แนวคิดสำคัญของไตรภูมิพระร่วง ตอน มนุสสภูมิ คืออะไร

�����
          �����Ҹ����Ҫҷ�� 1 ���;������ �ç�繾����ҡ�ѵ������ͧ���� 5 ��觡�ا��⢷��


����Ңͧ����ͧ
          �����Ծ����ǧ ������¡��� �����ԡ�� ��������ԡ�� �դ���������� ����ͧ��� �ͧ�š������ ���� ������� �ٻ���� �����ٻ����


�ѡɳФӻ�оѹ��
          
�������


��������ͧ
          �͹ ���������
          ����Ƕ֧���Դ�ͧ������������������ʹ�Ԩ���з�觵�ʹ�͡�Ҩҡ�������ôҠ ����÷�������ؤ������§ 6 ��͹ �Ҩ����ʹ���Ե �ҡ���ؤ���� 7 ��͹ ������ѡ�����آ�Ҿ��͹�� ����÷���繼���Ҩҡ�á����ͤ�ʹ�͡�Ҩ������§��ͧ��� ��ǹ������Ҩҡ���ä�����ͤ�ʹ�͡�Ҩ�������� ����÷����觤�ʹ���������ö������觵�ҧ����ҹ���� ¡��鹼�����繻Ѩਡ⾸������м�������ѹ�Ңճ�ʾ
          ������������ͧ͹Ԩ��ѡɳ� �����������ҹ��������ͧ������͹Ԩ�ѧ�ͧ��觵�ҧ����Ӥ����� ��ش�鹨ҡ�ѧ����ѯ ��к���عԾ�ҹ


�س���
          ��ҹ��ó��Ż�
          1. �繤������§ �������ʤ��ͧ�ͧ
          2. �ա����������Ҿ�����ػ�� ������Դ�Թ��ҡ�êѴਹ

          ��ҹ�ѧ��
          - ��ҹ��ʹ� ����ѡ��Ѫ�ҷҧ��оط���ʹ� �������������ͧ���Ե
          - ��ҹ�Է����ʵ�� �ա��͸Ժ�¡���Դ�ͧ����������ѡ��÷ҧ�Է����ʵ�� �� ���� ���¶֧ ���� �繵�
          - ��ҹ���¸��� ��˹���ͺ��觡�û�оĵ� ��黡��ͧ����ȵ�ͧ�դس���� ��������ѧ���դ���ʧ��آ

ไตรภูมิพระร่วง ตอน มนุสสภูมิ

                 ไตรภูมิพระร่วง คำว่าไตรภูมิ  หมายถึง โลกทั้ง ๓ ได้แก่ กามภูมิ  รูปภูมิ  และอรูปภูมิ ไตรภูมิเดิมเรียกว่า ไตรภูมิกถา หรือ เตภูมิกถา  มีความหมายว่า  เรื่องราวของโลกทั้ง ๓  ส่วนพระร่วง หมายถึง พระมหากษัตริย์ในราชวงศ์สุโขทัย 

                ผู้แต่ง  พระมหาธรรมราชาที่ ๑ หรือพระยาลิไทยในสมัยสุโขทัย  ราชวงศ์พระร่วง เป็นพระโอรสในพระยาเลอไทย และเป็นพระราชนัดดาของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช

                พระมหาธรรมราชาที่ ๑ ทรงเป็นกษัตริย์ที่ปกครองประชาชนในฐานะธรรมราชา  ทรงยึดมั่นในหลักธรรมของพุทธศาสนา

                ลักษณะคำประพันธ์  เป็นร้อยแก้ว  ประเภทความเรียง แต่ก็มีสัมผัส
คล้องจอง

                เนื้อเรื่องย่อ  ไตรภูมิพระร่วง ตอน มนุสสภูมิ  กล่าวถึงกล่าวถึงกำเนิดของมนุษย์ไว้อย่างละเอียดเป็นขั้นตอน  ตั้งแต่เริ่มปฏิสนธิจนกระทั่งคลอดจากครรภ์มารดา  โดยอธิบายว่าเมื่อแรกปฏิสนธินั้นมนุษย์ที่อยู่ในครรภ์มารดาจะมีขนาดเท่ากลละ หลังจากนั้น ทุก ๆ ๗ วัน ทารกจึงจะมีพัฒนาการ ใน ๗ วันแรก ทารกจะมีขนาดใหญ่ขึ้นเป็นก้อนดังไข่ไก่  จากนั้นจะเกิด “เบญจสาขาหูด” คือ มีมือ ๒ อัน เท้า ๒ อัน และหัวอีก ๑ หัว  ต่อมาจึงมีขนและเล็บ ซึ่งเป็นจำนวนครบ ๓๒ ทารกจะนั่งยอง ๆ กำมือทั้งสอง  คู้คอต่อหัวเข่าอยู่ในครรภ์มารดา ประมาณ ๗-๑๑ เดือน จึงจะคลอดออกมา

                กุมารที่มีอายุ ๖ เดือน อาจไม่รอดได้ หากอายุครรภ์ ๗ เดือน กุมารมักจะมีสุขภาพอ่อนแอ กุมารผู้มาจากนรกเมื่อคลอดออกมาจะส่งเสียงร้องไห้  ส่วนผู้ที่มาจากสวรรค์ เมื่อคลอดออกมาจะหัวเราะ กุมารที่เพิ่งคลอดจะไม่สามารถจำสิ่งจดจำสิ่งต่าง ๆ ที่ผ่านมาได้  ยกเว้นผู้ที่เป็นปัจเจก                 โพธิเจ้าและผู้ที่เป็นอรหันตาขีณาสพ 

                กำเนิดของมนุษย์เป็นสิ่งที่ยากลำบาก ดังนั้นเมื่อมีโอกาสได้ถือกำเนิดอกมาและอยู่รอดปลอดภัยแล้วก็ควรกระทำความดี  เพื่อให้กุศลผลแห่งการทำความดีนั้นติดตัว  ส่งให้ได้ไปเกิดในชาติภพที่ดีหรือบรรลุนิพพาน

                เนื้อเรื่องกล่าวถึงโลกทั้ง ๓ ดังนี้

                 ๑. กามภูมิ   
                     กามภูมิ คือภูมิระดับล่าง มีทั้งสิ้น 11 ภูมิ แบ่งออกเป็น อบายภูมิหรือทุคติภูมิ 4 และ สุคติภูมิ 7 อบายภูมิ คือภูมิชั้นต่ำ มี 4 ชั้น เป็นภูมิของความชั่วช้าต่าง ๆ นรกภูมิ คือภูมิชั้นต่ำที่สุดในอบายภูมิ ที่ยังมีลึกซ้อนกันลงไปอีกถึง 8 ชั้น มหาอเวจีนรก คือชั้นนรกที่ต่ำที่สุด ผู้ที่กระทำบาปอันเป็น อนันตริยกรรม 5 คือ ฆ่ามารดา ฆ่าบิดา ฆ่าพระอรหันต์ ทำร้ายพระพุทธเจ้าจนถึงพระโลหิตห้อขึ้นไป ทำลายหรือยุยงสงฆ์ให้แตกแยกกัน จะไปเกิดในขุมนรกชั้นนี้ ถัดขึ้นมาคือ เดรัจฉานภูมิ เปรตภูมิ และอสุรกายภูมิ ตามลำดับ สุคติภูมิ คือภูมิชั้นสูงขึ้นมา ได้แก่ภูมิของมนุษย์และภูมิของเทวดาอีก 6 ชั้น (ภูมิเทวดาทั้ง 6 รวมเรียกว่า ฉกามาพจร) ทั้งหมดนี้รวมอยู่ในกามภูมิ คือยังหลงมัวเมาอยู่ในกามกิเลส          

                 ๒. รูปภูมิ     - พรหมมีรูป ๑๖ ชั้น เรียกว่า “โสฬสพรหม”  ชั้นที่ ๑๖ คือ อกนิฏฐาภูมิ

                 ๓. อรูปภูมิ    - พรหมไม่มีรูป ๔ ชั้น

                ผู้ใดจะเกิดในภูมิใดนั้นอยู่ที่กรรมดีกรรมชั่วที่ตนทำในชาติก่อน ๆ กรรมเป็นต้นเหตุให้อยู่ในกระแสเวียนว่ายตายเกิด เป็นวัฏสงสารไม่มีวันสิ้นสุด จนกว่าจะหาทางหลุดพ้นจากภูมิทั้งสาม ไปสู่โลกุตรภูมิหรือนิพพานจึงจะได้สุขนิรันดร์

                คุณค่างานประพันธ์

                ๑. ด้านวรรณศิลป์    Ø เป็นร้อยแก้วที่มีสัมผัสคล้องจองกัน เห็นความงามของภาษา

                                          Ø มีการใช้โวหารภาพพจน์เชิงอุปมา ทำให้เกิดจินตภาพที่ชัดเจน

                ๒.ด้านสังคม          Ø ด้านศาสนา มีการใช้หลักปรัชญาทางพุทธศาสนา
ชี้ให้เห็นถึงวัฏสงสาร คือ การเกิด เพื่อชี้นำให้คนทำความดี

                                          Ø ด้านวิทยาศาสตร์ มีการอธิบายการเกิดของมนุษย์ตามหลักการทางวิทยาศาสตร์ เช่น แรกปฏิสนธิอยู่ในครรภ์มารดา ทารกจะเป็นกลละ
ซึ่งหมายถึง เซลล์ เป็นต้น

                ๓. ด้านประเพณีและวัฒนธรรม ความคิดความเชื่อที่ปรากฏในไตรภูมิพระร่วง ได้ตกทอดอยู่ในประเพณีและวัฒนธรรมของคนไทยในสังคมปัจจุบัน เช่น การจัดดอกไม้ธูปเทียนใส่มือผู้ตายก่อนปิดฝาโลง เพื่อให้ผู้ตายไปบูชาพระจุฬามณีในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์

                ความคิดเรื่องแผนภูมิจักรวาล นรก สวรรค์ พรหม และนิพพาน ก่อให้เกิดผลงานด้านจิตรกรรม และสถาปัตยกรรมทั้งในอดีตและปัจจุบัน เช่น มิสกวัน ปารุสกวัน จิตรลดา เป็นชื่อสวนของพระอินทร์ ดุสิตเป็นชื่อสวรรค์ชั้นหนึ่งในสวรรค์หกชั้น สอดคล้องกับความเชื่อว่าพระมหากษัตริย์เป็นสมมติเทพ

                 วิเคราะห์จุดมุ่งหมาย 

                ๑. จุดมุ่งหมายเรื่องไตรภูมิพระร่วง มีจุดมุ่งหมายที่จะชี้ให้เห็นคุณและโทษของโลกทั้งสามที่ไม่มีความแน่นอน เพื่อให้มนุษย์เร่งทำบุญหรือกรรมดี ละบาปหรือกรรมชั่ว เพื่อให้หลุดพ้นจากวัฏหรือบรรลุนิพพานที่ประเสริฐกว่าสมบัติหรือความสุขใด ๆ ที่มีในโลกทั้งสาม

                ๒. นิรันดร์สุขแห่งนิพพาน ความสุขที่ได้จากนิพพานเป็นความสุขนิรันดร์ ไม่มีที่สิ้นสุดและไม่มีทางแปรเปลี่ยนเป็นอื่นเลย วิธีปฏิบัติให้บรรลุโลกุตรภูมิหรือนิพพานเริ่มจากการบรรลุมรรคผลขั้นต่าง ๆ สูงขึ้นเรื่อย ๆ  จากพระโสดาบัน เป็นพระสกทาคามี และเป็นพระอรหันต์ หลังจากนั้นจึงบรรลุนิพพาน

                กวีได้ตระหนักว่าการบรรลุนิพพานเป็นเรื่องยากของมนุษย์ทั่วไป จึงให้กำลังใจว่า ถ้ายังไม่บรรลุนิพพานก็จะได้เป็นเทพยดาในสวรรค์ หรือมิฉะนั้นก็อาจได้เกิดในยุคพระศรีอาริย์ ซึ่งมีความสุขสบายแบบเดียวกับมนุษย์ในอุตรกุรุทวีป

                ความสุขในอุตรกุรุทวีป ทวีปที่มนุษย์อาศัยอยู่ มี ๔ ทวีป อยู่ ๔ ทิศของเขาพระสุเมรุ มี อุตรกุรุทวีป อยู่ทิศเหนือของเขาพระสุเมรุ  ชมพูทวีปอยู่ทิศใต้ของเขาพระสุเมรุ อมรโคยานทวีปอยู่ทิศตะวันตกของเขาพระสุเมรุ  บูรพวิเทหทวีปอยู่ทิศตะวันออกของเขาพระสุเมรุ

