คนแบบไหนที่ไม่ควรร่วมงานด้วย

เราเคยคุยกันไปแล้วว่าหัวหน้าที่ปังกับพังต่างกันอย่างไร เพราะหัวหน้าคือคนสำคัญที่จะนำเราไปสู่ความสำเร็จได้…แต่คนอีกกลุ่มที่เราจะมองข้ามไปไม่ได้เลย นั่นคือเพื่อนร่วมงาน ซึ่งไม่ว่าจะเป็นเพื่อนร่วมทีมหรือต่างทีม แต่ถ้าไปจั่วเจอออฟฟิศที่ต้องทำงานกับคนนิสัยแย่ๆ สุขภาพจิตชีวิตก็คงจะดิ่ง แต่เอาจริงๆ แย่ในความคิดเราอาจจะไม่ได้แย่ในสายตาของคนอื่นก็ได้นะ เรามาทำความรู้จักเพื่อนร่วมงานยอดแย่ แย่ชนิดเอกฉันท์ ไม่ค้านสายตากรรมการกันก่อนนะ ว่านอกจากการทำผิดกฎหมาย ทำผิดศีลอย่างร้ายแรง ผิดลูกผิดเมียผิดผัวใคร แล้วยังต้องมีคุณสมบัติอะไรบ้าง จึงจะคู่ควรกับรางวัลเพื่อนร่วมงานยอดแย่

ยังมีคุณสมบัติอื่นๆ อีกมากมายที่คงจะไม่มาสาธยายว่าในแต่ละออฟฟิศต้องเจอเพื่อนร่วมงานเยินๆ ในรูปไหนบ้าง แต่เราจะปล่อยเรื่องนี้ไปได้อย่างไร

ลักษณะของเพื่อนร่วมงานยอดแย่

1. กล้าขอแต่ไม่เคยให้  

ถ้าต้องทำงานกับคนประเภทที่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัว ไม่เห็นแก่ส่วนรวม ทำทุกอย่างเพื่อให้ตัวเองได้มากกว่าคนอื่นโดยที่ไม่คิดถึงความถูกต้อง นี่เราไม่ได้พูดถึงแค่คนที่ชอบถามถึงของฝาก แต่ไม่เคยหิ้วอะไรมาฝากนะ ฮ่าๆ มันมีนะ คนที่ชอบขอความช่วยเหลือจากคนอื่น แต่ไม่เคยให้ความร่วมมือกับใคร จะได้ทุกอย่างแต่ไม่ยอมเสียสักอย่าง แน่นอนว่าเพื่อนร่วมงานแบบนี้ ไม่ใช่คนดีแล้วแหละ

2. ซีนอารมณ์

ค่ะ…ถ้าต้องทำงานอยู่ท่ามกลางตัวร้ายอย่าง มาหยารัศมี คุณหญิงเล็ก หรือว่าเรยา คิดดูว่าจะประสาทเสียแค่ไหน ถ้าต้องเจอกับคนที่ไม่รู้จักควบคุมอารมณ์ตัวเองแล้วละเลงใส่คนอื่น #อย่าเห็นฉันเป็นสนามอารมณ์ คนที่เกรี้ยวกราด พูดคำหยาบ นอกจากจะไม่สามารถควบคุมตัวเองได้แล้ว ยังจัดเป็นเพื่อนร่วมงานที่ไม่ให้เกียรติคนอื่นอีกด้วยนะคะ

3. นินทาว่าร้าย

หายนะที่สุดแล้วค่ะ ถ้าต้องทำงานกับคนที่ชอบนินทา ชอบรวมกลุ่มเพื่อวิจารณ์คนอื่น คนพวกนี้จะเหมือนปลวก ใช่ค่ะ #ปลวก ที่คอยกัดกินอยู่ข้างใน ไม่แสดงตัวชัดเจน แต่จะคอยทำลายบรรยากาศดีๆ ทำลายความเป็นทีมเวิร์ก หรือแม้กระทั่งรวมกลุ่มเพื่อต่อต้านความเปลี่ยนแปลง ถ้าต้องเจอคนแบบนี้บ่อยๆ คนดีๆ ก็จะค่อยๆ หายไปค่ะ

4. ไม่ยอมพัฒนา

เราไม่พูดถึงคนที่ไม่เก่งนะคะ แต่พูดถึงคนไม่เก่งที่ไม่ยอมพัฒนาตัวเอง ต้องยอมรับค่ะว่าการทำงานกับคนไม่เก่ง แถมมีนิสัยเช่นนี้ เป็นสภาวะที่น่าอึดอัดใจมาก โดยเฉพาะถ้าคนนั้นไม่ยอมรับว่าตัวเองบกพร่อง และที่พังสุดคือคอยหาข้ออ้างเพื่อปกปิดความบกพร่องของตัวเอง ซึ่งในระยะสั้นอาจจะยังไม่แย่นัก แต่ถ้าต้องทำงานกับคนแบบนี้ไปนานๆ เราจะได้ภาระมากกว่าได้เพื่อนร่วมงานค่ะ

