เพลงหน้าพาทย์ที่ใช้ประกอบการเดินทาง คือเพลงอะไร

๑. โหมโรงเช้า ใช้บรรเลงในงานมงคลพิธีต่างๆ ซึ่งจะมีขึ้นในตอนเช้า เช่น งานที่รู้จักกันเป็นสามัญว่า งานสวดมนต์เย็นฉันเช้า เพลงที่บรรเลง ได้แก่ สาธุการ เหาะ รัว กลม ชำนาญ

๒. โหมโรงกลางวัน เป็นโหมโรงที่เกิดขึ้นจากประเพณีการแสดงมหรสพในสมัยโบราณ ถ้าเป็นการแสดงกลางวัน ซึ่งได้เริ่มแสดงตั้งแต่เช้ามาแล้ว เมื่อถึงเวลาเที่ยงจะต้องหยุดพักกลางวัน เพื่อให้ตัวละครและผู้บรรเลงดนตรี ตลอดจนผู้ร่วมงานการแสดงนั้น ได้หยุดพักและรับประทานอาหารกลางวัน โหมโรงกลางวัน ประกอบด้วยเพลง กราวใน เชิด ชุบ ลา กระบองตัน เสมอข้ามสมุทร เชิดฉาน ปลูกต้นไม้ ชายเรือ รุกร้น แผละ เหาะ

โล้ วา

๓. โหมโรงเย็น เป็นเพลงชุดที่ใช้บรรเลงในตอนเย็นของงาน ในการเริ่มงานมงคลต่างๆ ประกอบด้วยเพลง สาธุการ ตระโหมโรง รัวสามลา ต้นชุบ เข้าม่าน ปฐม ลา เสมอ รัว เชิด กลม ชำนาญ กราวใน ต้นชุบ

เพลงหน้าพาทย์แบ่งตามฐานันดร แบ่งออกเป็น ๒ ชนิด คือ

๑. หน้าพาทย์ธรรมดา ใช้บรรเลงประกอบกิริยาอารมณ์ของตัวละครที่เป็นสามัญชน เป็นเพลงหน้าพาทย์ไม่บังคับความยาว การจะหยุด ลงจบ หรือเปลี่ยนเพลง ผู้บรรเลงจะต้องดูท่ารำของตัวละครเป็นหลัก เพลงหน้าพาทย์ชนิดนี้โดยมากใช้กับการแสดงลิเกหรือละคร เช่น เพลงเสมอ เพลงเชิด เพลงรัว เพลงโอด

๒. หน้าพาทย์ชั้นสูง ใช้บรรเลงประกอบกิริยา อารมณ์ของตัวละครผู้สูงศักดิ์หรือเทพเจ้าต่างๆ เป็นเพลงหน้าพาทย์ประเภทบังคับความยาว ผู้รำจะต้องยืดทำนองและจังหวะของเพลงเป็นหลักสำคัญ จะตัดให้สั้นหรือเติมให้ยาวตามใจชอบไม่ได้ โดยมากใช้กับการแสดงโขน ละคร และใช้ในพิธีไหว้ครู ครอบครูดนตรีปละนาฎศิลป์ เช่น เพลงตระนอน เพลงกระบองกัน เพลงตระบรรทมสินธุ์ เพลงบาทสกุณี เพลงองค์พระพิราพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพลงอนงค์พระพิราพ ถือกันว่าเป็นเพลงหน้าพาทย์ชั้นสูงสุดในบรรดาเพลงหน้าพาทย์ทั้งหลาย

