Divine Right of Kings คือการปกครองแบบใด

โดย...ศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร

********************

ก่อนที่ระบอบการปกครองโดยพระมหากษัตริย์ของไทยจะเผชิญกับการท้าทาย อันเนื่องมาจากอิทธิพลของความเป็นสมัยใหม่จากยุโรปตะวันตก การปกครองโดยพระมหากษัตริย์ของยุโรปเองก็ต้องเผชิญและผ่านวิกฤตที่เกิดขึ้นจากความเป็นสมัยใหม่มาก่อน ซึ่งเดิมทีความชอบธรรมของอำนาจการปกครองของพระมหากษัตริย์ยุโรปในช่วงก่อนศตวรรษที่สิบเจ็ดอิงแอบกับอำนาจของพระผู้เป็นเจ้าโดยผ่านคริสตจักร อันมีสันตะปาปาเป็นผู้นำสูงสุดทางจิตวิญญาณ

ผู้ที่จะขึ้นมาเป็นพระมหากษัตริย์ปกครองรัฐของตนจะต้องได้รับการยอมรับจากสันตะปาปาซึ่งถือเป็นตัวแทนของพระผู้เป็นเจ้า สิทธิในการปกครองของพระมหากษัตริย์จึงเป็นเพียงสิทธิที่ได้รับมอบฉันทะมาจากที่อื่น

พระมหากษัตริย์ไม่ได้มีสิทธิอันชอบธรรมโดยตัวพระองค์เองในการปกครองไพร่ฟ้าราษฎรของตน เพราะตามความเชื่อทางคริสต์ศาสนา ไม่มีมนุษย์คนใดมีอำนาจอันชอบธรรมที่จะปกครองมนุษย์ด้วยกัน ด้วยพระผู้เป็นเจ้าเท่านั้นที่มีอำนาจอันชอบธรรมในการดูแลปกครองมวลมนุษย์ทั้งหลายที่เปรียบเสมือนบุตรของพระผู้เป็นเจ้า ที่ต่างก็เสมอกันต่อหน้าพระองค์ ด้วยเหตุนี้ แนวคิดหรือทฤษฎีทางการปกครองดังกล่าวจึงถูกเรียกว่า ทฤษฎีเทวสิทธิ์ (divine right)

แต่หลังจากที่กาลิเลโอค้นพบความรู้ทางวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ในช่วงต้นศตวรรษที่สิบเจ็ด ความชอบธรรมของคติการปกครองแบบศาสนาก็เริ่มเสื่อมลง เพราะสิ่งที่กาลิเลโอค้นพบนั้นได้พิสูจน์ให้เห็นว่า สิ่งที่เป็น “ความจริง” ตามที่คริสต์ศาสนาได้บอกไว้กลับกลายเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง เพราะในขณะที่คริสต์ศาสนาเชื่อว่าพระผู้เป็นเจ้าสร้างโลกให้เป็นศูนย์กลางของจักรวาล อีกทั้งสรรพสิ่งทั้งหลายในโลกและจักรวาลต่างเคลื่อนไหวดำเนินไปตามพระประสงค์หรือเจตจำนงของพระผู้เป็นเจ้า แต่กาลิเลโอได้พิสูจน์ให้เห็นว่า ดวงอาทิตย์ต่างหากที่เป็นศูนย์กลางของจักรวาล อีกทั้งการเคลื่อนไหวของสรรพสิ่งนั้นดำเนินไปตามกฎแรงโน้มถ่วงของโลก หาได้ขึ้นอยู่กับเจตจำนงของพระผู้เป็นเจ้าไม่

Divine Right of Kings คือการปกครองแบบใด

                                                      กาลิเลโอ

เมื่อคริสต์ศาสนาและอำนาจของพระผู้เป็นเจ้าเริ่มถูกสั่นคลอน คำอธิบายหรือวาทกรรมที่อธิบายให้ความชอบธรรมต่อผู้ปกครองและการใช้อำนาจทางการเมืองที่อิงอยู่กับคริสตศาสนาก็เริ่มหมดความน่าเชื่อถือไปด้วย นักคิดทางการเมืองในยุโรปศตวรรษที่สิบเจ็ด-สิบแปดจึงต้องเริ่มคิดหาคำอธิบายหรือสร้างวาทกรรมทางการเมืองการปกครองชุดใหม่ขึ้น