และยังมีคุณสมบัติอื่นๆ อีกมากมายที่คงจะไม่มาสาธยายว่าในแต่ละออฟฟิศต้องเจอเพื่อนร่วมงานเยินๆ ในรูปไหนบ้าง แต่เราจะปล่อยเรื่องนี้ไปได้อย่างไร ในเมื่อเรามาทำงานเพื่อให้ชีวิตดีขึ้น ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นความมั่นคงก้าวหน้าทางรายได้ ตำแหน่ง ชื่อเสียง เกียรติยศ หรืออะไรก็ตาม แล้วจะทำอย่างไรเมื่อต้องทำงานกับเพื่อนร่วมงานแย่ๆ

จะรับมือกับเพื่อนร่วมงานยอดแย่อย่างไร?

1. พึงเอาชนะความมืดด้วยความสว่าง

ฮ่าๆ แค่เกริ่นมาก็ดูสวยแล้ว แต่มันคือเรื่องจริงนะคะ เมื่อเจอคนที่แย่ๆ อย่าแข่งกันแย่ ถึงแม้มันจะสาแก่ใจในการที่โดนด่ามาก็ด่ากลับ #ไม่โกง แต่นั่นแปลว่าเรากำลังเพิ่มหัวเชื้อความเยินให้เกิดขึ้นกับคนรอบข้าง แล้วออฟฟิศนี้มันจะตกต่ำไปเรื่อยๆ ค่ะ ><” เพราะฉะนั้น สิ่งแรกที่ต้องทำเมื่อเจอเพื่อนร่วมงานไม่โอเค นั่นคือการดึงเขาขึ้นมา หรือถ้าดึงไม่ได้ ก็ต้องไม่จมไปกับเขา เราต้องหาคนดีๆ ในออฟฟิศให้เจอ และรวมกลุ่มกันให้มากที่สุด เพราะนอกจากจะทำให้คนแย่ๆ มีพวกน้อยลงแล้ว การแวดล้อมด้วยคนดีๆ ในที่ทำงาน มันช่วยให้เรามีพลังได้มากขึ้นจริงๆ #เมื่อรู้ว่าอะไรสกปรกก็ไม่ควรเอามือไปแหย่

2. เชื่อในกฎแห่งกรรม

ค่ะ ขอให้เชื่อมั่นในผลของการกระทำ (จนกว่ามันจะเชื่อถือไม่ได้แล้วจริงๆ) ออฟฟิศส่วนใหญ่ในปัจจุบันมีระบบการประเมินผลงานและพฤติกรรมในการทำงาน โดยเพื่อนร่วมงานค่ะ ขอให้ใช้ช่องทางนี้ประเมินให้ยับ ฮ่าๆๆ สิ่งที่จะบอกคือ เราอย่าเพิกเฉยต่อช่องทางในการให้ฟีดแบ็กต่างๆ กับเพื่อนร่วมงาน เพราะสิ่งเหล่านี้จะเป็นข้อมูลให้ผู้ใหญ่เอาไปใช้ดำเนินการต่อได้ อย่าคิดลบ อย่าคิดว่าทำไปก็ไม่มีประโยชน์ ให้คิดว่าเพราะที่ผ่านมาคนดีๆ เพิกเฉยนี่แหละ ที่ทำให้คนไม่ดียังมีที่ยืนในออฟฟิศ แต่ก็ต้องเลือกวิธีที่ดีด้วยนะคะ ไม่ใช่เกลียดแล้วจะใช้อำนาจฆ่าตัดตอน #ความพยาบาทไม่ใช่ของหวานค่ะ

