การขับร้องเพลงที่ไพเราะควรมีลักษณะอย่างไร

การขับร้องเพลงที่ไพเราะควรมีลักษณะอย่างไร
  เพลงไทย เป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของชาติเช่นเดียวกับนาฏศิลป์และศิลปกรรมอีก หลายอย่าง ในปัจจุบันเรื่องของเพลงไทยเป็นสิ่งที่น่าห่วงใย ทั้งนี้เพราะประชาชนส่วน ใหญ่มีความนิยมน้อย เห็นว่าการร้องเพลงไทย การฟังเพลงไทยเป็นเรื่องไม่ทันสมัย และกลับให้ซึ่ง หมายถึงว่าชาติเรากำลังสูญเสียเอกลักษณ์ไปอย่างหนึ่งด้วยความสนใจกับเพลง ประเภทอื่นมากกว่า ถ้าคนไทยส่วนใหญ่ไม่สนใจ ไม่ยอมรับและสนับสนุนเพลงไทยแล้ว ในไม่ช้าเพลงไทย จะต้องสูญสลายไปจากสังคมไทย            เอกลักษณ์ของชาติเป็นเครื่องหมายที่แสดงถึงความเป็นชาติ และยังแสดงให้เห็นถึงมรดกทางวัฒนธรรมซึ่งเกิดจากการสะสม และการถ่ายทอดของบรรพบุรุษมาจนถึงทุกวันนี้ การขับร้องเพลงไทยเป็นเรื่องที่ยากลำบากอยู่บ้างในการฝึกหัด แต่ถ้าหากทุกคน เห็นคุณค่าเรื่องนี้ และให้ความสนใจฟัง หรือหัดขับร้องเพลงง่ายๆ ไปทีละน้อยแล้ว ความรักในศิลปะ ประเภทนี้ก็จะเกิดการปลูกฝังขึ้นและถ่ายทอดสืบต่อเนื่องได้

การขับร้องเพลงที่ไพเราะควรมีลักษณะอย่างไร
ความหมายของการขับร้องเพลงไทย
การขับร้องเพลงที่ไพเราะควรมีลักษณะอย่างไร

            การขับร้อง เป็นการแสดงออกอย่างหนึ่งในทางอารมณ์  จิตใจและความรู้สึก เช่น อารมณ์รัก อารมณ์เศร้า สนุกสนาน แน่นอนทีเดียวว่า  เมื่อมนุษย์มีอารมณ์ต่างๆ เช่นนี้ ย่อมจะไม่แสดงอาการเฉพาะการนิ่งเฉยซึมเซา เท่านั้น  แต่บางคนจะอุทาน บางคนจะร้องคร่ำครวญ บางคนจะนำคำพูดมาร้องเป็นทำนองสูงๆ  ต่ำๆ สิ่งเหล่านี้เป็นการเริ่มต้นที่นำไปสู่บทเพลงทั้งสิ้น และเนื่องจาก มนุษย์มีความฉลาด  รู้จักปรุงแต่งสิ่งที่มีอยู่ให้ดีขึ้น จึงได้นำบทประพันธ์ที่มีอยู่มาแต่ง ให้เป็นทำนองให้ไพเราะหรืออาจแต่งทำนองและบรรจุคำร้อง ให้กลมกลืนกับทำนองนั้นๆ
           ด้วยวิธีการแต่งเพลงลักษณะต่างๆ ดังได้กล่าวมานี้  ทำให้มีคำหลายคำที่เกี่ยวข้องและหมายความถึงเพลง เช่น คำว่า “ขับลำ”  “ขับเพลง” หรือ “ร้องเพลง” อย่างไรก็ตามคำที่เด่นมากคือคำว่า “ลำ” และคำ ว่า  “เพลง” ซึ่งจะขออธิบายโดยสรุป กล่าวคือ
           คำว่า “ลำ” นั้นหมายถึงเพลงที่มีทำนองซึ่งเกิดจากความสูง  ต่ำ ของเสียงถ้อยคำ ในด้านจังหวะก็ไม่เด่นชัดแน่นอน ลักษณะของการขับลำ  เช่น แอ่วต่างๆ และเสภา
           คำว่า “เพลง” นั้นมีทำนองซึ่งเกิดจากการประพันธ์หรือแต่งขึ้นไว้  คำร้องที่มีความเหมาะสมกับทำนองเพลง การร้องเพลงจะเคร่งครัดทำนองเพลง  แม้ว่าเสียงของคำร้องจะขัดกับทำนองอยู่บ้าง แต่ผู้ร้องจะต้องใช้เทคนิคในการ ร้อง ทำนองและคำร้องให้กลมกลืนกัน นอกจากนี้เพลงยังมีจังหวะที่ดำเนินไปอย่างสม่ำเสมอ

