การรังแก แบบ ใด ที่ ยาก ต่อการ ตรวจ พบ หรือ ยาก ต่อการ สังเกต เห็นได้

การรังแกกัน เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นมานานในสังคมรั้วโรงเรียน จนบางครั้ง คนที่อยู่ในสังคมโรงเรียน อย่างเราเอง ก็อาจคิดไม่ถึงว่า การกระทำบางครั้งของเพื่อนร่วมชั้น ร่วมห้อง หรือแม้แต่เพื่อนสนิทที่ใกล้ชิดกับตัวเราเองนั้น ก็เป็นการรังแกด้วย

แล้วรู้หรือไม่ว่า ยังมีนักเรียนในโรงเรียนบางคน ได้รับผลกระทบเพราะการรังแก จนไม่สามารถมาโรงเรียนได้อย่างมีความสุขเหมือนคนอื่นๆ ชึ่งในบทความนี้เลิฟแคร์จะพาไปรู้จักว่า การรังแกกันคืออะไร พร้อมแล้วไปกันเลย

พฤติกรรมการรังแก หมายถึง การแสดงออก หรือการกระทำในลักษณะที่รุนแรง โดยมีจุดมุ่งหมายในการทำร้ายจิตใจ โดยวิธีต่างๆ เช่น บังคบ ขู่เข็ญ คุกคาม ทุบตี ล้อเลียน กีดกันออกจากสังคม หรือจำกัดเสรีภาพ จิตใจ เนื่องจากผู้รังแกมีเจตนาทำร้ายทั้งทางร่างกาย หรือจิตใจ ทำให้พฤติกรรมการรังแก ถือเป็นความรุนแรงรูปแบบหนึ่ง

การรังแกต่างจาก หยอกเล่น และ การทะเลาะยังไง???

การรังแก เป็นการกระทำที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีอำนาจเหนือกว่าอีกฝ่าย โดยที่อีกฝ่ายไม่สามารถตอบโต้ได้ และเป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นซ้ำๆ กระทำต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน จึงจะเรียกว่าเป็นการรังแก หรือในบางกรณีการกระทำครั้งเดียวแต่มีผลกระทบกับผู้ถูกกระทำ ก็ถือว่าเป็นการรังแก

สำหรับการหยอกเล่น อันนี้อาจจะดูยากไปนิด ต้องใช้การสังเกตความรู้สึกของคนถูกหยอกเล่น รวมถึงความสนิทสนมพวกเขาด้วยนะ เล่น คือ ต้องสนุกทั้งสองฝ่าย (แต่ถ้าฝ่ายใดผ่ายหนึ่งไม่สนุกด้วย ก็ถือเป็นการรังแก โดยใช้ความรู้สึกของคนถูกกระทำเป็นตัววัด) ส่วนการทะเลาะ ทั้งสองฝ่ายจะอยู่ในสถานะที่ตอบโต้กันได้

การรังแก แบบ ใด ที่ ยาก ต่อการ ตรวจ พบ หรือ ยาก ต่อการ สังเกต เห็นได้

การรังแก สามารถแยกออกมาได้เป็น 4 รูปแบบ ได้แก่

  1. การรังแกทางร่างกาย (Physical stopbullying) เช่น การต่อย ตี ผลัก สัมผัสบริเวณที่ไม่เหมาะสม
  2. การรังแกทางวาจา(Verbal stopbullying) เช่น การพูดเสียดสี การพูดจาล่วงละเมิด การล้อเลียน การแสดงความคิดเห็นในเชิงลบต่อบุคคลอื่นๆ เช่น้เรื่องรูปร่างหน้าตา
  3. การรังแกทางสังคม(Rerational stopbullying) เช่น การปล่อยข่าวลือด้านลบของคนอื่น กีดกันเพื่อนออกจากกลุ่ม เมินเฉยต่อผู้อื่น
  4. การรังแกกันบนสื่อออนไลน์  (Cyber stopbullying) เช่น การปลอมโปรไฟล์ การโพสข้อความโจมตีผู้อื่นเป็นต้น

ทีนี้พอรู้กันบ้างแล้วว่าการรังแกคืออะไร ลองสังเกตดูว่า ที่เราเล่นกับพื่อนทุกวันเนี่ย ใช่การรังแกกันรึเปล่า ติดตามเรื่องราวต่างๆเกี่ยวกับการรังแกได้ที่ เลิฟแคร์สเตชั่น

ขอบคุณข้อมูลจาก

นวิยา นิยมธรรม.ศึกษาพฤติกรรมการรังแกของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลายถึงระดับชั้นมัถธยมศึกษาตอนต้นในประเทศญี่ปุ่นกรณีศึกษาผู้ถูกรังแก.ปริญญานิพนธ์,สาขาภาษาญี่ปุ่น ภาควิชาตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่,2558.

