่นได้ให้มีสิทธิได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ในอัตรา 30% ของค่าจ้างรายวันตามมาตรา 57 ไม่เกิน 180 เดือน
    - ไม่อาจทำงานตามปกติและรายได้ลดลงจากเดิม ให้มีสิทธิได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ในส่วนที่ลดลง แต่ไม่เกินอัตรา 30% ของค่าจ้างรายวันตามมาตรา 57 ไม่เกิน 180 เดือน
  • กรณีทุพพลภาพระดับความสูญเสียรุนแรง
    - ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ในอัตรา 50% ของค่าจ้างรายวัน ตามมาตรา 57 ตลอดชีวิต

   3.2. ค่าบริการทางการแพทย์

  • กรณีเจ็บป่วยปกติ
      สถานพยาบาลของรัฐ
       - กรณีผู้ป่วยนอก ได้รับค่าบริการทางการแพทย์ เท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็น
       - กรณีผู้ป่วยใน เข้ารับบริการทางการแพทย์ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย เนื่องจากสถานพยาบาลจะเป็นผู้เบิกจากสำนักงานประกันสังคมโดยตรง

            สถานพยาบาลเอกชน
            - กรณีผู้ป่วยนอก ได้รับค่าบริการทางการแพทย์ เท่าที่จ่ายจริงไม่เกินเดือนละ 2,000 บาท
            - กรณีผู่ป่วยใน ได้รับค่าบริการทางการแพทย์ เท่าที่จ่ายจริงไม่เกินเดือนละ 4,000 บาท

  • กรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต : ผู้ทุพพลภาพที่ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤตสามารถเข้ารับบริการทางการแพทย์ ณ สถานพยาบาลเอกชนที่ใกล้เคียงได้ทุกแห่ง โดยไม่ต้องสำรองค่าใช้จ่าย สำนักงานประกันสังคมจะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในการรักษาผู้ทุพพลภาพจนพ้นวิกฤตให้แก่สถานพยาบาลที่รักษาภายในระยะเวลา 72 ชั่วโมง และกรณีที่ผู้ทุพพลภาพได้รับบริการทางการแพทย์จนพ้นภาวะวิกฤตแล้วจะส่งตัวไปเข้ารับการรักษาต่อ ณ สถานพยาบาลของรัฐ
    - มีสิทธิได้รับค่าอุปกรณ์หรืออวัยวะเทียมได้ตามความจำเป็นตามหลักเกณฑ์ ประเภท และอัตราที่กระทรวงการคลังกำหนด
    - มีสิทธิได้รับค่ารถพยาบาล หรือค่าพาหนะรับส่งผู้ทุพพลภาพ กรณีเข้ารับบริการทางการแพทย์ เหมาจ่ายไม่เกินเดือนละ 500 บาท
    - มีสิทธิได้รับค่าใช้จ่ายในกระบวนการฟื้นฟูสมรรถภาพของผู้ทุพพลภาพทางร่างกาย จิตใจและอาชีพ ตามประกาศสำนักงานประกันสังคม เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์อัตราค่าฟื้นฟูของผู้ทุพพลภาพ
    - ผู้ประกันตนที่ทุพพลภาพเสียชีวิต จะได้รับค่าทำศพ และเงินสงเคราะห์ กรณีตายเช่นเดียวกับกรณีตาย

4. กรณีตาย

ได้รับค่าทำศพ 40,000 บาท และได้รับเงินสงเคราะห์ กรณีตาย ดังนี้

  • จ่ายสมทบตั้งแต่ 36 เดือนขึ้นไป แต่ไม่ถึง 120 เดือน จะได้รับเงินสงเคราะห์ในอัตรา 50% ของค่าจ้างเฉลี่ย 4 เดือน
  • จ่ายสมทบตั้งแต่ 120 เดือนขึ้นไป จะได้รับเงินสงเคราะห์ในอัตรา 50% ของค่าจ้างเฉลี่ย 12 เดือน

5. กรณีสงเคราะห์บุตร

ได้รับเงินสงเคราะห์บุตรเหมาจ่าย เดือนละ 600 บาท ต่อบุตรหนึ่งคน สำหรับบุตรชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งมีอายุไม่เกิน 6 ปีบริบูรณ์ คราวละไม่เกิน 3 คน

