สาเหตุที่ต้องยกเลิกการใช้เงินพดด้วงมาจากเรื่องใด

สาเหตุที่ต้องยกเลิกการใช้เงินพดด้วงมาจากเรื่องใด

27 ตุลาคม พ.ศ.2447 : ประกาศเลิกใช้ เงินพดด้วง

    

27 ตุลาคม พ.ศ. 2447 ประกาศเลิกใช้ เงินพดด้วง ทุกชนิด เนื่องจากความต้องการเงินตราไทยมีมากเพราะการค้าระหว่างประเทศขยายตัว การผลิตเงินพดด้วงไม่ทันใช้ รัชกาลที่ 5 จึงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ออกประกาศลงวันที่ 27 ตุลาคม 2447 มีความสำคัญว่า ได้โปรดให้สั่งว่า เงินพดด้วงซึ่งได้จำหน่ายออกจากพระคลังฯ ใช้กันแพร่หลายอยู่ในพระราชอาณาจักรเวลานี้ มีลักษณะปลอมแปลงได้ง่าย สมควรให้เลิกใช้เงินพดด้วงเสีย โดยตั้งแต่วันที่ 28 ตุลาคม 2447 เป็นต้นไป ให้เลิกใช้เงินพดด้วงทุกชนิด ยกเป็นเงินตราที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

ประกาศเลิกใช้ เงินพดด้วง, ประกาศเลิกใช้ เงินพดด้วง หมายถึง, ประกาศเลิกใช้ เงินพดด้วง คือ, ประกาศเลิกใช้ เงินพดด้วง ความหมาย, ประกาศเลิกใช้ เงินพดด้วง คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

สาเหตุที่ต้องยกเลิกการใช้เงินพดด้วงมาจากเรื่องใด

เวลาพระเจ้าแผ่นดินสวรรคตเปลี่ยนรัชกาลใหม่ ราษฎรมักหวาดหวั่นว่าจะเกิดเหตุร้าย เห็นจะเป็นความรู้สึกที่สืบมาแต่เมื่อกรุงศรีอยุธยายังเป็นราชธานีในสมัยกลาง ตั้งแต่พระเจ้าปราสาททองเสวยราชย์เป็นต้นมา ด้วยมักเกิดรบพุ่งหรือฆ่าฟันกัน แม้ไม่ถึงเช่นนั้นก็คงมีการกินแหนงแคลงใจกันในเวลาเปลี่ยนรัชกาลแทบทุกคราว ที่จะเปลี่ยนโดยเรียบร้อยทีเดียวนั้นมีน้อย จนเกิดเป็นคติสำหรับวิตกกันว่าเวลาเปลี่ยนรัชกาลมักจะเกิดเหตุร้าย 

เมื่อเปลี่ยนรัชกาลคราวนี้ก็หวาดหวั่นตามเคย มีอุทาหรณ์ดั่งหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษเรียกว่า "สยามริปอสิตอรี" ของหมอสมิธพิมพ์จำหน่ายอยู่ในสมัยนั้นกล่าวความดังนี้ "เวลานี้ทั่วประเทศสยามพากันสั่นสะท้านและหวาดหวั่น อยู่ในระหว่างเปลี่ยนรัชกาล ด้วยพระเจ้าแผ่นดินพระองค์เก่าซึ่งมีพระเดชพระคุณแก่ไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินมาก และได้ทรงปกครองชนชาติอื่นที่มาพึ่งพระบารมีอยู่ในพระราชอาณาเขต กลับทั้งชาวต่างประเทศยังอยู่ในบังคับของกงสุลนั้นมิได้เสด็จสถิตอยู่ในเศวตฉัตรให้คนทั้งหลายเกรงพระราชอาญาเสียแล้ว  

แม้สมเด็จเจ้าฟ้าอันเป็นพระราชโอรสได้ทรงรับรัชทายาทก็จริงแต่ว่าประชวรพระกำลังยังปลกเปลี้ย  จะรอดพระชนม์ทนการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกและการรับแขกเมืองเฝ้าได้แลหรือ แม้แต่ในเวลาเมื่อสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินกำลังประชวรยังไม่สวรรคต ก็มีกิตติศัพท์ว่าจะเกิดกบฏและได้มีเหตุวุ่นวายด้วยเนื่องจากฝิ่นเถื่อนทั้งปรากฏว่ามีผู้ทำอัฐปลอมมากเกิดยุ่งยากในเรื่องเครื่องแลกจนตื่นกัน ไม่เป็นอันซื้อขายในท้องตลาดอยู่หลายวัน" ดังนี้

