บันทึกเหตุการณ์ของวัน วลิต เป็นหลักฐานประเภทใด

บันทึกเหตุการณ์ของวัน วลิต เป็นหลักฐานประเภทใด

พงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับวัน วลิต พ.ศ. ๒๑๘๒ แปลและเรียบเรียงจาก The Story History of the King of Siam ของ ดร.เลียวนาร์ด แอนดายา (Dr.Leonard Andaya) ที่ได้แปลจากต้นฉบับเดิมภาษาฮอลันดาของ เยรามีส ฟาน ฟลีต งานชิ้นนี้ของ ฟาน ฟลีตได้เริ่มเขียนขึ้นในปี พ.ศ. ๒๑๘๒ ในขณะดำรงตำแหน่งหัวหน้าพ่อค้าของบริษัท อิสต์อินเดียของฮอลันดาประจำกรุงศรีอยุธยา เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับความเป็นมาของราชวงศ์อยุธยาตั่งแต่พระเจ้าอู่ทองจนถึงพระเจ้าปราสาททองอย่างกระชับ ความละเอียดมากน้อยแต่แล้วแต่ความสำคัญของเหตุการณ์ตามแต่ละราชกาล ขาดก็แต่เพียงพระศรีเสาวภาคย์ที่ต่อจากสมเด็จพระเอกาทศรถเท่านั้น ซึ่งต่างกับ “พงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐ” ซึ่งเขียนขึ้นในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ ที่ค้นพบในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่จะกล่าวเรื่องราวต่าง ๆ เพียงสั้น ๆ เอาแต่ใจความสำคัญและมี วัน เดือน ปีกำกับทุกเหตุการณ์ ซึ่งมีความน่าเชื่อถือมากกว่าเมื่อเทียบกับพงศาวดารฉบับวัน วลิตและพงศาวดารฉบับอื่น ๆ ของไทย แต่เมื่อเทียบศักราชกันแล้ว นับว่าพงศาวดารฉบับนี้มีความเก่าแก่กว่าพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐถึง ๔๐ ปี นับว่าเป็นพงศาวดารฉบับกรุงศรีอยุธยาที่เก่าแก่ที่สุดในปัจจุบัน

เยรามีส ฟาน ฟลีต (Jeremias van Vliet) เป็นชาวเมือง ซีดัม (Shiedam) ประเทศเนเธอร์แลนด์ ฟาน ฟลีตเริ่มเข้าทำงานอยู่ในบริษัทอิสต์อินเดียของฮอลันดาเมื่อ พ.ศ. ๒๑๔๕ อีก ๓๑ ปีต่อมาได้ย้ายมาประจำอยู่ในกรุงศรีอยุธยาซึ่งตรงกับแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าปราสาททองในตำแหน่งผู้ช่วยผู้จัดการของ โยน เซาตัน ในปี พ.ศ. ๒๑๗๙ จึงได้เลื่อนตำแหน่งขึ้นมาเป็นผู้จัดการศูนย์การค้าแทนโยน เซาตันที่หมดวาระหน้าที่ไป

ฟาน ฟลีตยังได้เขียนหนังสือสำคัญเกี่ยวกับกรุงศรีอยุธยาอีกสองเล่มคือ พรรณนาเรื่องอาณาจักรสยาม (พ.ศ. ๒๑๗๙) ว่าด้วยอาณาจักรสยาม ที่ตั้ง สภาพการเมือง การปกครอง เศรษฐกิจและสังคมในสมัยนั้น อีกหนึ่งเล่มคือ จดหมายเหตุฟาน ฟรีต (พ.ศ. ๒๑๘๓) กล่าวถึงความเป็นไปตอนปลายรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม การจลาจลวุ่นวายและการขึ้นครองราชย์ของพระเจ้าปราสาททอง ทั้งสองฉบับนับว่ามีความสำคัญต่อการศึกษาประวัติศาสตร์อยุธยาอย่างยิ่งไม่แพ้กัน

