วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามมีความสําคัญอย่างไร

ประวัติของวัดโพธิ์

วัดโพธิ์ หรือชื่อที่เป็นทางการคือ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร ถือว่าเป็นวัดเก่าแก่และมีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของประเทศไทยถูกสร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอธุยา และในอดีตวัดโพธิ์ได้รับการสถาปนาให้เป็นวัดประจำรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 แห่งราชวงศ์จักรีอีกด้วย นอกจากนี้วัดโพธิ์ยังได้ชื่อว่าเป็น มหาวิทยาลัยเปิดแห่งแรกของประเทศไทย เนื่องจากในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือรัชกาลที่ 3 ทรงมีประราชประสงค์ให้จารึกตำรายาและความรู้ต่างๆลงบนแผ่นหินอ่อนประดับไว้รอบวัด เพื่อให้ประชาชนในสมัยนั้นเรียนรู้และมีความรู้เพิ่มเติม ซึ่งตำราจารึกเหล่านั้นในปัจุบันได้กลายมาเป็นมรดรกความทรงจำแห่งโลก จากมติขององค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ(UNSCO) เมื่อ 27 พฤษภาคม 2554

เหตุผลที่ต้องไปเที่ยววัดโพธิ์

นอกจาก วัดโพธิ์ เป็นวัดที่มีสถาปัตยกรรมที่สวยงามแล้ว วัดโพธิ์ ยังเป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธไสยาสน์ หรือที่คนไทยนิยมเรียกกันว่าพระนอน ซึ่งพระนอนวัดโพธิ์มีขนาดใหญ่และมีความเก่าแก่ที่สุดในกรุงเทพ มีขนาดความยาว 46 เมตร ความกว้าง 2.5เมตร คติของการสร้างพระนอนในสมัยก่อนคือเพื่อให้พุทธศาสนิกชินได้ตระหนักถึงเรื่องความตายที่ไม่มีใครหนีพ้น แม้แต่พระพุทธเจ้า ดังนั้นควรใช้ชีวิตโดยที่ไม่ประมาท ในวิหารพระนอนยังเต็มไปด้วยภาพจิตรกรรมฝาผนังที่สวยงาม แสดงให้เห็นถึงความชำนาญและปราณีตของช่างศิลป์ในยุคนั้นๆ ยิ่งไปกว่านั้นวัดโพธิ์ถือได้ว่าเป็นวัดที่มีพระเจดีย์มากที่สุดในประเทศไทยอีกด้วย วัดโพธิ์ยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ติดอันดับ 3 ของเอเชียและอันดับที่ 17 ของโลก จากการโหวตของนักท่องเที่ยวทั่วโลกผ่านทางเว็บไซต์ tripadvisor.com

วัดโพธิ์ยังมีบริการนวดแผนไทยอันเลื่องชื่อที่ถือได้ว่าเป็นต้นตำหรับของการนวดแผนไทยที่ต้องลองเลยก็ว่าได้ บริการนวดไทยตำหรับวัดโพธิ์ราคาเพียง 350 บาทต่อชั่วโมงเท่านั้น  วัดโพธิ์ตั้งอยู่ไม่ไกลจาก วัดพระแก้ว และ พระบรมมหาราชวัง สามารถวางแผนเที่ยวให้ครบใน 1 วันได้แบบสบายๆ วัดโพธิ์เปิดให้เข้าชมตั้งแต่เวลา 08:00-18:30 น.

เรื่องควรรู้ก่อนไปวัดโพธิ์

วัดโพธิ์ไม่ได้เป็นเพียงแค่สถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญของประเทศไทยเท่านั้น แต่ยังเปรียบเสมือนสถานที่แห่งวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ และยังแสดงให้เห็นถึงสถาปัตยกรรมที่สวยงามของประเทศอีกด้วย ทั้งนี้เราจึงสรุปข้อควรรู้เกี่ยวกับมารยาทต่างๆเมื่อไปเที่ยววัดโพธิ์ มีดังต่อไปนี้

