การกำหนดนโยบายความปลอดภัยควรมีลักษณะอย่างไร

Skip to content

  • หน้าแรก
  • รู้จักคิวทีซี
  • นักลงทุนสัมพันธ์
  • สินค้าและบริการ
  • ลูกค้าของเรา
  • การพัฒนาอย่างยั่งยืน
  • กลุ่มของบริษัท
  • ติดต่อเรา

นโยบายความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมApichard Kedanan2021-03-23T16:10:05+07:00

การกำหนดนโยบายความปลอดภัยควรมีลักษณะอย่างไร
   
การกำหนดนโยบายความปลอดภัยควรมีลักษณะอย่างไร

” นโยบายความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อม “

ประกาศที่ QTC62034
เรื่อง นโยบายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน

บริษัท  คิวทีซี  เอนเนอร์ยี่  จำกัด (มหาชน)  เป็นผู้ผลิตหม้อแปลงไฟฟ้าระบบจำหน่าย   มีความมุ่งมั่นที่จะส่งเสริมความปลอดภัยให้แก่พนักงาน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้อง เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ การบาดเจ็บ การเจ็บป่วยในการทำงาน และมีความพยายามอย่างต่อเนื่องที่จะตรวจหาให้พบ ขจัดหรือควบคุมความไม่ปลอดภัย ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ  โดยได้กำหนด  นโยบายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ดังนี้

  1. บริษัทฯ ถือว่าความปลอดภัยในการทำงาน เป็นหน้าที่ของพนักงานทุกคน  ทุกระดับที่จะร่วมมือปฏิบัติ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยทั้งของตนเองและผู้อื่น  ตลอดจนทรัพย์สินของบริษัทฯ เป็นสำคัญตลอดเวลาปฏิบัติงาน
  2. บริษัทฯ จะส่งเสริม สนับสนุน  ให้มีการพัฒนาและปรับปรุงสภาพแวดล้อมในการทำงาน  และวิธีการปฏิบัติงานที่ปลอดภัย  ตลอดจนการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายที่เหมาะสม รวมถึงการรักษาไว้ซึ่งสุขภาพ และอนามัยที่ดีของพนักงานทุกคนอย่างต่อเนื่อง
  3. บริษัทฯ จะส่งเสริม สนับสนุนให้มีกิจกรรมความปลอดภัยต่าง ๆ ที่จะช่วยกระตุ้นจิตสำนึกของพนักงาน  เช่น  การอบรม  จูงใจ  ประชาสัมพันธ์  ด้านความปลอดภัย
  4. ผู้บังคับบัญชาทุกระดับต้องกระทำตนให้เป็นแบบอย่างที่ดี เป็นผู้นำ  อบรม  ฝึกสอน  จูงใจ  และดูแลรับผิดชอบให้พนักงานปฏิบัติงานด้วยวิธีที่ปลอดภัย  และให้เป็นไปตามกฎระเบียบแห่งความปลอดภัย   ที่กำหนดขึ้น     อย่างเคร่งครัด
  5. พนักงานทุกคนต้องให้ความร่วมมือในโครงการความปลอดภัย อาชีวอนามัย  ของบริษัทฯ  และมีสิทธิเสนอความคิดเห็นในการปรับปรุงสภาพการทำงานและวิธีการทำงานให้ปลอดภัย
  6. บริษัทฯ จะปฏิบัติตามกฎหมายและข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด
  7. นโยบายฯนี้ได้รับการถ่ายทอดไปยังพนักงานทุกระดับ และผู้ที่เกี่ยวข้องภายนอกรวมถึงสาธารณะชน

เพื่อส่งเสริมให้พนักงานปฏิบัติงานด้วยความปลอดภัยจนเกิดเป็นวัฒนธรรมองค์กร บริษัทฯ จึงกำหนดวัฒนธรรมความปลอดภัย (Safety Culture) ดังนี้

Start Safe   Work Safe   Finish Safe

เริ่มต้นการทำงานด้วยความปลอดภัย   ปฏิบัติงานด้วยความปลอดภัย   เสร็จสิ้นการทำงานด้วยความปลอดภัย

โดยให้ยกเลิกประกาศที่ QTC59034 เรื่อง ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ลงวันที่ 4 สิงหาคม 2559 และให้ใช้ประกาศฉบับนี้แทน

ประกาศ  ณ  วันที่  19 มิถุนายน  2562

© 2021 QTC ENERGY All rights reserved.