6. กรณีชราภาพ

เงินบำนาญชราภาพ

  1. กรณีจ่ายเงินสมทบครบ 180 เดือน (15 ปี) ได้รับเงินบำนาญชราภาพในอัตรา 20% ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้ายที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบ ก่อนความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง
  2. กรณีจ่ายเงินสมทบมากกว่า 180 เดือน (15 ปีขึ้นไป) ให้ปรับเพิ่มอัตราเงินบำนาญชราภาพตามข้อ 1 ขึ้นอีก 1.5% ต่อระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบครบทุก 12 เดือน

"สูตรคำนวณเงินบำนาญชราภาพ = ค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย คูณด้วย 20% (+จำนวน % ที่เพิ่มให้อีกปีละ 1.5%)"

เงินบำเหน็จชราภาพ

  1. กรณีจ่ายเงินสมทบต่ำกว่า 12 เดือน จะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพเท่ากับจำนวนเงินสมทบเฉพาะส่วนของผู้ประกันตน เพื่อการจ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพ
  2. กรณีจ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 12 เดือนขึ้นไป จะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพเท่ากับจำนวนเงินสมทบที่ผู้ประกันตนและนายจ้างจ่ายสมทบ เพื่อการจ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพ พร้อมผลประโยชน์ตอบแทนตามที่สำนักงานประกันสังคมประกาศกำหนด
  3. กรณีผู้รับเงินบำนาญชราภาพถึงแก่ความตาย ภายใน 60 เดือน นับแต่เดือนที่มีสิทธิได้รับเงินบำนาญชราภาพ จะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพจำนวน 10 เท่าของเงินบำนาญชราภาพรายเดือนที่ได้รับคราวสุดท้ายก่อนถึงแก่ความตาย

"สูตรคำนวณเงินบำเหน็จชราภาพ"
กรณีจ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 1-11 เดือน = เงินสมทบของผู้ประกันตนฝ่ายเดียว
กรณีจ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 12-179 เดือน = เงินสมทบของผู้ประกันตน + เงินสมทบของนายจ้าง + ผลประโยชน์ตอบแทน

เงินบำนาญชราภาพ : จ่ายเป็นรายเดือนตลอดชีวิต
เงินบำเหน็จชราภาพ : จ่ายเป็นเงินก้อนครั้งเดียว

7. กรณีว่างงาน

   7.1. กรณีถูกเลิกจ้าง

  • ได้รับเงินทดแทนในระหว่างการว่างงานอัตรา 50% ของค่าจ้าง ครั้งละไม่เกิน 180 วัน

   7.2. กรณีลาออกหรือสิ้นสุดสัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอน

  • ได้รับเงินทดแทนในระหว่างการว่างงานอัตรา 30% ของค่าจ้าง ครั้งละไม่เกิน 90 วัน

   7.3. กรณีว่างงานเนื่องจากเหตุสุดวิสัย

  • ได้รับเงินทดแทนในระหว่างการว่างงานอัตรา 50% ของค่าจ้างครั้งละไม่เกิน 180 วัน

"เหตุสุดวิสัย" หมายความว่า อัคคีภัย วาตภัย หรือธรณีพิบัติ ตลอดจนภัยอื่นๆ อันเกิดจากธรรมชาติ ซึ่งมีผลกระทบต่อสาธารณสุข และถึงขนาดผู้ประกันตนไม่สามารถทำงานได้ หรือนายจ้างไม่สามารถประกอบกิจการได้ตามปกติ

***หากใน 1 ปีปฏิทิน มีการยื่นขอรับเงินทดแทนในระหว่างการว่างงาน ทั้งกรณีที่ 1 และกรณีที่ 2 ให้นับระยะเวลาการรับเงินทดแทนในระหว่างการว่างงานรวมกันไม่เกิน 180 วัน***

***หากใน 1 ปีปฏิทิน มีการยื่นขอรับเงินทดแทนในระหว่างการว่างงานตามกรณีที่ 2 เกิน 1 ครั้ง ให้นับระยะเวลาการรับเงินทดแทนในระหว่างการว่างงานรวมกันทุกครั้งไม่เกิน 90 วัน ***

หมายเหตุ: กรณีที่ 1 และกรณีที่ 2 ผู้ประกันตนต้องขึ้นทะเบียนผู้ว่างงานและรายงานตัว ทางระบบอินเตอร์เน็ต (เว็บไซต์ www.empui.doe.go.th) ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ถูกเลิกจ้าง หรือลาออก หรือสิ้นสุดสัญญาจ้างฯ เพื่อมิให้เสียสิทธิในการรับเงินทดแทน

การขอรับประโยชน์ทดแทน

ผู้ประกันตนสามารถยื่นแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนได้ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานคร พื้นที่/จังหวัด/สาขาทั่วประเทศ

