ความหมายของฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์คืออะไร?

ฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ (Computer hardware)

ความหมายของฮาร์ดแวร์

Show

ฮาร์ดแวร์ หมายถึง ส่วนที่ประกอบเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ รวมอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ที่เราสามารถมองเห็นและสัมผัสได้ เช่น ตัวเครื่อง จอภาพ คีย์บอร์ด และเมาส์ เป็นต้น เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลโดยทั่วไปจะมีฮาร์ดแวร์หลัก ๆ ได้แก่
1. ตัวเครื่อง (Case) ทำหน้าที่ในส่วนของการประมวลผลข้อมูลที่ได้รับมาจากอุปกรณ์นำเข้าต่างๆ ซึ่งภายในตัวเครื่องจะมีอุปกรณ์หลัก ได้แก่ แผงวงจรหลัก หม้อแปลงไฟฟ้า ซีพียู ฮาร์ดดิสก์ หน่วยความจำ การ์ดแสดงผล การ์ดเสียง เป็นต้น
2. จอภาพ (Monitor) ทำหน้าที่แสดงผลข้อความ รูปภาพ
3. ดิสก์ไดร์ฟ (Disk drive) เป็นอุปกรณ์อ่าน-เขียนข้อมูลบนดิสก์เก็ต
4. คีย์บอร์ด (Keyboard) ทำหน้าที่ป้อนข้อมูลเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์
5. เม้าส์ (Mouse) เป็นส่วนที่ใช้สั่งงานด้วยการชี้และเลือกสิ่งต่างๆที่แสดงอยู่บนจอภาพ
6. ลำโพง (Speaker) เป็นส่วนที่ใช้แสดงผลที่เป็นเสียง

คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์คืออะไร ต่างจากซอฟต์แวร์อย่างไร ?

เชื่อว่าทุกคนน่าจะรู้จักคำว่า "ฮาร์ดแวร์" (Hardware) และ "ซอฟต์แวร์" (Software) ซึ่งกว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่ง ก็ต้องประกอบด้วยสองสิ่งนี้ แล้ว ฮาร์ดแวร์คืออะไร ? ความหมายและลักษณะของคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์เป็นอย่างไร ?

คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์คืออะไร ? (What is Computer Hardware ?)

คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ คือ คำศัพท์อธิบายส่วนประกอบต่าง ๆ ที่มีลักษณะทางกายภาพ และเป็นรูปร่างที่ชัดเจน ทั้งส่วนประกอบภายนอก และภายในที่สามารถจับต้องหรือถอดออกมาเปลี่ยนได้ โดยคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ที่ทุกคนคุ้นเคยมีทั้ง จอภาพ (Monitor), เมาส์ (Mouse), แป้นพิมพ์ (Keyboard), ลำโพง (Speaker), หน่วยประมวลผลกลาง (CPU), แผงวงจรหลัก หรือ มาเธอร์บอร์ด (Motherboard) และอื่น ๆ อีกมากมาย

โดยคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์แต่ละชิ้นมีหน้าที่ที่แตกต่างกัน แต่หน้าที่ส่วนใหญ่แบ่งออกเป็น 3 แบบหลัก ๆ คือ

  1. ทำหน้าที่ป้อนข้อมูลเข้าสู่คอมพิวเตอร์
  2. ทำหน้าที่ประมวลผลตามชุดคำสั่ง
  3. ทำหน้าที่แสดงผลข้อมูลที่ประมวลผลเสร็จสรรพแล้ว

กว่าจะเป็น คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ (Computer Hardware History)

ยุคที่ 1 - 2

แต่ก่อนจะเป็นคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ในปัจจุบัน คอมพิวเตอร์ในยุคแรกถูกพัฒนามาจากหลอดสุญญากาศในปี ค.ศ. 1960 (พ.ศ. 2503) จนกลายเป็นวงจรรวม (Intergrated Circuit) ในและคอมพิวเตอร์ทรานซิสเตอร์ (Trancistor Computer) ในเวลาต่อมา จากคอมพิวเตอร์หลอดสุญญากาศ พัฒนากลายเป็นอุปกรณ์โซลิดสเตตที่ลดทั้งขนาดและต้นทุนการผลิต รวมถึงหน่วยความจำหลัก (Main Memory) ที่พัฒนาจากหน่วยความจำแกนแม่เหล็กเป็นหน่วยความจำเซมิคอนดัคเตอร์ จนถูกบัญญัติให้เป็นยุคที่สองของประวัติศาสตร์คอมพิวเตอร์

ความหมายของฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์คืออะไร?

