พระยาตากได้ปฏิบัติภารกิจใดก่อนการย้ายราชธานีจากกรุงศรีอยุธยามาอยู่กรุงธนบุรี

พระยาตากได้ปฏิบัติภารกิจใดก่อนการย้ายราชธานีจากกรุงศรีอยุธยามาอยู่กรุงธนบุรี

Show

การกอบกู้เอกราชของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชนั้นเป็นอีกหนึ่งเหตุการณ์สำคัญของประวัติศาสตร์ชาติไทยที่น่ายกย่องชื่นชม เพราะท่านเป็นวีรบุรุษที่ทำให้ประเทศชาติมีถึงทุกวันนี้ได้
หลังจากที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงขับไล่พวกพม่าออกไปจากกรุงศรีอยุธยาแล้ว พระองค์จึงทรงย้ายราชธานีจากกรุงศรีอยุธยาไปยังกรุงธนบุรี ซึ่งเคยเป็นเมืองหน้าด่านมาก่อน และนี่คือ 12 เหตุผลที่ทำไมกรุงธนบุรีจึงเหมาะที่จะเป็นราชธานีหรือเมืองหลวงแห่งใหม่แทนที่จะเป็นกรุงศรีอยุธยาตามเคย

1. หลังจากที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชและกองทัพ ได้กอบกู้เอกราชคืนมาหลังสงครามเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 กรุงศรีอยุธยาถูกทำลายจนยากแก่การบูรณะให้ดีดังเดิม

2. เนื่องจากกรุงศรีอยุธยาเกิดจากการรวมตัวของแคว้นละโว้กับแคว้นสุพรรณภูมิ จึงทำให้มีบริเวณที่กว้างขวางมากเกินกว่าจำนวนกำลังกองทัพที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชมีอยู่

3. ก่อนจะเกิดสงครามเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 ไทยได้ทำสงครามกับพม่าถึง 6 ครั้ง ทำให้ข้าศึกรู้ลู่ทางภูมิประเทศและจุดอ่อนของกรุงศรีอยุธยาเป็นอย่างดี ทำให้เสียเปรียบและยากในการป้องกันพระนคร

4. ถึงแม้กรุงศรีอยุธยาจะตั้งอยู่บนที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา และยังมีแม่น้ำอื่นๆอีกมากมายไหลผ่าน แต่อยู่ห่างจากทะเลมากเกินไป ไม่สะดวกต่อการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศ

5. กรุงธนบุรีเป็นเมืองขนาดเล็ก พอเหมาะกับกำลังพลของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชที่จะป้องกันรักษาได้

6. หากเกิดกรณีที่ข้าศึกมีกำลังที่มากกว่าจะรักษาราชธานีไว้ได้ ก็อาจย้ายไปตั้งมั่นที่เมืองจันทบุรีที่มั่นคงกว่าโดยทางเรือ เพื่อรวบรวมกำลังผู้คน อาวุธ เสบียงอาหาร

7. กรุงธนบุรีมีป้อมปราการที่สร้างไว้ตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช สามารถใช้ป้องกันข้าศึกได้

8. กรุงธนบุรีมีทำเลที่ตั้งเหมือนกรุงศรีอยุธยา คือ ตั้งอยู่บนเกาะ และยังมีสภาพเป็นที่ลุ่ม มีบึงน้อย บึงใหญ่อยู่รายล้อมทั่วไป ทำให้ข้าศึกไม่สามารถโอบล้อมพระนครได้โดยง่าย

9. กรุงธนบุรีอยู่ใกล้ปากน้ำ สะดวกแก่การค้าขายกับชาวต่างประเทศ เรือสินค้าต่างๆ สามารถเข้าจอดเทียบท่าได้โดยไม่ต้องขนถ่ายสินค้าลงเรือเล็กอย่างสมัยอยุธยา ทำให้ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย

10. กรุงธนบุรีเป็นเมืองเก่า มีวัดต่างๆ จำนวนมากที่สร้างไว้ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ทำให้ไม่จำเป็นต้องสร้างวัดขึ้นมาใหม่ให้สิ้นเปลือง เพียงแต่บูรณปฏิสังขรณ์บ้างเท่านั้น

11. กรุงธนบุรีเป็นแหล่งเกษตรกรรมที่สำคัญมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา โดยสภาพของพื้นที่เป็นที่ลุ่ม มีดินดี มีคลองและแม่น้ำหลายสาย มีน้ำใช้ตลอดปี เหมาะแก่การทำเกษตร ทำนา ปลูกข้าว ทำสวนผักและสวนผลไม้

12. กรุงธนบุรีมีที่ตั้งที่ไม่ห่างจากกรุงศรีอยุธยามากนัก จึงทำให้สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชมีพระราชอำนาจปกครองกรุงศรีอยุธยาแล้ว และยังสามารถป้องกันกรุงศรีอยุธยาจากชุมนุมอื่นๆ และกองทัพพม่าได้ง่าย

“ทุกวันนี้ศึกไกลยังไม่ห่วง แต่หวั่นทรวงศึกใกล้ไล่ข่มเหง ถ้าคนไทยหันมาฆ่ากันเอง จะร้องเพลงชาติไทยให้ใครฟัง”

ที่มา : รศ. ดร.ไพฑูรย์ มีกุศล และคณะ, หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน ประวัติศาสตร์ ม.2

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์

พระยาตากได้ปฏิบัติภารกิจใดก่อนการย้ายราชธานีจากกรุงศรีอยุธยามาอยู่กรุงธนบุรี

หลัง "พระเจ้าตากสินมหาราช" กู้เอกราชคืนมาจากพม่าแล้ว สภาพบ้านเมืองของกรุงศรีอยุธยาทรุดโทรมมาก ด้วยเหตุผลนานาประการจึงทรงตัดสินใจเลือกเอา "กรุงธนบุรี" เป็นราชธานีใหม่ ในชื่อ "กรุงธนบุรีศรีมหาสมุทร"

วันที่ 4 ตุลาคม 2313 เมืองธนบุรีได้ถูกสถาปนาเป็นราชธานีแห่งใหม่ หลังจากสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี หรือ "สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช" สามารถกู้เอกราชคืนมาจากพม่า  

และเมื่อสภาพบ้านเมืองของกรุงศรีอยุธยาทรุดโทรมมากไม่เหมาะสมที่จะใช้เป็นเมืองหลวง  เนื่องจากกรุงศรีอยุธยาถูกทำลายและทรุดโทรมยากแก่การบูรณะ นอกจากนี้กรุงศรีอยุธยายังมีพื้นที่กว้างขวางยากแก่การรักษาบ้านเมือง และอยู่ห่างจากปากแม่น้ำไม่สะดวกในการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศ 

สำหรับสาเหตุที่พระเจ้าตากสินมหาราชเลือกที่นี่ เพราะ "กรุงธนบุรี" เป็นเมืองขนาดเล็ก เหมาะสมกับกำลังป้องกันทั้งทางบกและทางน้ำ โดยตั้งอยู่ปากแม่น้ำเจ้าพระยาที่สะดวกในการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศ และยังสะดวกในการควบคุมการลำเลียงอาวุธและเสบียงต่างๆ ไปตามหัวเมืองเมื่อเกิดศึกสงคราม

พระยาตากได้ปฏิบัติภารกิจใดก่อนการย้ายราชธานีจากกรุงศรีอยุธยามาอยู่กรุงธนบุรี

ดังนั้นสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช จึงทรงตัดสินใจเลือกเอา "กรุงธนบุรี" เป็นราชธานี ทรงพระราชทานนามว่า "กรุงธนบุรีศรีมหาสมุทร"

นอกจากนี้ หากข้าศึกยกกำลังมามากเกินกว่ากำลังจะต้านทานก็ยังสามารถย้ายไปตั้งมั่นที่จันทบุรีได้โดยอาศัยทางเรือ อีกทั้งยังมี 2 ป้อมปราการทั้งป้อมวิไชยประสิทธิ์ และป้อมวิไชเยนทร์ อยู่ทั้งสองฟากแม่น้ำที่สร้างไว้ตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชใช้ป้องกันข้าศึกที่จะเข้ามารุกรานโดยยกกำลังมาทางเรือ 

"สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช" ทรงสร้างพระราชวังขึ้นทางทิศใต้ของกรุงธนบุรี ขนาบข้างด้วยวัดแจ้ง หรือวัดมะกอก (ปัจจุบันคือ วัดอรุณราชวรารามราชวรวิหาร) และวัดท้ายตลาด (ปัจจุบันคือวัดโมลีโลกยารามราชวรวิหาร) โดยเมื่อวันที่ ๔ ตุลาคม ๒๓๑๓ พระราชทานนามว่า "กรุงธนบุรีศรีมหาสมุทร"               

พระยาตากได้ปฏิบัติภารกิจใดก่อนการย้ายราชธานีจากกรุงศรีอยุธยามาอยู่กรุงธนบุรี

สมเด็จพระเจ้าบรมวงษ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงแสดงความคิดเห็นไว้ว่า..

"ที่เจ้าตากลงมาตั้งเมืองธนบุรีเป็นราชธานี ครั้งนั้นเหมาะแก่ประโยชน์ทุกอย่าง ถ้าหากว่าสมเด็จพระอดีตมหาราชได้มาขับไล่เจ้าตากมิให้ตั้งอยู่ที่กรุงศรีอยุธยา ก็ขับไล่ด้วยไมตรีจิต ตักเตือนมิให้พลาดพลั้งไปด้วยเห็นแก่เกียรติยศ

เพราะกรุงศรีอยุธยาถึงเป็นที่มีชัยภูมิด้วยลําน้ำล้อมรอบ และเป็นเมืองมีป้อมปราการมั่นคงก็จริง แต่รี้พลของเจ้าตากที่มีอยู่ไม่พอจะรักษากรุงศรีอยุธยาต่อสู้ข้าศึก และขณะนั้นศัตรูก็ยังมีมาก ทั้งพม่าและไทยก๊กอื่นอาจจะยกมาย่ำยีในเมื่อหนึ่งเมื่อใด กรุงศรีอยุธยาอยู่ในทางที่ ข้าศึกจะมาถึงได้สะดวกทั้งทางบกและทางน้ำ ถ้ามีกําลังไม่พอรักษา ขืนตั้งอยู่ที่กรุงศรีอยุธยาก็คงเป็นอันตราย

การที่ลงมาตั้งอยู่เมืองธนบุรีก็ไม่ห่างไกลกับกรุงศรีอยุธยา มีอํานาจอยู่ที่เมืองธนบุรีก็เหมือนมีอํานาจอยู่ในกรุงศรีอยุธยา แต่ได้เปรียบที่เมืองธนบุรีตั้งอยู่ที่ลําน้ำลึกใกล้ทะเล แม้ข้าศึกมาทางบกไม่มีทัพเรือเป็นกําลังด้วยแล้วก็ยากที่จะมาตีเมืองธนบุรี"

อย่างไรก็ดี "อาณาจักรธนบุรี" เป็นอาณาจักรเพียงแค่ช่วงสั้นๆ ระหว่างปี 2310 - 2325 หรือเพียง 15 ปี มีพระมหากษัตริย์ปกครองเพียงพระองค์เดียว คือ "สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี"

และต่อมาสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกได้ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ และทรงย้ายเมืองหลวงไปยังฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา คือ กรุงเทพมหานครในปัจจุบัน

ขอบคุณภาพ-Fb.มูลนิธิอนุรักษ์โบราณสถานในพระราชวังเดิม

พระเจ้าตากสินปฏิบัติภารกิจใดเป็นอันดับแรก หลังจากย้ายราชธานีมาอยู่กรุงธนบุรี

ภายหลังจากที่ทรงปราบดาภิเษก พระราชภารกิจสำคัญลำดับแรกของพระเจ้าตากสินมหาราชก็คือการสร้างชาติบ้านเมืองให้เป็นปึกแผ่น แต่การกอบกู้ชาติบ้านเมืองของพระองค์ในระยะแรกเริ่มเต็มไปด้วยความยาก ลำบากแสนสาหัส ท่ามกลางบรรยากาศแห่งความหวาดกลัวของประชาชนและสภาพบ้านเมืองที่ถูกข้าศึกทำลายจนย่อยยับจนเกิดสภาวะจลาจลไปทั่วทุกหนแห่งในขณะ ...

เพราะเหตุใดหลังจากที่พระตาก(สิน) กู้อิสรภาพได้แล้ว จึงตัดสินใจย้ายราชธานีมาอยู่ที่กรุงธนบุรี

สำหรับเหตุที่ทรงเลือกที่นี่ เพราะกรุงธนบุรีเป็นเมืองขนาดเล็ก เหมาะสมกับกำลังป้องกันทั้งทางบกและทางน้ำ โดยตั้งอยู่ปากแม่น้ำเจ้าพระยา สะดวกในการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศ และยังสะดวกในการควบคุมการลำเลียงอาวุธและเสบียงต่างๆ ไปตามหัวเมืองหรือจากหัวเมืองเข้ามาช่วย เมื่อเกิดศึกสงคราม

เหตุผลในการย้ายราชธานีจากกรุงศรีอยุธยาไปยังกรุงธนบุรีมีอะไรบ้าง

สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงย้ายเมืองหลวงมาอยู่ที่กรุงธนบุรี เนื่องจากสาเหตุดังต่อไปนี้ ๑.กรุงศรีอยุธยาชำรุดเสียหายมากจนไม่สามารถจะบูรณะปฏิสังขรณืให้ดีเหมือนเดิมได้ กำลังรี้พลของพระองค์มีน้อยจึงไม่สามารถรักษากรุงศรีอยุธยาเป็นเมืองใหญ่ได้ ๒.ทำเลที่ตั้งของกรุงศรีอยุธยาทำให้ข้าศึกโจมตีได้ง่าย

เพราะเหตุใดพระยาตากจึงตัดสินใจหลบหนีออกจากกรุงศรีอยุธยาขณะที่พม่ากำลังล้อมเมืองอยู่

มีคำถามเสมอว่า เหตุใดพระเจ้าตากจึงตัดสินใจมุ่งหน้า “หนี” มาทางตะวันออก เหตุผลตรงไปตรงมาที่สุดคือฝากตะวันออกของกรุงศรีอยุธยามีกองกำลังของพม่าน้อยที่สุด ส่วนทางเหนือ ใต้ และตะวันตก เต็มไปด้วยกองทัพขนาดใหญ่ล้อมกรุงศรีอยุธยาไว้ทั้งสิ้น

พระเจ้าตากสินปฏิบัติภารกิจใดเป็นอันดับแรก หลังจากย้ายราชธานีมาอยู่กรุงธนบุรี เพราะเหตุใดหลังจากที่พระตาก(สิน) กู้อิสรภาพได้แล้ว จึงตัดสินใจย้ายราชธานีมาอยู่ที่กรุงธนบุรี เหตุผลในการย้ายราชธานีจากกรุงศรีอยุธยาไปยังกรุงธนบุรีมีอะไรบ้าง เพราะเหตุใดพระยาตากจึงตัดสินใจหลบหนีออกจากกรุงศรีอยุธยาขณะที่พม่ากำลังล้อมเมืองอยู่ เพราะเหตุใด พระเจ้าตากจึงต้องตัดสินพระทัยย้ายราชธานี ข้อใดอธิบายการจัดการปกครองในสมัยธนบุรี ไม่ถูกต้อง วันแรกที่พระยาตาก สิน เริ่มทำการตีฝ่าวงล้อมพม่าตรงกับวันใด เพราะเหตุใด ศิลปวัฒนธรรมซึ่งเป็นภูมิปัญญาในสมัยธนบุรีจึงมีจำนวนน้อย พระยาตากตั้งตนเป็นเจ้าที่เมืองใด กรุงธนบุรี ประวัติ