ห้องสมุดประเภทใดที่ส่งเสริมการเรียนการสอนและสนองความต้องการของนักเรียน ครู ผู้ปกครองและชุมชน

 ความหมายของงานบริการห้องสมุด
           งานบริการห้องสมุด หมายถึง งานที่ห้องสมุดจัดทำขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้ในด้านการอ่าน การค้นคว้าหาความรู้และส่งเสริมการอ่านให้กว้างขวางและทั่วถึง เพื่อให้ผู้ใช้ได้รับสารสนเทศอย่างรวดเร็ว และตรงตามความต้องการมากที่สุด รวมถึงการจัดบรรยากาศที่ดี เป็นระเบียบ ทำให้ผู้ใช้เกิดความรู้สึกที่ดีและประทับใจเมื่อเข้าใช้บริการ

ความสำคัญของงานบริการห้องสมุด
          งานบริการเป็นหัวใจสำคัญของห้องสมุด เป็นงานที่เกี่ยวข้องกับผู้ใช้ทุกระดับ สำหรับงานบริการของห้องสมุดโรงเรียน มีส่วนสำคัญที่ทำให้นักเรียน ผู้ปกครองและชุมชน มาใช้ห้องสมุดมากขึ้น งานบริการเป็นงานที่ห้องสมุดทำขึ้น เพื่อส่งเสริมสนับสนุนการเรียนการสอน ให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ รู้จักศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ใช้ประโยชน์จากการอ่านเพื่อเพิ่มพูนความรู้ ตลอดจนนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้เป็นอย่างดี

วัตถุประสงค์ของการให้บริการห้องสมุด
     1. เพื่อส่งเสริมการอ่าน
2. เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้ห้องสมุด
3. เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มที่และคุ้มค่า
4. เพื่อให้เกิดความรู้ ความเพลิดเพลิน พัฒนาสมองให้มีสติปัญญาเฉลียวฉลาด สามารถนำสิ่งที่ได้จากการอ่านไปปฏิบัติ เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตนต้องการ

องค์ประกอบของงานบริการห้องสมุด
          การที่ห้องสมุดแห่งใดแห่งหนึ่งจะสามารถจัดบริการที่มี ประสิทธิภาพเพียงใดขึ้นอยู่กับองค์ประกอบต่าง ๆ ได้แก่ ทรัพยากรสารสนเทศ ผู้ใช้บริการ ผู้ให้บริการ วิธีบริการ อุปกรณ์และเครื่องมือต่าง ๆ และการจัดการงานบริการ แต่ละองค์ประกอบมีความสำคัญดังต่อไปนี้

