การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศของพืชมีขั้นตอนอย่างไร

                                                            เรื่องที่ 2 การสืบพันธุ์ของพืชดอก

                                             ดอกไม้นานาชนิด จะเห็นว่านอกจากจะมีสีต่างกันแล้วยังมีรูปร่าง ขนาด และโครงสร้างขอกดอกแตกต่างกัน ดอกบางชนิดมีกลีบดอกซ้อน                                                                            กันหลายชั้น บางชนิดมีกลีบดอกไม่มากนักและมีชั้นเดียวดอกบางชนิดมีขนาดใหญ่มาก บางชนิดเล็กเท่าเข็มหมุด นอกจากนี้ดอกบางชนิด

                                 มีกลิ่นหอมน่าชื่นใจ แต่บางชนิดมีกลิ่นฉุนหรือบางชนิดไม่มีกลิ่น ความหลากหลายของดอกไม้เหล่านี้เกิดจากการที่พืชดอกมีวิวัฒนาการมายาวนาน

                                 จึงมีความหลากหลายทั้งสี รูปร่างโครงสร้าง กลิ่น ฯลฯ แต่ถึงแม้จะมีความแตกต่างกันดอกก็ทำหน้าที่เหมือนกันคือ เป็นอวัยวะสืบพันธุ์ของพืช

โครงสร้างของ 

การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศของพืชมีขั้นตอนอย่างไร

                                        ชนิดของดอก

                                                ถ้าพิจารณาส่วนประกอบของดอกเป็นเกณฑ์จะแบ่งชนิดของดอกไม้ได้ 2 ชนิด

                                                        1. ดอกครบส่วน หมายถึง ดอกไม้ที่มีส่วนประกอบครบทั้ง 4 วงคือ กลีบเลี้ยงกลีบดอกเกสรตัวผู้ และเกสรตัวเมีย

                                                อยู่ในดอกเดียวกันเช่น ดอกแพงพวยดอกบัวดอกผักบุ้งดอกกุหลาบดอกชบาดอกพู่ระหงและดอกมะเขือดอกต้อยติ่ง

                                                        2. ดอกไม่ครบส่วน หมายถึง ดอกไม้ที่มีส่วนประกอบไม่ครบทั้ง 4 วงในดอกเดียวกัน เช่นดอกจำปา ไม่มีกลีบเลี้ยงดอกตำลึง

                                                ไม่มีเกสรตัวผู้หรือเกสรตัวเมียดอกข้าวโพดดอกมะละกอดอกฟักทองดอกแตงกวาและดอกบวบ

                                                 ถ้าพิจารณาเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียเป็นเกณฑ์จะแบ่งชนิดของดอกไม้ได้ 2 ชนิด

                                                        1. ดอกสมบูรณ์เพศ หมายถึง ดอกที่มีทั้งเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียอยู่ในดอกเดียวกัน เช่น ดอกมะเขือดอกชบาดอกข้าว

                                                ดอกต้อยติ่งดอกมะม่วงดอกบัวดอกชงโคดอกอัญชันดอกถั่วดอกกุหลาบ

                                                        2. ดอกไม่สมบูรณ์เพศ หมายถึง ดอกที่มีแต่เกสรตัวผู้หรือเกสรตัวเมียอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ดอกข้าวโพด ดอกตำลึงดอกฟักทอง

                                                ดอกมะละกอและดอกบวบ

                                                ดอกของพืชแต่ละชนิดจะมีจำนวนดอกบนก้านดอกไม่เท่ากัน จึงสามารถแบ่งดอกออกเป็น 2 ประเภท

                                        คือดอกเดียว (solotary flower)และช่อดอก (inflorescences flower)

                                                   - ดอกเดี่ยว หมายถึง ดอกหนึ่งดอกที่พัฒนามาจากตาดอกหนึ่งตา ดังนั้นดอกเดี่ยวจึงมีหนึ่งดอกบนก้านดอกหนึ่งก้าน

                                        เช่น ดอกมะเขือเปราะ จำปี บัว เป็นต้น

                                                   - ช่อดอก หมายถึง ดอกหลายดอกที่อยู่บนก้านดอกหนึ่งก้าน เช่น เข็ม ผักบุ้ง มะลิ กะเพรา กล้วย กล้วยไม้ ข้าว เป็นต้น

                                        แต่การจัดเรียงตัว และการแตกกิ่งก้านของช่อดอกมีความหลากหลายนักวิทยาศาสตร์ใช้ลักษณะการจัดเรียงตัวและการแตกกิ่งก้าน

                                        ของช่อดอกจำแนกช่อดอกออกเป็นแบบต่างๆ

                                                     ช่อดอกบางชนิดมีลักษณะคล้ายดอกเดี่ยว ดอกย่อยเกิดตรงปลายก้านช่อดอกเดียวกัน ไม่มีก้านดอกย่อยดอกย่อยเรียงกัน

                                        อยู่บนฐานรองดอกที่โค้งนูนคล้ายหัว เช่น ทานตะวัน ดาวเรือง บานชื่นบานไม่รู้โรย ดาวกระจาย เป็นต้นช่อดอกแบบนี้ประกอบด้วย                                                                                               ดอกย่อยๆ 2 ชนิด คือ ดอกวงนอกอยู่รอบนอกของดอก และดอกวงในอยู่ตรงกลางดอกดอกวงนอกมี 1 ชั้น หรือหลายชั้นเป็น ดอกสมบูรณ์เพศ

                                        หรือไม่สมบูรณ์เพศก็ได้ ส่วนมากเป็นดอกเพศเมียส่วนดอกวงในมักเป็นดอกสมบูรณ์เพศมีกลีบดอกเชื่อมกันเป็นรูปทรงกระบอกอยู่เหนือรังไข่

