สมัยปรับปรุงประเทศหมายถึงช่วงเวลาใด

สมัยปรับปรุงประเทศหมายถึงช่วงเวลาใด

สมัยปรับปรุงประเทศหมายถึงช่วงเวลาใด

ช่วงการปกครองในสมัยรัชการเป็นช่วงที่วัฒนธรรมจากตะตกเริ่มเข้ามามอิทธิพลในประเทศ ดังนั้นจึงส่งผลให้เกิดการปฏิรูปบ้านเมืองในด้านต่าง ๆ

การปฏิรูปบ้านเมืองใน สมัยรัชกาลที่๕ แบ่งเป็นกี่ระยะอะไรบ้าง

แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ การปฏิรูประยะแรก และการปฏิรูประยะหลัง

การปฏิรูปประเทศระยะแรก

การปฏิรูปประเทศในระยะแรก รัชกาลที่ ๕ ได้ทรงแต่งตั้งสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดินและสภาที่ปรึกษาในพระองค์ ซึ่งศภาทั้งสองนี้มีหน้าที่ในการออกกฎหมายและยกเลิกกฎหมาย  รวมไปถึงยกเลิกประเพณีโบราณต่าง ๆ ไม่เห็นว่าไม่เหมาะกับสังคมสังคมในสมัยนั้น แต่สภาทั้ง 2 ปฏิบัติงานได้ไม่นานก็ต้องยุติหน้าที่ลงเนื่องจากวิกฤติการณ์วังหน้า

การปฏิรูปประเทศระยะหลัง

รัชกาลที่ 5 ได้ทรงตระหนักถึงภยันอันตรายของจากล่าอาณานิคมของประเทศโลกตะวันตก และทรงเห็นว่าการปกครองในแบบเดิมของไทยนั้นมีความล้าสมัยไม่สอดคล้องกับความเจริญของบ้านเมือง จึงส่งผลให้เกิดการปฏิรูปการปกครอง 2435 โดยใน พ.ศ. 2430 ได้มีการเริ่มแผนการปฏิรูปการปกครองขึ้นตามแบบแผนของตะวันตก ในส่วนกลางมีการจัดแบ่งหน่วยงานการปกครองออกเป็น 12 กรม ต่อได้เปลี่ยนมาใช้คำว่ากระทรวงแทนโดยสถาปนาขึ้นในวันที่ 1 เมษายน 2435  และยังได้มีการประกาศแต่งตั้งเสนาบดีเจ้ากระทรวงแต่ละกระทรวงขึ้น และยุบตำแหน่งอัครมหาเสนาบดีและเสนาบดีจตุสดมภ์ทุกตำแหน่งต่อจากนั้นก็ได้มีการยุบกระทรวงเหลือเพียง 10  กระทรวง คือ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงกลาโหม กระกรวงการต่างประเทศ กระทรวงวัง กระทรวงเมือง(นครบาล) กระทรวงเกษตราธิการ กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ กระทรวงยุติธรรม กระทรวงธรรมการ กระทรวงโยธาธิการ

สมัยปรับปรุงประเทศหมายถึงช่วงเวลาใด

การปฏิรูปบ้านเมืองสมัย ร.๕ ด้านเศรษฐกิจ  

การพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจประเทศไทยในสมัยรัชกาลที่ ๕ ได้มีการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศอย่างกว้างขวาง จนส่งผลให้เกิดการปฏิรูปทางด้านเศรษฐกิจ ดังนี้

  1. มีการปรับตัวให้ทันสมัยตามแบบตะวันตก เพื่อให้หลุดพ้นจากการคุกคามจากประเทศตะวันตกด้วยเหตุผลว่าเป็นประเทศที่มีความล้าหลัง ดังนั้นในการปฏิรูปบ้านเมืองให้มีความทันสมัยนี้จึงมีความจำเป็นที่จะต้องให้เงินทุนอย่างมาก 
  2. มีการปฏิรูปการคลัง เนื่องด้วยปัญหาทางด้านการคลังที่จะส่งผลกระทบต่อการปฏิรูปทางด้านอื่น ๆ และปัญหาในเรื่องความล้าสมัยไม่สามารถตรวจสอบได้ของการคลัง ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องปฏิรูปโดยมีการจัดตั้งหอรัษฎากรพิพัฒน์ซึ่งเป็นที่เก็บรวบรวมพระราชทรัพย์ เป็นที่รวมงานการเก็บภาษีอากรและแจกจ่ายภาษีนั้นไปยังกรมกองต่าง ๆ  มีการจัดทำงบประมาณ มีการแยกพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์และส่วนของแผ่นดิน และมีการปฏิรูประบบเงินตรา 