  1. ทรัพยากรสารสนเทศ ทรัพยากรสารสนเทศเป็นแหล่งของความรู้ ข้อมูล ข่าวสารที่ผู้ใช้บริการต้องการ ห้องสมุดจึงมีภารกิจในการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศประเภทต่าง ๆ ที่ตรงตามความสนใจและต้องการของผู้ใช้มาจัดเก็บไว้ให้บริการ โดยจะต้องพิจารณาตามความเหมาะสมกับผู้ใช้ ทั้งคุณภาพและปริมาณให้เพียงพอ สนองความต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งต้องพิจารณาทั้งในแง่ประเภทของทรัพยากร วิธีเสนอสาระที่เหมาะกับระดับความรู้ความสามารถของผู้ใช้เป็นส่วนรวม
  2. ผู้ใช้บริการ ผู้ใช้บริการเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้งานบริการสามารถดำเนินไปได้ เพราะงานบริการของห้องสมุดจัดขึ้นเพื่อสนองความต้องการของผู้ใช้ และเพื่อส่งเสริมให้มีการใช้ทรัพยากรสารสนเทศที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์ ผู้ใช้บริการแต่ละบุคคลหรือแต่ละกลุ่ม มีความสนใจและพฤติกรรมการใช้บริการห้องสมุดแตกต่างกัน การจัดบริการจะมีผลสัมฤทธิ์สูงก็ต่อเมื่อบริการนั้นตรงกับความต้องการของผู้ใช้ จึงจำเป็นต้องมีการศึกษาความต้องการและพฤติกรรมการใช้บริการของผู้ใช้ก่อนการจัดบริการแต่ละชนิดเสมอ กล่าวได้ว่าผู้ใช้ห้องสมุดเป็นผู้กำหนดให้ห้องสมุดจัดวิธีบริการให้เหมาะสม นอกจากนี้ภารกิจงานบริการของห้องสมุดยังครอบคลุมถึงการให้การศึกษาแก่ผู้ใช้ เพื่อให้ผู้ใช้รู้จักบริการต่าง ๆ ของห้องสมุดและใช้ให้เกิดประโยชน์ได้อย่างสูงสุด
  3. ผู้ให้บริการ บุคลากรห้องสมุดเป็นผู้ทำหน้าที่จัดบริการให้บรรลุวัตถุประสงค์และนโยบายของห้องสมุด จึงต้องมีคุณสมบัติและบุคลิกภาพที่เหมาะสม ประกอบด้วย คุณสมบัติทางวิชาการ ทักษะต่าง ๆ และคุณสมบัติเฉพาะอื่น ๆ ที่เป็นส่วนสนับสนุนให้จัดบริการได้ดี ทั้งนี้เนื่องจากลักษณะของงานบริการส่วนใหญ่ต้องสัมพันธ์กับผู้ใช้โดยตรง หรือโดยผ่านวิธีการ/เครื่องมือสื่อสารต่าง ๆ ผู้ให้บริการจำเป็นต้องมีจิตสำนึกของการให้บริการ คือ มีความพอใจที่จะให้บริการ ใส่ใจที่จะให้บริการให้ถึงที่สุดโดยไม่ท้อถอย มีบุคลิกลักษณะที่เหมาะสมที่จะทำงานกับคน หมู่มาก เพื่อให้สามารถจัดบริการที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
  4. วิธีบริการ วิธีบริการเป็นการจัดบริการให้ได้ประสิทธิภาพซึ่งต้องคำนึงถึงความสะดวกในการใช้บริการของผู้ใช้ ทั้งบริการภายในห้องสมุดและบริการภายนอกห้องสมุด ไม่ว่าจะเป็น บริการแบบตั้งรับ คือ บริการที่จัดให้เป็นประจำแก่ผู้ใช้ภายในห้องสมุด เข้ามาเลือกใช้ด้วยตนเองจากทรัพยากรสารสนเทศที่จัดไว้เป็นระบบ พร้อมมีคู่มือหรือคำแนะนำในการใช้บริการ หรือ บริการเชิงรุก ได้แก่ การจัดบริการแก่ผู้ที่ไม่สามารถเข้าใช้บริการในห้องสมุด
  5. อุปกรณ์และเครื่องมือในการให้บริการ การจัดบริการห้องสมุดในปัจจุบันซึ่งเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีการพัฒนาอย่างมาก การจัดบริการต้องคำนึงถึงอุปกรณ์และเครื่องมือต่าง ๆ ที่จะอำนวยความสะดวกและรวดเร็วในการใช้บริการ เช่น เครื่องถ่ายเอกสาร เครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นต้น

