การดำเนินตามทางสายกลางเรียกว่าอะไร

 

มัชฌิมาปฏิปทาในทางพุทธศาสนาหมายถึงทางสายกลาง คือ การไม่ยึดถือสุดทางทั้ง 2 ได้แก่ อัตตกิลมถานุโยค คือ การประกอบตนเองให้ลำบากเกินไป กามสุขัลลิกานุโยค คือ การพัวพันในกามในความสบาย ที่ไม่ใช่ทางสายกลาง คือ สักแต่ว่ากลาง โดยเป็นแต่เพียงโวหารไม่ได้กำหนดวิธีที่ถูกต้องไว้เลย แต่พระพุทธองเจ้าได้ทรงกำหนดหลักทางสายกลางนี้ไว้อย่างชัดเจน คือ อริยมรรคมีองค์ 8 เมื่อย่นย่อแล้ว เรียกว่า “ไตรสิกขา” ได้แก่ศีล สมาธิ ปัญญา

มัชฌิมาปฏิปทาหมายถึงการปฏิบัติสายกลาง ซึ่งเป็นหลักจริยธรรมย่อมต้องคู่กับหลักสัจจธรรมอันเป็นสายกลางเช่นกัน โดยที่หลักสัจจธรรมอันเป็นสายกลางนี้เรียกว่ามัชเฌนธรรม หรือหลักทฤษฎีที่ว่าด้วยความสมดุล (สมตา)ที่มีลักษณะเป็นกฎธรรมชาติสากลของสรรพสิ่ง

มัชฌิมาปฏิปทาใช้ในความหมายถึงความพอเพียง หรือการใช้ชีวิตที่ถูกต้องตามหลัก สัมมาอาชีวะ คือใช้ชีวิตอย่างรู้ประมาณในการบริโภค คือใช้ปัจจัยสี่เท่าที่จำเป็น ไม่ใช่ใช้ตามความต้องการเพื่อสนองความอยาก

มัชฌิมาปฏิปทา แปลว่า ทางสายกลาง หมายถึง ทางปฏิบัติที่ไม่สุดโต่งไปในทางอุดมการณ์ใดอุดมการณ์หนึ่งเกินไป มุ่งเน้นใช้ปัญญาในการแก้ปัญหา มักไม่ยืดถือหลักการอย่างงมงาย

มัชฌิมาปฏิปทาในทางจิตวิญญาณหมายถึงสติ สติเป็นความสมดุลทางจิตอย่างหนึ่ง คือสมดุลระหว่างศรัทธาและปัญญา สติจะอยู่ตรงกลางระหว่างอารมณ์และเหตุผล ถ้าความคิดเปรียบเป็นน้ำไหล สมาธิเปรียบเป็นน้ำนิ่ง สติจะเป็นน้ำไหลนิ่ง สติเป็นทางสายกลางทางจิตวิญญาณ

มัชฌิมาปฏิปทา ทางสายกลาง หมายถึง ความสมดุล ความเหมาะสม ความเสมอ ความพอดี ซึ่งเป็นความประสานสอดคล้องกันระหว่างข้อปฏิบัติปลีกย่อยต่างๆ ที่มาประชุมกันร่วมกันทำงาน ข้อปฏิบัติต่างๆ ในพระพุทธศาสนาจะต้องมีสมตาคือความสมดุล ซึ่งเป็นความพอดีชนิดหนึ่ง เป็นชื่อเรียกสติอีกอย่างหนึ่ง เช่นความสมดุลระหว่างวิริยะกับสมาธิ และความพอดีระหว่างศรัทธากับปัญญา โดยมีสติเป็นเครื่องควบคุม

มัชฌิมาปฏิปทา ใช้ในความหมายอีกอย่างหนึ่งว่า มัตตัญญุตา คือ ความรู้จักประมาณ หรือรู้จักพอดีในการปฏิบัติต่างๆ โดยทั่วไป หรือรู้จักพอดีที่เป็นหลักกลางๆ เช่น จะรับประทานอาหารก็ต้องมีความรู้จักประมาณ รู้จักพอดีในอาหาร ถ้ารับประทานอาหารไม่พอดีก็เกิดโทษแก่ร่างกาย แทนที่จะได้สุขภาพ แทนที่จะได้กำลัง ก็อาจจะเสียสุขภาพ และอาจจะทอนกำลังทำให้อ่อนแอลงไป หรือเกิดโรค เพราะฉะนั้นท่านจึงสอนให้มีความรู้จักประมาณในการบริโภค เรียกว่า โภชเนมัตตัญญุตา

