หลักธรรมใดที่พุทธศาสนิกชนทุกคนควรยึดถือเป็นวิถีดำเนินชีวิต

        ศาสนาเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับใช้ประกอบในการดำรงชีวิตประจำวัน เพราะศาสนา มีคุณค่ามากมายต่อมนุษย์ในด้านจิตใจซึ่งถือว่าสูงกว่าคุณค่าทางวัตถุ เป็นที่พึ่งทางใจทำให้มนุษย์ไม่อ้างว้างเวลาประสบปัญหาในชีวิต ผู้มีปัญหาย่อมสามารถนำหลักธรรมคำสอนของศาสนาซึ่งตนนับถือและเลื่อมใสศรัทธานำพาชีวิตให้ไปสู่เป้าหมาย ที่ตนได้ตั้งไว้ ศาสนิกชนทุกศาสนาคงไม่ตกเป็นเครื่องมือของอำนาจใฝ่ต่ำ เพราะคำสอนทุกศาสนาสอนให้คนเป็นคนดี สอนให้มนุษย์ละเว้นจากความชั่วทั้งปวง เป็นเครื่องแยกมนุษย์ออกจากสัตว์ ศาสนาจึงเป็นเหมือนประทีปส่องโลกเราให้สว่างไสวด้วยความรู้แจ้ง และยังสอนให้มนุษย์รักสามัคคี มีความยุติธรรมต้องการปฏิบัติแต่สิ่งที่ถูกต้อง รักความเมตตากรุณา ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ช่วยเหลือผู้ที่อ่อนแอกว่า ไม่อิจฉาริษยาพยาบาทต่อกัน ปลูกฝังความเป็นคนดี

        ศาสนาทุกศาสนาสอนคนทำความดี ละเว้นความชั่ว ถ้าศึกษา หลักธรรมของศาสนา แล้วจะเห็นได้ว่าศาสนาที่นับถือในสังคมไทย จะมีทั้งสิ้น 5 ศาสนา ได้แก่ พระพุทธศาสนา ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และศาสนาสิกข์ ซึ่งแต่ละศาสนาล้วนแล้วแต่มีความสอดคล้องกันในการปลูกฝังแนวทาง ปฏิบัติให้แก่ ศาสนิกชนเพื่อความเป็นพลเมืองดีของสังคมไทย ดังนี้

ศาสนาและองค์ประกอบของศาสนา

ศาสนา  “Religion” หมายถึง คำสั่งสอนของศาสดาผู้ประกาศศาสนา ประกอบด้วยหลักธรรม คำสอน แนวความเชื่อ และแนวการปฏิบัติต่าง ๆ ตามคติของแต่ละศาสนา เพื่อให้ผู้ปฏิบัติตามเกิดความเจริญในชีวิต และให้อยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข

สาเหตุที่ทำให้เกิดศาสนา

1. อวิชชา (Lack of Knowlegde) ความไม่รู้

ความไม่รู้ไม่เข้าใจในเหตุผลทางด้านภูมิศาสตร์  ดาราศาสตร์  ชีววิทยา  และปรากฎการณ์ธรรมชาติอื่น ๆ รอบตัวของคนสมัยดึกดำบรรพ์  เมื่อไม่รู้สาเหตุที่แท้จริงจึงคิดว่ามีสิ่งที่มีอำนาจเหนือมนุษย์เหนือธรรมชาติ  แล้วพากันบูชาบวงสรวงอ้อนวอนให้เมตตาปรานีเพื่อขอความปลอดภัยในชีวิต

2. ภัย (Fear) ความกลัวเพราะความไม่รู้
          ความไม่รู้เป็นสาเหตุให้เกิดความกลัว  เช่น ไม่รู้ไม่เข้าใจในปรากฏการณ์ธรรมชาติ  จะเป็นฝนตกหนัก น้ำท่วม  ฟ้าผ่า  ความมืด   พร้อมกับเข้าใจไปว่าเกิดเหตุกาณ์อย่างนั้น ๆ จะต้องมีผู้มีฤทธิ์เดชเป็นผู้ดลบันดาล  จึงเกิดความเชื่อเรื่องเทพเจ้าหรือเทวดาต่าง ๆ

3. ศรัทธา (Faith) ความเชื่อ หรือ ความภักดี

ความเชื่อหรือความเลื่อมใสในสิ่งที่ตนเองมันใจว่ามีอำนาจเหนือมนุษย์ธรรมดา  มีอำนาจเหนือธรรมชาติที่จะสามารถดลบันดาลให้ตนได้รับความคุ้มครองป้องกันจากภัยพิบัติต่าง ๆ ได้ ศรัทธาหรือความจงรักภักดีจึงกลายเป็นมูลเหตุที่ทำให้เกิดศาสนา  โดยเฉพาะศาสนาประเภทเทวนิยม

4. เกิดจากปัญญา ความต้องการเหตุผล  (Want of Sources)

เมื่อมนุษย์มีความเจริญมากขึ้นก็มีสติปัญญาสามารถพิจารณาหาเหตุผลได้  หาความจริงของชีวิตได้  ศาสนาที่เกิดจากความต้องการเหตุผลที่เป็นตัวอย่างได้ดีที่สุด คือ ศาสนาพุทธ  เกิดปัญญาญาณ

5. ความต้องการที่พึ่งทางใจ  (Needs of Spiritual Refuge)

ผู้ที่จะเป็นที่พึ่งยึดเหนี่ยวทางใจได้ก็ต้องมีอำนาจเหนือมนุษย์ธรรมดา  อันได้แก่  พระเจ้า  หรือเทพเจ้า  มนุษย์จึงพากันบูชาเทพเจ้าเพื่อให้เกิดความรู้สึกว่าจิตใจปลอดโปร่งปลอดภัย

6. ความต้องการความสงบสุขของสังคม (Social Needs of Happiness)

ศาสนามีความสำคัญมากในการช่วยกล่อมเกลาโน้มน้าวจิตใจ  และสร้างสำนึกทางศีลธรรมต่อสังคม  อันจะยังผลให้เกิดความสงบสุขร่มเย็นแก่สังคมที่ทุกคนต้องการ

ความสำคัญของศาสนา

          1. เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจที่เหมือนกับเครื่องมือ เพื่อนำไปสู่เป้าหมายในการกระทำต่างๆที่มนุษย์นำมาเป็นที่พึ่งและสร้างความ มั่นใจในการดำเนินชีวิต

          2.เป็นบ่อเกิดแห่งความสามัคคีของสมาชิกรวมไปถึงความสามัคคีของมวลมนุษยชาติและช่วยลดความขัดแย้งทำให้เกิดความสันติ

          3.เป็นเครื่องมือในการอบรมสั่งสอน ขัดเกลาจิตใจสมาชิกของสังคม เพราะศาสนาสร้างความเคารพศรัทราขึ้นในจิตใจของมนุษย์ให้ยึดมั่นและปฏิบัติ ตามคำสั่งสอนให้รู้จักเกรงกลัวต่อบาป ปลูกฝังให้รู้จิตกระทำความดีที่เป็นประโยชน์ต่อตนเองและสังคม

          4. เป็นมรดกของสังคม ศาสนาเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่สำคัญยิ่งของสังคมโลก เพราะทุกศาสนามี

ศาสนวัตถุ ศาสนิกชน หลักธรรมคำสอนและศาสนพิธีต่างๆมากมายที่เป็นเครื่องชี้นำความก้าวหน้าหรือ ความเสื่อมถอยของสังคมได้อย่างดี

          5. เป็นบ่อเกิดแห่งขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงาม ที่หลายคนต้องยึดถือปฏิบัติ เช่น การไปวัด การไหว้พระ การถือศีลอด การไปโบสถ์