 ประเภทของงานบริการห้องสมุด
          งานบริการของห้องสมุดมีหลายอย่าง ขึ้นอยู่กับนโยบายและวัตถุประสงค์ของห้องสมุด สำหรับห้องสมุดโรงเรียนโดยทั่วไป มีดังนี้
1. บริการการอ่าน   เป็นบริการหลักของห้องสมุดที่จัดหาและคัดเลือกหนังสือ สิ่งพิมพ์ต่างๆ มาไว้เพื่อให้บริการ และจัดเตรียมสถานที่ให้อำนวยความสะดวกต่อการอ่าน เพื่อตอบสนองความต้องการ และความสนใจของผู้ใช้มากที่สุด
2. บริการยืม – คืน   คือ บริการให้ยืม – คืนทรัพยากรสารสนเทศประเภทต่างๆ ตามระเบียบการยืมของห้องสมุดแต่ละแห่ง เพื่อให้ความสะดวกในการใช้ ในกรณีที่ยืมเกินกำหนด ผู้ยืมจะต้องเสียค่าปรับตามอัตราที่ห้องสมุดกำหนด
3. บริการหนังสือจอง   เป็นบริการที่ห้องสมุดจัดแยกหนังสือรายวิชาต่าง ๆ ที่ครูผู้สอนกำหนดให้นักเรียนอ่านประกอบ รวมทั้งเป็นบริการพิเศษที่จัดขึ้นในกรณีที่หนังสือนั้นมีจำนวนน้อย แต่มีผู้ใช้ต้องการจำนวนมาก โดยแยกไว้ต่างหาก และมีกำหนดระยะเวลาให้ยืมสั้นกว่าหนังสือทั่วไป
4. บริการแนะนำการใช้ห้องสมุด   เป็นบริการเพื่อแนะนำผู้ใช้ให้ทราบว่า ห้องสมุดจัดบริการอะไรบ้างให้กับผู้ใช้ เช่น การปฐมนิเทศแนะนำแก่นักเรียนที่เข้าเรียนในชั้นปีแรก ห้องสมุดส่วนใหญ่จะจัดทำคู่มือการใช้ห้องสมุด เพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับห้องสมุด เช่น ประวัติของห้องสมุด ระเบียบการยืม – คืนทรัพยากรสารสนเทศ มารยาทในการใช้ห้องสมุด บริการและกิจกรรมต่างๆของห้องสมุด เป็นต้น
5. บริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้า   เป็นบริการที่ครูบรรณารักษ์หรือเจ้าหน้าที่ห้องสมุด จะช่วยให้คำแนะนำและบริการตอบคำถามแก่นักเรียนและผู้ใช้ ทั้งคำถามทั่วไปเกี่ยวกับการใช้ห้องสมุด และคำถามที่ต้องค้นหาคำตอบจากทรัพยากรสารสนเทศต่างๆ ในห้องสมุด
6. บริการแนะแนวการอ่าน  เป็นบริการสำคัญที่ห้องสมุดจัดขึ้นเพื่อส่งเสริมการอ่าน พัฒนานิสัยรักการอ่าน และใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ นอกจากนี้ยังเป็นการช่วยเหลือผู้ใช้ห้องสมุดที่มีปัญหาในการอ่าน ผู้ที่ไม่อยากอ่านหนังสือ หรือเลือกหนังสืออ่านไม่เหมาะสมกับความต้องการของตน
7. บริการสอนการใช้ห้องสมุด  เป็นบริการของห้องสมุดในโรงเรียนที่จัดสอนให้แก่นักเรียนที่เข้าเรียนใหม่ในชั้นปีแรก เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้ห้องสมุด การเลือกใช้ทรัพยากรสารสนเทศแต่ละประเภท และบริการต่างๆ ของห้องสมุด ให้ผู้ใช้สามารถใช้ประโยชน์จากห้องสมุดได้อย่างเต็มที่
8. บริการสืบค้นฐานข้อมูล  เป็นบริการสืบค้นฐานข้อมูลหนังสือของห้องสมุดช่วยให้ผู้ใช้ สามารถค้นหาหนังสือด้วยตนเองได้สะดวก รวดเร็วขึ้น
9. บริการรวบรวมบรรณานุกรม  เป็นการรวบรวมรายชื่อหนังสือ สำหรับใช้ประกอบการเรียนการสอน ในรายวิชาต่างๆ รวมถึงการรวบรวมบรรณานุกรมหนังสือใหม่ประจำเดือนที่ห้องสมุดออกให้บริการแก่ผู้ใช้
10. บริการข่าวสารทันสมัย  เป็นบริการที่ช่วยให้ผู้ใช้ห้องสมุดได้ทราบข้อมูลใหม่ๆ ในสาขาวิชาต่างๆ โดยการถ่ายสำเนาหน้าสารบัญวารสารฉบับล่าสุดที่ห้องสมุดได้รับรวบรวมไว้ในแฟ้ม เพื่อให้บริการแก่ผู้ใช้ในการศึกษาค้นคว้า
11. บริการอินเทอร์เน็ต  ผู้ใช้บริการสามารถสืบค้นข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตที่สนใจได้ทั่วโลก ซึ่งทำให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงสารสนเทศที่ทันสมัยได้มากขึ้น ตรงตามความต้องการและสะดวกรวดเร็ว
12. บริการอื่นๆ  ที่ห้องสมุดอาจจัดขึ้น เช่น บริการโสตทัศนวัสดุ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ บริการห้องสมุดเคลื่อนที่ บริการชุมชน บริการขอใช้สถานที่ประชุม เป็นต้น
12.1  บริการสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เป็นบริการค้นคว้าหาความรู้ด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ เช่น สื่อมัลติมีเดีย ซีดีรอม ดีวีดี วีซีดี เป็นต้น
12.2  บริการห้องสมุดเคลื่อนที่ เป็นบริการการอ่านที่ห้องสมุดจัดไว้ตามมุมต่างๆของโรงเรียน เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ เช่น ใต้บันได ระเบียงอาคาร สวน ศาลา ฯลฯ เป็นการให้บริการอย่างไม่เป็นทางการ ง่ายๆ และตกแต่งด้วยธรรมชาติอย่างสวยงาม ตามสภาพของสถานที่นั้นๆ
12.3  บริการชุมชน เป็นบริการที่ขยายโอกาสทางการศึกษาค้นคว้าให้กว้างออกไป โดยห้องสมุดจะจัดหนังสือและสิ่งพิมพ์ ไปให้บริการแก่ชุมชนและหน่วยงานต่างๆ รอบโรงเรียน เช่น ที่วัด ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จุดบริการจักรยานยนต์รับจ้าง เป็นการปลูกฝังนิสัยรักการอ่านให้แก่เด็ก และประชาชนในชุมชนทุกเพศ ทุกวัย เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ข่าวสาร และทันต่อเหตุการณ์
12.4  บริการขอใช้สถานที่ประชุม เป็นบริการเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ฝ่ายบริหาร และครู-อาจารย์ ในการขอใช้ห้องสมุดเพื่อประชุมเฉพาะกลุ่มของโรงเรียน