                คนใน ๓ ทวีป ยกเว้นชมพูทวีป  รักษาศีลอยู่เสมอ ขึงมีอายุแน่นอนและอยู่อย่างมีความสุข และคนในอุตรกุรุทวีปจะมีความสุขมากที่สุด คือ จะมีอายุถึง ๑,๐๐๐ ปี เป็นหนุมสาวอยู่เสมอ มีความงดงามมาก ไม่ต้องทำการงานใด ๆ มีกับข้าวและที่นอนเกิดขึ้นตามใจปรารถนา ไม่รู้จักเจ็บป่วย คลอดลูกก็ไม่เจ็บท้อง ไม่ต้องเลี้ยงลูกเอง คนอื่นในสังคมช่วยกันเลี้ยง เมื่อตายก็ไม่ต้องไปเกิดในอบายภูมิ

                ส่วนชมพูทวีป เป็นทวีปที่เราอาศัยอยู่คนในทวีปนี้มีอายุไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับบุญกรรมที่ทำ ทวีปนี้เป็นที่เกิดของพระพุทธเจ้า พระจักรพรรดิราช พระอรหันต์ คนในทวีปนี้จึงมีโอกาสได้ฟังธรรม ปฏิบัติธรรม และสร้างสมบุญญาบารมี ได้ไปเกิดในภพภูมิที่ดีกว่าเดิม และอาจจะถึงขั้นหลุดพ้นวัฏสงสารไปสู่นิพพานได้

(ข้อมูลจาก  สอางค์ ดำเนินสวัสดื, ๒๕๕๑, สุนทรีญา  สิริสุนทรเจริญ, ๒๕๕๒)

แนวคิดเรื่องไตรภูมิพระร่วง ตอน มนุสสภูมิ คืออะไร

ข้อคิด คติคำสอน และความจรรโลงใจ มนุษย์เราควรทำความดีด้วยวิธีต่าง ๆ อาทิเช่น การกตัญญูต่อมารดาผู้ให้กำเนิด การยึดมั่นในศีลธรรม รู้จักพึงพอใจในสิ่งที่ตนเองมี ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ไม่โลภ ไม่มีกิเลสตัณหา ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ฯลฯ ซึ่งหากเราทำได้เช่นนี้ ตัวเราและสังคมก็ย่อมมีแต่ความสงบสุข

แนวคิดสำคัญในการแต่งเรื่องไตรภูมิพระร่วง ตอน มนุสสภูมิ เป็นไปเพื่อจุดประสงค์ใด *

พญาลิไทยทรงพระราชนิพนธ์ไตรภูมิพระร่วงขึ้น เพื่อโปรดพระราชมารดา และเป็นธรรมทานแก่ประชาชนทั่วไป โดยเรื่องไตรภูมิพระร่วงนั้นมีจุดมุ่งหมายสำคัญคือ เพื่อชี้ให้ผู้อ่านตระหนักว่า ดินแดนในสามโลกนี้มีแต่อนิจจลักษณะ หมายถึง เป็นโลกที่ไม่น่าอยู่ ไม่มีความแน่นอน ไม่จีรังยั่งยืน มีแต่การแปรเปลี่ยน รวมทั้งยังชี้นำให้ทุกคนแสวงหาทาง ...

ข้อใดคือแนวคิดสำคัญของไตรภูมิพระร่วงตอนมนุสสติ

ข้อใดคือแนวคิดสำคัญของไตรภูมิพระร่วงตอนมนุสสภูมิ มนุษย์เมื่อแรกเกิดเป็นเพียง “กลละ” หรือเซลล์ที่มีขนาดเล็ก มนุษย์เกิดมาด้วยความยากลำบากและมีที่มาต่างๆ กัน

จุดมุ่งหมายที่สำคัญของเรื่องไตรภูมิพระร่วง คือข้อใด

1.2 ลักษณะการแต่ง เนื้อหา และจุดมุ่งหมายของไตรภูมิพระร่วง ไตรภูมิพระร่วงแต่งเป็นร้อยแก้ว บรรยายและพรรณนาเรื่องไตรภูมิและโลกุตรภูมิ เหตุ อย่างละเอียดพิสดาร เพื่อให้ผู้อ่านรู้จักเข้าใจไตรภูมิ (คามภูมิ รูปภูมิ อรูปภูมิ) และโลกุตรภูมิ (นิพพาน) ชัดเจนจนเกิดความกลัวบาปกล้าบุญ และกล้านิพพานขึ้น นจนเกิดคว