ตัวต้านทานชนิดคงตัว แถบที่ 4 แสดงค่าอะไร

     ในทางปฏิบัติหากเราจะนำตัวต้านทานที่มีความต้านทานคงที่ไปใช้ เราจะอ่านแถบสี โดยเทียบกับตารางก็จะทำให้ทราบค่าความต้านทานได้

     เป็นเรื่องยุ่งยากหากเราจะนำตัวต้านทานที่ไม่มีสีระบุไว้ไปใช้ เพราะทำให้ต้องทดลองหาค่าความต้านทานเสียก่อนทุกครั้ง แต่ถ้าตัวต้านทานมีแถบสีระบุ จะช่วยให้เรานำไปใช้ได้ง่ายขึ้น

     แถบสีแต่ละแถบบนตัวต้านทานจะช่วยให้เราสามารถหาค่าความต้านทานได้ดังนี้

ตัวต้านทานชนิดคงตัว แถบที่ 4 แสดงค่าอะไร
การอ่านค่าแถบสีบนตัวต้านทาน

     ตัวอย่างเช่น หากตัวต้านทานตัวหนึ่งมีแถบสี ดังรูป จากซ้ายไปขวา

ตัวต้านทานชนิดคงตัว แถบที่ 4 แสดงค่าอะไร
ตัวต้านทานมีสีเหลืองสองแถบ และสีดำสองแถบ

     แถบสีที่ 1 คือ สีเหลือง ค่าตัวเลขในหลักสิบ คือ 4

     แถบสีที่ 2 คือ สีเหลือง ค่าตัวเลขในหลักหน่วยได้ คือ 4

     แถบสีที่ 3 คือ สีดำ ค่าตัวพหุคูณที่นำไปคูณกับสองหลักแรก คือ 1

     แถบสีที่ 4 คือ สีดำ อ่านได้ว่า “ไม่มีค่าความคลาดเคลื่อน”

     ดังนั้นตัวต้านทานตัวนี้ มีค่าความต้านทาน เท่ากับ 44*1 = 44 โอห์ม นั่นเอง

Related posts:

  1. การวัด (Measurement) การวัด คือ ? การวัด คือ กระบวนการอย่างหนึ่งเพื่อให้ได้มาซึ่งปริมาณตามต้องการ วิธีการและเครื่องมือที่ ...
  2. กฎของโอห์ม (Ohm’s Law)             ในปี พ.ศ. 2307 จอร์จ โอห์ม นักฟิสิกส์ชาวเยอรมัน ตีพิมพ์ผลงานเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่าง ...
  3. การเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์ การเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์ (Projectile Motion) เป็นการเคลื่อนที่วิถีโค้งแบบกราฟพาราโบลา โดยสามารถพิจ ...
  4. ของไหลและความดันในของไหล ของไหล หรือ Fluid มีความหมายรวมถึงสสารที่อยู่ในสถานะของเหลว แก๊ส แต่ในบางครั้งของไหลบางชนิดมีความหนื ...
  5. สภาพต้านทานไฟฟ้า : ρ           ลวดโลหะชนิดหนึ่งๆ ที่อุณหภูมิเท่ากัน แต่ความยาว l ต่างกัน เมื่อให้ความต่างศักย์ไฟฟ้า V ระห ...
  6. พลังงานที่สะสมในตัวเก็บประจุ       หากตัวเก็บประจุมีประจุเก็บไว้ภายในมากเท่าใด ก็จะมีศักย์ไฟฟ้ามากเท่านั้น ดังนั้น เราสามารถเขียน ...
  7. คณิตศาสตร์สำหรับฟิสิกส์ 3 1. เวกเตอร์ในระบบพิกัดฉาก       เราทราบแล้วว่าเวกเตอร์เป็นปริมาณที่มีทั้งขนาดและทิศทาง ในทางคณิตศาสต ...
  8. การเคลื่อนที่แบบซิมเปิลฮาร์มอนิก การเคลื่อนที่แบบฮาร์มอนิกอย่างง่าย คือ การเคลื่อนที่กลับไปมาผ่านตำแหน่งสมดุล ด้วยคาบที่คงที่ และระยะ ...

