พระอานนท์ มีศักดิ์เป็นอะไรกับพระพุทธเจ้า

 ��ʹ���ҷ���Ѻ˹�ҷ���ػѯ�ҡ��оط����  ����ҹ������ʴ稾�оط����价ء˹�ء���  ��»ù�Ժѵ��ػѯ�ҡ��оط�������麡���ͧ  �����˵شѧ����Ƿ�ҹ�֧��������Һ��筡Ԩ��ǹ���  ��ä�ǡ������ǡѹ����͡�Ǫ������ѹ  (¡��鹾���Ƿѵ)   ��ҧ����������ѹ��ѹ������   ��ǹ����ҹ������������ä����§����ʴ���ҹ��

Show
          6. เป็นผู้มองการณ์ไกล  พระอานนท์  เป็นผู้กราบทูลถามพระพุทธเจ้าในข้อปฏิบัติเกี่ยวกับการแสดงความเคารพและการระลึกถึงพระพุทธองค์ภายหลังเสด็จดับขันธปรินิพพาน  ซึ่งพระพุทธองค์ตรัสว่าให้พุทธบริษัททั้ง 4  กราบไหว้บูชา  “สังเวชนียสถานสี่ตำบล”  คือ  สถานที่ประสูติ  ตรัสรู้  แสดงปฐมเทศนาและปรินิพพาน

พระคาถาชินบัญชร – บทสวดชินบัญชรนั้น กล่าวกันว่าเป็นบทสวดที่ได้รับความนิยมจากพุทธศาสนิกชนมากที่สุดบทหนึ่ง เนื่องจากเชื่อว่า หากสวดเป็นประจำจะช่วยปกป้องคุ้มภัยให้แคล้วคลาด รอดพ้นจากภยันตรายต่าง ๆ นานาที่ผ่านเข้ามาในชีวิตประจำวัน 

นอกจากนั้น บทสวดชินบัญชรยังมีทั้งฉบับย่อ (คลิก คาถาชินบัญชร ย่อ) และฉบับสมบูรณ์ (คลิก คาถาชินบัญชรฉบับเต็ม) ซึ่งเหมาะสำหรับผู้ที่เพิ่งเริ่มสวดมนต์ และผู้ที่สวดมนต์มาเป็นเวลานานแล้ว วันนี้เราจะพาคุณไปรู้จักกับพระคาถาชินบัญชรให้มากขึ้น ประวัติความเป็นมา ความสำคัญ และรวมบทสวดทั้งฉบับเต็มและฉบับย่อไว้ด้วยกันในบทความเดียว  

NippanGift ร้านของชำร่วย ออนไลน์ ราคาถูก ที่ระลึกงานพระราชทานเพลิง ราคาส่ง ของชําร่วย งานฌาปนกิจ แอลกอฮอล์ อาหารงานศพ สินค้าพร้อมจัดส่งทั่วประเทศ รวดเร็ว 1 วันทำการ

พระคาถาชินบัญชรพระคาถาชินบัญชร (ฉบับสมบูรณ์) สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)

 

ยาวไป เลือกอ่านหัวข้อที่ต้องการ

  • พระคาถาชินบัญชร มีความสำคัญอย่างไร ทำไมคนถึงนิยมสวดกันมาก
  • ที่มาของพระคาถาชินบัญชร
  • ความหมายของพระคาถาชินบัญชร
  • วิธีการสวดพระคาถาชินบัญชร
    • บทสวดมนต์ พระคาถาชินบัญชร 9 จบ [พร้อมคำอ่าน]
  • บทสวดชินบัญชร
    • คำภาวนาก่อนสวด
    • ชินบัญชร ย่อ
    • คาถาชินบัญชร เต็ม
  • “สวดชินบัญชร..ให้เกิดผล” สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตโต)
  • รวมความศักดิ์สิทธิ์ของ พระคาถาชินบัญชร (ฉบับสมบูรณ์)
  • รูปภาพสมเด็จโต วัดระฆัง – ภาพถ่ายจริง
  • แหล่ประวัติหลวงพ่อโต
  • ตำนาน สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) ตำนานสมเด็จโต
    • ตอนที่ 1/5
    • ตอนที่ 2/5
    • ตอนที่ 3/5
    • ตอนที่ 4/5
    • ตอนที่ 5/5
  • ลีลาวาทะสมเด็จโตฯ คำสอนสมเด็จโต
    • ก่อนเป็นสมเด็จ ลีลาวาทะสมเด็จโตฯ #1
    • หนีไม่พ้น ลีลาวาทะสมเด็จโตฯ #2
    • ความคะนองเจ้ากู ลีลาวาทะสมเด็จโตฯ #3
    • เพราะกรรมเก่า ลีลาวาทะสมเด็จโตฯ #4
    • เมตตาพิศดาร ลีลาวาทะสมเด็จโตฯ #5
    • เมตตามหานิยม ลีลาวาทะสมเด็จโตฯ #6
    • สัมมาคารวะ ลีลาวาทะสมเด็จโตฯ #7
    • ยอดนักเทศน์ ลีลาวาทะสมเด็จโตฯ #8
  • ตำนาน “ขรัวตาแสง” บูรพาจารย์แห่งสมเด็จโต ที่น้อยคนจะรู้เรื่องราวความเป็นมา