แต่ที่จริงมีเหตุการณ์อันเป็นเรื่องร้อนต้องรีบระงับเมื่อแรกเข้ารัชกาลที่ 5 แต่ 2 เรื่องคือ เรื่องเงินตราเรื่อง 1 กลับเรื่องจีนตั้วเหียอีกเรื่อง 1 จะกล่าวอธิบายเป็นลำดับต่อไปในตอนนี้

เรื่องเงินตรา

เดิมเงินตราในประเทศสยามนี้ใช้เงินพดด้วง (รูปเป็นก้อนกลม) ตีตรารัชกาลประจำเป็นสำคัญ เป็นประเพณีสืบมาตั้งแต่กรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีและเงินพดด้วงนั้นทำเป็น 4 ขนาด ขนาดใหญ่ราคา 1  บาท ขนาดรองราคากึ่งบาท (แต่ขนาดนี้มิใคร่ชอบใช้กัน) ขนาดต่อลงมาราคาสลึงหนึ่ง (4 สลึงเป็นบาท) ขนาดเล็กราคาเฟื้อง 1 (2 เฟื้องเป็นสลึง) เครื่องแลกราคาต่ำกว่านั้นลงมาใช้เบี้ยหอยซึ่งมาจากทะเล อัตราราคา 800 เบี้ยต่อเฟื้อง แต่ราคาเบี้ยไม่คงที่ อาจจะขึ้นและลดผิดกันได้มากๆ ตามเวลาที่มีชาวต่างประเทศบรรทุกเอาเบี้ยเข้ามาขายมากหรือน้อย ถ้าคราวมีเบี้ยเข้ามามากราคาก็ลด 1,000 เบี้ยต่อเฟื้อง  ถ้าเบี้ยขาดคราวราคาก็ขึ้นถึง 600 เบี้ยต่อเฟื้อง

การเปลี่ยนแปลงเงินตราในกรุงรัตนโกสินทร์

เมื่อรัชกาลที่ 4 ตั้งแต่ทำหนังสือสัญญากับฝรั่งต่างประเทศแล้ว การค้าขายในกรุงเทพฯ เจริญรวดเร็วเกินคาดหมาย เช่นแต่ก่อนมามีเรือกำปั่นฝรั่งเข้ามาค้าขายในกรุงเทพฯ เพียงราวปีละ 12 ลำ แต่พอทำหนังสือสัญญาแล้ว ก็มีเรือกำปั่นฝรั่งเข้ามาค้าขายตั้งปีละ 200 ลำ พวกพ่อค้าฝรั่งเอาเงินเหรียญดอลล่าร์ซึ่งใช้ในการซื้อขายทางเมืองจีนเข้ามาซื้อสินค้า ราษฎรไทยไม่ยอมรับฝรั่งจึงต้องเอาเงินเหรียญดอลล่าร์มาขอแลกเงินบาทจากรัฐบาล ก็เงินบาทพดด้วงนั้นช่างหลวงทำที่พระคลังมหาสมบัติ เตาหนึ่งทำได้วันละ 240 บาท เพราะทำแต่ด้วยเครื่องมือมิได้ใช้เครื่องจักร  

