แกนลวดเชื่อมเหล็กมีหน้าที่อย่างไร

วัสดุที่นิยมใช้ในงานเชื่อมเกี่ยวกับโลหะ มีส่วนประกอบสำคัญนั่นก็คือ “ลวดเชื่อม” ซึ่งวัสดุชิ้นนี้ไม่เหมือนกับลวดทั่วไป เพราะจะใช้เพื่อวัตถุประสงค์ในการเป็นตัวช่วยประสานชิ้นงานสองชิ้นเข้าด้วยกัน ผ่านลวดที่หลอมเหลว ชิ้นงานจะติดกันได้อย่างคงทน และมีความแข็งแรงสูง สามารถนำไปใช้งานเพื่อรับแรงหนักๆ ได้ และคงรูปได้นาน

6 ชนิดของลวดเชื่อมที่ช่างเชื่อมนิยมใช้ มีดังนี้

  1. ลวดเชื่อมแบบธูป – เป็นลวดเชื่อมไฟฟ้า ลักษณะด้านนอกจะเคลือบด้วยสารที่เรียกว่า Flux ลักษณะของลวดเหมือนธูปที่เราใช้จุดไหว้พระทั่วไป แกนกลางด้านในลวดเป็นโลหะ มีหลายชนิด เช่น ลวดเชื่อมสแตนเลส, ลวดเชื่อมเหล็ก เป็นต้น ลวดในกลุ่มนี้ราคาไม่สูง จึงได้รับความนิยมใช้งานอย่างแพร่หลาย มีขนาดตั้งแต่ 2.00, 2.6, 3.2, 4.0, 5.0 และ 6.0 หน่วยเป็นมิลลิเมตร
  2. ลวดเชื่อมแบบไส้ฟลักซ์ – ลวดเชื่อมชนิดนี้เป็นลวดที่ใช้เชื่อมโลหะ มีแกนกลางกลวง ภายในจะประกอบด้วยสารพอก ลักษณะคล้ายกับสารเคลือบของลวดเชื่อมชนิดแรก แต่กลับกันคือย้ายมาอยู่เป็นสารบรรจุอยู่ภายในช่องกลวงๆ นั้นแทน ลวดชนิดนี้มีราคาสูง แต่เมื่อเทียบกับแบบแรกแล้วถือว่ามีคุณภาพในการใช้งานที่ดีเยี่ยมสมราคา สามารถทำให้งานเชื่อมออกมาดี ได้ความสวยงามและเนี๊ยบเป็นพิเศษ
  3. ลวดเชื่อมแบบมิก หรือแบบ Co2 – เป็นลวดเชื่อมชนิดโลหะ เปลือกด้านนอกไม่สารพอก หรือที่เรียกกันว่าสารเคลือบ ลักษณะของลวดแบบนี้คือเชื่อมงานได้รวดเร็ว ราคาลวดไม่แพง ดังนั้นจึงเหมาะกับชิ้นงานที่ต้องการให้มีต้นทุนต่ำ
  4. ลวดเชื่อมแบบอาร์กอน – เรียกอีกชื่อกหนึ่งว่าลวดเชื่อมทิก ตัวลวดเชื่อมจะเปลือยเป็นเส้น มีความยาวเส้นละ 1 เมตร ไม่ได้ถูกผลิตออกมาเป็นม้วนเหมือนลวดเชื่อมแบบมิก เน้นการใช้งานในกลุ่มการเชื่อมที่ต้องการความละเอียดสูง มีให้เลือกหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นสแตนเลส, อลูมิเนียม, เหล็ก, ทองเหลือง และโลหะในกลุ่มอื่นอีกมากมาย
  5. ลวดเชื่อมแบบเซาะร่อง – หรือรู้จักกันในชื่อว่าลวดเชื่อมเกาจ์ ลวดชนิดนี้มีความพิเศษ เพราะใช้ในการแก้ปัญหากำจัดเอาเนื้อโลหะที่ผ่านการเชื่อมไม่ได้คุณภาพให้หลุดออกจากชิ้นงาน นอกจากนี้ยังนิยมนำไปใช้เพื่อทำความสะอาดตามแนวเชื่อมในขั้นตอนการเตรียมชิ้นงานก่อนเข้าสู่การเชื่อมด้วย ไม่ว่าจะเป็นการเจาะรู, งานตัด หรืองานเซาะร่อง ที่ล้วนได้รับความนิยมใช้ ให้ผลงานที่มีประสิทธิภาพ
  6. ลวดเชื่อมชนิดพิเศษ – เป็นลวดเชื่อมที่ออกแบบมาเพื่อใช้งานในเฉพาะกลุ่มเท่านั้น อาทิเช่น ลวดเชื่อมเพื่อสำหรับการพอกผิวแข็ง, ลวดเชื่อมอินโคเนล, ลวดเชื่อมนิกเกิ้ลอัลลอยด์, ลวดเชื่อมไฟฟ้าอลูมิเนียม และลวดเชื่อมไฟฟ้าทองแดง ฯลฯ

