เลข ฐาน สอง ค่า 1010 เมื่อ แปลง เป็น รหัส เกรย์ จะ มี ค่า เท่าใด

เลขฐาน 2 (binary) มีสัญลักษณ์ที่ใช้ในระบบทั้งหมด 2 ตัวคือ

0, 1

เลขฐาน 10 (decimal) มีสัญลักษณ์ที่ใช้ในระบบทั้งหมด 10 ตัวคือ

0, 1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9

วิธีที่1 การกระจาย

1. กระจายเลขฐาน 2 จากโจทย์โดยกระจายตัวเลขจากซ้ายไปขวา

2. นำเลขฐาน 2 ที่กระจายแล้วในแต่ละหลักคูณกับค่าประจำหลักในแต่ละตำแหน่งคือ 2n โดยเริ่มนับค่าประจำหลักจากด้านขวามือสุดเป็นตำแหน่งที่ n = 0

3. นำผลลัพธ์จากการคูณของแต่ละหลักมาบวกกันจะได้เป็นค่าของเลขฐาน 10

1. นำตัวเลขหลักแรกทางซ้ายมือมาคูณด้วยฐานของตัวเลขคือ 2 แล้วบวกกับตัวเลขหลักที่สอง

**หากตัวเลขมีสามหลักขึ้นไปให้ทำข้อ 2 ต่อไป

2. นำผลบวกที่ได้จากข้อก่อนหน้านี้มาคูนด้วย 2 และบวกกับตัวเลขหลักถัดไป(หลักที่สาม, สี่, ห้า,...)

3. ทำโดยใช้หลักการเดียวกับข้อ 2 ไปเรื่อยๆ จนถึงตัวเลขหลักสุดท้าย

10102

=

( 1 x 2 ) + 0 = 2

=

( 2 x 2 ) + 1 = 5

=

( 5 x 2 ) + 0 = 10

=

1010

รหัสคอมพิวเตอร์

เลข ฐาน สอง ค่า 1010 เมื่อ แปลง เป็น รหัส เกรย์ จะ มี ค่า เท่าใด

Binary-Codes Decimal (BCD)-8421 code

รหัสนี้เป็นรหัสเลขฐานสอง ซึ่งสร้างมาเลียนแบบเลขฐานสิบ ดังนั้น รหัส BCD แบบ 8421 จึงมีจำนวนเท่ากับจำนวนของเลขฐานสิบ คือ 10 รหัส ดังตารางข้างล่าง

เลข ฐาน สอง ค่า 1010 เมื่อ แปลง เป็น รหัส เกรย์ จะ มี ค่า เท่าใด

จากตารางจะเห็นว่า เลข Decimal 1 Digit เขียนแทนด้วยเลข Binary 4 bits โดยที่แต่ละ bit ของรหัส BCD-8421 ได้กำหนดน้ำหนักไว้ต่างกันคือ bit ทางขวามือมีน้ำหนักเป็น 1,2,4,8ดังตัวอย่างเช่น

ตัวอย่าง: เปลี่ยน 576310 ให้เป็นรหัส BCD
576310 = 0101 0111 0110 0011 
หมายเหตุ : จะแทนเลขฐานสิบแต่ละหลักด้วยเลขฐานสอง 4 bit

ตัวอย่าง : Convert the number 963010 to its BCD equivalent. 
(Ans 1001 0110 0011 0000BCD)

รหัสเกิน 3 (Excess-3 code) รหัสเกิน3 ดัดแปลงมาจาก BCD-8421 code เมื่อเปรียบเทียบรหัสเกิน3 กับ รหัส BCD-8421 จะเห็นว่า Excess-3 code จะมีค่ามากกว่า BCD-8421 code อยู่ 3 หลัก1ดังตารางข้างล่าง

เลข ฐาน สอง ค่า 1010 เมื่อ แปลง เป็น รหัส เกรย์ จะ มี ค่า เท่าใด

การเขียนรหัสเกิน 3 แทนเลขฐานสิบสามารถเขียนได้เหมือนกับการเขียนรหัส BCD-8421 แทนเลขฐานสิบ เมื่อนำรหัสเกิน 3 มาเขียนแทนเลขฐานสิบ จะสามารถเขียนแทนเลขฐานสิบได้ในแต่ละหลักด้วยรหัสเกิน 3 จำนวน 4 หลัก หรือ 4 บิต ดังนั้นถ้าเขียนแทนเลขฐานสิบมากกว่าหนึ่งหลักก็จะเขียนด้วยรหัสเกิน 3 เป็นชุด ๆโดยมีรรหัสเกิน 3 ชุดละ 4 บิต แสดงการเปรียบเทียบรหัสเกิน 3 กับรหัส BCD-8421ดังตัวอย่างเช่น

ตัวอย่าง จงเปลี่ยน 5610 ให้เป็น Excess – 3

0101 0110

(BCD)

 

0011 0011

(บวก 3 แต่ละหลัก)

 

1000 1001

(Excess 3 code ของ 5610)

การแปลงเลข Binary ให้เป็น Gray code

มีขั้นตอนการแปลงเลขฐานสอง เป็น รหัสเกรย์ดังนี้

1. เริ่มจากบิตแรกซึ่งถือว่ามีนัยสำคัญมากที่สุด (MSB) ดีงมาไว้เป็นบิตแรกเช่นเดิม

2. นำบิตแรกไปบวกกับบิตตัวที่ 2

3. นำบิตตัวที่ 2 ไปบวกกับบิตตัวที่ 3

4. นำบิตตัวที่ 3 ไปบวกกับบิตตัวที่ 4 ไปเรื่อยๆจนหมด ผลบวกที่เราได้ ก็คือ Gray Code เช่น

เลข ฐาน สอง ค่า 1010 เมื่อ แปลง เป็น รหัส เกรย์ จะ มี ค่า เท่าใด

การแปลงเลข Gray code ให้เป็น Binary

ขั้นตอนการแปลงจากรหัสเกรย์ เป็นเลขฐานสอง

1. เริ่มต้นจากบิตซ้ายมือสุด หรือบิตที่มีนัยสำคัญมากที่สุด ของรหัสเกรย์ ดึงบิตนี้ไปเขียนเป็นรหัสเลขฐานสอง ค่าตัวเลขเหมือนกับรหัสเกรย์

2. นำ MSB ของเลข Binary บวกกับ bit ที่2 จาก MSB ของรหัสเกรย์ใช้หลักการบวกเช่นเดียวกับการเปลี่ยนเลขฐานสองเป็นรหัสเกรย์ ผลบวกที่ได้คือบิตที่ 2จาก MSB ของเลขฐานสอง

3. นำบิตที่ 2 จาก MSB ของเลขฐานสองบวกกับบิตที่ 3 จาก MSB ของรหัสเกรย์ ผลบวกที่ได้คือบิตที่ 3 จาก MSB ของเลขฐานสอง การบวกกันจะทำเช่นนี้ไปเรื่อย ๆ ก็จะได้ผลลัฑธ์เป็นเลขฐานสองเช่น

เลข ฐาน สอง ค่า 1010 เมื่อ แปลง เป็น รหัส เกรย์ จะ มี ค่า เท่าใด

รหัสASCLL รหัสที่กล่าวมาแล้วทั้งหมดเป็นรหัสเลขฐานสองที่ใช้แทนตัวเลข 0 ถึง 9 แต่ยังมีรหัสเลขฐานสองอีกลุ่มหนึ่งที่ใช้แทนอักขระทั้งตัวอักษร ตัวเลข และสัญลักษณ์พิเศษ เราเรียกว่า Alphanumeric Code ในปัจจุบันมีรหัสมาตรฐานที่ใช้กันอยู่ 2 อย่าง ได้แก่ EBCDID (Exented BCD Interchange Code) และASCII Code (American Standard Code for Informatiom Interchange) ดังได้กล่าวนำแล้ว สำหรับเนื้อหาในบทนี้จะขอกล่าวเฉพาะรหัส ASCII Code ซึ่งเป็นรหัสที่ใช้กันมากและเป็นมาตรฐานของ PC ในปัจจุบัน
ASCII Code เป็นรหัสที่ถูกพัฒนาจนเป็นที่ยอมรับให้เป็นมาตรฐานของรหัสที่ใช้ในคอมพิวเตอร์ เป็นรหัสขนาด 7 บิท สามารถใช้แทนอักขระและรหัสควบคุมต่างได้ ถึง 128 รหัส (0-127, 72=128) ซึ่งสามารถใช้แทนอักษรภาษาอังกฤษตัวเล็ก ตัวใหญ่ ตัวเลข 0-9 เครื่องหมายอักขระพิเศษ และรหัสควบคุมอีก 32 รหัส นอกจากนี้ยังเพิ่มรหัสส่วนขยายอีกโดยเพิ่มเป็นรหัส 8 บิท จึงมีส่วนขยายเพิ่มเติมตั้งแต่ 128 – 255 เพื่อใช้แทนกราฟิก สัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ และเหลือรหัสเพียงพอที่จะใช้แทนอักขระภาษาต่างประเทศอื่น ๆ อีก เช่นภาษาไทย เป็นต้น

เมนูนำทางเรื่อง