                                                        การสร้างเซลล์สืบพันธุ์ของพืชดอก

                                                       การสร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้ของพืชดอกจะเกิดขึ้นภายในอับเรณู (anther)โดยมีไมโครสปอร์มาเทอร์เซลล์ (microspore mother cell)

                                        แบ่งเซลล์แบบไมโอซิสได้ 4 ไมโครสปอร์ (microspore)แต่ละเซลล์มีโครโมโซมเท่ากับ n หลังจากนั้นนิวเคลียสของไมโครสปอร์จะแบ่ง

                                        แบบไมโทซิส ได้ 2 นิวเคลียส คือเจเนอเรทิฟนิวเคลียส (generativenucleus)และทิวบ์นิวเคลียส (tube nucleus)เรียกเซลล์ในระยะนี้ว่า

                                        ละอองเรณู(pollen grain)หรือแกมีโทไฟต์เพศผู้ (male gametophyte)ละอองเรณูจะมีผนังหนา ผนังชั้นนอกอาจมีผิวเรียบืหรือเป็นหนามเล็กๆ

                                        แตกต่างกันออกไปตามแต่ละชนิดของพืช เมื่อละอองเรณูแก่เต็มที่อับเรณูจะแตกออกทำให้ละอองเรณูกระจายออกไปพร้อมที่จะผสมพันธุ์ต่อไปได้ 

                                                          การสร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศเมียของพืชดอกเกิดขึ้นภายในรังไข่ ภายในรังไข่อาจมีหนึ่งออวุล (ovule)หรือหลายออวุล ภายใน

                                        ออวุลมีหลายเซลล์ แต่จะมีเซลล์หนึ่งที่มีขนาดใหญ่ เรียกว่า เมกะสปอร์มาเทอร์เซลล์(megaspore mother cell)มีจำนวนโครโมโซม 2n  

                                        ต่อมาจะแบ่งเซลล์แบบไมโอซิสได้ 4 เซลล์สลายไป 3 เซลล์ เหลือ 1 เซลล์ เรียกว่าเมกะสปอร์ (megaspore) หลังจากนั้น นิวเคลียสของ 

                                        เมกะสปอร์จะแบ่งแบบไมโทซิส3 ครั้ง ได้ 8 นิวเคลียส และมีไซโทพลาซึมล้อมรอบ เป็น 7 เซลล์ 3 เซลล์อยู่ตรงข้ามกับไมโครไพล์ 

                                        (micropyle)เรียกว่าแอนติแดล (antipodals)ตรงกลาง 1 เซลล์มี 2 นิวเคลียสเรียกเซลล์โพลาร์นิวคลีไอ (polar nuclei cell)

                                        ด้านไมโครไพล์มี 3 เซลล์ ตรงกลางเป็นเซลล์ไข่ (egg cell)และ2 ข้างเรียกซินเนอร์จิดส์ (synergids)ในระยะนี้ 1 เมกะสปอร์ได้พัฒนามาเป็น

                                        แกมีโทไฟต์ที่เรียกว่าถุงเอ็มบริโอ (embryo sac)หรือแกมีโทไฟต์เพศเมีย (female gametophyte)

การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศของพืชมีขั้นตอนอย่างไร

                                                        การถ่ายละอองเรณู

การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศของพืชมีขั้นตอนอย่างไร

                                            การถ่ายละอองเรณู หมายถึง ปรากฏการณ์ที่ละอองเรณูปลิวมาตกบนยอดเกสรตัวเมียของดอกชนิดเดียวกันจะเกิดขึ้นเมื่อละอองเรณูแก่เต็มที่

                                   อับเรณูก็จะแตกออกเกิดเป็นละอองกระจายไป โดยอาศัยลม น้ำ หรือสิ่งอื่นๆพาไปในที่ต่างๆโดยเฉพาะแมลง พืชดอกแต่ล่ะชนิดมีละอองเรณู

                                   และรังไข่ที่มีรูปร่างลักษณะ และจำนวนที่แตกต่างกันเมื่ออับเรณูแก่เต็มที่ผนังของอับเรณูจะแตกออกละอองเรณูจะกระจายออกไปตกบนยอดเกสร

                                   ตัวเมียโดยอาศัยสื่อต่างๆพาไป เช่น ลม น้ำ แมลง สัตว์ รวมทั้งมนุษย์ เป็นต้น ปรากฏการณ์ที่ละอองเรณูตกลงสู่ยอดเกสรตัวเมีย เรียกว่า 

                                   การถ่ายละอองเรณู (pollination)

                                        การปฏิสนธิ

                                            เมื่อละอองเรณูตกลงบนยอดเกสรเพศเมีย ทิวบ์นิวเคลียสของละอองเรณูแต่ละอันจะสร้างหลอดละอองเรณูด้วยการงอกหลอดลงไปตาม

                                   ก้านเกสรเพศเมียผ่านทางรูไมโครไพล์ของออวุล ระยะนี้เจเนอเรทิฟนิวเคลียสจะแบบนิวเคลียสแบบไมโทซิสได้ 2 สเปิร์มนิวเคลียส (spermnucleus) 

                                   สเปิร์มนิวเคลียสหนึ่งจะผสมกับเซลล์ไข่ได้ไซโกต ส่วนอีกสเปิร์มนิวเคลียสจะเข้าผสมกับเซลล์โพลาร์นิวเคลียสไอได้เอนโดสเปิร์ม (endosperm)

                                   เรียกการผสม 2 ครั้ง ของสเปิร์มนิวเคลียสนี้ว่า การปฏิสนธิซ้อน (double fertilization)

                                    ลำดับขั้นตอนในกระบวนการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศสรุปได้ดังนี้