พระคาถาชินบัญชร มีความสำคัญอย่างไร ทำไมคนถึงนิยมสวดกันมาก

บทสวดชินบัญชร เป็นบทสวดโบราณที่สันนิษฐานว่าพระเถระในอาณาจักรล้านนาทางภาคเหนือของประเทศไทยในปัจจุบันแต่งขึ้น และได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในราชสำนักกรุงศรีอยุธยา โดยได้ถูกนำไปใช้ในพระราชพิธีจักรพรรดิราชาธิราช (พิธีจรสำหรับสะเดาะเคราะห์) รวมทั้งพิธีกรรมสำคัญต่าง ๆ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน สำหรับประวัติของพระคาถาดังกล่าวนั้น เชื่อว่าหลังจากที่พระเถระล้านนาได้แต่งขึ้นต่อมาก็ได้รับการสืบทอดและเผยแพร่ไปในวงกว้าง บทสวดมนต์ชินบัญชร ของชำร่วย

 

กระทั่งได้รับการปรับปรุงแก้ไขให้มีความสมบูรณ์มากขึ้นโดย เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) วัดระฆังโฆสิตาราม วัดระฆัง หรือที่รู้จักกันในบรรดาศักดิ์ สมเด็จพระพุฒาจารย์องค์ที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

นอกจากนั้น ยังพบว่าคาถาชินบัญชรปรากฏในพื้นที่พม่าและศรีลังกาอีกด้วย จึงทำให้เกิดทฤษฎีใหม่ว่าแท้จริงแล้วคาถาชินบัญชานั้นตกทอดมาแต่ลังกาผ่านทางคัมภีร์โบราณ ที่ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ พบเข้าโดยบังเอิญ โดยแต่แรกเริ่มเดิมทีนั้นคัมภีร์โบราณดังกล่าวเขียนเป็นภาษาบาลีด้วยอักขระล้านนา ท่านเจ้าคุณสมเด็จฯ จึงได้ศึกษาอักขระล้านนาจนแตกฉานและสามารถดัดแปลงคาถาดังกล่าวเผยแพร่ให้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง

ซึ่งในเวลาต่อมาเนื่องจากคัมภีร์โบราณดังกล่าวไม่ปรากฏชื่อผู้ประพันธ์ จึงเข้าใจกันว่าท่านเจ้าคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) เป็นผู้แต่งพระคาถาชินบัญชรขึ้นมาด้วยตนเอง

 

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)

.

ที่มาของพระคาถาชินบัญชร

สำหรับ ที่มาของพระคาถาชินบัญชรที่ปรากฏในเนื้อหาจากใบลานของพระชัยมังคละที่เชื่อว่าเป็นผู้นำพระคาถาจากลังกามาเผยแพร่ นั้น ได้ความว่าพระคาถาชินบัญชรเกิดขึ้น เพราะพระราชาของลังกาพระองค์หนึ่งได้รับคำทำนายจากโหรหลวงว่าเมื่อพระราชโอรสอายุครบ 7 ปี 7 เดือนจะถูกฟ้าผ่าจนตาย ด้วยความวิตกกังวลจึงพยายามหาวิธีการแก้ไข

ด้วยการหาทางอาราธนาพระพุทธคุณของพระอดีตพุทธ จำนวน 28 พระองค์ และพระธรรมเจ้า 9 ประการ ตลอดจนบารมีธรรมของพระอรหันตสาวกที่เป็นเอตทัคคะในด้านต่าง ๆ ประมวลรวมกันเพื่อสร้างความขลังเป็นเกราะกำบังภัยให้กับพระราชบุตร

โดยวางแผนแบ่งหน้าที่พระให้ช่วยกันรจนาคาถาธูปละ 1 บทในสถานที่ซึ่งตั้งอยู่ในพระมหาปราสาทลังกาชั้นที่ 7 อยู่ใกล้กับบริเวณที่เรียกว่า ‘ปล่องเบ็งชร’ อันมีลักษณะเป็นคูหาที่เปิดเป็นช่องหน้าต่าง

 

ด้วยเหตุนี้ คาถาบทดังกล่าวจึงได้รับการขนานนามว่า  ‘ชัยบัญชร’  และในเวลาต่อมาก็ได้รับการดัดแปลงเป็น  ‘ชินบัญชร’  โดยสมเด็จพระพุฒาจารย์

 

ทั้งนี้หลังจากที่พระมหาเถระได้พากันสวดพระคาถาชัยบัญชรแล้ว เมื่อถึงกำหนดตามที่โหรหลวงได้ทำนายไว้จริงก็ปรากฎว่ามีสายฟ้าฟาดลงที่ปราสาทของพระมหากษัตริย์ลังกาจริง แต่แคล้วคลาดไม่โดนพระราชบุตร

ด้วยเหตุนี้  พระคาถาชินบัญชรจึงขึ้นชื่อด้านความศักดิ์สิทธิ์ในการปกป้องรักษาตัวผู้สวดให้แคล้วคลาดจากภยันตรายต่าง ๆ โดยเฉพาะหากผู้สวดมีความเมตตากรุณา เป็นคนไม่เบียดเบียนคนอื่น ตลอดจนเจริญภาวนาสติเป็นประจำทุกวันแล้ว ก็ช่วยให้คาถาชินบัญชรที่สวดทรงพลานุภาพเพิ่มมากขึ้น 