3. คิดบวก

ไม่ใช่เข้าไปบวกนะคะ ^^” แต่ให้เติมพลังบวกให้ตัวเองเยอะๆ ค่ะ เพราะถ้าเราเป็นคนคิดลบเราจะเหนื่อย ท้อแท้ หมดพลัง สิ้นหวัง เพราะคนพวกนี้ได้ง่ายมากค่ะ การเติมพลังบวกทั้งจากตัวเราเอง คนรัก เพื่อนนอกออฟฟิศ และครอบครัว จะช่วยให้เรามีแรงทำหน้าที่ของตัวเองได้อีกมาก …อย่างตัวผู้เขียนเองโดยส่วนตัวจะไม่เอาปัญหาในที่ทำงานไปเล่าให้คนนอกออฟฟิศฟังมากนัก ยกเว้นการขอคำปรึกษาที่เราตั้งใจจะได้รับคำปรึกษาจริงๆ เพราะเชื่อว่าการเล่าเรื่องไม่ดีในที่ทำงานให้คนที่ไม่เกี่ยวข้องฟัง นอกจากจะทำให้เราวนๆ อยู่กับเรื่องแย่ๆ แล้ว ยังเป็นการเอาเรื่องไม่ดีไปใส่หัวคนอื่นอีก เพราะฉะนั้นอย่าเอาเรื่องลบๆ ไปรบกวนแหล่งพลังงานบวกในชีวิตของเราค่ะ

4. น้ำใจ ยิ่งให้ยิ่งได้

เมื่อมีโอกาส ให้ทำให้เขาเก่งขึ้น ดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการทำตัวเองเป็นตัวอย่างที่ดี หรือการให้คำแนะนำ หรือการกระตุ้นจูงใจด้วยสิ่งที่คนเหล่านั้นสนใจ ขอให้ทำด้วยเจตนาที่ดี ด้วยวิธีที่ดี ไม่ใช่การบังคับขู่เข็ญนะคะ แนวทางนี้เป็นการแก้ปัญหาได้แบบยั่งยืนที่สุด แต่ก็ยากที่สุดเช่นกัน เพราะถ้าคนแย่ๆ เหล่านั้นเปลี่ยนแปลงอะไรได้ง่ายๆ  เขาคงไม่กลายเป็นคนแบบนี้ในปัจจุบัน แต่ก็นั่นแหละค่ะ อย่าสิ้นหวังในการทำสิ่งดีๆ อย่าคิดว่าไม่ใช่ธุระหรือความรับผิดชอบของเรา เพราะไม่ว่าอย่างไรเพื่อนร่วมงานที่ไม่ดีก็จะส่งผลกระทบกับเราไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ไม่วันใดก็วันหนึ่ง ดังนั้นถ้าทำได้ ขอให้ช่วยเหลือเขาให้เป็นเพื่อนร่วมงานที่ดีขึ้นให้ได้ค่ะ

5. ทำตัวเองให้ดี

อย่าว่าแต่เขาแล้วเราเป็นเองนะ สิ่งที่จะบอกคือ อย่าไปอินกับเพื่อนร่วมงานแย่ๆ ให้มากนัก ถ้ามีเวลาอยู่จำกัด ให้เอาไปทำเรื่องที่ดีกับตัวเองให้มากที่สุด ใช่ค่ะ การพยายามช่วยเหลือเพื่อเปลี่ยนแปลงคนแย่ๆ ให้กลายเป็นดีนั้นเป็นเรื่องที่ดีมากๆ แต่ถ้าหาก #สุดมือสอยก็ต้องปล่อยไป นะคะ เราช่วยเท่าที่ช่วยได้ แต่เมื่อสุดกำลังแล้ว ให้เก็บเอาพลังไปใช้ในการทำงานเพื่อให้ตัวเองไปถึงเป้าหมายของเราให้ได้ เพราะเมื่อเราเก่งและดีจนเป็นที่ยอมรับ ขอให้มั่นใจเถอะค่ะว่า เมื่อมีอำนาจ เราจะจัดการอะไรได้ง่ายขึ้นค่ะ #ถ้าไม่เชื่อให้ถามลุงในทีวีดูซิคะ #อุ๊ย

6. บัยยยยยส์

ที่สุดของที่สุดก็คงต้องแยกทางกันค่ะ เพราะเมื่อเราได้ใช้ความพยายามอย่างเต็มที่แล้ว แต่ไม่สามารถมองเห็นความคุ้มค่าของการต้องเอาตัวเองไปอยู่ในสังคมแบบนั้น การลาออกก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ดีนะคะ การลาออกที่ดี คือการเลือกเพื่อไปสู่ชีวิตที่ดีขึ้นอย่างชัดเจน การลาออกที่ดีต้องไม่ใช่การหนีปัญหาเดิมจากที่เดิมเพื่อไปเจอปัญหาเดิมในที่ใหม่ การลาออกที่ดีต้องเป็นการลาออกที่ไม่ทำร้ายตัวเองและคนรอบข้าง เพราะฉะนั้นก่อนจะลาออก ขอให้เรามั่นใจว่าเราได้รับผิดชอบและทำหน้าที่เพื่อนร่วมงานที่ดีแล้ว สิ่งหนึ่งที่ต้องจำไว้คือ ความผิดพลาดเป็นดาบสองคม นั่นคือนอกจากความผิดพลาดจะเป็นบทเรียนที่ดีแล้ว ความผิดพลาดยังเป็นตัวหลอกที่บอกเราว่า ก็ไม่เห็นเป็นไร ทำอะไรไม่ดีก็ไม่เห็นจะตาย #อย่าเคยชินกับการทำสิ่งไม่ดี

