การวิจัยประเภท ใด ที่มีจุด เน้น ต้องการ สร้าง องค์ ความรู้ ใน แต่ละ ศาสตร์

ประเภทของการวิจัย

การที่จะแบ่งการวิจัยออกเป็นกี่ประเภทนั้นขึ้นอยู่กับเกณฑ์ที่ใช้ในการแบ่งว่าจะยึดถือสิ่งใดเป็นเกณฑ์หรือเป็นหลัก ทั้งนี้เพราะการใช้เกณฑ์ต่างกัน ก็จะแบ่งการวิจัยออกเป็นประเภทต่าง ได้ไม่เหมือนกัน ด้วยเหตุนี้ประเภทของการวิจัยจึงแบ่งกันได้หลายแบบเพราะขึ้นอยู่กับเกณฑ์ที่ใช้ในการแบ่งดังกล่าวแล้ว ต่อไปนี้จะขอกล่าวถึงประเภทของการวิจัยโดยใช้เกณฑ์ต่าง ๆ กัน

1. แบ่งตามจุดมุ่งหมายของการวิจัย

การแบ่งประเภทของการวิจัยโดยใช้จุดมุ่งหมายของการวิจัยเป็นเกณฑ์ในการแบ่งนั้น อาจแบ่งได้เป็น 3 ประเภทดังนี้

1. การวิจัยเชิงพยากรณ์ (Predictive research) เป็นการวิจัยเพื่อที่จะนำผลที่ได้นั้นไปใช้ทำนายสิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคต เช่น การวิจัยเรื่อง “การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์กับคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา” การวิจัยนี้ต้องการจะทดสอบว่า ผลการเรียนวิชาคณิตศาสตร์มีความคล้อยตามกันหรือสัมพันธ์กันกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของวิชาวิทยาศาสตร์หรือไม่ ทั้งนี้เพื่อจะนำผลที่ได้ไปทำนายว่านักเรียนที่มีผลการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ดีจะเรียนวิชาคณิตศาสตร์ได้ดีเพียงใด แต่การพยากรณ์นี้เป็นการพยากรณ์นักเรียนทั้งกลุ่ม มิได้พยากรณ์เป็นรายบุคคล และมิได้หมายความว่าจะถูกต้องเสมอไป เพราะอาจมีสาเหตุอื่นมากมายที่ทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนในการพยากรณ์ได้

2. การวิจัยเชิงวินิจฉัย (Diagnostic research) เป็นการวิจัยเพื่อศึกษาสาเหตุของปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับบุคคลใดบุคคลหนึ่ง กลุ่มชน หรือชุมชน เพื่อให้เกิดความเข้าใจในปัญหา เข้าใจในพฤติกรรม ตลอดจนเข้าใจในสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาอันจะเป็นประโยชน์ในการช่วยเหลือ อนุเคราะห์ และทำการแก้ไขต่อไป การวิจัยประเภทนี้นักสังคมสงเคราะห์นิยมใช้กันมาก เพื่อจะได้แก้ไขปัญหาได้ถูกจุด

3. การวิจัยเชิงอรรถาธิบาย (Explanatory research) เป็นการวิจัยเพื่อศึกษาเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้วว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร มีสาเหตุมาจากอะไร และทำไมจึงเป็นเช่นนั้น การวิจัยประเภทนี้จะพยายามชี้ให้เห็นว่าตัวแปรใดสัมพันธ์กับตัวแปรใดบ้าง และสัมพันธ์กันอย่างไรในเชิงของเหตุและผล

2. แบ่งตามประโยชน์ของการวิจัย

การแบ่งประเภทของการวิจัยโดยยึดประโยชน์ที่ได้จากการวิจัยเป็นเกณฑ์นั้น เราจะต้องพิจารณาว่าในการทำการวิจัยมุ่งที่จะนำผลไปใช้ประโยชน์หรือไม่ ดังนั้นจึงสามารถแบ่งการวิจัยออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้

1. การวิจัยพื้นฐาน (Basic research) หรือการวิจัยบริสุทธิ์ (Pure research) หรือการวิจัยเชิงทฤษฎี (Theoretical research) เป็นการวิจัยที่เสาะแสวงหาความรู้ใหม่เพื่อสร้างเป็นทฤษฎี หรือเพื่อเพิ่มพูนความรู้ต่าง ๆ ให้กว้างขวางสมบูรณ์ยิ่งขึ้นโดยมิได้คำนึงว่าความรู้นั้นจะนำไปแก้ปัญหาใดได้หรือไม่ การวิจัยประเภทนี้มีความลึกซึ้งและสลับซ้อบซ้อนมาก เช่น การวิจัยทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ เป็นต้น

2. การวิจัยประยุกต์ (Applied research) หรือการวิจัยเชิงปฏิบัติ (Action research) หรือการวิจัยเพื่อหาแนวทางปฏิบัติ (Operational research) เป็นการวิจัยที่มุ่งเสาะแสวงหาความรู้ และประยุกต์ใช้ความรู้หรือวิทยาการต่าง ๆ ให้เป็นประโยชน์ในทางปฏิบัติหรือเป็นการวิจัยที่นำผลที่ได้ไปแก้ปัญหาโดยตรงนั่นเอง การวิจัยประเภทนี้อาจนำผลการวิจัยพื้นฐานมาวิจัยต่อแล้วทดลองใช้ เช่น การวิจัยเกี่ยวกับอาหาร ยารักษาโรค การเกษตร การเรียนการสอน เป็นต้น ดังนั้นเราจึงไม่สามารถที่จะแยกการวิจัยพื้นฐานและการวิจัยประยุกต์ออกจากกันได้โดยเด็ดขาด

3. แบ่งตามวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล

วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อนำมาใช้ในการวิจัยนั้นมีหลายวิธี ดังนั้นจึงมีผู้แบ่งประเภทของการวิจัยตามวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล ซึ่งแบ่งได้ดังนี้

1. การวิจัยจากเอกสาร (Documentary research) เป็นการวิจัยที่ผู้วิจัยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร รายงาน จดหมายเหตุ ศิลาจารึก แล้วเสนอผลในเชิงวิเคราะห์ ส่วนใหญ่เอกสารที่ผู้วิจัยเก็บรวบรวมนี้จะอยู่ในห้องสมุด ดังนั้นจึงอาจเรียกการวิจัยประเภทนี้อีกอย่างหนึ่งว่า การวิจัยจากห้องสมุด (Library research)

2. การวิจัยจากการสังเกต (Observation research) เป็นการวิจัยที่ผู้วิจัยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสังเกต การวิจัยประเภทนี้นิยมใช้มากทางด้านมานุษยวิทยา ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการสังเกตพฤติกรรมของบุคคลในสังคมในแง่ของสถานภาพ (Status) และบทบาท (Role)

3. การวิจัยแบบสำมะโน (Census research) เป็นการวิจัยที่ผู้วิจัยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากทุก ๆ หน่วยของประชากร

4. การวิจัยแบบสำรวจจากตัวอย่าง (Sample survey research) เป็นการวิจัยที่ผู้วิจัยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง

5. การศึกษาเฉพาะกรณี (Case study) การศึกษาเฉพาะกรณีเป็นการวิจัยที่นักสังคมสงเคราะห์นิยมใช้มาก ที่เรียกว่าการศึกษาเฉพาะกรณีก็เพราะเป็นการศึกษาเรื่องที่สนใจในขอบเขตจำกัดหรือแคบ ๆ และใช้จำนวนตัวอย่างไม่มากนัก แต่จะศึกษาอย่างลึกซึ้งในเรื่องนั้น ๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อเท็จจริงที่จะทำให้ทราบว่าบุคคลนั้นหรือกลุ่มบุคคลนั้นมีความบกพร่องในเรื่องใด เนื่องมาจากสาเหตุใด เพื่อจะได้หาทางแก้ไขหรือช่วยเหลือต่อไป

6. การศึกษาแบบต่อเนื่อง (Panel study) เป็นการศึกษาที่มีการเก็บข้อมูลเป็น ระยะ ๆ เพื่อดูการเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลาของกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งการศึกษาแบบต่อเนื่องนี้จะช่วยให้เข้าใจและทราบถึงลักษณะการเปลี่ยนแปลงได้เป็นอย่างดี

7. การวิจัยเชิงทดลอง (Experimental research) เป็นการวิจัยที่ผู้วิจัยเก็บข้อมูลมาจากการทดลอง ซึ่งเป็นผลมาจากการกระทำ (Treatment) โดยมีการควบคุมตัวแปรต่าง ๆ ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้

4. แบ่งตามลักษณะการวิเคราะห์ข้อมูล

ถ้ายึดลักษณะของการวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยแล้ว อาจแบ่งการวิจัยได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้

1. การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) เป็นการวิจัยที่นำเอาข้อมูลทางด้านคุณภาพมาวิเคราะห์ ข้อมูลทางด้านคุณภาพเป็นข้อมูลที่ไม่เป็นตัวเลขแต่จะเป็นข้อความบรรยายลักษณะสภาพเหตุการณ์ของสิ่งต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง และการเสนอผลการวิจัยก็จะออกมาในรูปของข้อความที่ไม่มีตัวเลขทางสถิติสนับสนุนเช่นเดียวกัน การวิจัยประเภทนี้จึงมุ่งบรรยายหรืออธิบายเหตุการณ์ต่าง ๆ โดยอาศัยความคิดวิเคราะห์ เพื่อประเมินผลหรือสรุปผลนั่นเอง

2. การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) เป็นการวิจัยที่นำเอาข้อมูลเชิงปริมาณมาวิเคราะห์ กล่าวคือใช้ตัวเลขประกอบการวิเคราะห์ สรุปผล และการเสนอผลการวิจัยก็ออกมาเป็นตัวเลขเช่นเดียวกัน ดังนั้น การวิจัยประเภทนี้จึงมุ่งที่จะอธิบายเหตุการณ์ต่าง ๆ โดยอาศัยตัวเลขยืนยันแสดงปริมาณมากน้อยแทนที่จะใช้ข้อความบรรยายให้เหตุผล

อนึ่งการวิจัยที่ดีนั้นไม่ควรใช้แบบใดแบบหนึ่งโดยเฉพาะ เพราะจะทำให้ผลที่ได้ไม่แจ่มชัดเท่าที่ควร ดังนั้นในการปฏิบัติมักจะประยุกต์การวิจัยทั้ง 2 ประเภทนี้เข้าด้วยกัน เพื่อให้ผลการวิจัยมีทั้งเหตุและผลและมีตัวเลขสนับสนุนอันจะทำให้ผลการวิจัยน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น

5. แบ่งตามลักษณะวิชาหรือศาสตร์

เมื่อยึดลักษณะวิชาหรือศาสตร์เป็นเกณฑ์ในการแบ่งประเภทของการวิจัย จะแบ่งการวิจัยออกได้เป็น 2 ประเภทดังนี้

1. การวิจัยทางวิทยาศาสตร์(Scientific research) เป็นการวิจัยที่เกี่ยวกับปรากฏการณ์ ธรรมชาติของสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต ทั้งที่มองเห็นและมองไม่เห็น การวิจัยประเภทนี้ได้กระทำกันมานานแล้ว และก่อให้เกิดประโยชน์ต่อมวลมนุษย์อย่างมากมายเช่น การค้นพบยา รักษาโรค การค้นพบสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ เป็นต้น นอกจากนี้การวิจัยทางวิทยาศาสตร์ยังสามารถใช้ แก้ปัญหาที่เกิดจากธรรมชาติได้อีกด้วย เนื่องจากการวิจัยทางวิทยาศาสตร์มีเครื่องมือและอุปกรณ์ที่เที่ยงตรงและมีกฎเกณฑ์แน่นอน ตลอดจนสามารถควบคุมการทดลองได้เพราะทำการทดลองในห้องปฏิบัติการ จึงทำให้ผลการวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์ได้รับความเชื่อถือมาก การวิจัยทาง วิทยาศาสตร์อาจจำแนกตามสาขาต่าง ๆ ได้ดังนี้

1.1 สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตศาสตร์ เช่น ฟิสิกส์ คณิตศาสตร์ ฯลฯ

1.2 สาขาวิทยาศาสตร์ เช่น ศิลยศาสตร์ รังสีวิทยา ฯลฯ

1.3 สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช เช่น อินทรีย์เคมี เภสัชศาสตร์ ฯลฯ

1.4 สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา เช่น สัตวศาสตร์ วนศาสตร์ ฯลฯ

1.5 สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย เช่น วิศวกรรมชลประทาน วิศวกรรมไฟฟ้า ฯลฯ

2. วิจัยทางสังคมศาสตร์ (Social research) เป็นการวิจัยที่เกี่ยวกับสภาพแวดล้อม สังคม วัฒนธรรม และพฤติกรรมของมนุษย์ เช่น การวิจัยด้านปรัชญา สังคมวิทยาศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ เป็นต้น การวิจัยทางสังคมศาสตร์นี้แตกต่างกับการวิจัยทางวิทยาศาสตร์มาก เนื่องจากสังคมศาสตร์เป็นวิชาที่ว่าด้วยสังคม สิ่งแวดล้อม และพฤติกรรมของมนุษย์ ซึ่งวัดไม่ได้โดยตรงและควบคุมได้ยาก แต่มนุษย์ก็ได้พยายามวัดโดยใช้เครื่องมือวัดทางอ้อม เช่น ใช้แบบทดสอบ แบบสอบถาม แบบวัดเจตคติ ฯลฯ และได้นำเอาวิธีการทางวิทยาศาสตร์มาช่วยในการวิจัย ทำให้ผลการวิจัยเป็นที่น่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น การวิจัยทางสังคมศาสตร์อาจจำแนกตามสาขาต่าง ๆ ได้ดังนี้

2.1 สาขาปรัชญา เช่น วรรณคดี การศึกษา ฯลฯ

2.2 สาขานิติศาสตร์ เช่น กฎหมายแพ่ง กฎหมายการปกครอง ฯลฯ

2.3 สาขารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ เช่น การเมือง การปกครอง การบริหารราชการทั่วไป ฯลฯ

2.4 สาขาเศรษฐศาสตร์ เช่น การเงินและการคลัง เศรษฐศาสตร์การพัฒนา ฯลฯ

2.5 สาขาสังคมวิทยาศาสตร์ เช่น ประชากรศาสตร์ พัฒนาชุมชน ฯลฯ

การวิจัยทางสังคมศาสตร์เจริญก้าวหน้าช้ากว่าการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ เพราะว่าปรากฏการณ์ทางสังคมศาสตร์นั้นมีข้อจำกัดหลายประการ เช่น