อันตรายที่ต้องรู้จาก “ไฟอาร์ก”

ไฟอาร์กที่ประกายเป็นแสงจ้าสะท้อนสายตาเป็นสิ่งอันตรายที่พบกันได้ทั่วไป และทราบกันดีอยู่แล้วในกลุ่มช่างว่าประกายไฟที่เกิดขึ้นในขั้นตอนการเชื่อมนี้มีผลกระทบต่อดวงตาโดยตรงหากไม่มีเครื่องป้องกัน แต่สิ่งที่มีมากกว่านั้น คือแสงที่มองไม่เห็นอย่าง “อุลตร้าไวโอเลต” และ “แสงอินฟาเรด” ทั้งสองชนิดนี้ล้วนเป็นตัวการทำลายสภาพดวงตาได้ง่าย อีกทั้งยังมีผลต่อผิวหนัง ทำให้เกิดอาการไหม้

วิธีเชื่อมไฟฟ้าในกระบวนการทำงาน จึงต้องใช้อุปกรณ์ป้องกันให้ได้มาตรฐานอย่างเหมาะสม ซึ่งกระจกดำที่ใช้ทั่วไป หรือแว่นเชื่อมแก๊ส ไม่สามารถป้องกันรังสีเหล่านี้ได้ หากดวงตาได้รับรังสีทั้งสองชนิดพร้อมๆ กันเป็นเวลานาน จะทำให้รู้สึกระคายเคืองสายตา แสบตา และเกิดอาการตามัว โดยเฉพาะในช่างเชื่อมมือใหม่ที่ไม่เคยทำงานนี้มาก่อน การเปิดและปิดหน้ากากเชื่อม อาจเสี่ยงทำให้จังหวะพลาด จนสายตามองไปกระทบกับไฟอาร์กเข้า เมื่อบ่อยครั้งก็จะทำให้ปวดแสบปวดร้อนที่ดวงตา รู้สึกเหมือนมีเม็ดทรายอยู่ภายใน ต้องใช้เวลาในการรักษาอาการหลายวันกว่าจะหายเป็นปกติได้ อันตรายเหล่านี้รุนแรงมากขึ้นหากไม่ป้องกันให้ดี มีความประมาทต่ออุปกรณ์การใช้งาน ก็เสี่ยงที่จะแสบตาอย่างรุนแรงจนทำให้ตาบอดตามมาได้

ซึ่งสิ่งนี้จึงเป็นหนึ่งในเหตุผลที่สถานศึกษาต่างๆ จะต้องมีห้องเชื่อมพิเศษสำหรับทำงานโดยเฉพาะ ส่วนโรงงานอุตสาหกรรมเชื่อมเหล็กและโลหะ จะต้องมีอุปกรณ์เป็นฉากบัง เพื่อช่วยป้องกันอันตรายไม่ให้เกิดขึ้นกับคนที่ต้องทำงาน และกันคนนอกไม่ให้เข้าไปใกล้กระแสไฟอาร์ก เพราะคนที่ไม่รู้อาจมองไฟอาร์กด้วยตาเปล่าจนทำให้ดวงตาเกิดปัญหาตามมา

วัสดุที่นิยมใช้ในงานเชื่อมเกี่ยวกับโลหะ มีส่วนประกอบสำคัญนั่นก็คือ “ลวดเชื่อม” ซึ่งวัสดุชิ้นนี้ไม่เหมือนกับลวดทั่วไป เพราะจะใช้เพื่อวัตถุประสงค์ในการเป็นตัวช่วยประสานชิ้นงานสองชิ้นเข้าด้วยกัน ผ่านลวดที่หลอมเหลว ชิ้นงานจะติดกันได้อย่างคงทน และมีความแข็งแรงสูง สามารถนำไปใช้งานเพื่อรับแรงหนักๆ ได้ และคงรูปได้นาน

6 ชนิดของลวดเชื่อมที่ช่างเชื่อมนิยมใช้ มีดังนี้

  1. ลวดเชื่อมแบบธูป – เป็นลวดเชื่อมไฟฟ้า ลักษณะด้านนอกจะเคลือบด้วยสารที่เรียกว่า Flux ลักษณะของลวดเหมือนธูปที่เราใช้จุดไหว้พระทั่วไป แกนกลางด้านในลวดเป็นโลหะ มีหลายชนิด เช่น ลวดเชื่อมสแตนเลส, ลวดเชื่อมเหล็ก เป็นต้น ลวดในกลุ่มนี้ราคาไม่สูง จึงได้รับความนิยมใช้งานอย่างแพร่หลาย มีขนาดตั้งแต่ 2.00, 2.6, 3.2, 4.0, 5.0 และ 6.0 หน่วยเป็นมิลลิเมตร
  2. ลวดเชื่อมแบบไส้ฟลักซ์ – ลวดเชื่อมชนิดนี้เป็นลวดที่ใช้เชื่อมโลหะ มีแกนกลางกลวง ภายในจะประกอบด้วยสารพอก ลักษณะคล้ายกับสารเคลือบของลวดเชื่อมชนิดแรก แต่กลับกันคือย้ายมาอยู่เป็นสารบรรจุอยู่ภายในช่องกลวงๆ นั้นแทน ลวดชนิดนี้มีราคาสูง แต่เมื่อเทียบกับแบบแรกแล้วถือว่ามีคุณภาพในการใช้งานที่ดีเยี่ยมสมราคา สามารถทำให้งานเชื่อมออกมาดี ได้ความสวยงามและเนี๊ยบเป็นพิเศษ
  3. ลวดเชื่อมแบบมิก หรือแบบ Co2 – เป็นลวดเชื่อมชนิดโลหะ เปลือกด้านนอกไม่สารพอก หรือที่เรียกกันว่าสารเคลือบ ลักษณะของลวดแบบนี้คือเชื่อมงานได้รวดเร็ว ราคาลวดไม่แพง ดังนั้นจึงเหมาะกับชิ้นงานที่ต้องการให้มีต้นทุนต่ำ
  4. ลวดเชื่อมแบบอาร์กอน – เรียกอีกชื่อกหนึ่งว่าลวดเชื่อมทิก ตัวลวดเชื่อมจะเปลือยเป็นเส้น มีความยาวเส้นละ 1 เมตร ไม่ได้ถูกผลิตออกมาเป็นม้วนเหมือนลวดเชื่อมแบบมิก เน้นการใช้งานในกลุ่มการเชื่อมที่ต้องการความละเอียดสูง มีให้เลือกหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นสแตนเลส, อลูมิเนียม, เหล็ก, ทองเหลือง และโลหะในกลุ่มอื่นอีกมากมาย
  5. ลวดเชื่อมแบบเซาะร่อง – หรือรู้จักกันในชื่อว่าลวดเชื่อมเกาจ์ ลวดชนิดนี้มีความพิเศษ เพราะใช้ในการแก้ปัญหากำจัดเอาเนื้อโลหะที่ผ่านการเชื่อมไม่ได้คุณภาพให้หลุดออกจากชิ้นงาน นอกจากนี้ยังนิยมนำไปใช้เพื่อทำความสะอาดตามแนวเชื่อมในขั้นตอนการเตรียมชิ้นงานก่อนเข้าสู่การเชื่อมด้วย ไม่ว่าจะเป็นการเจาะรู, งานตัด หรืองานเซาะร่อง ที่ล้วนได้รับความนิยมใช้ ให้ผลงานที่มีประสิทธิภาพ
  6. ลวดเชื่อมชนิดพิเศษ – เป็นลวดเชื่อมที่ออกแบบมาเพื่อใช้งานในเฉพาะกลุ่มเท่านั้น อาทิเช่น ลวดเชื่อมเพื่อสำหรับการพอกผิวแข็ง, ลวดเชื่อมอินโคเนล, ลวดเชื่อมนิกเกิ้ลอัลลอยด์, ลวดเชื่อมไฟฟ้าอลูมิเนียม และลวดเชื่อมไฟฟ้าทองแดง ฯลฯ