อยากบอกกับทุกคนว่า ไม่ใช่แค่คนอื่นที่จะมีผลต่อเรา ตัวเราเองก็มีผลกับคนอื่นเช่นกัน การเป็นส่วนผสมที่ดีที่ใครๆ ก็อยากเอาไปใช้ให้เกิดประโยชน์ ย่อมเป็นผลดีกับเรามากกว่าการเป็นส่วนผสมบูดเน่าที่เข้ากับใครก็ไม่ได้ เก่งงานอย่างเดียวไม่พอ เราต้องเก่งคนด้วย หลายครั้งที่เราเห็นคนที่ประสบความสำเร็จ ไม่ใช่เพราะแค่ทำงานเก่ง แต่เพราะสามารถทำให้คนเก่งๆ มาทำงานให้เขาได้ #ความดีมีอำนาจในตัวเอง

สุดท้ายนี้ขอฝากไว้ว่า ระฆังดี ไม่ตีก็ดัง คนจะดี ต้องไม่ตีระฆังเล่น

#รักนะคะ

#เจ้าหญิงแห่งวงการ HR

ภาพประกอบ: Pichamon Wannasan

คนแบบไหนที่ไม่ควรร่วมงานด้วย

ABOUT THE AUTHOR
เจ้าหญิงแห่งวงการ HR

มีประสบการณ์ดูแลงานด้าน Human Resource ให้กับหลายบริษัท เชื่อว่าหากเรามีทัศนคติที่ดีต่องาน ผลของงานจะพาเราไปยังจุดดีเสมอ ปัจจุบันเป็นเจ้าของเพจ ‘เจ้าหญิงแห่งวงการ HR’

คนแบบไหนที่ไม่ควรทำงานด้วย

1. โมโหร้าย ความฉลาดทางอารมณ์ต่ำ ... .
2. มาจากดาว “ช่างแซะ” ... .
3. ไม่รู้จัก “ยืดหยุ่น” ... .
4. สัญญาไม่เป็นสัญญา ... .
5. ไม่รู้จักอดทนเอาเสียเลย ... .
6. มนุษย์เพอร์เฟคชั่นนิสต์ ยอมไม่ได้ ถ้าเห็นอะไรไม่เป็นอย่างที่คิด ... .
7. ใจเขาใจเราคืออะไร.. ... .
8. ใจแคบเท่าพุงมด.

เพื่อนร่วมงานแบบไหนที่ไม่ควรคบ

10 เพื่อนร่วมงานแบบนี้ ใครเจอเป็นต้องถอยห่าง.
1 . ซุบซิบ ใส่ไฟ แบ่งพรรคแบ่งพวก ... .
2. ชอบโบ้ย โยนความผิด ... .
3. จอมเอาเปรียบ ชอบโยนงาน ... .
4. ประจบประแจง เลียแข้งเลียขา ... .
5. หลอกใช้ แย่งผลงาน ... .
6. ชอบอู้งาน เช้าชามเย็นชาม ... .
7. อีโก้สูง เจ้าอารมณ์ ... .
8. ปากอย่างใจอย่าง.

ถ้าเจอเพื่อนร่วมงานไม่ดีควรทำอย่างไร

7 วิธีรับมือเพื่อนร่วมงาน “ยอดแย่”.
1.ปรับมุมมองให้เป็นบวก ... .
2.อยู่ห่างจากคนเหล่านี้ ... .
3.ใช้อำนาจหน้าที่ที่มีอยู่ ... .
4.รวบรวมหลักฐาน ... .
5.พูดคุยแบบเปิดอก ... .
6.ร่วมมือกับเพื่อนคนอื่น ... .
7.ปกป้องตัวเอง.

คนแบบไหนไม่ควรอยู่ในองค์กร

คน 5 ประเภทที่องค์กรไม่ควรรับเข้าทำงาน.
ไม่มีความรู้ คนประเภทนี้ไม่มีธุรกิจไหนอยากรับเข้าทำงาน เนื่องจากไม่มีความเหมาะสมกับตำแหน่งงาน ถ้ารับเข้ามาต้องเสียเวลาในการเทรนนิ่งอย่างมาก ... .
ขาดความกระตือรือร้น ... .
โกหก ... .
เห็นแก่ตัว ... .
ขี้เกียจ.