กิจกรรมห้องสมุด

ความหมายของกิจกรรมห้องสมุด
          กิจกรรมห้องสมุด  หมายถึง งานที่ห้องสมุดจัดขึ้นเป็นครั้งคราว หรือในโอกาสต่างๆ เพื่อส่งเสริมการอ่านหนังสือ การศึกษาค้นคว้า และสนใจมาใช้บริการห้องสมุดมากขึ้น

ความสำคัญของกิจกรรมห้องสมุด
          การจัดกิจกรรมห้องสมุดเป็นการประชาสัมพันธ์ห้องสมุด ทำให้ผู้ใช้ได้รู้จักห้องสมุด มีความกระตือรือร้นในการติดตามอ่านหนังสือหรือค้นคว้า มีส่วนช่วยเสริมสร้างให้ผู้เรียนเกิดความคิดสร้างสรรค์ สามารถค้นคว้าหาข้อมูลมาจัดกิจกรรมต่างๆ ให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี

 วัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรมห้องสมุด

  1.  เพื่อกระตุ้นความสนใจให้อ่านหนังสือ
  2.   เพื่อจูงใจให้อ่านหนังสือ และเกิดนิสัยรักการอ่าน
  3.  เปิดโอกาสให้นักเรียนทำงานร่วมกัน
  4.  เพื่อเกิดความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการ
  5.  เพื่อให้ผู้ใช้มาใช้บริการห้องสมุดเพิ่มขึ้น

ประเภทของกิจกรรมห้องสมุด
           กิจกรรมห้องสมุด จะจัดในโอกาสต่าง ๆ ดังนี้
1. กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน   เป็นกิจกรรมที่จูงใจให้นักเรียนสนใจในการอ่าน และเกิดนิสัยรักการอ่าน ได้แก่
– การเล่านิทาน
– การเล่าเรื่องจากหนังสือ
– การตอบปัญหาจากหนังสือ
– การอภิปราย
– การออกร้านหนังสือ
– การแสดงละครหุ่นมือ
– การโต้วาที
– การประกวด
– การแข่งขัน
– การใช้เกมนำไปสู่การอ่าน
– จัดแสดงหนังสือใหม่