จะเห็นว่าหลักพระพุทธศาสนาในทุกระดับมีเรื่องของความพอดี หรือความเป็นสายกลางนี้ ฉะนั้นความเป็นสายกลาง คือ ความพอดีที่จะให้ถึงจุดหมาย และที่จะให้ตรงกับความจริง ไม่ให้ไปสุดโต่ง เอียงสุด ซึ่งจะพลาดจากตัวความจริงไปนั้น จึงเป็นลักษณะทั่วไปอย่างหนึ่งของพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นสายกลางทั้งหลักทฤษฎี(มัชเฌนธรรม) และหลักการปฏิบัติ(มัชฌิมาปฏิปทา)
อีกตัวอย่างหนึ่ง มองกว้างออกไปอีกมัชฌิมาปฏิปทาในแนวคิดที่เป็นกฎธรรมชาติได้แก่หลักมัชเฌนธรรม หรือหลักสมตาความสมดุล ซึ่งเป็นสัจจธรรมอันคู่กับหลักจริยธรรมของมัชฌิมาปฏิปทา ที่กล่าวแสดงไว้ว่าความสมดุลเป็นกฎธรรมชาติ จัดเป็นกฎพีชนิยาม ตามหลักมัชเฌนธรรมความสมดุลเป็นเหตุให้สิ่งต่างๆดำรงอยู่โดยไม่แตกสลายไปตามกฎไตรลักษณ์เร็วนัก และทำให้เกิดการปรับสภาพให้เหมาะสมของสรรพสิ่ง รวมถึงการที่ธรรมชาติมีความสมดุลจนโลกเหมาะสมที่จะมีสิ่งมีชีวิตอยู่ได้ ตลอดจนสรรพชีวิตและธรรมชาติมีวัฏจักรสมดุลสัมพันธ์ต่อกันเพราะกฎแห่งความสมดุลนี้ ที่ทำให้เกิดมีกลไกการปรับตัวขึ้น และยังทำให้เกิดความเป็นระเบียบของข้อมูล จึงเกิดมีระบบชีวิต ทำให้มีการดำรงอยู่ อันเป็นเหตุให้เกิดการถ่ายทอดลักษณะ อันเป็นเหตุให้มีสภาวะข้อมูลของสิ่งต่างๆ โดยเฉพาะสิ่งมีชีวิต ที่มีข้อมูลต่างๆเพราะการปรับสมดุล เช่นเดียวกับจิตที่เกิดดับตลอดเวลา แต่ก็จะถ่ายเทข้อมูลหรือภวังคจิตอันเป็นเช่นกับพันธุกรรมของจิต สู่จิตดวงใหม่ก่อนจิตดวงเก่าจะดับลง จนเกิดวัฏฏะ(หมุนวนเวียน)มีการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป กลับไปกลับมา สิ่งมีชีวิตเริ่มต้นถึงที่สุดก็กลับมาตั้งต้นใหม่ การปรับสมดุลที่รักษาข้อมูลหรือพันธุ์กรรมของสิ่งมีชีวิตทำให้เกิดชีวิต

อนิจจังกฎแห่งความไม่แน่นอน(อนิจจังทำให้สิ่งทั้งปวงย่อมต้องเปลี่ยนแปลงสถานะเดิม อย่างธาตุดิน (ของแข็ง) เปลี่ยนเป็นธาตุน้ำ (ของเหลว) เปลี่ยนเป็นธาตุลม (แก๊ส) และเปลี่ยนเป็นธาตุไฟ (แสง ความร้อน พลังงาน) และเปลี่ยนไปไม่สิ้นสุด แม้จะเปลี่ยนแปลงแต่การเปลี่ยนแปลงก็มีขีดจำกัดทำให้เกิดกฎแห่งวัฏจักรหรือวัฏฏะ โลก จักรวาล กาแล็กซี ย่อมหมุนเป็นวงกลม ทำให้เกิดสันตติ การสืบต่อ การถ่ายทอดพันธุกรรมตามกฎพีชนิยามทำให้ลูกมาจากปัจจัยพ่อแม่ของตน ทำให้ลูกเหมือนพ่อแม่ของตน แต่กฎอนิจจังความไม่แน่นอนทำให้สัตว์ พืช อาจไม่เหมือนพ่อแม่ของตนได้นิดหน่อย

ทุกขัง ความบีบคั้นทนอยู่ในสภาพเดิมได้ยากของสรรพสิ่ง คือสิ่งทั้งปวงหยุดนิ่งมิได้เหมือนจะต้องเคลื่อนไหวไม่หยุดนิ่งอยู่ตลอดเวลา ทำให้ธรรมชาติเกิดการปรับสมดุลได้เอง ความทุกข์เองก็ทำให้เกิดการพัฒนาการในการอยู่รอดของสัตว์ พืช โดยการปรับสมดุลของร่างกายที่จะบริหารหนีทุกข์ของสิ่งมีชีวิต ทำให้เกิดอิริยาบถ(การบริหารกายและจิต)

อนัตตาสิ่งทั้งปวงไม่มีตัวตนเป็น มีตัวตนเพราะอาศัยปัจจัยต่างๆประกอบกันขึ้น ทำให้ดำรงอยู่ได้ สิ่งทั้งปวงย่อมเกี่ยวเนี่องซึ่งกันและกัน เมื่อสิ่งต่างๆมีผลกระทบต่อกันในด้านต่างๆ จำต้องปรับสมดุลเพื่อรักษาระบบทำให้เกิดกฎปัจจยาการหรือกฎแห่งหน้าที่ ทำให้มีความเป็นระเบียบของระบบทำงานของร่างกาย ทำให้เกิดฆนะ ความเป็นก้อน รูปร่าง หรือการเป็นโครงสร้าง และถ้าธาตุทั้งสี่ไม่มีกฎแห่งหน้าที่นี้ ที่เป็นเหตุให้ธาตุประกอบกันเป็นร่างกาย ร่างกายย่อมต้องแตกแยกสลายไป

หลักมัชเฌนธรรมจัดได้ว่าเป็นกฎแห่งพีชนิยามของนิยามทั้ง5

  1. อนิจจัง (ความไม่เที่ยงแท้แน่นอน) ทำให้เกิดกฎวัฏฏะ(การหมุนวนเวียน)ทำให้มีสันตติ(การสืบต่อ)ที่ปิดบังอนิจจัง และกฎอนิจจังจะทำลายกฎวัฏฏะในที่สุด
  2. ทุกขัง (ความทนได้ยาก)ทำให้เกิดกฎสมตา(ความสมดุล) ทำให้มี อิริยาบถ(การบริหารปรับตัว) ที่บิดบังทุกขัง และกฎทุกขังจะทำลายกฎสมตาในที่สุด
  3. อนัตตา (ไม่ใช่ตัวตน) ทำให้เกิดกฎปัจจยาการ (การมีระบบระเบียบของโครงสร้าง)ทำให้มี ฆนะ(ความเป็นก้อน,รูปร่าง,โครงสร้าง)ที่ปิดบังอนัตตา และกฎอนัตตาจะทำลายกฎชีวิตาในที่สุด

ทางสายกลางประกอบไปด้วยอะไรบ้าง

ทางสายกลาง คือ ทางแห่งดุลยภาพ.
มีทิฏฐิที่เป็นสัมมา ครบถ้วนเหมาะเจาะ คือถูกต้องพอเหมาะกับความเป็นจริง.
มีสังกัปปะ ความดำริที่สัมมา คือถูกต้องครบถ้วนพอเหมาะพอดี เรียกว่าโดยชอบ ... .
แล้วก็มีการใช้วาจา ใช้คำพูดอย่างถูกต้อง.
แล้วก็รู้จักแสดงออก กระทำการต่างๆ ทางกายอย่างถูกต้อง.
เลี้ยงชีพ คือประกอบอาชีพที่เป็นสัมมาชีพ.

ทางสายกลางมีกี่ข้อ

ทางสายกลางอีกคำศัพท์หนึ่งที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสเรียก ทางสายกลางก็คือ อริยมรรคมีองค์ 8 คือข้อปฏิบัติ 8 ข้อ คือ 1. สัมมาทิฎฐิ ความเห็นชอบ คือ เห็นอริยะสัจ 4 อริยะสัจ 4 คือความจริงอย่างประเสริฐ หรือความจริงที่พระอริยบุคคลท่านเห็นมี ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค หรือเห็นไตรลักษณ์ คำว่า

ทางสายกลางอยู่ในพระสูตรใด

ธรรมจักกัปปวัตนสูตร จึงเป็นพระสูตรที่หมุนจักร คือ ธรรม อันได้แก่ "ทางสายกลาง" หรือ "มัชฌิมาปฏิปทา" ให้กระจายขยายตัวออกไปในทิศต่างๆ ในโลกใบนี้ ธรรมจักรจึงเป็นอำนาจที่ชุ่มเย็น (Soft Power) หมุนไปในทิศใด ความสันติสุขย่อมบังเกิดในทิศนั้น ในขณะจักรของพระเจ้าจักรพรรดิ์ ถือเป็นอำนาจที่เร้าร้อน (Hard Power) หมุนไปในทิศใด การ ...

การเดินทางสายกลางมีประโยชน์อย่างไร

อย่างที่บอกว่าทางสายกลางสามารถประยุกต์ใช้ได้กับทุกอย่าง เพราะเป็นหลักที่ยึดความถูกต้องเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสุขภาพ อาหารการกิน ความรัก ครอบครัว ฯลฯ แค่เรายึดความพอดี เหมาะสม และสมดุลทุกอย่างให้ดี ชีวิตเราก็จะสบาย ไม่ทุกข์และเข้าใจความเป็นไปของทุกอย่างที่เกิดขึ้นเอง..