  • Introductionรายชื่อเพลงหน้าพาทย์
  • เพลงหน้าพาทย์สำหรับพิธีไหว้ครู

รายชื่อเพลงหน้าพาทย์

บทความรายชื่อวิกิมีเดีย / From Wikipedia, the free encyclopedia

เพลงหน้าพาทย์สามารถแบ่งเป็นหมวดๆได้ดังนี้

ดูบทความหลักที่เพลงหน้าพาทย์

HomeAbout usFAQPressSite mapTerms of servicePrivacy policy

โอกาสที่ใช้เพลงหน้าพาทย์ประกอบการแสดง
                      การเรียงลำดับเพลงหน้าพาทย์  ความหมาย  ตลอดจนจำนวนของเพลงหน้าพาทย์ที่บรรเลงประกอบพิธีไหว้ครูนาฏศิลป์โขน ละคร และดนตรีไทยมีความแตกต่างและมีจำนวน              เพลงหน้าพาทย์ไม่เท่ากัน  ลำดับการบรรเลงและความหมายของเพลงหน้าพาทย์ประกอบพิธี               ไหว้ครูดนตรีไทย  มีจำนวนหน้าพาทย์ 19 เพลง  เพลงที่มีความแตกต่างจากพิธีไหว้ครูโขน ละคร ได้แก่  ลำดับที่ 3 เพลงพราหมณ์เข้า  หมายถึง    ผู้ประกอบพิธีกล่าวนำถวายดอกไม้ธูปเทียน 3 จบ  ทางฝ่ายโขน ละคร ใช้บรรเลงเมื่อผู้ประกอบพิธีถือสังข์รำเข้ามาในพิธี  และขออนุญาตให้มณฑลพิธีนั้นเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ใช้ประกอบพิธีเพื่อเป็นสิริมงคล   ส่วนลำดับที่ 9 ของการบรรเลงและความหมายของเพลงหน้าพาทย์ประกอบพิธีไหว้ครูดนตรีไทย  เพลงเสมอเถร หมายถึง การบูชา     พระวิสสุกรรม  พระปัญจสีขร  พระปรคนธรรพ  ลำดับที่ 17 เพลงมหาชัย  หมายถึง  ผู้ประกอบพิธีประพรมน้ำมนต์สักการะบูชาเศียรเทพ  พร้อมทั้งเจิมแป้งกระแจะที่เศียรเทพ  ตะโพน  และ     เครื่องดนตรีต่าง ๆ ซึ่งทั้งสองเพลงนี้ไม่มีปรากฏในตำราพิธีไหว้ครูโขน ละคร  ของ
นายอาคม  สายาคม  แต่ผู้ประกอบพิธีโขน ละคร ในปัจจุบัน  ได้มีการบรรจุเพลงหน้าพาทย์ทั้งสองเพลงนี้ลงในขั้นตอนการประกอบพิธีไหว้ครูด้วย
                      นอกจากนั้น  ลำดับการบรรเลงและความหมายของเพลงหน้าพาทย์  มีที่ใช้ต่างกัน  เช่น  เพลงโหมโรง  เพลงสาธุการกลอง  เพลงตระนารายณ์บรรทมสินธุ์ ฯลฯ มีการเรียงลำดับต่างกัน  ส่วนเพลงเสมอเถร  ฝ่ายโขน ละครไม่มีที่ใช้  แต่ฝ่ายดนตรีไทยใช้บรรเลงเพื่อบวงสรวงบูชา                   พระวิสสุกรรม  พระปัญจสีขร  และพระปรคนธรรพ  เพลงตระเชิญ  ฝ่ายโขน ละครเป็นการบรรเลงเชิญพระอิศวร   ฝ่ายดนตรีไทยเป็นการบรรเลงเชิญเทพยดาทั้งปวง  ให้เสด็จมายังมณฑลพิธีก่อนที่จะเชิญองค์พระพิราพ  เพลงเสมอเข้าที่  ฝ่ายโขน ละคร  บรรเลงเชิญครูและเทพทั้งหลายเข้าที่ประทับที่จัดไว้  เพื่อเตรียมถวายเครื่องสังเวย  ต่างกับฝ่ายดนตรีไทย  ที่บรรเลงเพื่อเชิญเทพยดา             ทั้งปวงกลับยังเทวสถาน  ส่วนเพลงพราหมณ์ออก  ฝ่ายโขน ละครบรรเลงเพื่อส่งเสด็จพระภรตฤษี  ทางฝ่ายดนตรีไทยบรรเลงเพื่อลาเครื่องสังเวย  สำหรับทางฝ่ายโขน ละครมีการถวายเครื่องสังเวยโดยใช้เพลงนั่งกินและเซ่นเหล้า  ส่วนการลาเครื่องสังเวยนั้นไม่มีเพลงบรรเลงปรากฏชัดเจน              เข้าใจว่าการลาเครื่องสังเวยนั้นจะอยู่ในช่วงการกล่าวโองการต่อจากเพลงนั่งกินและเซ่นเหล้า
                      เพลงกราวรำ และเพลงเชิด  ทางฝ่ายโขน ละคร  บรรเลงเพื่อแสดงความยินดีในความสำเร็จของพิธีอันเป็นมงคล   พร้อมทั้งส่งเสด็จครูอาจารย์ และทวยเทพกลับยังเทวสถาน            ส่วนฝ่ายดนตรีไทย  จะบรรเลงเพลงเชิดก่อนเพื่อส่งเสด็จครู  แล้วจึงบรรเลงเพลงกราวรำ  เพื่อแสดงความยินดีในภายหลัง  ซึ่งทั้งสองเพลงนี้เดิมไม่มีที่ใช้  แต่ในปัจจุบันนำมาบรรเลงในช่วงท้ายสุดของพิธีไหว้ครูดนตรีไทยเช่นเดียวกับฝ่ายโขน ละคร
                      ข้อสังเกต  ในการจัดลำดับการบรรเลง  และความหมายเพลงหน้าพาทย์  ประกอบพิธีไหว้ครูนาฏศิลป์โขน ละคร  และดนตรีไทย  มีความแตกต่างกัน  รวมทั้งจำนวนเพลงหน้าพาทย์ที่ใช้บรรเลงไม่เท่ากัน ทั้งนี้ เนื่องมาจากการกล่าวโองการ  การกล่าวคาถาบูชาครู  และเทพเจ้าต่าง ๆ   มีลำดับการกล่าวแตกต่างกัน  รวมทั้งพิธีไหว้ครูโขน ละคร  มีจำนวนครู  และเทพยดาที่ต้องกล่าวโองการ  อัญเชิญเสด็จมาสู่มณฑลพิธีมากกว่าฝ่ายดนตรีไทย
   บรรเลงประกอบการแสดง โขน ละคร