Page load link

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

การกำหนดนโยบายความปลอดภัยควรมีลักษณะอย่างไร

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด

จัดการความเป็นส่วนตัว

  • ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึก

Go to Top

การกำหนดนโยบายความปลอดภัยควรมีลักษณะอย่างไร

สุขภาพและความปลอดภัย

บริษัท เนอวานา ไดอิ จำกัด (มหาชน) มีการดำเนินการส่งเสริมความปลอดภัยให้แก่พนักงาน เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ การบาดเจ็บ การเจ็บป่วยในการทำงาน และควบคุมความไม่ปลอดภัยที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ โดยได้กำหนดนโยบายความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน และจัดทำข้อกำหนดด้านความปลอดภัยในการทำงานสำหรับผู้รับเหมา เพื่อให้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานของพนักงานและผู้รับเหมาที่เข้ามาดำเนินงานภายในบริษัทฯ ดังนี้

นโยบายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน

  • บริษัทฯ ถือว่า ความปลอดภัยในการทำงานเป็นหน้าที่ของพนักงานทุกคน ทุกระดับ ที่จะร่วมมือกันปฏิบัติ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยทั้งของตนเองและผู้อื่น
  • บริษัทฯ จะให้การสนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน เพื่อให้เกิดผลในการปฏิบัติอย่างสูงสุด
  • บริษัทฯ จะพัฒนาความสามารถของบุคลากรด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อรักษามาตรฐานการปฏิบัติงานอย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ
  • พนักงานและลูกจ้างตลอดจนบุคคลภายนอกที่มาปฏิบัติงานหรือมาใช้บริการต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน โดยเคร่งครัด
  • ผู้บังคับบัญชาทุกระดับต้องให้การส่งเสริม สนับสนุน ดูแลรับผิดชอบ และให้ความสำคัญในเรื่องความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของผู้ใต้บังคับบัญชา

ระเบียบปฏิบัติงาน ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน

เพื่อให้การดำเนินงานด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัยมีประสิทธิภาพ และครอบคลุมการปฏิบัติงานตามมาตรฐานครบถ้วน มีการนำไปปฏิบัติตรงกันทุกภาคส่วน จึงมีการกำหนดระเบียบปฏิบัติงานภายในบริษัทฯ ดังนี้

1. ข้อกำหนดด้านความปลอดภัยในการทำงานสำหรับผู้รับเหมา

ระเบียบข้อบังคับมาตรการเพื่อความปลอดภัยสำหรับผู้รับจ้างก่อสร้างโครงการ เป็นเอกสารประสัญญา (TOR) โดยระบุระเบียบปฏิบัติด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานสำหรับผู้รับเหมาที่รับจ้างก่อสร้างให้กับบริษัทฯ ต้องปฏิบัติ โดยหลักๆ มีดังนี้

