การพัฒนาศรัทธาและปัญญา ตามหลัก พระพุทธ ศาสนา มีลักษณะ สำคัญ อย่างไร

เรื่อง  การพัฒนาปัญญา

การพัฒนาศรัทธา

ศรัทธา  แปลว่า  ความเชื่อ  ความเชื่อที่ประกอบด้วยเหตุผล หรือความเชื่อในสิ่งที่ควรเชื่อ  ในทางพระพุทธศาสนาตรงกับคำว่า  ปาสาทะ  แปลว่า  ความเลื่อมใสในรพระพุทธศาสนา เมื่อพูดถึงศรัทธาก็จะมีการกล่าวถึงปัญญาด้วยเสมอ  โดยสาะแห่งพระพุทธศาสนาพระพุทธเจ้าสอนให้วางท่าทีของตนต่อข้อมูล  ข่าวสาร กล่าวคือ ให้ดำรงตำแหน่งเป็นผู้มีปัญญา  มีความรู้เป็นผู้รู้  ผู้ตื่น  ผู้เบิกบานไม่ควรเชื่อสิ่งใดๆ  เพียงเพราะมีเหตุผลส่วนตัว ทรงวางไว้ 10  ประการหลักคือ

กาลามสูตรกังขานิยฐาน 10 หมายถึง วิธีปฎิบัติในเรื่องที่ควรสงสัย หรือหลักความเชื่อ ที่ตรัสไว้ในกาลามสูตร

  1. อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการฟังตามกันมา (มา อนุสฺสเวน)
  2. อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการถือสีบๆกันมา (มา ปรมฺปราย)
  3. อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการเล่าลือ (มา อิติกิราย)
  4. อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการอ้างตำรา หรือคัมภีร์ (มา ปิฏกสมฺปทาเนน)
  5. อย่าปลงใจเชื่อ เพราะตรรก (มา ตกฺกเหตุ)
  6. อย่าปลงใจเชื่อ เพราะอนุมาน (มา นยเหตุ)
  7. อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการคิดตรองตามแนวเหตุผล (มา อาการปริวิตกฺเกน)
  8. อย่าปลงใจเชื่อ เพราะเข้าได้กับทฤษฎีที่พินิจไว้แล้ว (มา ทิฏฐินิชฺฌานกฺขนฺติยา)
  9. อย่าปลงใจเชื่อ เพราะมองเห็นรูปลักษณะน่าจะเป็นไปได้ (มา ภพฺพรูปตาย)
  10. อย่าปลงใจเชื่อ เพราะนับถือว่า ท่านสมณะนี้เป็นครูของเรา (มา สมโณ โน ครูติ)

ต่อเมื่อใด รู้เข้าใจด้วยตนว่า ธรรมเหล่านั้น เป็นอกุศล เป็นกุศล มีโทษ ไม่มีโทษ เป็นต้นแล้ว จึงควรละหรือถือปฏิบัติตามนั้น

การพัฒนาศรัทธาและปัญญา ตามหลัก พระพุทธ ศาสนา มีลักษณะ สำคัญ อย่างไร
สูตรนี้ในบาลีเรียกว่า เกสปุตติสูตร ที่ชื่อกาลามสูตร เพราะทรงแสดงแก่ชนเผ่ากาละมะ แห่งวรรณะกษัตริย์ ที่ชื่อเกสปุตติยสูตร เพราะพวกกาละมะนั้นเป็นชาวเกสปุตตะนิคม ในแคว้นโกศล ไม่ให้เชื่องมงายไร้เหตุผลตามหลัก 10 ข้อ