ช่องทางการรับเงินประโยชน์ทดแทน

  • รับเงินด้วยตนเอง หรือมอบอำนาจรับเงินแทน
  • รับเงินทางธนาณัติ
  • รับเงินผ่านธนาคาร 11 แห่ง ได้แก่

         

- ธ.กสิกรไทย
          - ธ.กรุงศรีอยุธยา
          - ธ.กรุงเทพ
          - ธ.ไทยพาณิชย์
          - ธ.อิสลามแห่งประเทศไทย
          - ธ.กรุงไทย
          - ธ.ทหารไทยธนชาต
          - ธ.ซีไอเอ็มบีไทย
          - ธ.ออมสิน
          - ธ.ก.ส.

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!!

ที่มา : www.sanook.com

ลงทะเบียน ม.33 ใครได้บ้าง

ผู้ที่มีสิทธิสมัครเป็นผู้ประกันตน.33 จะต้องเป็นมนุษย์เงินเดือนที่ทำงานตามบริษัทเอกชนทั่วไป หรือพนักงานประจำที่มีนายจ้าง ซึ่งมีช่วงอายุ 15-60 ปีบริบูรณ์ โดยนายจ้างจะเป็นผู้แจ้งขึ้นทะเบียนต่อสำนักงานประกันสังคมให้ลูกจ้าง ซึ่งความคุ้มครองที่ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 จะได้รับมีดังนี้

มาตรา33จะได้รับอะไรบ้าง

- มีสิทธิได้รับค่ารถพยาบาล หรือค่าพาหนะรับส่งผู้ทุพพลภาพ กรณีเข้ารับบริการทางการแพทย์ เหมาจ่ายไม่เกินเดือนละ 500 บาท - มีสิทธิได้รับค่าใช้จ่ายในกระบวนการฟื้นฟูสมรรถภาพของผู้ทุพพลภาพทางร่างกาย จิตใจและอาชีพ ตามประกาศสำนักงานประกันสังคม เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์อัตราค่าฟื้นฟูของผู้ทุพพลภาพ

ประกันสังคมมาตรา 33 ใช้ได้ตอนไหน

หากท่านไม่เห็นด้วยกับผลการอุทธรณ์ ผู้มีสิทธิขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตน (มาตรา 33) ต้องเป็นลูกจ้างที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์ และไม่เกิน 60 ปีบริบูรณ์ ถ้าสิ้นสุดการเป็นผู้ประกันตน จะได้รับการคุ้มครองต่ออีก 4 กรณี (1-4) เป็นระยะเวลา 6 เดือน นับแต่วันที่สิ้นสภาพการเป็นลูกจ้าง

ประกัน สังคม มาตรา 33 กับ 40 ต่าง กัน อย่างไร

โดยหลักๆแล้วที่เห็นได้ชัดเลยก็คือ มาตรา 33 (ภาคบังคับ) สำหรับพนักงานเอกชนทั่วไป มาตรา 39 (ภาคสมัครใจ) สำหรับผู้ที่ ไม่ทำงานประจำแล้ว อยากส่งเองต่อ มาตา 40 (ภาคสมัครใจ) สำหรับแรงงานนอกระบบ, อาชีพอิสระ

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv แปลภาษาอาหรับ-ไทย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ค้นหา ประวัติ นามสกุล ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง ไทยแปลอังกฤษ ประโยค Terjemahan เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาจีน กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ่้แปลภาษา Google Translate ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย พร บ ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 วิธีใช้มิเตอร์วัดไฟดิจิตอล สหกรณ์ออมทรัพย์กรมส่งเสริมการปกครอง ส่วนท้องถิ่น ห่อหมกฮวก แปลว่า Bahasa Thailand Thailand translate mu-x มือสอง รถบ้าน การวัดกระแสไฟฟ้า ด้วย แอมมิเตอร์ การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน แคปชั่น พจนานุกรมศัพท์ทหาร ภูมิอากาศ มีอะไรบ้าง สถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น อาจารย์ ตจต อเวนเจอร์ส ทั้งหมด เขียน อาหรับ แปลไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน Google map Spirited Away 2 spirited away ดูได้ที่ไหน tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง กินยาคุมกี่วัน ถึง ปล่อยในได้ ธาตุทองซาวด์เนื้อเพลง บช.สอท.ตำรวจไซเบอร์ ล่าสุด บบบย มิติวิญญาณมหัศจรรย์ ตอนจบ รหัสจังหวัด อําเภอ ตําบล ศัพท์ทางทหาร military words สอบ O หยน