1) การควบคุมปรากฏการณ์ทางสังคมให้คงที่นั้นทำได้ยาก

2) เมื่อวัฒนธรรมีการเปลี่ยนแปลง ทำให้มนุษย์เปลี่ยนแปลงไปด้วย

3) การทำนายผลบางอย่างล่วงหน้า อาจไม่เกิดผลนั้นขึ้นมาเพราะมนุษย์อาจป้องกันไว้ล่วงหน้าได้

4) การที่จะศึกษาความคิด ความรู้สึกและเจตคติของมนุษย์นั้นทำได้ยากและวัดได้ยาก

5) ปัญหาทางสังคมศาสตร์จะเหมือนกับปัญหาของสามัญชน ทำให้คนทั่วไปคิดว่าวิชาสังคมศาสตร์เป็นวิชาสามัญสำนึกได้

แม้ว่าการวิจัยทางสังคมศาสตร์จะมีข้อจำกัดอยู่หลายประการก็ตาม แต่การวิจัยทางด้านนี้ก็สามารถศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์ได้มากพอสมควร

6. แบ่งตามระเบียบวิธีวิจัย

การแบ่งประเภทการวิจัยโดยยึดระเบียบวิธีวิจัยเป็นเกณฑ์นั้นเป็นที่นิยมใช้กันมาก ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้

1. การวิจัยเชิงประวัติศาสตร์ (Historical research) เป็นการวิจัยเพื่อค้นหาข้อเท็จจริงของเหตุการณ์ที่ผ่านมาแล้วในอดีต โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะบันทึกอดีตอย่างมีระบบ และมีความเป็นปรนัยจากการรวบรวมประเมินผล ตรวจสอบ และวิเคราะห์เหตุการณ์เพื่อค้นหาข้อเท็จจริงในอันที่จะนำมาสรุปอย่างมีเหตุผล การวิจัยประเภทนี้ต้องอ้างอิงเอกสารและวัตถุโบราณที่มีเหลืออยู่ ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วมักไม่ใช้สถิติ สรุปได้ว่าการวิจัยประเภทนี้มุ่งที่จะบอกว่า “เป็นอะไรในอดีต” (What was) เช่น การวิจัยเรื่อง “ระบบการศึกษาของไทยในสมัยสมเด็จพระปิยมหาราช” เป็นต้น

2. การวิจัยเชิงบรรยายหรือพรรณนา (Descriptive research) เป็นการวิจัยเพื่อค้นหาข้อเท็จจริงในสภาพการณ์หรือภาวการณ์ของสิ่งที่เป็นอยู่ในปัจจุบันว่าเป็นอย่างไร การวิจัยประเภทนี้มักจะทำการสำรวจหรือหาความสัมพันธ์ต่าง ๆ เกี่ยวกับเรื่องของความเชื่อ ความคิดเห็น และเจตคติ จึงกล่าวได้ว่าเป็นการวิจัยที่มุ่งจะบอกว่า “เป็นอะไรในปัจจุบัน” (What is) นั่นเองเช่น การวิจัยเรื่อง “เจตคติของครูน้อยที่มีต่อผู้บริหารการศึกษา”

3. การวิจัยเชิงทดลอง (Experimental research) เป็นการวิจัยเพื่อค้นหาความสัมพันธ์เชิงเหตุและผลของปรากฏการณ์ต่าง ๆ การวิจัยประเภทนี้ต้องมีการควบคุมตัวแปรต้น เพื่อสังเกตตัวแปรตามที่เปลี่ยนแปลงไปเพื่อจะได้ทราบว่าอะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดผล ดังนั้นตัวแปรในการวิจัยจึงต้องมีทั้งกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง สรุปได้ว่า การวิจัยประเภทนี้มุ่งที่จะบอกว่า “อะไรอาจจะเกิดขึ้น” (What may be) เช่น การวิจัยเรื่อง “การเปรียบเทียบความมีเหตุผลระหว่างกลุ่มที่สอนเรขาคณิตกับกลุ่มที่สอนตรรกศาสตร์”  

การวิจัยเชิงประวัติศาสตร์ 

การวิจัยเชิงประวัติศาสตร์เป็นวิธีแสวงหาข้อเท็จจริงของสิ่งต่าง ๆ รวมทั้งเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่ผ่านมาแล้วในอดีต โดยอาศัยวิธีการทางวิทยาศาสตร์เพื่อให้การรวบรวมข้อมูล การสืบเสาะหาข้อเท็จจริง การตรวจสอบข้อเท็จจริง การวิเคราะห์สิ่งต่าง ๆ หรือเหตุการณ์ต่าง ๆ ตลอดจนการสรุปผลเป็นไปอย่างถูกต้อง สมเหตุสมผล และสามารถนำผลที่ได้มาใช้ในการอธิบายสภาพความเป็นจริงในอดีต หรือบันทึกเหตุการณ์ในอดีตในรูปใหม่ที่มีระบบและมีความเป็นปรนัยยิ่งขึ้น ต่อไปนี้จะขอกล่าวถึงประเด็นสำคัญ ๆ ของการวิจัยเชิงประวัติศาสตร์

1. ชนิดของการวิจัยเชิงประวัติศาสตร์ การวิจัยเชิงประวัติศาสตร์เป็นการวิจัยที่พยายามวิเคราะห์เหตุการณ์ต่าง ๆ เพื่อหาข้อเท็จจริงในอดีต นักวิจัยได้แบ่งการวิจัยออกเป็น 3 ชนิดคือ

1.1 การศึกษาเป็นรายกรณี เป็นการศึกษาที่ชี้เฉพาะลงไปโดยอาจศึกษากับบุคคลใดบุคคลหนึ่งหรือสถาบัน เอกสารหรือกฎหมายฉบับใดฉบับหนึ่งก็ได้

1.2 การศึกษาพัฒนาการ เป็นการศึกษาความแตกต่างของเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งในระยะใดระยะหนึ่ง โดยอาจศึกษาเหตุการณ์ทั้งหมดหรือเพียงบางส่วนของเหตุการณ์นั้นก็ได้

1.3 การศึกษาความเปลี่ยนแปลง การศึกษาแบบนี้คล้ายคลึงกับแบบที่สอง แต่เป็นการเปรียบเทียบลักษณะการเปลี่ยนแปลงในเรื่องราวหรือเหตุการณ์ในอดีตกับเหตุการณ์ในปัจจุบัน เช่น การเปลี่ยนแปลงเป้าหมายทางการศึกษา โดยในอดีตการศึกษาต้องการเตรียมคนเข้ารับราชการ แต่ปัจจุบันเป็นการเตรียมคนเข้าประกอบอาชีพต่าง ๆ หลายอาชีพ ไม่ชี้เฉพาะแต่การเข้ารับราชการเท่านั้น

2. ความมุ่งหมายทั่วไปของการวิจัยเชิงประวัติศาสตร์ โดยทั่วไปแล้วการวิจัยเชิงประวัติศาสตร์จะมีความมุ่งหมายดังนี้

2.1 เพื่อค้นหารากฐานหรือจุดกำเนิดของสิ่งที่ต้องการศึกษาวิจัย

2.2 เพื่อศึกษาและชี้ให้เห็นถึงสภาพความเป็นจริง ลักษณะการเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์หรือปรากฏการณ์ในอดีต

2.3 เพื่อให้เข้าใจสภาพเหตุการณ์ในปัจจุบัน อันอาจจะมีสาเหตุมาจากเหตุการณ์ในอดีต ซึ่งจะช่วยให้สามารถตั้งกฎเกณฑ์หรือปรับปรุงงานในปัจจุบันให้มีมาตรฐานได้

