กระบังลมมีหน้าที่อะไรในระบบหายใจ

ระบบต่างๆ ในร่างกาย : มาทำความรู้จักองค์ประกอบและทำความเข้าใจกลไกการทำงานของ ระบบหายใจ ที่มีความสำคัญต่อการสร้างพลังงานให้กับร่างกาย

ระบบหายใจ มีหน้าที่แลกเปลี่ยนแก๊สในสิ่งมีชีวิต โดยนำออกซิเจน (O2) เข้าสู่ร่างกายเพื่อนำไปสร้างพลังงาน แล้วก็จะขับของเสียออกมาในรูปคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2)

การแลกเปลี่ยนแก๊สเป็นสิ่งสำคัญของสิ่งมีชีวิตทุกประเภท แต่วิธีการอาจจะแตกต่างกันไปตามชนิด อย่างอะมีบา และ พารามีเซียม ใช้เยื่อหุ้มเซลล์ ไส้เดือนดินใช้ผิวหนัง แมลงใช้ท่อลม ปลาและกุ้งใช้เหงือก ทว่า คน สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่นๆ ใช้ปอด ซึ่งกว่าจะลำเลียงอากาศไปถึงปอดได้ต้องผ่านอวัยวะหลายอย่างซึ่งประกอบกันเป็น ทางเดินหายใจส่วนต้น และ ทางเดินหายใจส่วนปลาย

กระบังลมมีหน้าที่อะไรในระบบหายใจ
ภาพแสดงอวัยวะในระบบหายใจทั้งสวนต้นและส่วนปลาย

ทางเดินหายใจส่วนต้น

จมูก (nose) เป็นอวัยวะภายนอกที่มีรูจมูก (nostril) สองรูทำหน้าที่สูดอากาศเข้าสู่ร่างกายผ่านโพรงจมูก (Nasal Cavity) ซึ่งมีเยื่อบุผิวประกอบไปด้วยซีเลียและเมือกช่วยจับสิ่งแปลกปลอมก่อนจะผ่านไปยังคอหอย (Pharynx) ช่องที่อากาศจากจมูก ช่องอาหารจากปาก และกล่องเสียงมาพบกัน กล่องเสียง (Larynx) เป็นอวัยวะที่อยู่ถัดจากคอหอย ประกอบด้วยกระดูกอ่อนหลายชิ้นและเส้นเสียง เมื่ออากาศเคลื่อนผ่าน สายเสียงจะสั่นสะเทือนทำให้เกิดเสียงได้

ทางเดินหายใจส่วนปลาย

เมื่อผ่านกล่องเสียงมาจะเจอหลอดลม (Trachea) มีลักษณะเป็นหลอดยาวตรง มีกระดูกอ่อนเรียงกันเป็นรูปตัว C เพื่อป้องกันการยุบตัวเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงของแรงกดอากาศ โดยแตกแขนงเป็นขั้วปอด (Bronchus) สองข้าง ซ้ายและขวาเข้าสู่ปอดซึ่งจะแตกแขนงออกไปมากมายแทรกตัวอยู่ตามเนื้อปอด เรียกว่า แขนงขั้วปอด (Bronchiole) ที่ปลายสุดของแขนงขั้วปอดมีถุงลม (Alveolus) ซึ่งเป็นแหล่งในการแลกเปลี่ยนแก๊สเนื่องจากมีเส้นเลือดฝอยล้อมรอบอยู่จำนวนมาก

กลไกการหายใจเข้า – ออก ของคน

กระบังลมมีหน้าที่อะไรในระบบหายใจ
ภาพแสดงกลไกการหายใจเข้าและการหายใจออกของมนุษย์

ปอดเป็นส่วนที่ไม่มีกล้ามเนื้อเพื่อการหดตัวจึงต้องใช้แรงช่วยจากส่วนอื่นเพื่อทำให้การหายใจเข้า-ออกเป็นไปได้ ด้านล่างของปอดจะมีกล้ามเนื้อชุดหนึ่งเรียกว่า กระบังลม (diaphragm) และมีกระดูกซี่โครงครอบคลุมปอดด้านบนและด้านข้าง เมื่อเราหายใจเข้า กล้ามเนื้อกระบังลมจะหดตัวและเลื่อนตัวลง กล้ามเนื้อยึดซี่โครงด้านนอกก็จะหดตัวลงเช่นกันเพื่อทำให้กระดูกซี่โครงยกตัวขึ้น ทั้งสองอย่างนี้ส่งผลให้แรงดันอากาศภายในต่ำกว่าแรงดันอากาศภายนอก ทำให้อากาศสามารถเข้าสู่ปอดได้ และจะกลับกันเมื่อหายใจออก เมื่อหายใจออก เราต้องเพิ่มความดันในช่องอกเพื่อดันให้อากาศออกสู่บรรยากาศภายนอกโดยการคลายตัวของกล้ามเนื้อกระบังลมเพื่อให้กระบังลมยกขึ้น และกล้ามเนื้อยืดซี่โครงภายนอกก็คลายตัวเช่นกันเพื่อทำให้กระดูกซี่โครงเลื่อนต่ำส่งผลให้พื้นที่ปอดลดลง

(สามารถรับชมกลไกการหายใจเข้า – ออกในรูปแบบภาพเคลื่อนไหวได้จากวิดีโอด้านล่างนี้)

ปอดและการแลกเปลี่ยนแก๊ส

หน้าที่หลักของถุงลมในปอดคือการแลกเปลี่ยนแก๊สจากถุงลมไปยังหลอดเลือดฝอยเพื่อให้ฮีโมโกลบินในเลือดจับตัวกับออกซิเจนและนำพาไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย โดยใช้ การแพร่ (simple diffusion) ซึ่งการแพร่จะเกิดขึ้นได้ดีขี้นอยู่กับความบางของผนังและชื้นของถุงลม ผนังของถุงลมประกอบด้วยเซลล์เยื่อบุผิวเพียงชั้นเดียว และมีลิโพโปรตีนเคลือบเป็นชั้นบางๆ เพื่อลดแรงตึงผิวของน้ำและป้องกันไม่ให้ถุงลมยุบตัว ซึ่งคล้ายคลึงกับโครงสร้างของหลอดเลือดฝอย โดยหลอดเลือดและถุงลมจะอยู่ชิดติดกันง่ายต่อการแพร่ เมื่อความเข้มข้นของออกซิเจนในถุงลมสูงก็จะถูกแพร่ไปยังที่ที่ความเข้มข้นน้อยกว่าอย่างในหลอดเลือดฝอย และกับคาร์บอนไดออกไซด์ก็เช่นเดียวกัน เมื่อหายใจออก คาร์บอนไดออกไซด์ที่ถูกลำเลียงมากับฮีโมโกลบินก็จะแพร่ตัวไปยังถุงลมที่มีความเข้มข้นของแก๊สในขณะนั้นน้อยกว่า

(สามารถรับชมวิดีโอเพิ่มเติมเกี่ยวกับปอดและการแลกเปลี่ยนแก๊สได้ที่วิดีโอด้านล่างนี้)

Pages: 1 2

September 8, 2021

กระบังลมมีหน้าที่อะไรในระบบหายใจ

Credit photo: pixabay.com

การหายใจด้วยกล้ามเนื้อกระบังลม (Diaphragmic breathing) หรือที่นิยมเรียกว่า Belly breathing หรือ Abdominal breathing เป็นการหายใจเข้า-ออก ช้าๆ ด้วยการใช้บังคับใช้กล้ามเนื้อกระบังลม ช่วยให้กระบังลมแข็งแรงขึ้น และเพิ่มประสิทธิภาพในการหายใจ และเมื่อประสิทธิภาพในการหายใจของเราดีขึ้น ร่างกายก็จะได้รับอ๊อกซิเจนมากขึ้น

ประโยชน์ของการหายใจด้วยกล้ามเนื้อกระบังลม

  1. ช่วยให้ร่างกายผ่อนคลาย ลดผลกระทบจากฮอร์โมนเครียด หรือ คอร์ติซอล
  2. ลดอัตราการเต้นของหัวใจ
  3. ลดความดันโลหิต
  4. ช่วยให้ผู้ที่มีอาการ PTSD (Post Traumatic Stress Disorder) ดีขึ้น
  5. ช่วยให้กล้ามเนื้อบริเวณลำตัวแข็งแรงขึ้น
  6. ช่วยให้ร่างกายมีความอึดในการออกกำลังกายมากขึ้น
  7. ช่วยลดอาการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ
  8. ช่วยลดอัตราการหายใจขณะออกกำลังกาย ทำให้ใช้พลังงานในการออกกำลังกายน้อยกว่าเดิม
  9. ช่วยลดความเครียด ช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานได้ดีขึ้น

กระบังลมมีหน้าที่อะไรในระบบหายใจ

ในขณะที่หายใจเข้า กระบังลมจะเคลื่อนตัวต่ำลง เพื่อช่วยนำอากาศเข้ามาในปอด และในขณะที่หายใจออกกล้ามเนื้อกระบังลมจะยกตัวสูงขึ้นเพื่อช่วยนำอากาศออกจากปอด

ผู้ป่วย COPD (Chronic Obstructive Pulmonary Disease) สามารถใช้การหายใจแบบนี้ในการช่วยให้กล้ามเนื้อกระบังลมแข็งแรงขึ้น และประสิทธิภาพในการหายใจดีขึ้น

กระบังลมมีหน้าที่อะไรในระบบหายใจ

ในกรณีผู้ป่วย COPD หรือหอบหืด (Asthma) ปอดมีความยืดหยุ่นหน้อยกว่าคนปกติ  ดังนั้นกล้ามเนื้อกระบังลมจะไม่ทำงานได้อย่างเต็มที่ในขณะที่หายใจเข้า และออก ดังนั้นร่างกายจึงต้องใช้กล้ามเนื้อส่วนคอ และหน้าอกเข้ามาช่วยในการหายใจ และร่างกายไม่สามารถรับอ๊อกซิเจนเข้ามาได้อย่างเต็มที่ในขณะที่ออกกำลังกาย หรือทำกิจกรรมทางร่างกาย

กระบังลมมีหน้าที่อะไรในระบบหายใจ

การฝึกหายใจด้วยกล้ามเนื้อกระบังลมจะช่วยให้เอาอากาศที่สะสมอยู่ในปอดออกมาได้มากขึ้น ช่วยให้กระบังลมแข็งแรงขึ้น และช่วยเพิ่มปริมาณอ๊อกซิเจนที่หายใจเข้าสู่ร่างกาย

ขั้นตอนการหายใจด้วยกระบังลม

  1. นั่งในท่าที่สบาย หรือนอนหงายรอาบลงกับพื้น
  2. ผ่อนคลายกล้ามเนื้อบริเวณไหล่
  3. เอามือหนึ่งข้างวางบนหน้าอก และอีกข้างหนึ่งวางที่ท้อง
  4. หายใจเข้าทางจมูกประมาณ 2 วินาที เอาอากาศเข้าไปที่ท้อง ท้องจะค่อยๆ ป่องออก ในขณะที่หน้าอกไม่ขยับ (กรณีผู้เริ่มต้น หากไม่ถนัดสามารถใช้การเบ่งท้องช่วยได้)
  5. ค่อยๆ หายใจออกเป็นเวลาเท่ากับหายใจเข้า
    • สำหรับผู้เริ่มต้น ให้ค่อยๆ หายใจออกทางจมูก
    • สำหรับผู้ที่หายใจจนเริ่มคล่องแล้วให้ค่อยๆ หายใจออกทางปากด้วยการทำปากเหมือนกำลังดูดน้ำ (Pursed lip) เพื่อให้อากาศค่อยๆ ไหลออกมาทางปาก วิธีก่รนี้จะช่วยให้ปอดแข็งแรงขึ้น
    • ถ้าทำจนเริ่มคล่องแล้วให้ใช้การหายใจออกทางปากแบบ Pursed lip ให้ยาวขึ้นเป็น 2 เท่า ของเวลาที่หายใจเข้า เช่น ถ้าหายใจเข้า 2 วินาที ให้หายใจออก 4 วินาที
  6. ทำซ้ำไปเรื่อยๆ จนรู้สึกผ่อนคลาย คุณสามารถเพิ่มระยะเวลาการหายใจเข้าเป็น 4 วินาที และการหายใจออกเป็น 8 วินาทีได้ เพื่อให้ปอดได้มีเวลาในการแลกเปลี่ยนก๊าซนานขึ้น

กระบังลมมีหน้าที่อะไรในระบบหายใจ