                                            1. เกิดการถ่ายละอองเรณู

                                            2. ละอองเรณูงอกเป็นหลอดแทงลงไปตามก้านเกสรตัวเมียเรียกว่า หลอดละอองเรณู
                
                                            3. นิวเคลียสอันหนึ่งในละอองเรณู จะแบ่งตัวเกิดเป็นสเปิร์ม 2 เซลล์

                                            4. หลอดละอองเรณูแทงเข้าไปในออวุลทางรูไมโครไพล์โดยสเปิร์มเซลล์หนึ่งจะเข้าไปผสมกับไข่สเปิร์มที่เหลืออีกเซลล์หนึ่งจะเข้าไปผสมกับ

                                     โพลาร์นิวเคลียส เรียกการปฏิสนธิแบบนี้ว่า การปฏิสนธิซ้อน

                                                    หลังการปฏิสนธิส่วนต่าง ๆ ของดอกมีการเปลี่ยนแปลงดังนี้

                                                                1. รังไข่ ( ovary ) เจริญเป็นผล

                                                                2. ผนังรังไข่ ( ovary wall ) เจริญไปเป็นเปลือกและเนื้อของผลไม้

                                                                3. ออวุล ( ovule ) จะเจริญไปเป็นเมล็ด

                                                                4. ไข่ ( egg ) จะเจริญไปเป็นต้นอ่อนอยู่ภายในเมล็ด

                                                                5. โพลาร์นิวเคลียส ( polar nucleus ) จะเจริญไปเป็นเอนโดสเปิร์ม ( endosperm )

                                                                6. เยื่อหุ้มออวุล ( integument ) จะเจริญเป็นเปลือกหุ้มเมล็ด

                                                                7. สำหรับส่วนประกอบอื่น ๆ ของดอกจะเหี่ยวแห้งและสลายตัวไป

                                                                8. วัฏจักรชีวิตของพืช

                                                                9. วัฏจักรชีวิตหมายถึงระยะการเจริญเติบโตและพัฒนาทั้งหมดของสิ่งมีชีวิตหนึ่งๆ เริ่มตั้งแต่ระยะการสร้างไซโกต (zygote)

                                                    จนถึงการสร้างเซลล์สืบพันธุ์ (gamete) ดังตัวอย่างวัฏจักรชีวิตพืชดอกทั่วๆไปในแผนภาพข้างล่าง

                                        วัฏจักรชีวิตโดยทั่วไปของพืชดอกประกอบด้วยลักษณะต่างๆ ดังนี้

                                                    1. มีวัฏจักรชีวิตแบบสลับ (alternation of two generations) คือมีสองชั่วรุ่นสลับกัน ระหว่างชั่วรุ่นสปอโรไฟต์ (sporophyte)

                                        ที่มีจำนวนโครโมโซมสองชุด (2n) และชั่วรุ่นแกมีโทไฟต์  (gametophyte) ที่มีจำนวนโครโมโซมชุดเดียว (1n)

                                                    2. มีต้นพืชที่ไม่เหมือนกันสองแบบ คือ
                                                                2.1 สปอโรไฟต์ เป็นต้นพืชที่อยู่อย่างอิสระที่เราพบเห็นทั่วๆไป เช่นต้นถั่วลิสง ต้นข้าวโพด และต้นมะเขือเทศ

                                                         สปอโรไฟต์สร้างสปอร์ (spore) สำหรับสืบพันธุ์

    
                                                                2.2 แกมีโทไฟต์ ไม่ใช่ต้นพืชที่อยู่อย่างอิสระ แต่เป็นพืชเบียนหรือกาฝากที่อาศัยอยู่ ภายในสปอโรไฟต์ นั่นคือ 

                                                         แกมีโทไฟต์เพศผู้หรือเรณูที่กำลังงอก  และ/หรือแกมีโทไฟต์เพศเมียหรือถุงเอ็มบริโอแกมีโทไฟต์ทั้งสองชนิดนี้สร้าง

                                                         เซลล์สืบพันธุ์ (gamete) ที่มีหน้าที่สืบพันธุ์เช่นกันจะเห็นได้ว่าแกมีโทไฟต์เป็นส่วนที่อยู่ในดอก  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเกสร

                                                         เพศผู้และเพศเมีย แกมีโทไฟต์จึงมีขนาดเล็กมาก นี่คือความจริงในอาณาจักรพืชที่ว่าแกมีโทไฟต์ของพืชดอกมีขนาดเล็กลงมาก

                                                         เล็กกว่าของพืชมีสปอร์ต่างแบบ (heterosporous plant) ชนิดอื่นๆ รวมทั้งของพืชเมล็ดเปลือยด้วย ส่วนแกมีโทไฟต์นี้เป็นส่วนที่

                                                         ไม่ค่อยจะคุ้นเคยในชีวิตประจำวันของเรา 

                                                    3. ในวัฏจักรชีวิตของพืชดอกส่วนใหญ่ ชั่วรุ่นที่มีจำนวนโครโมโซมสองชุดจะเด่นกว่าชั่วรุ่นที่มีจำนวนโครโมโซมชุดเดียว

                                         ดังที่เราเห็นต้นข้าวหรือต้นผักกาดอย่างชัดเจน เราเรียกวัฎจักรชีวิตเช่นนี้ว่า diplonticซึ่งตรงข้ามกับพวกสาหร่าย (algae) ที่มีชั่วรุ่นที่มี

                                         จำนวนโครโมโซมหนึ่งชุด (สาหร่ายที่เรามองเห็น) เด่นกว่า วัฎจักรชีวิตเช่นนี้เรียกว่า haplontic


                                            การเกิดผล

        
                                                     ภายหลังการปฏิสนธิ ออวุลแต่ละออวุลจะเจริญไปเป็นเมล็ด ส่วนรังไข่จะเจริญไปเป็นผล มีผลบางชนิดที่สามารถเจริญมาจากฐานรองดอก

                                            ได้แก่ ชมพู่ แอปเปิ้ล สาลี่ ฝรั่ง ผลของพืชบางชนิดอาจเจริญเติบโตมาจากรังไข่โดยไม่มีการปฏิสนธิ หรือมีการปฏิสนธิตามปกติ

                                             แต่ออวุลไม่เจริญเติบโตเป็นเมล็ด ส่วนรังไข่สามารถเจริญเติบโตเป็นผลได้ เช่น กล้วยหอม องุ่นไม่มีเมล็ด

                                                         นักพฤกษศาสตร์ได้แบ่งผลตามลักษณะของดอกและการเกิดผลออกเป็น 3 ชนิด ดังนี้

                                                                1. ผลเดี่ยว (simple fruit)เป็นผลที่เกิดจากดอกเดี่ยว หรือ ช่อดอกซึ่งแต่ละดอกมีรังไข่เพียงอันเดียวเช่น ลิ้นจี่ เงาะ ลำไย

                                                            ทุเรียน ตะขบ เป็นต้น

                                                                2. ผลกลุ่ม (aggregate fruit) เป็นผลที่เกิดจากดอกหนึ่งดอกซึ่งมีหลายรังไข่อยู่แยกกันหรือติดกันก็ได้อยู่บนฐานรองดอกเดียวกัน

                                                             เช่น น้อยหน่ากระดังงา สตรอเบอรี่ มณฑา เป็นต้น

                                                                3. ผลรวม (multiple fruit)เป็นผลเกิดจากรังไข่ของดอกย่อยแต่ละดอกของช่อดอกหลอมรวมกันเป็นผลใหญ่ เช่น ยอ ขนุน

                                                             หม่อน สับปะรด เป็นต้น

                                              การเกิดเมล็ด การปฏิสนธิของพืชดอกเกิดขึ้นภายในรังไข่ทำให้เกิดไซโกต และเอนโดสเปิร์ม จากนั้นไซโกตก็จะแบ่งเซลล์เพิ่มจำนวนมากขึ้น

                                     เพื่อพัฒนาเป็นเอ็มบริโอต่อไป   ซึ่งการเปลี่ยนแปลงรูปร่างของเอ็มบริโอ และอัตราการแบ่งเซลล์รวมทั้งขนาดของเซลล์ที่ได้จากการแบ่งแต่ละ

                                    บริเวณของเอ็มบริโอไม่เท่ากัน

                                            ส่วนประกอบของเมล็ด

                                                        เมล็ด คือ ออวุลที่เจริญเติบโตเต็มที่ประกอบด้วยเอ็มบริโอที่อยู่ภายใน เปลือกหุ้มเมล็ดอาจมีเนื้อเยื่อสะสมอาหารอยู่ภาย                                                                                                ในเมล็ดด้วย เมล็ดประกอบด้วยส่วนต่างๆ ดังนี้ 

                                                        1. เปลือกหุ้มเมล็ดเป็นส่วนที่อยู่นอกสุดของเมล็ดเจริญเติบโตมาจากเนื้อเยื่อชั้นนอกสุดของออวุลทำหน้าที่ป้องกันอันตรายต่างๆ

                                                  ให้แก่เอ็มบริโอที่อยู่ภายในเมล็ด เช่น ป้องกันไม่ให้จุลินทรีย์ เข้าไปในเมล็ดซึ่งจะทำให้เมล็ดไม่สามารถงอกได้ นอกจากนั้น

                                                   เปลือกหุ้มเมล็ดยังมีสารพวกไขเคลือบอยู่ทำให้ลดการสูญเสียน้ำได้ด้วย

                                                        2. เอ็มบริโอเป็นส่วนประกอบที่สำคัญที่จะเจริญไปเป็นต้นพืช ประกอบด้วยส่วนต่างๆ ดังนี้

                                                                   -ใบเลี้ยง (cotyledon)เมล็ดพืชใบเลี้ยงคู่มีใบเลี้ยง 2 ใบ ส่วนเมล็ดพืชใบเลี้ยงเดี่ยวมีใบเลี้ยงเพียง 1 ใบ

                                                            ใบเลี้ยงของพืชบางชนิดทำหน้าที่สะสมอาหาร เช่น ถั่วชนิดต่างๆ มะขาม บัว เป็นต้น

                                                                   - เอพิคอทิล (epicotyl)เป็นส่วนของเอ็มบริโอที่อยู่เหนือตำแหน่งที่ติดกับใบเลี้ยง ส่วนนี้จะเจริญเติบโตไปเป็นลำต้น

                                                             ใบและดอกของพืช

                                                                   -ไฮโพคอทิล (hypocotyl) เป็นส่วนเอ็มบริโอที่อยู่ใต้ตำแหน่งที่ติดกับใบเลี้ยง ในระหว่างการงอกของเมล็ดพืช

                                                            ใบเลี้ยงคู่หลายชนิดไฮโพคอทิลจะเจริญดึงใบเลี้ยงให้ขึ้นเหนือดิน

                                                                   - แรดิเคิล (radicle) เป็นส่วนล่างสุดของเอ็มบริโออยู่ต่อจากไฮโพคอทิลลงมา ต่อไปจะเจริญเป็นราก

                                                        3. เอนโดสเปิร์มเป็นเนื้อเยื่อที่มีอาหารสะสมไว้สำหรับการเจริญเติบโตของเอ็มบริโอ อาหารส่วนใหญ่เป็นประเภทแป้ง โปรตีน

                                                 และไขมัน เมล็ดละหุ่ง เมล็ดละมุด มีเอนโดสเปิร์มหนามาก ส่วนใบเลี้ยงมีลักษณะแบนบางมี 2 ใบ สำหรับพืชพวกข้าว หญ้า

