วัสดุ อุปกรณ์ใด ใช้สำหรับสร้างแบบดัดแปลงเสื้อผ้า

วัสดุ อุปกรณ์ใด ใช้สำหรับสร้างแบบดัดแปลงเสื้อผ้า

หลักการซ่อมแซมและดัดแปลงเสื้อผ้า

วัสดุ อุปกรณ์ใด ใช้สำหรับสร้างแบบดัดแปลงเสื้อผ้า

ที่มา : http://www.b2s.co.th/products_detail.php?proid=23099

1. เลือกใช้วิธีการซ่อมแซมให้เหมาะสม เช่น ผ้าขาดเป็นรูเล็ก ๆ ก็ใช้วิธีการชุน ถ้ารอยขาดกว้าง ไม่สามารถชุนได้ก็ใช้วิธีการปะ เป็นต้น
2. ออกแบบให้เหมาะสมกับวัยของผู้ใช้ เช่น เสื้อผ้าของผู้ใหญ่ที่คอปกขาดจะดัดแปลงเป็นเสื้อ-คอกลมให้เด็กใส่ ก็อาจประดับผ้าลูกไม้ เป็นจีบระบายรอบคอ หรือทำโบติดที่คอเสื้อ จะช่วยให้แลดูเหมาะสมกับวัยเด็กมากขึ้น
3. เลือกใช้วัดสุอุปกรณ์ตกแต่งให้เหมาะสมกับเนื้อผ้า ก่อนซ่อมแซม หรือดัดแปลงเสื้อผ้าควรเลือกหาวัสดุหรืออุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้ให้เหมาะสมกับเสื้อผ้าที่ชำรุด เพื่อให้ส่วนที่ซ่อมแซมหรือดัดแปลงขึ้น-ใหม่มีสภาพกลมกลืนกันเสื้อผ้าตัวเดิมมากที่สุด เช่น เลือกกระดุม สี และแบบเดียวกับเม็ดเดิมที่หลุดหายไป ใช้ด้ายสีเดียวกันกับผ้าที่จะซ่อม ใช้เศษผ้าที่มีเส้นใยชนิดเดียวกันมาปะกับรอยผ้าที่ขาด เป็นต้น
4. เตรียมเครื่องมือให้พร้อม เครื่องมือที่ใช้ในการซ่อมแซมและดัดแปลงเสื้อผ้า เช่น เข็ม ด้าย จักร กรรไกร ควรเตรียมให้พร้อม ตรวจดูให้อยู่ในสภาพดี ใช้งานได้ นำไปจัดวางใกล้บริเวณที่จะปฏิบัติงาน เพื่อให้หยิบใช้ได้สะดวก และช่วยให้การทำงานรวดเร็วขึ้น
5. คำนึงถึงความคุ้มค่า สิ่งสำคัญที่ควรจะนำมาพิจารณาก่อนที่จะซ่อมแซมหรือดัดแปลงเสื้อผ้า คือ ประโยชน์ที่จะได้รับจากการซ่อมแซมดัดแปลงเสื้อผ้าชิ้นนั้น ๆ คุ้มค่ากับเวลา เงิน แรงงาน ที่ต้องเสียไปหรือไม่ ถ้านำเสื้อผ้าที่ซ่อมแล้วไปใส่เพียงครั้งเดียวแล้วเลิกใช้ ก็ไม่คุ้มค่า แต่ถ้านำไปใส่อีกนานนับปีถือว่าเป็นการคุ้มค่า นอกจากนี้ยังควรนำสิ่งตกแต่งเสื้อผ้าที่มีอยู่แล้วมาใช้ ไม่ควรซื้อสิ่งใหม่ที่มีราคาแพง ก็จะช่วยประหยัดได้อีกทางหนึ่ง

วัสดุ อุปกรณ์ใด ใช้สำหรับสร้างแบบดัดแปลงเสื้อผ้า

ที่มา : http://www.learners.in.th/blogs/posts/521780

เครื่องมือในการซ่อมแซมและดัดแปลงเสื้อผ้า
        การซ่อมแซมและดัดแปลงเสื้อผ้า ต้องใช้เครื่องมือเช่นเดียวกับงานฝีมืออื่น ๆ ทั้งนี้ เพื่อช่วยให้ผลงานประณีต ประหยัดเวลา และทำงานได้อย่างสะดวกรวดเร็ว เครื่องมือในการซ่อมแซม และดัดแปลงเสื้อผ้า แบ่งเป็นประเภทต่าง ๆ ดังนี้

กรรไกรตัดผ้า
-ลักษณะ กรรไกรตัดผ้า ยาวประมาณ 7-8 นิ้ว มีความคมตั้งแต่โคนถึงปลาย
-วิธีใช้ ใช้สำหรับตัดผ้าโดยเฉพาะ ไม่ควรนำไปใช้ตัดกระดาษ และควรระมัดระวังอย่าให้ตกจากที่สูงจะทำให้เสียความคม
- การดูแลรักษา เช็ดทำความสะอาด ทาน้ำมัน เก็บใส่ซองกรรไกร แล้วนำไปรวมไว้ในกล่องเครื่องมือ

เข็มจักร เข็มมือ และเข็มหมุด
-ลักษณะ เข็มที่ใช้ในการเย็บมี 3 ชนิด คือ เข็มจักร เข็มมือ และเข็มหมุด มีหลายขนาด(เบอร์) ควรเลือกใช้ให้เหมาะสมกับเส้นใยผ้า และลักษณะของงาน
-วิธีใช้ เข็มจักร ใช้สำหรับใส่จักรเย็บเท่านั้น