ตัวอย่าง

  1. อย่าได้ยึดถือตามถ้อยคำที่ได้ยินได้ฟังมา ประเภท “เขาว่า” “ได้ยินมาว่า” ทั้งหลาย
  2. อย่าได้ยึดถือถ้อยคำสืบๆกันมา ประเภท “ใครๆว่า” “โบราณว่า” ตามกระแส
  3. อย่าได้ยึดถือโดยความตื่นข่าวว่า เข่าว่าอย่างนี้ ประเภทข่าวลือ ข่าวโคมลอย ทั้งหลาย
  4. อย่าได้ยึดถือโดยอ้างตำรา อย่าไปตามตำรามากนัก ตำราว่าอย่างนั้น ต้องออกมาเป็นอย่างนั้น เท่านั้น เป็นอย่างอื่นไปไม่ได้เด็ดขาด เพราะอย่าลืมว่า ตำราบางเล่ม คนแต่งก็มั่วมาบ้าง เขียนไม่ครบบ้าง ใส่ไข่เอาเองบ้าง คนมีกิเลสไปแก้ไขตำรา คนมีผลประโยขน์ ไม่แก้ไขตำราเท่ากับเราโดนหลอก
  5. อย่าได้ยึดถือโดยนึกเดาเอาเอง เช่น เข้าใจเอาเอง หรือข้อมูลไม่พอ ใจร้อนเดาสุ่มเอา มั่วๆ เอา
  6. อย่าได้ยึดถือโดยการคาดคะเน การคาดการณ์ตามประวัติศาสตร์ ตามสถิติ ความน่าจะเป็น ซึ่งอาจจะผิดก็ได้ เพราะเห็นแค่ร้อย อย่าเหมาว่าที่ร้อยเอ็ดจะเป็นไปด้วย
  7. อย่าได้ยึดถือตรึงตามอาการ อย่าเห็นว่าอาการแบบนี้ น่าจะเป็นแบบนี้ ให้คิดเผื่อๆไว้ด้วย เช่น เห็นคนไข้เป็นแบบที่เคยรักษาคนอื่นๆมาก่อน อย่าไปตรึกเอาเองว่าเป็นแบบนั้น เห็นเงาก็จ่ายยาได้ เพราะเหนือฟ้ายังมีฟ้า อย่าเข้าข้างตนเอง นั่งสมาธิเห็นโน่น เห็นนี้ อย่านึกว่าเป็นจริง เพราะอาจจะเป็นจิตหลอกจิต
  8. อย่าได้ยึดถือโดยชอบใจว่า ต้องกันกับทิฐิของตัว อย่าเอาความเห็นของตนเป็นใหญ่ อะไรที่ตรงกับที่ตนคิดไว้เท่านั้นที่เชื่อได้ คนคิดแบบนี้ ดื้อตายชัก
  9. อย่าได้ยึดถือโดยเชื่อว่าผู้พูดสมควรจะเชื่อได้ ระวังจะโดนหลอก อย่าลืมว่า สี่เท้ายังรู้พลาด นักปราชญ์ยังรู้พลั้ง
  10. อย่าได้ยึดถือโดยความนับถือว่าสมณะนี้เป็นครูของเรา การยึดอาจารย์ของตนเองมากไป ก็ไม่ดี ควรทำตาม ทดสอบดู ถ้าผิดพลาดก็ไม่ต้องเชื่อ ถ้าทำแล้วดีขึ้นก็แสดงว่าเชื่อได้

หลักศรัทธาในพระพุทธศาสนา 4  อย่าง

 1.กัมมสัทธา  คือ  ความเชื่อในเรื่องของกรรม  กฎแห่งกรรม เชื่อว่ากรรมมีอยู่จริง หรือเชื่อว่าเมื่อทำอะไรโดยมีเจตนา  คือการจงใจทำย่อมเป็นกรรม  เป็นความดีหรือความชั่วที่เกิดขึ้นในตัวตนและเป็นเหตุให้เกิดผลดีผลร้ายต่อตัวสืบไป

2.วิปากสัทธา  คือ  ความเชื่อว่าวิบากคือผลของกรรม  เชื่อว่าผลของกรรมม่ีจริง เชื่อว่ากรรมที่ทำแล้วย่อมมีผล  ผลจะต้องมาจากสาเหตุ  ผลดีเกิดจากกรรมดี  ผลชั่วเกิดจากกรรมชั่ว

3.กัมมกตาสัทธา  คือ  เชื่อว่าคนแต่ละคนมีกรรมเป็นของตัวเองตามลักษณะที่ได้กระลงไป  ทุกคนเป็นเจ้าของและต้องรับผิดชอบการกระทำของตนเอง

4. ตถาคตโพธิสัทธา  คือ  ความเชื่อมั่นในพระพุทธเจ้าว่าเป็นผู้ได้ตรัสรู้สัจธรรมจริง  และทรงเป็นผู้ชั้ทางพ้นทุกข์ให้กับมนุษย์ทุกคน

เป็นงานวิจัยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนวิชาพระพุทธศาสนา ปี 2546 เป็นหลักสูตรขั้นพื้นฐาน ม. 4