                                                 จะมีใบเลี้ยงเพียงใบเดียว อาหารสะสมอยู่ในเอนโดสเปิร์ม เมล็ดพืชบางชนิดไม่มีเอนโดสเปิร์มเนื่องจากสะสมอาหารไว้ที่ใบเลี้ยง

                                                 การงอกของเมล็ด

                                                        เมล็ดพืชต่างชนิดกันจะมีส่วนประกอบบางอย่างที่เหมือนกัน และบางอย่างแตกต่างกัน การงอกของเมล็ดถั่วเหลือง 

                                                  ไฮโพคอทิลจะยืดตัวชูใบเลี้ยงให้โผล่ขึ้นมาเหนือระดับผิวดิน การงอกแบบนี้จะพบในพืชบางชนิด เช่น พริกมะขาม เป็นต้น 

                                                   การงอกของเมล็ดถั่วลันเตา ส่วนของไฮโพคอทิลไม่ยืดตัวทำให้ ใบเลี้ยงยังอยู่ใต้ดินเช่นเดียวกับการงอกของเมล็ดพืชใบเลี้ยงเดี่ยวทั่วๆไป 

                                                   หรือใบเลี้ยงคู่  บางชนิด เช่น ขนุน มะขามเทศ ส่วนของข้าวโพดงอกแล้วใบเลี้ยงไม่โผล่เหนือดินมีแต่ส่วนของใบแท้ที่โผล่ขึ้นมาเหนือดิน

                                                    ปัจจัยที่มีผลต่อการงอกของเมล็ด

                                                      พืชเศรษฐกิจหลายชนิดยังคงต้องขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ดังนั้นในการเพาะเมล็ดจึงจำเป็นจะต้องศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการงอกของ

                                              เมล็ดพืชโดยปกติเมล็ดพืชที่แก่เต็มที่จะมีความชื้นต่ำประมาณร้อยละ 10-15 มีอัตราการหายใจต่ำและมีการเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมี

                                              ภายในเมล็ดน้อยมาก ดังนั้นเมล็ดจำเป็นต้องได้รับปัจจัยบางอย่างที่เหมาะสมจึงจะงอกได้ดังต่อไปนี้

                                                            1. น้ำหรือความชื้นเมื่อเมล็ดได้รับน้ำ เปลือกหุ้มเมล็ดจะอ่อนตัวลง ทำให้น้ำและออกซิเจนผ่านเข้าไปในเมล็ดได้มากขึ้น

                                               เมล็ดจะดูดน้ำเข้าไปทำให้เมล็ดพองตัวขยายขนาด และมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นน้ำจะเป็นตัวกระตุ้นปฏิกิริยาทางชีวเคมีต่างๆ ภายในเมล็ด

                                               มีการกระตุ้นการสร้างเอนไซม์เพื่อย่อยสลายสารอาหารที่สะสมในเมล็ดเอนไซม์ที่เกิดขึ้นในเมล็ดเ เช่น อะไมเลส จะย่อยแป้งให้เป็น        

                                               มอลโทส โปรตีเอสจะย่อยโปรตีนให้เป็นกรดอะมิโนทั้งมอลโทสและกรดอะมิโนละลายน้ำได้ และแพร่เข้าไปในเอ็มบริโอเพื่อใช้ในการ

                                               หายใจและการเจริญเติบโตนอกจากนี้น้ำยังเป็นตัวทำละลายสารอื่นๆที่สะสมในเมล็ดและช่วยในการลำเลียงสารอาหารไปใช้ตัวอ่อนใช้ในการงอก 

                                                            2. ออกซิเจนเมล็ดขณะงอกมีอัตราการหายใจสูง ต้องการออกซิเจนไปใช้ในกระบวนการสลายสารอาหารเพื่อให้ได้พลังงาน

                                               ซึ่งจะนำไปใช้ในกระบวนการเมแทบอลิซึมต่างๆของเซลล์ แต่มีพืชบางชนิด เช่น พืชน้ำสามารถงอกได้ดีในออกซิเจนต่ำ

                                               ความชื้นสูง เพราะสลายสารอาหารแบบไม่ใช้ออกซิเจนได้ แต่เมล็ดหลายชนิดจะไม่งอกเลย ถ้าออกซิเจนไม่เพียงพอแม้ความชื้นจะสูง   

                                               เช่น เมล็ดวัชพืชหลายชนิดที่ฝังอยู่ในดินลึกๆเมื่อไถพรวนดินให้เมล็ดขึ้นมาอยู่ใกล้ผิวดิน จึงจะงอกได้

                                                            3. อุณหภูมิเมล็ดพืชแต่ละชนิดต้องการอุณหภูมิที่เหมาะสมในการงอกแตกต่างกัน เช่น เมล็ดพืชเขตหนาวจะงอกได้ดี

                                               ในช่วงอุณหภูมิ 10-20องศาเซลเซียส เช่น หอมหัวใหญ่และผักกาดหัว งอกได้ดีที่อุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียส แต่ก็มีบางชนิดต้องการ

                                               อุณหภูมิในช่วงกลางวันและกลางคืนที่ต่างกัน หรือให้อุณหภูมิต่ำสลับกับ อุณหภูมิสูง การงอกจะเกิดดี เช่น บวบเหลี่ยม ถ้าให้ 

                                               อุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 16 ชั่วโมง สลับกับอุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 8 ชั่วโมงเมล็ดจึงจะงอกได้ดี

                                                            4. แสงเป็นปัจจัยหนึ่งที่ควบคุมการงอกของเมล็ด เมล็ดพืชบางชนิดจะงอกได้ต่อเมื่อมีแสง เช่น วัชพืชต่างๆหญ้า

                                               ยาสูบ ผักกาดหอม สาบเสือ ปอต่างๆ เป็นต้น เมล็ดพืชอีกหลายชนิดไม่ต้อง การแสงในขณะงอก เช่น กระเจี๊ยบ แตงกวา

                                               ผักบุ้งจีน ฝ้าย ข้าวโพด เป็นต้น

                                        การพักตัวของเมล็ด

                                                      พืชบางชนิด เช่น มะม่วง ลำไย ขนุน ทุเรียน ระกำ ฯลฯ เมื่อผลเหล่านี้แก่เต็มที่แล้วนำเมล็ดไปเพาะในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม

                                                ก็จะงอกเป็นต้นใหม่ได้ แต่บางชนิด เช่น แตงโมเมื่อผลแก่เต็มที่ แล้วนำเมล็ดไปเพาะถึงแม้สภาพแวดล้อมเหมาะสม

                                                ต่อการงอกแต่เมล็ดก็ไม่สามารถงอกเป็นต้นใหม่ได้เรียกว่ามีการพักตัวของเมล็ด ( seed dormancy ) การพักตัวของ

                                               มล็ดมีสาเหตุหลายประการ ได้แก่ 

                                                        1. เปลือกหุ้มเมล็ดไม่ยอมให้น้ำซึมผ่านเข้าไปยังส่วนต่าง ๆของเมล็ด เนื่องจากเปลือกหุ้มเมล็ดหนา    หรืออาจมีสาร

                                                บางชนิดหุ้มอยู่เช่นคิวทินหรือซูเบอรินในธรรมชาติเมล็ดพืชบางชนิดที่หนาและแข็งจะอ่อนตัวลงโดยการย่อยสลายของจุลินทรีย์

                                                ในดินหรือการที่เมล็ดผ่านเข้าไปในระบบย่อยอาหารของสัตว์ที่เลี้ยงลูกด้วยนมหรือนกเช่นเมล็ดโพธิ์เมล็ดไทรเมล็ดตะขบหรืออาจแตก

                                                ออกด้วยแรงขัดถูหรือถูกไฟเผาเช่นเมล็ดพืชวงศ์หญ้าวงศ์ไผ่บางชนิดเมล็ดตะเคียนเมล็ดสักวิธีการแก้การพักตัวของเมล็ดจากสาเหตุนี้

                                                อาจทำได้โดยการแช่น้ำร้อนหรือแช่ในสารละลายกรดเพราะจะทำให้ เปลือกหุ้มเมล็ดอ่อนนุ่มการใช้วิธีกลโดยการทำให้เปลือกหุ้มเมล็ด    

                                                แตกออกมีหลายวิธีเช่นการเฉือนเปลือกแข็งบางส่วนของเมล็ดมะม่วงหรือวิธีนำไปให้ความร้อนโดยการเผาหรือการใช้ความเย็นสลับ 

                                                กับความร้อนซึ่งมักจะเก็บไว้ในที่อุณหภูมิต่ำระยะหนึ่งแล้วจึงนำออกมาเพาะ

                                                        2 .เปลือกหุ้มเมล็ดไม่ยอมให้แก็สออกซิเจนแพร่ผ่านการพักตัวแบบนี้มีน้อยส่วนใหญ่เป็นพืชวงศ์หญ้าเป็นการพักตัวในระยะสั้น ๆเ

                                                ก็บไว้ระยะหนึ่งก็สามารถนำไปเพาะได้วิธีการแก้การพักตัวอาจทำได้โดยการเพิ่มแก็สออกซิเจนหรือใช้วิธีกลทำให้เปลือกหุ้มเมล็ดแตก

                                                        3 .เอ็มบริโอของเมล็ดยังไม่เจริญเติบโตเต็มที่เมล็ดไม่สามารถจะงอกได้ต้องรอเวลาช่วงหนึ่งเพื่อให้เอ็มบริโอมีการเปลี่ยนแปลงทาง

                                                ชีวเคมีรวมไปถึงการเจริญพัฒนาของเอ็มบริโอให้แก่เต็มเมล็ด จึงจะงอกได้ เช่น เมล็ดของปาล์มน้ำมันอัฟริกา

                                                        4 .สารเคมีบางชนิดยับยั้งการงอกของเมล็ดเช่นสารที่มีลักษณะเป็นเมือกหุ้มเมล็ดมะเขือเทศทำไห้เมล็ดไม่สามารถงอกได้จนกว่า

                                                จะถูกชะล้างไปจากเมล็ดการแก้การพักตัวของเมล็ดอาจล้าง เมล็ดก่อนเพาะหรือการใช้สารเร่งการงอก เช่น จิเบอเรลลิน ( gibberellin )

                                                        นอกจากนี้เมล็ดพืชในเขตหนาวของโลกเช่นแอปเปิ้ลเชอรี่ต้องมีการปรับสภาพภายในโดยการผ่านฤดูหนาวที่มีอุณหภูมิต่ำและ

                                                มีความชื้นสูงจึงจะงอกเพราะอุณหภูมิที่ต่ำนี้ทำให้ปริมาณของกรดแอบไซซิก(abscisic acid ) ที่ยับยั้งการงอกของเมล็ดลดลงได้ใน

                                                ขณะที่จิบเบอเรลลินหรือไซโทไคนิน(cytokinin ) ที่ส่งเสริมการงอกของเมล็ดจะเพิ่มขึ้น เมล็ดบางชนิดไม่ปรากฏว่ามีระยะพักตัวเลย 

                                                บางชนิดอาจจะมีระยะพักตัวสั้นมากจนสังเกตไม่ได้ เมล็ดของพืชเหล่านี้สามารถงอกได้ทันทีเมื่อตกถึงดินบางชนิดงอกได้ทั้ง ๆที่เมล็ดยัง