2.4 เพื่อใช้เหตุการณ์ในอดีตหรือความสัมพันธ์ของเหตุการณ์ในอดีต เป็นแนวโน้มที่จะชี้บ่งหรือทำนายเหตุการณ์ในอนาคตที่คล้ายคลึงกัน

2.5 เพื่อค้นหาข้อสมมติฐานที่ตั้งขึ้นบนรากฐานของความรู้และประสบการณ์ในอดีตที่จะนำไปใช้ในอนาคตได้

2.6 เพื่อศึกษาต้นตอของทฤษฎีต่าง ๆ อันจะทำให้เกิดความกระจ่างในเรื่องราวหรือทฤษฎีที่สำคัญ ๆ ในปัจจุบัน

2.7 เพื่อให้เกิดความรู้สึกซาบซึ้งในเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ และช่วยให้เกิดความรู้สึกที่ดีต่อเหตุการณ์ปัจจุบัน และเรื่องราวที่จะเกิดในอนาคต

2.8 เพื่อเสริมสร้างความรู้ความจริงให้มากขึ้นตามลำดับ และเป็นการตอบสนองความอยากรู้อยากเห็นของบุคคลที่มีต่อเหตุการณ์หรือเรื่องราวในอดีต

2.9 เพื่อชี้ให้เห็นถึงข้อดีข้อเสียของเหตุการณ์ทั้งในอดีตและปัจจุบัน

3. แหล่งที่มาของข้อมูลในการวิจัยเชิงประวัติศาสตร์ ในการวิจัยเชิงประวัติศาสตร์จะเก็บรวบรวมข้อมูลทางประวัติศาสตร์ ซึ่งจะได้จากแหล่งของข้อมูล 2 ประเภทด้วยกันคือ

3.1 แหล่งของข้อมูลชั้นต้นหรือข้อมูลปฐมภูมิ (Primary sources) เป็นแหล่งของข้อมูลที่ผู้วิจัยได้จากหลักฐานเดิมหรือหลักฐานที่เป็นต้นตอ โดยผู้วิจัยเป็นผู้สังเกตการณ์ที่บันทึกโดยตรงหรือเป็นข้อมูลที่ได้จากคำบอกเล่า การบันทึกหรือรายงานของคนที่มีส่วนร่วมหรือเป็นพยานในเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์นั้น แหล่งของข้อมูลชั้นต้น ได้แก่

1) เอกสารต่าง ๆ (Documents) หรือบันทึกที่รายงานโดยผู้อยู่ในเหตุการณ์หรือเป็นพยานของเหตุการณ์ ข้อมูลชั้นต้นที่จัดอยู่ในประเภทนี้ได้แก่

– เอกสารหรือบันทึกของทางราชการ เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับการเสียภาษี กฎหมายต่าง ๆ ประกาศ ระเบียบ สถิติต่าง ๆ ประกาศนียบัตร คำพิพากษา คำให้การ สารตรา โฉนด ใบอนุญาต ใบรับรอง เป็นต้น

– เอกสารหรือบันทึกของคนในสมัยนั้น เช่น จดหมาย จดหมายเหตุ ไดอารี สัญญาต่าง ๆ พินัยกรรม หนังสือ จุลสาร เรื่องราวในหนังสือพิมพ์ นิตยสารหรือสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ บันทึกของสำนักงาน อัตชีวประวัติ คำสอน งานวิจัย เป็นต้น

– หลักฐานทางภาพและเสียงในประวัติศาสตร์ เช่น ภาพนิ่ง ภาพยนตร์ ภาพถ่าย ภาพวาด แผนที่ แผนภูมิ เทปบันทึกเสียง เป็นต้น

2) ซากโบราณวัตถุ (Remains or Relics) ได้แก่ ซากสิ่งปรักหักพัง ซากพืช ซากสัตว์ที่กลายเป็นหิน โครงกระดูก เครื่องมือเครื่องใช้ ภาพชนะ อาวุธ เครื่องประดับ เครื่องตกแต่ง ถ้วย โล่ เสื้อผ้า เหรียญต่าง ๆ เหรียญตรา อาคาร อนุสาวรีย์ เป็นต้น แหล่งข้อมูลต่าง ๆ เหล่านี้อาจเป็นหลักฐานที่ชี้บ่งถึงการดำเนินชีวิต ความเชื่อ ประเพณี และวัฒนธรรมของคนในสมัยนั้นด้วย

3) คำให้การหรือหลักฐานทางคำพูด (Oral testimony) ได้แก่ เรื่องที่พูดโดยพยานหรือผู้มีส่วนร่วมในเหตุการณ์

3.2 แหล่งของข้อมูลชั้นรองหรือข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary sources) เป็นแหล่งของข้อมูลที่ได้จากรายงาน หรือถ่ายทอดมาจากข้อมูลชั้นต้น หรือข้อมูลปฐมภูมิ คือข้อมูลหรือหลักฐานนั้นถูกรายงานโดยผู้ที่ไม่ได้มีส่วนร่วมหรือเป็นพยานในเหตุการณ์นั้น ผู้เขียนจะรายงานหรือถ่ายทอดในสิ่งที่ผู้อยู่ในเหตุการณ์พูด หรือเขียน หรือถ่ายทอดในลักษณะต่าง ๆ ไว้ หรืออาจจะถ่ายทอดมาหลายทอดก็ได้ ดังนั้นการนำมาใช้ในการวิจัยจึงต้องระมัดระวังมากเป็นพิเศษ แหล่งของข้อมูลชั้นรองได้แก่ ตำราเรียนทางประวัติศาสตร์ หนังสือพงศาวดาร วารสาร สารานุกรม เป็นต้น

โดยทั่วไปแล้ว นักประวัติศาสตร์ นักวิจัยเชิงประวัติศาสตร์ มักจะใช้ข้อมูลชั้นต้นหรือข้อมูลปฐมภูมิ เพราะมีความเชื่อถือได้มากกว่าและจะใช้ข้อมูลชั้นรองหรือข้อมูลทุติยภูมิก็ต่อเมื่อไม่สามารถจะหาข้อมูลชั้นต้นได้

4. ลักษณะของการวิจัยเชิงประวัติศาสตร์ ลักษณะที่สำคัญของการวิจัยเชิงประวัติศาสตร์ พอจะสรุปได้ดังนี้

4.1 การวิจัยเชิงประวัติศาสตร์พยายามอธิบายเหตุการณ์ในอดีตเพื่อประโยชน์ของการอธิบายเหตุการณ์ในปัจจุบัน และอาจใช้ทำนายเหตุการณ์ในอนาคตได้

4.2 การวิจัยเชิงประวัติศาสตร์มักไม่ใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล แต่จะใช้วิธีการวิพากษ์วิจารณ์ข้อมูลเพื่อตีความหมายข้อมูลและสรุปผล

4.3 ลักษณะข้อมูลของการวิจัยเชิงประวัติศาสตร์จะเป็นหลักฐานต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในอดีตและข้อมูลส่วนใหญ่จะได้มาจากแหล่งทุติยภูมิมากกว่าแหล่งปฐมภูมิ

4.4 การวิจัยเชิงประวัติศาสตร์เป็นการวิจัยที่ใช้เอกสารและห้องสมุดเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นจึงอาจเรียกการวิจัยนี้อีกอย่างหนึ่งว่า การวิจัยเอกสาร (Documentary research) หรือการวิจัยห้องสมุด (Library research)

4.5 การวิจัยเชิงประวัติศาสตร์ผู้วิจัยไม่สามารถสร้างสถานการณ์เพื่อทดสอบผลการวิจัยได้

4.6 การวิจัยเชิงประวัติศาสตร์ผู้วิจัยไม่มีส่วนร่วมในสถานการณ์ที่เกิดขึ้น เพียงแต่นำเอาสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วมาวิเคราะห์เท่านั้น

4.7 หลักฐานต่าง ๆ ที่ใช้ในการวิจัยเชิงประวัติศาสตร์นั้นเกิดขึ้นเองตามเหตุการณ์ ไม่สามารถจัดให้เป็นไปตามจุดประสงค์ของผู้วิจัยได้

5. ลำดับขั้นของการวิจัยเชิงประวัติศาสตร์

ระเบียบวิธีวิจัยเชิงประวัติศาสตร์ มีลำดับขั้นในการทำดังนี้

5.1 เลือกหัวข้อปัญหาที่จะทำการวิจัย จุดประสงค์ก็คือ

1) เพื่อช่วยในการกำหนดขอบข่ายของงานวิจัย

2) เพื่อช่วยให้สามารถพิจารณาได้ว่าหัวข้อปัญหาในการวิจัยนี้เหมาะสมหรือไม่ จะหาข้อมูลได้จากที่ไหน

3) เพื่อช่วยให้สามารถพิจารณาได้ว่า ผลการวิจัยจะเป็นประโยชน์หรือมีคุณค่าต่อการศึกษาหรือไม่

5.2 ตั้งจุดมุ่งหมายของการวิจัย โดยอาจจะตั้งเป็นสมมติฐานเพื่อช่วยให้สามารถกำหนดรูปแบบของการวิจัยได้

5.3 รวบรวมข้อมูล ซึ่งอาจจะได้จากแหล่งปฐมภูมิหรือแหล่งทุติยภูมิ ในขั้นนี้ผู้วิจัยจะต้องทราบว่า จะศึกษาข้อมูลนั้นได้จากไหน ค้นคว้าได้โดยวิธีใด

5.4 จัดกระทำข้อมูลที่รวบรวมได้ให้เป็นหมวดหมู่เพื่อสะดวกในการวิเคราะห์ วิจารณ์ข้อมูล

5.5 ประเมินผลข้อมูล โดยทำการวิจารณ์หรือประเมินคุณค่าทั้งภายนอกและภายใน

5.6 เขียนรายงานการวิจัย ซึ่งอาจเขียนได้เป็น 2 แบบด้วยกันคือ

1) เสนอตามลำดับเหตุการณ์ก่อนหลัง

2) เสนอตามกรอบหรือโครงร่างของเนื้อหาวิชา

6. การวิจารณ์หรือประเมินคุณค่าข้อมูลในทางประวัติศาสตร์

เนื่องจากการวิจัยเชิงประวัติศาสตร์เป็นการแสวงหาข้อเท็จจริงของสิ่งต่าง ๆ เหตุการณ์ต่าง ๆ ที่ผ่านมาแล้วในอดีต จึงมักต้องใช้ข้อมูลซึ่งมาจากรายงานของผู้ที่อยู่ร่วมในเหตุการณ์หรือพยานในเหตุการณ์ ดังนั้นการวิเคราะห์ข้อมูลจึงจำเป็นจะต้องใช้ความรอบคอบและระมัดระวังมากเป็นพิเศษ เพื่อให้ได้มาซึ่งความจริงในสิ่งนั้น ในการวิจัยเชิงประวัติศาสตร์มีการวิจารณ์หรือประเมินคุณค่าข้อมูลอยู่ 2 แบบคือ

6.1 การวิจารณ์หรือการประเมินภายนอก (External criticism or External appraisal) เป็นการประเมินและพิสูจน์ว่าข้อมูลที่เก็บนั้นเป็นอันเดียวกันกับข้อมูลที่ผู้วิจัยมุ่งจะเก็บหรือไม่ หรือเป็นการพิจารณาว่า “ข้อมูลนั้นเป็นของแท้หรือมีความเป็นจริงหรือไม่” นั่นเอง เช่น เอกสารหรือซากโบราณ วัตถุนั้นเป็นของจริงหรือของปลอมหรือจำลองขึ้นมา จำเป็นจะต้องมี การตรวจสอบและพิสูจน์แหล่งที่มาของข้อมูล เช่น อาจใช้การตรวจสอบลายเซ็น ลายมือ ต้นฉบับ การสะกดคำ การใช้ภาษา สำนวนโวหารในการเขียน ตลอดจนค้นคว้าเอกสารที่เกี่ยวข้องในสมัยเดียวกัน เป็นต้น

ในการวิจารณ์ หรือการประเมินผลภายนอกนี้ อาจพิจารณาได้จาก 3 ประเด็นนี้คือ (กาญจนา มณีแสง. หน้า 103 – 104)

1) สภาพสิ่งแวดล้อมที่มีอิทธิพลทำให้เกิดหลักฐานชิ้นนั้น

2) ความรู้ทั่วไป เช่น สภาพเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นของข้อมูลถูกต้องตรงกับความรู้ของเราหรือไม่

3) มีการดัดแปลง ปลอมแปลง ประดิษฐ์เพิ่มเติมให้บิดเบือนไปจากความเป็นจริงหรือไม่

ในปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ได้พยายามใช้วิธีการทดสอบทางฟิสิกส์และเคมี ในการตรวจสอบอายุของโครงกระดูก กระดาษ ใบลาน หมึก แผ่นหนัง หนังสือ ก้อนหิน โลหะ เสื้อผ้า ฯลฯ ซึ่งเป็นที่ยอมรับว่าสามารถตรวจสอบได้ เช่น การตรวจสอบหาอายุของโครงกระดูกมนุษย์โบราณโดยใช้ C14 ที่บ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี เป็นต้น อันจะช่วยให้เราตัดสินได้ว่าข้อมูลนั้นเป็นของแท้หรือมีความเป็นจริงเพียงใดได้

6.2 การวิจารณ์หรือการประเมินผลภายใน (Internal criticism or Internal appraisal) เป็นการตรวจสอบข้อมูลที่ลึกซึ้งลงไปอีก เพื่อทราบว่า ข้อมูลนั้นมีคุณภาพที่เที่ยงตรงเชื่อถือได้หรือไม่ มีคุณค่าเพียงใด โดยพิจารณาถึงสิ่งที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลนั้นดังนี้

1) พิจารณาผู้เขียนว่าเป็นบุคคลที่เชื่อถือได้หรือไม่ มีความเชี่ยวชาญในเรื่องนั้น ๆ หรือรู้เห็นในเรื่องนั้น ๆ จริงหรือไม่เพียงใด

2) พิจารณาว่าผู้เขียนเขียนในขณะที่มีสภาพจิตใจที่เป็นปกติหรือไม่ เช่น ไม่ได้อยู่ในสภาวะที่ถูกบีบบังคับให้เขียน หรือมีความกดดันทางอารมณ์

3) พิจารณาว่าผู้เขียนบันทึกหลังจากเกิดเหตุการณ์แล้วนานเท่าใด พอจะเชื่อถือได้หรือไม่ว่ายังจำเหตุการณ์นั้นได้

