กิจการประเภทใดจัดตั้งง่ายที่สุด

สำหรับคนที่ทำธุรกิจ ต้องทราบว่าธุรกิจของตนเองจัดอยู่ในประเภทไหน เพื่อที่จะได้บริหารจัดการธุรกิจและจดทะเบียนการค้าได้ถูกต้อง รวมถึงจะสามารถคำนวณภาษีได้ถูกประเภทด้วย นอกจากนี้ยังส่งผลต่อเรื่องการลงทุน ว่าหุ้นส่วนแต่ละคนจะลงทุนคนละเท่าไหร่ ได้กำไรหรือรับผิดชอบร่วมกันอย่างไร รวมถึงการขายหุ้นให้คนทั่้วไปสามารถร่วมลงทุนกับบริษัทได้อีกด้วย 

Show

การรู้จักประเภทธุรกิจของตนเองเป็นอย่างดี จะทำให้การบริหารดำเนินงานเป็นไปได้ดีขึ้น มีความเป็นมืออาชีพและดูน่าเชื่อถือ ส่งผลให้ประสบความสำเร็จได้ง่ายกว่านั่นเอง

ประเภทของธุรกิจ

ประเภทของธุรกิจสามารถแบ่งได้หลักๆ คือ แบบบุคคลธรรมดา ได้แก่ กิจการเจ้าของคนเดียว ห้างหุ้นส่วนสามัญ และ แบบนิติบุคคล เช่น ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด

1. ประเภทของธุรกิจแบบบุคคลธรรมดา

1.1 กิจการเจ้าของคนเดียว

ธุรกิจที่มีเจ้าของคนเดียว มูลค่าของกิจการไม่สูงมาก มีการจดทะเบียนการค้าแบบบุคคลธรรมดา การตัดสินใจต่างๆ รวมทั้งเรื่องกำไรหรือขาดทุนก็มีผลต่อเจ้าของกิจการเพียงคนเดียว ตัวอย่างเช่น เจ้าของร้านชำที่เราเห็นได้ทั่วๆ ไป

1.2 ห้างหุ้นส่วนสามัญ

ลักษณะธุรกิจคล้ายกับกิจการเจ้าของคนเดียว เพียงแต่มีผู้ร่วมธุรกิจตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป มีสิทธิ์ในการตัดสินใจ ผลจากกำไร และการขาดทุนเท่าๆ กันซึ่งห้างหุ้นส่วนสามัญจะต่างกับห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลตรงที่ไม่ได้จดทะเบียน ทำให้มีสถานะเป็นคณะบุคคลนั่นเอง

2. ประเภทของธุรกิจแบบนิติบุคคล

2.1 ห้างหุ้นส่วนสามัญที่จดทะเบียนและห้างหุ้นส่วนจำกัด

ลักษณะธุรกิจคล้ายกับห้างหุ้นส่วนสามัญ คือมีผู้ร่วมธุรกิจตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป เพียงแต่มีการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ความแตกต่างคือ หุ้นส่วนมีความรับผิดชอบแตกต่างกัน คือ แบบรับผิดชอบในหนี้สินแบบจำกัด โดยรับผิดชอบไม่เกินเงินที่ได้ลงทุน แต่ไม่มีการสิทธิการตัดสินใจในกิจการ ส่วนแบบรับผิดชอบในหนี้สินไม่จำกัด โดยรับผิดชอบในหนี้สินไม่จำกัดจำนวน แต่มีสิทธิในการตัดสินใจต่างๆ

2.2 บริษัทจำกัด

ธุรกิจที่มีผู้ร่วมดำเนินงานตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป ถือหุ้นในจำนวนเท่าๆ กัน ซึ่งเรียกว่า “ผู้ถือหุ้น” ซึ่งรับผิดชอบหนี้สินร่วมกันไม่เกินจำนวนเงินที่ลงทุน บริษัทจำกัดต้องจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ธุรกิจประเภทนี้เหมาะกับกิจการที่มีรายได้หรือมูลค่าสูง มีความเป็นสากลเพราะมีการจัดตั้งคณะกรรมการบริษัทขึ้นมาบริหารและตัดสินใจการดำเนินงานต่างๆ

2.3 บริษัทมหาชนจำกัด

บริษัทจำกัดที่นำหุ้นออกจำหน่ายให้บุคคลทั่วไปซื้อ และร่วมเป็นหุ้นส่วนของบริษัทได้ตามสัดส่วนที่ซื้อ ซึ่งหุ้นดังกล่าวสามารถขายต่อให้ผู้อื่นได้ตามราคาหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ แต่เดิมบริษัทมหาชนจำกัดต้องมีผู้ถือหุ้นอย่างน้อย 100 คน แต่ปัจจุบันต้องมีผู้ถือหุ้นไม่น้อยกว่า 15 คน

2.4 องค์กรธุรกิจจัดตั้งหรือจดทะเบียนภายใต้กฎหมายเฉพาะ

องค์กรธุรกิจจัดตั้ง มีผู้ถือหุ้นตั้งแต่ 15 คนขึ้นไป หุ้นแต่ละหุ้นมีมูลค่าเท่ากัน การชำระค่าหุ้นคือชำระครั้งเดียวเต็มจำนวน และกรรมการของบริษัทไม่น้อยกว่า 5 คน โดยลักษณะของธุรกิจมีดังนี้ ธุรกิจการเกษตร คือ การทำไร่ ทำสวน ปศุสัตว์ ธุรกิจอุตสาหกรรม ทั้งในครัวเรือน และอุตสาหกรรมโรงงาน ธุรกิจเหมืองแร่ ธุรกิจการพาณิชย์ ธุรกิจการก่อสร้าง ธุรกิจการเงิน ธุรกิจการให้บริการ ธุรกิจอาหาร ธุรกิจอื่นๆ เช่น ผู้ประกอบอาชีพอิสระ อย่างแพทย์ วิศวกร สถาปนิก เป็นต้น

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!!

ธุรกิจ (Business) คือ การดำเนินกิจกรรมของบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่ร่วมกันในการดำเนินการผลิต การจำหน่ายสินค้าหรือบริการ โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะได้รับผลตอบแทนหรือผลกำไรจากดำเนินกิจกรรมนั้น ๆ ในปัจจุบัน การประกอบธุรกิจมีอยู่ด้วยกันหลายลักษณะทั้งธุรกิจ SME ธุรกิจขนาดเล็ก ธุรกิจขนาดกลาง และธุรกิจขนาดใหญ่ และยังสามารถดำเนินการได้หลายรูปแบบทั้งธุรกิจที่มีบุคคลเพียงคนเดียวเป็นเจ้าของกิจการโดยลำพังและธุรกิจที่เป็นการร่วมลงทุนกับบุคคลอื่นเป็นกลุ่มคณะPMP SERVE (THAILAND) จึงจะพาทุกท่านไปทำความรู้จักรูปแบบธุรกิจ ซึ่งจะแบ่งออกเป็นธุรกิจที่เป็นนิติบุคคลและธุรกิจที่ไม่เป็นนิติบุคคลดังนี้

กิจการประเภทใดจัดตั้งง่ายที่สุด

เป็นนิติบุคคล

รูปแบบการประกอบธุรกิจที่ต้องมีการจดทะเบียนจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายมีดังนี้

ห้างหุ้นส่วน (Partnership)

ห้างหุ้นส่วน คือ การประกอบธุรกิจร่วมกันของบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป โดยจะต้องมีการลงทุนร่วมกันด้วย เงิน ทรัพย์สิน หรือแรงงาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหาผลกำไรและแบ่งผลกำไรจากการดำเนินธุรกิจตามสัดส่วนที่ตกลงกัน โดยห้างหุ้นส่วนที่จัดเป็นนิติบุคคลแบ่งออกเป็น  2  ประเภทคือ

  • ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน (Registered Ordinary Partnership) 

ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน คือ ห้างหุ้นส่วนที่มีสภาพเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายและมีชื่อเรียกโดยเฉพาะว่า “ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล” เป็นรูปแบบของห้างหุ้นส่วนที่ผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนเป็นหุ้นส่วนชนิดที่ “ไม่จำกัดความรับผิดชอบ” ซึ่งหมายถึงหุ้นส่วนทุกคนต้องรับผิดในหนี้สินทั้งหมดของห้างหุ้นส่วนโดยไม่จำกัดจำนวนในกรณีห้างหุ้นส่วนมีหนี้สินที่เกิดขึ้นจากการประกอบกิจการ และผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนมีสิทธิดำเนินกิจการในนามห้างหุ้นส่วนได้อย่างเท่าเทียมกัน

  • ห้างหุ้นส่วนจำกัด (Limited  Partnership) 

ห้างหุ้นส่วนจำกัด คือ รูปแบบห้างหุ้นส่วนที่มีการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล จึงมีผลทำให้กิจการนั้นเสมือนเป็นบุคคลและมีสิทธิดำเนินการต่าง ๆ ตามที่กฎหมายกำหนด โดยห้างหุ้นส่วนจำกัดจะประกอบด้วยหุ้นส่วน 2 ประเภท ได้แก่ หุ้นส่วนจำกัดความรับผิด จะมีคนเดียวหรือหลายคนก็ได้ รับผิดไม่เกินจำนวนเงินที่ตนลงหุ้นในห้างหุ้นส่วนจำกัด และหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิด จะมีคนเดียวหรือหลายคนก็ได้ รับผิดร่วมกันในหนี้สินของห้างหุ้นส่วนทั้งหมด

บริษัทจำกัด (Company Limited หรือ Corporation)

บริษัทมหาชนจำกัด คือ บริษัทประเภทหนึ่งที่ประกอบด้วยผู้ถือหุ้นตั้งแต่ 15 คนขึ้นไปและต้องมีจำนวนกรรมการของบริษัทมีไม่น้อยกว่า 5 คน โดยตั้งขึ้นด้วยประสงค์ที่จะเสนอขายหุ้นต่อประชาชน โดยระบุความประสงค์ไว้อย่างชัดเจนในหนังสือบริคณห์สนธิ กล่าวง่าย ๆ คือ บริษัทมหาชนจำกัดสามารถนำหุ้นจำนวนหนึ่งของบริษัทออกจำหน่ายให้ประชาชนทั่วไปได้ ประชาชนผู้ซื้อหุ้นจึงถือเป็นเจ้าของกิจการนั้นตามสัดส่วนของหุ้นที่ถืออยู่และจะได้รับผลประโยชน์ตอบแทนในรูปของเงินปันผล โดยผู้ถือหุ้นมีความรับผิดจำกัดไม่เกินจำนวนเงินค่าหุ้นที่ต้องชำระ ในกรณที่กิจการล้มละลายหรือต้องปิดกิจการไป ผู้ถือหุ้นรับผิดชอบแค่สูญเสียเงินลงทุนเท่านั้น และหุ้นนี้อาจขายให้ผู้อื่นได้ตามราคาหุ้นในแต่ละวัน ซึ่งจะอยู่ภายใต้การกำกับของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์

องค์กรธุรกิจจัดตั้งหรือจดทะเบียนภายใต้กฎหมายเฉพาะ (Business Organization Established under Specific Law)

องค์กรธุรกิจที่จัดตั้งหรือจดทะเบียนภายใต้กฎหมายเฉพาะ คือ รูปแบบธุรกิจที่ประกอบด้วยผู้ถือหุ้นตั้งแต่ 15 คนขึ้นไป และจะต้องมีกรรมการไม่น้อยกว่า 5 คน โดยจะแบ่งทุนออกเป็นหุ้น มูลค่าหุ้นละเท่า ๆ กัน มีการชำระค่าหุ้นครั้งเดียวเต็มจำนวน โดยตัวอย่างของลักษณะของธุรกิจประเภทนี้ ธุรกิจการเกษตร ธุรกิจอุตสาหกรรม ธุรกิจการพาณิชย์ ธุรกิจการก่อสร้าง ธุรกิจการให้บริการ ธุรกิจเหมืองแร่ ธุรกิจการเงิน ธุรกิจการให้บริการ ธุรกิจอาหาร รวมถึงผู้ประกอบอาชีพอิสระอย่างแพทย์ วิศวกร สถาปนิก เป็นต้น

ไม่เป็นนิติบุคคล

รูปแบบการประกอบธุรกิจที่ไม่ต้องมีการจดทะเบียนจัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย แต่อาจต้องมีการจดทะเบียนพาณิชย์มีดังนี้

กิจการเจ้าของคนเดียว (Sole  Proprietorship หรือ Single  Proprietorship)

กิจการเจ้าของคนเดียว คือ การประกอบธุรกิจที่มีบุคคลเพียงคนเดียวเป็นเจ้าของกิจการ ได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนทั้งผลกำไรและผลขาดทุนเพียงคนเดียว เจ้าของกิจการมีความรับผิดชอบในหนี้สินทั้งหมดไม่จำกัดจำนวน เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกร้องเอาทรัพย์สินของเจ้าของได้หากทรัพย์สินของกิจการไม่เพียงพอชำระหนี้ ถือเป็นรูปแบบธุรกิจที่สามารถพบเห็นได้บ่อยในชีวิตประจำวัน เช่น ร้านขายของชำ หาบเร่  แผงลอย ร้านเสริมสวย ร้านขายเสื้อผ้า เป็นต้น โดยหากเข้าข่ายเป็นกิจการตามพระราชบัญญัติทะเบียนพาณิชย์ พ.ศ. 2499 กำหนดจะต้องจดทะเบียน เจ้าของกิจการต้องยื่นขอจดทะเบียนพาณิชย์ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้เริ่มประกอบกิจการ

ห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียน (Unregistered Ordinary Partnership)

ห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียนหรือที่นิยมเรียกกันว่า “ห้างหุ้นส่วนสามัญ” คือ การตกลงทำกิจการร่วมกันระหว่างบุคคลตั้งแต่ 2 บุคคลขึ้นไป โดยเกิดจากความสมัครใจของบุคคลที่จะดำเนินธุรกิจร่วมกัน มีการตกลงได้เสียร่วมกัน โดยอาจมีหลักฐานเป็นหนังสือหรือไม่มีก็ได้ แต่จะต้องมีสิ่งใดสิ่งหนึ่งมาลงหุ้น เช่น เงิน ทรัพย์สิน หรือแรงงาน โดยมีวัตถุประสงค์ในการนำกำไรมาแบ่งร่วมกัน มีข้อดีคือจัดตั้งได้ง่ายและมีความเสี่ยงน้อยกว่าการประกอบกิจการแบบคนเดียว เพราะมีหุ้นส่วนช่วยแบ่งเบาภาระ ซึ่งห้างหุ้นส่วนประเภทนี้ กฎหมายไม่ได้บังคับให้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล จึงมีฐานะเป็นบุคคลธรรมดา ทั้งนี้ หุ้นส่วนกับห้างหุ้นส่วนจะไม่แยกจากกัน ดังนั้น หุ้นส่วนทุกคนต้องช่วยกันรับผิดชอบหนี้สินอย่างไม่จำกัดและเจ้าหนี้สามารถฟ้องร้องบุคคลใดก็ได้

กิจการประเภทใดจัดตั้งง่ายที่สุด

รูปแบบธุรกิจไหนที่เหมาะกับคุณ ?

ในการตัดสินใจเลือกดำเนินธุรกิจในรูปแบบใดนั้น ผู้ประกอบการหรือหุ้นส่วนจะต้องคำนึงถึงปัจจัยที่สำคัญต่าง ๆ หลายประการด้วยกัน เช่น ลักษณะของกิจการ วัตถุประสงค์ จำนวนเงินทุน ความรู้ความสามารถในการดำเนินธุรกิจ เป็นต้น เพื่อให้สามารถเลือกรูปแบบธุรกิจได้อย่างเหมาะสมและทำให้การประกอบธุรกิจนั้นประสบผลสำเร็จ นำมาซึ่งผลประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ที่ได้กำหนดไว้ อย่างไรก็ตาม หากต้องการที่จะทำให้กิจการหรือธุรกิจนั้นประสบความสำเร็จ เติบโตได้อย่างต่อเนื่อง และได้รับความเชื่อถือจากลูกค้าหรือคู่ค้า นอกจากความพยายาม ความสามารถ และเงินทุนแล้ว ผู้ประกอบการอาจจะต้องใช้กฎหมายเข้าช่วยเพื่อเป็นการการันตีถึงความน่าเชื่อถือ โดยการทำให้กิจการนั้นกลายเป็น “นิติบุคคล” นั่นเอง

กิจการประเภทใดจัดตั้งง่ายที่สุด

บริการรับจดทะเบียนบริษัท ราคายุติธรรม โดยทีมงานมืออาชีพ PMP Serve (Thailand) Co.,Ltd.

PMP SERVE (THAILAND) ผู้เชี่ยวชาญด้านการรับจดทะเบียนบริษัท ยินดีให้คำปรึกษาและให้บริการรับจดทะเบียนบริษัทจำกัด พร้อมรับจดทะเบียนบริษัทให้กับธุรกิจที่หลากหลาย อาทิ จดทะเบียนบริษัทธุรกิจผลิตและจำหน่ายสินค้า จดทะเบียนบริษัทธุรกิจบริการ จดทะเบียนบริษัทธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง จดทะเบียนบริษัทธุรกิจท่องเที่ยว โรงแรม รีสอร์ท จดทะเบียนบริษัทธุรกิจขายสินค้าออนไลน์ ฯลฯ รับจดทะเบียนบริษัทโดยทีมงานคุณภาพที่มากด้วยทักษะและประสบการณ์ในการรับจดทะเบียนบริษัทอย่างยาวนานที่จะช่วยให้การจดทะเบียนบริษัทของท่านเป็นไปอย่างรวดเร็ว ราบรื่น และถูกต้องตามหลักของกฎหมายด้วยการดำเนินการแทนท่านทุกขั้นตอนในราคายุติธรรม การันตีด้วยประสบการณ์กว่า 17 ปีในการให้บริการรับจดทะเบียนบริษัทจำกัด พร้อมให้บริการรับทำบัญชี รับตรวจสอบบัญชี รับวางแผนภาษี วางระบบบัญชี บริการที่ปรึกษาธุรกิจ และบริการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างครอบคลุม

Line : @pmpserve

Facebook : https://www.facebook.com/pmpserve

Tel : 065 – 396 -2452

ธุรกิจที่ประกอบด้วยผู้จัดตั้ง ตั้งแต่ ๑๐ คนขึ้นไป เป็นธุรกิจประเภทใด

4. สหกรณ์ (Cooperative) สหกรณ์ เป็นรูปแบบธุรกิจอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งมีคณะบุคคลตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ที่มีอาชีพความต้องการ ความสนใจที่คล้ายคลึงร่วมกันจัดตั้งขึ้น และจดทะเบียนถูกต้องตามพระราชบัญญัติ สหกรณ์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมอาชีพ การครองชีพของสมาชิกและครอบครัวให้มีฐานะความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ซึ่ง ...

ธุรกิจรูปแบบใดที่ง่ายต่อการจัดตั้งและเลิกกิจการ

ห้างหุ้นส่วนสามัญ (Ordinary Partnership) ข้อดี มีแหล่งเงินทุนมากกว่ากิจการ เจ้าของคนเดียว • ภาระความเสี่ยงน้อยลง เพราะ มีผู้ร่วมเฉลี่ย ภาระความเสี่ยง • จัดตั้งง่ายเลิกหรือเปลี่ยนแปลงกิจการไม่ ยุ่งยาก

รูปแบบพื้นฐานของธุรกิจ คืออะไร

โดยทั่วไปแล้วการดำเนินธุรกิจสามารถจัดตั้งได้ 3 รูปแบบ คือ 1. รูปแบบเจ้าของคนเดียว 2. รูปแบบห้างหุ้นส่วน 3. รูปแบบบริษัทจำกัด

ร้านค้าเป็นธุรกิจประเภทใด

1.กิจการเจ้าของคนเดียว ( Single Proprietorship) กิจการเจ้าของคนเดียว คือกิจการที่มีบุคคลคนเดียวเป็นเจ้าของหรือลงทุนคนเดียว ควบคุมการดำเนินงานเองทั้งหมดคนเดียว ตัวอย่างกิจการประเภทนี้ เช่น ร้านค้าปลีก ร้านค้าส่ง ร้านเสริมสวย การทำไร่ การทำนา แผงลอย ลักษณะของกิจการเจ้าของคนเดียว