จุดประสงค์ของการเขียนพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับวัน วลิต พ.ศ. ๒๑๘๒ นอกเหนือจากเป็นการเล่าเรื่องราวต่าง ๆ เกี่ยวกับอาณาจักรสยามให้กับ อันโตนิโย แวน ไดเมน ผู้สำเร็จราชการรัฐของประเทศเนเธอร์แลนด์ประจำปัตตาเวียในอินเดียแล้ว ฟาน ฟลีตยังได้เขียนถึงจุดประสงค์ของการเขียนไว้อย่างชัดเจนในช่วงต้น ดังนี้ :

“เนื่องจากตำนานเรื่องราวเกี่ยวกับพระเจ้าแผ่นดินสยาม การสืบราชสมบัติ และพระนามพร้อมทั้งคุณลักษณะของพระองศ์ (เท่าที่รู้) ยังไม่เคยมีพวกเราผู้ใดนำมาเปิดเผย”

วาทิน ศานติ์ สันติ

วิธีการทางประวัติศาสตร์มีอยู่ 5 ขั้นตอน คือ

การกำหนดหัวเรื่องที่ต้องการจะศึกษา

การศึกษาเรื่องราวในประวัติศาสตร์ ควรเริ่มต้นจากการกำหนดเป้าหมาย เพื่อให้ทราบจุดประสงค์การศึกษาให้แน่ชัด ซึ่งเราจำเป็นจะต้องตั้งคำถามในสิ่งที่ต้องการศึกษา และใช้การอ่านและสังเกตในการตอบคำถาม นอกจากนี้ ก็ควรต้องมีความรู้พื้นฐานทางประวัติศาสตร์ให้มากเพียงพอ เพื่อที่จะสามารถตอบได้ว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร

การรวบรวมหลักฐานที่เกี่ยวข้อง

การรวบรวมหลักฐานที่ต้องการศึกษา มีทั้งที่เป็นหลักฐานลายลักษณ์อักษร และหลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งอาจอแบ่งหลักฐานทางประวัติศาสตร์ออกได้เป็น ‘หลักฐานชั้นต้นหรือหลักฐานปฐมภูมิ’ กับ ‘หลักฐานชั้นรองหรือหลักฐานทุติยภูมิ’ ดังต่อไปนี้

1) หลักฐานชั้นต้น (Primary Sources) เป็นหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์นั้นๆโดยตรง เช่น หลักฐานทางราชการ ประกาศ สุนทรพจน์ บันทึกความทรงจำของผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์ ผู้เห็นเหตุการณ์ วีดิทัศน์ ภาพยนตร์ หรือภาพถ่าย เป็นต้น

2) หลักฐานชั้นรอง (Secondary Sources) เป็นหลักฐานที่ทำขึ้นจากหลักฐานชั้นต้น บุคคลที่สร้างขึ้นไม่ได้เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์นั้นโดยตรง แต่ได้รับรู้โดยผ่านบุคคลหรือผลงานอื่น

ด้วยเหตุนี้ หลักฐานชั้นต้นจึงมีความสำคัญมากกว่าหลักฐานชั้นรอง อย่างไรก็ตาม หลักฐานชั้นรองจะเป็นตัวช่วยในการอธิบายเรื่องราวให้เข้าใจมากยิ่งขึ้น และเป็นตัวช่วยที่จะนำไปสู่หลักฐานข้อมูลอื่นๆ การค้นคว้าเรื่องราวในประวัติศาสตร์ควรมองให้รอบด้านและระมัดระวัง เนื่องจากหลักฐานทุกประเภทมีจุดเด่นและจุดด้อยที่แตกต่างกัน

การประเมินคุณค่าของหลักฐานที่ได้มา

ก่อนจะนำหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ค้นคว้ามาได้มาศึกษา จะต้องมีการประเมินคุณค่าของหลักฐานนั้นเสียก่อน ว่าเป็นหลักฐานที่แท้จริงหรือไม่เพียงใด โดยการประเมินคุณค่าของหลักฐานนี้ อาจเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “การวิพากษ์วิธีทางประวัติศาสตร์” ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 วิธี ได้แก่