                      ก  ใช้สำหรับการโลดไล่จับกันของตัวละครที่มิใช่มนุษย์   เช่น  การแสดงโขนเรื่องรามเกียรติ์  ชุดหนุมานจับนางสุพรรณมัจฉา
                                        -  เชิดฉาน  ใช้สำหรับการโลดไล่จับกันของตัวละครที่เป็นมนุษย์และสัตว์   เช่น   การแสดงโขนเรื่องรามเกียรติ์  ชุดพระรามตามกวาง
                  กิริยาการจัดทัพตรวจพล
        -  ปฐม  ใช้สำหรับการจัดทัพของบรรดาแม่ทัพนายกอง  เช่น  ฝ่าย
พลับพลาพระราม  ตัวแสดงคือสุครีพแม่ทัพใหญ่เป็นผู้รำ  ส่วนฝ่ายลงกาทศกัณฐ์ตัวแสดง  คือมโหทรเป็นผู้รำ
                                        -  กราวนอก  ใช้สำหรับการตรวจพลยกทัพของมนุษย์ และวานร  เช่น  การแสดงโขนเรื่องรามเกียรติ์  ชุดทศกัณฐ์ยกรบ
                                        -  กราวกลาง  ใช้สำหรับการตรวจพลยกทัพของมนุษย์  ในการแสดงละคร  เช่น  การแสดงละครนอกเรื่องพระสุธน มโนราห์   ตอนพระสุธนตรวจพลยกทัพ
                                        -  กราวใน  ใช้สำหรับการตรวจพลยกทัพของฝ่ายยักษ์  เช่น  การแสดงโขนเรื่องรามเกียรติ์  ชุดทศกัณฐ์ยกรบ
                                  กิริยาการแสดงอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์
                                -  ตระการแสดงแต่ละประเภทที่กล่าวมาแล้ว  นอกจากจะใช้ดนตรีที่มีเนื้อร้อง  บทพากย์   บทเจรจา  เพื่อเป็นการเจรจาโต้ตอบ  การกล่าวถึงบุคคล  การคิดคำนึง  ตลอดจนเล่าเรื่องราวต่าง ๆ ให้ผู้ชมได้รู้  และเข้าใจแล้ว  บทบาทที่แสดงออกซึ่งอารมณ์  ความรู้สึก  อากัปกิริยา และฐานะของตัวแสดง  ล้วนต้องอาศัยเพลงหน้าพาทย์บรรเลงประกอบทั้งสิ้น  ยกตัวอย่างบทบาทการแสดงของเทวดา  มนุษย์  ยักษ์  ลิง  และสัตว์ต่าง ๆ จะใช้เพลงหน้าพาทย์ที่หลากหลายแตกต่างกันไป
เพลงหน้าพาทย์เหล่านั้นสามารถเป็นสื่อให้ผู้ชมเกิดความเข้าใจ  ประทับใจ  และซาบซึ้งใน              สุนทรียรสของการแสดงนั้น ๆ ได้  เช่น
                      บทรักของผู้แสดงที่เป็นตัวเอกใช้เพลงหน้าพาทย์โอ้โลม  โลม  และจบลงด้วย
เพลงตระนอน  ถ้าอยู่ในป่ามีพลับพลาอาศัยใช้เพลงตระบรรทมไพร
                      บทโศกเศร้าเสียใจใช้เพลงทยอยโอด โอดชั้นเดียว โอดสองชั้น ถ้าผู้แสดงเป็นเจ้านายมีบรรดาศักดิ์เกิดความโศกเศร้าเสียใจเป็นอย่างมาก  เช่น  พระรามพบเบญกายแปลงเป็นสีดาตาย
ลอยน้ำมาปี่พาทย์บรรเลงเพลงโอดสองชั้น  เป็นต้น
                      บทโกรธส่วนใหญ่เป็นของยักษ์  เป็นการแสดงสืบเนื่องมาจากเพลงที่แสดงอารมณ์เกรี้ยวกราด  เช่น  เพลงสมิงทองมอญ  หรือเพลงลิงโลด  แล้วจึงต่อด้วยเพลงคุกพาทย์
                      บทกิริยาไป มาของมนุษย์สูงศักดิ์  เช่น  พระรามเสด็จเข้าห้องสรงแต่งตัวหรือไปยังที่ประชุมพลใช้เพลงบาทสกุณี   เสด็จออกท้องพระโรงใกล้ ๆ ใช้เพลงเสมอ
                      บทกริยาไป มาของยักษ์ใช้เพลงเสมอมาร
                      บทกริยาไป มาของฤษีใช้เพลงเสมอเถร
                      บทกิริยา ไป มาของสัตว์ต่าง ๆ  เช่น  พญาครุฑ  พญานกใช้เพลงแผละ  ชมพูหมีใช้เพลงต้นเข้าม่าน  เป็นต้น
                      บทกิริยาแผลงอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ใช้เพลงคุกพาทย์  รัวสามลา
                      จะเห็นได้ว่าการบรรเลงเพลงหน้าพาทย์ประกอบการแสดงนั้น  ต้องคำนึงถึงองค์ประกอบหลาย ๆ ด้าน  ดังนั้นจึงได้แบ่งการบรรเลงเพลงหน้าพาทย์ตามโอกาสที่ใช้ประกอบการแสดงโขน ละครออกเป็น 2 ลักษณะ คือ
                      การบรรเลงเพลงหน้าพาทย์  แสดงอารมณ์  ได้แก่
                                -  อารมณ์รัก
 - อารมณ์รื่นเริง  สนุกสนาน  ดีใจ  ภูมิใจ
  -อารมณ์โศกเศร้า  เสียใจ
   -อารมณ์โกรธ
                      การบรรเลงเพลงหน้าพาทย์แสดงอากัปกิริยา  ได้แก่
 - กิริยาการกิน  อาบน้ำ  นอน
  -กิริยา ไป มา  ในระยะใกล้ ไกล
   -กิริยาการต่อสู้  ติดตาม
    -กิริยาการจัดทัพ  ตรวจพล
  กิริยาอาการแสดงอิทธิฤทธิ์  ปาฏิหาริย์
                      การบรรเลงเพลงหน้าพาทย์ประกอบการแสดงอารมณ์และแสดงอากัปกิริยามีรายละเอียด  ดังนี้
     