การขับร้องเพลงที่ไพเราะควรมีลักษณะอย่างไร

การขับร้องเพลงไทย
ที่มาภาพ : http://www.aayoncc.org/initiale.html

การขับร้องเพลงที่ไพเราะควรมีลักษณะอย่างไร
องค์ประกอบการขับร้องเพลงไทย
การขับร้องเพลงที่ไพเราะควรมีลักษณะอย่างไร

            1. เสียง ธรรมชาติของเสียงมนุษย์ย่อมมีความแตกต่างกัน เนื่องด้วยปัจจัยต่างๆ เช่น เพศ อายุ รูปร่าง เป็นต้น การร้องเพลงที่ดีจำเป็นต้องเข้าใจคุณสมบัติของเสียงตนเอง ว่ามีเสียง เป็นอย่างไร โดยปกตินั้นผู้ชายจะมีเสียงทุ้มและต่ำ ผู้หญิงจะมีเสียงสูงและแหลม เมื่อมีความเข้าใจในคุณภาพเสียงของตนเองแล้วก็จะทำให้การร้องเพลงเป็นไปอย่างมีคุณภาพ เช่น การไม่บีบเสียงให้สูงหรือหลบให้ต่ำจนเกินเหตุ เพราะจะทำให้ผู้ฟังขาดอรรถรสในการฟัง ยกเว้นบางกรณีที่ผู้ขับร้องมีความจำเป็นที่จะต้องใช้เสียงที่สูงหรือต่ำมาก อาจใช้วิธีการหลบเสียงได้นอกจากนี้ ในการขับร้องเพลงไทยผู้ขับร้องจะต้องเปล่งเสียงอย่างเต็มที่ ในที่นี้มิได้หมายถึงการร้องเสียงดัง หากแต่เป็นการเปล่งเสียงโดยใช้น้ำเสียงที่มีความพอดี และจะต้องมีความสัมพันธ์กับบทร้องด้วย เช่น คำที่แสดงถึงความฮึกเหิม กล้าหาญ ก็จะใช้น้ำเสียงที่หนักแน่น คำที่แสดงถึงความรัก เศร้าโศก ก็จะใช้น้ำเสียงที่อ่อนหวาน นุ่มนวล เป็นต้น เพื่อให้ได้ความหมายและอารมณ์ที่ถูกต้อง
            2. คำร้อง ในการร้องเพลงไทยสามารถแบ่งหลักในการใช้คำร้องได้ ดังนี้
                       2.1 วิธีร้องคำร้องให้ได้ความหมายชัดเจน ตัวอย่างบทร้องเพลงลาวจ้อย 2 ชั้น เนื้อว่า "ขานขันตีปีกป้อง" คำว่า "ป้อง" ในการร้องหาไม่เน้นคำจะทำให้เสียงที่ได้กลายเป็นคำว่า "ปอง" หรือเพลงแขกสาหร่าย 2 ชั้น เนื้อร้องว่า "อันเพลงไทยใช่จะไร้ในคุณค่า" หากไม่เน้นคำว่า "ไร้" เสียงที่เปล่งออกมาก็จะเป็นคำว่า "ร้าย" ทำให้คำร้องมีความหมายเปลี่ยนไป เป็นต้น
                       2.2 วิธีร้องที่ถูกต้องตามความหมายของบทร้อง ผู้ขับร้องจะต้องอ่านบทร้องให้มีความเข้าใจก่อนว่าจะแบ่งคำร้องอย่างไร ไม่ให้ผิดความหมาย เช่น เพลงอาหนู 2 ชั้น มีเนื้อร้อง ว่า "ใส่ต่างหูสองหูหูทัดดอกไม้" ควรแบ่งคำร้องออกเป็น "ใส่ต่างหู สองหู หูทัดดอกไม้" ไม่ใช่ "ใส่ต่างหู สองหูหูทัดดอกไม้" เป็นต้น
            3. การเอื้อนและการหายใจ การเอื้อน คือ การเปล่งเสียงที่ไม่มีความหมายแต่เป็นทำนองประกอบคำร้อง มีจุดประสงค์เพื่อให้การร้องครบถ้วนตามจังหวะหน้าทับ วิธีการเอื้อนโดยปกติ จะใช้เสียงอือ ฮือ เออ เฮอ เงอ เงย ใส่ทำนองให้สนิทสนมและสัมพันธ์กับคำร้อง ส่วนการหายใจนั้นก็มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องถูกต้องตามวรรคตอนของบทร้องและการเอื้อน ทำนอง เช่น บทร้องเพลงแขกต่อยหม้อ 3 ชั้น ในเนื้อร้อง "ดำเนินพลาง/ทางมอง/ทุกช่องฉาก" ผู้ขับร้องควรหยุดหายใจตามเครื่องหมายที่แบ่ง ไม่ควรแยกคำออกจากกัน ดังนั้น เพื่อให้การใช้ลมหายใจเป็นไปอย่างถูกต้อง ผู้ขับร้องควรที่จะได้รับการฝึกฝนการหายใจเข้า-ออก และการผ่อนลมหายใจอย่างสม่ำเสมอ
            4. จังหวะ ผู้ขับร้องมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีความรู้เรื่องอัตราจังหวะ คือ หน้าทับ และทำความเข้าใจในบทร้องของตนว่ามีช้า-เร็วของจังหวะมากน้อยเพียงใด เพราะบทร้องแต่ละบทนั้น มีการประดิษฐ์สำนวนทางที่มีความเฉพาะแตกต่างกัน เช่น บทร้องเพลงแขกขาว 3 ชั้น มีจังหวะสำหรับร้องที่ช้า มีการเอื้อนมาก บทร้องเพลงราตรีประดับดาว ชั้นเดียว มีจังหวะสำหรับร้องที่รวดเร็วไม่มีการเอื้อน เป็นต้น นอกจากนี้ในขณะที่ร้อง ผู้ขับร้องจะต้องรักษาจังหวะให้มีระดับคงที่ สม่ำเสมอ ไม่ช้าลง หรือเร็วขึ้น เพราะจะทำให้เกิดการคร่อมจังหวะ คือการร้องที่ไม่สัมพันธ์หรือไม่ลงจังหวะได้
            5. ทำนอง ผู้ขับร้องต้องรู้จักวิธีการทำเป็นทำนองบทร้องของตนให้มีความสละสลวยไพเราะ เช่น การขับเสียงหรือการลงจบจะต้องมีความนุ่มนวล ไม่แข็งกระด้าง นอกจากนี้ผู้ขับร้องยังควรทราบด้วยว่าบทร้องเพลงไทยบางตอนมีทำนองที่คล้ายคลึงกัน ดังนั้น การรักษาทำนองจึงเป็นการคงเอกลักษณ์ของบทเพลงไม่ให้ปะปนกัน
            6. การสร้างอารมณ์ สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งที่ผู้ขับร้องเพลงต้องสื่อให้ผู้ฟังเข้าใจอย่างชัดเจน คืออารมณ์เพลง การสร้างอารมณ์เพลงสามารถแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ
                       6.1 การสร้างอารมณ์เพลงจากถ้อยคำ ผู้ขับร้องจะต้องทำการศึกษาถ้อยคำใน บทร้องนั้นๆ ว่ากล่าวถึงสิ่งใด หรือจะสื่อถึงอะไร เช่น เพลงลาวดวงเดือน 2 ชั้น เนื้อร้องว่า "โอ้ละหนอ นวลตาเอย พี่นี้รักแสนรักดังดวงใจ" ถ้อยคำที่ร้องคำว่า "รัก" หากจะให้ได้อารมณ์ที่ชัดเจน จะต้องใช้การเปล่งเสียงที่มีความนุ่มนวล โดยการผ่อนเสียงหรือใช้เทคนิคการเอื้อนเสียง เป็นต้น
                       6.2 การสร้างอารมณ์เพลงจากบทร้อง บทร้องส่วนใหญ่นิยมนำมาจากวรรณคดีไทยเรื่องต่างๆ ดังนั้นในแต่ละบทแต่ละตอนก็จะมีความแตกต่างกัน เช่น บทรัก บทโศกเศร้าเสียใจ บทโกรธ เป็นต้น ดังนั้น ในการขับร้องจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสร้างอารมณ์ ตามบทร้อง เพื่อให้ผู้ฟังเข้าถึงอารมณ์ความรู้สึกของตัวละครและเหตุการณ์ในตอนนั้นจริงๆ

การขับร้องเพลงที่ไพเราะควรมีลักษณะอย่างไร
การร้องเพลงแบบต่างๆ
การขับร้องเพลงที่ไพเราะควรมีลักษณะอย่างไร

การร้องเพลงไทยแบ่งเป็น 3 ลักษณะ คือ
            1. การร้องอิสระหรือร้องโดยลำพัง หมายถึง การร้องเดี่ยวโดยปราศจากวงดนตรี อาจเป็นการร้องคนเดียวหรือร้องเป็นหมู่เป็นกลุ่ม การฝึกหัดร้องลักษณะนี้ควรหัดร้องเพลงที่มีทำนองง่ายๆ เอื้อนน้อย ได้แก่ เพลงประเภทชั้นเดียว ต่อมาจึงฝึกหัดร้องเพลงประเภทสองชั้น และเพลงประเภทสามชั้นตามลำดับ
            2. การร้องเพลงประกอบดนตรี คือ การร้องที่มีเครื่องดนตรีเข้ามาร่วมบรรเลง มีทั้งการร้องรับ ร้องส่ง ร้องคลอ ร้องเคล้า ฯลฯ
            3. การร้องเพลงประกอบการแสดง คือ การร้องร่วมกับการแสดง ผู้ร้องจะต้องร้องให้สอดคล้องกับอารมณ์ของตัวเอง เพื่อให้ผู้ชมการแสดงเกิดอารมณ์ตามท่าทางและบทร้องนั้นๆ

การขับร้องเพลงที่ไพเราะควรมีลักษณะอย่างไร
หลักการวิจารณ์การขับร้องเพลงไทย
การขับร้องเพลงที่ไพเราะควรมีลักษณะอย่างไร

            1. บทร้อง ควรพิจารณาว่าเป็นบทร้องที่มาจากวรรณคดีเรื่องใด มีเนื้อหาหรือกล่าวถึงสิ่งใด นอกจากนี้ยังต้องพิจารณาอีกด้วยว่าผู้ขับร้องมีการแบ่งวรรคตอนคำร้องและร้องได้ถูกต้องตามทำนองและจังหวะของเพลงหรือไม่
            2. การใช้เสียง ควรพิจารณาว่าผู้ขับร้องสามารถร้องได้ตรงตามทำนองและจังหวะหรือไม่ สามารถใช้วิธีการและเทคนิคในการขับร้องได้เหมาะสมกับบทร้อง และเสียงของตนเองหรือไม่
            3. การหายใจ เมื่อมีการแบ่งวรรคตอนคำร้องแล้ว ควรพิจารณาการหายใจของผู้ขับร้องว่าสามารถหายใจได้ตรงตามวรรคตอนหรือไม่ ควรหายใจเมื่อใดจึงจะทำให้ไม่เสียอรรถรสในการร้องและการฟัง ทั้งนี้หากสามารถพิจารณาการหายใจข้างต้นได้แล้ว ควรพิจารณาต่อไปว่าการหายใจของผู้ขับร้องมีความประณีตมากน้อยเพียงใด เพราะผู้ขับร้องที่ดีจะมีความสามารถในการบังคับลมหายใจ โดยที่ผู้ฟังไม่สามารถทราบได้ว่ามีการหายใจตรงจุดใด
4. จังหวะ พิจารณาว่าขับร้องได้ตรงตามจังหวะฉิ่งและหน้าทับหรือไม่
            5. การสร้างอารมณ์ พิจารณาว่าบทร้องนั้นสื่ออารมณ์อย่างไร และผู้ขับร้องสามารถสื่อได้ถูกต้องตามคำร้องและบทร้องหรือไม่

การขับร้องเพลงที่ไพเราะควรมีลักษณะอย่างไร
           

การขับร้องเพลงที่ไพเราะควรมีลักษณะอย่างไร
 

วิธีใดทำให้ฝึกร้องเพลงได้ไพเราะ

10 เทคนิคการร้องเพลงให้ไพเราะ น่าฟัง ดูดีมีสไตล์.
1. ปรับคีย์ดนตรีให้เข้ากับเสียงร้องของตัวเอง ... .
2. ร้องถูกต้องตามอักขระภาษาในบทเพลงนั้น และร้องเสียงดังกังวาน ฟังชัดเจนทุกคำ ... .
3. สไตล์การร้องต้องเป็นเสียงของตัวเองให้มากที่สุด ... .
4. ทำเสียงให้กลมไม่แบนและนุ่มนวล.

เสียงร้องที่มีคุณภาพควรมีลักษณะอย่างไร

4. ร้องพยัญชนะได้ชัดเจน – ไม่เกร็งขากรรไกร ไม่เกร็งลิ้นและขยันปากได้คล่อง 5. ภาษาชัดเจน – มีความสามารในการร้องเพลงภาษาต่างๆ ได้อย่างชัดเจน ถูกต้องตามหลักของภาษานั้นๆ 6. มีเสียงก้องกังวาน – เข้าใจวิธีการทำให้เสียงมีความก้องกังวาน และรู้จักที่จะใช้เทคนิคการสั่นเสียงได้อย่างพอเหมาะพอดี

การขับร้องเพลงเพื่อให้เกิดความไพเราะต้องอาศัยสิ่งใดเป็นสิ่งสำคัญ

การขับร้องเพลงประเภทต่างๆ ให้มีความไพเราะ ต้องอาศัยการฝึกฝนบ่อย ๆ จนเกิดความชำนาญ และใช้หลักการขับร้องที่ถูกต้อง ดังนี้ การขับร้อง มีหลักในการฝึกปฏิบัติ ดังนี้ 1. การออกเสียง ในการขับร้องเพลงจะต้องออกเสียงให้เต็มเสียงตามจังหวะและทำนองของเพลง ซึ่งจะต้องมีความต่อเนื่องสม่ำเสมอ ไม่ขาดช่วง

การยืนร้องที่ถูกต้องควรทำอย่างไร

1. ท่าทาง การปฏิบัติที่ถูกต้องควรจะให้เป็นไปโดยอัตโนมัติ คือยืนตรง เท้าวางห่างกันประมาณ 1 ฟุต เท้าขวาอยู่หน้าเล็กน้อย ให้รู้สึกว่ากระดูกสันหลังรับน้ำหนักทั้งหมด ฝึกหัดยกหัว เชิดหน้า ไหล่ตรง แขม่วท้อง หดสะโพก หลังตรง ไม่เกร็งตัว วางตัวตามสบายแต่ให้อยู่ในลักษณะที่ถูกต้อง ควรยืนห่างจากไมโครโฟนประมาณ 12 - 15 นิ้ว ออกเสียง ...