1) การประเมินคุณค่าภายนอกหรือวิพากษ์วิธีภายนอก คือ การประเมินคุณค่าของหลักฐานจากลักษณะภายนอก และเนื่องจากบางครั้งหลักฐานอาจมีการปลอมแปลงให้ผิดไปจากความเป็นจริง หรือเพื่อผลประโยชน์ทางการเมืองหรือการค้า ดังนั้น การประเมินข้อเท็จจริงของเอกสารจึงเป็นสิ่งสำคัญ  โดยการประเมินวิธีภายนอก จะพิจารณาจากสิ่งที่ปรากฏภายนอกเป็นหลัก เช่น การพิจารณาเนื้อกระดาษ ที่สามารถบ่งบอกได้ว่ามีที่มาจากชาติไหน เป็นต้น

2) การประเมินคุณค่าภายในหรือวิพากษ์วิธีภายใน คือ การประเมินคุณค่าของหลักฐานโดยอาศัยข้อมูลภายในหลักฐานนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็น ‘ชื่อบุคคล’ ‘สถานที่’ หรือ ‘เหตุการณ์’ ยกตัวอย่างเช่น หากในหลักฐานเชื่อกันว่าเป็นหลักฐานสมัยสุโขทัย แต่เนื้อหาภายในมีการกล่าวถึงสหรัฐอเมริกา ก็ควรตั้งข้อสงสัยว่าหลักฐานนั้นอาจไม่ใช่หลักฐานสมัยสุโขทัยจริง เนื่องจากประเทศสหรัฐอเมริกายังไม่เข้ามาในสมัยสุโขทัย

การวิเคราะห์ สังเคราะห์ และจัดหมวดหมู่ข้อมูล

หลังจากแน่ใจแล้วว่าหลักฐานนั้นเป็นของแท้ และให้ข้อมูลที่เป็นจริงตามประวัติศาสตร์ ผู้ศึกษาก็ต้องพิจารณาเพิ่มเติมว่า ข้อมูลทางประวัติศาสตร์นั้นสมบูรณ์มากน้อยเพียงใด หรือข้อมูลนั้นๆมีจุดมุ่งหมายเบื้องต้นอย่างไรบ้าง หลังจากนั้น จึงนำเอาข้อมูลทั้งหลายมาแบ่งหมวดหมู่ตามความเหมาะสม เพื่อให้ง่ายต่อการดำเนินงานขั้นต่อไป

ขั้นตอนต่อไป คือ การพยายามหาความสัมพันธ์ของประเด็นต่างๆ และตีความข้อมูลนั้นๆว่า มีข้อเท็จจริงอื่นใดที่ยังคงถูกซ่อนและไม่กล่าวถึงอีกบ้าง รวมไปถึงการพิจารณาด้วยว่า ข้อมูลที่ได้มานั้นกล่าวเกินจริงไปหรือไม่ ซึ่งผู้ศึกษาประวัติศาสตร์จำเป็นต้องมีความละเอียดรอบคอบ เป็นกลาง รอบรู้ หรือมีจินตนาการ เพื่อที่จะนำข้อมูลทั้งหมดมาวิเคราะห์เปรียบเทียบ หรือจัดหมวดหมู่ได้อย่างเป็นระบบ

การเรียบเรียงหรือการนำเสนอข้อมูล

หลังจากดำเนินขั้นตอนมาตามที่กล่าวไว้ข้างต้นแล้ว ก็จะมาจบลงที่การเรียบเรียงหรือการนำเสนอ ซึ่งเป็นขั้นตอนสุดท้ายของวิธีการทางประวัติศาสตร์ ขั้นตอนนี้มีความสำคัญเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นขั้นตอนที่จะขมวดเอาข้อมูลทั้งหมดเข้าด้วยกัน และนำเสนอให้ตรงกับประเด็นหัวเรื่องที่สงสัย รวมไปถึงการสืบหาความคิดใหม่ที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้ เพื่อจำลองเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่เคยเกิดขึ้นในอดีต ให้กลับมาใหม่อีกครั้ง