สาเหตุที่ต้องยกเลิกการใช้เงินพดด้วงมาจากเรื่องใด

เตาหลวงมี 10 เตา ระดมกันทำเงินพดด้วงได้แต่ละวันละ 2,400 บาท เป็นอย่างมาก ไม่พอให้ฝรั่งแลกตามปรารถนา พวกกงสุลพากันร้องทุกข์ว่าเป็นการเสียประโยชน์ของพวกชาวต่างประเทศที่มาค้าขาย พระบาทสมเด็จฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระราชดำริจะเปลี่ยนรูปเงินตราสยามเป็นเหรียญ (ครั้งนั้นเรียกว่า "เงินแป") ให้ทำได้ด้วยเครื่องจักร และในเมื่อกำลังให้รอเครื่องจักรนั้น โปรดฯ ให้ประกาศพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ราษฎรรับเหรียญดอลล่าร์จากชาวต่างประเทศ แล้วเอามาแลกเงินบาทที่พระคลังมหาสมบัติได้ โดยอัตรา 3 เหรียญดอลล่าร์ต่อ 5 บาท ราษฎรยังไม่พอใจจะรับเงินดอลล่าร์ โปรดฯ ให้เอาตรามหามงกุฎและตราจักร ซึ่งสำหรับตีเงินพดด้วงตีลงเป็นสำคัญดอลล่าร์ให้ใช้ไปพลาง ก็ยังมิใคร่มีใครพอใจจะใช้    

ครั้นเมื่อปีวอก พ.ศ.2403 การสร้างโรงกษาปณ์สำเร็จ ทำเงินตราสยามเป็นเหรียญมีตราพระมหามงกุฎกับฉัตรทั้งสองข้าง ด้านหนึ่งตราช้างเผือกอยู่ในวงจักรด้านหนึ่งเป็นเหรียญเงิน 4 ขนาดคือบาทหนึ่ง กึ่งบาท สลึงหนึ่ง เฟื้องหนึ่ง และทำเหรียญทองคำราคาเหรียญละ 10 สลึง (ตรงกับตำลึงจีน) ด้วยอีกอย่างหนึ่ง เมื่อประกาศให้ใช้เงินตราอย่างเหรียญแล้ว เงินพดด้วงก็ยังโปรดฯ อนุญาตให้ใช้อยู่ เป็นแต่ไม่ทำเพิ่มเติมขึ้น

ต่อมาอีก 2 ปีถึงปีจอ พ.ศ.2405 โปรดฯ ให้โรงกษาปณ์ทำเหรียญดีบุก ขึ้นเป็นเครื่องแลกใช้แทนเบี้ยหอย เหรียญดีบุกนั้นก็มีตราพระมหามงกุฎกับฉัตรและตราช้างในวงจักรทำนองเดียวกับตราเงินเหรียญเป็นเงิน 2 ขนาด ขนาดใหญ่เรียกว่า "อัฐ" ราคา 4 อันเฟื้อง เท่ากันอันละ 100 เบี้ย ขนาดเล็กให้เรียกว่า "โสฬศ" ราคา 16 อันเฟื้อง เท่ากับอันละ 50 เบี้ย การใช้เบี้ยหอยก็เป็นอันเลิกแต่นั้นมา

ถึงปีกุน พ.ศ.2406 พระบาทสมเด็จฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริให้สร้างเหรียญทองคำมีตราทำนองเดียวกับเงินเหรียญขึ้น สำหรับให้เป็นเครื่องแลก 3 ขนาด ขนาดใหญ่ให้เรียกว่า  "ทศ" ราคา 10 อันต่อชั่งหนึ่ง คืออันละ 8 บาท (เท่าราคาทองปอนด์อังกฤษในสมัยนั้น) ขนาดกลางให้เรียกว่า "พิศ" ราคาอันละ 4 บาท ขนาดเล็ก (คือเหรียญทองที่ได้สร้างขึ้นแต่แรก) ให้เรียก "พัดดึงส์" ราคาอันละ 10 สลึง เท่ากับตำลึงจีน ดูเหมือนจะเป็นคราวเดียวกับที่ทรงสร้างเหรียญทองเป็นเครื่องแลกนี้เอง  