 

พระคาถาชินบัญชร ที่มาพระคาถาชินบัญชร – ขอขอบคุณภาพจาก ohlor.com

 

ความหมายของพระคาถาชินบัญชร

ดังที่ได้กล่าวไปแล้วว่าพระคาถาชินบัญชรนั้นอาจถูกดัดแปลงมาจาก ‘ชัยบัญชร’ ซึ่งหมายถึงคูหาที่เปิดเป็นช่องหน้าต่างในปราสาทลังกา โดยสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)

ซึ่งคำว่า ‘ชินบัญชร’ นั้นหมายถึง ผู้ชนะ ซึ่งในความหมายนี้หมายถึงองค์สมเด็จพระพุทธเจ้าผู้ซึ่งเอาชนะกิเลสทั้งปวง

นอกจากนั้นคำว่า ‘บัญชร’ อันหมายถึง กรงหรือเกราะกำบังนั้น ก็มีความหมายว่าชินบัญชรเป็นคาถาที่ใช้สำหรับปกป้องคุ้มครองตนเองจากสิ่งชั่วร้ายและภยันตรายต่าง ๆ ที่เข้ามาในชีวิตประจำวัน ด้วยเหตุนี้ พระคาถาชินบัญชรจึงเป็นคาถาที่ใช้ในการปัดเป่าเพศภัยให้พ้นตัวและจำเป็นอย่างมากที่ผู้สวดจะต้องบำเพ็ญตนให้เป็นคนดีมีเมตตา ไม่เบียดเบียน พระคาถาจึงจะสำแดงอานุภาพได้อย่างเต็มที่

 

หลวงพ่อโต‘หลวงพ่อโต’

 

วิธีการสวดพระคาถาชินบัญชร

ตามปกติแล้ว พระคาถาชินบัญชรควรเริ่มสวดในวันพฤหัสบดีข้างขึ้นซึ่งถือว่าเป็นวันครู แต่ด้วยยุคสมัยที่เปลี่ยนไปก็ไม่มีกฎตายตัวว่าจะสวดได้เมื่อไหร่ ขอเพียงแค่ผู้สวดมีจิตใจที่สงบ ผ่อนคลาย และพร้อมที่จะกำหนดลมหายใจเข้า-ออกเพื่อฝึกสมาธิไปพร้อม ๆ กับการสวด

โดยในการสวดพระคาถาชินบัญชรแต่ละครั้งนั้น ให้เตรียมดอกไม้ 3 สีหรือสามารถใช้ดอกบัวแทนได้เช่นกัน จำนวน 9 ดอก และดอกมะลิที่เด็ดก้านดอกแล้ว 1 กำ ตามด้วยธูปหอม 9 ดอก แล้วให้จุดเทียนบูชาพระรัตนตรัยด้วยการตั้งนะโม 3 จบ จากนั้นให้สวดบทพุทธคุณ ธรรมคุณ และสังฆคุณ ต่อโดยให้ตั้งจิตนึกถึงองค์สมเด็จพระพุทธเจ้าและสมเด็จโต

 

เมื่อสวดเสร็จแล้วให้นั่งสมาธิต่อจนใจสงบ รำลึกสิ่งที่ผ่านพ้นมาในอดีตแล้วบำเพ็ญตั้งใจว่าจะทำวันพรุ่งนี้ให้ดีขึ้นกว่าเดิม

 

บทสวดมนต์ พระคาถาชินบัญชร 9 จบ [พร้อมคำอ่าน]

 

บทสวดชินบัญชร

บทสวดมนต์พระคาถาชินบัญชรแผ่นพับบทสวดมนต์พระคาถาชินบัญชรแผ่นพับ

 

คำภาวนาก่อนสวด

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุท ธัสสะ (ตั้งนะโม 3 จบ)

 

ชินบัญชร ย่อ

พระคาถาชินบัญชร (ฉบับย่อ)

ชิ นะ ปัญ ชะ ระ ปะ ริ ตัง มัง รัก ขะ ตุ สัพ พะ ทา (ภาวนา 10 จบ)

 

คาถาชินบัญชร เต็ม

พระคาถาชินบัญชร (ฉบับสมบูรณ์) [Chinnabanchorn (The Cage of the Conqueror)] พระคาถาชินบัญชรฉบับเต็ม

ก่อนสวดบทนี้ให้ตั้งจิตนึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ และ สมเด็จโต

ปุตตะกาโมละเภปุตตัง ธะนะกาโมละเภธะนัง

Puttakamo-labhe-puttam, danakamo-labhedanam

 

อัตถิกาเยกายะญายะ เทวานังปิยะตัง สุตตะวา

Atthikaye-kaya-nyaya, dhevanam-piyatamsuttava

 

อิติปิโสภะคะวา ยะมะราชาโน ท้าวเวสสุวัณโณ

Iti pi so bhagava, yamarajano daovessuvanno

 

มรณังสุขัง อะระหังสุคะโต นะโมพุทธายะ

Maranam-sukham arahamsugato, namo buddhaya

 

พระคาถาชินบัญชร (ฉบับสมบูรณ์)

1. ชะยาสะนากะตา พุทธา เชตวา มารัง สะวาหะนัง

จะตุสัจจาสะภัง ระสัง เย ปิวิงสุ นะราสะภา.