การแต่งกาย 

ควรแต่งกายให้ถูกกาละเทศะเมื่อเข้าวัด ไม่สวมกางเกงขาสั้นเหนือหัวเข่าและไม่ควรสวมเสื้อเปิดไหล่ เนื้อผ้าไม่ควรเป็นผ้าที่บางเกินไปและไม่ควรเป็นชุดที่รัดรูป หากใส่กางเกงขาสั้นและต้องการเข้าไปภายในวัด ทางวัดมีบริการเช่าชุดที่เรียบร้อยเหมาะสมสำหรับสวมใส่อีกด้วย

รองเท้า 

ประเพณีไทยแต่ดั้งเดิม ต้องถอดรองเท้าก่อนที่จะเดินเข้าวัด ควรสวมใส่รองเท้าที่สบายๆและถอดได้ง่าย ทั้งนี้ไม่ควรสวมใส่รองเท้าที่มีราคาแพงมาเนื่องจากว่าอาจะเกิดการสลับกัน หรือ รองเท้าหายได้

เวลาทำการ 

วัดโพธิ์ เปิดให้เข้าชมตั้งแต่เวลา 08:00-18:30 น. นักท่องเที่ยวชาวไทยไม่มีค่าเข้า นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติค่าเข้าท่านละ 100 บาท

การแลกเหรียญ

ในวิหารวัดนอน จะมีจุดแลกเหรียญสำหรับใส่บาตร ซึ่งมีทั้งหมดจำนวน 108 บาตร สำหรับให้ทุกท่านได้ใส่เหรียญลงไป มีความเชื่อว่าถ้าใส่ครบทุกบาตรแล้วยังคงมีเหรียญเหลือแปลว่าเหลือกินเหลือใช้ ถ้าพอดี 108 เหรียญ แปลว่าพอกินพอใช้

วิธีการเดินทางไปวัดโพธิ์

สามารถนั่งรถประจำทางสาย 1, 3, 6, 9, 12, 25, 32, 44, 47, 48, 53, 82

หากเริ่มต้นจากรถไฟฟ้าสถานีสยาม สามารถต่อรถประจำทางสาย 25, 48, 508

เดินทางโดยรถส่วนตัว สามารถนำรถไปจอดได้ที่ ถนนเชตุพน โดยเสียค่าบริการชั่วโมงละ 20 บาท

ทางวัดเตรียมจัดงานฉลองจารึกวัดโพธิ์ ตั้งแต่วันที่ 24 ธันวาคม – 2 มกราคมนี้ โดยจะนำความรู้จากจารึกมาจัดแสดงผ่านกิจกรรมต่างๆ

หลังองค์การยูเนสโก  ประกาศให้จารึกวัดโพธิ์เป็นเอกสารมรดกความทรงจำแห่งโลก  2554  ไปเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา 

ทำให้ทางวัดเตรียมจัดงานฉลองจารึกวัดโพธิ์  ตั้งแต่วันที่ 24 ธันวาคม – 2 มกราคมนี้  โดยจะนำความรู้จากจารึกมาจัดแสดงผ่านกิจกรรมต่างๆ  

ภายในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม  ราชวรมหาวิหารหรือวัดโพธิ์  มีจารึกมากถึง  1,440  ชิ้น  ซึ่งเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาองค์การยูเนสโก  มีมติรับรองให้ขึ้นทะเบียนเป็นเอกสารมรดกความทรงจำแห่งโลกในระดับนานาชาติ  จากเวทีการประชุมคณะกรรมการที่ปรึกษานานาชาติว่าด้วยแผนงานความทรงจำแห่งโลกของยูเนสโก ครั้งที่ 10

จารึกวัดโพธิ์ถือเป็นมรดกภูมิปัญญาไทยที่มีความสำคัญเทียบเท่าระดับสากล  บอกเล่าวิชาความรู้หลากหลาย  ไม่ว่าจะเป็นจารึกสรรพวิชา  บนแผ่นศิลายังถ่ายทอดเรื่องการสร้างวัดพระเชตุพนฯ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 และจารึกสุภาษิตพระร่วง  รวมถึงรูปปูนปั้นฤาษีดัดตน  แสดงท่าทางการบริหารร่างกาย การนวดแผนโบราณที่รัชกาลที่ 1 และรัชกาลที่ 3 ทรงโปรดเกล้าฯให้จัดทำขึ้น