อันตรายที่ต้องรู้จาก “ไฟอาร์ก”

ไฟอาร์กที่ประกายเป็นแสงจ้าสะท้อนสายตาเป็นสิ่งอันตรายที่พบกันได้ทั่วไป และทราบกันดีอยู่แล้วในกลุ่มช่างว่าประกายไฟที่เกิดขึ้นในขั้นตอนการเชื่อมนี้มีผลกระทบต่อดวงตาโดยตรงหากไม่มีเครื่องป้องกัน แต่สิ่งที่มีมากกว่านั้น คือแสงที่มองไม่เห็นอย่าง “อุลตร้าไวโอเลต” และ “แสงอินฟาเรด” ทั้งสองชนิดนี้ล้วนเป็นตัวการทำลายสภาพดวงตาได้ง่าย อีกทั้งยังมีผลต่อผิวหนัง ทำให้เกิดอาการไหม้

วิธีเชื่อมไฟฟ้าในกระบวนการทำงาน จึงต้องใช้อุปกรณ์ป้องกันให้ได้มาตรฐานอย่างเหมาะสม ซึ่งกระจกดำที่ใช้ทั่วไป หรือแว่นเชื่อมแก๊ส ไม่สามารถป้องกันรังสีเหล่านี้ได้ หากดวงตาได้รับรังสีทั้งสองชนิดพร้อมๆ กันเป็นเวลานาน จะทำให้รู้สึกระคายเคืองสายตา แสบตา และเกิดอาการตามัว โดยเฉพาะในช่างเชื่อมมือใหม่ที่ไม่เคยทำงานนี้มาก่อน การเปิดและปิดหน้ากากเชื่อม อาจเสี่ยงทำให้จังหวะพลาด จนสายตามองไปกระทบกับไฟอาร์กเข้า เมื่อบ่อยครั้งก็จะทำให้ปวดแสบปวดร้อนที่ดวงตา รู้สึกเหมือนมีเม็ดทรายอยู่ภายใน ต้องใช้เวลาในการรักษาอาการหลายวันกว่าจะหายเป็นปกติได้ อันตรายเหล่านี้รุนแรงมากขึ้นหากไม่ป้องกันให้ดี มีความประมาทต่ออุปกรณ์การใช้งาน ก็เสี่ยงที่จะแสบตาอย่างรุนแรงจนทำให้ตาบอดตามมาได้

ซึ่งสิ่งนี้จึงเป็นหนึ่งในเหตุผลที่สถานศึกษาต่างๆ จะต้องมีห้องเชื่อมพิเศษสำหรับทำงานโดยเฉพาะ ส่วนโรงงานอุตสาหกรรมเชื่อมเหล็กและโลหะ จะต้องมีอุปกรณ์เป็นฉากบัง เพื่อช่วยป้องกันอันตรายไม่ให้เกิดขึ้นกับคนที่ต้องทำงาน และกันคนนอกไม่ให้เข้าไปใกล้กระแสไฟอาร์ก เพราะคนที่ไม่รู้อาจมองไฟอาร์กด้วยตาเปล่าจนทำให้ดวงตาเกิดปัญหาตามมา