นิทานทองอินมีเนื้อเรื่องแบบใด

สรุปเรื่องนักสืบทองอิน

                  ที่บางพระโขนง กำนัน ชื่อ พันโชติ  ภรรยา ชื่อ นาก  มีบุตร 2 คนชื่อ ชม และ ชื่น  เมื่อนากเสียชีวิต  พันโชติคิดมีภรรยาใหม่ เกิดปีศาจชื่อ นาก เที่ยวหลอกหลอนผู้คน  กลางคืนก็มีคนเห็นเดินอยู่ริมคอกกระบือ เที่ยวหลอกผู้ร้ายที่จะมาลักกระบือ และช่วยตักน้ำให้พันโชติเต็มตุ่มทุกคืน  ชาวบ้านเชื่อว่า เป็นปีศาจนาก เพราะเมื่อนากมีชีวิตนั้น เป็นผู้หญิงที่ขี้หึงมาก

นายวัดและนายทองอินไม่เชื่อว่าเป็นผีจริง จึงไปสืบเรื่องจากนายเปรม เพื่อนบ้านพันโชติทราบว่ามีจดหมายจากนากถึงพันโชติ  บอกว่าไม่มีเจตนาจะทำร้ายใคร และห้ามพันโชติคิดมีภรรยาใหม่  นายอินสอบถามเรื่องลายมือ  ทราบว่าพันโชติ มักอาศัยให้นายชมช่วยเขียนจดหมาย  นายชมเคยพูดว่า ไม่อยากให้พ่อมีภรรยาใหม่ เพราะกลัวเรื่องทรัพย์สมบัติ และชวนนายปริก ลูกชายนายเปรมไปดูผีด้วยกัน  นายวัดและนายอินไปที่บ้านพันโชติ สังเกตเห็นหลังเรือนมีสะพานไม้ท่อนเดียว ต่อไปคือ คอกกระบือและโรงนา  พันโชติเล่าว่านายชมเป็นคนนำจดหมายมาให่้ สั่งให้หาของกินไว้ พอรุ่งเช้าก็มีร่องรอย  ตัวเขาเองเคยเห็นผู้หญิงห่มผ้าคาดอกตักน้ำในคูมาใส่ตุ่ม  พอเดินตามหญิงนั้นก็หายไปใต้ถุนเรือนและมีหญิงที่แต่งกายเหมือนกันปรากฏที่คูฝั่งตรงข้ามก่อนหายวับไปในเวลาที่รวดเร็วมาก

นายอินบอกพันโชติว่า นายวัดเป็นหมอปีศาจ  นายทองอินออกอุบายให้พันโชติไปตักน้ำที่กลางแม่น้ำจอกหนึ่ง เทียนขี้ผึ้งจากพระเล่มหนึ่ง สายสิญจน์กลุ่มหนึ่ง  หญ้าคากำมือหนึ่ง  เพื่อถ่วงเวลาสำรวจรอบตัวเรือนและวางแผนเมื่อเสร็จพิธี  โดยนายวัดแอบอยู่ใต้ถุนริมโอ่งน้ำ  เมื่อได้ยินเสียงตักน้ำใส่ตุ่ม  นายทองอินก็ลงไปดู ผีนากจึงหนีไปปรากฏตัวฝั่งตรงข้าม  นายวัดก็วิ่งข้ามสะพานไม้กระด่านสามแผ่นที่เตรียมไว้ไปจับผีได้ และจูงมาพบกับผีที่ตักน้ำ พบว่า เป็นนายชมกับนายปริก

นายชมสารภาพว่า อยากกินขนมและนึกสนุก อีกทั้งไม่อยากให้พ่อมีภรรยาใหม่ นายวัดและนายอินขอให้ทั้งสองสัญญาว่า จะเลิกทำเป็นผี  มิฉะนั้นจะบอกนายพันและนายเปรม  ก่อนปล่อยตัวทั้งสองไป  จากนั้นมาก็ไม่ปรากฏปีศาจนากมารบกวนใครอีกต่อไป

พิ่มเติม และตอบ ตามความคิดเห็น

ประโยชน์ หรือข้อคิดของเรื่อง

1. ตามเนื้อเรื่องก็สะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อว่า ผีไม่มีจริง และการจะเชื่อเรื่องอะไร ควรยึดในหลักฐานหรือข้อเท็จจริงที่ปรากฏ มากกว่าข่าวลือ หรือความรู้สึก

2. ตามเนื้อเรื่อง ก็จะเห็นในส่วนของการให้โอกาสคน เช่นตอนที่นายทองอินไม่ได้จับเจ้าเด็กสองคนที่ทำให้เกิดเหตุวุ่นวายไปให้ทางการ

3. ข้อคิดทั้งหมดในเรื่อง  จากมุมมองผู้อ่าน ในตัวบทอ่าน ก็จะพบว่า รัชกาลที่ 6 (ผู้แต่ง) ได้ให้นายวัดพูดแสดงเกี่ยวกับลักษณะของตัวละครเอก คือนายทองอิน ว่าเป็นใคร ทำงาน ทำการอะไร แต่ทั้งนี้ นายวัดเอง ก็ใช้คำพูดว่า ทั้งนี้  "ข้าพเจ้าได้รับอนุญาติของนายทองอินแล้วให้ขยาย" ในหน้าที่ 21 นั่นน่าจะหมายถึงให้พูดเกี่ยวกับตัวนายทองอินได้ นั่นเอง " รวมๆ ก็น่าจะแปลหรือสะท้อนได้ว่า การจะพูดถึงใครข้างหลัง ก็ควรได้รับอนุญาติก่อน ถึงจะถูกต้อง จุดนี้อาจสะท้อนให้เห็นว่าการพูดถึงคนอื่น อาจมีมาก จนดูเป็นปกติ และการให้ข่าวลือ คงเยอะ จนต้องมีการให้ตัวอย่างที่ถูกต้องคือการได้รับอนุญาติให้พูด จากเจ้าตัวก่อน

4. อีกมุมมองหนึ่ง น่าจะเป็นการสอนคนให้รู้จักใช้วิจารณญานในการฟังและเชื่อ มากกว่าการฟังอย่างงมงาย โดยไม่ตรวจสอบหรือพิสูจน์ 

มีคำถามที่ถามมาว่า   นายทองอินทำอาชีพอะไร 

คำตอบอยู่ในหน้า 21  ว่านายทองอินทำการคล้ายพลตระเวนลับ (นักสืบหรือสายสืบในปัจจุบัน)

วันที่เผยแพร่ : 02 มิ.ย. 63

พระราชนิพนธ์ ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.6) ตั้งแต่สมัยเป็น มกุฏราชกุมาร ในนาม “นายแก้ว นายขวัญ” เกี่ยวกับการสืบคดีของ นายทองอิน รัตนะเนตร์ กับนายวัด คู่หูของเขา

“นาก” ภรรยาของพันโชติตายจากไปแต่ยังมีคนเหห็นเห็ยวิญญาณของเธอวนเวียนไม่ไปไหน สร้างความปวดหัวให้พันโชติและทำให้ชาวบ้านหวาดกลัว นายทองอิน จึงต้องบุกบ้านพันโชติเพื่อสืบหาและไขปริศนาเบื้องหลังการปรากฏตัวของ “นากพระฌขนงที่สอง”

เนื้อเรื่องย่อ

นิทานทองอิน ตอน นาคพระโขนงที่สอง

เรื่องนี้เกิดขึ้นที่บางพระโขนง โดยเกิดที่บ้านของนายพันโชติ ซึ่งเป็นผู้ที่มีเงิน ภรรยาของนาย

พันโชติที่ชื่อว่านากนั้นได้ถึงแก่กรรมไปแล้วประมาณปีเศษ นายพันโชติและนากมีบุตรชายอยู่สองคน

นายพันโชติคิดจะมีภรรยาใหม่แต่ก็ไม่มีใครกล้า เพราะรู้ว่ามีผีนางนากอยู่ที่บ้านและได้เทียวมาหลอกหลอน

ผู้คน มักมาปรากฏตัวให้คนในบ้านเห็นอยู่เสมอ หลังจากที่นายทองอินได้ทราบข่าวก็นึกอยากที่จะสืบเล่น

สนุก ๆ จึงชวนนายวัดไปเป็นเพื่อน เมื่อไปถึงก็ได้สอบถามจากเพื่อนบ้านของนายพันโชติผู้หนึ่ง ชื่อว่า

นายเปรม ซึ่งได้เล่าให้นายทองอินฟังว่าลูกของนายพันโชติที่ชื่อว่านายชม อายุ ๑๕ – ๑๖ ปี และนายชื่น

อายุอ่อนกว่านายชม ๒ ปีนั้นไม่อยากให้พ่อมีภรรยาใหม่ และนายชมก็ได้ชวนลูกของนายเปรมที่ชื่อว่า ปริก

ให้ไปดูผีด้วยกัน หลังจากนั้น นายอินและนายวัดก็ได้ไปที่บ้านของนายพันโชติเพื่อสอบถามเรื่องราว ก็ได้

ความว่านายพันโชติเคยเห็นผีนางนากปรากฏตัวอยู่บริเวณใต้ถุนเรือน และบริเวณคอกควาย หลังจากที่นาย

ทองอินได้รับฟังเรื่องราวก็ขบคิดถึงความเป็นไปได้ของเรื่องนี้ แล้วจึงวางแผนแนะนานายพันโชติว่า นาย

วัดเป็นหมอปีศาจ ซึ่งนายพันโชติก็ได้ให้ความสนใจเป็นอย่างมากและได้เอ่ยปากขอความช่วยเหลือ นาย

ทองอินก็คิดแผนการต่อไป โดยได้แจ้งว่าต้องการอุปกรณ์ในการทาพิธีไล่ปีศาจ ขอให้นายโชติและนายชม

ช่วยออกไปหาอุปกรณ์ที่จาเป็นต้องใช้ด้วย ระหว่างนั้นนายทองอินก็อาศัยจังหวะนี้สารวจบ้าน ตลอดจน

ห้องต่างๆทาให้นายทองอินรู้ทันทีว่าใครเป็นผู้วางแผนปลอมตัวนางนากขึ้นมา จึงคิดวิธีวางแผน จับตัวผู้

วางแผนนี้ โดยได้นัดแนะกับนายวัด ให้นายอินเป็นผู้จับผีที่อยู่ใต้ถุนเรือน ส่วนนายวัดเป็นผู้จับผีที่อยู่อีก

ฟากหนึ่ง เมื่อจับผีปลอมทั้ง ๒ คนได้แล้ว ปรากฏว่าผีที่อยู่ใต้ถุนเรือนคือ นายชม ส่วนผีที่อยู่อีกฟากหนึ่ง

คือ ปริก ลูกของนายเปรมนั่นเอง หลังจากนั้นนายทองอินก็ได้สอบถามเหตุผลของนายชมที่ปลอมตัวเป็นผี

ก็ได้ความว่า ตนไม่อยากให้พ่อมีภรรยาใหม่ นายทองอินจึงให้สัญญาว่าจะไม่บอกนายพันโชติเรื่องนี้ แต่

ต้องให้นายชมรับปากว่าจะไม่ปลอมเป็นผีมาหลอกพ่ออีก ซึ่งนายชมก็ให้สัญญาหลังจากนั้นก็ไม่มีปีศาจมา

ลักษณะสําคัญของนิทานทองอินคืออะไร

นิทานทองอิน ใช้ถ้อยคําทีÁ เป็น สํานวนเก่าอยู่บ้าง การบรรยายฉาก และเหตุการณ์มีลักษณะคล้าย ครูวิไลพร วิไลลักษณ์ และเหตุการณ์มีลักษณะคล้าย นวนิยายหรือเรืÁ องสัËน จึงเป็น งานเขียนทีÁ น่าติดตามมาก

ข้อคิดที่ได้จากการอ่านนิทานทองอินคืออะไร

ผลของเหตุการณ์ เราต้องมีสติ อย่าเชื่ออะไรง่ายๆ ตามที่ได้ฟังหรือได้เห็น เท่านั้น ต้องคิดใคร่ครวญหาเหตุผลและพิสูจน์ให้ได้คำตอบ ที่แท้จริง

เรื่อง “นายทองอิน” เป็นวรรณกรรมเพื่อความบันเทิงประเภทใด

นิทานทองอินเป็นนิทานชุดสืบสวนสอบสวน มีหลายคดี เช่น นาคพระโขนงที่สอง เข็มร้อยดอกไม้ เป็นต้น

นิทานทองอิน เป็นพระราชนิพนธ์ในรัชกาลใด

ชื่อผู้แต่ง : พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ชื่อเรื่อง : ประชุมนิทานพระราชนิพนธ์รัชกาลที่ ๖ (นิทานทองอิน ภาคที่ ๒)