 หน่วยความต้านทาน
       ความต้านทานมีหน่วยที่ใช้ในการแสดงขนาดของค่าความต้านทานเป็นหน่วยโอห์ม (Ohm) ความหมายของความต้านทาน 1 โอห์ม คือ ความต้านทานที่ยอมให้กระแสไหลผ่านได้  1  แอมแปร์  และมีแรงดันตกคร่อมตัวต้านทาน 1 โวลต์ ตัวต้านทานมีขนาดค่าความต้านทานแตกต่างกันมีค่าตั้งแต่ความต้านทานที่ต่ำๆ  ไปจนถึงค่าความต้านทานสูงๆ ทำให้การใช้หน่วย  ทำให้การใช้หน่วยบอกค่าเพียงค่าโอห์มอย่างเดียวไม่เกิดความสะดวกในการใช้งาน  จึงได้เพิ่มหน่วยบอกค่าความต้านทานออกเป็นหน่วยมิลลิโอห์ม (Milliohm) หน่วยกิโลโอห์ม (Kiloohm) และหน่วยเมกโอห์ม (Megohm) หน่วยค่างๆเขียนความสัมพันธ์กันได้ดังนี้

ตัวต้านทานชนิดคงตัว แถบที่ 4 แสดงค่าอะไร

 การอ่านค่าความต้านทานแสดงเป็นตัวอักษร

            ตัวต้านทานที่ผลิตขึ้นมาใช้งานแต่ละตัว  ต้องมีค่าความต้านทานกำกับติดไว้ เพื่อให้แสดงค่าความต้านทานของตัวต้านทานตัวนั้นๆ  การแสดงค่าวิธีหนึ่งคือ  แสดงค่าความต้านทานไว้เป็นตัวเลขและตัวอักษรรวมกัน  แบ่งการแสดงค่าออกได้เป็น 2 แบบคือ  แบบแสดงค่าความต้านทานโดยตรง  และแบบแสดงค่าความต้านทานเป็นรหัสตัวเลขตัวอักษร

 แบบแสดงค่าออกมาโดยตรง

            ตัวต้านทานที่แสดงค่าออกมาโดยตรง  จะพิมพ์ค่าความต้านทานลงบนตัวต้านทานตามค่าความต้านทานของตัวต้านทานนั้น  แสดงหน่วยไว้เป็น ? , k? หรือ M? บางครั้งมีค่าการทนกำลังไฟฟ้า  และค่าเปอร์เซ็นต์ผิดพลาดกำกับไว้ด้วยก็ได้  ตัวต้านทานบางแบบจะมีตัวอักษรกำกับไว้ด้วย  เพื่อแสดงค่าเปอร์เซนต์ผิดพลาดแทนตัวเลข  ใช้ตัวอักษาภาษาอังกฤษมี 4 ตัว คือ J, K, L และ M มีความหมายดังนี้

            อักษร J                    เป็นค่าความผิดพลาด        ± 5 %
            อักษร K                    เป็นค่าความผิดพลาด        ± 10 %
            อักษร L                    เป็นค่าความผิดพลาด        ± 15 %
            อักษร M                   เป็นค่าความผิดพลาด         ± 20 %

 แบบแสดงค่าออกมาเป็นรหัสตัวเลขตัวอักษร

             ตัวต้านทานบางแบบถึงแม้มีตัวเลขและตัวอักษรกำกับไว้บนตัวต้านทานนั้นๆ ก็ไปสามารถอ่านค่าออกมาได้โดยตรงเพราะตัวเลขและตัวอักษรที่แสดงไว้  แสดงออกมาในรูปรหัสการอ่านค่ามีวิธีการที่แตกต่างกันออกไป  รหัสค่าความต้านทานมักเป็นตัวเลข 3 ตัวเขียนเรียงกันและอาจตามด้วยตัวอักษร 1 ตัว  เพื่อแสดงค่าความผิดพลาดของความต้านทาน  ตัวอักษรนอกจากมีตัว  J , K, L, M ดังที่กล่าวมาแล้ว  ยังมีเพิ่มตัวอักษร  B, C, D, F และ G มีความหมายดังนี้

             อักษร B                   เป็นค่าความผิดพลาด        ± 5 %
             อักษร C                   เป็นค่าความผิดพลาด        ± 0.25 %
             อักษร D                   เป็นค่าความผิดพลาด        ± 0.5 %
             อักษร F                   เป็นค่าความผิดพลาด         ± 1 %
             อักษร G                   เป็นค่าความผิดพลาด         ± 2 %

 การอ่านค่าความต้านทานแสดงเป็นแถบสี

อ่านค่าความต้านทานจากรหัสสี
      การเลือกใช้ตัวต้านทานค่าต่างๆ นั้น วิธีที่รวดเร็วและสะดวก คือ การอ่านค่าความต้านทานที่ปรากฏอยู่บนตัวต้านทานซึ่งแสดงไว้ 2 แบบ ได้แก่ รหัสสี ซึ่งมีลักษณะเป็นแถบวงแหวนสีต่างๆและแบบพิมพ์เป็นตัวเลขและตัวอักษร การแสดงค่าความต้านทานทั้งสองแบบ ดังรูป

ตัวต้านทานชนิดคงตัว แถบที่ 4 แสดงค่าอะไร

         ตัวต้านทานชนิดคาคงที่โดยปกติแล้วจะแบ่งเป็น แบบใช้งานทั่วไป และแบบความเที่ยงตรงสูง ซึ่งตัวต้านทานแบบที่ใช้งานทั่วไปจะมีค่าความคลาดเคลื่อน ฑ5 % หรือมากกว่าและแถบสีแสดงแทนค่าความต้านทานจำนวน 4 แถบ ส่วนตัวค่าความต้านทานแบบเที่ยงตรงสูงจะมีค่าความคลาดเคลื่อน ฑ2 % หรือน้อยกว่า โดยจะมีแถบสีแสดงค่าความต้านทานจำนวน 5 แถบ ส่วนความแตกต่างของตัวต้านทานทั้งสองแบบนี้แสดงในรูป

ตัวต้านทานชนิดคงตัว แถบที่ 4 แสดงค่าอะไร

แถบสีที่1

แทนตัวเลขที่ 1

แถบสีที่2

แทนตัวเลขที่ 2

แถบสีที่3

แทนตัวคูณ

แถบสีที่4

แทนค่าคลาดเคลื่อน

ดำ

น้ำตาล

แดง

ส้ม

เหลือง

เขียว

น้ำเงิน

ม่วง

เทา

ขาว

ทอง

เงิน

ไม่มีสี

0

1

2

3

4

5

6

7

8

9

0

1

2

3

4

5

6

7

8

9

1

10

100

1000

10000

100000

1000000

10000000

0.1

1.01

1%

2%

3%

4%

5%

10%

20%

วิธีการอ่านแถบสีของตัวต้านทานแบบใช้งานทั่วไป

 

ตัวต้านทานชนิดคงตัว แถบที่ 4 แสดงค่าอะไร


1. แถบสีแรก ใช้แสดงตัวเลขหลักแรก และจะไม่เป็นสีดำ
2. แถบสีที่สอง ใช้แสดงเป็นตัวเลขหลักที่สอง
3. แถบสีที่สาม เป็นตัวคูณสำหรับตัวเลข 2 หลักแรก ซึ่งจะมีค่า 1/100 ถึง 10,000,000
4. แถบสีที่สี่ ใช้แสดงค่าความคลาดเคลื่อน ซึ่งมีค่าตั้งแต่ +-5 % ขึ้นไป

วิธีการอ่านแถบสีของตัวต้านทานแบบความเที่ยงตรงสูง


1. แถบสีแรก เป็นตัวเลขหลักแรกของตัวเลขจำนวน 3 หลัก
2. แถบสีที่สอง เป็นตัวเลขหลักที่สอง
3. แถบสีที่สาม เป็นตัวเลขหลักที่สาม
4. แถบสีที่สี่ เป็นตัวคูณสำหรับตัวเลข 3 หลักแรก
5. แถบสีที่ห้า ใช้แสดงค่าความคลาดเคลื่อนซึ่งจะมีค่า +-2 % หรือน้อยกว่า

ด้วยต้นเหตุที่ตัวต้านทานแบบความเที่ยงตรงสูง ให้ค่าความต้านทานที่มีความละเอียดมากกว่า ดังนั้นจึงทำให้ตัวต้านทานมีราคาแพงกว่าตัวต้านทานแบบใช้งานทั่วไป