ขณะเดียวกัน การค้นพบของกาลิเลโอก็ได้กลายเป็นพลังดึงดูดสำคัญต่อนักคิดต่างๆในยุโรป โดยเฉพาะนักคิดทางการเมืองในอังกฤษอย่างโทมัส ฮอบส์ (Thomas Hobbes: 1588-1679) ถึงขนาดที่เขาเดินทางไปขอพบกาลิเลโอในราวปี ค.ศ. 1634-1636 ซึ่งขณะนั้น ฮอบส์มีอายุราวสี่สิบหกปีในขณะที่กาลิเลโออายุเจ็ดสิบ และหลังจากนั้น มีคนเชื่อว่า ฮอบส์ได้นำกรอบความคิดทางวิทยาศาสตร์ของกาลิเลโอมา สร้างทฤษฎีการเมืองของเขาในหนังสือชื่อ Leviathan ที่ตีพิมพ์ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1651

Divine Right of Kings คือการปกครองแบบใด

ลายมือของ ฮอบส์ ที่เขียนเกี่ยวกับทฤษฎีการเคลื่อนไหวของวัตถุของกาลิเลโอ

ฮอบส์ชี้ให้เห็นที่มาของความคิดเรื่องพระผู้เป็นเจ้าและการเกิดศาสนา โดยเขาอธิบายว่า มนุษย์มีความกลัวและกระวนกระวายใจอันเกิดจากความไม่รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับตนในอนาคต หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ กังวลใจกับความไม่แน่นอนนั่นเอง

ความกังวลใจต่ออนาคตที่ไม่แน่นอนนี้เป็นพลังขับเคลื่อนให้มนุษย์พยายามหาคำตอบต่อสาเหตุของสรรพสิ่งต่างๆ เพราะการมีความรู้ดังกล่าวจะทำให้มนุษย์สามารถจัดการกับปัจจุบันให้เกิดประโยชน์สูงสุดสำหรับตัวเขาได้ดีกว่าการไม่รู้ และเมื่อมนุษย์เริ่มตั้งต้นแสวงหาความรู้แห่งปฐมเหตุ ท้ายที่สุด ย่อมหนีไม่พ้นที่จะต้องลงเอยกับความคิดที่เชื่อใน “ต้นกำเนิดแห่งสรรพสิ่งทั้งหลาย” นั่นคือ มนุษย์ยากที่จะหนีความคิดความเชื่อในพระผู้เป็นเจ้าในฐานะที่เป็น “ปฐมเหตุของสรรพสิ่ง” ที่ “อมตะเที่ยงแท้แน่นอนนิรันดร์กาล” ฮอบส์ยืนยันว่า มันเป็นไปไม่ได้เลยที่จะทำการสืบค้นลงลึกต่อปฐมเหตุแห่งธรรมชาติ โดยไม่ลงเอยที่จะเชื่อว่ามีพระผู้เป็นเจ้าหนึ่งเดียวผู้ทรงนิรันดร์กาล

ฮอบส์ชี้ว่า ผู้คนที่ไม่ได้สืบค้นถึงสาเหตุต่างๆแห่งสรรพสิ่งในธรรมชาติหรือไม่สืบค้นอย่างเอาจริงเอาจังมักจะลงเอยกับความคิดความเชื่อที่ว่า มันมีอำนาจอะไรบางอย่างที่จะสามารถให้คุณให้โทษพวกเขาได้ และมักจะเชื่อว่า อำนาจที่ว่านี้มีหลายชนิดและเป็นอำนาจที่ไม่สามารถประจักษ์ได้ และสาเหตุที่มนุษย์ลงเอยกับความเชื่อที่ว่านี้ก็เป็นเพราะความไม่รู้ที่นำไปสู่ความกลัวและความกังวลเป็นสำคัญ

และด้วยเหตุนี้เองที่ทำให้มนุษย์ได้สร้างพระผู้เป็นเจ้าหรือเทพเจ้าต่างๆขึ้นมาในโลก และความกลัวในสิ่งที่มองไม่เห็นนี้เองที่เป็นผลพวงจากธรรมชาติ โดยเฉพาะความกลัวในสิ่งที่มองไม่เห็น และเป็นที่มาของสิ่งที่มนุษย์เรียกว่า ศาสนา ซึ่งมนุษย์ได้ต่อเติมเสริมแต่งและจินตนาการกฎเกณฑ์ของพระผู้เป็นเจ้าและเทพเจ้าขึ้นมาด้วยฝีมือของมนุษย์เอง อันนำมาซึ่งคำอธิบายถึงสาเหตุต่างๆที่จะนำมาซึ่งเหตุการณ์ในอนาคต ซึ่งมนุษย์นำมาตั้งเป็นหลักเกณฑ์ในการปกครองมนุษย์ทั้งหลาย และเป็นที่มาของการใช้อำนาจอันยิ่งใหญ่ที่สุด นั่นคือ การใช้อำนาจในนามของอำนาจของพระผู้เป็นเจ้า