หลักศรัทธา
              ศรัทธา หมายถึง ความเชื่อ ศรัทธาในพระพุทธศาสนา หมายถึงความเชื่ออย่างมีเหตุผล
อาจแบ่งความเชื่อออกเป็น 2 ประเภทง่าย ๆ คือ 
              1. ความเชื่อแบบปิดกั้นปัญญา หมายถึง การใช้วิธีการโฆษณาชวนเชื่อ การปลุกเร้า หรือการบังคับให้เชื่อ โดยไม่ให้มีข้อสงสัย ข้อคำถาม แต่ให้ทำตามเพียงอย่างเดียว เป็นสิ่งที่ต้องถือปฏิบัติตาม ยึดมั่นโดยไม่ต้องถามหาเหตุผล

              2. ความเชื่อแบบสื่อนำสู่ปัญญา หมายถึง ความเชื่อที่มีเหตุผล โดยผู้ศึกษาอาศัยปัญญาพิจารณา วิเคราะห์ในสิ่งที่ควรเชื่อหรือไม่ควรเชื่อ เมื่อเชื่อแล้วก็ค้นหาข้อเท็จจริง พยายามศึกษาค้นคว้าทดลอง

หลักความเชื่อในพระพุทธศาสนาใน กาลามสูตร   กล่าวไว้ดังนี้
                 อย่าเชื่อ เพียงเพราะได้ฟัง (เรียน) ตามกันมา
                 อย่าเชื่อ เพียงเพราะได้ถือปฏิบัติสืบต่อกันมา
                 อย่าเชื่อ เพียงเพราะเสียงเล่าลือ
                 อย่าเชื่อ เพียงเพราะอ้างตำรา
                 อย่าเชื่อ เพียงเพราะโดยตรรกะ
                 อย่าเชื่อ เพียงเพราะอนุมานเอา
                 อย่าเชื่อ เพียงเพราะคิดตรองตามแนวเหตุผล
                 อย่าเชื่อ เพียงเพราะเข้ากันได้กับทฤษฎีของตน
                 อย่าเชื่อ เพียงเพราะมีรูปลักษณะน่าเชื่อถือ
                 อย่าเชื่อ เพียงเพราะเห็นว่า ท่านสมณะนี้เป็นครูอาจารย์ของเรา

การพัฒนาศรัทธาและปัญญา ตามหลัก พระพุทธ ศาสนา มีลักษณะ สำคัญ อย่างไร

หลักปัญญา

            ปัญญา หมายถึง ความรู้ทั่ว ความรู้ความเข้าใจที่ชัดเจน บุคคลจะเกิดความรู้ได้ต้องอาศัยปัญญา 3 ประเภทคือ
           1) จินตามยปัญญา ปัญญาเกิดจากการคิดการพิจารณาหาเหตุผลด้วยตนเอง
           2) สุตมยปัญญา ปัญญาเกิดจากการสดับตรับฟัง การเล่าเรียน หรือถ่ายทอดสืบต่อกันมา
           3) ภาวนามยปัญญา ปัญญาเกิดจากการลงมือปฏิบัติ ฝึกหัด อบรมสัมมนา เป็นต้น

      ศรัทธาที่เกิดจากปัญญา
           ศรัทธาหรือความเชื่อเป็นสื่อนำไปสู่ปัญญา นั่นก็คือเมื่อเกิดความเชื่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งก็เป็นสิ่งจูงใจให้เกิดความสนใจที่จะศึกษาค้นคว้า
หาเหตุหาผล จึงเป็นกระบวนการในการพัฒนาปัญญา กล่าวโดยสรุปดังนี้คือ

           1. ศรัทธาเป็นเพียงขั้นหนึ่งในกระบวนการพัฒนาปัญญา และกล่าวว่าเป็นขั้นต้นที่สุด
           2. ศรัทธาที่พึงประสงค์ คือต้องเป็นความเชื่อที่มีปัญญารองรับ เป็นความเชื่อที่มีเหตุผล
           3. ศรัทธาที่ใช้อารมณ์ เป็นความเชื่อที่งมงาย เป็นสิ่งที่ต้องกำจัดหรือแก้ไขให้ถูกต้อง
           4. ศรัทธาที่มุ่งหมายในกระบวนการพัฒนาปัญญานั้น เป็นศรัทธาที่กระตุ้นให้เกิดความอยากรู้อยากเห็น อยากพิสูจน์ความจริง
จึงมุ่งมั่นที่จะค้นหาความรู้นั้น ๆ
           5. คุณประโยชน์ของศรัทธามี 2 ลักษณะคือ ศรัทธาเป็นปัจจัยให้เกิดปิติซึ่งทำให้เกิดความสงบเยือกเย็นนำไปสู่สมาธิและปัญญาในที่สุด และศรัทธาทำให้เกิดความเพียรพยายามที่จะปฏิบัติ มุ่งมั่นค้นหาความรู้ที่เกิดจากความเชื่อนั้น ๆ ให้รู้แจ้งเห็นจริง นำไปสู่ปัญญาในที่สุด
           6. ศรัทธาเป็นไปเพื่อปัญญา เมื่อเกิดศรัทธาต่อเรื่องใด ๆ สิ่งใด ๆ ก็ตาม ก็คิดเห็นเหตุผล หรือค้นหาความจริงนั้น ๆ ดังนั้นศรัทธาจึงส่งเสริมค้นคิดหาเหตุผล ด้วยความพึงพอใจและเต็มใจ การขอร้องให้เชื่อก็ดี การบังคับให้ยอมรับความจริงตามที่กำหนดก็ดี การขู่ให้เชื่อก็ดี เป็นวิธีการที่ไม่ใช่สิ่งที่ก่อให้เกิดศรัทธา
           7. ในการพัฒนาปัญญา อาจกำหนดขั้นตอนที่จัดว่าเป็นระยะของศรัทธาได้ดังนี้คือ

              1) สร้างทัศนคติที่มีเหตุผล ไม่เชื่อหรือยึดถือสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ตามหลักกาลามสูตร
              2) ยินดีรับฟังหลักการ ทฤษฎี คำสอน ความคิดเห็นต่าง ๆ ด้วยใจเป็นกลาง คิดพิจารณาถึงข้อเท็จจริง
              3) พิจารณาหาเหตุผล รู้จักคิดวิเคราะห์ พิจารณาถึงที่มาของหลักการ ทฤษฎี คำสอน ความคิดเห็นต่าง ๆ
              4) นำมาคิดวิเคราะห์ ทดสอบหรือทดลองด้วยเหตุผล จนเกิดความมั่นใจว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้องแท้จริง
              5) เมื่อมีข้อเคลือบแคลงสงสัย ก็สามารถสอบถามหรือศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม เพื่อให้ได้ความรู้ที่แท้จริง

พระพุทธศาสนาเน้นหลักการสร้างศรัทธาด้วยปัญญาอย่างไร

ภาพ : shutterstock.com. พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่เน้นการพัฒนาศรัทธาและปัญญาที่ถูกต้อง องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอนให้ไม่เชื่ออะไรอย่างงมงาย ไม่สักแต่ว่าเชื่อตามๆ กันมา หรือเชื่อตามตำรา เชื่อข่าวลือ ไม่เชื่อถึงแม้ว่าบุคคลนั้นจะเป็นครูอาจารย์ก็ตาม

ศรัทธาในทางพระพุทธศาสนามีอะไรบ้าง

ศรัทธา หรือ สัทธาเป็นองค์ประกอบในหลายๆหลักธรรมในทางพระพุทธศาสนา ได้แก่ พละ ๕ และ อินทรีย์ ๕ (สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา) สมชีวิธรรม ๔ (สมสัทธา สมสีลา สมจาคา สมปัญญา) เวสารัชชกรณธรรม ๕ (ศรัทธา ศีล พาหุสัจจะ วิริยารัมภะ ปัญญา)

หลักการของพระพุทธศาสนามีลักษณะเป็นอย่างไรบ้าง

หลักธรรมสำคัญของพุทธศาสนา ศาสนาพุทธสอนว่า ปรมัตถธรรม หรือสรรพสิ่งมี 4 อย่างคือ จิต เจตสิก รูป นิพพาน จึงปฏิเสธการมีอยู่ของพระเป็นเจ้า (เพราะพระเป็นเจ้าจัดเข้าในปรมัตถธรรมไม่ได้) และเชื่อว่าโลกนี้เกิดขึ้นเองจากกฎแห่งธรรมชาติหรือนิยาม5 ประการ คือ อุตุนิยาม พีชนิยาม จิตนิยาม กรรมนิยาม ธรรมนิยาม

ปัญญาในทางพระพุทธศาสนาคืออะไร

ปัญญา แปลว่า ความรู้ทั่ว คือรู้ทั่วถึงเหตุถึงผล รู้อย่างชัดเจน, รู้เรื่องบาปบุญคุณโทษ, รู้สิ่งที่ควรทำควรเว้น เป็นต้น เป็นธรรมที่คอยกำกับศรัทธา เพื่อให้เชื่อประกอบด้วยเหตุผล ไม่ให้หลงเชื่ออย่างงมงาย