เพลงไทยสากล มีการประพันธ์ทำนองแบบใด

เพลงไทยสากล มีการประพันธ์ทำนองแบบใด

เพลง“รัก”
 
ถ้าเอ่ยถึงชื่อ “สมาน กาญจนะผลิน (พ.ศ.๒๔๖๔-๒๕๓๘)” แล้ว ต้องยอมรับว่าท่านเป็นยอดอัจฉริยะด้านการแต่งทำนองเพลงและเรียบเรียงเสียงประสานเพลงไทยสากล โดยเฉพาะเพลงลูกกรุง จึงมีผลงานการแต่งทำนองเพลงไทยสากลประเภทลูกกรุงไว้ประมาณ ๒,๐๐๐ เพลง ได้รับรางวัลมานับครั้งไม่ถ้วน จนกระทั่งได้รับการประกาศเกียรติคุณเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (เพลงไทยสากล) ประจำปี พ.ศ.๒๕๓๑ ผลงานเพลงที่ครูสมานแต่งที่มีชื่อเสียงโด่งดังมากได้แก่เพลงสดุดีมหาราชา หยาดเพชร เรือนแพ ท่าฉลอม แสนแสบ ยามชัง ทุ่งรวงทอง รักคุณเข้าแล้ว เป็นต้น สำหรับแบบแผนการเรียบเรียงเสียงประสานที่เรียกว่า “สังคีตประยุกต์” ยังคงเป็นที่กล่าวขานและได้รับความนิยมอยู่จนถึงปัจจุบัน (อ่านบันทึก สมาน กาญจนะผลิน “สังคีตประยุกต์” พัฒนาการของเพลงไทยสากลที่ดัดแปลงทำนองมาจากเพลงไทย”  ของคุณวิพล นาคพันธ์ ได้ที่ http://gotoknow.org/blog/wiphon/425368)

ครูสมานเป็นนักแต่งทำนองเพลงแต่เพียงอย่างเดียวโดยไม่แต่งคำร้อง ทั้งการแต่งทำนองที่ดัดแปลงทำนองมาจากเพลงไทยเดิมซึ่งมีเป็นจำนวนมาก และการสร้างสรรค์ทำนองเพลงขึ้นเอง ซึ่งมีจำนวนมากกว่าหลายเท่า เพลงที่ท่านเรียบเรียงทำนองจึงต้องมีผู้แต่งคำร้องให้อีกทีหนึ่ง มีผู้แต่งคำร้องที่ทำงานคู่กับท่านหลายคน เช่น ชาลี อินทรวิจิตร (ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง ผู้ประพันธ์คำร้อง-ผู้กำกับภาพยนตร์ ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๓๖) ไสล ไกรเลิศ (พ.ศ.๒๔๖๔-๒๕๒๙) เป็นต้น แต่ที่ได้ร่วมกันสร้างสรรค์ผลงานเพลงโดยดัดแปลงทำนองมาจากเพลงไทยเดิมในจำนวนมากที่สุด โดยเฉพาะในเพลงลูกกรุงอมตะร้องคู่ในชุดเพลง “รัก” คงเป็นใครไม่ได้นอกจาก สุนทรียา ณ เวียงกาญจน์ (นามแฝงของเกียรติพงศ์ กาญจนภี (พ.ศ. ๒๔๖๘ – ปัจจุบัน) ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีสากล - ผู้ประพันธ์เพลง) ประจำปี พ.ศ.๒๕๔๙ รองลงมาคือเกษม ชื่นประดิษฐ์ (พ.ศ.๒๔๖๘-๒๕๓๖)

เพลงลูกกรุงอมตะร้องคู่ในชุดเพลง “รัก” เพลงแรกที่ขอหยิบยกนำมากล่าวได้แก่เพลง “รัก” (ซึ่งขอตั้งเป็นชื่อชุด) ดัดแปลงทำนองมาจากเพลงโสมส่องแสง ๓ ชั้น คำร้องโดยสุนทรียา ณ เวียงกาญจน์ ทำนองโดย สมาน กาญจนะผลิน