4) พิจารณาว่าเอกสารนั้นมีบรรณานุกรมที่แสดงให้เห็นว่าผู้เขียนได้ค้นคว้ามามากน้อยเพียงใด

5) พิจารณาว่าข้อความที่เขียนนั้นมีอคติเกี่ยวกับศาสนา เชื้อชาติ ลัทธิการเมือง ผลประโยชน์ส่วนตัว หรือสภาวะทางเศรษฐกิจหรือไม่

6) พิจารณาว่าภาษาหรือสำนวนที่ใช้หรือเรื่องราวที่รายงานนั้นอ้างอิงมาจากบุคคลอื่น ๆ หรือเป็นคำพูดของผู้เขียนเอง

7) พิจารณาว่าการเขียนนั้นมีแรงจูงใจในการบิดเบือนความจริงหรือไม่ เช่น การได้รับแหล่งเงินสนับสนุน เป็นต้น

8) พิจารณาว่าเอกสารนั้นพอเพียงทั้งทางด้านคุณภาพและปริมาณที่จะนำมาใช้ในการวิจัยหรือไม่

9) พิจารณาการจัดเรียงหัวข้อว่าวกไปวนมาหรือไม่ และในแต่ละหัวข้อผู้เขียนกล่าวถึงเรื่องนั้น ๆ ละเอียดมากน้อยเพียงใด

10) พิจารณาว่าผู้อื่นเห็นด้วยกับผู้เขียนนั้นหรือไม่

สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ผู้วิจัยจะต้องตรวจสอบอย่างรอบคอบ เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่า เอกสารหรือข้อมูลเหล่านั้นมีความถูกต้องเที่ยงตรงและเชื่อถือได้เพียงใด แต่เมื่อได้พิสูจน์ว่า เอกสารนั้น ๆ มีความถูกต้องเที่ยงตรงแล้ว ย่อมจะเห็นหลักฐานที่เชื่อถือได้

7. ข้อบกพร่องของการวิจัยเชิงประวัติศาสตร์

เราทราบแล้วว่าการวิจัยเชิงประวัติศาสตร์เป็นการค้นหาความจริงทางประวัติศาสตร์ โดยใช้ข้อมูลทางประวัติศาสตร์หรือความจริงที่ผ่านมาแล้ว งานวิจัยทางด้านนี้มักจะพบข้อบกพร่องที่สำคัญคือ

7.1 ปัญหาหรือเรื่องที่จะทำการวิจัยเป็นเรื่องที่กว้างเกินไป

7.2 มักใช้ข้อมูลชั้นรองมากกว่าข้อมูลชั้นต้น

7.3 ข้อมูลมีไม่เพียงพอ คือผู้วิจัยไม่สามารถแสวงหาข้อมูลมาสนับสนุนผลสรุปได้อย่างเพียงพอ

7.4 การคัดเลือกข้อมูลไม่ถูกต้อง ซึ่งอาจเกิดจากผู้วิจัยขาดประสบการณ์ การเก็บรวบรวมข้อมูลไม่ดีพอ ทำให้ข้อมูลที่ได้มาไม่น่าเชื่อถือ ไม่ถูกต้อง และไม่ตรงกับวัตถุประสงค์ นอกจากนี้อาจเกิดจากผู้วิจัยมีอคติ หรือความลำเอียงในการคัดเลือกข้อมูลอีกด้วย

7.5 การวิเคราะห์ข้อมูลตามหลักตรรกศาสตร์บกพร่อง คือ

1) สรุปผลหรือยอมรับข้อเท็จจริงด้วยเหตุผลที่ง่ายเกินไป ทั้ง ๆ ที่มีข้อมูลไม่เพียงพอที่จะสรุปผลอย่างนั้น

2) ตีความหมายของคำหรือเรื่องราวต่าง ๆ ในข้อมูลผิด

3) การขยายความคลุมกว้างเกินไปทั้ง ๆ ที่มีข้อมูลไม่เพียงพอ

4) ไม่สามารถแยกหาประเด็นสำคัญ ๆ ของข้อเท็จจริงได้

7.6 การวิจารณ์หรือประเมินคุณค่าของข้อมูลไม่เพียงพอ

7.7 ผู้วิจัยมักจะมีความลำเอียงส่วนตัวเกี่ยวกับลัทธิการเมือง เชื้อชาติ ศาสนา ทำให้มีแนวโน้มที่จะเขียนรายงานคลาดเคลื่อนไป

7.8 การเขียนรายงานการวิจัยมักขาดการวิเคราะห์ วิจารณ์ และเขียนในรูปแบบที่ไม่ชวนศึกษา เช่น ใช้ภาษากำกวม เขียนเล่นสำนวน วกวน หรือเสริมแต่ง ตลอดจนมีลักษณะเกลี้ยกล่อมให้เชื่อเกินไป ซึ่งวิธีการเขียนดังกล่าวนี้ทำให้น้ำหนักของความเชื่อถือลดน้อยลง

8. ประโยชน์ของการวิจัยเชิงประวัติศาสตร์

แม้ว่างานวิจัยทางด้านประวัติศาสตร์จะเป็นเพียงข้อเท็จจริงส่วนหนึ่งของอดีตก็ตาม ย่อมจะส่งผลมาถึงเหตุการณ์ในปัจจุบัน และอาจมีอิทธิพลไปถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคตได้ ดังนั้นการวิจัยเชิงประวัติศาสตร์จึงมีประโยชน์สำคัญดังนี้

8.1 ทำให้เราทราบสภาพของปัญหาที่เกิดขึ้นในอดีต และเมื่อพบปัญหาที่จะเกิดขึ้นในสภาพเดียวกันนี้เกิดขึ้นอีก

8.2 ผลการวิจัยเชิงประวัติศาสตร์สามารถนำมาใช้แก้ไขข้อผิดพลาดต่าง ๆ ในปัจจุบันได้ ทั้งนี้เพราะการวิจัยนี้จะพบว่ามีปัจจัยใดบ้างที่เป็นจุดบกพร่อง ซึ่งสามารถนำมาแก้ไขข้อบกพร่องของงานในปัจจุบันได้

8.3 เนื่องจากความเป็นมาในอดีตเป็นรากฐานของความเป็นอยู่และความเป็นไปในปัจจุบันและส่งผลต่อไปในอนาคตด้วย ดังนั้นการวิจัยเชิงประวัติศาสตร์จึงใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขสิ่งต่าง ๆ เพื่อให้เหมาะสมกับสภาวะปัจจุบันได้

8.4 เพื่อใช้เป็นพื้นฐานของการปฏิบัติงานในปัจจุบัน และเป็นพื้นฐานแก่ผู้ที่จะทำการศึกษาค้นคว้าต่อไป

การวิจัยเชิงบรรยาย

การวิจัยเชิงบรรยายเป็นการวิจัยที่มุ่งค้นหาข้อเท็จจริง หรืออธิบายปรากฎการณ์ สภาพการณ์ที่ปรากฏในปัจจุบันว่ามีสภาพความเป็นจริงอย่างไร การวิจัยประเภทนี้อาจศึกษาแบบสำรวจ หรือแบบหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร หรือแบบพัฒนาการก็ได้ แต่ผลการวิจัยที่ได้มักจะเป็นการตอบคำถามว่า “สภาพการณ์ในปัจจุบันเป็นเช่นไร” การวิจัยเชิงบรรยายทั่ว ๆ ไปนิยมวิจัยเกี่ยวกับเรื่องความเชื่อ ความคิดเห็น เจตคติ หรือสภาพการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ต่อไปนี้จะขอกล่าวถึงประเด็นสำคัญ ๆ ของการวิจัยเชิงบรรยาย