โดยองค์การยูเนสโกพิจารณาว่าจารึกวัดโพธิ์  ที่ถ่ายทอดเรื่องพระพุทธศาสนา  วรรณกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งศิลาจารึกเรื่องฤาษีดัดตนมีความเป็นสากล  และเป็นประโยชน์ต่อวงการแพทย์

วัดโพธิ์  มีชื่อเสียงด้านการนวดแผนโบราณ  ซึ่งความรู้ทั้งหมดก็นำมาจากรูปปูนปั้นฤาษีดัดตน แสดงท่าทางการบริหารร่างกาย การนวดแผนโบราณ  รวมถึงจารึกต่างๆเหล่านี้  โดยในช่วงปลายสัปดาห์นี้  จะมีการจัดงานฉลองจารึกวัดโพธิ์มรดกความทรงจำแห่งโลก 2554  ภายในงานนอกจากมีบริการนวดแผนโบราณแล้ว  ยังจะได้ชมจารึกองค์ความรู้ต่างๆ  รวมถึงมหรสพสมโภชในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์   เช่น โขน ละคร มอญรำ ญวนหก และไต่ลวด  

สำหรับผู้จะไปร่วมงาน “ ฉลองจารึกวัดโพธิ์มรดกความทรงจำแห่งโลก 2554 ” ก็สามารถไปได้ตั้งแต่วันที่ 24 ธันวาคมนี้ – 2 มกราคม 2555   ที่สำคัญในคืนส่งท้ายปีเก่า   31 ธันวาคม 2554   ยังจะได้ร่วมฉลองรับศักราชใหม่ในพิธีเจริญพระพุทธมนต์ นพเคราะห์  ซึ่งมีพระสงฆ์ 185 รูป  สวดธัมมจักกัปปวัฒนสูตร และสวดเจริญชัยมงคลคาถาในเวลา 24.00 น.  ด้วย

Produced by VoiceTV 

จารึกที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามมีความสําคัญอย่างไร

จารึกวัดโพธิ์ถือเป็นมรดกภูมิปัญญาไทยที่มีความสำคัญเทียบเท่าระดับสากล บอกเล่าวิชาความรู้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นจารึกสรรพวิชา บนแผ่นศิลายังถ่ายทอดเรื่องการสร้างวัดพระเชตุพนฯ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 และจารึกสุภาษิตพระร่วง รวมถึงรูปปูนปั้นฤาษีดัดตน แสดงท่าทางการบริหารร่างกาย การนวดแผนโบราณที่ ...

วัดโพธิ์มีความสําคัญอย่างไร

วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร หรือวัดโพธิ์เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ที่มีความสําคัญอย่างยิ่ง ด้วยถือเป็นวัดประจํารัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ ครั้นต่อมาในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้มี การรวบรวมแหล่งสรรพวิชาความรู้ศิลปะวิทยาการในแขนงต่าง ๆ อาทิ ...

ภูมิปัญญญาไทยที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม คือข้อใด

รูปสลักหินฤาษีดัดตน จากเดิม 30 ท่า ปัจจุบันเหลืออยู่ 24 ท่า หมวดทำเนียบ ได้แก่ จารึกทำเนียบตราตำแหน่งสมณศักดิ์, จารึกทำเนียบหัวเมืองขึ้นของกรุงสยามและผู้ครองเมือง และจารึกโคลงภาพคนต่างภาษา จารึกอยู่ตามผนังเฉลียงสกัดศาลารายรอบวัด เพื่ออธิบายลักษณะ อุปนิสัย บ้านเมืองชาวต่างประเทศที่ชาวสยามคุ้นเคย

ใครเป็นคนสร้างวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม

วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามตามประวัติสร้างมาตั้งแต่ครั้งสมัยอยุธยา แต่ไม่ปรากฏหลักฐานเกี่ยวกับการสร้าง แต่สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นหลัง พ.ศ. 2231 ในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช บ้างว่าสร้างมาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระเพทราชา