การลงมือทำโครงงานวิทยาศาสตร์มีลำดับขั้นตอนอย่างไร

การลงมือทำโครงงานวิทยาศาสตร์มีลำดับขั้นตอนอย่างไร

การทำโครงงาน                                                                                                                     

มี 3 ขั้นตอน คือ

1. คิดและเลือกหัวเรื่องหรือปัญหาที่จะศึกษา

2.การวางแผนในการทำโครงงาน

3.การลงมือทำโครงงาน

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

1. คิดและเลือกหัวเรื่องหรือปัญหาที่จะศึกษา                                                                               

           เป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุดและยากที่สุดตามหลักการผู้ทำโครงงานจะต้องเป็นผู้คิด โดยเลือกหัวข้อตามความสนใจ

ซึ่งอาจได้จากการอ่านหนังสือ เอกสารต่างๆ ไปทัศนศึกษานอกสถานที่ หรือฟังคำบรรยายเชิงวิชาการ โดยหัวข้อที่คิด

จะต้องเหมาะสมกับระดับความรู้ความสามารถของผู้ทำโครงงาน

2. การวางแผนในการทำโครงงานวิทยาศาสตร์                                                                           

           ประกอบด้วย

             2.1  การกำหนดปัญหาหรือที่มา และความสำคัญของโครงงาน

             2.2  กำหนดวัตถุประสงค์และสมมติฐานของการศึกษา เช่น ศึกษาปฏิกิริยาตอบสนองของปลาแสงสีต่างๆ

                    หรือเพื่อศึกษาอวัยวะภายในของหนูที่มีผลมาจากใบกัญชา

             2.3  กำหนดขอบเขตของการศึกษา โดยยึดหลักไม่เกินระดับความรู้ของนักเรียนมากนัก

             2.4  การวางแผนวิธีการดำเนินงาน ได้แก่ แนวทางในการศึกษา  ค้นคว้า วัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็น ออกแบบการทดลอง

                     ควบคุมตัวแปร วิธีการสำรวจ และรวบรวมข้อมูล วิธีการประดิษฐ์ การวิเคราะห์ข้อมูล และการกำหนดระยะ

                     เวลาในการทำงานในการวางแผนการทำโครงงานควรเขียนโครงร่าง หรือเค้าโครงร่าง หรือเค้าโครงงาน

                    นำเสนออาจารย์ที่ปรึกษา เพื่อขอความคิดเห็น และคำปรึกษาว่าจะดำเนินการอย่างไร โดยที่เป็นขั้นตอน

                     และไม่สับสนการเขียนและการจัดลำดับหัวข้อเค้าโครงของโครงงาน  มีดังนี้

                                1. ชื่อโครงงาน

                                2. ผู้จัดทำโครงงาน

                                3. ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน

                                4. ที่มาและความสำคัญของโครงงาน

                                5. วัตถุประสงค์ของการศึกษา ค้นคว้า

                                6. สมมติฐานของการศึกษา ค้นคว้า (ในกรณีการตั้งสมมติฐานมักใช้กับ

                                    โครงงานประเภททดลองเท่านั้น)

                                7. วิธีการดำเนินการ

                                8. ประโยชน์หรือผลที่คาดว่าจะได้รับ

                                9. เอกสารอ้างอิง

3. การลงมือทำโครงงาน                                                                                                       

           คือการปฎิบัติตามขั้นตอนที่ 2 ที่ได้วางแผนไว้ อาจมีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมบ้างก็ได้สำหรับโครงงานประเภท

ทดลอง ควรมีการตรวจผลการทดลอง ด้วยการลองทำการทดลองซ้ำเพื่อให้ได้ผลที่แน่นอน

การลงมือทำโครงงานวิทยาศาสตร์มีลำดับขั้นตอนอย่างไร

การลงมือทำโครงงานวิทยาศาสตร์มีลำดับขั้นตอนอย่างไร

ขั้นตอนการทำโครงงานวิทยาศาสตร์มีอะไรบ้าง

การท าโครงงานวิทยาศาสตร์ เป็นกิจกรรมที่ต่อเนื่องและมีการด าเนินงานหลายขั้นตอนตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงขั้น สุดท้าย ดังนี้ 1. การคิดและเลือกหัวข้อเรื่องที่จะท าโครงงาน 2. การศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง 3. การจัดท าเค้าโครงของโครงงาน 4. การลงมือท าโครงงาน 5. การเขียนรายงาน 6. การแสดงผลงาน การคิดและเลือกหัวข้อเรื่องที่จะทาโครงงาน

การเตรียมการเพื่อดำเนินโครงงานวิทยาศาสตร์ต้องทำอะไรบ้าง

เริ่มต้นโครงงานวิทยาศาสตร์อย่างไร.
หาหัวข้อที่จะศึกษา ... .
ศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ... .
จัดการ ... .
จัดตารางเวลา ... .
วางแผนการทดลอง ... .
ปรึกษาอาจารย์ที่ปรึกษา ... .
ทำการทดลอง ... .
ตรวจสอบผลการทดลอง.

ขั้นตอนใดเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุดในการทำโครงงานวิทยาศาสตร์

บทเรียนที่ 2 ขั้นตอนการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ ขั้นที่ 1 การคิดและเลือกชื่อเรื่องหรือปัญหาที่จะศึกษา ขั้นตอนนี้เป็นขั้นที่สำคัญที่สุดและยากที่สุด ตามหลักการแล้วนักเรียนควรจะเป็นผู้คิดและเลือกหัวข้อเรื่องที่จะศึกษาด้วยตนเอง แต่ครูอาจมีบทบาทหรือมีส่วนช่วยเหลือให้นักเรียนสามารถคิดหัวข้อเรื่องได้ด้วยตนเอง ดังจะได้กล่าวต่อไป

การลงมือทำโครงงานควรปฏิบัติอย่างไร

การลงมือทำโครงงานจำเป็นจะต้องคำนึงถึงเรื่องต่าง ๆ ต่อไปนี้เพื่อให้งานสำเร็จได้ด้วยดี 1. ความพร้อมของวัสดุและสถานที่ก่อนลงมือทดลอง หรือสำรวจ 2. เตรียมสมุดสำหรับบันทึกกิจกรรมประจำวัน 3. ปฏิบัติการทดลองด้วยความละเอียดรอบคอบ และวางแผนบันทึกข้อมูลไว้ให้เป็นระเบียบครบถ้วน