1. ชนิดของการวิจัยเชิงบรรยาย

การวิจัยเชิงบรรยายแบ่งตามลักษณะของการวิจัยได้ 3 ชนิดคือ การวิจัยแบบสำรวจ การวิจัยแบบหาความสัมพันธ์ และการวิจัยแบบศึกษาพัฒนาการ แต่ละชนิดมีรายละเอียดดังนี้

1.1 การวิจัยแบบสำรวจ (Survey or Explaratory studies) เป็นการศึกษาปัญหาอย่างกว้าง ๆ เป็นการสำรวจหาข้อมูลเกี่ยวกับสภาพความเป็นจริงหรือลักษณะทั่ว ๆ ไปของสิ่งที่ทำการวิจัย จุดประสงค์เพื่อทราบปัญหา และแก้ปัญหาในสภาวการณ์ปัจจุบัน จึงนิยมใช้เพื่อการปรับปรุงงานหรือแก้ปัญหาเกี่ยวกับนักเรียน หลักสูตร การสอน การวัดผล การบริหารโรงเรียน เป็นต้น การวิจัยแบบสำรวจนี้แบ่งได้เป็น 5 แบบคือ

1) การสำรวจโรงเรียน (School survey) เป็นการสำรวจสภาพทั่ว ๆ ไปของโรงเรียน เช่น การเรียน การสอน การวัดผล การเงิน บุคลากร อาคารสถานที่ ฯลฯ ว่ามีความเหมาะสมเพียงใด โดยนำไปเปรียบเทียบกับสภาพที่เป็นมาตรฐานเพื่อนำมาเป็นแนวทางในการปรับปรุง วางแผน หรือบริหารโรงเรียน

2) การวิเคราะห์งาน (Job analysis) เป็นการสำรวจสภาพการทำงาน ความรับผิดชอบ และประสิทธิภาพของบุคลากรในการทำงาน คุณภาพของงาน ฯลฯ เพื่อช่วยในการปรับปรุงหรือจัดงานให้เป็นระบบ จัดวางตัวบุคลากรให้เหมาะสมกับบทบาทและตำแหน่ง

3) การวิเคราะห์เอกสาร (Documentary or Content analysis) เป็นการสำรวจสภาพความเป็นจริงของเหตุการณ์ทั้งในอดีตและปัจจุบัน โดยอาศัยเอกสารหรือสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ เป็นหลักฐาน เป็นการวิจัยที่มุ่งสำรวจข้อบกพร่องของเนื้อหา กิจกรรม โครงสร้างของหลักสูตร บทเรียน ตำรา กฎหมาย ระเบียบราชการ คำสั่ง เป็นต้น เพื่อช่วยในการปรับปรุงให้เหมาะสมต่อไป ทั้งยังทำให้ทราบแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นอีกด้วย

4) การสำรวจประชามติ (Public opinion survey) เป็นการสำรวจความคิดเห็นและความนิยมของประชากรส่วนใหญ่ เครื่องมือที่ใช้มักนิยมใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) ประกอบการสัมภาษณ์ (Interview) การสำรวจประชามติใช้มากในวงการเมือง การตลาด และธุรกิจต่าง ๆ การวิจัยประเภทนี้จะต้องระมัดระวังมากเป็นพิเศษในเรื่องของการเลือกกลุ่มตัวอย่าง วิธีการสุ่มตัวอย่าง และขนาดของกลุ่มตัวอย่าง

5) การสำรวจชุมชน (Community survey) เป็นการสำรวจลักษณะของประชากร ชีวิตความเป็นอยู่ในด้านต่าง ๆ เจตคติของประชากร และสิ่งแวดล้อม เช่น เชื้อชาติ ศาสนา อาชีพ ขนาดครอบครัว การเกิด การตาย ขนบประเพณีวัฒนธรรม สุขภาพ อนามัย ที่อยู่อาศัย การศึกษา การปกครอง กฎหมาย ความเชื่อ ความคิดเห็น เป็นต้น การวิจัยชนิดนี้มุ่งนำข้อเท็จจริงนั้น ๆ มาประกอบการตัดสินใจในการปรับปรุงหรือแก้ปัญหาของชุมชนนั้นนั่นเอง การสำรวจชุมชนเป็นการวิจัยที่ศึกษาหลายอย่างหลายเรื่องในขณะเดียวกัน ไม่ได้จำกัดเฉพาะความคิดเห็นหรือเจตคติเพียงเรื่องเดียวเหมือนการสำรวจประชามติ

เนื่องจากการวิจัยแบบสำรวจมีหลายแบบ และแต่ละแบบต่างก็มีเทคนิคและวิธีการ แตกต่างกัน ดังนั้นจึงจะขอกล่าวถึงรายละเอียดของการวิจัยแบบสำรวจแบบต่าง ๆ ดังนี้

1) การสำรวจโรงเรียน การสำรวจโรงเรียน เป็นการศึกษาสภาพการณ์ ต่าง ๆ ของโรงเรียน เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น ตัวอย่างการสำรวจ โรงเรียน เช่น

– การสำรวจสิ่งแวดล้อมในการเรียน ได้แก่ สภาพแวดล้อมทางกายภาพและทางสังคม การเงิน ห้องสมุด วัสดุอุปกรณ์ เป็นต้น

– การสำรวจลักษณะของผู้เรียน ได้แก่ สติปัญญา ความถนัด ทักษะ ลักษณะนิสัยของนักเรียน รูปแบบพฤติกรรมในชั้นเรียนหรือที่บ้าน ฯลฯ

– การสำรวจคุณลักษณะของบุคลากร ได้แก่ ครู ผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ เกี่ยวกับเรื่องเพศ อายุ การศึกษา รายได้ เจตคติ เป็นต้น

– การสำรวจลักษณะของกระบวนการเรียนการสอน ได้แก่ หลักสูตร กิจกรรมการเรียน การสอน การบริการ รวมทั้งโครงการต่าง ๆ ของโรงเรียน

(1) ความมุ่งหมายของการสำรวจโรงเรียน การสำรวจโรงเรียนมีจุดมุ่งหมายในการสำรวจ 3 ประการคือ เพื่อศึกษาสภาพความเป็นจริงของโรงเรียนในปัจจุบัน เช่น ปัญหาความต้องการ และรายละเอียดต่าง ๆ ภายในโรงเรียนนั้น

– เพื่อเปรียบเทียบสภาพต่าง ๆ ของโรงเรียนกับเกณฑ์มาตรฐาน

– เพื่อค้นหาแนวทางปรับปรุงโรงเรียน การวางแผนการจัดการศึกษาและการบริหาร

(2) ลักษระสำคัญของการสำรวจโรงเรียน การสำรวจโรงเรียนมีลักษณะที่สำคัญดังนี้

– เป็นการวิจัยเพื่อรวบรวมข้อมูลพื้นฐานประกอบการตัดสินใจ การแก้ปัญหา หรือการวางแผนงานของโรงเรียน

– เป็นการวิจัยเพื่อรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับสภาพทั่วไปของโรงเรียน ลักษณะของผู้เรียน บุคลากร และกระบวนการเรียนการสอน

– เป็นการวิจัยเพื่อรวบรวมข้อมูลเพื่อนำไปตีความหมาย และประเมินผลการจัดการศึกษาในโรงเรียนเปรียบเทียบกับอดีต

(3) ประโยชน์ของการสำรวจโรงเรียน การสำรวจโรงเรียนมีประโยชน์ที่สำคัญดังนี้

– เพื่อนำมาใช้ปรับปรุงการจัดการศึกษาในโรงเรียน

– เพื่อนำมาใช้ในการกำหนดนโยบายของโรงเรียนให้สอดคล้องกับภาวการณ์ปัจจุบันและความต้องการในอนาคต

– เพื่อนำมาใช้ประเมินผลการจัดการศึกษาว่าเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้หรือไม่

2) การวิเคราะห์งาน การวิเคราะห์งานเป็นการศึกษาเกี่ยวกับงานด้านบริหารและธุรกิจ เพื่อประโยชน์ในการปรับปรุงและวางแผนการทำงานให้มีประสิทธิภาพ ตัวอย่างการวิเคราะห์งานเช่น

– ศึกษาลำดับขั้นตอนของการทำงาน สภาพการทำงาน เจตคติต่องาน

– ศึกษาอำนาจหน้าที่ของผู้ปฏิบัติงาน ค่าจ้าง และเวลาในการทำงาน

– ศึกษาความซ้ำซ้อนของงาน จุดอ่อนของงาน

ฯลฯ

(1) จุดมุ่งหมายของการวิเคราะห์งาน การวิเคราะห์งานมีจุดมุ่งหมายดังนี้

– เพื่อสำรวจข้อบกพร่องหรือจุดอ่อนที่ทำให้งานนั้นขาดประสทธิภาพ เช่น การจัดบุคลากรไม่เหมาะสมกับงาน เป็นต้น

– เพื่อกำหนดอัตราเงินเดือนหรือค่าจ้างให้เหมาะสมกับงานในหน้าที่รับผิดชอบระดับต่าง ๆ

– เพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการคัดเลือกบุคคลาเข้าทำงานในตำแหน่งต่างๆ

– เพื่อสร้างหลักเกณฑ์ในการพิจารณาความดีความชอบ

– เพื่อใช้กำหนดแนวทางพัฒนาบุคลากรและระบบงานให้มีประสิทธิภาพ

– เพื่อช่วยในการวางโครงการอบรมบุคลากรที่ด้อยประสิทธิภาพ และบุคลากรที่จะเลื่อนตำแหน่งใหม่ที่ยังไม่มีความรู้ความเข้าใจการทำงานในหน้าที่ใหม่

– เพื่อศึกษาความเหมาะสมของสถานที่การทำงานของหน่วยงานต่าง ๆ

– เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจในการโยกย้าย สับเปลี่ยน หรือเลื่อนตำแหน่งหน้าที่การงาน

(2) ประโยชน์ของการวิเคราะห์งาน การวิเคราะห์งานมีประโยชน์ดังนี้

– เพื่อนำมาใช้วางโครงการอบรมบุคลากรให้มีความสามารถมากขึ้น

– เพื่อนำมาใช้กำหนดอัตราเงินเดือนให้เหมาะสมกับตำแหน่งและหน้าที่

– เพื่อนำมาใช้วางมาตรฐานเกี่ยวกับงานและตำแหน่งแต่ละตำแหน่งว่ามีหน้าที่อะไรบ้าง

– เพื่อใช้สำหรับวางโครงการเตรียมฝึกบุคลากรในแต่ละหน้า

3) การวิเคราะห์เอกสาร การวิเคราะห์เอกสารเป็นการศึกษาสภาพความเป็นจริงจากเอกสารต่าง ๆ เพื่อให้ทราบถึงข้อเท็จจริงในอันที่จะนำมาปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะสมต่อไป ตัวอย่างการวิเคราะห์เอกสารเช่น

– การวิเคราะห์วรรณคดีไทยเรื่อง พระอภัยมณี

– การวิเคราะห์แบบเรียนวิทยาศาสตร์ ชั้นม.1

– การวิเคราะห์แบบเรียนคณิตศาสตร์ ชั้นป.6

ฯลฯ

(1) จุดมุ่งหมายของการวิเคราะห์เอกสาร การวิเคราะห์เอกสารมีความมุ่งหมายดังนี้

– เพื่อศึกษาความจริงเกี่ยวกับเหตุการณ์ในอดีตและปัจจุบันโดยใช้เอกสารต่าง ๆ

– เพื่อศึกษาลักษณะหรือแนวโน้มของเนื้อหาสาระในเอกสาร

– เพื่อวิเคราะห์เนื้อหาสาระของตำราหรือแบบเรียนต่าง ๆ ว่า สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของเอกสารหรือไม่ และเหมาะสมกับการสอนในระดับชั้นนั้น ๆ เพียงใด

– เพื่อประเมินผลเอกสารโดยเปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนดหรือเทียบกับระดับมาตรฐาน

– เพื่อพิจารณาถึงความยากง่ายของตำรา แบบเรียน หรืองานพิมพ์ต่าง ๆ


งานวิจัยประเภทใดไม่เน้นการใช้สถิติ ในการวิเคราะห์ข้อมูล

Qualitative Data Analysis เป็นวิธีการสร้างข้อสรุป จากข้อมูลที่ไม่ใช้สถิติในการวิเคราะห์ เทคนิควิเคราะห์ข้อมูล เชิงคุณภาพที่นักวิจัยนิยมใช้ ได้แก่ การจ าแนกหรือการจัดกลุ่ม ข้อมูล การเปรียบเทียบเหตุการณ์ การวิเคราะห์ส่วนประกอบ การวิเคราะห์แบบอุปนัย และ การวิเคราะห์ข้อมูลที่เป็นเอกสาร

การวิจัยประเภทใดมีการควบคุมตัวแปรต่าง ๆ ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้

7. การวิจัยเชิงทดลอง (Experimental research) เป็นการวิจัยที่ผู้วิจัยเก็บข้อมูลมาจากการทดลอง ซึ่งเป็นผลมาจากการกระทำ (Treatment) โดยมีการควบคุมตัวแปรต่าง ๆ ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้

ประเภทของงานวิจัยมีอะไรบ้าง

1.1 การวิจัยบริสุทธิ์ (Pure Research) หรือ การวิจัยพื้นฐาน (Basic Research) เป็นการวิจัยเพื่อหาทฤษฎี สูตร หรือสร้างกฎ เพื่อเป็นพื้นฐาน ในการศึกษา เรื่องอื่น ๆ ต่อไป.
การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Studies).
การวิจัยเชิงความสัมพันธ์ (Interrelationship Studies).
การวิจัยเชิงพัฒนา (Developmental Studies).

“การวิจัยที่ศึกษาค้นหาความจริงในสภาพปัจจุบัน” เป็นลักษณะการวิจัยประเภทใด

2. การวิจัยเชิงบรรยายหรือพรรณนา (Descriptive research) เป็นการวิจัยเพื่อค้นหาข้อเท็จจริงในสภาพการณ์หรือภาวการณ์ของสิ่งที่เป็นอยู่ในปัจจุบันว่าเป็นอย่างไร การวิจัยประเภทนี้มักจะทำการสำรวจหรือหาความสัมพันธ์ต่าง ๆ เกี่ยวกับเรื่องของความเชื่อ ความคิดเห็น และเจตคติ จึงกล่าวได้ว่าเป็นการวิจัยที่มุ่งจะบอกว่า “เป็นอะไรใน ...