  • กำหนดให้มีการจัดทำรั้วสูงไม่น้อยกว่า 2 เมตร ที่มั่นคงแข็งแรงไว้ตลอดแนวเขตก่อสร้าง
  • กำหนดให้จัดทำและติดตั้งป้ายเตือนและป้ายบังคับในเขตก่อสร้างเพื่อความปลอดภัย เช่น ให้ระวัง, ห้ามเข้าพื้นที่, บังคับสวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล เป็นต้น
  • กำหนดให้ระบุชื่อผู้ควบคุมงานของผู้รับจ้าง ติดไว้บริเวณทางเข้า-ออกโครงการก่อสร้าง
  • บริเวณพื้นที่อันตรายภายในเขตก่อสร้าง จะต้องกั้นพื้นที่การทำงานด้วยธงขาว-แดง หรือ วัสดุอื่นๆ ให้มองเห็นได้ชัดเจน ตามความเหมาะสมของพื้นที่
  • จัดให้มีกิจกรรมด้านความปลอดภัยในโครงการก่อสร้าง เช่น กิจกรรมสนทนาความปลอดภัย (Safety Talk) เพื่อเน้นย้ำข้อควรปฏิบัติต่างๆ รวมทั้งเช็คสภาพความพร้อมในด้านร่างกาย เครื่องแต่งกาย อุปกรณ์ เครื่องมือต่างๆ ความเสี่ยงในงานที่จะทำ และเรื่องอื่นๆ ที่มีความสำคัญในระหว่างการทำงาน
  • มาตรฐาน ตู้ไฟฟ้าชั่วคราว ภายในโครงการก่อสร้าง
  • จัดให้มีจุดสูบบุหรี่อย่างชัดเจน และเพียงพอ ห้ามมิให้สูบบุหรี่นอกเขตพื้นที่ที่จัดเตรียมให้และบริเวณพื้นที่ทำงาน
  • กำหนดให้ผู้ที่เข้ามาปฏิบัติงานในพื้นที่โครงการก่อสร้างของบริษัทฯ ต้องสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลตามลักษณะการทำงานที่กำหนดให้เป็นอย่างน้อย ตลอดระยะเวลาการปฏิบัติงาน
  • อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
    • จัดทำที่พัก/จุดรับประทานอาหารสำหรับผู้ปฏิบัติงานภายในโครงการก่อสร้าง
    • จัดให้มีห้องสุขาที่เพียงพอสำหรับผู้ปฏิบัติงานภายในโครงการก่อสร้าง

2. การสอบสวนและรายงานอุบัติเหตุ

ในการวางแผนการป้องกัน แก้ไข หรือส่งเสริมงานด้านความปลอดภัย เมื่อเกิดอุบัติเหตุจากการทำงาน บริษัทฯ ได้มีระเบียบการดำเนินการสอบสวนและรายงานอุบัติเหตุ ครอบคลุมในส่วนของพนักงานบริษัทฯ ผู้รับเหมา ผู้ควบคุมงาน ที่ปรึกษา และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้มีการนำมาทวบทวน สื่อสาร และป้องกันแก้ไขเพื่อไม่ให้เกิดซ้ำ โดยมีการดำเนินการ ดังนี้