การบรรเลงเพลงหน้าพาทย์แสดงอารมณ์  ได้แก่
                                  อารมณ์รัก
                                        -  โลม  ใช้สำหรับเกี้ยวพาราสี  เล้าโลมด้วยความรักความเสน่หา  นิยมใช้คู่กับเพลงตระนอน  เช่น  การแสดงละครในเรื่องอิเหนา  ตอนอิเหนาลักพาตัวนางบุษบาไปไว้ในถ้ำ
มีการเล้าโลมด้วยความรัก  ใช้เพลงโลมต่อด้วยเพลงตระนอน  เป็นต้น
                              อารมณ์รื่นเริง  สนุกสนาน  ดีใจ  ภูมิใจ
                                          -  กราวรำ  ใช้ในความหมายเยาะเย้ย  ฉลองความสำเร็จหรือสนุกสนาน
ได้ชัยชนะ เช่น การแสดงละครเรื่องพระลอตามไก่  เมื่อพระลอตามไปทันไก่กลับมาแสดงท่า              เยาะเย้ย   ดนตรีใช้เพลงกราวรำ
                                        -  เพลงช้า เพลงเร็ว  ใช้แสดงความยินดี   เบิกบานใจในการไป มา
อย่างงดงาม แช่มช้อย  เมื่อไปถึงที่หมายจะใช้เพลงลา  เช่น การแสดงละครเรื่องเงาะป่า
ตอนนางลำหับและเพื่อน ๆ ไปเก็บดอกไม้ในป่า  เป็นต้น
                                   -  สีนวล  ใช้สำหรับท่วงทีเยื้องยาตรนาดกราย  หรือความรื่นเริงบันเทิงใจของอิสตรี
                                อารมณ์โศกเศร้า   เสียใจ
                                       -  ทยอย  ใช้แสดงความเศร้าโศก เสียใจ เป็นอย่างยิ่ง  ด้วยการร้องไห้  เช่น  การแสดงละครเรื่องพระเวสสันดรชาดก  ตอนพระนางมัทรีเดินร้องไห้ตามหาพระกุมาร               ทั้งสอง
                                       -  โอด  ใช้แสดงความเศร้าโศก  เสียใจ  ร้องไห้  มีทั้งโอดชั้นเดียว
โอดสองชั้น เช่น การแสดงโขนเรื่องรามเกียรติ์ชุดนางลอย  ตอนเบญกายแปลงเป็นสีดาตายลอยน้ำ   เมื่อพระรามมาพบเกิดความเศร้าโศกรำพึงรำพัน  ดนตรีบรรเลงเพลงโอดสองชั้น ส่วนเพลงโอดเอม  ใช้แสดงความดีใจจนน้ำตาไหล  เช่น  การแสดงละครในเรื่องสังข์ทอง  ตอนนางมณฑาลงกระท่อม  นางรจนาเมื่อรู้ว่านางมณฑาผู้เป็นมารดามาหา  จึงรีบออกไปรับด้วยความดีใจ  ดนตรีบรรเลง
เพลงโอดเอม
                  อารมณ์โกรธ
                                      -  คุกพาทย์  และ  รัวสามลา  ใช้แสดงอารมณ์โกรธ ดุดัน น่าเกรงขาม หรือใช้ในการแผลงอิทธิฤทธิ์  สำแดงเดช เช่น การแสดงโขนเรื่องรามเกียรติ์ชุดลักสีดา  ตอนที่
นางสำมนักขาน้องสาวทศกัณฐ์เข้าไปเกี้ยวพาราสีพระราม  แล้วถูกพระลักษมณ์ใช้พระขรรค์
ตัดจมูก ตัดมือ ตัดเท้าขาด  นางสำมนักขาไปฟ้องทศกัณฐ์  ทศกัณฐ์ตกใจและโกรธมากดนตรีจะบรรเลงเพลงคุกพาทย์  หรือการแสดงละครเรื่องตำนานสงกรานต์  ตอนปริศนากบิลพรหม   เมื่อกบิลพรหมลงมาจากวิมานเพื่อมาหาธรรมบาล  ดนตรีบรรเลงเพลงคุกพาทย์
                       