Jayāsanāgatā Buddha Jetavā Māram savāhanam,

Catu-saccāsabham rasam Ye pivinsu narāsabhā

พระพุทธเจ้าและพระนราสภาทั้งหลาย ผู้ประทับนั่งแล้วบนชัยบัลลังก์

ทรงพิชิตพระยามาราธิราชผู้พรั่งพร้อมด้วยเสนาราชพาหนะแล้ว เสวยอมตรสคือ

อริยะสัจธรรมทั้งสี่ประการ เป็นผู้นำสรรพสัตว์ให้ข้ามพ้นจากกิเลสและกองทุกข์

 

2. ตัณหังกะราทะโย พุทธา อัฏฐะวีสะติ นายะกา

สัพเพ ปะติฏฐิตา มัยหัง มัตถะเกเต มุนิสสะรา.

Tanhankarādayo Buddhā Attha-vīsati nāyakā,

Sabbe patitthitā mayham Matthake te munissarā

มี ๒๘ พระองค์คือ พระผู้ทรงพระนามว่า ตัณหังกรเป็นต้น พระพุทธเจ้าผู้จอมมุนีทั้งหมดนั้น

ข้าพระพุทธเจ้าขออัญเชิญมาประดิษฐานเหนือเศียรเกล้า

 

3. สีเส ปะติฏฐิโต มัยหัง พุทโธ ธัมโม ทะวิโลจะเน

สังโฆ ปะติฏฐิโต มัยหัง อุเร สัพพะคุณากะโร.

Sīse patitthito mayham Buddho dhammo davilocane,

Sangho patitthito mayham Ure sabba-gunākaro

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ประดิษฐานอยู่บนศีรษะ

พระธรรมอยู่ที่ดวงตาทั้งสอง

พระสงฆ์ผู้เป็นอากรบ่อเกิดแห่งสรรพคุณอยู่ที่อก

 

4. หะทะเย เม อะนุรุทโธ สารีปุตโต จะทักขิเณ

โกณฑัญโญ ปิฏฐิภาคัสมิง โมคคัลลาโน จะ วามะเก.

Hadaye me Anuruddho Sārīputto ca dakkhine,

Kondanno pitthi-bhāgasamim Moggallāno ca vāmake

พระอนุรุทธะอยู่ที่ใจ พระสารีบุตรอยู่เบื้องขวา

พระอัญญาโกณทัญญะอยู่เบื้องหลัง พระโมคคัลลาน์อยู่เบื้องซ้าย

 

5. ทักขิเณ สะวะเน มัยหัง อาสุง อานันทะ ราหุโล

กัสสะโป จะ มะหานาโม อุภาสุง วามะโสตะเก.

Dakkhine savane mayham Āsum Ānanda-Rāhulo,

Kassapo ca Mahānāmo Ubhāsum vāma-sotake

พระอานนท์กับพระราหุลอยู่หูขวา

พระกัสสะปะกับพระมหานามะอยู่ที่หูซ้าย

 

6. เกสันเต ปิฏฐิภาคัสมิง สุริโย วะ ปะภังกะโร

นิสินโน สิริสัมปันโน โสภิโต มุนิ ปุงคะโว.

Kesante pitathi-bhāgasamim Suriyo va pabhankaro,

Nisinno siri-sampanno Sobhito muni-pungavo

มุนีผู้ประเสริฐคือพระโสภิตะผู้สมบูรณ์ด้วยสิริดังพระอาทิตย์ส่องแสง

อยู่ที่ทุกเส้นขน ตลอดร่างทั้งข้างหน้าและข้างหลัง

 

7. กุมาระกัสสะโป เถโร มะเหสี จิตตะ วาทะโก

โส มัยหัง วะทะเน นิจจัง ปะติฏฐาสิ คุณากะโร.

Kumāra-kassapo thero Mahesī citta-vādako,

So mayham vadane niccam Patitthāsi gunākaro

พระเถระกุมาระกัสสะปะผู้แสวงบุญทรงคุณอันวิเศษ

มีวาทะอันวิจิตรไพเราะอยู่ปากเป็นประจำ

 

8. ปุณโณ อังคุลิมาโล จะ อุปาลี นันทะ สีวะลี

เถรา ปัญจะ อิเม ชาตา นะลาเต ติละกา มะมะ.

Punno Angulimālo ca Upālī Nanda-Sīvalī,

Therā pacna ime jātā Nalāte tilakā mama

พระปุณณะ พระอังคุลิมาล พระอุบาลี พระนันทะ และพระสีวะลี

พระเถระทั้ง ๕ นี้ จงปรากฏเกิดเป็นกระแจะจุณเจิมที่หน้าผาก

 

9. เสสาสีติ มะหาเถรา วิชิตา ชินะสาวะกา

เอเตสีติ มะหาเถรา ชิตะวันโต ชิโนระสา

ชะลันตา สีละเตเชนะ อังคะมังเคสุ สัณฐิตา.

Sesāsīti mahātherā Vijitā jina-sāvakā, Etesīti mahātherā Jitavanto jinorasā, Jalantā sīla-tejena Angamangesu santhitā

ส่วนพระอสีติมหาเถระ 80 องค์ที่เหลือ ผู้มีชัยและเป็นพระโอรส

เป็นพระสาวกของพระพุทธเจ้าผู้ทรงชัย แต่ละองค์ล้วน

รุ่งเรืองไพโรจน์ด้วยเดชแห่งศีลให้ดำรงอยู่ทั่วอวัยวะน้อยใหญ่

 

10. ระตะนัง ปุระโต อาสิ ทักขิเณ เมตตะ สุตตะกัง

ธะชัคคัง ปัจฉะโต อาสิ วาเม อังคุลิมาละกัง.

Ratanam purato āsi Dakkhine Metta-suttakam, Dhajaggam pacchato āsi Vāme Angulimālakam

พระรัตนสูตรอยู่เบื้องหน้า พระเมตตาสูตรอยู่เบื้องขวา

พระธชัคคะสูตรอยู่เบื้องหลัง พระอังคุลิมาลปริตรอยู่เบื้องซ้าย

 

11. ขันธะโมระปะริตตัญจะ อาฏานาฏิยะ สุตตะกัง

อากาเส ฉะทะนัง อาสิ เสสา ปาการะสัณฐิตา.

Khandha-Mora-parittanca Ātānātiya-suttakam, Ākāse chadanam āsi Sesā pākāra-santhitā

พระขันธปริตร พระโมรปริตร และพระอาฏานาฏิยสูตร

เป็นเครื่องกางกั้นดุจหลังคาอยู่บนนภากาศ

ขอพระสูตรที่เหลือมาตั้งดุจกำแพงป้องกัน

 

12. ชินา นานาวะระสังยุตตา สัตตัปปาการะ ลังกะตา

วาตะปิตตาทะสัญชาตา พาหิรัช ฌัตตุปัททะวา.

Jinānābala-samyuttā Satta-pākāra-lankatā, Vāta-pittādi-sanjātā Bāhirajjhatt’upaddavā

อนึ่งพระชินเจ้าทั้งหลาย นอกจากที่ได้กล่าวมาแล้วนี้

ผู้ประกอบพร้อมด้วยกำลังนานาชนิด มีศีลาทิคุณอันมั่นคง

สัตตะปราการเป็นอาภรณ์มาตั้งล้อมเป็นกำแพงคุ้มครองเจ็ดชั้น

 

13. อะเสสา วินะยัง ยันตุ อะนันตะชินะ เตชะสา

วะสะโต เม สะกิจเจนะ สะทา สัมพุทธะปัญชะเร.

Asesā vinayam yantu Ananta-jina-tejasā, Vasato me sakiccena Sadā Sambuddha-panjare

ด้วยเดชานุภาพแห่งพระอนันตชินเจ้าไม่ว่าจะทำกิจการใดๆ

เมื่อข้าพระพุทธเจ้าเข้าอาศัยอยู่ในพระบัญชรแวดวงกรงล้อม

แห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ขอโรคอุปัทวะทุกข์ทั้งภายนอกและภายใน

อันเกิดแต่โรคร้าย คือ โรคลมและโรคดีเป็นต้น

เป็นสมุฏฐานจงกำจัดให้พินาศไปอย่าได้เหลือ

 

14. ชินะปัญชะระมัชฌัมหิ วิหะรันตัง มะฮี ตะเล

สะทา ปาเลนตุ มัง สัพเพ เต มะหาปุริสาสะภา.

Jina-panjara-majjhamhi Viharantam mahītale, Sadā pālentu ma sabbe Te mahā-purisāsabhā

ขอพระมหาบุรุษผู้ทรงพระคุณอันล้ำเลิศทั้งปวงนั้น

จงอภิบาลข้าพระพุทธเจ้า ผู้อยู่ในภาคพื้น ท่ามกลางพระชินบัญชร

ข้าพระพุทธเจ้าได้รับการคุ้มครองปกปักรักษาภายในเป็นอันดีฉะนี้แล

 

15. อิจเจวะมันโต สุคุตโต สุรักโข

ชินานุภาเวนะ ชิตุปัททะโว

ธัมมานุภาเวนะ ชิตาริสังโฆ

สังฆานุภาเวนะ ชิตันตะราโย

สัทธัมมานุภาวะปาลิโต จะรามิ ชินะ ปัญชะเรติ.

Iccevamanto sugutto surakkho, Jinānubhāvena jitupaddavo, Dhammānubhavena jitārisangho, Sanghānubhāvena jitantarāyo, Saddhammānubhāva-pālito carāmi jina-panjareti

ข้าพระพุทธเจ้าได้รับการอภิบาลด้วยคุณานุภาพแห่งสัทธรรม

จึงชนะเสียได้ซึ่งอุปัทวอันตรายใดๆ ด้วยอานุภาพแห่งพระชินะพุทธเจ้า

ชนะข้าศึกศัตรูด้วยอานุภาพแห่งพระธรรม ชนะอันตรายทั้งปวงด้วยอานุภาพ

แห่งพระสงฆ์ ขอข้าพระพุทธเจ้าจงได้ปฏิบัติ และรักษาดำเนินไปโดยสวัสดีเป็นนิจนิรันดรเทอญฯ

 

บทสวดพระคาถาชินบัญชรนั้นเป็นบทสวดที่ได้รับความนิยมเนื่องจากเชื่อว่าจะสามารถปกป้องผู้สวดให้แคล้วคลาดจากภยันตรายได้ อย่างไรก็ตาม ผู้สวดก็ต้องประพฤติปฏิบัติตนให้เป็นคนดี และฝึกสมาธิเป็นประจำด้วยเช่นกันจึงจะช่วยให้สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างสะดวกราบรื่น และประสบความสำเร็จ พระคาถาชินบัญชรฉบับเต็ม

.

“สวดชินบัญชร..ให้เกิดผล” สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตโต)

 

รวมความศักดิ์สิทธิ์ของ พระคาถาชินบัญชร (ฉบับสมบูรณ์)

 

รูปภาพสมเด็จโต วัดระฆัง – ภาพถ่ายจริง

รูปภาพสมเด็จโต วัดระฆัง - ภาพถ่ายจริงภาพถ่ายจริง สมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต พรหมรังษี ) วัดระฆังโฆษิตาราม ถ่ายโดยชาวต่างชาติ — ขอขอบคุณ รูปภาพจาก Pinterest

 

แหล่ประวัติหลวงพ่อโต

ไวพจน์ เพชรสุพรรณ “แหล่ประวัติหลวงพ่อโต” สมเด็จพุฒาจารย์ (โต พรหมรังษี) วัดระฆัง

.

ทศพล หิมพานต์ “แหล่ประวัติหลวงพ่อโต”

 

ตำนาน สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) ตำนานสมเด็จโต

ตอนที่ 1/5

ตอนที่ 2/5

ตอนที่ 3/5

ตอนที่ 4/5

ตอนที่ 5/5

 

ของชําร่วย พระคาถาชินบัญชรแผ่นพับ ราคาถูกของชําร่วย พระคาถาชินบัญชรแผ่นพับ ราคาถูก

 

ของชําร่วยงานศพ พระคาถาชินบัญชรแผ่นพับ ราคาส่งของชําร่วยงานศพ พระคาถาชินบัญชรแผ่นพับ ราคาส่ง

 

พระคาถาชินบัญชรแผ่นพับ ของชําร่วย ราคาถูกพระคาถาชินบัญชรแผ่นพับ ของชําร่วย ราคาถูก

 

ลีลาวาทะสมเด็จโตฯ คำสอนสมเด็จโต

ลีลาวาทะสมเด็จโตฯ

.

ก่อนเป็นสมเด็จ ลีลาวาทะสมเด็จโตฯ #1

ลีลาวาทะสมเด็จโตฯ
เรียบเรียงโดย ร้อยเอกประชุม สุขสำราญ
ให้เสียงภาษาไทยโดย ฟ้าทะลายโจร

ก่อนจะเป็นสมเด็จโตฯ
เจ้าพระคุณสมเด็จโต มีอายุยืนยาวถึง 5 รัชกาล คือ  เกิดวันพฤหัสบดีที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2331  (หรือใน รัชกาลที่ 1) และสิ้นใน พ.ศ. 2415 (หรือใน รัชกาลที่ 5)
และเชื่อกันว่าเจ้าพระคุณเป็นเชื้อพระวงศ์ด้วย

 

เกิดที่ไชโย
โตที่วัดอินทร์
สิ้นที่วัดระฆัง

 

บทความน่าสนใจ:

วัดอินทรวิหาร บางขุนพรหม หลวงพ่อโต กับความศักดิ์สิทธิ์คู่เมืองที่ควรค่าแก่การสักการะ

 

“ทีขรัวโตดี ก็ว่าขรัวโตบ้า
ทีขรัวโตบ้า ก็ว่าขรัวโตดี”
“ที่เขาชมว่าขรัวโตดี นั่นแหละคือ ขรัวโตบ้า ที่เขาติว่านั่นแหละคือ ขรัวโตดี”

 

ช้างเผือกกินพระไตรปิฎก
พระอาจารย์ที่วัดระฆัง ฝันว่า มีช้างเผือกเชื่อกหนึ่งเข้ามากินหนังสือพระไตรปิฎกในตู้จนหมด
ซึ่งตีความได้ว่า จะได้ศิษย์ที่ฉลาดหลักแหลม

 

หนีไม่พ้น ลีลาวาทะสมเด็จโตฯ #2

หนีสมณศักดิ์
ท่านไม่เข้าสอบเป็นเปรียญ แต่ก็เรียกพระมหาโต ตั้งแต่บวชพรรษาแรกมา บางท่านก็เรียกว่าขรัวโต
รัชกาลที่ 3 จะทรงแต่ตั้งเป็นพระราชาคณะ ท่านก็ทูลขอตัวเสีย

หนีไม่พ้น
ในรัชกาลที่ 4 เจ้าพระคุณสมเด็จโตหนีไม่พ้น ต้องรับสมณศักดิ์ ในตำแหน่งพระธรรมกิตติ

 

ความคะนองเจ้ากู ลีลาวาทะสมเด็จโตฯ #3

วิธีปราบพระนอกรีต
ท่านจะไม่กล่าวห้ามปรามหรือลงโทษทัณฑ์แต่อย่างใด ท่านใช้วิธีทำให้ผู้ทำผิดเกิดความละอาย ทีหลังก็ไม่กล้าทำอีก

ความคะนองของเจ้ากู
เข้าทำนองที่เจ้าพระคุณสมเด็จว่า ถึงเวลาเลิก เค้าเลิกกันเอง ไม่ถึงเวลาเลิก ทำอย่างไรเค้าก็ไม่เลิก
รัชกาลที่ 3 รับสั่งว่า เจ้ากูจะเล่นบ้าง ก็ช่างเจ้ากูเถอะ

 

เพราะกรรมเก่า ลีลาวาทะสมเด็จโตฯ #4

สวดมนต์จังหวะแปลก
สมัยก่อนการสวดตลกคนอง เป็นที่นิยมแพร่หลาย ..ต้องถูกลงโทษ มีพระบรมราชโองการให้ชำระพระสวดรำต่างๆ
สมัยนี้จะหาวัดที่มีพระสวดเล่นกระแทกจนด้ามตาลปัตรหักนี่ หายากยิ่งนัก นานๆ จะได้ยินสักครั้งหนึ่ง

ตีกันเพราะกรรมเก่า
รู้ได้อย่างไรว่าพระองค์นี้ตีเขาก่อน
รู้ได้ตามพระพุทธภาษิตว่า เวรระงับ เพราะการจองเวร นี่เป็นเวรต่อเวร มันตอบแทนกัน
ให้ตั้งอยู่ในสมณสัญญา มีหิริโอตัปปะ และไม่พึงจองเวรอาฆาตมาดร้ายกันต่อไป
ท่านทั้งสองไม่มีความผิด ชั้นมีความผิด เพราะชั้นปกครองไม่ดีเอง

 

เมตตาพิศดาร ลีลาวาทะสมเด็จโตฯ #5

ร้อยคำสอนไม่เท่ากับหนึ่งตัวอย่าง
ว่ากันว่าเจ้าพระคุณสมเด็จเป็นคนเจ้าระเบียบ
บางครั้งพระเณรไม่ลงทำวัตรสวดมนต์เช้าเย็น ท่านก็ลงไปทำเองแต่องค์เดียว สวดมนต์องค์เดียว ไม่ช้าพระเณรท่านก็ละอายใจ พากันไปลงทำวัตรสวดมนต์กันหมด

สายเพราะคอยบอกลา
ถ้ามีกิจไปนอกวัด ก็ให้บอกลาพระครูปลัดก่อน

เมตตาพิศดาร
ครั้งหนึ่ง ท่านจำวัดหลับอยุ่ มีโจรขึ้นกุฏิ ล้วงมือไปทางกรงหน้าต่างเพื่อหยิบเอาตะเกียงลาน แต่สุดมือเอื้อมแล้วก็ยังไม่ถึง
ท่านได้ยินเสียงกุกกัก ก็รู้สึกตัวว่าโจรจะลักของแต่เอาไม่ถึง จึงช่วยเอาเท้าเขี่ยตะเกียงส่งให้โจร โจรคว้าได้ก็เอาไปเลย
ท่านว่า มันคงอยากได้ ก็ให้มันไป

 

เมตตามหานิยม ลีลาวาทะสมเด็จโตฯ #6

เด็กวัดแย่งกัณฑ์เทศน์

เมตตามหานิยม
คุณธรรมเจ้าพระคุณสมเด็จ อย่างหนึ่งคือ ขันติ ท่านเป็นผู้หนักแน่น มั่นคง สงบจิต ระงับใจ ไม่ให้ยินดียินร้าย

โกรธไม่เป็นเพราะเย็นที่ใจ

 

สัมมาคารวะ ลีลาวาทะสมเด็จโตฯ #7

สัมมาคารวะ
วนฺทโก ปฏิวนฺทนํ (ผู้ไหว้ ย่อมได้รับการไหว้ตอบ)
เจ้าพระคุณสมเด็จทรงคุณธรรมอีกอย่างหนึ่งคือ ท่านมีสัมมาคารวะ อ่อนน้อม เมื่อเดินทางไปไหนมาไหนพบพระพุทธรูป ท่านจะถอยห่างหลีกออกไปราวสี่ศอก แล้วจะนั่งลงกราบ
ถ้าท่านไปพบพระเณรกำลังเทศน์อยู่ ท่านจะต้องหยุดฟังจนจบ ..เพราะเคารพในพระธรรม

ยศช้าง…ขุนนางพระ
เจ้าพระคุณสมเด็จเป็นพระเถระที่ไม่ถือยศถือศักดิ์ ชอบประพฤติเป็นอย่างพระธรรมดาสามัญ เหมือนพระลูกวัดทั่วไป
ยศช้างขุนนางพระ จะดีอย่างไร

ประกาศห้ามพระพายเรือ
รัชกาลที่ 4 ทรงมีหมายรับสั่ง ห้ามมิให้พระสงฆ์แจวเรือ พายเรือ

 

ยอดนักเทศน์ ลีลาวาทะสมเด็จโตฯ #8

วาจาอ่อนหวาน
เจ้าพระคุณสมเด็จ ท่านจะพูดจ๊ะจ๋ากับคนทุกคน แม้กับสัตว์เดรัจฉาน ท่านก็พูดอย่างนั้น
เช่นคราหนึ่ง ท่านเดินทางไปพบสุนัขนอนขวางทางอยู่
ท่านพูดกับสุนัขนั้นว่า “โยมจ๋า ขอชั้นไปทีจ่ะ”
แล้วท่านก็ก้มกายเดิน หลีกทางไป

มีผู้ถามท่านว่า ทำไมท่านจึงทำดังนั้น
ท่านตอบว่า “ฉันไม่รู้ได้ว่า สุนัขนี้ เคยเป็นพระโพธิสัตว์หรือไม่ เพราะในเรื่องชาดก กล่าวว่า ในกาลครั้งหนึ่ง พระโพธิสัตว์เสวยชาติเป็นสุนัข”

ติดบ่วงแทนนก
เจ้าพระคุณสมเด็จ ท่านแผ่เมตตาให้สัตว์ทั้งหลายทั่วกัน ไม่จำกัดขอบเขตว่าจะเป็นสัตว์ชนิดใด
ครั้งหนึ่ง ท่านเดินทางไปต่างจังหวัด เห็นนกตัวหนึ่งติดบ่วงแร้วอยู่ กำลังดิ้นรนเพื่อจะเอาชีวิตรอดไปให้ได้
ท่านจึงแก้บ่วงแร้ว ปล่อยนกนั้นไป
แล้วท่านก็เอาเท้าของท่าน สอดเข้าไปในบ่วงนั้น

เมื่อคนเดินผ่านมาพบ ก็เข้าไปจะช่วยแก้บ่วงออก
ท่านไม่ยอมให้แก้ บอกให้ไปตามเจ้าของแร้วมาก่อน

เมื่อเจ้าของมา ท่านก็บอกความจริงว่า นกติดบ่วงแร้ว แต่ท่านช่วยปล่อยนกนั้นไป จึงขอติดแร้วแทนนกตัวนั้น
เจ้าของแร้วบอกท่านมา ไม่เป็นรัย ยินยอมให้ท่านปล่อยนกตัวนั้นได้ โดยไม่ติดใจโกรธแต่อย่างใด

ท่านจึงแก้บ่วงจากเท้า และบอกให้เจ้าของแร้ว กรวดน้ำ
ท่านยะถาสัพพี เสร็จแล้วจึงออกเดินทางต่อไป

ว่ากันตามพระวินัย ท่านเจ้าพระคุณสมเด็จ มีความผิด เพราะนกตัวนั้นมีเจ้าของแล้ว
ท่านจึงต้องให้เจ้าของแร้ว อนุญาตก่อน จึงพ้นผิดได้

การที่เจ้าของแร้ว ให้เจ้าพระคุณสมเด็จปล่อยนกตัวนั้นได้
จัดว่าได้บำเพ็ญกุศลที่เรียกว่า อภัยทาน

ท่านจึงให้เจ้าของแร้ว กรวดน้ำ และท่านกล่าวคำอนุโมทนาดังกล่าว

ยอดนักเทศน์
เจ้าพระคุณสมเด็จ แววแห่งการเป็นนักเทศน์ของท่าน ปรากฏตั้งแต่เป็นสามเณร
ท่านเทศน์ดีเยี่ยมยอด ทั้งในทางธรรมวัฒน์ และมหาชาติ
เป็นพระนักเทศน์ชั้นธรรมกถึกเอกองค์หนึ่งในวงการศาสนา

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำรัสถามถึงเหตุว่า ไฉนในวันก่อนถวายเทศน์ยืดยาวมาก แล้ววันนี้ทำไมถวายน้อยนัก
เจ้าพระคุณสมเด็จถวายพระพรว่า เมื่อวานนี้มหาบพิตรพระราชสมภารเจ้ามีพระราชหทัยขุ่นมัว ด้วยทรงมีกังวล
จะดับความขุ่นมัวได้ ต้องทรงสดับพระธรรมเทศนาให้มาก
ส่วนวันนี้ พระราชหทัยผ่องใส จะไม่ทรงสดับก็ได้

 

ตำนาน “ขรัวตาแสง” บูรพาจารย์แห่งสมเด็จโต ที่น้อยคนจะรู้เรื่องราวความเป็นมา

“ประวัติของขรัวตาแสง พระอาจารย์องค์สำคัญของสมเด็จพระพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี ในยุคกรุงรัตนโกสินทร์สองร้อยกว่าปีล่วงมาแล้วจะหาพระภิกษุรูปใดที่จะเป็นที่รู้จักของมหาชนยิ่งไปกว่าสมเด็จพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี แห่งวัดระฆังโฆสิตาราม พระมหาเถราจารย์ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นไม่มี แต่จะหาผู้ที่รู้จักพระมหาเถระอันเป็นที่เคารพนับถือ และเป็นบูรพาจารย์ องค์สำคัญองค์หนึ่งของสมเด็จพุฒาจารย์โต อันมีนามว่าหลวงปู่แสง แห่งวัดมณีชลขัณฑ์ เมืองลพบุรี น้อยเต็มที”