ตัวอย่างคอมพิวเตอร์จากหลอดสุญญากาศ (Vacuum Tube Computer)
ภาพจาก : https://www.flickr.com/photos/wkratz/9462060602

ยุคที่ 3

ส่วนยุคที่สามของประวัติศาสตร์คอมพิวเตอร์ ในปี ค.ศ. 1966 (พ.ศ. 2509) Jack Kilby วิศวกรอิเล็กทรอนิกส์ชาวอเมริกันประดิษฐ์และจำหน่ายไมโครชิปครั้งแรกของโลก ซึ่งพัฒนามาจากวงจรรวมตั้งแต่ในยุคแรก การใช้งานในยุคแรกเป็นแบบฝังตัวไปกับคอมพิวเตอร์ Apollo Guidance สำหรับนำทางและควบคุมยานอวกาศของ NASA, ขีปนาวุธนำวิถีข้ามทวีป, คอมพิวเตอร์ Central Air Data สำหรับควบคุมเครื่องบินขับไล่ F-14A Tomcat ของกองทัพเรือสหรัฐฯ

นอกจากนี้ ไมโครชิปยังถูกนำไปใช้งานเชิงพาณิชย์ในช่วงแรก ๆ เช่น บริษัทไอทีชื่อดังอย่าง IBM นำไมโครชิปไปใช้เป็นมาตรฐานในการสั่งการ ควบคุมคอมพิวเตอร์ หรือ ICs (Incident Command System) ในคอมพิวเตอร์เมนเฟรม System/360 Model 85 หลังจากนั้นก็ถูกใช้งานอย่างกว้างขวางในคอมพิวเตอร์ System/370 ที่เริ่มจำหน่ายในปี ค.ศ. 1971 (พ.ศ. 2514)

ความหมายของฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์คืออะไร?

คอมพิวเตอร์ IBM System 360/Model 85
ภากจาก : https://en.wikipedia.org/wiki/IBM_System/360_Model_85

ยิ่งไปกว่านั้น เดือนพฤศจิกายน ปี ค.ศ. 1966 (พ.ศ. 2509) มีหลายบริษัทเปิดตัวและจำหน่ายคอมพิวเตอร์ 16 บิต เช่น Hewlett-Packard หรือแบรนด์ HP ในปัจจุบัน, คอมพิวเตอร์ Nova จากแบรนด์ Data General และเป็นช่วงเวลาที่ซูเปอร์คอมพิวเตอร์เริ่มมีบทบาท เช่น Illiac IV คอมพิวเตอร์ที่เร็วที่สุดในโลกที่ใช้วงจรรวม ECL, IBM ES9000 9X2, DEC VAX 9000 และ Cray T90

ยุคที่ 4

ประวัติศาสตร์ของคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ยุคที่สี่ เหตุการณ์สำคัญคือ การสร้างไมโครโปรเซสเซอร์ (Micro Processor) จากบริษัทอินเทล (Intel) จากเดิมที่คอมพิวเตอร์ในยุคที่สาม เกิดจากการลดขนาดของคอมพิวเตอร์เมนเฟรม แต่ในยุคที่สี่จะไม่ใช่การสร้างคอมพิวเตอร์ด้วยการลดขนาด แต่เป็นการพัฒนาชิปประมวลผลและความจุของพื้นที่เก็บข้อมูล แต่เทคโนโลยีพื้นฐานยังคงเดิมจนถึงปัจจุบัน

ความหมายของฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์คืออะไร?