การกำหนดนโยบายความปลอดภัยควรมีลักษณะอย่างไร

การดำเนินงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

  • บริษัทฯ มีการประเมินความเสี่ยงในกิจกรรมต่างๆ ในองค์กร เพื่อควบคุม ป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดอันตรายที่ส่งผลต่อทางร่างกาย และสภาพจิตใจของพนักงาน
  • บริษัทฯ ได้มีการประเมินความสอดคล้องกับข้อกฏหมายและข้อกำหนดอื่นๆ ด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัย
  • บริษัทฯ มีการตรวจสอบการทำงานอยู่สม่ำเสมอ ตัวอย่าง เช่น กิจกรรม Site Walk โดยมีผู้บริหารโครงการเป็นผู้นำตรวจ
  • บริษัทฯ มีการนำหัวข้อความปลอดภัยในการทำงาน ใส่ในการประชุมโครงการก่อสร้างประจำสัปดาห์ เพื่อแก้ไขปัญหาความปลอดภัยที่เกิดขึ้นภายในโครงการก่อสร้าง
  • บริษัทฯ มีการสุ่มตรวจที่พักคนงานของผู้รับจ้าง เพื่อตรวจสอบความถูกต้องตามมาตรฐานและถูกต้องตามกฏหมาย
  • บริษัทฯ ได้จัดทำกฏระเบียบ,มาตรฐานการทำงาน และ ความรู้ต่างๆ ด้านความปลอดภัย แปลเป็นภาษาต่างๆ 4 ภาษาให้กับแรงงานได้ศึกษาและทำความเข้าใจ
  • บริษัทฯ จัดทำชุมชนสัมพันธ์กับพื้นที่ข้างเคียงกับโครงการก่อสร้าง เพื่อให้ชุมชนเกิดทัศนะคติที่ดีต่อโครงการ และได้รับความสนับสนุนที่ดีในอนาคต
  • บริษัทฯ มีการตรวจสอบความพร้อมใช้งานของเครื่องจักร อุปกรณ์ เครื่องมือ ก่อนเริ่มปฏิบัติงาน เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการทำงาน
  • บริษัทฯ มีการสื่อสารด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัยในหลายช่องทาง อาทิ E-Mail บอร์ดประชาสัมพันธ์ โปรแกรม Yammer ให้กับพนักงานและบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้อง
  • บริษัทฯ มีการฝึกอบรมให้ความรู้กับพนักงาน เพื่อให้ทราบหลักการที่ถูกต้องในการปฏิบัติงานในลักษณะงานต่างๆ การสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอย่างถูกวิธี ตั้งแต่เริ่มงาน และมีการทบทวนอย่างต่อเนื่อง
  • บริษัทฯ มีการซ้อมรับเหตุฉุกเฉินในสถานการณ์ต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น เพื่อเป็นการซักซ้อมพนักงานให้เข้าใจในขั้นตอนการดำเนินงาน วิธีการแจ้ง วิธีการประสานงาน รวมถึงบทบาทหน้าที่
  • บริษัทฯ จัดให้มีการตรวจสอบการปฏิบัติงานของพนักงาน เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานที่บริษัทฯ ได้กำหนดไว้ หากฝ่าฝืนมีบทลงโทษตามมาตรการที่ได้แจ้งไว้
  • บริษัทฯ มีการสอบสวนอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นทุกครั้ง เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงของอุบัติเหตุนั้นๆ และเข้าไปดำเนินการแก้ไขให้ถูกวิธี เพื่อป้องกันการเกิดเหตุซ้ำ
  • บริษัทฯ มีการทบทวนการจัดการโดยผู้บริหารระดับสูง เพื่อให้มั่นใจในระบบบริหารจัดการความปลอดภัยอาชีวอนามัย ให้มีความเหมาะสม พอเพียง และมีประสิทธิภาพ
  • บริษัทฯ มีการให้ความรู้กับพนักงาน (Safety Talk) ที่ปฏิบัติในโครงการก่อสร้าง
  • บริษัทฯ มีการตรวจสารเสพติด พนักงาน ผู้รับเหมา จากหน่วยงานภายนอกอย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันความเสี่ยงต่ออาชญากรรม
  • บริษัทฯ มีการตรวจสภาพแวดล้อมทั้งในสำนักงานและโครงการก่อสร้าง เพื่อคอยติดตามสภาพแวดล้อมในการทำงานให้เหมาะสมกับพนักงาน

ภาพตัวอย่าง การดำเนินงานด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน

  • กิจกรรม Safety Talk และการทำกิจกรรม Site Walk เพื่อตรวจสอบการทำงานของผู้รับเหมา
  • การฝึกซ้อมอพยพหนีไฟ และการดับเพลิงขั้นต้นภายในโครงการก่อสร้าง

การฝึกอบรมด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน

เพื่อให้ผู้ที่ปฏิบัติงานต่างๆ ของบริษัทฯ ได้มีความรู้ ความเข้าใจในหลักการดำเนินงานด้านความปลอดภัย และทราบถึงบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบในระดับของตน สามารถนำนโยบายด้านความปลอดภัยในการทำงานไปปฏิบัติ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยขึ้นภายในส่วนงาน รวมถึงช่วยส่งเสริมให้ผู้ปฏิบัติงานภายในส่วนงานหรือองค์กรให้ปฏิบัติงานด้วยความปลอดภัย ซึ่งเป็นส่วนสำคัญต่อความสำเร็จในการบริหารงานด้านความปลอดภัยภายขององค์กร บริษัทฯ จึงได้จัดให้มีการฝึกอบรมด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัย โดยมีพนักงานได้รับการอบรมแล้วทั้งหมด 4 หลักสูตร ดังนี้

  • เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย ระดับหัวหน้างาน (จป.หัวหน้างาน) 36 คน
  • เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย ระดับบริหาร (จป.บริหาร) 30 คน
  • คณะกรรมการความปลอดภัยในการทำงาน (คปอ.) 12 คน
  • อบรมดับเพลิงขั้นต้น และฝึกซ้อมอพยพหนีไฟ 55 คน

โดยในปี 2562 บริษัทฯ จัดให้พนักงาน มีการอบรมหลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัย ระดับหัวหน้างาน โดยหน่วยงานที่ได้รับรองจาก กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน และขึ้นทะเบียนกับกระทรวงแรงงาน โดยมีพนักงานผ่านการอบรมและได้รับประกาศนียบัตรจำนวน 26 คน

คณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (คปอ.)

บริษัทฯ มีการจัดตั้งคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัน และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ซึ่งมาจากการแต่งตั้ง (ระดับบังคับบัญชา) และมาจาการเลือกตั้งของสมาชิกในองค์กร (ระดับปฏิบัติการ) รวมจำนวน 7 คน เพื่อให้การดำเนินงานด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบ ดังนี้

  1. พิจารณานโยบายและแผนงานด้านความปลอดภัยในการทำงาน รวมทั้งความปลอดภัยนอกงาน เพื่อป้องกันและลดการเกิดอุบัติเหตุ การประสบอันตราย การเจ็บป่วย หรือการเกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญอันเนื่องจากการทำงาน หรือความไม่ปลอดภัยในการทำงานเสนอต่อนายจ้าง
  2. รายงานและเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางปรับปรุงแก้ไขให้ถูกต้องตามกฎหมายเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานและมาตรฐานความปลอดภัยในการทำงานต่อนายจ้าง เพื่อความปลอดภัยในการทำงานของลูกจ้าง ผู้รับเหมา และบุคคลภายนอกที่เข้ามาปฏิบัติงานหรือเข้ามาใช้บริการในสถานประกอบกิจการ
  3. ส่งเสริมสนับสนุน กิจกรรมด้านความปลอดภัยในการทำงานของสถาประกอบกิจการ พิจารณาข้อบังคับและคู่มือตามข้อ 3 รวมทั้งมาตรฐานด้านความปลอดภัยในการทำงานของสถาประกอบกิจการเสนอต่อนายจ้าง
  4. สำรวจการปฏิบัติการด้านความปลอดภัยในการทำงาน และตรวจสอบสถิติการประสบอันตรายที่เกิดขึ้นในสถานประกอบกิจการนั้น อย่างน้อยเดือนละหนึ่งครั้ง
  5. พิจารณาโครงการหรือแผนการฝึกอบรมเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานรวมถึงโครงการหรือแผนการอบรมเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบในด้านความปลอดภัยของลูกจ้าง หัวหน้างาน ผู้บริหาร นายจ้าง และบุคลากรทุกระดับเพื่อเสนอความเห็นต่อนายจ้าง
  6. วางระบบการรายงานสภาพการทำงานที่ไม่ปลอดภัยให้เป็นหน้าที่ของลูกจ้างทุกคนทุกระดับต้องปฏิบัติ
  7. ติดตามผลความคืบหน้าเรื่องที่เสนอนายจ้าง
  8. รายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี รวมทั้งระบุปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการเมื่อปฏิบัติืหน้าที่ครบหนึ่งปี เพื่อเสนอต่อนายจ้าง
  9. ประเมินผลการดำเนินงานด้านความปลอดภัยในการทำงานของสถานประกอบกิจการ
  10. ปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยในการทำงานอื่นตามที่นายจ้างมอบหมาย

การป้องกันความเสี่ยงจากโรคร้ายจากการทำงาน

บริษัทฯ ให้ความสำคัญต่อการดูแลพนักงานให้มีสุขภาพที่ดี จึงจัดให้มีทีมแพทย์จากโรงพยาบาลชั้นนำมาตรวจสุขภาพประจำปีให้กับพนักงานทุกระดับทั้งฝ่ายปฏิบัติการและผู้บริหาร เพื่อให้มีอาชีวอนามัยที่ดีในการปฏิบัติงาน นอกจากนี้ ยังเป็นการเฝ้าระวังความเสี่ยงต่อโรคจากการทำงาน ซึ่งเป็นนโยบายหลักในการดูแลพนักงาน จึงมีการกำหนดมาตรการการดูแลที่เหมาะสม และครอบคลุมกับทุกสภาพการทำงานของพนักงาน เช่น พนักงานไซต์งานก่อสร้างที่อาจได้รับผลอันเกิดจากฝุ่นละออง ที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคระบบทางเดินหายใจ บริษัทฯ ได้จัดเตรียมหน้ากากป้องอันตรายจากฝุ่นละอองให้กับพนักงานที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยง พนักงานโรงงานที่อยู่ในพื้นที่ที่มีเครื่องจักรเสียงดัง บริษัทฯ ได้บังคับให้พนักงานที่อยู่ในพื้นที่ดังกล่าวสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล ear plug หรือ ear muff เพื่อลดความเสี่ยงจากการทำงานในพื้นที่อันตรายดังกล่าว

แผนป้องกันและระงับอัคคีภัย 2562

ในปี 2561 บริษัทฯ ได้ให้พนักงานประจำสำนักงานใหญ่เข้าร่วม “การฝึกซ้อมดับเพลิงและฝึกซ้อมอพยพหนีไฟ” กับบริษัท แม็กซ์ ฟิวเจอร์ จำกัด ณ อาคารซันทาวเวอร์ โดยมีรายละเอียดโครงสร้างทีมตอบสนองภาวะฉุกเฉิน (Emergency Response Team ; ERT) ดังนี้

การกำหนดนโยบายความปลอดภัยควรมีลักษณะอย่างไร

1. หัวหน้าทีมฉุกเฉิน ทำหน้าที่

  • เป็นผู้ตัดสินใจ และมีอำนาจสูงสุดในการอนุมัติดำเนินการในทุกขั้นตอนของการระงับเหตุฉุกเฉิน
  • เป็นผู้แจ้งและสั่งการให้หัวหน้าทีมอพยพ นำทีมสมาชิก (พนักงาน) ให้อพยพไปสู่ทางออกฉุกเฉิน
  • รายงานผลการดำเนินการให้กับผู้บริหารของบริษัทฯ ทราบเมื่อเกิดเหตุ

2. หัวหน้าทีมอพยพ 1 ทำหน้าที่

  • เป็นหัวหน้าทีมอพยพประจำบริษัทฯ ปฏิบัติตามคำสั่งของหัวหน้าทีมฉุกเฉิน
  • ให้ข้อมูล รายละเอียดการระงับเหตุเบื้องต้น ในพื้นที่เกิดเหตุให้กับสมาชิก(พนักงาน) และประสานงานวางแผนระงับเหตุร่วมกันกับหน่วยงานภายนอกที่มาให้ความช่วยเหลือเมื่อเกิดเหตุ
  • เป็นผู้นำสมาชิก(พนักงาน) ในทีมอพยพออกไปตามทางออกฉุกเฉิน โดยถือธงหนีไฟนำไปสู่จุดรวมพล
  • ตรวจนับรายชื่อสมาชิก ณ จุดรวมพล และรายงานต่อผู้บริหารการอพยพประจำชั้น