จากข้อเขียนของคุณคีตา พญาไท ในเว็บไซต์ผู้จัดการ ครูสุนทรียา ณ เวียงกาญจน์ เขียนเล่าถึงเบื้องหลังของเพลง “รัก” เอาไว้ว่าได้ยินทำนองเพลงไทยเดิมบรรเลงในระหว่างรองานเผาศพเพลงหนึ่งที่มีทำนองล้อกันไปล้อกันมา จึงจำเอาไว้ ๒-๓ วรรค เมื่อโทรถามครูสมาน ได้รับคำตอบว่าเป็นเพลงโสมส่องแสง ครูสมานจึงตัดทำนองเพลงโสมส่องแสง ๓ ชั้น ซึ่งยาวมากเพราะมีถึง ๓ ท่อน ให้สั้นลงเป็นแบบไทยสากล ส่งให้ครูสุนทรียาแต่งเนื้อร้อง ดังนั้นจึงเกิดเพลง “รัก” ทำนองโสมส่องแสง ๓ ชั้นขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๙๖ ใช้ประกอบละครเรื่องทหารเสือกรมหลวงชุมพรฯ ของสุวัฒน์ วรดิลก (รพีพร) เพลงนี้ยังคงได้รับความนิยมมาจนถึงปัจจุบัน

เพลงโสมส่องแสง เป็นเพลงเถา บรรเลงด้วยอัตราจังหวะช้า (๓ ชั้น) ปานกลาง (๒ ชั้น) และเร็ว (ชั้นเดียว) ตามลำดับ ผู้แต่งเพลงโสมส่องแสง (เถา) คือครูมนตรี ตราโมท (พ.ศ.๒๔๔๓-๒๕๓๘) ราชบัณฑิตในประเภทวิจิตรศิลป์ และศิลปินแห่งชาติ สาขาดนตรีไทย พ.ศ. ๒๕๒๘ โดยแต่งเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๔ เฉพาะอัตราจังหวะ ๓ ชั้นและชั้นเดียว ส่วนอัตราจังหวะ ๒ ชั้นนั้น คือเพลงลาวดวงเดือน หรือชื่อเดิม “ลาวดำเนินเกวียน” ผลงานพระนิพนธ์ของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม (พ.ศ.๒๔๒๕-๒๔๕๒) เพลงลาวดวงเดือนถือเป็นเพลงไทยเดิมที่เป็นที่รู้จัก ได้รับความนิยม หรือป๊อปปูล่าที่สุด ในบรรดาเพลงไทยเดิมด้วยกันทั้งหมด

เพลงรัก คำร้องโดย สุนทรียา ณ เวียงกาญจน์ ทำนองโดย สมาน กาญจนะผลิน ดัดแปลงทำนองเพลงโสมส่องแสง ๓ ชั้น ท่อน ๑ และท่อน ๓ เพลงนี้ฮิตมาก มีร้องกันหลายคู่เช่น สุเทพ วงศ์กำแหง ร้องคู่สวลี ผกาพันธ์ เพ็ญศรี พุ่มชูศรี ร้องคู่ ทนงศักดิ์ ภักดีเทวา จินตนา สุขสถิตย์ ร้องคู่ ทนงศักดิ์ ภักดีเทวา ยอดรัก สลักใจ ร้องคู่สุนารี ราชสีมา มานิตย์ พาชิยานุกูล (นิด วงเชอรี่พิ้งค์) ร้องคู่กับ อัจฉรพรรณี หาญณรงค์ (โอ ปุยฝ้าย) แต่ที่ผมชื่อชอบเพราะเห็นว่าไพเราะที่สุดน่าจะเป็นคู่ พิทยา บุณยรัตพันธ์ ร้องกับ ม.ร.ว.ถนัดศรี สวัสดิวัฒน์

เนื้อร้องเพลงรัก
“(ญ) แสงจันทร์นวลผ่อง นภาพราวพร่างดังทอง เมื่อมองแสนสุขอุรา
(ช) เดือนสวยสว่างพร่างตา ฟ้าชื่นวิญญาณ์ จันทราจุมพิตทุกคืน
(ญ) เห็นนภาสมรัก หวั่นใจนักเกรงรักกลายไม่ชื่น
(ช) ไม่ต้องกลัวเป็นอื่น รักพี่มีแต่ชื่น ชื่นรักเรื่อยไป
(ญ) คำก็รัก สองคำก็รัก น้องใคร่ทราบนักรักมากเท่าไร
(ช) รักเจ้านั้น รักจนหมดใจ มิมีสิ่งใดมาเทียมพี่รัก
(ญ) ครึ่งแผ่นฟ้านี้ได้ไหมพี่
(ช) สุดฟ้านี้ไม่ถึงครึ่งรัก
(ญ) อยากจะเห็นดวงใจพี่นัก
(ช) เชิญน้องควักออกดูพี่ยอม...สิ้น
(ญ) หวั่นใจเหลือเอ่ย คำเฉลยดั่งร้อยลิ้น
(ช) เสียดายไม่สิ้น ลิ้นมีเพียงหนึ่งไม่ถึงร้อยพัน
(ญ) ลิ้นหนึ่งอย่างนี้ วจียังตามไม่ค่อยจะทัน
(ช) หากมีร้อยจะให้ทั้งร้อยเสกสรร
(พร้อม) เพ้อรำพันแต่คำรักเอย

•   พิทยา บุณยรัตพันธ์ – ม.ร.ว.ถนัดศรี สวัสดิวัฒน์ http://www.4shared.com/audio/PRr-Z07i/_-_-.htm http://www.youtube.com/watch?v=G5rstfqflXo
•   สวลี ผกาพันธ์ – สุเทพ วงศ์กำแหง http://www.4shared.com/audio/vPFu22fR/27-__-__-__-___.htm
•   จินตนา สุขสถิตย์ - ทนงศักดิ์ ภักดีเทวา http://www.4shared.com/audio/WPIeIhn0/_-_.htm
•   อัจฉรพรรณี หาญณรงค์ (โอ ปุยฝ้าย) - มานิตย์ พาชิยานุกูล (นิด วงเชอรี่พิ้งค์) http://www.4shared.com/audio/fMNaRcOP/_1_-_10_-___-_.htm
•   ยอดรัก สลักใจ –สุนารี ราชสีมา http://www.youtube.com/watch?v=YYqkpV0-aYg
เพลงไทยสากล มีการประพันธ์ทำนองแบบใด

เพลงสาบานรัก (เพลงที่ ๑)
 
เพลงสาบานรักมีหลายเพลง แต่เพลงสาบานรักซึ่งเป็นเพลงร้องคู่ที่ดัดแปลงทำนองมาจากเพลงไทยเดิมมี ๒ เพลง คือเพลงสาบานรัก (เพลงที่ ๑) คำร้องโดยเกษม ชื่นประดิษฐ์ ทำนองโดยสมาน กาญจนะผลิน ดัดแปลงทำนองมาจากเพลงลาวเสี่ยงเทียน ๒ ชั้น สุเทพ วงศ์กำแหง – สวลี ผกาพันธ์ - เพ็ญศรี พุ่มชูศรี  ขับร้อง กับเพลงสาบานรัก (เพลงที่ ๒) คำร้องโดยสุนทรียา ณ เวียงกาญจน์ ทำนองโดยสมาน กาญจนะผลิน ดัดแปลงทำนองมาจากเพลงราตรีประดับดาว ๓ ชั้น ขับร้องโดย ปรีชา บุณยเกียรติ - พูลศรี เจริญพงษ์ ต่อมาขับร้องโดยชรินทร์ นันทนาคร – รุ่งฤดี แพ่งผ่องใส

เพลงลาวเสี่ยงเทียนเดิมเป็นเพลงลูกบท (เพลงที่เล่นต่อท้ายเพลงแม่บท) เกิดขึ้นในระหว่างปลายรัชกาลที่ ๔ ถึงต้นรัชกาลที่ ๕ โดยมีครูเพลงซึ่งไม่ทราบชื่อเป็นผู้ประดิษฐ์ขึ้น แล้วนำมาเล่นต่อท้ายเพลงใหญ่ เป็นเพลงสำเนียงลาว (สำเนียงภาคเหนือ) อัตราจังหวะ ๒ ชั้น มี ๒ ท่อน ต่อมามีผู้ประดิษฐ์ทางร้องและใช้บทร้องที่ว่า “ข้าเจ้าสาวโคมเวียนเสี่ยงเทียนถวาย ขอน้อมกายก้มเกล้าเข้ามาหา” ซึ่งเป็นที่นิยมของผู้ที่ได้ยินได้ฟัง ถึงกับนำไปเล่นกันอย่างแพร่หลาย และเรียกชื่อกันตามบทร้องว่า "ลาวเสี่ยงเทียน" เพลงนี้จึงมีชื่อ “ลาวเสี่ยงเทียน” มาตั้งแต่นั้น

เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๖ หลวงประดิษฐ์ไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) ได้นำทำนองเพลงลาวเสี่ยงเทียนของเก่าซึ่งเป็นอัตรา ๒ ชั้น มาแต่งขึ้นเป็นอัตรา ๓ ชั้น ทั้งทำนองร้องและทำนองดนตรี โดยประดิษฐ์ทำนองให้มีสำเนียงเป็นลาวตามสำเนียงเดิม รวมทั้งได้แต่ง “ทางเปลี่ยน” ต่อมาได้แต่งเพิ่มเป็นเถา โดยแต่งทางเปลี่ยนขึ้นทั้ง ๒ ชั้นและชั้นเดียวด้วย เพลงลาวเสี่ยงเทียนเถา ของหลวงประดิษฐ์ไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) เป็นเพลงที่มีทำนองไพเราะน่าฟัง ได้รับความนิยมในวงการดนตรีไทยแพร่หลายมาก นอกจากเพลงลาวเสี่ยงเทียนทางของหลวงประดิษฐ์ไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) แล้ว ยังมีเพลงลาวเสี่ยงเทียนทางของครูวาดด้วยอีกทางหนึ่ง
 
เพลงลาวเสี่ยงเทียนเป็นเพลงไทยที่นิยมนำทำนองมาดัดแปลงเป็นเพลงไทยสากลมากที่สุดทั้งอัตราจังหวะ ๒ ชั้น ทางหลัก ทางเปลี่ยน และอัตราจังหวะ ๓ ชั้น คุณวิพล นาคพันธ์เคยรวบรวมเพลงลูกกรุงลูกทุ่งที่ดัดแปลงทำนองมาจากเพลงลาวเสียงเทียนได้ถึง ๒๕ เพลง (อ่านบันทึก “เพลงลูกกรุงลูกทุ่งที่ดัดแปลงทำนองมาจากเพลงลาวเสี่ยงเทียน” ของคุณวิพล นาคพันธ์ ได้ที่ http://gotoknow.org/blog/wiphon/361359) (อย่างไรก็ดีกำลังมีเพลงพม่าแปลงที่กำลังไล่กวดตามเพลงลาวเสี่ยงเทียนขึ้นมาเป็นเพลงไทยที่มีการดัดแปลงทำนองมากที่สุด คุณ Tanay2507 และสมาชิกสายสัมพันธ์ได้รวบรวมไว้ ติดตามได้ที่กระทู้ “เพลงที่ใช้ทำนองเพลงไทยเดิม”http://saisampan.net/index.php?topic=28499.0)

•   ฟังเพลงลาวเสี่ยงเทียน ๒ ชั้น http://www.youtube.com/watch?v=ewbWAfeTL8o
•   ดวงพร ผาสุข ร้องเพลงลาวเสี่ยงเทียน ๒ ชั้น เนื้อร้องที่คุณหญิงชิ้น ศิลปบรรเลง แต่งให้เด็กนักเรียนร้อง มีเนื้อร้องดังนี้ “ธูปเทียนทองสองมือถือไว้ตั้งใจวันทา น้อมเคารพบูชาพระศาสดาของชาวพุทธ พระปัญญาเลิศล้น ทรงค้นพบสัจธรรม พระการุณย์เลิศล้ำ ทรงน้อมนำสู่มนุษย์ พระองค์เลิศล้วนบริสุทธิ์ สอนชนให้หลุดพ้นความทุกข์ทน” http://www.youtube.com/watch?v=-i5oLQHP2Qc

