การทำโครงงานวิทยาศาสตร์ให้ประสบผลสำเร็จควรใช้หลักการใด

เรื่องที่ 2 ขั้นตอนการทำโครงงานวิทยาศาสตร์

              การทำกิจกรรมโครงงานเป็นการทำกิจกรรมที่เกิดจากคำถามหรือความอยา กรู้อยากเห็นเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ ดังนั้น การทำโครงงานจึงมีขั้นตอน ดังนี้
                 1. ขั้นสำรวจหรือตัดสินใจเลือกเรื่องที่จะทำ
                       การตัดสินใจเลือกเรื่องที่จะทำโครงงานควรพิจารณาถึงความพร้อมในด้านต่าง ๆ เช่นแหล่งความรู้เพียงพอที่จะศึกษาหรือขอคำปรึกษา มีความรู้และทักษะในการใช้เครื่องมืออุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในการศึกษา มีผู้ทรงคุณวุฒิรับเป็นที่ปรึกษา มีเวลา และงบประมาณเพียงพอ
               2. ขั้นศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ตัดสินใจทำ
                     การศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ตัดสินใจทำ จะช่วยให้ผู้เรียนได้แนวคิดที่จะกำหนดขอบข่ายเรื่องที่จะศึกษาค้นคว้าให้เฉพาะเจาะจงมากขึ้นและยังได้ความรู้ เรื่องที่จะศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมจนสามารถออกแบบการศึกษา ทดลอง และวางแผนดำเนินการทำโครงงานวิทยาศาสตร์อย่างเหมาะสม
               3. ขั้นวางแผนดำเนินการ
                   การทำโครงงานวิทยาศาสตร์ไม่ว่าเรื่องใดจะต้องมีการวางแผนอย่างละเอียด รอบคอบ และมีการกำหนดขั้นตอนในการดำเนินงานอย่างรัดกุม ทั้งนี้เพื่อให้การดำเนินงานบรรลุจุดมุ่งหมายหรือเป้าหมายที่กำหนดไว้ ประเด็นที่ต้องร่วมกันคิดวางแผนในการทำโครงงานมีดังนี้ คือ ปัญหา สาเหตุของปัญหา แนวทาง และวิธีการแก้ปัญหาที่สามารถปฏิบัติได้ การออกแบบการศึกษาทดลองโดยกำหนดและควบคุมตัวแปร วัสดุอุปกรณ์และสารเคมี เวลา และสถานที่จะปฏิบัติงาน
             4. ขั้นเขียนเค้าโครงของโครงงานวิทยาศาสตร์
                  การเขียนเค้าโครงของโครงงานวิทยาศาสตร์มีรายละเอียด ดังนี้
                  4.1 ชื่อโครงงาน เป็นข้อความสั้น ๆ กะทัดรัด ชัดเจน สื่อความหมายตรง และมีความเฉพาะเจาะจงว่าจะศึกษาเรื่องใด
                  4.2 ชื่อผู้ทำโครงงาน เป็นผู้รับผิดชอบโครงงาน ซึ่งอาจเป็นรายบุคคลหรือกลุ่มก็ได้
                  4.3 ชื่อที่ปรึกษาโครงงาน ซึ่งเป็นอาจารย์หรือผู้ทรงคุณวุฒิก็ได้
                  4.4 ที่มาและความสำคัญของโครงงาน เป็นการอธิบายเหตุผลที่เลือกทำโครงงานนี้ ความสำคัญของโครงงาน แนวคิด หลักการ หรือทฤษฎีที่เกี่ยวกับโครงงาน
                  4.5 วัตถุประสงค์โครงงาน เป็นการบอกจุดมุ่งหมายของงานที่จะทำ ซึ่งควรมีความเฉพาะเจาะจงและเป็นสิ่งที่สามารถวัดและประเมินผลได้
                  4.6 สมมติฐานของโครงงาน (ถ้ามี) สมมติฐานเป็นคำอธิบายที่คาดไว้ล่วงหน้า ซึ่งจะผิดหรือถูกก็ได้ สมมติฐานที่ดีควรมีเหตุผลรองรับ และสามารถทดสอบได้
                  4.7 วัสดุอุปกรณ์และสิ่งที่ต้องใช้ เป็นการระบุวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นใช้ในการดำเนินงานว่ามีอะไรบ้าง ได้มาจากไหน
                  4.8 วิธีดำเนินการ เป็นการอธิบายขั้นตอนการดำเนินงานอย่างละเอียดทุกขั้นตอน
                  4.9 แผนปฏิบัติการ เป็นการกำหนดเวลาเริ่มต้นและเวลาเสร็จงานในแต่ละขั้นตอน
                 4.10 ผลที่คาดว่าจะได้รับ เป็นการคาดการณ์ผลที่จะได้รับจากการดำเนินงานไว้ล่วงหน้า
ซึ่งอาจได้ผลตามที่คาดไว้หรือไม่ก็ได้
                4.11 เอกสารอ้างอิง เป็นการบอกแหล่งข้อมูลหรือเอกสารที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า