          6. ศาสนาเป็นเครื่องดับความเร่าร้อนทางใจ ทำให้ใจสงบเย็นและสามารถจูงใจและผูกใจคนไว้ได้อย่างแน่นแฟ้น ใน การยึดมั่นต่อคำสั่งสอนซึ่งจะบันดาลให้มนุษย์สุขทุกข์ได้

          7. เป็นกำลังใจให้มนุษย์มีความเชื่อมั่นในการกระทำของตน ทำให้การปฏิบัติตนของสมาชิกในสังคม เป็นบรรทัดฐานเดียวกันบุคคลใดยึดมั่นในหลักคำสอนก็จะทำให้ตัวเองมีความสุข ความเจริญได้รับความเลื่อมใสศรัทธาจากผู้อื่นมากยิ่งๆขึ้น

ประโยชน์ของศาสนา

  1. ช่วยให้สมาชิกของสังคมสงบสุข รู้จักการดำเนินชีวิตโดยใช้เหตุผล

  2. ช่วยควบคุมความประพฤติของผู้คนในสังคม ทำให้ผู้นับถือเป็นคนดี มีศีลธรรม

  3. เป็นบ่อเกิดของศิลปวัฒนธรรม

  4. ตอบสนองความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ด้านจิตใจ เป็นที่พึ่งทางจิตใจของสมาชิกในสังคม

  5. เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตเพื่อให้เกิดความสุข มีอิสระทางใจ เชื่อมั่นในตนเอง และเคารพ

ในการทำความดี

องค์ประกอบของศาสนา

หลักธรรมใดที่พุทธศาสนิกชนทุกคนควรยึดถือเป็นวิถีดำเนินชีวิต

1.       ศาสดา คือผู้ก่อตั้งหรือประกาศศาสนา

2.       คัมภีร์ หรือ หลักคำสอน

3.       สาวก คือ ผู้ที่ทำหน้าที่สืบทอดศาสนา

4.       ศาสนาสถาน คือ สถานที่ชุมนุมกันเพื่อ ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา หรือใช้เผยแผ่หลักธรรมคำสอน

5.       พิธีกรรม คือ การกระทำที่ก่อให้เกิดความศรัทธา

6.       สัญลักษณ์ คือ สิ่งที่กำหนดให้ว่าเป็นตัวแทนของศาสนา

ประเภทของศาสนา

แบ่งตามความเชื่อเกี่ยวกับพระเจ้า แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่

1. เทวนิยม (Theism) นับถือพระเจ้า เชื่อว่าพระเจ้าเป็นองค์ศักดิ์สิทธิ์ สร้างสรรค์โลกและสรรพสิ่งต่างๆ แบ่งเป็น

         ก. เอกเทวนิยม (Monotheism) นับถือพระเจ้าองค์เดียว ได้แก่ ศาสนาสิกข์ ศาสนาเต๋า ศาสนายิว ศาสนาโซโรอัสเตอร์ ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม

         ข. พหุเทวนิยม (Polytheism) นับถือพระเจ้าหลายองค์ และอาจผสมผสานกับการบูชาธรรมชาติ (Nature worship)ได้แก่ ศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู ศาสนาขงจื๊อ ศาสนาชินโต

2. อเทวนิยม (Atheism) เป็นศาสนาที่ไม่มีการนับถือพระเจ้า คือไม่เชื่อหรือไม่สอนให้เชื่อในเรื่องพระเจ้าสร้างโลกได้แก่ ศาสนาพุทธ และ เชน

ศาสนาสำคัญในประเทศไทยและหลักธรรมที่สำคัญ

วิดีโอ YouTube

แม้คนไทยส่วนใหญ่จะนับถือพระพุทธศาสนา  แต่ประเทศไทยเป็นดินแดนเสรี  ประชาชนได้รับสิทธิที่จะนับถือศาสนาใดๆ  ก็ได้ตราบเท่าที่ไม่ไปละเมิดสิทธิของผู้อื่น

สำหรับศาสนาสำคัญในประเทศไทยมีทั้งสิ้น 5 ศาสนาได้แก่

1.       ศาสนาพุทธ 

2.       ศาสนาอิสลาม 

3.       ศาสนาคริสต์ 

4.       ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู 

5.       ศาสนาสิกข์ 

1. ศาสนาพุทธ

หลักธรรมใดที่พุทธศาสนิกชนทุกคนควรยึดถือเป็นวิถีดำเนินชีวิต

ศาสนาพุทธ เป็นศาสนาประเภทอเทวนิยม ศาสดาของศาสนาพุทธคือ พระพุทธเจ้า  วัตถุประสงค์สูงสุดของศาสนา คือ การหลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งปวงและวัฏจักรการเวียนว่ายตายเกิด เช่นเดียวกับที่พระศาสดาทรงหลุดพ้นได้ด้วยกำลังสติปัญญาและความเพียรของพระองค์เอง ในฐานะที่พระองค์ก็ทรงเป็นมนุษย์ มิใช่เทพเจ้าหรือทูตของพระเจ้าองค์ใด

1. คัมภีร์ เรียกว่า พระไตรปิฎกพระไตรปิฏก หมายถึง สิ่งที่รวบรวมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าไว้เป็นหมวดหมู่ไม่ไห้กระจัดกระจาย คล้ายกระจาดหรือตะกร้าอันเป็นภาชนะใส่ของนั้นเอง พระไตรปิฏก แบ่งออกเป็น

     1.  พระวินัยปิฏก ว่าด้วยวินัยหรือศีลของภิกษุ ภิกษุณี

     2.  พระสุตตันตปิฏก ว่าด้วยพระธรรมเทศนาทั่วไป

     3.  พระอภิธรรมปิฏก ว่าด้วยธรรมล้วนๆ หรือธรรมสำคัญ

2. นิกาย นิกายของศาสนาพุทธที่สำคัญแบ่งออกเป็น 2 นิกาย ได้แก่

1.  มหายาน เป็นนิกายของภิกษุฝ่ายเหนือของอินเดีย ซึ่งมีจุดมุ่งสอนให้ระงับดับกิเลส ทั้งยังได้แก้ไข

คำสอนในพระพุทธศาสนา ให้ผันแปรไปตามลำดับ พวกนี้เรียกลัทธิของตนว่า "มหายาน" ซึ่งแปลว่า "ยานใหญ่" อาจพาประชาชนให้ข้ามวัฏสงสาร คือ ความทุกข์จาการเวียนว่ายตายเกิดได้คราวละมาก ๆ นิกายนี้ได้เข้าไปเจริญรุ่งเรื่องอยู่ในประเทศทิเบต จีน มองโกเลีย ญี่ปุ่น เกาหลี และเวียดนาม

2.  หีนยาน หรือ เถรวาท เป็นนิกายของภิกษุฝ่ายใต้ของอินเดีย ซี่งมุ่งสอนให้พระสงฆ์ปฏิบัติเพื่อดับ

กิเลสของตนเองก่อน และห้ามเปลี่ยนแลงแก้ไขพระธรรมวินัยอย่างเด็ดขาด คำว่า "หีนยาน" เป็นคำที่ฝ่ายมหายานตั้งให้ แปลว่า "ยานเล็ก" ส่วนภิกษุฝ่ายใต้เรียกตัวเองว่า "เถรวาท"หมายถึง ผู้ปฏิบัติตามพุทธบัญญัติอย่างเที่ยงตรง นิกายนี้มีผู้นับถือมากในประเทศศรีลังกา พม่า ลาว ไทย และกัมพูชา

3. หลักคำสอนที่สำคัญของศาสนาพุทธ

          1. อริยสัจ 4 ความจริงอันประเสริฐ เป็นหลักธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ ประกอบด้วย

1. ทุกข์ คือ การมีอยู่ของทุกข์

2. สมุทัย คือ เหตุแห่งทุกข์

3. นิโรธ คือ ความดับทุกข์ ทุกข์หมดไปแล้ว

4. มรรค คือ หนทางนำไปสู่ความดับทุกข์  อันได้แก่ อริยมรรค 8

2. อริยมรรค 8 คือ หนทางถึงความดับทุกข์ เป็นส่วนหนึ่งของอริยสัจ4

          1. สัมมาทิฏฐิ ิคือความเข้าใจถูกต้อง

2. สัมมาสังกัปปะ คือความใฝ่ใจถูกต้อง

3. สัมมาวาจา คือการพูดจาถูกต้อง

4. สัมมากัมมันตะ คือการกระทำถูกต้อง

5. สัมมาอาชีวะ คือการดำรงชีพถูกต้อง

.6. สัมมาวายามะ คือความพากเพียรถูกต้อง

7. สัมมาสติ คือการระลึกประจำใจถูกต้อง

8. สัมมาสมาธิ คือการตั้งใจมั่นถูกต้อง

3. สังคหวัตถุ 4 หมายถึง หลักธรรมที่เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวน้ำใจของผู้อื่น ผูกไมตรี เอื้อเฟื้อ เกื้อกูล หรือเป็นหลักการสงเคราะห์ซึ่งกันและกัน มีอยู่ 4 ประการ ได้แก่

1. ทาน คือ การให้

2. ปิยวาจา คือ การพูดจาด้วยถ้อยคำที่ไพเราะอ่อนหวาน

3. อัตถจริยา คือ การสงเคราะห์ทุกชนิดหรือการประพฤติในสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น

4. สมานัตตา คือ การเป็นผู้มีความสม่ำเสมอ

4. พรหมวิหาร 4 หมายถึง ธรรมของพรหมหรือของท่านผู้เป็นใหญ่ ได้แก่

1. เมตตา  ความปรารถนาให้ผู้อื่นได้รับสุข

2. กรุณา   ความปราถนาให้ผู้อื่นพ้นทุกข์

3. มุทิตา   ความยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี

4. อุเบกขา การรู้จักวางเฉย

5. อิทธิบาท 4 หมายถึง เครื่องให้ลุถึงความสำเร็จตามที่ตนประสงค์ จำแนกไว้เป็น ๔ คือ

1. ฉันทะ ความพอใจรักใคร่ในสิ่งนั้น

2. วิริยะ ความพากเพียรในสิ่งนั้น

3. จิตตะ ความเอาใจใส่ฝักใฝ่ในสิ่งนั้น

4. วิมังสา ความหมั่นสอดส่องในเหตุผลของสิ่งนั้น

โลกธรรม 8

6. ธรรม 8 หมายถึง เรื่องของ โลกมีอยู่ประจำกับชีวิต สังคมและโลกของมนุษย์เป็นความจริงที่ทุกคนต้องประสบด้วยกันทั้งนั้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ได้แก่

1. โลกธรรมฝ่ายอิฏฐารมณ์ คือ ฝ่ายที่มนุษย์พอใจมี 4 เรื่อง คือ

- ได้ลาภ หมายความว่า ได้ผลประโยชน์ ได้ทรัพย์สินเงินทอง ได้บ้านเรือนหรือที่สวน ไร่นา

- ได้ยศ หมายความว่า ได้รับแต่งตั้งให้มีฐานันดรสูงขึ้น ได้ตำแหน่ง ได้อำนาจเป็นใหญ่เป็นโต

- ได้รับสรรเสริญ คือ ได้ยิน ได้ฟัง คำสรรเสริญคำชมเชย คำยกยอ

- ได้สุข คือ ได้ความสบายกาย สบายใจ ได้ความเบิกบาน ร่าเริง ได้ความบันเทิงใจ

2. โลกธรรมฝ่ายอนิฏฐารมณ์ คือ ฝ่ายที่มนุษย์ไม่พอใจมี 4 เรื่อง คือ

- เสียลาภ หมายความว่า ลาภที่ได้มาแล้วเสียไป

- เสื่อมยศ หมายถึง ถูกลดความเป็นใหญ่ ถูกถอดออกจากตำแหน่ง ถูกถอดอำนาจ

- ถูกนินทา หมายถึง ถูกตำหนิติเตียนว่าไม่ดี มีใครพูดถึง ความไม่ดีของเราในที่ลับหลังเรียกว่าถูกนินทา

- ตกทุกข์ คือ ได้รับความทุกข์ทรมานกายทรมานใจ

7. ทิศหก หมายถึง วิธีการปฏิบัติตนต่อบุคคลประเภทต่างๆ ที่เราต้องเกี่ยวข้องสัมพันธ์ ดุจทิศที่อยู่รอบตัวจัดเป็น 6 ทิศ ดังนี้

1. ปุรัตถิมทิส ทิศเบื้องหน้า ได้แก่ บิดา มารดา

2. ทักขิณทิสทิศเบื้องขวา ได้แก่ ครูอาจารย์

3. ปัจฉิมทิส ทิศเบื้องหลัง ได้แก่ สามีภรรยา

4. อุตตรทิส ทิศเบื้องซ้ายได้แก่ มิตรสหาย

5. อุปริมทิส ทิศเบื้องบนได้แก่ พระสงฆ์ สมณพราหมณ์

6. เหฏฐิมทิส ทิศเบื้องล่าง ได้แก่ ลูกจ้างกับนายจ้าง

4. พิธีกรรมที่สำคัญ

          พิธีกรรมทางศาสนาพุทธหรือที่เรียกอีก อย่างหนึ่งว่า ศาสนพิธีด้วยกัน เช่น พิธีการแสดงตนเป็นพุทธมามกะ พิธีรักษาศีลอุโบสถ ฯลฯ จำแนกเป็น 2 ประเภท

1. พิธีกรรมที่เป็นพุทธบัญญัติ เป็นพิธีการเกี่ยวกับวินัยสงฆ์ ซึ่งพระพุทธเจ้าได้ทรงบัญญัติไว้ จะต้องปฏิบัติพิธีกรรมนั้น ๆ ให้ถูกต้องตามที่บัญญัติไว้

2. พิธีกรรมที่พัฒนาขึ้นในท้องถิ่น คือ พิธีกรรมที่พุทธศาสนิกชนในท้องถิ่นต่าง ๆ กำหนดขึ้น โดยมีการผสมผสานขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่นให้เข้ากับกิจกรรมทางพุทธศาสนา และได้ปฏิบัติสืบต่อกันมาจนเป็นประเพณี เช่น การแต่งงาน งานศพ งานขึ้นบ้านใหม่

 2. ศาสนาอิสลาม

หลักธรรมใดที่พุทธศาสนิกชนทุกคนควรยึดถือเป็นวิถีดำเนินชีวิต

ศาสนาอิสลาม  เป็นศาสนาประเภทเอกเทวนิยม  คือ  นับถือพระเป็นเจ้าองค์เดียว  ได้แก่  อัลลอฮ์  โดยมี  มุฮัมมัด  เป็นศาสดาและผู้ประกาศศาสนา  ศาสนาอิสลามไม่มีพระหรือนักบวชเพื่อทำหน้าที่ประกอบพิธีกรรมและเผยแผ่ศาสนา

1. คัมภีร์  คัมภีร์ของศาสนาอิสลามแยกเป็น  2  คัมภีร์  ได้แก่  คัมภีร์อัลกุรอาน  เป็นคัมภีร์ที่มีเนื้อหาว่าด้วยภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติตามหลักศาสนาอิสลาม  ซึ่งมุสลิมทุกคนต้องเรียนรู้และปฏิบัติตาม  และคัมภีร์หะดีษ  เป็นคัมภีร์ที่ช่วยขยายความเข้าใจให้แก่ชาวมุสลิม  เพราะเนื้อความส่วนใหญ่เป็นหลักธรรมคำสอน  กฎหมาย  ระบบสังคม  การปกครอง และหลักปฏิบัติในชีวิต

2.   นิกาย  ศาสนาอิสลามมีหลายนิกาย  แต่นิกายใหญ่ๆได้แก่

2.1   นิกายซุนนี  เป็นนิกายที่นับถือและปฏิบัติตามแนวทางของศาสดามุฮัมมัดและตามคัมภีร์อัลกุรอานอย่างเคร่งครัด

2.2  นิกายซีอะฮ์  เป็นนิกายแรกที่แยกตัวออกมา  โดยถือว่าอาลีซึ่งเป็นบุตรของเขยของศาสดามุฮัมมัดเท่านั้นเป็นกาหลิบที่ถูกต้อง

2.3  นิกายวาฮาบี  เป็นนิกายที่เน้นความบริสุทธิ์ของศาสนาอิสลามโดยยึดถือคัมภีร์อัลกุรอานและคำสอนของศาสดามุฮัมมัดอย่างเคร่งครัด

2.4   นิกายซูฟี  มุสลิมนี้จะนุ่งผ้าที่ทำด้วยขนแกะชนิดหยาบ  และประพฤติตนคล้ายนักบวช

3.  หลักคำสอน

หลักศรัทธา  6  ประการ  ได้แก่

1.   ศรัทธาในเอกภาพของพระผู้เป็นเจ้า

2.   ศรัทธาในเทวทูตของพระเป็นเจ้า

3.   ศรัทธาในคัมภีร์อัลกุรอาน

4.   ศรัทธาต่อศาสนฑูต

5.   ศรัทธาต่อวันปรโลก

6.   ศรัทธาในการกำหนดสภาวะของอัลลอฮ์ 

หลักปฏิบัติ  5  ประการ  ได้แก่

1.   การปฏิญาณตน

2.   การละหมาด

3.   การถือศีลอด

4.   การบริจาคทรัพย์ตามศาสนบัญญัติ  (ซะกาด)

5.   การประกอบพิธีฮัจญ์

4. พิธีกรรม  พิธีกรรมที่สำคัญในศาสนาอิสลาม  มี  2  พิธี  คือ

1.   พิธีรักษาความสะอาด  ซึ่ง  มุสลิมทุกคนต้องปฏิบัติทุกครั้งก่อนทำพิธีสำคัญๆ

2.   พิธีขอพรจากพระเป็นเจ้า  พรที่ขอนั้นจะสำเร็จหรือไม่  ย่อมขึ้นอยู่กับเงื่อนไข  เช่น  โอกาส  สถานที่  และพรที่เหมาะสม

การละหมาดหรือการนมาซ

การละหมาดนั้นจะเริ่มปฏิบัติตั้งแต่อายุ 7 ขวบ เป็นการปฏิบัติศาสนกิจอย่างหนึ่งในศาสนาอิสลาม เพื่อเป็นการภักดีต่ออัลลอฮฺ มุสลิมทุกคนจะต้องละหมาด วันละ 5 เวลา เรียกว่า ละหมาดฟัรฎู   ละหมาด หมายถึง การขอพร

การละหมาดฟัรฏู อัลลอฮฺทรงกำหนดให้มุสลิมทำการละหมาด วันละ 5 เวลา คือ

1. ละหมาดศุบหฺ      เวลา เริ่มตั้งแต่ฟ้าสางจนถึงก่อนดวงอาทิตย์ขึ้น

2. ละหมาด ซุฮฺริ     เวลาเริ่มตั้งแต่ดวงตะวันคล้อยจนเงาของสิ่งหนึ่งสิ่งใดทอดยาวออกไปเท่าตัว

3. ละหมาดอัศรฺ      เวลา เริ่มตั้งแต่เมื่อเงาของสิ่งหนึ่งสิ่งใด ยาวกว่าเท่าตัวของมันเอง จนถึงดวงอาทิตย์ตกดิน

4. ละหมาดมักริบ     เวลา เริ่มตั้งแต่ดวงอาทิตย์ตกดิน จนสิ้นแสงอาทิตย์ คือเวลาพลบค่ำ

5. ละหมาดอิชาอฺ     เวลา เริ่มตั้งแต่เวลาค่ำจนถึงก่อนฟ้าสาง

3. ศาสนาคริสต์

หลักธรรมใดที่พุทธศาสนิกชนทุกคนควรยึดถือเป็นวิถีดำเนินชีวิต

ศาสนาคริสต์มีถิ่นกำเนิดในดินแดนปาเลสไตน์ (ประเทศอิสราเอลในปัจจุบัน)  ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของภูมิภาคเอเชียตะวันตกเฉียงใต้  แต่ไปเจริญรุ่งเรืองในทวีปยุโรป  และภูมิภาคอื่นๆ  ของโลก  ได้ชื่อว่าเป็นศาสนาที่มีผู้คนนับถือมากที่สุดในโลก เป็นศาสนาประเภทเอกเทวนิยม หรือศาสนาที่นับถือพระเจ้าองค์เดียว  คือ พระยะโฮวา  ศาสดาผู้ประกาศศาสนา และศาสดาของคริสต์ศาสนา  คือพระเยซู

1.  คัมภีร์ของศาสนา

    ศาสนาคริสต์รวบรวมหลักคำสอนไว้ในคัมภีร์ ไปเบิล” (Bible)  ซึ่งเป็นพระวจนะ (คำพูด)  ของพระเจ้า  เพื่อชี้แนวทางให้มนุษย์หลุดพ้นจากบาป  และใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับพระเจ้าบนอาณาจักรสวรรค์

2.  นิกายสำคัญของศาสนาคริสต์มีนิกายๆ  3 นิกาย

          2.1 นิกายโรมันคาทอลิก (คริสต์ตัง) เป็นนิกายที่ยึดมั่นคำสอนของพระเยซูโดยเคร่งครัด  มีศูนย์อยู่ที่นครวาติกัน (ใจกลางกรุงโรม  ประเทศอิตาลี)  มีพระสันตะปาปา  หรือโป๊ป (Pope)  เป็นประมุข  ผู้นับถือนิกายนี้จะเคารพพระแม่มาเรียหรือนักบุญต่าง ๆ

2.2 นิกายออร์โธด๊อกซ์  มีหลักคำสอนที่เหมือนกับนิกายโรมันคาทอลิกทุกประการ  แต่มีความแตกต่างในรูปแบบของพิธีกรรมและระเบียบปฏิบัติของนักบวช  เช่น  ยินยอมให้นักบวชชั้นผู้น้อยแต่งงานหรือมีครอบครัวได้  ในขณะที่นักบวชทุกระดับของนิกายโรมันคาทอลิกจะใช้ชีวิตสมรสไม่ได้ประการ สำคัญ  นิกายออร์โธด็อกซ์จะไม่ขึ้นกับสันตะปาปาที่นครวาติกัน  แต่ถือว่าประมุขทางศาสนาของแต่ละประเทศต่างเป็นอิสระและมีฐานะเท่าเทียมกัน

2.3. นิกายโปรเตสแตนต์ (คริสต์เตียน) เป็นนิกายที่แยกออกจากนิกายโรมันคาทอลิก  เนื่องจากมีความเห็นเกี่ยวกับหลักคำสอนในคัมภีร์ไบเบิลที่แตกต่างกัน  และการปฏิบัติในพิธีกรรมก็ไม่เหมือนกัน  โดยนิกายโปรเตสแตนต์นิยมความเรียบง่าย  ไม่หรูหรา 

3.  หลักคำสอนสำคัญ

 หลักคำสอนที่สำคัญของศาสนาคริสต์  มี  4  หัวข้อ    ดังนี้

4.1  บัญญัติ  10  ประการ  เป็นหลักธรรมของศาสนายูดาย (ศาสนาชนชาติยิว)  ซึ่งพระเจ้าประทานให้แก่ชาวยิวผ่านทาง โมเสส”  ผู้นำชาวยิวในสมัยนั้น  เนื่องจากศาสนาคริสต์มีวิวัฒนาการมากจากศาสนายูดาย  จึงนำหลักบัญญัติ  10  ประการมาปฏิบัติด้วย  มีดังนี้

                   1.  จงนมัสการพระเจ้า  (พระยะโฮวา)  เพียงพระองค์เดียว

                    2.  อย่ากล่าวนามพระเจ้าโดยไม่สมควร

                   3.  อย่าทำรูปปั้นรูปเคารพศาสนาอื่นใด

                   4.  จงนับถือบิดามารดา

                   5.  จงนับถือวันพระเจ้าหรือวันสะบาโต (วันเสาร์)  เป็นวันศักสิทธิ์

                   6.  อย่าฆ่าคน

                   7.  อย่าหลักทรัพย์

                    8.  อย่าใส่ความนินทาให้ร้ายผู้อื่น

                   9.  อย่าผิดประเวณี

                   10.  อย่าโลภสิ่งของผู้อื่น

          4.2.  หลักตรีเอกานุภาพ  เป็นหลักคำสอนที่ระบุว่า พระเจ้ามีองค์เดียว  แต่มีสามบุคคล”  คือ พระบิดา  พระบุตร  และพระจิต  มีความหมายดังนี้

                    1.  พระบิดา  คือ  พระเจ้าผู้สร้างโลก  และให้กำเนิดแก่ชีวิตทุกชีวิต

                   2.  พระบุตร  คือ  พระเจ้าทรงมาเกิดเพื่อไถ่บาปให้แก่มวลมนุษย์  ซึ่งหมายถึงพระเยซู

                   3.  พระจิต  คือ  พระวิญญาณบริสุทธิ์ของพระเจ้าที่ปรากฏในจิตใจของมนุษย์  คอยกระตุ้นให้มนุษย์สำนึกใสคุณธรรมความดี  และนำมนุษย์ไปสู่อาณาจักรของพระเจ้า

          4.3.  หลักความรัก  ศาสนาคริสต์ได้ชื่อว่าเป็นศาสนาแห่งความรัก  เพราะสอนให้มนุษย์มีความรักต่อพระเจ้า  และมีความรักต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน (แม้แต่ศัตรู)  ความรักดังกล่าว  หมายถึง  ความเมตตา  กรุณา  เสียสละ  และการให้อภัย

          4.4.  อาณาจักรพระเจ้า  เป็นหลักคำสอนที่กล่าวถึงจุดมุ่งหมายสูงสุดของชีวิต  ซึ่งชาวคริสต์ทุกคนจะต้องไปให้ถึง  คือ  เข้าไปสู่อาณาจักรพระเจ้า

อาณาจักรพระเจ้าแบ่งออกเป็น  2  ส่วน

          1.  อาณาจักรพระเจ้าบนโลกมนุษย์ คือการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันในชุมชนชาวคริสต์อย่างมีระเบียบและ สงบสุข  ผู้ยึดมั่นในหลักคำสอน  และมีศรัทธาในพระเจ้าอย่างเปี่ยมล้น

          2.  อาณาจักรพระเจ้าบนสวรรค์ ชาวคริสต์ที่ศรัทธาในพระเจ้า ประกอบแต่คุณงามความดี  เมื่อตายไปวิญญาณจะไปอยู่ร่วมกับพระเจ้าบนสรวงสวรรค์  และมีชีวิตนิรันดร

4.  พิธีกรรมทางศาสนา

          พิธีกรรม ทางศาสนาที่สำคัญของศาสนาคริสต์  เรียกว่า  พิธีรับศีลศักดิ์สิทธิ์”  ซึ่งนิกายโรมันคาทอลิกกับนิกายออร์โธด็อกซ์  จะรับปฏิบัติทั้ง 7 พิธี

          1.  ศีลล้างบาป  เป็นพิธีกรรมแรกสำหรับผู้เริ่มนับถือคริสต์ศาสนา  ทั้งเด็กทารกแรกเกิดและผู้ใหญ่  เพราะมีความเชื่อว่ามนุษย์มีบาปติดตัวมาตั้งแต่เกิด  โดยบาทหลวงจะเทน้ำลงบนศรีษะ  3  ครั้ง  เพื่อล้างบาปมลทินต่าง ๆ  นิกายโปรเตสแตนต์  เรียกพิธีกรรมนี้ว่า  ศีลจุ่ม

          2.  ศีลกำลัง  เป็นพิธีกรรมที่ทำให้เป็นชาวคริสต์ที่สมบูรณ์  โดยบาทหลวงจะเจิมน้ำมันที่หน้าผากเป็นรูปไม้กางเขน  เป็นการยืนยันว่าพระจิตหรือวิญญาณอันบริสุทธิ์ของพระเจ้าได้เสด็จเข้าสู่จิต ใจของชาวคริสต์ผู้นั้นแล้ว  โดยทั่วไป  การทำพิธีถือ ศีลกำลังจะทำเมื่อมีอายุ 7 ขวบขึ้นไป

          3.  ศีลมหาสนิท  เป็นพิธีกรรมที่ชาวคริสต์จะร่วมกันปฏิบัติที่โบสถ์ทุกวันอาทิตย์เรียกอีก อย่างหนึ่งว่า พิธีมิสซา”  เพื่อระลึกถึงชีวิตและคำสอนของพระเยซู  ชาวคริสต์จะอดอาหารก่อนเข้าร่วมพิธีหนึ่งชั่วโมง  แล้วจึงสวดมนต์  ต่อจากนั้นจึงรับขนมปังและเหล้าองุ่นจากบาทหลวงมารับประทาน

          4.  ศีลแก้บาป  ชาวคริสต์จะทำพิธีแก้บาปอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง  โดยคุกเข่าและกล่าวคำสารภาพบาปหรือความผิดที่ตนได้กระทำลงไปต่อบาทหลวง  เพื่อให้พระเจ้ายกโทษให้  ทั้งนี้ต้องตั้งใจแน่วแน่ว่าจะไม่ทำผิดซ้ำอีก

          5.  ศีลเจิมคนไข้  เป็นพิธีเจิมคนไข้ด้วยน้ำมันอันศักดิ์สิทธิ์  บาทหลวงจะทำพิธีนี้แก่ผู้ป่วยเรื้อรังหรือคนไข้ที่เจ็บหนัก  เพื่อให้มีกำลังใจเอาชนะโรคภัยไข้เจ็บ  และลดบาปให้

          6.  ศีลบวช (หรือศีลอนุกรม)  เป็นพิธีศักดิ์สิทธิ์สำหรับบวชให้ชาวคริสต์ผู้สมัครใจเป็นบาทหลวง 

ผู้บวชจะต้องมีอายุ 24 ปีบริบูรณ์ มีความประพฤติดี โดยพระสังฆราชจะเป็นผู้ทำพิธีนี้ให้ โดยเจิมน้ำมันศักดิ์สิทธิ์ที่มือของผู้รับศีล

