หลักธรรมที่มีความสําคัญมากที่สุดในพระพุทธศาสนาคือข้อใด

ความหมายของศาสนา

ศาสนาคือ คำสอนที่ศาสดานำมาเผยแผ่ สั่งสอน แจกแจง แสดงให้มนุษย์เว้นจากความชั่ว กระทำแต่ความดี ซึ่งมนุษย์ยึดถือปฎิบัติตามคำสอนนั้นด้วยความเคารพเลื่อมใสและศรัทธา คำสอนดังกล่าวจะมีลักษณะเป็นสัจธรรม ศาสนามีความสำคัญต่อบุคคลและสังคม ทำให้มนุษย์ทุกคนเป็นคนดีและอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข ศาสนาในโลกนี้มีอยู่มากมายหลายศาสนาด้วยกัน แต่วัตถุประสงค์อันสำคัญยิ่งของทุกๆศาสนาเป็นไปในทางเดียวกันกล่าวคือ จูงใจให้คนละความชั่ว ประพฤติความดีเหมือนกันหมด หากแต่ว่าการปฎิบัติพิธีกรรมย่อมแตกต่างกันความเชื่อถือของแต่ละศาสนา

คุณค่าของศาสนา

1. เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของมนุษย์

2. เป็นบ่อเกิดแห่งความสามัคคีของหมู่คณะและในหมู่มนุษย์ชาติ

3. เป็นเครื่องดับความเร้าร้อนใจทำให้สงบร่มเย็น

4. เป็นบ่อเกิดแห่งจริยธรรมศีลธรรมและคุณธรรม

5. เป็นบ่อเกิดแห่งการศึกษาขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงาม

6. เป็นดวงประทีบส่องโลกที่มืดมิดอวิชชาให้กลับสว่างไสวด้วยวิชา

ประโยชน์ของศาสนา

ศาสนามีประโยชน์มากมายหลายประการกล่าวโดยสรุป 6 ประการคือ

1. ศาสนาเป็นแหล่งกำเนิดจริยธรรม ศาสนาทุกศาสนา สอนให้เราทราบว่า อะไรคือความชั่ว ที่ควรละเว้น อะไรคือสิ่งที่บุคคลในสังคมพึงปฎิบัติ เพื่อให้อยูร่วมกันอย่างมีความสุขดังนั้น ทุกศาสนาจึงเป็นแหล่งกำเนิดแห่งความดีทั้งปวง

2. ศาสนาเป็นแนวทางการดำเนินชีวิต ทุกศาสนาจะวางหลักการดำเนินชีวิตเป็นขั้นๆ เช่น พระพุทธศาสนาวางไว้ 3 ขั้นคือ ขั้นต้นเน้นการพึ่งต้นเองได้มีความสุขตามประสาชาวโลก ขั้นกลางเน้นความเจริญก้าวหน้าทางคุณธรรม และขั้นสูงเน้นการลด ละ โลภ โกรธ หลง

3. ศาสนาให้ผู้นับถือปกครองตนเองได้ หลักคำสอนให้รู้จักรับผิดชอบตนเองคนที่ทำตามคำสอนของศาสนาเคร่งครัดจะมี หิริ โอตตัปปะ ไม่ทำชั่วทั้งที่ลับและที่แจ้ง เพราะสามารถควบคุมตนเองได้

4. ศาสนาช่วยให้สังคมดีขึ้น คำสอนทางศาสนาเน้นให้คุณในสังคมเว้นจากการเบียดเบียนกันเอาเปรียบกันสอนให้เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่มีความซื่อสัตย์สุจริตต่อกันเป็นเหตุให้สังคมมีความสงบสันติยิ่งขึ้นสอนให้อดทนเพียรพยายามทำให้ความดีสร้างสรรค์ผลงานและประโยชน์ให้กับสังคม

5. ศาสนาช่วยควบคุมสังคมที่ดีขึ้น ทุกสังคมจะมีข้อระเบียบข้อบังคับจารีตประเพณีและกฎหมายเป็นมาตรการควบคุมสังคมให้สงบสุขแต่สิ่งเหล่านี้ไม่สามารถควบคุมสังคมให้สงบสุขแท้จริงได้ เช่น กฎหมายควบคุมคนได้เฉพาะพฤติกรรมทางกายและทางวาจาเท่านั้นไม่สามรถลึกลงไปถึงจิตใจได้ ศาสนาเท่านั้นจึงจะควบคุมได้ทั้งกายวาจาและใจ

ศาสนาในประเทศ ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติไทยมีผู้นับถือมากที่สุด รองลงมาคือศาสนา อิสลาม ศาสนาคริสต์ ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และศาสนาซิกข์

หัวใจพุทธศาสนาคืออะไร ว่ากันไปหลายอย่าง ถูกทั้งนั้น อันไหนก็ได้

            พระพุทธเจ้าทรงแสดงหลักการที่เรียกกันว่า "หัวใจพระพุทธศาสนา" เป็นคำไทยที่เราพูดกันง่ายๆ ถ้าพูดเป็นภาษาบาลี คือ "โอวาทปาฎิโมกข์" หลักที่ถือว่าเป็นหัวใจพระพุทธศาสนา คือคำไทยที่สรุปพุทธพจน์ง่ายๆ สั้นๆ ว่า "เว้นชั่ว ทำดี ทำใจให้บริสุทธิ์" ภาษาพระหรือภาษาบาลีว่า.....

            " สพฺพปาปสฺส อกรณํ กุสลสฺสูปสมฺปทา สจิตฺตปริโยทปนํ เอตํ พุทฺธานสาสนํ "
            แปลให้เต็มเลยว่า "การไม่ทำความชั่วทั้งปวง การทำความดีให้เพรียบพร้อม การชำระจิตของตนให้บริสุทธิ์ผ่องใส นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย"

            คำลงท้ายว่า "นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย" ทำให้เราคิดว่านี่แหละเป็นคำสรุป แสดงว่าเนื้อแท้ของพระพุทธศาสนาอยู่ที่นี่ เราก็เลยเรียกว่า "หัวใจ" มาเป็นจุดเริ่มต้น แต่กระนั้นชาวพุทธผู้ได้ฟังพระสอนมามากๆ พระอาจารย์หรือพระเถระผู้ใหญ่บางท่านพูดถึงหลักการอื่นว่า อันโน้นสิ อันนี้สิ เป็นหัวใจพระพุทธศาสนา บางทีโยมก็ชักงง จึงขอยกเอาเรื่องนี้มาพูดว่าอะไรกันแน่ที่เรียกว่าเป็น หัวใจพระพุทธศาสนา

            บางท่านบอกว่า "อริยสัจสี่" เป็นหัวใจพระพุทธศาสนา เพราะว่าคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหมดรวมอยู่ในอริยสัจสี่ เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้ว เสด็จไปแสดงปฐมเทศนา พระธรรมจักกัปปวัตตนสูตร

            ….. พระองค์ตรัสพุทธพจน์ตอนหนึ่ง มีความว่า ตราบใดที่เรายังไม่ (จตูสุ อริยสจฺเจสุ ติปริวฎฺฎํ ทวาทสาการํ ยถาภูตํ ญาณทสฺสนํ) มีญาณทัศนะที่มีปริวัฎ ๓ มีอาการ ๑๒ ในอริยสัจสี่ เราก็ยังปฏิญาณไม่ได้ว่า ได้ตรัสรู้ ต่อเมื่อเรามีญาณทัศนะนั้น จึงปฏิญาณได้ว่า ตรัสรู้ หมายความว่า ตรัสรู้อริยสัจสี่ครบ ๓ ด้าน คือรู้ว่าคืออะไร แล้วก็รู้ว่าหน้าที่ต่ออริยสัจสี่แต่ละอย่างนั้นคืออะไร และรู้ว่าได้ทำหน้าที่ต่ออริยสัจนั้นแล้ว เวียนไปทุกข้อเรียกว่า ๓ ปริวัฎ

            อธิบายว่า..... รู้ในอริยสัจสี่แต่ละอย่างเริ่มตั้งแต่รู้ว่าทุกข์คืออะไร เราจะต้องทำอะไรต่อทุกข์ แล้วก็รู้ว่าหน้าที่ต่อทุกข์นั้นเราได้ทำแล้ว ถ้ายังไม่รู้อริยสัจด้วยญาณทัศนะครบทั้ง ๓ ในแต่ละอย่าง (รวมทั้งหมดเป็น ๑๒ เรียกว่ามีอาการ ๑๒) ก็ยังไม่สามารถปฏิญาณว่าได้ตรัสรู้เป็นสัมมาสัมพุทธะ

            ต่อเมื่อได้ตรัสรู้อริยสัจ โดยมีญาณในอริยสัจแต่ละข้อครบทั้ง ๓ รวมเป็น ๑๒ จึงปฏิญาณได้ว่าเป็นสัมมาสัมพุทธะ เป็นอันว่า พระพุทธเจ้าตรัสรู้อริยสัจสี่ และการตรัสรู้อริยสัจสี่ทำให้เป็นพระพุทธเจ้า อริยสัจสี่จึงเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา

            บางท่านไปจับเอาที่พระไตรปิฎกอีกตอนหนึ่ง ซึ่งพระพุทธเจ้าตรัสไว้กระทัดรัดมากว่า..... "ปุพฺเพจาหํ ภิกฺขเว เอตรหิ จ ทุกขญฺเจว ปญฺญาเปมิ ทุกขสฺส จ นิโรธํ " ภิกษุทั้งหลายทั้งในกาลก่อนแลบัดนี้ เราบัญญัติแต่ทุกข์และความดับทุกข์เท่านั้น ถ้าจับตรงนี้ก็แสดงว่าพระพุทธเจ้าทรงสอนทั้งหมดนั้น หลักการของพระพุทธศาสนาก็มีเท่านี้ คือ ทุกข์และความดับทุกข์

            ท่านพุทธทาสกล่าวถึงหลักอีกข้อหนึ่งให้ถือว่าเป็นหัวใจพระพุทธศาสนา คือ..... "สพฺเพ ธฺมมา นาลํ อภินิเวสาย " แปลว่า "ธรรมทั้งปวง ไม่ควรยึดมั่น" ..... คำว่า "นาลํ" แปลว่าไม่ควร หรือ ไม่อาจ ไม่สามารถ คำว่า "ไม่ควร " ในที่นี้หมายความว่า เราไม่อาจไปยึดมั่นมันได้ เพราะมันจะไม่เป็นไปตามใจเราแน่นอน เมื่อมันไม่อาจจะยึดมั่น เราก็ไม่ควรจะยึดมั่นมัน อันนี้ท่านถือว่าเป็นหัวใจพระพุทธศาสนา เมื่อได้พังอย่างนี้ ก็ทำให้เราสงสัยกันว่าจะเอาหลักอันไหนดีเป็นหัวใจพระพุทธศาสนา ก็เลยขอให้ความเห็นว่าอันไหนก็ได้ ......

หลักธรรมอันเป็นกฎสําคัญตามธรรมชาติของศาสนาพุทธคือหลักธรรมใด

หลักธรรมสำคัญของพุทธศาสนา ศาสนาพุทธสอนว่า ปรมัตถธรรม หรือสรรพสิ่งมี 4 อย่างคือ จิต เจตสิก รูป นิพพาน จึงปฏิเสธการมีอยู่ของพระเป็นเจ้า (เพราะพระเป็นเจ้าจัดเข้าในปรมัตถธรรมไม่ได้) และเชื่อว่าโลกนี้เกิดขึ้นเองจากกฎแห่งธรรมชาติหรือนิยาม5 ประการ คือ อุตุนิยาม พีชนิยาม จิตนิยาม กรรมนิยาม ธรรมนิยาม

ความสําคัญของพระพุทธศาสนาคืออะไร

พระพุทธ หมายถึง พระผู้ตรัสรู้เอง พระองค์คือ เจ้าชายสิทธัตถะ แห่งวงศ์ศากยะ ผู้สละละทิ้งชีวิตแบบชาวโลกเพื่อแสวงหาสัจธรรม หลังจากที่พระองค์ตรัสรู้แล้ว ก็ได้ประดิษฐานพระพุทธศาสนาขึ้น พระธรรม หมายถึง ความจริง หรือสัจธรรมที่พระพุทธองค์ทรงค้นพบ และเผยแผ่ให้พุทธศาสนิกชนทั้งบรรพชิต และคฤหะสถ์ได้เรียนรู้และปฏิบัติ

หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาเรียกว่าอะไร

แนวคิดเกี่ยวกับหลักพุทธธรรม ความหมายของค าว่าพุทธธรรม„ หรือ ”พระธรรม„ คือ ธรรมะของพระพุทธเจ้านั้น มีมากมาย ถึง ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์เกี่ยวกับความจริงตาม ธรรมชาติของมนุษย์ที่มีทั้งความทุกข์ และ วิธีการดับ ทุกข์

หลักธรรมในพระพุทธศาสนาบันทึกไว้ในสิ่งใด

พระธรรม หมายถึงธรรมะซึ่งพระพุทธเจ้าทรงค้นพบและนำออกเผยแผ่ หรือคำสอนของพระพุทธเจ้า เกี่ยวกับความจริงตามธรรมชาติของทุกข์และวิธีการดับทุกข์ ธรรมะของพระพุทธเจ้านั้นแต่เริ่มสืบทอดกันด้วยวิธีท่องจำแบบปากต่อปาก เรียกว่า "มุขปาฐะ" สมัยต่อมาจึงได้มีการบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร คัมภีร์ที่บันทึกพระธรรมของพระพุทธเจ้านั้น เรียก ...