สมัยปรับปรุงประเทศหมายถึงช่วงเวลาใด

การปฏิรูปบ้านเมืองสมัย ร.๕ ด้านสังคม  

เนื่องในสมัยรัชกาลที่  ๕ ได้มีการเปลี่ยนแปลงและปฏิรูปทางด้านต่าง ๆ ให้มีความทันสมัยขึ้น จึงผลให้เกิดการปฏิรูปทางด้านสังคมด้วยเช่นกันคือการยกเลิกทาส โดยแผนการปฏิรูปสังคมในเรื่องของการเลิกทาสนั้นก็ได้มีการออกประกาศพระราชบัญญัติต่าง ๆ ในการยกเลิกทาส เช่น การมีธงประจำชาติครั้งแรก การออกประกาศพระราชบัญญัติพิกัดกระเษียรอายุลูกทาสไทย นอกจากนี้ยังมีการเปลี่ยนแปลงในเรื่องขนบประเพณีในบางเรื่องอีกด้วย เช่น ประเพณีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา ซึ่งเดิมพระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการจะเป็นผู้ถือน้ำและสาบานตน เปลี่ยนเป็นพระมหากษัตริย์เป็นผู้เสวยน้ำและสาบาน 

สมัยปรับปรุงประเทศหมายถึงช่วงเวลาใด

สมัยปรับปรุงประเทศหมายถึงช่วงเวลาใด

ปัจจัยที่ส่งผลต่อความมั่นคงและความเจริญรุ่งเรือง

  • การมีผู้นำที่ดี
    – พระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ตั้งแต่รัชกาลที่ 4 เป็นต้นมาทรงมีความทันสมัย รู้ทันความเปลี่ยนปลงของโลก และเห็นความสำคัญของการปฏิรูปประเทศ
  • ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์
    – ประเทศไทยเป็นรัฐที่อยู่ตรงกลางระหว่างเขตอำนาจ ของอังกฤษในพม่า มลายู และเขตอำนาจของฝรั่งเศสใน เวียดนาม กัมพูชา และลาว
    – ไทยเปรียบเสมือนรัฐกันชนระหว่างอังกฤษและฝรั่งเศส ทำให้ทั้งสองชาติไม่ใช้ กำลังหักหาญยึดครองไทย เพราะเกรงว่าอาจต้องปะทะกับอีกฝ่าย
  • การดำเนินนโยบายต่างประเทศที่ดี
    – รัฐบาลดำเนินนโยบายต่างประเทศในลักษณะที่เป็นมิตร โอนอ่อนผ่อนตาม รวมทั้งแสวงหาพันธมิตรเช่น รัสเซียเพื่อมาคานอำนาจกับอังกฤษและฝรั่งเศส
  • การสร้างความเจริญภายในและลดความขัดแย้ง
    – ยกเลิกธรรมเนียมที่ล้าสมัย เช่น การหมอบคลานเมื่อเข้าเฝ้าเปลี่ยนเป็นการเดิน การหมอบกราบเปลี่ยนเป็นก้มศีรษะ ถวายคำนับ เป็นต้น
    – ปฏิรูปกฎหมายและการศาล เพื่อไม่ให้ชาติตะวันตกใช้เป็นข้ออ้างแทรกแซงและยึดครองไทย