คณะผู้วิจัย.การรังแกต่อกลุ่มนักเรียนที่เป็นหรือถูกมองว่าเป้นคนข้ามเพสหรือคนรักเพสเดียวกัน ในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา : รูปแบบ ความชุก ผลกระทบ แรงจูงใจ และมาตรการการป้องกัน ใน 5 จังหวัดของประเทศไทย. องค์การยูเสโก Plan International และมหาวิทยาลัยมหิดล.

ราชบัณฑิตสภา ให้คำนิยาม Cyber Bully ว่าคือ "การระรานทางไซเบอร์" หมายถึง การกลั่นแกล้ง การให้ร้าย การด่าว่า การข่มเหง หรือการรังแกผู้อื่นทางสื่อสังคมต่าง ๆ เช่น เฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์

สมัยก่อน โดนล้อว่า “อ้วนดำ” ก็จบตรงนั้น ในห้องเรียน ในโรงเรียน กับเพื่อนกลุ่มเล็ก ๆ ไม่กี่สิบคน แต่สมัยนี้ มีการใช้ภาพประกอบ ตัดต่อ แต่งภาพ ให้ดูน่าเกลียดหรือดูตลกกว่าเดิม มีการก๊อปปี้ถ้อยคำกลั่นแกล้งเป็นพัน ๆ ครั้ง มีคนมาเขียนคอมเมนต์ซ้ำเติม แล้วแชร์วนไปในโซเชียลมีเดีย เรียกว่าเป็น Cyberbullying เหมือนถูกทำร้ายจากคนเป็นพันเป็นหมื่นซ้ำแล้วซ้ำเล่า และอาจแพร่กระจายไปได้เป็นล้านคนในเวลาไม่นาน โดยการทำร้ายยังคงอยู่อย่างนั้น เปิดไปเมื่อไรก็เจอ

ปัญหาการระรานในโรงเรียนบ้านเรา ปัจจุบันนี้สูงถึงร้อยละ 40 ติดอันดับ 2 ของโลก รองจากประเทศญี่ปุ่น* โดยเฉพาะ Cyberbullying ซึ่งใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ทำร้ายจิตใจและอาจส่งผลกระทบต่อร่างกายของเหยื่อ ที่แย่คือคนทำสามารถปกปิดตัวตนบนโลกออนไลน์ ทำให้ไม่รู้ว่าจะจัดการแก้ปัญหากับใครได้อย่างไร เนื้อหาที่โดนระราน กลั่นแกล้ง รังแก ไม่ว่าจะเป็น การดูถูกเหยียดหยาม ทำให้กลายเป็นตัวตลก เสียชื่อเสียง คอยจับผิด แฉ ประจาน ทำให้อับอาย จนถึงขั้นใส่ร้ายป้ายสี จะแพร่กระจายไปอย่างรวดเร็วบนโลกออนไลน์ มีคนมาช่วยแชร์ มาเขียนคอมเมนต์ในด้านลบ กลายเป็นวงจรการระรานทางไซเบอร์ที่ทำร้ายเหยื่อไม่สิ้นสุด

การรังแก แบบ ใด ที่ ยาก ต่อการ ตรวจ พบ หรือ ยาก ต่อการ สังเกต เห็นได้

สาเหตุของการระรานออนไลน์

Cyberbullying เกิดขึ้นได้ทั้งจากการแกล้งกันเล็ก ๆ น้อย ๆ ล้อกันเล่นขำ ๆ แล้วบานปลายไปด้วยความไม่ตั้งใจ หรืออาจเกิดจากความขัดแย้งกันในโรงเรียน ความเกลียดชัง ทั้งที่มีเหตุผลและไม่มีเหตุผล อาจแค่ไม่ชอบหน้า หรือความคิดเห็นบางอย่างไม่ตรงกัน แล้วใช้พื้นที่ในโลกออนไลน์โจมตีกัน รูปแบบของ Cyberbullying ที่พบบ่อย ๆ ได้แก่

  1. การข่มขู่คุกคาม หรือให้ร้ายเหยื่อ บางครั้งนำไปสู่การทำร้ายร่างกายกันจริง ๆ
  2. การเปิดโปงข้อมูลส่วนตัวของเหยื่อ โดยการเอาไปโพสต์หรือส่งต่อให้คนอื่นรับรู้ เช่น ภาพหลุด ภาพตลก ๆ เพื่อประจาน ทำให้อับอาย
  3. การคุกคามทางเพศ โดยใช้ถ้อยคำที่ส่อไปในทางเพศ ส่งภาพหรือวิดีโอมาให้แล้วชวนทำกิจกรรมทางเพศ การตัดต่อภาพโป๊เปลือย การลวงให้ส่งรูปไม่เหมาะสมแล้วนำไปโพสต์ประจานหรือแบล็กเมล
  4. การแอบอ้างตัวตน โดยการแอบเข้าบัญชีออนไลน์ของเหยื่อ หรือสร้างบัญชีใหม่โดยใช้ชื่อและ/หรือรูปภาพของเหยื่อ แล้วนำบัญชีไปใช้ในทางไม่เหมาะสม
  5. การสร้างกลุ่มเพื่อโจมตี เช่น เพจแอนตี้ต่าง ๆ เพื่อจับผิด ประจาน พูดคุยตำหนิ ด่าทอ ทำให้ผู้อื่นเกิดความรู้สึกเกลียดชังเหยื่อ
การรังแก แบบ ใด ที่ ยาก ต่อการ ตรวจ พบ หรือ ยาก ต่อการ สังเกต เห็นได้

Cyberbullying กับผลกระทบ

Cyberbullying ทำให้เหยื่อได้รับผลกระทบทางจิตใจ เช่น

  • อับอาย                   
  • หวาดกลัว                
  • หวาดระแวง
  • หดหู่                      
  • รู้สึกโดดเดี่ยว            
  • เศร้าหมอง
  • ท้อแท้ สิ้นหวัง           
  • ไร้ค่า
และยังเกิดผลกระทบต่อสุขภาพ เช่น นอนไม่หลับ อ่อนเพลียเรื้อรัง เจ็บป่วย ทำร้ายตัวเอง และอาจรุนแรงถึงขั้นพยายามฆ่าตัวตาย

สำหรับผู้ที่กลั่นแกล้งคนอื่น อาจจะได้รับผลกระทบในภายหลังได้เช่นกัน เช่น เกิดความรู้สึกผิดกับสิ่งที่เคยทำกับผู้อื่น ลงโทษตัวเอง หรืออาจจะเป็นอีกด้านหนึ่งคือ เสพติดความรุนแรงจนกลายเป็นอาชญากรในอนาคต ซึ่งผลกระทบกับเหยื่อและผู้กระทำจะมากน้อยเพียงใดก็ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของการระรานและทักษะในการรับมือกับการระราน รวมทั้งการสนับสนุนด้านกำลังใจและความช่วยเหลือจากคนรอบข้างด้วย

หากเพื่อนหรือบุตรหลานมีอาการเครียด ซึมเศร้า วิตกกังวล เก็บตัว หวาดระแวง ตกใจง่าย ประสิทธิภาพในการทำงานหรือเรียนลดลง หมกมุ่นกับหน้าจอ ข้อความในโทรศัพท์ หรือโซเชียลมีเดีย ใช้ยานอนหลับหรือแอลกอฮอล์ และหากได้ยินผู้อื่นพูดถึงเรื่องที่ถูกกลั่นแกล้งจะมีอาการเครียดมากขึ้น หรือกดดันมากกว่าปกติ นั่นอาจเป็นสัญญาณว่าเขากำลังตกเป็นเหยื่อของ Cyberbullying ที่จะต้องเข้าไปให้ความช่วยเหลือโดยเร็ว

เด็ก ๆ จะรับมือ Cyberbullying อย่างไร?

  • STOP หยุดระรานกลับด้วยวิธีการเดียวกัน หยุดตอบโต้ เพื่อไม่ให้เกิดการกระทำซ้ำหรือเพิ่มความรุนแรงของเหตุการณ์มากยิ่งขึ้น
  • BLOCK ปิดกั้นผู้ที่ระราน ไม่ให้เขาสามารถติดต่อ โพสต์ หรือระรานเราได้อีก
  • TELL บอกพ่อแม่ ครู หรือบุคคลที่ไว้ใจ เพื่อขอความช่วยเหลือ หากเป็นเรื่องที่ผิดกฎหมายหรือถูกข่มขู่คุกคาม ให้เก็บรวบรวมข้อมูลของผู้กระทำและเหตุการณ์ระรานรังแกไปแจ้งเจ้าหน้าที่
  • REMOVE ลบภาพหรือข้อความระรานรังแกออกทันที โดยอาจติดต่อผู้ดูแลระบบหากเป็นพื้นที่สาธารณะบนโลกออนไลน์
  • BE STRONG เข้มแข็ง อดทน ยิ้มสู้ อย่าไปให้คุณค่ากับคนหรือคำพูดที่ทำร้ายเรา ควรใช้เป็นแรงผลักดันให้เราดีขึ้น ก้าวข้ามปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ
การรังแก แบบ ใด ที่ ยาก ต่อการ ตรวจ พบ หรือ ยาก ต่อการ สังเกต เห็นได้


สำหรับผู้ใหญ่ ผู้ปกครอง ครู อาจารย์ รวมทั้งคนแวดล้อม ก็ควรเข้าใจ ให้กำลังใจ รับฟังและไม่ทอดทิ้ง ให้คำปรึกษาและสอนวิธีรับมือหรือแก้ไขสถานการณ์ สร้างความสัมพันธ์ที่ดีในสังคมโรงเรียน และร่วมสอดส่องดูแล สังเกตพฤติกรรมของบุตรหลาน

Parent Zone องค์กรด้านสังคมหรือ Social Enterprise ของสหราชอาณาจักรในด้านการส่งเสริมการใช้อินเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัยให้แก่พ่อแม่ เด็ก ๆ และโรงเรียน ชี้ให้เห็นว่า การเลี้ยงดูและอนุญาตที่ดีพอ โดยให้เด็กเผชิญความเสี่ยงและพัฒนาวิธีการรับมือที่เรียกว่า "Digital Resilience" คือแนวทางที่สำคัญที่จะทำให้เด็กสามารถรับมือกับภัยไซเบอร์ต่าง ๆ รวมทั้งเรื่อง Cyberbullying ประกอบด้วย ทั้ง "เข้าใจ" ว่ามีความเสี่ยง "รู้" ว่าต้องทำอย่างไร หากต้องขอความช่วยเหลือ "เรียนรู้" จากประสบการณ์ของพวกเขาเอง เพื่อให้สามารถเอาตัวรอดได้ และ "ฟื้นฟู" ถ้าเกิดพลาดไปแล้ว โดยมีระดับการให้ความช่วยเหลือที่เหมาะสม

การรังแกแบบใดยากต่อการตรวจสอบ

2. การกลั่นแกล้งโดยคำพูด นักวิจัยระบุว่าเป็นการกลั่นแกล้งที่มีผลกระทบร้ายแรงทำให้เกิดบาดแผล ลึกในใจ การกลั่นแกล้งด้วยคำพูดอาจตรวจพบได้ยากมาก ผู้กระทำมักโจมตีเหยื่อเมื่อผู้ใหญ่ไม่อยู่แถวนั้น ผลคือ เป็นการพูดต่อกันมาแบบปากต่อปาก และยิ่งไปกว่านั้น ผู้ใหญ่หลายคนก็รู้สึกว่าสิ่งที่เด็กพูดมักไม่ค่อย มีความสำคัญ พวกเขาจึงมัก ...

การรังแกมีกี่ประเภทอะไรบ้าง

การรังแก สามารถแยกออกมาได้เป็น 4 รูปแบบ ได้แก่ การรังแกทางร่างกาย (Physical stopbullying) เช่น การต่อย ตี ผลัก สัมผัสบริเวณที่ไม่เหมาะสม การรังแกทางวาจา(Verbal stopbullying) เช่น การพูดเสียดสี การพูดจาล่วงละเมิด การล้อเลียน การแสดงความคิดเห็นในเชิงลบต่อบุคคลอื่นๆ เช่น้เรื่องรูปร่างหน้าตา

การกลั่นแกล้งมีอะไรบ้าง

ประเภทของการกลั่นแกล้ง การกลั่นแกล้งทางร่างกาย เป็นลักษณะของการทำร้ายร่างกาย การชกต่อย การผลัก การตบตี การกลั่นแกล้งทางสังคมหรือด้านอารมณ์ เป็นลักษณะของการใช้กลุ่มเพื่อนหรือสังคมกดดันและทำให้บุคคลแยกออกจากกลุ่ม เป็นผลทำให้เกิดความรู้สึกเจ็บปวดหรือเสียใจจากการกระทำดังกล่าว

การรังแกคืออะไร

การข่มเหงรังแก (Bullying) หมายถึง พฤติกรรมที่สังคมไม่ยอมรับ โดยความตั้งใจกระทาให้ ผู้อื่นได้รับความทุกข์ ความเจ็บปวดจากผู้ข่มเหงรังแกที่ รู้สึกว่าตนเองมีอ านาจหรือพลังเหนือกว่าผู้ถูกข่มเหง รังแก อีกทั้งการกระท าดังกล่าวจะเกิดขึ้นซ ้าๆ อย่าง ต่อเนื่อง และมีระยะเวลายาวนาน ดังภาพประกอบ 1.