3. หัวหน้าทีมอพยพ 2 ทำหน้าที่

  • ปฏิบัติหน้าที่แทนหัวหน้าทีมอพยพ 1 กรณีไม่มาหรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้
  • ให้ข้อมูล รายละเอียดการระงับเหตุเบื้องต้น ในพื้นที่เกิดเหตุให้กับสมาชิก(พนักงาน)และประสานงานวางแผนระงับเหตุร่วมกันกับหน่วยงานภายนอกที่มาให้ความช่วยเหลือเมื่อเกิดเหตุ

4. สมาชิกประจำทีม ทำหน้าที่

  • ปฏิบัติตามแนวทางการอพยพฉุกเฉินอย่างเคร่งครัด
  • ติดตามผู้นำธง อพยพไปสู่จุดรวมพล
  • รายงานตัวเมื่อถึงจุดรวมพล และช่วยหัวหน้าทีมอพยพตรวจสอบว่ามีผู้อื่นติดค้าง ไม่มารายงานตัวหรือไม่

คุณสมบัติของหัวหน้าทีมอพยพ 1 และ 2 มีดังนี้

  1. สามารถประเมินสถานการณ์ และระงับเหตุเพลิงไหม้เบื้องต้นได้ และผ่านการอบรมดับเพลิงขั้นต้นแล้ว
  2. ทราบเส้นทางการมุ่งสู่ทางออกฉุกเฉิน และจุดรวมพลของบริษัทฯ
  3. สามารถช่วยเหลือสมาชิกในทีมจากการบาดเจ็บเบื้องต้นได้ (ผ่านการอบรมหลักสูตรการปฐมพยาบาลและช่วยเหลือชีวิตเบื้องต้น)

ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้ดำเนินการซ้อมอพยพหนีไฟเป็นประจำทุกปี เพื่อให้หัวหน้าทีมอพยพ ได้ทำการซ้อมการปฏิบัติหน้าที่ในสถานการณ์จริง รวมถึงพนักงานทุกคนได้รู้วิธีการปฏิบัติตัวเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน รู้จักทางหนีไฟของชั้นที่ตนเองปฏิบัติงานอย่างทั่วถึง อีกทั้งเป็นการทดสอบระบบรองรับเหตุฉุกเฉินของอาคาร ทางหนีไฟ บันไดหนีไฟ ว่าสามารถใช้งานได้ปกติ เพื่อเตรียมพร้อมต่อเหตุฉุกเฉินที่อาจเกิดขึ้น

มาตรการความปลอดภัยเกี่ยวกับภาวะฉุกเฉิน

  1. จัดให้มีเครื่องดับเพลิงติดตั้งไว้ทุกพื้นที่ที่มีความเสี่ยงด้านอัคคีภัย ภายในโครงการก่อสร้างและสำนักงานต่างๆ ของบริษัทฯ รวมถึงจัดให้มีไฟฉุกเฉิน ป้ายทางออกฉุกเฉินและสัญญาณแจ้งเหตุฉุกเฉิน
  2. จัดให้มีป้ายเตือนเหตุฉุกเฉิน (Emergency Sign) ตามพื้นที่อย่างเหมาะสม เพียงพอ
  3. จัดให้สถานที่ที่ทำงาน มีทางหนีไฟที่เข้าถึงได้สะดวก เหมาะสมและไม่ถูกกีดขวาง
  4. จัดให้มีระบบสัญญาณเตือนไฟไหม้ (Fire Alarm System) ติดตั้งไว้ตามจุดต่างๆ ของสำนักงาน
  5. มีการตรวจสอบความพร้อมของอุปกรณ์ระงับเหตุอย่างสม่ำเสมอ
  6. จัดให้มีหัวหน้าทีมอพยพประจำจุดต่างๆ เพื่อเตรียมพร้อมต่อเหตุ
  7. จัดให้มีการอบรมดับเพลิงขั้นต้น ร้อยละ 40 ของพนักงานแต่ละฝ่าย
  8. จัดให้เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย(รปภ.) ได้รับการอบรมการใช้งานถังเพลิง และวิธีการตรวจสอบเบื้องต้น
  9. จัดให้มีการซ้อมรับเหตุฉุกเฉิน การอพยพหนีไฟเป็นประจำทุกปี

บริษัทฯ ได้นำผลจากการเก็บสถิติการเกิดอุบัติเหตุในทุกๆ ปี มาเป็นหนึ่งในแผนการพัฒนาที่สำคัญ โดยมีความมุ่งมั่นที่จะลดการเกิดอุบัติเหตุให้เป็นศูนย์ (Zero Accident) เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงาน และผู้รับจ้าง ซึ่งเป็นสิ่งที่บริษัทฯ ใส่ใจและให้ความสำคัญเสมอมา

สถิตการเกิดอุบัติเหตุจากการทำงาน ปี 2561 – 2563

ปี256125622563
จำนวนพนักงานและผู้รับเหมา (เฉลี่ย/ปี)1,393 1,131 1,562
จำนวนอุบัติเหตุที่พบ25 17 40
จำนวนคนที่ได้รับบาดเจ็บถึงขั้นหยุดงาน13 10 8
จำนวนวันทำงานที่สูญเสีย23 18 14
I.F.R0.37 0.35 0.21
I.S.R0.67 0.62 0.36

การกําหนดนโยบายความปลอดภัยควรมีลักษณะอย่างไร

1.เพื่อทราบแนวทางความปลอดภัยที่ตรงกัน 2.เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อในการทำงาน 3.เพื่อทราบอันตรายและความเสี่ยงที่ รวมถึงวิธีการดำเนินการป้องกันและควบคุมแก้ไข 4.เพื่อให้การสื่อสารไปในทิศทางเดี่ยวกันตามนโยบายที่กำหนดขึ้นมา

ใครเป็นผู้กำหนดนโยบายความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน

คณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (คปอ.) เป็นการร่วมมือจากทุกภาคส่วนในองค์กรในการดำเนินงานด้านความปลอดภัยไม่ว่าจะเป็นนายจ้าง ลูกจ้าง โดยมีหน้าที่ในการพิจารณานโยบายและแผนงานด้านความปลอดภัยในการทำงาน รายงานและเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางปรับปรุงแก้ไขให้ถูกต้องตามกฎหมายเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน ...

นโยบายความปลอดภัยขององค์กรควรลงนามโดยใคร

ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย ชัดเจน สามารถนำไปปฏิบัติได้ ปรับปรุงให้เหมาะสมกับสถานการณ์อยู่เสมอ เป็นลายลักษณ์อักษรและลงนามโดยผู้บริหารสูงสุดขององค์กร เพื่อให้ทุกส่วนขององค์กรปฏิบัติ

นโยบายอาชีวอนามัยและความปลอดภัยรวมถึงวัตถุประสงค์มุ่งเน้นเรื่องใด

มุ่งมั่นที่จะควบคุมและป้องกันผลกระทบที่มีความเสี่ยงสูงต่อสุขภาพ อนามัยของผู้ปฏิบัติงานทั้งภายในและภายนอก และทรัพย์สิน โดยคำนึงถึงธรรมชาติ ขนาดและความเสี่ยงทางด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย มุ่งมั่นในการป้องกันกิจกรรมที่ส่งผลให้เกิดการบาดเจ็บและเจ็บป่วย รวมทั้งส่งเสริมให้มีการปรับปรุงประสิทธิผลอย่างต่อเนื่อง