แนวทาง การปลูกฝังคุณธรรม และ จริยธรรม ด้าน วิชาการ คือ อะไร

ทุกวันนี้ข่าวทางหน้าหนังสือพิมพ์รายวันและโทรทัศน์ส่วนใหญ่ มักเป็นข่าวอาชญากรรม การใช้ความรุนแรง ปัญหาครอบครัว ปัญหาทางเพศ การติดการพนัน การติดยาเสพติด ฯลฯ ซึ่งบ่งบอกถึงความเสื่อมทางคุณธรรมจริยธรรมของคนในสังคม และปัญหาดังกล่าวปรากฏมากขึ้นในกลุ่มเด็กและเยาวชนที่เป็นกำลังของชาติด้วย ฯลฯ สิ่งเหล่านี้เป็นสัญญาณเตือนอันตราย ที่เรียกร้องให้ผู้ที่เกี่ยวข้อง

ควรเร่งให้ความสนใจแก้ไขปัญหานี้ในกลุ่มเด็กและเยาวชนโดยด่วน ก่อนที่ทุกอย่างจะสายเกินจะเยียวยา


โดยทุกภาคส่วนในสังคมไม่ว่าจะเป็นสถาบันครอบครัวสถาบันการศึกษาสถาบันการเมืองสถาบันศาสนาสถาบันสื่อมวลชนรวมทั้งสถาบันวิชาชีพต่าง ๆ ต่างร่วมมือกันทำบทบาทหน้าที่ของตนเองในการสรรค์สร้างคุณธรรมจริยธรรมที่ดีงามให้เกิดขึ้นในสังคมได้


อย่างไรก็ตามปัญหาสำคัญในขณะนี้คือสถาบันครอบครัวไม่สามารถทำหน้าที่ของตนในการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมให้กับสมาชิกในครอบครัวได้จนกลายเป็นชีวิตจริง รวมทั้งการที่พ่อแม่ส่วนใหญ่มักยกบทบาทดังกล่าวให้กับโรงเรียน ครูอาจารย์เป็นผู้ทำหน้าที่นี้แทนตน ดังนั้นครอบครัวต้องตระหนักถึงการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมให้เกิดขึ้นในชีวิตลูกของตนโดยเริ่มจาก


สร้างค่านิยม "เป็นคนดีมีคุณธรรม"


ปัจจุบันสำนึกทางคุณธรรมจริยธรรมของคนในสังคมกำลังเสื่อมลงเนื่องมาจากรากฐานปรัชญาความคิดและค่านิยมที่ผิดเพี้ยนไปจากหลักศีลธรรมและคุณธรรมอันดี พ่อแม่จำเป็นที่จะต้องชี้ให้ลูกเห็นอย่างชัดเจนว่า ldquo;อะไรถูก อะไรผิดrdquo; และ ldquo;อะไรที่มีค่า อะไรที่น่ารังเกียจrdquo; รวมทั้งฝึกลูกให้สามารถคิดวิเคราะห์และใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมได้โดยการตั้งคำถามเชิงปรัชญากับค่านิยมต่าง ๆ ที่ไม่ถูกต้องในสังคม


สร้างแรงจูงใจให้ทำสิ่งดี


การสร้างแรงจูงใจเป็นการเปลี่ยนกระบวนความคิดให้เห็นคุณค่าและประโยชน์ของการมีคุณธรรมจริยธรรมพ่อแม่สามารถสร้างแรงจูงใจให้ลูกเป็นคนดีมีคุณธรรมได้โดย

  • การสั่งสอนอบรมโดยสามารถอ้างอิงจากหลักคำสอนทางศาสนามาอธิบายให้เห็นอย่างเป็นรูปธรรม หรือการสอนอย่างเป็นธรรมชาติผ่านข่าวสารที่เกิดขึ้นรอบตัว
  • การเห็นแบบอย่าง โดยคนในครอบครัวต้องเป็นแบบอย่างชีวิตในการทำดีและยืนหยัดในคุณธรรมหรือชี้นำให้เรียนแบบอย่างบุคคลสำคัญที่กระทำความดีงามใน
  • การให้รางวัลเมื่อทำความดี เป็นการสร้างแรงจูงใจอย่างหนึ่ง เพื่อให้เห็นว่าการทำความดีนั้นเป็นสิ่งที่น่ายกย่องและภาคภูมิใจ