ตารางพัฒนาการไมโครโปรเซสเซอร์
ภาพจาก : https://learn.saylor.org/mod/page/view.php?id=22020

คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ แตกต่างจากซอฟต์แวร์อย่างไร ? (What is the difference between Computer Hardware and Software ?)

หากอธิบายกันแบบง่าย ๆ คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ คือ ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ ไม่ว่าส่วนประกอบนั้น ๆ จะอยู่ภายนอกหรือภายใน มองได้ด้วยตาเปล่าหรือไม่ ประกอบเข้ากันจนเป็นคอมพิวเตอร์ 1 เครื่อง แต่คอมพิวเตอร์จะทำงานด้วยตัวเองไม่ได้ หากไม่มีระบบปฏิบัติการและซอฟต์แวร์

ส่วนซอฟต์แวร์ ก็คือโปรแกรมต่าง ๆ ที่ใช้งานบนคอมพิวเตอร์ เพื่อดำเนินการตามคำสั่งของผู้ใช้งานจนสัมฤทธิ์ผล ได้เป็นไฟล์หรือชิ้นงานที่ต้องการ ซึ่งนอกจากซอฟต์แวร์แล้ว ยังมีคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์สำหรับส่วนประมวลผล เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาประมวลผลจนได้ผลลัพธ์ที่ต้องการนั่นเอง

คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ แบ่งออกเป็นกี่ประเภท ?

เนื่องจากคอมพิวเตอร์มีชิ้นส่วนหลายจุด ไม่ว่าจะเป็นตัวเคสครอบ CPU, GPU เมาส์ คีย์บอร์ด ซึ่งทั้งหมดนี้ล้วนเป็นคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ ซึ่งชนิดของฮาร์ดแวร์ก็ยังแบ่งได้อีกหลายประเภท แต่ถ้าแบ่งแบบคร่าว ๆ ก็จะแบ่งได้ 2 แบบ คือ

  1. คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ภายนอก (External Computer Hardware Component)
  2. คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ภายใน (Internal Computer Hardware Component)

จะเห็นได้ว่า นี่เป็นการแบ่งประเภทของคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ที่ง่ายและชัดเจน แบบแรกก็คือชิ้นส่วน อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่อยู่ภายนอกคอมพิวเตอร์ มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ส่วนแบบที่สองก็คือชิ้นส่วนภายใน จำพวกแผงวงจร ชิปประมวลผล ระบบระบายความร้อนต่าง ๆ นั่นเอง

ความหมายของฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์คืออะไร?

ตัวอย่างคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ชนิดต่าง ๆ
ภาพจาก : https://www.techtarget.com/searchnetworking/definition/hardware

ชนิดของคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ภายนอก

  1. Input Device : อุปกรณ์ที่เอาไว้ใช้ ป้อนข้อมูลเข้าสู่คอมพิวเตอร์
  2. Output Device : อุปกรณ์ที่เอาไว้ใช้ นำส่งข้อมูลออกจากคอมพิวเตอร์ ผ่านช่องทางต่าง ๆ

Input Device (อุปกรณ์ป้อนข้อมูลเข้าสู่คอมพิวเตอร์)

สำหรับคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ที่เป็น Input Device ก็คือฮาร์ดแวร์ที่ใช้ป้อนข้อมูลต่าง ๆ เข้าสู่คอมพิวเตอร์ หรือกระทำการใด ๆ เพื่อให้เกิดไฟล์ ชิ้นงานในคอมพิวเตอร์ เช่น