พัฒนาการทางประวัติศาสตร์

พัฒนาการด้านการเมืองการปกครอง

  • ด้านการเมือง
    – สมัยรัชกาลที่ 4 อำนาจทางการเมืองขึ้นอยู่กับตระกูลบุนนาค
    – สมัยรัชกาลที่ 5 ทรงพยายามลดอำนาจขุนนางตระกูลบุนนาค ทำให้อำนาจของพระองค์มากขึ้น
  • ด้านการปกครอง
    – สมัยรัชกาลที่ 4 ทรงเริ่มเปลี่ยนแปลงธรรมเนียมที่ล้าสมัย รวมทั้งการติดต่อกับชาต่างชาติ
    – สมัยรัชกาลที่ 5 ทรงตั้งสภาที่ปรึกษา 2 สภา คือ สภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดินกับสภาที่ปรึกษาในพระองค์
    – ทรงปฏิรูปการปกครองส่วนกลาง โดยเพิ่มหน่วยงานจาก 6 กรม เป็น 12 กรม ต่อมาทั้ง 12 กรม เปลี่ยนเป็น 12กระทรวง ซึ่งเป็นรากฐานของกระทรวงต่างๆ ในปัจจุบัน
    – การปฏิรูปการปกครองส่วนภูมิภาค ทรงยกเลิกระบบกินเมือง เมืองทั้งหลายรวมเป็นมณฑลเทศาภิบาล
    – การปฏิรูปการปกครองส่วนท้องถิ่น ทรงนำระบบการปกครองแบบสุขาภิบาลมาใช้ แต่งตั้งกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน
    – ทรงตั้งเสนาบดีสภา องคมนตรีสภา และรัฐมนตรีสภา
    – สมัยรัชกาลที่ 6 กลุ่มยังเติร์ก พยายามเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นประชาธิปไตยแต่ไม่สำเร็จ
    – ทรงให้ประชาชนมีเสรีภาพในการแสดงออก
    – สมัยรัชกาลที่ 7 ทรงเตรียมการพระราชทานรัฐธรรมนูญ แต่มีผู้ถวายความเห็นว่าประชาชนยังไม่พร้อม เพราะการศึกษาไม่แพร่หลายทรงวางรากฐานการปกครองท้องถิ่นแบบเทศบาล เพื่อให้ราษฎรรู้จักปกครองตนเอง

พัฒนาการด้านเศรษฐกิจ

  • ด้านการเงินการคลัง
    – กำหนดอัตราแลกเปลี่ยนเพื่อการซื้อขาย
    – ตั้งหอรัษฎากรพิพัฒน์และกระทรวงการคลังในเวลาต่อมา
  • ด้านเกษตรกรรม
    – บุกเบิกที่ดินเพื่อการเพาะปลูก มีการขุดคลองเพิ่ม
    – มีการตั้งโรงสี และมีการส่งเสริมการพัฒนาพันธุ์ข้าว ส่งเสริมการเลี้ยงไหม
  • ด้านการค้าและการลงทุน
    – เกิดโรงงานอุตสาหกรรมเพิ่มมากขึ้น
    – เศรษฐกิจขยายตัว และผูกพันกับเศรษฐกิจโลกเพิ่มมากขึ้น

พัฒนาการด้านสังคม

  • การเลิกทาส
    – รัชกาลที่ 5 ทรงดำเนินการเลิกทาสใน พ.ศ. 2417 แต่ให้มีผลย้อนหลังไปถึง พ.ศ.2411
    – พ.ศ.2488 ทรงประกาศยกเลิกระบบทาสในไทย ห้ามผู้เป็นไทขายตัวเป็นทาสอีกต่อไป
    – ส่วนผู้เป็นทาสให้ลดค่าตัวลงเดือนละ 4 บาท จนหมดค่าตัวหรือหมดหนี้
  • การเลิกไพร่
    – รัชกาลที่ 5 ทรงเลิกไพร่โดยเริ่มจากการกำหนดว่าชายฉกรรจ์ที่ถูกสักขึ้นทะเบียนต้องมีอายุ 18 ปี
    – ห้ามเกณฑ์แรงงานราษฎร เปลี่ยนเป็นให้จ้างแทน
    – กำหนดให้ผู้ชายอายุ 18 ปี เป็นทหาร 2 ปี แล้วไม่ต้องรับราชการ (เข้าเดือน) อีกต่อไป
    – ผู้ที่ไม่เป็นทหารให้เสียเงินค่าราชการไม่เกิน 6 บาทต่อปี
    – ระบบไพร่สิ้นสุดลง ไพร่มีสถานะเป็นราษฎรที่มีอิสระในการตั้งถิ่นฐานและประกอบอาชีพ
  • การศึกษา
    – รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งโรงเรียนสอนหนังสือขึ้น
    – ทรงตั้งกระทรวงธรรมการ
    – รัชกาลที่ 6 โปรดเกล้าฯ ให้มีการศึกษาภาคบังคบ 4 ปี

พัฒนาการด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

  • ด้านการทูตและการทำสนธิสัญญาระหว่างประเทศ
    – รัชกาลที่ 4 ทรงเห็นความจำเป็นที่จะต้องยอมแก้ไขและทำสนธิสัญญาใหม่กับชาติตะวันตก
  • ด้านการป้องกันการคุกคามของชาติตะวันตก
    – รัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสยุโรปถึง 2 ครั้ง เพื่อเจรจาและหาพันธมิตรที่จะช่วยสนับสนุนไทย
  • ด้านการแก้ไขสิทธิภาพนอกอาณาเขต
    – ทำให้ยกเลิกการมีสิทธิสภาพนอกอาณาเขตของคนในบังคับของต่างชาติ