เข็มมือ ใช้เย็บผ้า หรือสอยผ้าด้วยมือ
เข็มหมุด ใช้สำหรับตรึงผ้า แสดงแนวการเย็บ
- การดูแลรักษา เมื่อเลิกใช้แล้ว ควรเช็ดด้วยน้ำมันวาสลิน ปักไว้บนหมอนปักเข็ม หรือห่อด้วยกระดาษตะกั่วแล้วเก็บใส่กล่อง

สายวัด
-ลักษณะ ลักษณะเป็นแผ่นผ้าแคบ ยาว โดยปกติจะมีความยาว 150 เซนติเมตร หรือประมาณ 60 นิ้ว มีมาตราวัดเป็นนิ้ว และ เซนติเมตร แบ่งย่อยไว้อย่างชัดเจน
-วิธีใช้ ใช้สำหรับวัดตัว วัดความยาวของผ้าที่ตัด
- การดูแลรักษา ม้วนเก็บใส่กล่อง

ชอล์กเขียนผ้า
-ลักษณะ เป็นแผ่นแบนรูปสามเหลี่ยม สันบาง มีหลากสี
-วิธีใช้ ใช้เขียนลงบนผ้าให้เกิดรอยจุดหรือเส้น เพื่อใช้กำหนดตำแหน่งที่ต้องการ เช่น ตำแหน่งกระดุม แนวพับปลายขากางเกง ขณะใช้ ระวังอย่าให้ตกหล่น เพราะจะทำให้หัก
- การดูแลรักษา เก็บใส่ซองกระดาษ แล้วใส่กล่อง

ที่เลาะผ้า
-ลักษณะ เป็นเหล็กปลายแหลมงอหยักเป็น 2 แฉก มีด้ามทำด้วยพลาสติก
-วิธีใช้ ใช้เลาะด้านเนาหรือเลาะผ้าที่เย็บแล้วแต่ต้องการแก้ไข จะช่วยให้เลาะได้ง่าย รวดเร็ว ผ้าไม่ขาด และทำได้สะดวก
- การดูแลรักษา ใช้แล้วเช็ดด้วยผ้าแห้งให้สะอาด เก็บใส่กล่อง

ลูกกลิ้ง
-ลักษณะ เป็นเหล็กแผ่นกลม บาง แต่แข็งแรง มีฟันเฟืองเป็นซี่หยักถี่ ๆ มีด้ามยาวประมาณ 4.5 นิ้ว
-วิธีใช้ ใช้กลิ้งบนผ้า หรือบนกระดาษเพื่อสร้างแบบ
- การดูแลรักษา เช็ดให้สะอาด ทาด้วยน้ำมันแล้วเก็บใส่กล่อง

กระดาษกดรอย หรือกระดาษคาร์บอน
-ลักษณะ เป็นกระดาษที่อาบด้วยไขผสมสี มีทั้งสีอ่อน สีแก่ และสีขาวที่ใช้ได้กับผ้าทุกสี
-วิธีใช้ ใช้รองใต้ผ้าก่อนกดลูกกลิ้ง เพื่อให้เกิดเส้นแนวสำหรับเย็บชัดเจน
- การดูแลรักษา เก็บไว้ในซองกระดาษสำหรับแผ่นที่ใช้หลายครั้งไขจะหลุดออกหมด ควรนำไปทิ้ง

ด้าย
-ลักษณะ เป็นเส้นใยสังเคราะห์ ยาว พันอยู่กับหลอดด้าย แบ่งเป็นด้ายเย็บจักร และด้ายใช้เย็บด้วยมือ มีหลายสี หลายขนาด
-วิธีใช้ ใช้ร้อยกับเข็มสำหรับเย็บผ้า
- การดูแลรักษา ใช้เสร็จแล้วตัดปลายออกพันไว้กับหลอด โดยดึงปลายเหน็บลงในร่องที่หลอดด้าย

จักร
-ลักษณะ จักรเย็บผ้ามีส่วนประกอบสำคัญ คือ ตัวจักร และหัวจักร มี 2 แบบ คือ จักร-ธรรมดา และแบบใช้มอเตอร์

1. แบบธรรมดา ใช้เท้าถีบที่แผงเหล็กวางเท้าแล้วหมุนวงล้อที่ส่วนหัวจักร เพื่อให้เครื่องทำงาน
2. แบบใช้มอเตอร์ มีส่วนประกอบเหมือนแบบธรรมดา แต่เพิ่มมอเตอร์ติดเข้ากับหัวจักรด้านหน้า แล้วเปลี่ยนสายพานเป็นสายสั้น มีที่เหยียบกดมอเตอร์ให้เครื่องจักรทำงานแยกต่างหากวางไว้กับพื้น
      -วิธีใช้ หมุนวงล้อที่ส่วนหัวจักร หรือเหยียบที่กดมอเตอร์เพื่อให้เครื่องจักรทำงาน ใช้เย็บผ้าหรือซ่อมแซมดัดแปลงเสื้อผ้า ซึ่งสามารถทำงานได้เร็วกว่าใช้มือ
      - การดูแลรักษา หลังการเย็บผ้าแล้วควรทำความสะอาดจักร โดยใช้แปรงปัดฝุ่นที่ฟันจักรออก หยอดน้ำมันตามรูที่ส่วนหัวจักร ใช้จาระบีทาทุกส่วนที่เป็นโลหะ เพื่อป้องกันสนิม ปิดจักรแล้วคลุมด้วยผ้า สำหรับจักรที่ใช้มอเตอร์ ก่อนทำความสะอาดควรปิดสวิตช์มอเตอร์ก่อนทุกครั้ง

วัสดุ อุปกรณ์ใด ใช้สำหรับสร้างแบบดัดแปลงเสื้อผ้า