                                                อยู่ในผลหรือบนลำต้น เช่น เมล็ดขนุน เมล็ดโกงกาง เมล็ดมะละกอ เมล็ดมะขามเทศ เป็นต้น

                                            การตรวจสอบคุณภาพของเมล็ดพันธุ์

                                                        การปลูกพืชจะประสบความสำเร็จขึ้นอยู่กับคุณภาพของเมล็ดพันธุ์ดังนั้นจึงต้องมีการตรวจสภาพของเมล็ดพันธุ์

                                             การเสื่อมคุณภาพของเมล็ดพันธุ์อาจเกิดจากการเสื่อมสภาพของเยื่อหุ้มเซลล์การทำงานของเอนไซม์และอัตราการหายใจที่ลดลง

                                             ในการนำเมล็ดมาเพาะปลูกหรือนำออกจำหน่ายจำเป็นจะต้องตรวจสอบคุณภาพของเมล็ดพันธุ์ว่ามีคุณภาพหรือเสื่อมคุณภาพ

                                                        การตรวจสอบคุณภาพของเมล็ดพันธุ์นั้นมีการตรวจสอบคุณภาพต่าง ๆ หลายประการเช่นความสามารถในการงอกหรือ

                                            ความมีชีวิตของเมล็ดพันธุ์การตรวจสอบความแข็งแรงของเมล็ดพันธุ์ความบริสุทธิ์ของเมล็ดพันธุ์ ความชื้นของเมล็ดพันธุ์เป็นต้น

                                            ในที่นี้จะกล่าวถึงเฉพาะการตรวจสอบความแข็งแรงของเมล็ดพันธุ์พืชเท่านั้น

                                                       ความแข็งแรงของเมล็ดพันธุ์พืช ( seed vigour ) หมายถึงลักษณะรวม ๆหลายประการของเมล็ดอันเป็นลักษณะเด่นที่เมล็ด

                                            สามารถแสดงออกมาเมื่อนำเมล็ดนั้นไปเพาะในสภาวะแวดล้อมที่แปรปรวนนและไม่เหมาะสมเมล็ดที่มีความแข็งแรงสูงจะสามารถงอก

                                            ด้ดีส่วนเมล็ดที่มีความแข็งแรงต่ำไม่สามารถงอกได้หรืองอกได้น้อยการตรวจสอบความแข็งแรงของเมล็ดพันธุ์มีอยู่ด้วยกันหลายวิธี

                                            เช่นการเร่งอายุของเมล็ดพันธุ์การวัดดัชนีการงอกของเมล็ดเป็นต้น การเร่งอายุของเมล็ดพันธุ์เป็นการกระทำเพื่อใช้ตรวจสอบความแข็งแรง

                                            ของเมล็ดพันธุ์เพื่อที่จะทำนายว่าเมล็ดพันธุ์นั้นเมื่อเก็บรักษาไว้เป็นเวลานานแล้วจะมีค่าร้อยละของการงอกสูงหรือไม่วิธีการเร่งอายุเมล็ดพันธุ์

                                            ก็คือ นำตัวอย่างของเมล็ดพันธุ์จากแหล่งที่ต้องการตรวจสอบมาใส่ไว้ในตู้อบที่อุณหภูมิ 


                                การสืบพันธุ์ของพืชมี 2 ลักษณะ

                                            1 การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศของพืชดอก


                                การสืบพันธุ์ของพืชดอก

                                                           ดอกไม้นานาชนิด จะเห็นว่านอกจากจะมีสีต่างกันแล้วยังมีรูปร่าง ขนาด และโครงสร้างขอกดอกแตกต่างกัน ดอกบางชนิดมีกลีบดอก

                                                    ซ้อนกันหลายชั้น บางชนิดมีกลีบดอกไม่มากนักและมีชั้นเดียว ดอกบางชนิดมีขนาดใหญ่มาก บางชนิดเล็กเท่าเข็มหมุด นอกจากนี้ดอกบาง

                                                    ชนิดมีกลิ่นหอมน่าชื่นใจ แต่บางชนิดมีกลิ่นฉุนหรือบางชนิดไม่มีกลิ่น ความหลากหลายของดอกไม้เหล่านี้เกิดจากการที่พืชดอก

                                                    มีวิวัฒนาการมายาวนาน จึงมีความหลากหลายทั้งสี รูปร่างโครงสร้าง กลิ่น ฯลฯ แต่ถึงแม้จะมีความแตกต่างกันดอกก็ทำหน้าที่เหมือนกันคือ 

                                                    เป็นอวัยวะสืบพันธุ์ของพืช

                                การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศของพืชมีดอก

                                                            สิ่งมีชีวิตต้องการสารอาหารเพื่อการดำรงชีวิต เมื่อสิ่งมีชีวิตเจริญเติบโตเต็มที่ก็จะสืบพันธุ์เพื่อการดำรงเผ่าพันธุ์ของตนเองไว้

                                                     พืชก็เช่นเดียวกันการสืบพันธุของพืชมีทั้งการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศและไม่อาศัยเพศ

                                                            การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศของพืชดอกจะต้องมีการรวมกันของเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้กับเซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย ซึ่งเกิดขึ้นในดอก

                                                    ดังนั้นดอกจึงเป็นอวัยวะสืบพันธุ์ของพืชดอก

                                    2 การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศของพืชดอกและการขยายพันธุ์พืช


                                  การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศของพืชดอกและการขยายพันธุ์พืช

                                            พืชดอกนอกจากจะสืบพันธุ์โดยใช้เมล็ดซึ่งเป็นวิธีการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศแล้ว ยังมีการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ โดยใช้ส่วนต่าง ๆ 

                                    ของพืช เช่น การแตกหน่อของขิง ข่า ใช้ใบ ตา เช่น ต้นตายใบเป็น ใช้ราก เช่น มันเทศ เป็นต้น มนุษย์ได้นำความรู้จากการสืบพันธุ์โดย

                                    ไม่อาศัยเพศของพืชต้นใหม่่ที่มีลักษณะเหมือนต้นเดิม ไม่กลายพันธุ์รวมทั้งไห้ดอกและผลเร็วขึ้น แต่การขยายพันธุ์โดยวิธีนี้จะไม่มีรากแก้วทำ

                                    ให้ระบบรากไม่แข็งแรง ปัจจุบันมีการนำเทคโนโลยีชีวภาพในการเนื้อเยื่อพืช มาใช้ในการเกษตรอย่างแพร่หลาย เช่น การขยายพันธุ์พืชเพื่อ

                                    ห้ได้ต้นพืชจำนวนมากในระยะเวลาอันสั้น และมีลักษณะเหมือนพันธุ์เดิม ซึ่งประสบผลสำเร็จกับพืชเศรษฐกิจหลาย ๆ ชนิด เช่น กล้วยไม้ 

                                    ไม้ตัดดอกอื่น ๆ กล้วย สตรอเบอรี่ นอกจากนี้การเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชยังมีประโยชน์ในการผลิตพืชที่ปลอดโรค การสร้างพืชสายพันธุ์แท้ 

                                     การเก็บพันธุ์พืชเพื่อการอนุรักษ์ ฯลฯ ส่วนทางด้านการแพทย์และเภสัชกรรม สามารถทำให้เซลล์หรือเนื้อเยื่อพืชสร้างสารเคมีที่ต้องการได้ 


                                    การขยายพันธุ์พืชโดยการเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช

                                            การเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชเป็นการนำเอาส่วนใดส่วนหนึ่งของพืชไม่ว่าจะเป็นอวัยวะ เนื้อเยื่อ เซลล์ แม้กระทั่งโพรโทพลาสต์ ( เซลล์พืชที่ปราศ

                                    จากหนังเซลล์ ) มาเลี้ยงในอาหารสังเคราะห์ ชิ้นส่วน ของพืชที่นำมาเลี้ยงเหล่านี้จะเจริญไปเป็นราก ลำต้น หรือเจริญเป็นแคลลัส ( callus ) 

                                    ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่มเซลล์พาเรงคิมา กลุ่มเซลล์นี้จะเจริญต่อเนื่องจนได้แคลลัสขนาดใหญ่ที่สามารถชักนำให้เปลี่ยนไปเป็นลำต้นหรือรากได้ 

                                    ระยะนี้อาจแบ่งเพิ่มจำนวนได้มากขึ้นเรื่อย ๆ โดยแยกไปเลี้ยงในอาหารใหม่ ซึ่งเมื่อได้จำนวนต้นในปริมาณที่มากพอแล้ว ก็สามารถที่จะย้ายปลูกได้

                                            นอกจากนี้ในปัจจุบันยังมีการทำเมล็ดเทียม ( artificial seed ) เพื่อใช้ในการขยายพันธุ์พืชบางชนิด เช่น ข้าว แครอท ยาสูบ

                                    หน่อไม้ฝรั่ง ซึ่งการผลิตเมล็ดเทียมนี้พัฒนามาจากหลักการเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช โดยการนำเซลล์ของพืชที่เจริญมาจากการเลี้ยงเนื้อเยื่อมาชักนำ

                                    ให้เป็นเอ็มบริโอ ( embryo ) แทนเอ็มบริโอที่เกิดจากการปฏิสนธิเอ็มบริโอนี้จะนำมาห่อหุ้มด้วยสารอาหารที่ทำหน้าที่แทนเอนโดสเปิร์ม และมีสาร

                                    เคลือบอยู่ภายนอก

การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศมีขั้นตอนอย่างไรบ้าง

การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ เกิดจากการผสมกันระหว่างเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้ และเซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย ซึ่งมีขั้นตอนการผสมพันธุ์ดังนี้ การถ่ายละอองเรณู การงอกของละอองเรณู และการปฏิสนธิ

การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศของพืชดอกมีขั้นตอนอย่างไร

การสืบพันธุ์ของพืชดอก มีขั้นตอนดังนี้ ละอองเรณูงอกหลอดลงไปตามก้านเกสรเพศเมีย เกิดการปฏิสนธิละอองเรณูผสมกับเซลล์ไข่ภายในออวุล ยอดและก้านเกสรเพศเมียจะเหี่ยวลง กลีบเลี้ยงกลีบดอก เกสรเพศผู้และเกสรเพศเมียจะร่วงหลุดไป

การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศของพืช มีอะไรบ้าง

การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศของพืช.
ดอกเดี่ยว คือดอกไม้ที่มีก้านชูดอกเพียงก้านเดียว และมีดอกอยู่เพียงดอกเดียวเช่นดอกมะเขือ ดอกฟักทอง ดอกฝรั่ง ดอกมะลิ ดอกชบา ฯลฯ.
ดอกช่อ คือดอกไม้ที่ประกอบด้วยดอกหลายดอกอยู่บนก้านชูดอกเดียวกัน แยกออกมาได้อีกเป็น 6 ชนิด.

พืชสืบพันธุ์ได้อย่างไร

เมื่อพืชดอกเจริญเติบโตเต็มที่ จะเริ่มผลิตดอกไม้เพื่อเป็นเซลล์สืบพันธุ์ในการขยายพันธุ์ต่อไป ภายในดอกจะมีการสร้างเซลล์สืบพันธุ์ โดยเกสรตัวผู้สร้างเซลล์สืบพันธุ์ตัวผู้หรือละอองเรณูเก็บไว้ในอับละอองเรณู (Pollen) ส่วนเกสรตัวเมียจะมีรังไข่ ซึ่งภายในมีไข่ (Ovule) ทำหน้าที่เก็บเซลล์สืบพันธุ์ตัวเมียไว้ (เพิ่มเติม: โครงสร้างของ ...