เหตุการณ์สำคัญที่มีผลต่อพัฒนาการทางประวัติศาสตร์

การทำสนธิสัญญาเบาว์ริง

“พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว” (รัชกาล 4) ทรงเห็นว่าการเปิดให้ค้าข้าวกับชาติตะวันตกได้อย่างเสรีจะสร้างประโยชน์แก่บ้านเมืองมหาศาล และสามารถหลีกเลี่ยงภัยจากลัทธิจักรวรรดินิยมที่เข้ามารุกรานประเทศได้ รัฐบาลอังกฤษจึงได้ส่ง “เซอร์จอห์น เบาว์ริง” ราชทูตที่ได้รับการแต่งตั้งจากสมเด็จพระบรมราชินีนาถวิกตอเรียเข้ามาทำหนังสือสัญญาทางพระราชไมตรีระหว่างประเทศอังกฤษกับประเทศสยาม โดยใช้ชื่อว่า “หนังสือสัญญาเซอยอนโบวริง” หรือที่มักเรียกกันทั่วไปว่า “สนธิสัญญาเบาว์ริง”

  • อังกฤษได้สิทธิสภาพนอกอาณาเขต
  • ยกเลิกภาษีปากเรือ ให้เก็บภาษีสินค้าขาเข้าร้อยละ 3 แทน
  • ให้มีการค้าเสรี และไทยอนุญาตให้นำข้าว ปลา เกลือ ไปขายต่างประเทศได้
  • คนในบังคับอังกฤษนำฝิ่นมาขายในไทยได้  แต่ต้องขายให้เจ้าภาษีฝิ่นเท่านั้น ถ้าเจ้าภาษีไม่ซื้อต้องนำออกไป
  • ถ้าชาติอื่นได้สิทธิพิเศษเพิ่มเติม อังกฤษจะได้สิทธิพิเศษนั้นด้วย
  • สินค้าที่เป็นสินค้าออกให้เก็บภาษีได้เพียงครั้งเดียว
  • สนธิสัญญานี้จะแก้ไขได้เมื่อพ้น 10 ปีไปแล้ว

ผลกระทบของสนธิสัญญาเบาว์ริง

  • ด้านเศรษฐกิจ
    – การเปลี่ยนแปลงระบบเศรษฐกิจของประเทศ จากแบบยังชีพเป็นระบบเศรษฐกิจการตลาด
    – การเปลี่ยนแปลงประเภทสินค้าหลักของประเทศทำให้ข้าวกลายเป็นสินค้าออกที่สำคัญมาจนถึงปัจจุบัน
    – การขยายตัวของการค้าภายในประเทศ ประกอบกับการพัฒนาเส้นทางคมนาคมทำให้การค้าขยายตัวอย่างรวดเร็ว
    – การพัฒนาอุตสาหกรรม และรัฐได้ปรับปรุงระบบสาธารณูปโภคให้สอดคล้องกับความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ
    – การปฏิรูประบบภาษีอากรและการคลัง จัดตั้งหอรัษฎากรพิพัฒน์ และมีการจัดทำงบประมาณแผ่นดินเป็นครั้งแรก
  • ด้านการเมือง
    – ผ่อนคลายแรงกดดันจากมหาอำนาจตะวันตก และเป็นการเปิดสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทยกับนานาชาติ
    – สิทธิสภาพนอกอาณาเขตและคนในบังคับ ถือเป็นความเสียเปรียบในระยะยาวมาก ซึ่งไทยก็เริ่มเจรจาเพื่อจำกัดปัญหานี้
  • ด้านสังคม
    – การเปลี่ยนแปลงกลุ่มผู้มีบทบาททางเศรษฐกิจ พ่อค้าและนายทุนชาวตะวันตกเข้ามาค้าขายและลงทุนทำธุรกิจแข่งขันกับนายทุนชาวจีน
    – การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต สินค้าของตะวันตกซึ่งเป็นสินค้าแปลกใหม่ กระจายไปยังประชาชนทั้งในเมืองและชนบท ทำให้ประชาชนเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจที่ใช้เงินตราหาซื้อสิ่งของแทนที่วิถีชีวิตแบบเดิม

การปฏิรูปประเทศสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

การปฏิรูปประเทศสมัยรัชกาลที่ 5

  • การปฏิรูปประเทศระยะแรก
    – ทรงตั้งหอรัษฎากรพิพัฒน์
    – ทรงเปลี่ยนแปลงธรรมเนียมการเข้าเฝ้า
    – ทรงตั้งสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน และสภาที่ปรึกษาส่วนพระองค์
  • การปฏิรูปประเทศระยะที่ 2
    – ทดลองขยายการปกครองจาก 6 กรม เป็น 12 กรม
    – พระบรมวงศานุวงศ์ และขุนนางได้รับการศึกษาแบบใหม่มาช่วยราชการ
    – ทรงจ้างชาวต่างประเทศมาเป็นที่ปรึกษาและทำงาน

ด้านการบริหารราชการแผ่นดิน

ทรงปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดินใหม่ในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2435 หลังจากทรงทดลองมา 4 ปี โดยแบ่งเป็น 12 กระทรวง ได้แก่

  • กระทรวงมหาดไทย
  • กระทรวงนครบาล
  • กระทรวงโยธาธิการ
  • กระทรวงธรรมการ
  • กระทรวงเกษตรพานิชการ
  • กระทรวงยุติธรรม
  • กระทรวงมุรธาธร
  • กระทรวงยุทธนาธิการ
  • กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ
  • กระทรวงการต่างประเทศ
  • กระทรวงกลาโหม
  • กระทรวงวัง

ด้านกฎหมายและศาล

  • ปฏิรูปกฎหมายและการศาลให้เป็นแบบตะวันตก เพื่อยกเลิกสนธิสัญญาที่ไม่เป็นธรรม และสิทธิสภาพนอกอาณาเขต
  • ตั้งกระทรวงยุติธรรมเพื่อดูแลงานด้านการศาล
  • ตั้งโรงเรียนกฎหมาย จ้างนักกฎหมายชาวต่างชาติมาช่วยร่างประมวลกฎหมายตามแบบตะวันตก
  • พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ เป็นแกนนำสำคัญในการปฏิรูปกฎหมาย

ด้านสังคม

  • ทรงเลิกทาสและระบบไพร่
  • ประชาชนมีอิสระในการประกอบอาชีพ ตั้งถิ่นฐาน และศึกษาเล่าเรียน

ด้านการศึกษา

  • ทรงจัดระบบการศึกษาแผนใหม่แบบตะวันตก
  • ตั้งโรงเรียนหลวงสำหรับลูกขุนนาง และราษฎร
  • ตั้งกระทรวงธรรมการดูแลเรื่องศาสนาและการศึกษา

ด้านเศรษฐกิจและการคลัง

  • จัดระบบเงินตราโดยใช้มาตรฐานทองคำแทนมาตรฐานเงิน
  • ตั้งกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ดูแลด้านการคลังของแผ่นดิน

ด้านการคมนาคมและการสื่อสาร

  • มีการสร้างถนน ทางรถไฟ รถราง
  • มีการขุดคูคลอง
  • จัดระบบไปรษณีย์โทรเลข ไฟฟ้า ประปา และโรงพยาบาล

เข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 1

รัชกาลที่ 6 ไม่ได้รีบร้อนทรงรอเวลาที่เหมาะสม และในวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2460 จึงได้ทรงประกาศสงครามต่อฝ่ายมหาอำนาจกลาง

  • ผลดีของการเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 1
    – ได้ยกเลิกสนธิสัญญาที่ไม่เป็นธรรมกับเยอรมนี และออสเตรีย-ฮังการี
    – ต่างชาติรู้จักไทยดีขึ้น ได้รับการยกย่องให้มีฐานะเท่าเทียมกับประเทศฝ่ายสัมพันธมิตร
    – ได้เป็นสมาชิกของสันนิบาตชาติ
    – ขอแก้ไขสนธิสัญญาที่ไม่เป็นธรรมกับชาติตะวันตก

บทบาทของพระมหากษัตริย์ในราชวงศ์จักรีต่อความมั่นคงและเจริญรุ่งเรืองของชาติ

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระราชกรณียกิจที่สำคัญ
ด้านการต่างประเทศ
– ทรงส่งคณะราชทูตไปอังกฤษและฝรั่งเศสเพื่อเจริญพระราชไมตรี
ด้านการปรับปรุงประเทศ
– ทรงยกเลิกประเพณีเก่าๆ ที่ล้าสมัย และทรงนำความรู้ของตะวันตก    มาปรับปรุงบ้านเมือง
ด้านเศรษฐกิจ
– ทรงทำสนธิสัญญากับต่างชาติ และโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งโรงกษาปณ์ผลิตเงิน
ด้านสังคมและวัฒนธรรม
– ทรงตั้งธรรมยุติกนิกาย และโปรดเกล้าฯ ให้ชำระและเขียนพงศาวดารขึ้นใหม่

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระราชกรณียกิจที่สำคัญ
ด้านการปฏิรูปประเทศ
– ทรงปฏิรูปการปกครองส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค ทรงปฏิรูประบบกฎหมายและการศาล
– ทรงเลิกทาส และทรงเลิกระบบไพร่  และทรงปฏิรูปการศึกษา
ด้านการรักษาเอกราชของชาติ
– ใช้วิธีทางการทูต การทหาร และการแสวงหาความช่วยเหลือจากมหาอำนาจอื่น
– ทรงพยายามดำเนินนโยบายต่างประเทศอย่างอดทน และผ่อนปรน

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระราชกรณียกิจที่สำคัญ
ด้านการสร้างชาตินิยม
– ทรงใช้วิธีการสร้างสัญลักษณ์ เพื่อเป็นศูนย์รวมใจให้เกิดความรัก ความสามัคคี สำนึกในหน้าที่พลเมืองที่ดีของชาติ และสำนึกในความเสียสละของบรรพบุรุษ
ด้านการสร้างความรุ่งเรืองทางวัฒนธรรม
– ทรงมีพระปรีชาสามารถด้านอักษรศาสตร์ ทรงมีบทพระราชนิพนธ์มากมาย จนได้รับการถวายพระราชมัญญาว่า “พระมหาธีรราชเจ้า”
ด้านการสร้างความเป็นสากลและนำไทยเข้าสู่สังคมนานาชาติ
– ทรงกำหนดให้คนไทยมีนามสกุลใช้ ทรงเปลี่ยนธงชาติใหม่ และการเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 1

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระราชกรณียกิจที่สำคัญ
ด้านการวางรากฐานประชาธิปไตย
– ทรงเตรียมการหลายประการเพื่อปลูกฝังให้ประชาชนมีสำนึกทางการเมือง พร้อมที่จะมีส่วนร่วมในการปกครองระบอบประชาธิปไตย เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง จึงทรงเต็มพระราชหฤทัย สละพระราชอำนาจของพระองค์
ด้านการเป็นแบบอย่างที่ดีในการเสียสละผลประโยชน์ส่วนตัว
– ทรงยอมลดค่าใช้จ่ายส่วนพระองค์    ในยามที่บ้านเมืองเผชิญกับปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำ

สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นหมายถึงช่วงเวลาใด

ด้านการเมืองการปกครองในสมัยรัตนโกสินทร์ แบ่งออกเป็น 3 ช่วง คือ สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ระหว่าง พ.ศ. 2325–2394 สมัยปรับปรุงประเทศให้ทันสมัย ระหว่าง พ.ศ. 2394–2475 และสมัยประชาธิปไตย ระหว่างพ.ศ. 2475–ปัจจุบัน

รัตนโกสินทร์ตอนต้นสมัยปรับปรุงและปฏิรูปประเทศเริ่มขึ้นในช่วงเวลาใด

(2) สมัยรัตนโกสินทร์ยุคปรับปรุงประเทศ (พ.ศ. 2394 – 2475) ในช่วงเวลา 4 รัชกาลต่อมา คือ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) ถึง พ.ศ. 2475 สมัยการเปลี่ยนแปลง ...

สมัยปรับปรุงประเทศอยู่ในรัชกาลใด

สมัยปรับปรุงประเทศให้ทันสมัย พ.ศ. 2394 - 2475. พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4)

สมัยเมื่อครั้งบ้านเมืองดี" หมายถึงยุคสมัยใด

สำนวนเมื่อครั้งบ้านเมืองดี เมื่อเขียนในพงศาวดารต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ผู้รู้บอกว่า หมายถึงสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ปลายสมัยอยุธยา เหตุที่พูดเช่นนั้น เพราะเมื่อสิ้นรัชกาล... พระโอรสของท่านก็แย่งชิงราชสมบัติกัน