  1.  กิจกรรมส่งเสริมความรู้เรื่องห้องสมุด   เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้นักเรียนรู้จักห้องสมุด ในการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ได้แก่
    – การแนะนำการใช้ห้องสมุด
    – การปฐมนิเทศการใช้ห้องสมุด
    – การนำชมห้องสมุด
    – การอบรมยุวบรรณารักษ์
  1. กิจกรรมส่งเสริมการเรียนการสอน เป็นกิจกรรมที่ห้องสมุดจัดขึ้นเพื่อส่งเสริมการเรียนการสอนของแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ ได้แก่
    – การจัดนิทรรศการ
    – การประกวดคำขวัญ
    – การประกวดเรียงความ
    – การตอบปัญหา
    – การประกวดวาดภาพ
    – บริการครูนำนักเรียนมาศึกษาค้นคว้าในชั่วโมงเรียน
  1.  กิจกรรมส่งเสริมความรู้ทั่วไป   เป็นกิจกรรมที่ห้องสมุดจัดขึ้น เพื่อเสริมความรู้ให้แก่ผู้ใช้บริการ ได้แก่
    – จัดสัปดาห์ห้องสมุด
    – ป้ายนิเทศเสริมความรู้
    – การจัดนิทรรศการ
    – การฉายสื่อมัลติมีเดีย
    – การสาธิตภูมิปัญญาไทย
    – ตอบปัญหาสารานุกรมไทย
  1. กิจกรรมส่งเสริมการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์   เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์จากการอ่าน ได้แก่
    – มุมรักการอ่าน
    – มุมหนังสือในห้องเรียน
    – ห้องสมุดเคลื่อนที่

ดาวโหลดไฟล์งาน

หน่วยที่ 3 .docx

หน่วยที่ 3 .pdf

ห้องสมุดประเภทใดที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการค้นคว้าวิจัย

ห้องสมุดวิทยาลัยและมหาวิทยาลัย หมายถึง ห้องสมุดที่จัดตั้งในสถาบันระดับอุดมศึกษาเป็นสถานที่รวบรวมความรู้ต่างๆ ตามหลักสูตรที่สถาบันนั้นเปิดสอน เพื่อเป็นแหล่งความรู้แก่นักศึกษาและอาจารย์ และเพื่อประโยชน์ของการศึกษาค้นคว้า และวิจัย

ห้องสมุดประเภทใดมีวัตุประสงค์เพื่อการค้นคว้าวิจัยมากที่สุด

ห้องสมุดมหาวิทยาลัย ห้องสมุดประเภทใดที่ให้ข้อมูลในการค้นคว้าวิจัยมากที่สุด ห้องสมุดมหาวิทยาลัย

ห้องสมุดประเภทใดที่เป็นแหล่งสำหรับการศึกษาต่อเนื่องของประชาชน

4. ห้องสมุดประชาชน เป็นห้องสมุดที่ให้บริการทรัพยากรสารสนเทศแก่ประชาชนในท้องถิ่นโดยไม่จำกัดวัย ระดับความรู้ เชื้อชาติและศาสนา เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนแต่ละแห่ง เป็นการส่งเสริมการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองตลอดชีวิตของประชาชนในชุมชน

ห้องสมุดประเภทใดที่ให้บริการทุกเพศทุกวัย

ห้องสมุดสาธารณะ (อังกฤษ: Public library) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ห้องสมุดประชาชน หมายถึง ห้องสมุดที่ให้บริการสำหรับประชาชนทุกอาชีพ ทุกเพศทุกวัย ไม่จำกัดอายุ เพื่อเป็นศูนย์ข้อมูล ส่งเสริมการเรียนรู้ เป็นศูนย์กลางการจัดกิจกรรมของชุมชน เพื่อพัฒนาเครือข่ายการเรียนรู้ของชุมชนต่าง ๆ ในลักษณะและกิจกรรมของห้องสมุด โดย ...

ห้องสมุดประเภทใดที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการค้นคว้าวิจัย ห้องสมุดประเภทใดมีวัตุประสงค์เพื่อการค้นคว้าวิจัยมากที่สุด ห้องสมุดประเภทใดที่เป็นแหล่งสำหรับการศึกษาต่อเนื่องของประชาชน ห้องสมุดประเภทใดที่ให้บริการทุกเพศทุกวัย ห้องสมุดประเภทใดให้บริการทุกเพศ วัย และความรู้ ห้องสมุดเฉพาะ ข้อใดให้ความหมายของ แหล่งเรียนรู้ ได้สมบูรณ์ที่สุด ห้องสมุดในข้อใดให้บริการข้อมูล ความรู้ที่มีเนื้อหาแตกต่างจากห้องสมุดอื่น ประเภทของห้องสมุด ห้องสมุดเฉพาะ มีที่ไหนบ้าง ความหมายของห้องสมุด ห้องสมุดที่จัดหนังสือและจัดวัสดุต่าง ๆ ทุกสาขาตามหลักสูตรตามระดับและประเภท