   การบรรเลงเพลงหน้าพาทย์แสดงอากัปกิริยา   ได้แก่
                           -  กิริยาการกิน   อาบน้ำ   นอน
                                        -  นั่งกิน  โดยทั่วไปใช้ในพิธีไหว้ครู  เมื่อเชิญครู  หรือเทพยดามาพร้อมกันในพิธีแล้วได้เวลาถวายเครื่องกระยาบวชสังเวย
                                  -  เซ่นเหล้า  ใช้ประกอบการกินอาหาร ดื่มสุรา  ใช้ในพิธีไหว้ครูโขน ละคร  หรือใช้บรรเลงตอนภูตผีปีศาจออก  เช่น  การแสดงโขนเรื่องรามเกียรติ์  ตอนทศกัณฐ์นำ              น้ำทิพย์ไปประพรมยักษ์ที่ตายให้ฟื้นขึ้นเป็นปีศาจแล้วมาเฝ้าที่หน้ากองทัพ  ดนตรีบรรเลง
เพลงเซ่นเหล้าประกอบ
                                        -  ลงสรง  ใช้ประกอบกิริยาอาบน้ำ  เช่น  การแสดงโขนเรื่องรามเกียรติ์  ชุดสำมนักขาหึง  พระรามสั่งให้นางสีดาและพระลักษมณ์อยู่ในกุฏิ  ส่วนพระรามเสด็จมาสรงน้ำองค์เดียว
                                        -  ลงสรงโทน  ใช้บรรเลงเมื่ออาบน้ำเสร็จ  และนำเครื่องหอม
เครื่องแต่งตัวขึ้นมาแต่ง  เช่น  การแสดงละครในเรื่องอิเหนา  ตอนศึกกะหมังกุหนิง
                                        -  ตระนอน  ใช้ประกอบการนอนจะเป็นนอนคนเดียว นอนสองคน  หรือนอนสามคนก็ได้   ใช้กับตัวแสดงพระ นาง ยักษ์ ลิง เช่น การแสดงละครในเรื่องอุณรุท  ตอนอุ้มสม  พระอุณรุทนอนในป่า  ดนตรีบรรเลงเพลงตระนอน
                                        -  ตระบรรทมไพร  ใช้ประกอบการนอนขณะที่ค้างในป่า   เช่น  การแสดงโขนเรื่องรามเกียรติ์   ตอนพระรามเดินทางไปตามหานางสีดาที่กรุงลงกา  ระหว่างทางต้องนอนค้างกลางป่า
                                        -  ตระบรรทมสินธุ์  ใช้สำหรับพระนารายณ์บรรทมองค์เดียวเท่านั้น   เรียกเพลงนี้อย่างเต็มว่า “ตระนารายณ์บรรทมสินธุ์” เป็นการแสดงกิริยาการบรรทมของ                พระนารายณ์  อยู่บนหลังพญานาคราชกลางเกษียรสมุทร เช่น การแสดงโขนเรื่องรามเกียรติ์              ตอนพระนารายณ์ทรงปราบหิรันตยักษ์เสร็จก็เสด็จกลับเข้าที่บรรทม ณ เกษียรสมุทร
         กิริยาไป มา  ในระยะใกล้ ไกล
                                        -  เสมอ  ใช้ประกอบกิริยาไป มาใกล้ ๆ  เช่น  เดินออกจากท้องพระโรง เข้าฉากแบ่งออกเป็น 2 ประเภท  คือ
         -  เสมอตามลักษณะตัวละคร  หมายถึง  เพลงเสมอที่มีชื่อตาม
ลักษณะผู้แสดง  ได้แก่
                                                     1)  เสมอมาร  ใช้สำหรับพญายักษ์ที่มียศศักดิ์สูง  เช่น  สหัสสเดชะ ทศกัณฐ์  และที่มีตำแหน่งรอง ๆ ลงมา  เป็นต้น  เช่นการแสดงโขนเรื่องรามเกียรติ์  ชุดนารายณ์ปราบนนทุก   ตอนนนทุกขึ้นเฝ้าพระอิศวร
                                                     2)  เสมอสามลา  ใช้สำหรับพญายักษ์ใหญ่หรือตัวละครที่มียศศักดิ์สูง  แสดงถึงการไปมาด้วยความสง่างามและภาคภูมิ  เช่น  การแสดงโขนเรื่องรามเกียรติ์  ชุดศึกสามทัพ ทศกัณฐ์เชิญสหัสสเดชะและมูลพลัมมาช่วยรบกับพระราม  เมื่อได้เจรจาชักชวนกันเรียบร้อย
ปี่พาทย์บรรเลงเพลงเสมอสามลา  พญายักษ์ทั้งสามรำเข้าโรง
                                                     3)  เสมอเถร  ใช้สำหรับฤษีและนักพรต  ผู้ทรงศีล  เช่น  การแสดงโขนเรื่องรามเกียรติ์  ชุดลักสีดา  ทศกัณฐ์แปลงเป็นนักพรตชื่อสุธรรมฤษีเข้าไปหานางสีดาซึ่งอยู่ในอาศรมเพียงผู้เดียว
                                                     4)  เสมอตีนนก  หรือ  บาทสกุณี  ใช้สำหรับตัวแสดงที่เป็นท้าวพระยา มหากษัตริย์มีฐานะสูงศักดิ์  ใช้ได้ทั้งพระ นาง  และยักษ์   ได้แก่  พระราม  พระลักษมณ์  อิเหนา                สีดา  และทศกัณฐ์เพราะถือว่าเป็นพญายักษ์ที่อยู่ในวงศ์พรหม  ดังนั้น บทโขนเก่า ๆ  จึงได้กล่าวถึงการใช้เพลงบาทสกุณีของทศกัณฐ์ไว้ด้วย  ในปัจจุบันไม่นิยมใช้เพลงบาทสกุณีกับพญายักษ์ทั้งหลาย  แต่มักนิยมใช้เฉพาะพระและนางเท่านั้น  เนื่องด้วยเป็นเพลงหน้าพาทย์ชั้นสูง  และเป็น สุดยอดของเพลงหน้าพาทย์เสมอ  ทั้งด้านความไพเราะของท่วงทำนองเพลง และจังหวะไม้เดินที่ค่อนข้างยาวกว่าเพลงเสมอทั่ว ๆ ไป  ตลอดจนความสง่างามของกระบวนท่ารำ  เช่น  การแสดงโขนเรื่องรามเกียรติ์  ชุดยกรบ  ตอนพระราม พระลักษณ์จะยกทัพไปรบกับศัตรู  ก่อนยกทัพออกไปจะต้องสรงน้ำ  แต่งตัว  เมื่อเสร็จแล้วปี่พาทย์บรรเลงเพลงบาทสกุณีเพื่อเดินออกมายังที่ประชุมพล