          7.  ศีลสมรส  เป็นพิธีแต่งงานของชายและหญิงในโบสถ์  โดยบาทหลวงเป็นผู้ทำพิธีให้  สำหรับนิกายโรมันคาทอลิก  ถือว่าเป็นพิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์ คู่สมรสจะต้องอยู่ร่วมกันไปตลอดชีวิต  จะหย่าร้างกันมิได้

4. ศาสนาฮินดู

หลักธรรมใดที่พุทธศาสนิกชนทุกคนควรยึดถือเป็นวิถีดำเนินชีวิต

ศาสนาฮินดู หรือ ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เป็นศาสนาที่เก่าแก่ที่สุดในโลก ในตอนแรกเริ่มเรียกตัวเอง  ว่า พราหมณ์เป็นศาสนาเกิดที่ดินแดนชมพูทวีปก่อนพุทธศาสนา ซึ่งไม่ปรากฏแน่ชัดว่าใครเป็นศาสดา มีพัฒนาการสืบต่อยาวนาน นับจากลัทธิพราหมณ์ จนถึงยุคที่เรียกว่าศาสนาฮินดู จึงมักเรียกรวมๆ กันว่า ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ศาสนานี้นับถือเทพเจ้าหลายองค์ เรียกว่า "พหุเทวนิยม" เทพเจ้าแต่ละองค์ในแต่ละยุคสมัย มีบทบาท และตำนานต่างกันไป ในแต่ละท้องถิ่นยังมีความเชื่อเกี่ยวกับเทพเจ้าองค์หนึ่งๆ แตกต่างกันไปด้วย โดยทั่วไปถือว่าชาวฮินดูเชื่อว่ามีเทพเจ้าสูงสุด ที่ได้อวตารแยกร่างออกมาเป็น 3 องค์ คือ พระพรหม ซึ่งเป็นผู้สร้างโลก พระศิวะ เป็นผู้ทำลาย และพระวิษณุ หรือพระนารายณ์ เป็นผู้ปกป้องและรักษาโลก

1. คัมภีร์ศาสนาเรียกว่าพระเวทประกอบด้วยคัมภีร์ 3 เล่มได้แก่

1.  ฤคเวทใช้สวดสรรเสริญเทพเจ้า

2. สามเวทใช้สำหรับสวดในพิธีกรรมถวายน้ำโสมแก่พระอินทร์และขับกล่อมเทพเจ้า

3. ยชุรเวทว่าด้วยระเบียบวิธีในการประกอบพิธีบูชายันและบวงสรวงต่างๆ

และมีคัมภีร์ที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ อาถรรพเวท ใช้เป็นที่รวบรวมคาถาอาคมหรือเวทมนตร์

3. หลักคำสอนที่สำคัญ

ศิวลึงค์เป็นความคิดที่พราหมณ์ในสมัยก่อนคิดกันขึ้นมาเพื่อแสดงเป็น สัญลักษณ์ มิใช่ความปรารถนาของพระศิวะที่จะให้พราหมณ์นับถือศิวลึงค์ หรือโยนีสำหรับลัทธิศักติ การบูชาพระศิวะสามารถทำได้ด้วยการกระทำความดีเพื่อถวายแก่พระศิวะ ผู้ที่ปรารถนาที่จะกลับเข้าสู่ความเป็นอาตมันหรือตรัสรู้สามารถทำได้โดยการ ทำสมาธิ และให้คิดว่าร่างกายนี้เราก็ละในที่สุดก็จะตรัสรู้และมีแสงเป็นจุดกลมๆเป็น ฝอยๆสีขาวคล้ายน้ำหมึก ขนาดประมาณ 3 มิลลิเมตรบางอันก็เล็กกว่า และมีแสงเป็นรูปคล้ายดาวกระจายขนาดประมาณครึ่งนิ้ว แสงที่เห็นจะมีน้ำหนัก มีลักษณะเป็นก้อน เมื่อกระทบวัตถุสามารถเด้งกลับได้ การตรัสรู้ของศาสนาพราหมณ์คือ "การรู้ว่ากายนี้ไม่ใช่ของเรา"

ชนชั้น-วรรณะ

  • วรรณะพราหมณ์ คือ ผู้ทำพิธีกรรม มีหน้าที่ติดต่อกับเทพเจ้า สั่งสอนศาสนาและประกอบพิธีกรรมแก่ประชาชนทุกวรรณะ รวมถึงมีหน้าที่ศึกษา จดจำและสืบต่อคัมภีร์พระเวท วรรณะนี้เชื่อว่ากำเนิดมาจากปากของพระพรหม
  • วรรณะกษัตริย์ คือ กษัตริย์หรือนักรบ ทำหน้าที่ป้องกันชาติบ้านเมือง และทำศึกสงคราม วรรณะนี้เชื่อมากำเนิดมาจากหน้าอกของพระพรหม
  • วรรณะแพศย์ คือ ผู้ประกอบพาณิชกรรม เกษตรกรรม ซึ่งเป็นวรรณะของคนส่วนใหญ่ในสังคม วรรณะนี้เชื่อว่ากำเนิดมาจากมือของพระพรหม
  • วรรณะศูทร คือ กรรมกร วรรณะนี้เชื่อว่ากำเนิดมาจากเท้าของพระพรหม
    • ถ้ามีการแต่งงานข้ามวรรณะ บุตรที่เกิดมาก็จะกลายเป็น จัณฑาล (ในภาษาไทยคือ กาลกิณี) เป็นผู้อยู่นอกวรรณะซึ่งเป็นที่รังเกียจของทุกวรรณะ
    • ส่วนในอินโดนีเซียจะไม่ค่อยเคร่งวรรณะเหมือนกับในอินเดีย
    • หนังสือบางเล่มกล่าวว่า วรรณะพราหมณ์, กษัตริย์ และแพศย์ เป็นวรรณะของคนอารยัน คือชนผิวขาวผู้ริเริ่มศาสนา ส่วนวรรณะศูทร เป็นของคนดราวิเดียน ชนผิวดำชนพื้นเมืองเก่าของอินเดีย

4. นิกาย

ศาสนาฮินดู ที่สืบเนื่องจากศาสนาพราหมณ์นับเป็นศาสนาที่เก่าแก่มากที่สุด ได้แบ่งออกเป็นหลายนิกายที่สำคัญ เช่น

1. นิกายไวศณพ (Vishnav) เป็นนิกายที่นับถือพระวิษณุเจ้าเป็นเทพองค์สูงสุด

2. นิกายไศวะ (Shiva) เป็นนิกายที่เก่าที่สุด นับถือพระศิวะเป็นเทพเจ้าสูงสุด พระศิวะเป็นเทพทำลายและสร้างสรรค์ด้วย สัญลักษณ์ อย่างหนึ่งแทนพระศิวะคือศิวลึงค์และโยนีก็ได้รับการบูชา

3. นิกายศักติ (Shakti) เป็นนิกายที่นับถือพระเทวี หรือพระชายาของมหาเทพ

4. นิกายคณะพัทยะ (Ganabadya) นิกายนี้นับถือพระพิฆเณศเป็นเทพเจ้าสูงสุด

5. นิกายสรภัทธะ (Sarabhadh) เป็นนิกายขนาดเล็ก ในสมัยก่อนบูชาพระอาทิตย์ (สูรยะ)

6. นิกายสมารธะ (Samardha) เป็นนิกายที่ใหญ่พอสมควร นับถือทุกเทพเจ้าทุกพระองค์ในศาสนา ฮินดู ความเชื่อแบบนี้เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย เพราะสามารถบูชาเจ้าได้ตามต้องการ

5. ศาสนาสิกข์

หลักธรรมใดที่พุทธศาสนิกชนทุกคนควรยึดถือเป็นวิถีดำเนินชีวิต

คำว่า  สิกข์  เป็นภาษาปัญจาบ  แปลว่า  ผู้ศึกษา  หรือ  ศิษย์  เนื่องด้วยศาสนานี้ถือว่าผู้นับถือศาสนาทุกคนเป็นศิษย์ของคุรุหรือครู  ซึ่งเป็นศาสดาของศาสนาซึ่งมีถึง  10  องค์ โดยมี คุรุนานัก  เป็นผู้สถาปนาและประกาศศาสนา  และมรคุรุโควินทสิงห์  เป็นศาสดาองค์สุดท้าย

 1.  คัมภีร์  คัมภีร์ของศาสนาสิกข์ชื่อว่า  ครันถสาหิพ  แปลว่า  คัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์  มีเนื้อหาเป็นคำสวดมนต์สรรเสริญพระเป็นเจ้า

 2.  นิกายของศาสนาสิกข์  ศาสนาสิกขามี  ๒  นิกายใหญ่ๆ  ได้แก่

-นิกายขาลสา  หรือ  นิกายสิงห์  เป็นนิกายที่ผู้นับถือไว้ผมและหนวดยาว

-นิกายสหัชธรี  หรือ  นิกายนานักปันถี  เป็นนิกายที่ผู้นับถือโกนหนวดเกลี้ยงเกลา

 3.  หลักคำสอน  คำสอนทางพระพุทธศาสนาที่ชาวสิกข์ต้องปฏิบัติเป็นกิจประจำวัน  ได้แก่  ลุกขึ้นแต่เช้าตรู่  ทำจิตให้เต็มไปด้วยความรักในพระเป็นเจ้า  ให้ทานเสมอ พูดคำสุภาพอ่อนโยนถ่อมตน ทำดีต่อคนอื่น  ไม่กินหรือนอนมากเกินไป พยายามอยู่กับคนดีทั้งกลางวันและกลางคืนร่วมกับคนดีสวดบทสรรเสริญคุรุ

 4.  พิธีกรรม  พิธีกรรมที่ชาวสิกข์ทุกคนพึงทำ  คือ  พิธีปาหุล  หรือพิธีล้างบาป  เมื่อเสร็จพิธี  ก็รับเอา  "ก"  ทั้ง  5  ประการดังนี้

   เกศ  การไว้ผมยาว  เพื่อเป็นเกราะสำหรับศรีษะ  ให้ดูน่าเกรงขาม

   กังฆา  หวีไม้ขนาดเล็ก  ซึ่งเสียบไว้ในผม  เป็นสิ่งจำเป็นเพื่อดูแลผมให้สะอาดเรียบร้อย

   กฉา  การเกงขาสั้น  เพื่อเป็นการสะดวกสบายและคล่องแคล่วในการเดินทาง

   กรา  กำไลมือ  ทำด้วยเหล็ก  เพื่อเป็นเครื่องเตือนใจทหารว่า  เหล็กเป็นโลหะที่มีค่า  เป็นสัญลักษณ์ของความอดกลั้น  สุภาพ  และถ่อมตน  อันหมายถึง  ความผูกพันต่อหมู่คณะ

   กิรปาน  ดาบ  เพื่อสะพายที่สีข้าง  ใช้เป็นสัญลักษณ์ของความกล้าหาญและการผจญภัยพร้อมที่จะปกป้องเกียรติของตนเอง

   ผู้ใดทำพิธีปาหุลแล้ว  ก็ได้นามว่า  "ซิงห์"  ต่อท้ายชื่อเหมือนกันทุกคน  เพราะถือว่าได้ผ่านความเป็นสมบัติของพระเป็นเจ้าแล้ว

 การนำหลักคำสอนของแต่ละศาสนาไปใช้ในการอยู่ร่วมกันของสังคมไทย

 ศาสนาแต่ละศาสนามีหลักคำสอนที่แตกต่างกันออกไป แต่สามารถสรุปใจความสำคัญที่เหมือนกันได้ คือ ศาสนาทุกศาสนาต้องการให้ทุกคนเป็นคนดี สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข ซึ่งศาสนิกชนสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ คือ

           1. การทำความดี ละเว้นความชั่ว แนวทางการปฏิบัติของแต่ละศาสนาแตกต่างกันแต่ทุกศาสนาก็สอนให้ทำความดีและละเว้นความชั่วทั้งนั้น เช่น ศีล 5 ของศาสนาพุทธ บัญญัติ 10 ประการ ของศาสนาคริสต์ หลักศรัทธา 6 ประการ กับหลักปฏิบัติ 5 ประการ ของศาสนาอิสลาม และหลักกรรม ของศาสนาสิกข์ เป็นต้น

          2. การพัฒนาตนเองและการพึ่งตนเอง ศาสนาต่าง ๆ สอนให้คนพึ่งตนเองและพัฒนาตนเองเพื่อให้อยู่ได้ในสังคมอย่างมีความสุข โดยเฉพาะศาสนาพุทธที่มีพุทธศาสนาสุภาษิต ว่า “อัตตาหิ อัตตาโน นาโถ” หมายถึง ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน ศาสนาพราหมณ์มีหลักอาศรม 4 ในข้อพรหมจารี ที่ให้นักศึกษาเล่าเรียนและในข้อคฤหัสถ์ที่ให้ปฏิบัติตามหน้าที่ของตนเอง ศาสนาอิสลามสอนให้คนใฝ่หาความรู้ตั้งแต่เกิดจนตาย หลักปัญญาของศาสนาสิกข์ เป็นต้น

           3. ความยุติธรรม ความเสมอภาพและเสรีภาพ คำสอนของศาสนาจะเน้นในเรื่องเหล่านี้เพราะทุกเรื่องจะทำให้มนุษย์อยู่ร่วมกันอย่างสันติ พระพุทธเจ้าตรัสว่าชาติตระกูลไม่ได้เป็นเครื่องกำหนดความแตกต่างของบุคคล คนที่เกิดมาเท่าเทียมกันทั้งนั้นและสอนให้ทุกคนอยู่ภายใต้อคติ 4 คือ ฉันทาคติ โทสาคติ โมหาคติและภยาคติ ศาสนาอิสลามก็สอนให้ดำรงความยุติธรรมอย่าถือตามอารมณ์ใคร่ในการรักษาความยุติธรรมแม้บางครั้งจะกระเทือนต่อตนเอง บิดามารดาหรือญาติบ้างก็ตาม

           4. การเสียสละหรือการสังคมสงเคราะห์ ศาสนาต่าง ๆ สอนให้มีความเสียสละเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และสงเคราะห์ซึ่งกันและกันด้วยความเมตตากรุณา ไม่ใช่หวังผลตอบแทน เช่น พุทธศาสนามีหลักธรรมสังคหวัตถุ 4 ได้แก่ ทาน ปิยวาจา อัตถจริยา และสมานัตตตา ศาสนาอิสลามมีการบริจาคซากาต แก่ผู้ขัดสน ศาสนาคริสต์ก็จะเน้นให้มนุษย์เสียสละให้อภัย เอื้อเฟื้อ เป็นต้น

           5. ความอุตสาหะและความพยายาม ทุกศาสนาสอนให้คนมีความอุตสาหะ มีความเพียร ความอดทนและมีความพยายามอันจะช่วยให้บุคคลประสบความสำเร็จพร้อมทั้งพัฒนาตัวเองอยู่เสมอ ศาสนาพุทธมีคติเตือนใจว่า ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่น หรือ หลักคำสอนอิทธิบาท 4 ได้แก่ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา ศาสนาอิสลามมีการละหมาดวันละ 5 ครั้ง จึงถือว่าเป็นความพยายามที่จะขัดเกลาจิตใจให้บริสุทธิ์ หลักพละของศาสนาสิกข์ เป็นต้น