  • Keyboard (คีย์บอร์ด หรือ แป้นพิมพ์) : สำหรับพิมพ์ตัวอักษร ร่วมกับ โปรแกรมจัดการเอกสาร อย่างเช่น Microsoft Word, Microsoft Excel เป็นต้น
  • Mouse (เมาส์) : สำหรับใช้ในการเลื่อนตำแหน่งของตัวชี้ (Pointer) หรือ กดคลิกเพื่อส่งคำสั่งไปสู่เมนูถัดไป หรือจะคลิกเพื่อส่งคำสั่งในการทำหน้าที่ใด ๆ ในโปรแกรมนั้น ๆ
  • Scanner (เครื่องสแกนเนอร์) : เพื่อแปลงตัวอักษร รูปภาพจากกระดาษให้เป็นไฟล์ที่บันทึกในคอมพิวเตอร์ได้ เช่น ไฟล์ JPG, BMP, GIF เป็นต้น
  • Microphone (ไมโครโฟน) : สำหรับรับข้อมูลเสียงเพื่อแปลงเป็นไฟล์เสียง หรือส่งต่อเสียงไปยังคู่สนทนาผ่านโปรแกรมต่าง ๆ เช่น โปรแกรมวิดีโอคอนเฟอเรนซ์

Output Device (อุปกรณ์นำส่งข้อมูลออกจากคอมพิวเตอร์)

หาก Input Device คือฮาร์ดแวร์ที่นำข้อมูลเข้าไปยังคอมพิวเตอร์ Output Devices ก็คือฮาร์ดแวร์ที่นำส่งข้อมูลออกมาจากคอมพิวเตอร์นั่นเอง

  • Printer (เครื่องพิมพ์) : อุปกรณ์สำหรับพิมพ์ข้อความ รูปภาพบนกระดาษหรือวัสดุใด ๆ แต่กว่าจะเป็นข้อความหรือภาพที่ต้องการ ก็ต้องผ่านการพิมพ์ข้อความด้วยคีย์บอร์ด สร้างเส้น สีสันผ่านการคลิก ลากเมาส์นั่นนั่นเอง 
  • Monitor (จอภาพ) : ถือเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้จริง ๆ นอกจากการแสดงภาพ แสดงผลข้อมูลแล้ว จอภาพบางชนิด เช่น จอสัมผัส ยังทำหน้าที่รับคำสั่งผ่านการสัมผัสจออีกด้วย
  • Speaker (ลำโพง) : นอกจากคอมพิวเตอร์จะมีลำโพงในตัวแล้ว ยังต้องใช้ลำโพงภายนอกเชื่อมต่อรวมด้วย เพื่อขยายกำลังเสียง หรือบางคนทำงานด้านเสียง ทำให้ต้องพิถีพิถันเรื่องลำโพงสักหน่อย

Internal Computer Hardware Device (ชนิดของคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ภายใน)

ส่วนคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ภายใน ก็คือชิ้นส่วนที่อยู่ภายใต้ตัวเครื่องภายนอกนั่นเอง ไม่ว่าจะเป็นแผงวงจร ชิปประมวลผล ส่วนประกอบของกลไก อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลต่าง ๆ ที่เข้าข่ายความเป็นฮาร์ดแวร์ ซึ่งคอมพิวเตอร์จะทำงานไม่ได้เลยหากขาดฮาร์ดแวร์ส่วนนี้ไป เป็นหัวใจสำคัญที่ทำให้คอมพิวเตอร์นั้น ๆ มีประสิทธิภาพและเป็นประโยชน์

Motherboard or Mainboard (แผงวงจรหลัก)

ถือเป็นหัวใจสำคัญของคอมพิวเตอร์เลยทีเดียว เพราะนี่คือแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์หลักที่เชื่อมโยงฮาร์ดแวร์อื่น ๆ ในคอมพิวเตอร์ ซึ่งส่วนประกอบของ Motherboard หลายชิ้นก็คือคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์เช่นกัน เช่น CPU, GPU, Storage เป็นต้น

ความหมายของฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์คืออะไร?

ภาพจาก : https://commons.wikimedia.org/wiki/File:NeXTcube_motherboard.jpg

CPU (Central Processing Unit) (หน่วยประมวลผลกลาง) 

ทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลผ่านชุดคำสั่งของซอฟต์แวร์ อ่านข้อมูลจากอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล เขียนข้อมูล ส่งผลการประมวลผล และควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ภายในและอุปกรณ์ที่ต่อพ่วงกับคอมพิวเตอร์ทั้งหมด

GPU (Graphic Processing Unit) (หน่วยประมวลผลกราฟิก)

หน่วยประมวลผลกราฟิก หรือ GPU ถือเป็นอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์อีกจุดหนึ่งที่สำคัญ เนื่องจากทำหน้าที่ประมวลผลกราฟิกโดยเฉพาะ โดยผลลัพธ์จาก GPU จะแสดงผลผ่านจอภาพผ่านพอร์ตเชื่อมต่อ ต่าง ๆ บนการ์ดจอในเครื่อง

ข้อมูลเพิ่มเติม : DisplayPort กับ HDMI พอร์ตจอคอมพิวเตอร์ทั้ง 2 นี้ต่างกันอย่างไร ? เลือกใช้พอร์ตไหนดี ?

ความหมายของฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์คืออะไร?

ภาพจาก : https://commons.wikimedia.org/wiki/File:AMD_Radeon_HD_7970M_GPU-top_upright_PNr%C2%B00814.jpg

RAM (Random Access Memory) (หน่วยความจำหลัก)

เป็นแผงวงจรซิลิคอนที่เสียบติดอยู่กับเมนบอร์ด ทำหน้าที่เป็นหน่วยความจำหลักเพื่อเก็บข้อมูล เป็นตัวส่งผ่านข้อมูลจากอุปกรณ์อื่น ๆ เช่น อุปกรณ์ต่อพ่วง, อุปกรณ์รับข้อมูลเข้า (Input Devices) ไปยัง CPU และเมื่อ CPU ประมวลผลข้อมูลเรียบร้อยแล้ว RAM ก็จะเป็นที่เก็บข้อมูลส่วนนี้ แล้วส่งต่อไปยังอุปกรณ์แสดงผลภายนอก (Output Device) เช่น จอมอนิเตอร์ พรินต์เตอร์ ต่อไป

อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล (Storage Device) หากสมองของคนเรามีส่วนคำนวณ ประมวลผลแล้ว นี่ก็คือส่วนของความจำ สำหรับบันทึกไฟล์ข้อมูลต่าง ๆ และยังเป็นจุดที่ส่งคำสั่งไปยัง CPU เพื่อให้ CPU ประมวลผลข้อมูลต่ออีกด้วย โดย Storage Device ในคอมพิวเตอร์มีทั้งหน่วยความจำถาวร (Harddisk) รวมถึง SSD (Solid-State Drive) ที่คอมพิวเตอร์ในปัจจุบันนิยมใช้กันมากขึ้น

อนาคตของคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์จะเป็นอย่างไร ? (Future of Computer Hardware)

เนื่องจากคอมพิวเตอร์ในยุคปัจจุบันมีเทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้ามามากมาย เช่น สั่งงานผ่านหน้าจอสัมผัส ปากกา ชิปประมวลและชิปกราฟิกที่ทำงานรวดเร็ว แรงสะใจ ประกอบกับตัวเครื่องมีขนาดเล็กและราคาที่ถูกกว่าแต่ก่อนมาก ๆ แล้วอย่างนี้ อนาคตของคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์จะเป็นไปในทิศทางใด ?

เว็บไซต์ newerapost.com ได้คาดคะเนความเป็นไปได้ของคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ในอนาคตไว้ว่า

  • อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลแบบ SSD จะสามารถขยายความจุสูงสุดถึงระดับเอ็กซาไบต์ (1 เอ็กซาไบต์ = 1,000,000 เทราไบต์) มาพร้อมอัตราการอ่านและเขียนความเร็วสูง

  • เทคโนโลยีอื่น ๆ พัฒนาขึ้นจากเดิม เช่น Wi-Fi, LAN, อินเทอร์เน็ต (Internet) ที่มีค่า Latency ต่ำ ฯลฯ

  • คลาวด์คอมพิวติ้ง (Cloud Computing) หรือการใช้งานคอมพิวเตอร์ผ่านอินเทอร์เน็ตจะได้รับความนิยมมากขึ้น เนื่องจากค่าบริการถูกลง สามารถเข้าถึงได้ทุกที่ การใช้งานคอมพิวเตอร์ราคาแพงจะลดลง การใช้งานคอมพิวเตอร์พื้นฐานจะเข้าถึงได้จากทุกที่

  • หน้าจอแสดงผลจะสามารถแสดงภาพโฮโลแกรมได้ ผ่านจอภาพชนิด Interactive Holographic Display แม้จะยังไม่เทียบเท่าการแสดงผลอันทันสมัยแบบในภาพยนตร์ไซ-ไฟ แต่สามารถสื่อสารรูปแบบใหม่ผ่านคอมพิวเตอร์ได้ง่ายขึ้น

  • เทคโนโลยี AR (Augmented Reality) และ VR (Virtual Reality) จะไม่จำกัดแค่ในคอมพิวเตอร์ ในแว่น VR และโทรศัพท์มือถือ แต่จะย้ายไปอยู่ในคอนแทคเลนส์แทน

ในอนาคต คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์จะพัฒนาไปตามเนื้อหาด้านบนหรือไม่ ก็ยังไม่มีใครให้คำตอบที่แน่ชัด แต่อนาคตของเทคโนโลยีล้วนมีการพัฒนาให้มีประสิทธิภาพ ภายใต้ต้นทุน ราคาที่ถูกลง และสิ่งที่พัฒนาตามคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ก็คือ ลักษณะการใช้งานของผู้ใช้อย่างเรา ๆ นั่นเอง ในอนาคตคอมพิวเตอร์อาจเปลี่ยนรูปร่าง รูปแบบ เทคโนโลยีไปไกลเกิดจะคาดคิดก็เป็นได้

ที่มา : en.wikipedia.org , www.geeksforgeeks.org , www.idtech.com , www.techtarget.com , learn.saylor.org , newerapost.com

ฮาร์ดแวร์คืออะไร จงยกตัวอย่างมา 5 อย่าง

ตัวอย่างของฮาร์ดแวร์ เช่น CPU (ซีพียู), RAM (แรม), Display adapter (ดิสเพล์ อแดบเตอร์), Hard disk (ฮาร์ดดิส), Chipsets (ชิบเซส), Mainboard (เมนบอร์ด), Power supply (พาวเวอร์ ซัพพลาย), จอ Monitor (มอนิเตอร์), Keyboard (คีบอร์ด), Mouse (เมาส์), Modem (โมเดม), Router (เร้าเตอร์),Hub (ฮับ), เครื่องพิมพ์, Flash drive (เฟรช ...

Hardware คืออะไร ทาหน้าที่อย่างไร

Hardware คือ ส่วนประกอบ , โครงสร้าง , อุปกรณ์ต่อพ่วงซึ่งเข้ามาช่วยในการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยหน้าที่ของ Hardware คือ ทำงานตามคำสั่งของมนุษย์ , ควบคุมการทำงานต่างๆ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ออกมาตามต้องการ จำแนกหน้าที่ได้ ดังนี้

ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์คืออะไร

ฮาร์ดแวร์ คือ อุปกรณ์ต่างๆ เช่น เมาส์ จอภาพ เครื่องพิมพ์ ซีพียู เครื่องรูดบัตร สแกนเนอร์ ที่สามารถสัมผัสได้ภายนอกอีกทั้งสามารถมองเห็นด้วยตาและสัมผัสได้มีทั้งที่ติดตั้งภายในตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ (Case) และ เชื่อมต่อภายนอกเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะมีข้อแตกต่างกับ ซอฟต์แวร์ ก็คือ ซอฟต์แวร์ จะเป็นเพียงเเค่ชุดคำสั่งหรือ ...

ชนิดของฮาร์ดแวร์ 4 ชนิดมีอะไรบ้าง

ประเภทต่างๆ ของ Hardware.
หน่วยประมวลผลกลาง ... .
หน่วยรับข้อมูล ... .
หน่วยแสดงผล ... .
หน่วยความจำ ... .
หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง.