ก่อนการเดินทางไกลกลับจากการพักแรมควรปฏิบัติอย่างไร

การเตรียมตัวในการอยู่ค่ายพักแรมลูกเสือ-เนตรนารี

โดย วีระชัย    จันทร์สุข   L.T.

******************************************************

อุปกรณ์อยู่ค่ายพักแรมที่ลูกเสือ-เนตรนารี   จะต้องเตรียมพร้อม  แบ่งออกได้ดังนี้

  1. อุปกรณ์เครื่องใช้ส่วนตัว

  2. อุปกรณ์เครื่องใช้สำหรับหมู่และกอง

  3. อาหารและยา

  4. อุปกรณ์เครื่องใช้สำหรับกิจกรรมต่าง ๆ


1.  อุปกรณ์เครื่องใช้ส่วนตัว

  1. เครื่องแบบลูกเสือ-เนตรนารี

  2. ชุดลำลอง

  3. ผ้าเช็ดหน้าหรือผ้าเช็ดตัว,  ผ้าห่มกันหนาว

  4. เครื่องสำอาง (สบู่,หวี,กระจก,แปรงและยาสีฟัน)

  5. ไฟฉายเดินทาง

  6. เชือกประจำตัว

  7. กระติกน้ำประจำตัว

  8. มีดประจำตัว

  9. อุปกรณ์การบริโภค (จาน, ช้อน, กระบอกน้ำ)

  10. สมุดบันทึก,ปากกา,ดินสอ

  11. รองเท้าแตะ

  12. ยากันยุงควรเป็นชนิดทา

  13. ยาประจำตัว

  14. เสื้อกันฝนกรณีหน้าฝน



2.  อุปกรณ์เครื่องใช้สำหรับหมู่และกอง  ได้แก่

1.  ธงประจำหมู่

2.  เต็นท์บุคคล  และเต็นท์ประกอบงาน

         3.  ภาชนะประกอบอาหารเท่าที่จำเป็น

         4.  พลั่วสนาม หรือจอบ

5.  มีดถางหญ้า  หรือขวาน

6.  เชือกขนาดต่าง ๆ

7.  เครื่องดนตรี     

8.  ผ้าใบหรือผ้าพลาสติกกันแดดและรองนั่ง

9.  ไม้ขีด, เทียนและเชื้อเพลิง



3.  อาหารและยาต่าง ๆ  ได้แก่

  1. ข้าวสาร

  2. อาหารกระป๋อง

  3. เนื้อสัตว์ที่รวน หรือ ย่างไว้แล้ว

  4. น้ำพริกที่ปรุงแล้ว

  5. น้ำปลาหรือเกลือ

  6. หัวหอม หัวกระเทียม พริก

  7. น้ำมันพืช น้ำตาล น้ำส้ม

  8. ผัก ผลไม้



4. อุปกรณ์ที่ใช้ทำกิจกรรม อื่นๆ การแสดง

1….

2….

สัญญาณนกหวีด

ในการฝึกประจำวัน  หรือในโอกาสที่อยู่ห่างไกลจากลูกเสือ ผู้บังคับบัญชาลูกเสือ ควรใช้สัญญาณนกหวีดสั่งลูกเสือ  ดังนี้

  1. หวีดยาว 1 ครั้ง  ----------------------  หมายความว่า  “หยุด” คอยฟังคำสั่ง

  2. หวีดสั้น 3 ครั้ง หวีดยาว 1 ครั้ง  -----   -----  ------  ---------------  สลับกัน ความหมายว่า  “เรียกนายหมู่ไปประชุม”

  3. หวีดสั้น ๆ ติดกันหลายครั้ง  ----  ----  -----  -----  ----  หมายความว่า   “รวมกอง”

  4. หวีดสั้น 1 ครั้ง หวีดยาว 1 ครั้ง -----  ------------- สลับกันไป หมายความว่า  “เกิดเหตุ”

หมายเหตุ อื่นๆ

  1. เพลงประจำหมู่ที่ใช้ร้อง ให้มีเนื้อร้องระบุชื่อหมู่/กลุ่ม มีสาระ ปลุกใจ เป็นคติ

  2. เรื่องที่แสดง ควรเป็นเรื่อง เป็นคติเตือนใจ ประวัติศาสตร์ปลุกใจให้รักชาติ ให้ส่งเสริมขนบธรรมเนียมประเพณี สนุกสนาน

  3. ไม่ควรแสดงเรื่องไร้สาระ เสียดสีบุคคล เรื่องการเมือง ผีสาง ลามก อนาจาร ล้อเลียนศาสนา

  4. ห้ามใช้อาวุธจริงหรือของมีคมมาประกอบการแสดง  ห้ามสูบบหรี่ในขณะนั่งอยู่ในบริเวณชุมนุม





การแบ่งหน้าที่รับผิดชอบภายในหมู่ในการอยู่ค่ายพักแรม

ตามที่การจัดลูกเสืออยู่ค่ายพักแรมเป็นหมู่ ๆ ให้มีการกินอยู่หลับนอน   ทำกิจกรรม  

เรียน   เล่นกีฬาร่วมกันภายในหมู่  เพื่อให้งานของหมู่ดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย  รวดเร็ว  ทันตามกำหนดเวลา  ผู้กำกับจะจัดแบ่งหน้าที่รับผิดชอบของแต่ละคนออกไป  ทั้งนี้    เพื่อให้ทุกคนมีงานทำไม่มีผู้ใดว่างงาน   โดยปกติแล้วจะจัดแบ่งดังนี้

คนที่  1   ทำหน้าที่เป็นนายหมู่  รับผิดชอบดูแลทั่วไปแทนผู้กำกับ  คอยติดต่อประสานงานกับ

 หมู่อื่น กับผู้กำกับและกับบุคคลภายนอกซึ่งอาจมาเยี่ยมสมาชิกภายในกลุ่ม

คนที่  2   ทำหน้าที่รองนายหมู่   คอยช่วยเหลือนายหมู่ทุกกรณีไป      อาจทำหน้าที่แทนนายหมู่ขณะ

นายหมู่ไม่อยู่หรืออยู่แต่นายหมู่มีภารกิจต้องทำหน้าที่บางอย่างแทน  จึงให้รองนายหมู่ไป

               ประชุมแทน

คนที่  3   ทำหน้าที่พลาธิการ   คอยดูแลพัสดุ  อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่จะเบิกมาจากผู้กำกับหรือกองอำนวย-

 การเป็นเจ้าหน้าที่บัญชี ไม่ว่าบัญชีการเงิน  บัญชีวัสดุอุปกรณ์   ดูแลภายในที่พัก   จัดความ

 เป็นระเบียบเรียบร้อยภายในที่พัก  เก็บรักษา    มีด    ขวาน   ไม้กวาด   กระป๋องน้ำ   เชือก  

 และอื่น ๆ

คนที่  4   ทำหน้าที่เป็นแม่ครัว   คอยหุงข้าว  ปรุงอาหาร  จัดการเกี่ยวกับการประกอบอาหาร         เตาไฟ หลุมเปียก หลุมแห้ง ที่วางจาน  ชาม  ให้เป็นระเบียบ

คนที่  5   ทำหน้าที่เป็นคนหาน้ำสำหรับประกอบอาหาร  น้ำดื่ม น้ำซักล้าง  ดูแลมิให้ขาดตกบกพร่อง  

คนที่  6   ทำหน้าที่เป็นคนหาเชื้อเพลิง   หาฟืน  เก็บฟืนให้มิดชิด  เวลาฝนตกจะได้ใช้ได้

คนที่  7   ทำหน้าที่ทั่วไป   ช่วยงานคนอื่น ๆ พัฒนาค่ายพัก กำจัดขยะมูลฝอย ทำที่ตากผ้า  และรั้วกั้น

 ระหว่างค่าย  ดูแลบริเวณค่ายพักทั่ว ๆ ไป  เสมือนค่ายนั้นเป็นบ้าน  ต้องปรับปรุง  ตกแต่ง

 พัฒนา

การแบ่งหน้าที่นี้ หากมีสมาชิกมากกว่านี้ อาจจัดให้เป็นผู้ช่วยคนครัวอีกได้ แต่หากสมาชิกน้อยกว่านี้หน้าที่คนหาน้ำกับคนหาฟืนอาจเป็นคน ๆ เดียวกันได้  เมื่อจัดแบ่งหน้าที่รับผิดชอบเช่นนี้แล้ว ลูกเสือทุกคนจะไม่มีการว่างงาน  แม้ว่างานของผู้ใดเสร็จก่อน นายหมู่ก็จะให้ไปช่วยหน้าที่อื่นที่ยังไม่เสร็จก็ได้



หน้าที่ของหมู่บริการ

ในการจัดกิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารี สิ่งหนึ่งที่ผู้กำกับลูกเสือจะต้องปฏิบัติ  คือแต่งตั้งหมู่บริการประจำวันเพื่อมอบหมายหน้าที่ไว้ให้บริการในด้านต่าง ๆ โดยผู้กำกับจะแต่งตั้งหมู่บริการไว้วันละ 1 หมู่  หรือ 2 หมู่  หรือ ตามความเหมาะสม ส่วนหน้าที่บริการที่หมู่ลูกเสือแต่ละหมู่จะต้องปฏิบัติ คือ

  1. ชักธงชาติขึ้นสู่ยอดเสา   เวลา 08.00 น.    และชักธงลงจากยอดเสาธง     เวลา  18.00 น.

  2. ทำหน้าที่นำสวดมนต์ประจำวัน

  3. ทำความสะอาดที่ใช้ร่วมกัน เช่น ห้องน้ำ  ห้องส้วม  ห้องเรียน  บริเวณรอบเสาธง ฯลฯ

  4. ทำหน้าที่ช่วยเหลือจัดอุปกรณ์ เตรียมอุปกรณ์ที่จะใช้ในการฝึกอบรมตามที่ผู้กำกับลูกเสือกำหนด

  5. จัดสถานที่ชุมนุมรอบกองไฟ  จัดโปรแกรมการแสดงจัดทำพุ่มฉลาก   และพวงมาลัย

ทำความสะอาดบริเวณชุมนุมรอบกองไฟ



ขั้นตอนการเข้าเรียนเป็นฐาน

การที่จะให้ลูกเสือ-เนตรนารี  เข้าเรียนเป็นฐานนั้น ผู้กำกับจะต้องกำหนดว่าจะให้เรียนที่ฐาน เมื่อกำหนดฐานที่จะเรียนได้แล้ว ผู้กำกับลูกเสือ-เนตรนารี จะต้องปฏิบัติดังนี้

  1. ผู้กำกับ กำหนดฐานเรียนไว้ 4 ฐาน หรือมากกว่า 4 ฐาน

  2. ผู้กำกับ จัดลูกเสือ-เนตรนารี เข้าเรียนฐาน 1-2 หมู่

  3. ผู้กำกับ กำหนดให้เรียนฐานละ 3-5 นาที

  4. ผู้กำกับ เป็นผู้ให้สัญญาณในการเปลี่ยนฐาน โดยให้เหลือเวลาอีก 1 นาที ผู้กำกับจะเป่านกหวีดให้สัญญาณให้เปลี่ยนฐานได้



การรายงานเข้าเรียนเป็นฐาน

  1. ให้ลูกเสือเข้าแถวหน้ากระดาน ห่างจากผู้สอน  3  ก้าว  

  2. ให้นายหมู่สั่ง  “หมู่….ตรง”  วันทยาวุธ  (สั่งเมื่อมีอาวุธ)

  3. ให้นายหมู่เอามือลง ก้าวขึ้นมาข้างหน้า 1 ก้าว แล้วรายงานว่า “หมู่…พร้อมที่จะเรียนแล้วครับ”

  4. ผู้กำกับรับเคารพในขณะที่นายหมู่ลูกเสือก้าวขึ้นมาข้างหน้า 1 ก้าว แล้วทำวันทยาวุธและรายงาน

  5. ผู้กำกับเอามือลง ในขณะที่นายหมู่รายงานเสร็จแล้ว

  6. นายหมู่เอามือลง ถอยกลับไปเข้าแถว แล้วทำวันทยาวุธและสั่งลูกหมู่ต่อไปว่า “เรียบ…อาวุธ”   ตามระเบียบพัก

  7. ผู้กำกับเริ่มสอนบทเรียนที่ได้กำหนดไว้ต่อไปจนหมดเวลา

  8. ลูกเสือได้ยินสัญญาณนกหวีดหมดเวลา ให้เข้าแถวตามเดิม (เหมือนครั้งแรก)

  9. นายหมู่ลูกเสือสั่ง   “หมู่….ตรง”  วันทยาวุธ   “หมู่….ขอขอบคุณครับ”  “เรียบ…อาวุธ”  “ขวา-หัน”(รายงานครั้งที่ 2 นายหมู่ไม่ต้องก้าวขึ้นมาข้างหน้า ให้อยู่ในแถวเหมือนเดิม)

  10. ผู้กำกับ  รับความเคารพและสั่งต่อไปว่า “ไปได้”

  11. ลูกเสือวิ่งเข้าไปเข้าแถว และรายงานเพื่อที่จะเรียนฐานใหม่ต่อไป



การเดินทางไกล
การอยู่ค่ายพักแรมลูกเสือเป็นกิจกรรมกลางแจ้งที่สำคัญที่สุด กิจกรรมหนึ่ง เพราะการอยู่พักแรมเปรียบเสมือน การได้ทดสอบความรู้ของลูกเสือและได้ฝึกความอดทน ผสมผสานกับการเรียนรู้ในวิชาการต่างๆ เช่น ระบบหมู่ ภาวะผู้นำ ฯลฯ
กิจกรรมการเดินทางไกลและการอยู่ค่ายพักแรมเป็นกิจกรรมบังคับ สำหรับลูกเสือทุกคนตามข้อบังคับของคณะลูกเสือแห่งชาติ ข้อ273 ระบุไว้ว่า ให้ผู้กำกับกลุ่มหรือผู้กำกับลูกเสือนำลูกเสือไปฝึกเดินทางไกลและแรมคืนในปีหนึ่ง ไม่น้อยกว่า1ครั้ง ครั้งหนึ่งให้พักแรมอย่างน้อย1คืน เจตนาเพื่อฝึกให้ลูกเสือมีความอดทนอยู่ในระเบียบวินัย รู้จักช่วยตนเอง รู้จักการทำงานในระบบหมู่ ตลอดจนเรียนวิชาลูกเสือเพิ่มเติมและสอบวิชาพิเศษได้อีกทางหนึ่งด้วย
การเดินทางไกล
คือ การเดินทางไกลจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นการเดินโดยทางบก หรือทางน้ำ ลูกเสือเป็นผู้จัดการเองโดยตลอด ทั้งนี้ ด้วยความเห็นชอบของผู้กำกับลูกเสือ ส่วนการเดินทางไกลไปพักแรมนั้นต้องค้างคืนด้วยการตั้งค่ายพักแรม ทั้งต้องมีมาตราฐานสูงและไม่ควรน้อยกว่า 2คืน
การเดินทางไกลแบ่งเป็น 2 ชนิด คือ
1. การเดินทางไกล-พักแรมภายในประเทศ
2. การเดินทางไกล-พักแรมภายนอกประเทศ
ความมุ่งหมายของการเดินทางไกล-พักแรม
1. เพื่อฝึกความอดทนอยู่ในระเบียบวินัย เสริมสุขภาพพลามัย ให้แก่ลูกเสือ
2. เพื่อให้ได้ปฎิบัติกิจกรรมเสี่ยงภัยที่สนุกสนานและตื่นเต้น ให้ตรงตามความต้องการของลูกเสือในวันหนึ่ง
3. เพื่อให้ลูกเสือได้สร้างเจตนารมย์ เจตคติ ในการเสริมความเป็นครอบครัว เกี่ยวกับรู้จักช่วยตัวเองและรู้จักทำงานร่วมกับผู้อื่น
4. เพื่อให้มีโอกาสปฎิบัติตามคติพจน์ของลูกเสือ และได้มีโอกาสบริการต่อชุมชนในท้องถิ่นที่ไปอยู่ค่ายพักแรม
5. เพื่อให้ได้ฝึกและปฏิบัติตามคำปฏิญาณและกฎของลูกเสือ
หลักการทั่วไปในการเดินทางไกล
1. การดำเนินงาน จะต้องได้รับอนุญาตจากผู้บังคับบัญชาในสังกัดและผู้ปกครองเป็นลายลักษณ์อักษร
1.1 ผู้บังคับบัญชาลูกเสือและลูกเสือ ควรจะมีการสำรวจสถานที่ก่อนเดินทาง
1.2 เรื่องสถานที่ที่จะเดินทางไกลและพักแรม ให้มีการตกลงในที่ประชุมกองลูกเสือและผู้กำกับอาจยับยังหรือเสนอแนะเพิ่มเติมได้
1.3 ถ้าจะเป็นการเดินทางไปต่างจังหวัดหรือพักแรม ต้องส่งเรื่องการขออนุญาตก่อน 3 เดือนเพื่อการเตรียมการของลูกเสือ
1.4 หากสามารถทำได้ ควรซักซ้อมให้ลูกเสือเข้าใจในหลักการ วิธีการ ก่อนออกเดินทางไกล
1.5 เมื่อกลับจากเดินทางไกลและพักแรมแล้ว ต้องทำรายงานถึงผอการปฏิบัติงานเสนอต่อผู้สั่งอนุญาต
2. สถานที่พักแรม
ควรเป็นที่โล่งแจ้งและที่ที่ไม่ลุ่ม อยู่ใกล้สถานพยาบาล ใกล้ตลาด หาน้ำหาฟืนสะดวก มีอาคารพักเวลาฉุกเฉิน ไม่ควรตั้งค่ายริมบึง ถนน ทางรถไฟ ใต้ต้นไม้ใหญ่
3. สิ่งของที่ต้องนำไป
-ของใช้ส่วนตัว
-ของใช้ประจำหมู่หรือส่วนกลาง
4. อาหาร ต้องถือว่าอาหารเป็นเรื่องสำคัญสำหรับการไปอยู่ค่ายพักแรม ควบคู่ไปกับเรื่องน้ำ จะต้องประชุมปรึกษาหารือกันในเรื่องการทำรายการอาหารประจำวัน ซึ่งจะประกอบทั้งอาหารแห้งและอาหารสด เพื่อให้ถูกหลักโภชนาการและมีปริมาณเพียงพอ
5.การฝึกอบรมประจำวัน ผู้กำกับและลูกเสือต้องวางโครงการว่าในวันหนึ่งๆ จะมีการฝึกอบรมอะไรบ้างไว้ล่วงหน้า หรือจะให้ไปบริการท้องถิ้นอย่างไร เพื่อป้องกันการใช้เวลาว่างไปโดยเปล่าประโยชน์ หรือจะทำกิจกรรมอะไร ก็ต้องว่างโครงการไว้
6. การว่างกำหนดการ การว่างกำหนดการต้องมีส่วนสัมพันธ์กันเป็นลูกโซ่กับการฝึกอบรมประจำวันและเหมาะกับสภาพดินฟ้าอากาศและสิ่งอื่นหลายประการ อาทิเช่น
6.1 ต้องว่างกำหนดการบำเพ็ญประโยชน์แก่ท้องถิ้นนั้นๆ ให้สะอาด ไม่ให้ถูกตำหนิภายหลังได้
6.2มีกิจกรรมที่เหมาะสมกับดินฟ้าอากาศให้ลูกเสือได้ปฎิบัติ แต่ทั้งนี้ให้ลูกเสือมีเวลา
6.3 วางแผนให้ลูกเสือได้มีโอกาสไปศึกษาและชมสถานที่สำคัญในละแวกนั้นบ้าง เป็นการเพิ่มพูนความรู้เพื่อวางแผนการให้แก่ท้องถิ่นนั้น
สิ่งที่ผู้บังคับบัญชาเเละลูกเสือควรคำนึงถึง
ในการเดินทางไกลและอยู่ค่ายพักเเรมนั้น สิ่งที่ผู้บังคับบัญชาควรคำนึงถึง
1. เราจะไปเพื่ออะไร ให้วางกำหนดวัตถุประสงค์ที่แน่นอน
2. เราจะเดินทางไปที่ไหนและพักเเรมที่ไหน
3. เราจะไปเมื่อไร และจะกลับเมื่อไร
4. เราจะปฏิบัติอย่างไรก่อนเดินทาง เเละหลังการเดินทางเเล้ว
ผู้บังคับบัญชาควรจะได้ชี้เเจงเเละเสนอเเนะให้ลูกเสือ ได้ทราบสิ่งที่มีประโยชน์
ต่าง ๆแก่ตัวลูกเสือและกองลูกเสือก่อนการเดินทางไกลสักเล็กน้อย คือ
1. ระหว่างเดินทาง ให้ลูกเสือละเว้นการกระทำใด ๆอันเป็นที่รบกวนให้เกิดความเดือดร้อนแก่ผู้อื่นแม้แต่สัตว์เลี้ยง
2. ไม่อนุญาตให้ลูกเสือลงเล่นน้ำในแม่น้ำ ลำคลอง หรือสระ เว้นแต่จะมีการควบคุมอย่างใกล้ชิด ( ตามข้อบังคับ ฯ ข้อ 278 )
3. อย่าให้ลูกเสือรับประทานอาหารของที่มีรสจัด เช่น เค็ม หวาน ระหว่างการเดินทาง เพราะจะทำให้ท้องเสีย และเป็นอันตรายแก่กระเพาะอาหาร
4. การเดินทางให้เดินทางขวาของถนน หากเดินในเวลากลางคืน ควรมีผ้าขาวหรือสีสะท้องแสงพันที่แขน เพื่อเป้นที่สังเกตได้ง่ายเเก่ผู้ขับขี่ยวดยานพาหนะผ่านมา
5. ไม่ควรใช้รองเท้าผ้าใบ รองเท้าใหม่หรือรองเท้าที่คับเกินไป
6. เพื่อเป็นการช่วยผ่อนเเรง ควรเดิน 30 นาที พัก 5 นาที ยกเท้าให้สูงขณะหยุดพัก
7. ให้รักษาระบบหมู่ เเละปฏิบัติตามคำสั่งโดยเคร่งครัด
การปฏิบัติก่อนเดินทางกลับ
เมื่อสิ้นสุดการอยู่ค่ายพักเเรม ลูกเสือจะต้องปกิบัติอย่างไรบ้าง เรื่องนี้เป็นเรื่องที่จะต้องอบรมกันอีกพอสมควร โดยปกติการไปอยู่ค่ายพักแรม ณ ที่ใดที่หนึ่ง เป็นเรื่องสำคัญยิ่ง ที่ลูกเสือจะต้องระมัดระวังให้มากในเรื่องความสะดวก ความเรียบร้อย เพราะ หลังจากที่ลูกเสือไปอยู่ค่ายพักเเรมแล้วมักจะทิ้งสิ่งปฏิกูลต่าง ๆมากมายเช่นเศษอาหาร กระดาษ รวมทั้งฟืนที่ประกอบอาหาร และทิ้งหลุมต่าง ๆ ไว้โดยไม่กลบให้เรียบร้อย ฯลฯ อันเป็นเหตุให้เจ้าของสถานที่ผิดหวังและเบื่อหน่ายตำหนิตามหลังเสมอ
ฉะนั้น ลูกเสือทุกประเภทควรจะปฏิบัติตามข้อเนะนำข้างล่างนี้โดยเคร่งครัด คือ
1. ตรวจความเรียบร้อยของอุปกรณ์ต่าง ๆที่นำไปเเละจะต้องนำกลับ รวมทั้งสำรวจจำนวนคนและสิ่งของต่างๆ ให้เรียบร้อย
2. รื้อถอนสิ่งของที่ปลูกสร้างขึ้นใหม่เกี่ยวกับการอยู่ค่ายพักเเรมออก กลบหลุมต่างๆให้เรียบร้อย
3. ร่ำลาเจ้าของสถานที่เเละขอบคุณผู้มีส่วนช่วยเหลือ ทั้งควรทำหนังสือขอบคุณ อีกครั้งเมื่อกลับถึงที่ตั้งกองแล้ว