       6. ความรักความเมตตา คำสอนทุกสาสนาจะเน้นเรื่องความรักความเมตตา เพราะการที่คนเราจะอยู่ร่วมกันได้อย่างสันตินั้น ความรักความเมตตาเป็นสื่อสำคัญ   อีกทั้งยังเป็นจริยธรรมของศาสนาคริสต์ ในพุทธศาสนาก็มีพุทธศาสนสุภาษิตว่า เมตตาธรรมเป็นเครื่องค้ำจุนโลก เป็นต้น

           7. ความมีคุณธรรมอดทน อดกลั้น ทุกศาสนา มีบทบัญญัติและข้อปฏิบัติ  ในเรื่องนี้เหมือนกัน เช่น ศีลของศาสนาพุทธ บัญญัติ 10 ประการของศาสนาคริสต์ การถือศีลอดของศาสนาอิสลาม ทุกข้อปฏิบัติคือการให้คนมีคุณธรรม อดทนและอดกลั้น และ พละของศาสนาสิกข์ เป็นต้น

        8. การยกย่องเคารพบิดามารดา หลักสำคัญของศาสนาต่าง ๆ ว่าบุพการีเป็นสิ่งควรยกย่องในศาสนาพุทธกล่าวไว้ว่าบิดา มารดาเป็นพระพรหมของลูก ศาสนาคริสต์ในบัญญัติ 10 ประการ ข้อที่ 4 ว่า จงนับถือบิดา มารดา หลักมหาปีติของศาสนาสิกข์ เป็นต้น

          9. การไม่แบ่งชั้นวรรณะ พระพุทธเจ้าตรัสว่า กำเนิดชาติตระกูลมิได้ทำให้บุคคลเป็นพราหมณ์ เป็นกษัตริย์ เป็นพ่อค่า ความประพฤติของบุคคลเป็นเครื่องกำหนดบุคคล ทุกคนเท่าเทียมกัน ศาสนาอิสลามถือเป็นหลักสำคัญว่า หลักศรัทธาและหลักบัญญัติต้องอยู่ในเงื่อนไขการไม่แบ่งชั้นวรรณะอย่างชัดเจน

          10. ไม่เสพสุรา ไม่เล่นการพนัน ไม่พูดจาขยายความ เป็นพื้นฐานของทุกศาสนาที่บัญญัติไว้อย่างชัดเจนว่า เป็นสิ่งไม่ควรทำ เช่น ศีล 5 ในศาสนาพุทธ บัญญัติ 10 ประการในศาสนาคริสต์ หลักบัญญัติในศาสนาอิสลามเป็นต้น

การนำหลักคำสอนของแต่ละศาสนาไปใช้ในการอยู่ร่วมกัน

วิดีโอ YouTube

เมื่อศาสนิกชนทุกคนยึดมั่นในหลักธรรมในศาสนาแล้ว ปัญหาและอุปสรรค ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นก็จะแก้ไขได้ ปัญหาต่าง ๆ จะลดน้อยลงและไม่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการขัดแย้งจนลุกลามเป็นสงครามหรือข้อพิพาทระหว่างสังคม ไม่เกิดการเอาเปรียบในสังคม ไม่เกิดการทำร้ายร่างกายจิตใจซึ่งกันและกัน ไม่มีปัญหาการทำลายสภาพแวดล้อม   หรือกฎเกณฑ์ต่าง ๆ จนทำให้สังคมที่ตนอยู่อ่อนแอลงศาสนาแต่ละศาสนาจึงมีความเชื่อในสิ่งสูงสุด อันเป็นคุณค่าแก่การปฏิบัติ เพื่อให้มนุษย์ได้มีความสุขที่แท้จริงและความสุขที่แท้จริงของแต่ละศาสนาก็มีแนวทาง ความคิดและการปฏิบัติที่ต่างกัน แม้ว่าที่สุดแล้ว คือ ความสุขที่มนุษย์ทุกคนต้องการ ความแตกต่างของแต่ละศาสนา ดังนี้

   ศาสนาพุทธ : พระนิพพาน

   ศาสนาคริสต์ : การได้ไปอยู่ในอาณาจักรของพระเจ้า

   ศาสนาอิสลาม : การได้เข้าเป็นส่วนหนึ่งในดินแดนของพระผู้เป็นเจ้า

   ศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู : โมกษะ

   ศาสนาสิกข์ : ความกลมกลืนเข้ากับชีวิตของพระเจ้า

ด้วยเหตุดังกล่าว สังคมไทยจึงมิได้ปิดกั้นในเรื่องศาสนา เพราะดินแดนไทยได้ให้เสรีภาพในการนับถือศาสนา ด้วยเหตุผลที่ว่าทุกศาสนาสอนคนให้เป็นคนทำดี แม้ว่าการไปสู่ความมุ่งหวังในความสุขอันแท้จริงจะแตกต่างกันก็ตาม

หลักธรรมใดที่พุทธศาสนิกชนทุกคนควรยึดถือเป็นวิถีการดำเนินชีวิต

ศาสนาพุทธมีหลักธรรมคำสอนที่พุทธศาสนิกชนยึดถือ และใช้เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต หลาย ประการ ได้แก่ อริยสัจ 4 ทิศ 6 ธรรมคุณ 6 สัปปุริสธรรม 7 อิทธิบาท 4 อบายมุข 6 เป็นต้น อริยสัจ 4. คือ ความจริงสุดยอดซึ่งพระพุทธเจ้าได้ทรงตรัสรู้และ ได้ แสดงต่อจาก โอวาทปาติโมกข์ ความจริงสุดยอดอันประเสริฐ มี 4 ประการ ได้แก่ 1.

หลักธรรมใดต่อไปนี้คือแนวทางการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข

1) สังคหวัตถุ 4 หมายถึง หลักธรรมสำหรับสงเคราะห์หรือเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวน้ำใจของคนในสังคมให้อยู่ร่วมกัน อย่างมีความสุข ได้แก่ (1) ทาน คือ การให้ แบ่งปัน เสียสละ เผื่อแผ่ (2) ปิยวาจา คือ การกล่าววาจาสุภาพ อ่อนหวาน

ข้อใดเป็นการปฏิบัติตนตามหน้าที่ของพุทธศาสนิกชนได้เหมาะสมที่สุด

สำหรับหน้าที่ชาวพุทธที่ดี ต้องเป็นผู้ที่เคารพเลื่อมใสและศรัทธาในพระรัตนตรัย ตั้งมั่นอยู่ในศีล 5 เป็นพลเมืองที่ดีของประเทศชาติ ปฏิบัติตามหลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนา ให้ความเคารพนับถือ เอาใจใส่ทำนุบำรุง และบำเพ็ญประโยชน์ต่อวัดและพระสงฆ์ และนำแนวทางการปฏิบัติตนของพระสงฆ์ มาเป็นแบบอย่างที่ดีงามในการดำเนินชีวิต สำหรับ ...

อะไรคือหลักการของพระพุทธศาสนา

หลักธรรมสำคัญของพุทธศาสนา ศาสนาพุทธสอนว่า ปรมัตถธรรม หรือสรรพสิ่งมี 4 อย่างคือ จิต เจตสิก รูป นิพพาน จึงปฏิเสธการมีอยู่ของพระเป็นเจ้า (เพราะพระเป็นเจ้าจัดเข้าในปรมัตถธรรมไม่ได้) และเชื่อว่าโลกนี้เกิดขึ้นเองจากกฎแห่งธรรมชาติหรือนิยาม5 ประการ คือ อุตุนิยาม พีชนิยาม จิตนิยาม กรรมนิยาม ธรรมนิยาม