สร้างช่องทางให้ทำดี


การปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมให้สัมฤทธิ์ผลได้นั้น นอกจากการสร้างค่านิยมและแรงจูงใจที่ถูกต้องในการทำความดีแล้ว พ่อแม่ควรสร้างช่องทางต่าง ๆ ที่หลากหลายในการทำความดีให้กับลูกอย่างเป็นรูปธรรมด้วยเช่นกัน อาทิ


สนับสนุนให้ลูกเข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมการทำความดี
พ่อแม่ไม่ควรมุ่งเน้นให้ลูกเอาแต่เรียนหนังสือเพียงอย่างเดียว แต่ควรสนับสนุนให้ลูกได้เข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ เช่น กิจกรรมอาสาสมัคร กิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ หรือชมรมต่าง ๆ ในการช่วยเหลือสังคม


นำลูกให้มีส่วนร่วมในการเรียกร้องคุณธรรมจริยธรรมในสังคม
เมื่อเห็นความไม่ชอบมาพากล ความตกต่ำทางคุณธรรมจริยธรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในสังคม ควรพาลูกให้มีส่วนร่วม ตัวอย่างเช่น ร่วมลงชื่อรณรงค์ต่อต้านเรื่องการเปิดร้านจำหน่ายสุราบริเวณใกล้เคียงกับสถานศึกษา เป็นต้น


hellip;สร้างกิจกรรมส่งเสริมการทำความดีภายในบ้าน พ่อแม่สามารถสร้างบรรยากาศการทำดีภายในบ้านโดยการสร้างสรรค์กิจกรรมส่งเสริมการทำความดีต่าง ๆ อาทิ กิจกรรมสะสมดาวรักษ์ความดี โดยเมื่อลูกทำความดี 1 อย่าง เช่น ช่วยเหลืองานบ้าน ช่วยดูแลน้อง จะได้รับดาวไปสะสม 1 ดวง และสามารถนำมาแลกเป็นรางวัลได้ในทุก ๆ สิ้นเดือน เป็นต้น


การปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมให้กับประชาชนในประเทศได้อย่างประสบความสำเร็จนั้น จำเป็นต้องสร้างขึ้นตั้งแต่ในวัยเยาว์ให้เด็กและเยาวชนเกิดความตระหนักในเรื่องนี้อย่างแท้จริง "สถาบันครอบครัว" จึงนับเป็นสถาบันลำดับแรกสุดที่สำคัญในการหล่อหลอมคุณธรรมจริยธรรมให้เกิดขึ้นแก่เด็กและเยาวชนที่จะเติบโตเป็นกำลังสำคัญของประเทศชาติต่อไปในอนาคต

Authors

Keywords:

การปลูกฝัง, คุณธรรมจริยธรรม, สังคมไทย

Abstract

          บทความนี้มีวัตถุประสงค์ของการศึกษาอยู่ 3 ประการคือ (1) เพื่อศึกษาถึง การปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมในสังคมไทยและในต่างประเทศ (2) เพื่อศึกษาถึง แนวทางการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมสำหรับสังคมไทย (3) เพื่อนำเสนอรูปแบบสำหรับการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมในสังคมไทย โดยในการศึกษาครั้งนี้ ใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการวิเคราะห์สังเคราะห์เอกสาร ข้อค้นพบจากงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ส่วนกลุ่ม เป้าหมาย ได้แก่ รายงานงานวิจัย บทความทางวิชาการ ตลอดจนหนังสือที่เกี่ยวข้อง ซึ่งนำมาจัดหมวดหมู่ตามประเด็นความสำคัญและนำเสนอข้อมูลด้วยการเขียนเชิงพรรณนา          จากการวิเคราะห์สังเคราะห์พบว่า 1) การปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมในสังคมไทยและในต่างประเทศ มีวิธีการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมที่จำแนกได้เป็น 2 ประเด็น คือ การปลูกฝังในหลักสูตรการศึกษาและการปลูกฝังโดยสถาบันครอบครัว 2) แนวทางในการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมสำหรับสังคมไทยมีแนวทางที่สามารถนำมาปรับใช้ 3 แนวทาง คือ การปลูกฝังในหลักสูตรสถาบันการศึกษา การปลูกฝังในสถาบันทางสังคม และการใช้หลักศาสนาในการช่วยขัดเกลาคุณธรรมจริยธรรม 3) รูปแบบสำหรับการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมในสังคมไทย ได้แก่ การปฏิรูปหลักสูตรการศึกษา การร่วมมือกันโดยการปลูกฝังในสถาบันครอบครัว การส่งเสริมด้านการปฏิบัติและการเป็นแบบอย่างที่ดี และการมีส่วนร่วมขององค์กรภาครัฐและเอกชนในการกำหนดแนวในการศึกษา           This article has three purposes of study, which are (1) to study the indoctrination of morality and ethics in Thai society and abroad, (2) to study the guidelines for the indoctrination of morality and ethics for Thai society, and (3) to propose the moral establishing model for development in Thai society. In this study, the data collection method was performed by document synthesis and analysis as well as collecting findings from related research. The target group was research reports, academic articles, and associated books, which will be categorized according to the essential issues and presented with descriptive writing.          From the synthetic and analysis, it can be found that 1) indoctrination of morality and ethics in Thai society and abroad can be categorized into two main issues, which are the indoctrination in the educational curriculum and family institutions, 2) there are three guidelines for indoctrination of morality and ethics for Thai society that can be applied, they are, to be indoctrinated through the educational curriculum, social institutions, and the use of religious principles to help refine morality and ethics, and 3) model for moral and ethical development in Thai society are educational curriculum reformation, the collaboration by indoctrinated family institutions, ethical practices, and role model promotion, and the participation of public and private organizations in establishing educational guidelines.

วิธีการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์คืออะไร

ปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมให้เด็กไทย.
การสั่งสอนอบรมโดยสามารถอ้างอิงจากหลักคำสอนทางศาสนามาอธิบายให้เห็นอย่างเป็นรูปธรรม หรือการสอนอย่างเป็นธรรมชาติผ่านข่าวสารที่เกิดขึ้นรอบตัว.
การเห็นแบบอย่าง โดยคนในครอบครัวต้องเป็นแบบอย่างชีวิตในการทำดีและยืนหยัดในคุณธรรมหรือชี้นำให้เรียนแบบอย่างบุคคลสำคัญที่กระทำความดีงามใน.

คุณธรรมและจริยธรรมที่ควรปลูกฝังมีกี่ประการ

การปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ช่วยพัฒนาคุณภาพจิตใจผู้เรียนให้ยกระดับขึ้น คุณธรรม 4 ประการที่ควรปลูกฝังในผู้เรียน คือ การรักษาความสัตย์, การรู้จักข่มใจตนเอง, การอดทน อดกลั้น และอดออม และการรู้จักละวางความชั่ว

เพราะเหตุใดจึงต้องปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม

คุณธรรมจริยธรรมนับเป็นกลไกของสังคมที่ท าหน้าที่เป็นบรรทัดฐานของ ความประพฤติ เป็นสิ่งที่ก าหนดว่าอะไรควรประพฤติปฏิบัติและจะต้องปลูกฝัง ให้กับคนในสังคม เพราะหากคนในสังคมเป็นคนดีแล้ว สังคมก็จะมีความสุขแต่ ถ้าคนในสังคมไม่ดีก็จะมีความวุ่นวายเดือดร้อน ฉะนั้นแล้วคุณธรรมจริยธรรมจึง เปรียบเสมือนเครื่องมือที่ช่วยในการเตือนสติการ ...

คุณธรรมและจริยธรรมข้อใดบ้างที่นักเรียนคิดว่าควรปลูกฝังให้คนไทย

๙ คุณธรรมพื้นฐาน.
๑. ขยัน มีความตั้งใจเพียรพยายาม ทำหน้าที่การงานอย่างจริงจังและต่อเนื่องในเรื่องที่ถูกที่ควรสู้งาน มีความพยายาม ไม่ท้อถอย กล้าเผชิญอุปสรรค รักงานที่ทำ ตั้งใจทำหน้าที่อย่างจริงจัง.
๒. ประหยัด ... .
๓. ซื่อสัตย์ ... .
๔. มีวินัย ... .
๕. สุภาพ ... .
๖. สะอาด ... .
๗. สามัคคี ... .
๘. มีน้ำใจ.