           5. ขั้นลงมือปฏิบัติ
                การลงมือปฏิบัติเป็นขั้นตอนที่สำคัญตอนหนึ่งในการทำโครงงานเนื่องจากเป็นการลงมือปฏิบัติจริงตามแผนที่ได้กำหนดไว้ในเค้าโครงของโครงงาน อย่างไรก็ตามการทำโครงงานจะสำเร็จได้ด้วยดี ผู้เรียนจะต้องคำนึงถึงเรื่องความพร้อมของวัสดุอุปกรณ์ และสิ่งอื่น ๆ เช่นสมุดบันทึกกิจกรรมประจำวัน ความละเอียดรอบคอบและความเป็นระเบียบในการปฏิบัติงาน
ความประหยัดและความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน ความน่าเชื่อถือของข้อมูลที่ได้จากการปฏิบัติงาน การเรียงลำดับก่อนหลังของงานส่วนย่อย ๆ ซึ่งต้องทำแต่ละส่วนให้เสร็จก่อนทำส่วนอื่นต่อไปในขั้นลงมือปฏิบัติจะต้องมีการบันทึกผล การประเมินผล การวิเคราะห์ และสรุปผลการปฏิบัติ
          6. ขั้นเขียนรายงานโครงงาน
              การเขียนรายงานการดำเนินงานของโครงงาน ผู้เรียนจะต้องเขียนรายงานให้ชัดเจนใช้ศัพท์เทคนิคที่ถูกต้อง ใช้ภาษากะทัดรัด ชัดเจน เข้าใจง่าย และต้องครอบคลุมประเด็นสำคัญ ๆ ทั้งหมดของโครงงานได้แก่ ชื่อโครงงาน ชื่อผู้ทำโครงงาน ชื่อที่ปรึกษา บทคัดย่อ ที่มาและความสำคัญของโครงงาน จุดมุ่งหมาย สมมติฐาน วิธีดำเนินงาน ผลการศึกษาค้นคว้า ผลสรุป
ของโครงงาน ข้อเสนอแนะ คำขอบคุณบุคลากรหรือหน่วยงานและเอกสารอ้างอิง
        7. ขั้นเสนอผลงานและจัดแสดงผลงานโครงงาน
              หลังจากทำโครงงานวิทยาศาสตร์เสร็จแล้วจะต้องนำผลงานที่ได้มาเสนอและจัดแสดง ซึ่งอาจทำได้หลายรูปแบบ เช่น การจัดนิทรรศการ การประชุมทางวิชาการ เป็นต้น ในการเสนอผลงานและจัดแสดงผลงานโครงงานวิทยาศาสตร์ ควรนำเสนอให้ครอบคลุมประเด็นสำคัญ ๆ ทั้งหมดของโครงงาน

หลักการทำโครงงานมีอะไรบ้าง

ส่วนประกอบของการเขียนเค้าโครงโครงงาน.
ชื่อโครงงาน.
แนวคิด/ที่มา/ความสำคัญ.
วัตถุประสงค์ของการศึกษาค้นคว้า.
สมมติฐานของการศึกษาค้นคว้า (ถ้ามี).
ขั้นตอนการดำเนินงาน.
ผลที่คาดว่าจะได้รับ.
รายชื่อผู้รับผิดชอบโครงงาน.
อาจารย์ที่ปรึกษา.

หลักการของโครงงานวิทยาศาสตร์คืออะไร

ในการท าโครงงานวิทยาศาสตร์นั้น มีหลักการที่ส าคัญ 4 ประการ ได้แก่ 1. เป็นกิจกรรมที่มีเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2. เน้นการแสวงหาความรู้โดยผู้เรียนจะเป็นผู้ริเริ่ม วางแผน และด าเนินการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง โดยมีครูเป็น ผู้ชี้แนะแนวทางและให้ค าปรึกษา 3. เน้นกระบวนการแสวงหาความรู้โดยใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ โดยเริ่ม ...

จะทำโครงงานวิทยาศาสตร์ให้สำเร็จจะต้องอาศัยสิ่งใด

การลงมือทำโครงงานจำเป็นจะต้องคำนึงถึงเรื่องต่าง ๆ ต่อไปนี้เพื่อให้งานสำเร็จได้ด้วยดี 1. ความพร้อมของวัสดุและสถานที่ก่อนลงมือทดลอง หรือสำรวจ 2. เตรียมสมุดสำหรับบันทึกกิจกรรมประจำวัน 3. ปฏิบัติการทดลองด้วยความละเอียดรอบคอบ และวางแผนบันทึกข้อมูลไว้ให้เป็นระเบียบครบถ้วน

ข้อใดคือหลักสำคัญที่สุดในการจัดแสดงนิทรรศการโครงงานวิทยาศาสตร์

ข้อคำนึงถึงในการจัดนิทรรศการโครงงานวิทยาศาสตร์ ควรคำนึงถึงสิ่งต่าง ๆ ต่อไปนี้ 1. ความปลอดภัยของการจัดแสดง 2. ความเหมาะสมกับเนื้อที่ที่จัดแสดง 3. คำอธิบายที่เขียนแสดง ควรเน้นเฉพาะประเด็นสำคัญและสิ่งที่น่าสนใจเท่านั้น โดยใช้ข้อความกะทัดรัด ชัดเจน และเข้าใจง่าย