สำหรับขั้นตอนการนำเสนอ ผู้ศึกษาจะต้องอธิบายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างเป็นขั้นเป็นตอน มีเหตุมีผล และมีข้อมูลสนับสนุนที่น่าเชื่อถือ รวมถึงการปิดท้ายด้วยข้อเสนอแนะ เพื่อนำทางให้ผู้ที่สนใจคนอื่นๆได้ศึกษาต่อไป

ผู้ศึกษาประวัติศาสตร์ที่ดีจำเป็นต้องจำลองอดีตด้วยความถูกต้องและสมบูรณ์ที่สุด โดยการใช้ ‘วิธีการทางประวัติศาสตร์’ ตามที่กล่าวมาข้างต้น ทั้งนี้ก็เพื่อทำให้เกิดความเข้าใจในอดีต และนำมาสู่ความเข้าใจในปัจจุบันนั่นเอง

                                                              แบบทดสอบก่อนเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่                2

คำชี้แจง      ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว

1. ขั้นตอนแรกของวิธีการทางประวัติศาสตร์ คือขั้นตอนใด

     ก.  ปรึกษาผู้รู้หรือผู้เชี่ยวชาญ

     ข.  เลือกเรียนวิชาประวัติศาสตร์

     ค.  กำหนดหัวเรื่องที่น่าสนใจหรือเราสนใจ

      ง.  ค้นหาหลักฐานเพื่อกำหนดเรื่องให้สอดคล้องกัน

  2. เพราะเหตุใด จึงต้องมีการประเมินคุณค่าหลักฐานทางประวัติศาสตร์

     ก.  หลักฐานอาจมีหรือไม่มี
ข.  หลักฐานอาจจริงหรือเท็จ

     ค.  หลักฐานอาจมากหรือน้อย
ง.
  หลักฐานอาจเก่าหรือใหม่

  3. หากมีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเดินทางเข้ามาประเทศไทย แล้วไปเขียนหนังสือบรรยายว่าประเทศไทยล้าหลัง ด้อยพัฒนา เพราะยังมีการกินอาหารด้วยมือหรือไม่สวมเสื้อผ้า นักเรียนคิดว่าข้อความนี้จะใช้เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ในอนาคตได้หรือไม่

     ก.  ได้ เพราะเป็นหลักฐานชั้นต้น

     ข.  ได้ แต่ต้องมีการตีความหลักฐาน

     ค.  ไม่ได้ เพราะเป็นหลักฐานเท็จ

     ง.  ไม่ได้ เพราะผู้เขียนไม่ใช่คนไทย

  4. บันทึกเหตุการณ์ของ วันวลิต ชาวต่างชาติที่เข้ามาในสมัยอยุธยา เป็นหลักฐานประเภทใด

    ก.  หลักฐานชั้นต้น – เป็นลายลักษณ์อักษร

     ข.  หลักฐานชั้นรอง – เป็นลายลักษณ์อักษร

    ค.  หลักฐานชั้นต้น – ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร

      ง.  หลักฐานชั้นรอง – ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร

  5. หลักฐานที่เด่นมากในเรื่องของรายละเอียดและความถูกต้องของเวลา คือหลักฐานใด

     ก.  จารึก                  ข.  ตำนาน

     ค.  จดหมายเหตุ           ง.  พงศาวดาร

  6. เรื่องราวที่ปรากฏในพงศาวดารส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร

     ก.  สงครามกับเพื่อนบ้าน

     ข.  ความเป็นอยู่ของไพร่ฟ้า

     ค.  การเผยแผ่พระพุทธศาสนา

     ง.  พระราชกรณียกิจของกษัตริย์

  7. เรื่องราวของมะกะโทที่เข้ามารับราชการในสมัยพระร่วงจัดเป็นหลักฐานประเภทใด

    ก.  พงศาวดาร

    ข.  บันทึกชาวต่างชาติ

    ค.  หลักฐานโบราณคดี

    ง.  ตำนานหรือนิทานพื้นบ้าน

  8. ลักษณะนิสัยใดที่มีความจำเป็นน้อยสำหรับ                นักประวัติศาสตร์

     ก.  ชอบสังเกต             ข.  ชอบค้นหา

     ค.  ชอบจดบันทึก         ง.  ชอบวาดภาพ    

  9. เรื่องราวในประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นมาแล้ว จะมีความน่าเชื่อถือหากเป็นกรณีใด

    ก.  ผู้เขียนเป็นราชนิกูล

     ข.  มีหลักฐานอ้างอิงสนับสนุน

     ค.  มีการเรียบเรียงอย่างสละสลวย

     ง.  ผู้เขียนเป็นบุคคลที่มีความรู้ ความสามารถ

10. บิดาแห่งประวัติศาสตร์ชาติไทย คือใคร

    ก.  ศาสตราจารย์ขจร สุขพานิช

     ข.  สมเด็จฯ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์

     ค.  สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ

     ง.  พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

เฉลย

    1.  ค

    2.  ข

    3.  ข 

    4.  ก

    5.  ค

    6.  ง

    7.  ง  

    8.  ง

    9.  ข 

  10.  ค

บันทึกของวันวลิตสมัยอยุธยาเป็นหลักฐานประเภทใด

หนังสือพระราชทานพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับวันวลิตนั้น เขียนเสด็จเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2183 เป็นเอกสารรายงานสำคัญจาก หัวหน้าสถานีการค้าฮอลันดาประจำประเทศสยามถึงผู้สำเร็จราชการรัฐแห่งเนเธอรแลนด์ในอินเดียตะวันออก นับเป็นเอกสารพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับเก่าที่สุดเท่าที่ค้นพบ

จดหมายเหตุวันวลิตเขียนขึ้นในสมัยใดและเป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร

จดหมายเหตุวันวลิต เขียนโดยชาววิลันดา ชื่อ วันวลิต เมื่อปี ค.ศ. ๑๖๔๗ (พ.ศ. ๒๑๙๐) กล่าวถึงประวัติศาสตร์ไทยปลายรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรมและการเกิดจลาจลในอาณาจักรสยาม จนถึงปลายสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง

จดหมายเหตุฟานฟลีตเกี่ยวกับเรื่องอะไร

จดหมายเหตุของ ฟาน ฟลีต เป็นเรื่องเล่าทาง ประวัติศาสตร์ นอกจากมิติของเวลาตามล าดับอย่างพงศาวดาร แล้ว สิ่งส าคัญของงานเขียนนี้คือการเน้นเหตุการณ์และ บุคคล เหตุการณ์ส าคัญคือความเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ภาพรวมของเหตุการณ์สะท้อนปรากฏการณ์ทางสังคม สองฝ่าย ส่วนในแง่บุคคล จดหมายเหตุฉบับนี้ได้น าเสนอ ให้เห็นบุคคลสองลักษณะคือ ...

เยเรเมียส ฟาน ฟลีต ผู้เขียนพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาเป็ชาวตะวันตกชาติใด

เยเรเมียส ฟาน ฟลีต (ดัตช์: Jeremias van Vliet; ค.ศ. 1602 - 1663) หรือที่คนไทยเรียกกันว่า วัน วลิต พ่อค้าชาวเนเธอร์แลนด์ ของบริษัทดัตช์อีสต์อินเดีย เป็นผู้อำนวยการการค้าของอีสต์อินเดียในกรุงศรีอยุธยา ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง ระหว่าง พ.ศ. 2176 ถึง 2185 และได้เขียนหนังสือบันทึกเกี่ยวกับประเทศไทยไว้ 5 เล่ม เป็นภาษา ...