ความกลัวความไม่แน่นอนนำพาให้มนุษย์ลงเอยกับความเชื่อในพระเจ้าและผลพวงของการมีอยู่ของศาสนา ซึ่งฮอบส์ชี้ว่า “ความไม่รู้...นำมนุษย์ไปสู่ความเชื่ออะไรง่ายๆและงมงาย ” ทำให้มนุษย์เชื่อในสิ่งที่เป็นไปไม่ได้อย่างมากมาย และความงมงาย-เชื่ออะไรง่ายๆนำมนุษย์ไปสู่การโกหก และเสกสรรปั้นแต่งเรื่องราวต่างๆขึ้นมา และเชื่อในสิ่งเหล่านี้อีกด้วย

ด้วยเหตุนี้ ฮอบส์จึงไม่สามารถยอมรับทฤษฎีเทวสิทธิ์ในการอธิบายความชอบธรรมของการปกครองของพระมหากษัตริย์ได้อีกต่อไป เขาได้สร้างทฤษฎีใหม่ขึ้นมาโดยเปลี่ยนแปลงคำอธิบายที่มาของอำนาจพระมหากษัตริย์จากเดิมที่อำนาจมาจากพระผู้เป็นเจ้าไปเป็นอำนาจมาจากปวงประชามหาชน โดยการใช้อำนาจทางการปกครองนั้นย่อมจะต้องเป็นไปตามเจตจำนงของมนุษย์ ไม่ใช่เจตจำนงของพระผู้เป็นเจ้าหรือสันตะปาปา หรือพระมหากษัตริย์ที่อยู่ภายใต้อิทธิพลของศาสนจักรอีกต่อไป

อย่างไรก็ดี ทฤษฎีการเมืองใหม่ของฮอบส์ก็มิได้ปฏิเสธรูปแบบการปกครองโดยพระมหากษัตริย์ เพียงแต่ต้องการล้มล้างความคิดความเชื่อที่ว่า อำนาจการปกครองของพระมหากษัตริย์นั้นมีฐานจากอำนาจของพระผู้เป็นเจ้า จากการคิดค้นของฮอบส์ ทำให้ทฤษฎีการเมืองของเขาแตกหักกับทฤษฎีการเมืองก่อนหน้าเขา และได้กลายเป็นจุดเริ่มต้นของทฤษฎีการเมืองสมัยใหม่นับแต่นั้นเป็นต้นมา อันทำให้เขาได้รับการขนานนามว่าเป็นนักทฤษฎีการเมืองสมัยใหม่คนแรกของยุโรป หรือจะเรียกเขาว่าเป็น “กาลิเลโอทางทฤษฎีการเมือง” ก็คงไม่ผิด

ขณะเดียวกัน ในปี ค.ศ. 1652 หนึ่งปีให้หลังจากการตีพิมพ์ Leviathan ของฮอบส์ นักคิดทางการเมืองชาวอังกฤษอีคนหนึ่งชื่อ เซอร์โรเบิร์ต ฟิลเมอร์ (Sir Robert Filmer: 1588-1653) ได้เขียนบทความออกมาโต้ Leviathan ของฮอบส์ บทความชิ้นนี้มีชื่อว่า ข้อสังเกตเกี่ยวกับกำเนิดของการปกครองใน Leviahtan ของฮอบส์ (Observations Concerning the Original of Government, Upon Mr. Hobs Leviathan)

ในความคิดของฟิลเมอร์ มีสิ่งหนึ่งที่เขาเห็นด้วยอย่างยิ่งกับฮอบส์ นั่นคือ สิทธิอันชอบธรรมแห่งอำนาจสูงสุดที่จะต้องไม่มีอำนาจใดๆในรัฐท้าทายอำนาจดังกล่าวนี้ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ฟิลเมอร์เห็นด้วยกับการปกครองที่มีอำนาจสูงสุดเพียงหนึ่งเดียวในมือของพระมหากษัตริย์ไม่ต่างจากฮอบส์ แต่เขาไม่เห็นด้วยอย่างรุนแรงกับฮอบส์ในประเด็นคำอธิบายที่มาของอำนาจสูงสุด

Divine Right of Kings คือการปกครองแบบใด

                                           เซอร์โรเบิร์ต ฟิลเมอร์กับหนังสือทฤษฎีพ่อปกครองลูก

ขณะเดียวกัน ด้วยกระแสของความรู้ทางวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ ก็ทำให้ฟิลเมอร์ไม่สามารถกลับไปหาทฤษฎีเทวสิทธิ์แบบดั้งเดิมได้ เขาได้พยายามสร้างคำอธิบายชุดใหม่ขึ้นมาทดแทนทฤษฎีเทวสิทธิ์แบบดั้งเดิมที่พระมหากษัตริย์ใช้อำนาจอันชอบธรรมของพระผู้เป็นเจ้าในการปกครองโดยผ่านฉันทานุมัติของสันตะปาปา ทฤษฎีการเมืองของเขาปรากฏอยู่ในหนังสือชื่อ Patriarcha or the Natural Power of Kings หรือ “ปิตาธิปไตย: อำนาจตามธรรมชาติของพระมหากษัตริย์” ซึ่งตีพิมพ์ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1680 ซึ่งถือเป็นต้นกำเนิดแนวคิดการปกครองแบบพ่อปกครองลูกขออังกฤษ !

และถ้าเปรียบเทียบกับของไทยเรา จะพบว่า เรามีและใช้แนวการปกครองแบบพ่อปกครองลูกมาก่อนอังกฤษ เพราะเซอร์โรเบิร์ต ฟิลเมอร์คิดค้นทฤษฎีพ่อปกครองลูกในปี ค.ศ. 1680 หรือ ประมาณ พ.ศ. 2223 ซึ่งตรงกับสมัยกรุงศรีอยุธยา แต่ของไทยเรามีตั้งแต่สมัยสุโขทัย นั่นคือราว พ.ศ. 1822-1841 ในสมัยของพ่อขุนรามคำแห่งตามที่เราทราบกันดี

แต่การกล่าวว่า สมัยสุโขทัยมีการปกครองแบบพ่อปกครองลูกนั้นเกิดขึ้นครั้งแรกโดยหลวงวิจิตรวาทการ จากการตีความเนื้อหาในศิลาจารึกหลักที่หนึ่งที่ถูกค้นพบในสมัยรัชกาลที่ 4 และเป็นหลักที่มีปัญหาข้อถกเถียงในประเด็นเรื่องความเก่าและความแท้ นอกจากศิลาจารึกหลักที่หนึ่งแล้ว ก็ไม่ปรากฎหลักฐานทางประวัติศาสตร์อื่นใดที่บอกว่า เรามีการปกครองแบบพ่อปกครองลูกในสมัยสุโขทัย

คติการปกครองแบบพ่อปกครองลูกแบบอังกฤษโดยฝีมือของเซอร์โรเบิร์ต ฟิลเมอร์จะเหมือนหรือต่างจากพ่อปกครองลูกของหลวงวิจิตรฯมากน้อยแค่ไหน คงต้องติดตามกันต่อไป

Divine Right of Kings คือการปกครองแบบใด

                                         หลวงวิจิตรวาทการ กับ ระบอบพ่อปกครองลูกของพ่อขุนรามคำแหง

Divine Right of Kings คือการปกครองอะไร

ระบอบเทวราชาหรือที่เรียกอีกชื่อหนึ่งว่าระบอบ เทวสิทธิราชย์(Divine Right of Kings) ตามแนวคิด ตะวันตกเป็นหลักความเชื่อทางการเมืองและทางศาสนา ว่าพระมหากษัตริย์ไม่ทรงอยู่ภายใต้อำนาจใดภายใน โลกียวิสัย เพราะทรงเป็นผู้ที่ได้รับอำนาจโดยตรงจาก พระเจ้า ฉะนั้นพระมหากษัตริย์จึงไม่ทรงอยู่ภายใต้ อำนาจของประชาชน ขุนนาง หรือสถาบันใดๆ ...

กรุงศรีอยุธยาได้นำวิธีการปกครองแบบเทวราชามาใช้เนื่องจากเหตุใด

ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ได้รับคติพราหมณ์มาจากขอม เรียกพระมหากษัตริย์หรือผู้ปกครองว่า "สมมติเทพ" หรือ "เทวราชา" คือ ลักษณะการปกครองที่พระมหากษัตริย์เป็นคนเดียวที่มีอำนาจสูงสุดในการปกครองแผ่นดิน โดยมีความเชื่อว่าได้รับบัญชาสวรรค์หรือเป็นตัวแทนสวรรค์ลงมาปกครองมวลมนุษย์ เราเรียกการปกครองแบบนี้ว่า "ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช"

ข้อใดคือความหมายของหลักเทวสิทธิ์

1. ทฤษฎีเทวสิทธิ์ (Divine Right Theory) ค. ผู้ปกครองรัฐได้อำนาจปกครองรัฐมาจากพระเจ้า ผู้ใดฝ่าฝืนอำนาจรัฐหรือขัดขืนอำนาจของผู้ปกครองรัฐ ผู้นั้นฝ่าฝืนโองการของพระเจ้า ถือว่ามีบาปและมีความผิด ง. ประชาชนในรัฐต้องเชื่อฟังผู้มีอำนาจในรัฐโดยเคร่งครัด

เทวราชาหมายถึงอะไร

ในคติพหุเทวนิยม เทวราช (บาลี: เทวราช) หมายถึง เทวดาผู้พระราชา หรือพระราชาแห่งเทวดา เทวราชในศาสนาต่าง ๆ พระอินทร์ในศาสนาพราหมณ์-ศาสนาฮินดู