                                               5)  เสมอเข้าที่  เป็นเพลงหน้าพาทย์ชั้นสูง  ใช้สำหรับเชิญฤษี  ครู อาจารย์  หรือใช้ในพิธีไหว้ครู  เช่น  เชิญครูทั้งหลายเข้าประทับตามที่ ๆ จัดไว้เพื่อรับเครื่องสังเวย
                                               6)  เสมอข้ามสมุทร  เป็นเพลงหน้าพาทย์ที่แสดงให้เห็นถึงการเดินทางทั้งกองทัพ   เช่น  การแสดงโขนเรื่องรามเกียรติ์  ชุดจองถนน  เมื่อพระรามยกกองทัพข้ามมหาสมุทรไปกรุงลงกา
                                               7)  เสมอผี  ใช้สำหรับพญายม  ภูตผีปีศาจ  หรือพิธีไหว้ครู  เช่น
การแสดงโขนเรื่องรามเกียรติ์  ตอนนางมณโฑตั้งพิธีหุงน้ำทิพย์  เมื่อทศกัณฐ์นำน้ำทิพย์ไปประพรมบรรดาซากศพยักษ์ให้ฟื้นขึ้นมาต่อสู้กับกองทัพพระรามได้อีก
                      นอกจากนั้น  เพลงเสมอยังมีที่ใช้ในชื่ออื่น ๆ อีก  แต่จัดอยู่ในประเภทเพลงเสมอเช่นกัน  ได้แก่
                                               8)  พราหมณ์เข้า  ใช้สำหรับพิธีไหว้ครูการเข้าสู่พิธี  เพื่อที่จะทำพิธีเกี่ยวกับเวทมนตร์คาถา  ใช้สำหรับฤษี พระ และยักษ์ ผู้สูงศักดิ์  ส่วนมากยักษ์เป็นผู้รำนำ เช่น
การแสดงโขนเรื่องรามเกียรติ์  ชุดศึกพุ่งหอกกบิลพัท
                                               9)  พราหมณ์ออก  ใช้สำหรับพิธีไหว้ครูเมื่อเสร็จสิ้นการประกอบพิธี  แล้วจะออกจากสถานที่ประกอบพิธีนั้น ๆ  สำหรับใช้ประกอบการแสดง เช่น การแสดงโขนเรื่องรามเกียรติ์  ชุดศึกพรหมาสตร์  ตอนอินทรชิตออกจากโรงพิธีที่ใช้ชุบศรพรหมาสตร์
                                                10)  ดำเนินพราหมณ์  ใช้ในการไป มา ระยะใกล้ของฤษีชีพราหมณ์  เช่น  ในพิธีไหว้ครูโขน ละคร  ผู้ประกอบพิธีจะใช้เพลงนี้เพื่อแสดงอาการสมมุติว่าพระครูฤษีได้เสด็จมาร่วมในพิธีแล้ว
                                                -  เสมอตามสัญชาติตัวละคร  หมายถึง  เพลงเสมอที่มีลีลา ท่วงทำนองของเพลงล้อเลียนสำเนียงภาษาของชาติต่าง ๆ  เช่น  มอญ  ลาว  พม่า  และแขก                 เป็นต้น  โดยบรรเลงประกอบกิริยาไป มาของตัวละครตามสัญชาตินั้น ๆ ได้แก่  เสมอมอญ
เสมอลาว  เสมอพม่า  เสมอแขก  เป็นต้น
        -  เชิด  ใช้สำหรับตัวละครที่ไป มาในระยะทางไกล  หรือรีบด่วน
การโลดไล่  ติดตาม  ตลอดจนการต่อสู้  รบราฆ่าฟันกัน  เพลงเชิดนี้แบ่งออกเป็นหลายประเภท  ได้แก่
                                         -  เชิดชั้นเดียว  ใช้บรรเลงประกอบการโลดไล่   ติดตาม  ต่อสู้  รบราฆ่าฟัน   เนื่องจากทำนองดนตรีอยู่ในอัตราชั้นเดียว   จังหวะของกลองเป็นไปอย่างกระชั้นชิด  สม่ำเสมอ   ช่วยให้ผู้ดูเกิดอารมณ์สนุกสนาน  ตื่นเต้น  ชวนให้ติดตาม
                                           - เชิดสองชั้น  ใช้บรรเลงประกอบการแสดงโขน ละครเช่นเดียวกับเชิดอัตราชั้นเดียว   แต่จังหวะของเพลงจะช้ากว่าเล็กน้อย  เพื่อให้ตัวละครแสดงลีลาท่ารำได้อย่างสง่าผ่าเผย  ว่าจะไปยังที่ต่าง ๆ ตามบทบาท  หลังจากนั้นดนตรีจะทำการถอนจังหวะ
ตามศัพท์เรียกว่า  “ถอนชั้นเดียว” โดยผู้บรรเลงจะเร่งจังหวะตอนท้ายของเชิดสองชั้นให้เร็วขึ้นตามลำดับ  เมื่อได้ที่แล้วจึงถอนจังหวะบรรเลงเพลงเชิดชั้นเดียวต่อไปจนจบการแสดง  เช่น
การแสดงโขนเรื่องรามเกียรติ์  ชุดพระรามตามกวาง  เมื่อทศกัณฐ์สั่งกวางให้ไปลวงพระราม               ออกจากอาศรม  ดนตรีจะบรรเลงเพลงเชิดสองชั้นก่อน  และต่อด้วยเชิดชั้นเดียว  กวางก็จะแสดงท่ารับคำสั่งแล้ววิ่งหายเข้าหลังเวทีไป  เป็นต้น
                                                     - เชิดฉาน  ใช้ในการติดตามจับระหว่างมนุษย์กับสัตว์  เช่น  พระรามตามกวาง   ย่าหรันตามนกยูง
                                                     - เชิดนอก  ใช้ในการติดตามจับระหว่างสัตว์กับสัตว์  เช่น
หนุมานจับนางสุพรรณมัจฉา
                                                     - เชิดจีน  ใช้ในการหลอกล่อ เลี้ยวไล่ไปมาในการติดตามจับ  เช่น  เมขลา รามสูร  พระลอตามไก่   ย่าหรันตามนกยูง
                                                     -  ฉะเชิด  ใช้บรรเลงประกอบท่ารำโดยเฉพาะของเจ้าเงาะ  ในเรื่องสังข์ทองเมื่อต้องการไป มาในระยะทางไกล
                                        -  เหาะ  ใช้สำหรับเทวดา นางฟ้าไปมาในที่ต่าง ๆ ด้วยกิริยารวดเร็ว
จะเป็นเดี่ยว  หรือหมู่ก็ได้  เช่น  ระบำดาวดึงส์  ระบำนันทอุทยาน
                                        - โคมเวียน  ใช้สำหรับเทวดา นางฟ้าไปมาเป็นหมวดหมู่  มีระเบียบ  เช่น ระบำสี่บท
                                        - กลองโยน  ใช้สำหรับขบวนแห่  หรือขบวนทัพของพระมหากษัตริย์ที่เคลื่อนไปมาอย่างช้า ๆ  เช่น  ระบำพรหมาสตร์
                                        - พญาเดิน  ใช้สำหรับการไปมาของตัวเอก  ตัวแสดงผู้สูงศักดิ์ หรือพระมหากษัตริย์ในลักษณะเดี่ยว  หรือหมู่   เช่น การแสดงละครนอกเรื่องสังข์ทอง ตอนตีคลี  นอกจากนั้นใช้บรรเลงประกอบการรำอาวุธได้ด้วย
                                        -  กลม  ใช้สำหรับการไปมาของเทพเจ้า  เช่น  พระนารายณ์
พระวิษณุกรรม   พระอรชุน  สำหรับมนุษย์ที่ใช้เพลงกลม  ได้แก่  เจ้าเงาะในเรื่องสังข์ทอง  เพราะเหาะเหินเดินอากาศได้อย่างเทวดา
                                        -  เข้าม่าน  ใช้สำหรับการเข้า ออกในสถานที่ใดสถานที่หนึ่งของตัวเอก  หรือท้าวพระยามหากษัตริย์   ถ้าตัวละครมีบทบาทจะต้องเดินออกมาแสดงบนเวทีใช้เพลง
“ต้นเข้าม่าน” แต่เมื่อตัวละครจบบทบาทการแสดงแล้วจะเดินเข้าในโรง  ใช้เพลง “ปลายเข้าม่าน”   เช่น  การแสดงละครในเรื่องอิเหนา  ตอนวิหยาสะกำคลั่ง
                                        -  ชุบ  ใช้สำหรับนางกำนัล  คนรับใช้  เช่น  การแสดงโขนเรื่องรามเกียรติ์   ชุดศึกกุมภกรรณ  ทศกัณฐ์ใช้นางกำนัลไปเชิญกุมภกรรณ  นางกำนัลใช้เพลงชุบในการเดินทาง
                                        -  โล้  ใช้สำหรับการเดินทางไป มาทางน้ำ  เช่น  การแสดงโขนเรื่องรามเกียรติ์  ชุดนางลอย
                                        -  แผละ  ใช้สำหรับการไป มาของสัตว์มีปีก  เช่น  ครุฑ  นก  กา  ยุง
เป็นต้น
                                        -  เพลงช้า  ใช้สำหรับการไป มาอย่างปกติ  ไม่เร่งรีบ  เป็นการแสดงลีลา
การเดินทางอย่างสง่างาม  ในลักษณะเดี่ยวหรือหมู่ก็ได้  เช่น  การแสดงละครในเรื่องอิเหนา
ตอนเชิดหนังและศึกชี
       กิริยาการต่อสู้ติดตาม
        -  เชิด หรือ เชิดกลอง  ใช้สำหรับการต่อสู้  ยกทัพ  เช่น  การแสดงโขน
เรื่องรามเกียรติ์  ชุดทศกัณฐ์ยกรบ
        -  เชิดฉิ่ง  ใช้สำหรับการค้นหา การลอบเข้าออกในสถานที่ใดที่หนึ่ง
การไล่หนีจับกัน  การเหาะลอยในอากาศ  การใช้อาวุธแผลงศร  ขว้างจักร  เป็นต้น  เช่น การแสดงละครในเรื่องอุณรุท  ตอนอุ้มสม
                                        -  เชิดนอนิมิต  ใช้สำหรับการแปลงกาย  หรือเนรมิตด้วยอิทธิฤทธิ์เวทมนตร์  ใช้ได้ทั้งพระ นาง ยักษ์ ลิง เช่น การแสดงโขนเรื่องรามเกียรติ์  ชุดนางลอย ตอน เบญกายแปลงเป็นสีดา
                                        -  ตระบองกัน  ใช้สำหรับเนรมิต  ประสิทธิ์ประสาทพร  หรือแปลงตัว  เช่น  มารีศแปลงกายเป็นกวางทอง  ในการแสดงโขนเรื่องรามเกียรติ์  ชุดพระรามตามกวาง
                                        -  ชำนาญ  ใช้สำหรับเนรมิต ประสิทธิ์ประสาทพร  หรือแปลงตัวเช่นเดียวกับเพลงตระบองกัน  เช่น  การแสดงโขนเรื่องรามเกียรติ์  ชุดหนุมานออกบวช  ใช้เมื่อ                หนุมานแปลงเป็นฤษีเพื่อออกบวช
                                        -  ตระสันนิบาต  ใช้สำหรับประกอบพิธีสำคัญต่าง ๆ  และเชิญเทพยดามาชุมนุมเพื่อความเป็นสิริมงคล เช่น พิธีไหว้ครู นอกจากนั้นยังใช้ประกอบการแสดงเกี่ยวกับ             การแปลงกายได้อีกด้วย
        -  คุกพาทย์  และรัวสามลา  ใช้สำหรับแผลงอิทธิฤทธิ์ประกอบกิริยา
โกรธเคือง  เกรี้ยวกราด  ดุดัน หรือใช้ประกอบสภาพดินฟ้าอากาศที่วิปริต  น่าสะพรึงกลัว เช่น
การแสดงโขนเรื่องรามเกียรติ์  ชุดหนุมานพบมัจฉานุ  ตอนหนุมานแผลงฤทธิ์หาวเป็นดาวเป็นเดือนเพื่อให้มัจฉานุเชื่อว่าตนคือบิดา
                      จะเห็นได้ว่า  ลักษณะของเพลงหน้าพาทย์  ที่ใช้บรรเลงในโอกาสต่าง ๆ นั้นมีความหมาย  และโอกาสที่ใช้แตกต่างกันไป  โดยเฉพาะเพลงหน้าพาทย์ที่บรรเลงประกอบ                การแสดงโขน ละคร   ผู้แสดงต้องรำให้ถูกต้องตรงตามเพลง  ซึ่งยึดหลักคือจังหวะและทำนองเพลงเป็นสำคัญ   จะขาดเกินสั้นยาวกว่าไม่ได้   เพราะถือว่าดนตรีปี่พาทย์นั้นเป็นหลักเป็นประธานในการรำหน้าพาทย์  นอกจากนั้นโอกาสที่ใช้เพลงหน้าพาทย์  ต้องนำมาใช้ให้ถูกต้องตรงกับความหมายของบทบาท  กิริยาอาการและอารมณ์ของผู้แสดง เพื่อให้การแสดงนั้น ๆ  ดำเนินไปอย่างสอดคล้องกลมกลืน  บรรลุวัตถุประสงค์ในการแสดงได้อย่างดียิ่ง

เพลงหน้าพาทย์ที่ใช้ประกอบการเดินทางระยะใกล้คือเพลงอะไร

เพลงเสมอ ใช้ในการเดินทางใกล้เพลงเสมอมีดังนี้ เสมอธรรมดา (ใช้กับตัวละครทั่วไป) เสมอเถร (ใช้กับฤๅษี นักพรต)

เพลงหน้าพาทย์ที่ใช้เกี่ยวกับการเดินทางทางน้ำคือเพลงใด

ค. เพลงโหมโรง ได้แก่.

เพลงหน้าพาทย์สูงสุดคือเพลงอะไร

๑. เพลงหน้าพาทย์ชั้นสูง ซึ่งถือว่าเป็น “เพลงครู” ใช้บรรเลงในโอกาสเฉพาะ มีความขลัง ความศักดิ์สิทธิ์ อยู่ในทำนอง เช่น เพลงองค์พระพิราพ ตระนารายณ์บรรทมสินธุ์ ตระพระปรคนธรรพ ตระนิมิต ตระนอน ตระบองกัน สาธุการ บาทสกุณี พราหมณ์เข้า พราหมณ์ออก คุกพาทย์ เสมอสามลา เสมอเถร เสมอมาร เสมอผี ฯลฯ

การเดินข้ามทะเลใช้เพลงใด

พระลักษมณ์ใช้เพลงเสมอบาทสกุณี ถ้าเดินข้ามทะเลใช้เพลงเสมอข้ามสมุทร ถ้าตัวละคร เดินเข้าฉากหรือเดินเข้าที่นั่งใช้เพลงเสมอเข้าที่ นอกจากนั้นยังมีเพลงเสมอสำหรับตัวละคร