พระบาทสมเด็จฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชดำริสร้าง (ธนบัตร) เครื่องแลกด้วยกระดาษ   มีตัวอักษรพิมพ์และประทับพระราชลัญจกร 3 ดวงเป็นสำคัญทุกใบขึ้นอีกอย่าง 1 เรียกว่า "หมาย" มีราคาต่างๆ กันตั้งแต่ใบละ 1 เป็นลำดับลงมา จนใบละเฟื้อง 1 และทรงพระราชดำริสร้าง (เช็ค) เรียกว่าใบ "พระราชทานเงินตรา" อีกอย่าง 1 ขนาดแผ่นกระดาษใหญ่เรียกว่า "หมาย" มีตัวอักษรพิมพ์และประทับพระราชลัญจกรด้วยชาด 2 ดวง ด้วยครามดวง 1  เป็นลายดุนดวง 1 เป็นสำคัญทุกใบ มีราคาต่างกัน (ว่าตามตัวอย่างที่มีอยู่มาแต่งหนังสือนี้) ตั้งแต่ "พระราชทานเงินตราชั่งสิบตำลึง" (สันนิษฐานว่าเห็นจะมีต่อลงไปจนใบละตำลึงหนึ่งเป็นอย่างต่ำ) กระดาษทั้ง 2 อย่างนี้ ใครได้ก็เห็นจะเอาไปขึ้นเงินที่พระคลังมหาสมบัติในไม่ช้า เพราะยังไม่แลเห็นประโยชน์ในการใช้กระดาษเป็นเครื่องแลกในสมัยนั้นจึงมิได้แพร่หลาย

สาเหตุที่ต้องยกเลิกการใช้เงินพดด้วงมาจากเรื่องใด

ครั้นถึงปีฉลู พ.ศ.2408 พระบาทสมเด็จฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดฯ ให้โรงกษาปณ์สร้างเหรียญทองแดง มีตราทำนองเดียวกับเหรียญดีบุกเป็นเครื่องแลกอีก 2 ขนาด มีราคาระหว่างเหรียญเงินกับเหรียญดีบุกขนาดใหญ่ให้เรียกว่า "ซีก" ราคา 2 อันเฟื้อง ขนาดเล็กให้เรียกว่า "เซี่ยว" ราคา 4 อันเฟื้อง

เงินตราไทยที่พระบาทสมเด็จฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดฯ ราชดำริ ที่เป็นเงินและทองแดงใช้ได้ต่อมาดังพระราชประสงค์แต่ที่เป็นทองคำและดีบุกเกิดเหตุขัดข้องด้วยเหรียญทองคำนั้น ชาวเมืองเอาไปเก็บเสียอย่างทองรูปพรรณ หรือมิฉะนั้นก็เอาไปทำเครื่องแต่งตัวเสีย ไม่ชอบใช้เป็นเครื่องแลกในการซื้อขายเหรียญทองเป็นของ มีน้อยก็เลยหมดไป 

ส่วนเหรียญดีบุกนั้น เมื่อแรกสร้างก็ได้ทรงปรารภว่าเป็นของอาจสึกหรอ และทำปลอมง่ายจึงโปรดฯ ให้เจือทองแดงและดีบุกดำลงในเนื้อดีบุกที่ทำเหรียญให้แข็งผิดกับดีบุกสามัญ ถึงกระนั้นพอใช้เหรียญดีบุกกันแพร่หลาย ไม่ช้าก็มีพวกจีนคิดทำปลอม ครั้นตรวจจับในกรุงเทพฯ แข็งแรง พวกผู้ร้ายก็หลบลงไปซ่อนทางหัวเมืองปักษ์ใต้แล้วลอบส่งเข้ามาจำหน่ายในกรุงเทพฯ เกิดมีเหรียญดีบุกปลอมในท้องตลาดมากขึ้นทุกที จนราษฎรรังเกียจการที่จะรับใช้เหรียญดีบุก ด้วยไม่รู้จะเลือกว่าไหนเป็นหลวงไหนเป็นของปลอม จะใช้เบี้ยหอยก็หาไม่ได้ด้วยเลิกใช้มาเสียหลายปีแล้ว

เมื่อเริ่มรัชกาลที่ 5 พ.ศ.2411 เป็นเวลากำลังเกิดการปั่นป่วนด้วยราษฎรไม่พอใจรับเหรียญดีบุก ว่าถึงตลาดในกรุงเทพฯ แทบจะหยุดการซื้อขายอยู่หลายวัน รัฐบาลจึงต้องรีบวินิจฉัยแล้วออกประกาศเมื่อเดือน 11 แรม 12 ค่ำ ปีมะโรง พ.ศ.2511 ขึ้นในรัชกาลที่ 5 ได้เพียง 13 วันสั่งให้คนทั้งหลายนำเหรียญทองแดงและเหรียญดีบุกของหลวงมาขึ้นเอาเงินจะยอมให้เต็มราคาภายใน 15 วัน เมื่อผลกำหนดนั้นไปแล้วให้ใช้ลดราคาลงเหรียญทองแดงอย่างซีกคงราคาแต่ละอัฐ 1 (8 อันเฟื้อง) อย่างเซี่ยวคงราคาแต่อันละโสฬศ 1 (16 อันเฟื้อง) เหรียญดีบุกก็ลดราคาลงเหรียญอัฐคงราคาแต่อันละ 20 เบี้ย (40 อันเฟื้อง) อย่างโสฬศคงราคาแต่ละอัน 10 เบี้ย (80 อันต่อเฟื้อง) แม้รัฐบาลประกาศอัตราราคาอย่างนั้นแล้ว  ราษฎรยังลดราคากันโดยลำพังต่อลงไปอีก ใช้อัฐดีบุกเดิมในท้องตลาดราคาเพียงอันละ 10 เบี้ย (80 อันต่อเฟื้อง) โสฬศดีบุกก็ลดราคาลงไปตามกันเป็นอันละ 5 เบี้ย (16 อันต่อเฟื้อง) คำซึ่งเคยเรียกว่า อัฐและโสฬสก็เรียกกันว่า "เก๊" แต่ใช้กันต่อมาอีกหลายปี

เพราะเกิดลำบากเลยเรื่องเงินตราดังกล่าว รัฐบาลจึงได้ตกลงแต่แรกขึ้นรัชกาลที่ 5 ว่าจะสร้างโรงกษาปณ์ใหม่ให้ดีขึ้นกว่าเก่า แต่การที่จะสร้างกว่าจะสำเร็จอีกหลายปี ในชั้นแรกจะต้องทำเงินตราประจำรัชกาลที่ 5 ขึ้นตามประเพณีเปลี่ยนรัชกาลใหม่ จึงทำให้ที่โรงกษาปณ์เดิมไปพลาง เงินเหรียญตรารัชกาลที่ 5 ซึ่งสร้างขึ้นขั้นแรกนั้น ด้านหนึ่งเป็นตราพระเกี้ยวยอดมีพานรองสองชั้นและฉัตรตั้งตราสองข้าง อีกข้างหนึ่งคงใช้รูปช้างเผือกอยู่ในวงจักรเหมือนรัชกาลที่ 4 แต่ทำเพียง 3 ขนาด  

ที่คนทั้งหลายชอบใช้คือ เหรียญบาท เหรียญสลึงและเหรียญเฟื้อง ในคราวนั้นยังไม่ได้ทำเหรียญทองแดง สำหรับรัชกาลที่ 5 (ด้วยรัฐบาลทราบว่าสั่งให้ทำในประเทศอื่นถูกกว่าทำเองแต่จะให้ทำในอินเดียหรือยุโรปยังไม่ได้ตกลงเป็นยุติ) ทำแต่เหรียญดีบุกขึ้นมาอย่างหนึ่ง ดวงตราทำนองเดียวกับเงินเหรียญขนาดเขื่องกว่าอัฐดีบุกรัชกาลที่ 4 สักหน่อย 1 แต่ให้ใช้ราคาเพียงโสฬศ 1 คือ 16 อันเฟื้องเรื่องเงินตราก็เป็นอันเรียบร้อยไปคราวหนึ่ง

สาเหตุที่ต้องยกเลิกการใช้เงินพดด้วงมาจากเรื่องใด

แต่ต่อมาเมื่อราคาทองแดงและดีบุกสูงขึ้น มีผู้รู้ว่าราคาเหรียญทองแดงและเหรียญดีบุกที่ใช้กันที่ท้องตลาดในกรุงเทพฯ ต่ำกว่าราคาเนื้อทองแดงและดีบุกหลอมซึ่งมีขายกันในประเทศอื่นก็พากันเอาเหรียญทองแดงและเหรียญดีบุกหลอมส่งไปขายเสียประเทศอื่นๆ เป็นอันมาก   

ครั้นเหรียญทองแดงและดีบุกมีใช้ในท้องตลาดน้อยลงก็เกิดการใช้ปี้กระเบื้องกันขึ้นแพร่หลาย อันปี้กระเบื้องนั้นเดิมเป็นแต่คะแนนสำหรับเล่นเบี้ยในโรงบ่อน จีนเจ้าของบ่อนคิดทำขึ้นเพื่อให้ใช้ขอลากได้บนเสื่อสะดวกกว่าเงินตราเวลาคนไปเล่นเบี้ยให้เอาเงินแรกปี้มาเล่น ครั้นเลิกแล้วก็ให้คืนปี้แลกเอาเงินกลับไป เป็นประเพณีมาดังนี้ ใครเป็นนายอากรบ่อนเบี้ยตำบลไหนก็คิดทำปี้ มีเครื่องหมายของตัวเป็นคะแนนราคาต่างๆ สำหรับใช้เล่นเบี้ยในบ่อนตำบลนั้น    

การที่จะเกิดใช้ปี้เป็นเครื่องแลกแทนเงินตราเดิมเกิดขึ้นแต่นักเลงเล่นเบี้ยที่มักง่ายเอาปี้ซื้อของกินตามร้านที่หน้าโรงบ่อน ผู้ขายก็ยอมรับด้วยอาจเข้าไปแลกกลับเป็นเงินที่ในโรงบ่อนได้โดยง่าย จึงใช้ปี้กระเบื้องกันในบริเวณโรงบ่อนขึ้นก่อน   

ครั้นเมื่อหาเหรียญทองแดงและเหรียญดีบุกของหลวงใช้ยากเข้า ก็ใช้ปี้เป็นเครื่องแลกแพร่หลายห่างบ่อน
เบี้ยออกไปทุกที เพราะคนเชื่อว่าอาจจะเอาไปซื้อเป็นเงินเมื่อใดก็ได้ ฝ่ายนายบ่อนเบี้ยจำหน่ายปี้ได้เงินมากขึ้นเห็นได้เปรียบก็คิดสั่งปี้กระเบื้องจากจีนเข้ามาเพิ่มเติมทำเป็นรูปและราคาต่างๆ ให้คนชอบตั้งแต่อันละโสฬศ คนละอัฐ อันละไพ สองไพ จนถึงอันละเฟื้องสลึงสองสลึงเป็นอย่างสูงมีทุกบ่อนไป ก็แต่ลักษณะอากรบ่อนเบี้ยนั้น ต้องว่าประมูลกันใหม่ทุกปี 

เมื่อสิ้นปีลง นายอากรคนใหม่ไม่ได้ทำอากรต่อไปก็กำหนดเวลาให้คนไปเอาปี้บ่อนของตนเองมาแลกเงินคืนภายใน 15 วัน พ้นกำหนดไปไม่ยอมรับการเอาอันนี้ก็กลายเป็นทางที่เกิดกำไรเพิ่มผลประโยชน์แก่นายอากรบ่อนเบี้ยอีกทางหนึ่ง ฝ่ายราษฎรถึงเสียเปรียบก็มิสู้รู้สึกเดือดร้อนด้วยได้ใช้ปี้เป็นครั้งแลกกันในการซื้อขายแทนเหรียญทองแดงและดีบุกซึ่งหายากก็ไม่มีใครร้องทุกข์เป็นเช่นนี้มาจนปีจอ พ.ศ.2417 รัฐบาลจึงต้องประกาศห้ามมิให้นายบ่อนเบี้ยทำปี้  

แต่ในเวลานั้นเหรียญทองแดงซึ่งสั่งให้ทำในยุโรปยังไม่สำเร็จต้องออกธนบัตรราคาใบละอัฐ 1 ให้ใช้กันในท้องตลาดอยู่คราวหนึ่งจนถึงปีชวด พ.ศ.2419 จึงได้จำหน่ายเหรียญทองแดงประจำรัชกาลที่ 5 ให้ใช้กันในบ้านเมืองทำเป็น 4 ขนาดคือ ซีก เซี่ยว อัฐ และ โสฬศ มีตราพระจุลมงกุฎอยู่บนอักษรพระนาม  จ.ป.ร. ด้าน 1 อักษรบอกราคาด้าน 1 เหมือนกันหมดทุกขนาดเรื่องเงินตราก็เป็นอันยุติเรียบร้อย.

อ่านต่อตอน 2 สัปดาห์หน้า
--------------
    อ้างอิง: พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 5 กรมศิลปากร