เนื้อเพลงสาบานรัก (เพลงที่ ๑)
“(ญ) มองนภาฟ้างาม ยามเย็น สวยเด่นจันทราน่ามอง
(ช) ถึงเดือนจะงาม ก็ยัง เป็นรอง มิเปรียบหน้าน้อง หรอกหนา
(ญ) คอยแต่ปากหวาน ชมทุกวันน่าเบื่อ ไม่อยาก เชื่อถือวาจา
(ช) มิใช่ปากหวาน สรรน้ำคำมาว่า แจ่มจันทร์ สบตาหน้าน้องคงอาย
(ญ) รักน้องนานปีมิเบื่อหรือ
(ช) รักพี่ซื่อมิเบื่อง่ายดาย
(ญ) ไม่ช้าก็เบือนเคลื่อนคลาย
(ช) รักจนตายไม่หน่ายกัน
(ญ) พอรักมีใหม่คร้านจะเมินหมาง
(ช) รักไม่จางไม่ห่างจอมขวัญ
(ญ) จะเหมือนวจีสักกี่วัน
(ช) ขอสาบานให้จากใจ
(ญ) สาบานหน่อยซิ
(ช) จ๊ะ พี่สาบานก็ได้ ต่อไปไม่ขอรักใคร
(ญ) แม้ใจเปลี่ยนผัน ลืมสาบานเมื่อไหร่
(ช) ขอให้พี่แก่ตายเถอะขวัญชีวี”

•   สุเทพ วงศ์กำแหง –สวลี ผกาพันธ์ http://www.youtube.com/watch?v=vz2NZxRZPQg http://www.4shared.com/audio/iR2N7BK6/_-_.htm
•   สุเทพ วงศ์กำแหง – เพ็ญศรี พุ่มชูศรี http://www.youtube.com/watch?v=Yb5gHLEBuhQ http://www.4shared.com/audio/iR2N7BK6/_-_.htm

เพลงไทยสากลมีต้นกําเนิดอย่างไร

เพลงไทยสากล อาจพูดได้ว่าที่มา เกิดจาก 2 สายคือ สายทางละครและสายทางภาพยนตร์ สายทางละครนั้นละครคณะปรีดาลัยเป็นต้นกำเนิด มีลักษณะเป็นเพลงไทยที่ร้องตามทำนองฝรั่ง ส่วนทางสายภาพยนตร์ สันนิษฐานว่าชาวญี่ปุ่นเป็นชาติแรกที่นำเข้ามาฉายในเมืองไทยราวปี พ.ศ. 2471 ในช่วงแรกเป็นภาพยนตร์เงียบ จึงมีการริเริ่มทำเพลงประกอบเพื่อเพิ่มอรรถรส ...

เพลงไทยสากล คือเพลงประเภทไหน

เพลงไทยสากล เป็นเพลงที่ขับร้องในภาษาไทย โดยเริ่มจากนำทำนองไทยเดิมใส่เนื้อร้องบรรเลงและขับร้อง โดยใช้มาตรฐานของโน้ตเพลงแบบสากล จนเป็นเพลงไทยแนวใหม่ โดยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2476 มีละครเวที ละครวิทยุ และภาพยนตร์ไทย มีบทบาทสำคัญทำให้เพลงไทยสากลได้รับความนิยม จนในปัจจุบันแตกสาขาไปอีกหลากหลายแนวเพลง

ท่านใดคือผู้ริเริ่มการแต่งเพลงไทยสากลเป็นคนแรก

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ทรง เป็นผู้นาในการนิพนธ์ทานองเพลงตามมาตรฐานและหลักเกณฑ์ของดนตรีสากล ทรง นิพนธ์บทเพลงส าหรับบรรเลงด้วยแตรวงโดยเฉพาะ โดยทรงนิพนธ์เพลงวอลตซ์ปลื้ม จิตตามหลักทฤษฎีดนตรีสากลขึ้นในปี พ.ศ. 2446 ซึ่งถือว่าเป็นเพลงไทยสากลเพลง แรกในประวัติศาสตร์การดนตรีของ ...

ประเภทของเพลงสากลคืออะไร

ประเภทของเพลงสากล.
เพลงคลาสสิก.
เพลงฆราวาสหรือเพลงบันเทิง.
เพลงขับร้องหลายแนว.
เพลงป็อปปูลาร์.
เพลงขับร้องแนวเดี่ยว.
เพลงขับร้องหมู่.
เพลงศาสนา.