ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี มีชื่อเดิมว่าอะไร

เนื่องใน "วันศิลป์ พีระศรี" ที่ตรงกับวันที่ 15 กันยายนของทุกปี ชวนลูกหลานสายศิลปะชาวไทย มาย้อนรอยรำลึกอัตชีวประวัติของ "ศิลป์ พีระศรี" อาจารย์ชาวอิตาลีสัญชาติไทย ที่เข้ารับราชการในไทยตั้งแต่สมัย ร.6 ซึ่งท่านได้สร้างผลงานด้านจิตรกรรมและประติมากรรมไว้ในแผ่นดินสยามมากมาย

บางชิ้นงานคุณอาจไม่เคยรู้มาก่อนว่าเป็นผลงานของอาจารย์ท่านนี้ จากวันนั้นถึงวันนี้ ครบรอบวันเกิดของอาจารย์ศิลป์ พีระศรี มาแล้ว 129 ปี กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ ชวนคุณมารู้จักอาจารย์ท่านนี้ให้มากขึ้น

1. “ศิลป์ พีระศรี” เป็นใคร? 

ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี เกิดเมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2435 เดิมชื่อ “คอร์ราโด เฟโรชี” (Corrado Feroci) เป็นประติมากรชาวอิตาลี จากเมืองฟลอเรนซ์ ที่เข้ามารับราชการในประเทศไทยตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 6 โดยถือเป็นปูชนียบุคคลคนหนึ่งของไทย ที่ได้สร้างคุณูปการในทางศิลปะ และมีผลงานที่เป็นที่กล่าวขานจนเป็นที่รู้จักกว้างขวาง 

ทั้งยังเป็นผู้ก่อตั้งและอาจารย์สอนวิชาศิลปะที่โรงเรียนประณีตศิลปกรรม ซึ่งภายหลังได้รับการยกฐานะให้เป็น “มหาวิทยาลัยศิลปากร” โดยดำรงตำแหน่งคณบดีของคณะจิตรกรรม ม.ศิลปากร เป็นคนแรก และท่านมีสุภาษิตติดปากที่นำมาสอนแก่ลูกศิษย์เสมอ นั่นคือ "ศิลปะยืนยาว ชีวิตสั้น" ต่อมาสุภาษิตนี้ได้กลายเป็นคำขวัญของมหาวิทยาลัยศิลปากร

ด้วยคุณูปการนี้ ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี จึงได้รับการยกย่องให้เป็นปูชนียบุคคลของมหาวิทยาลัยศิลปากร และได้รับยกย่องว่าเป็น “บิดาแห่งศิลปะร่วมสมัย” ของประเทศไทย ต่อมามีการกำหนดให้วันที่ 15 กันยายน ของทุกปีเป็น “วันศิลป์ พีระศรี” เพื่อระลึกถึงคุณงามความดีที่มีต่อมหาวิทยาลัยและประเทศไทย

2. ช่วงชีวิตวัยหนุ่มของ “ศิลป์ พีระศรี”

ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี หรือ “คอร์ราโด” เกิดที่เมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี เป็นบุตรของ “นายอาตูโด เฟโรชี” และ “นางซานตินา เฟโรชี”  ซึ่งประกอบธุรกิจการค้า และเนื่องจากเกิดและอาศัยอยู่ ณ เมืองฟลอเรนซ์ นครแห่งศิลปะเรอเนซองส์ คอร์ราโดจึงมีความสนใจในวิชาศิลปะมาตั้งแต่วัยเด็ก

โดยเขาชื่นชอบผลงานประติมากรรมของ “มิเกลันเจโล” และ “โลเรนโซ กีแบร์ตี” เป็นอย่างมาก จึงได้สมัครเป็นลูกมือช่วยงานศิลปินที่มีชื่อเสียงตามสตูดิโอต่างๆ ในเมืองฟลอเรนซ์ 

อีกทั้งเขาได้เก็บสะสมเงินและเข้าศึกษาใน “สถาบันศิลปแห่งนครฟลอเรนซ์” (Accademia di Belle Arti di Firenze) หลักสูตร 7 ปี และจบการศึกษาในปี พ.ศ. 2458 ในขณะที่มีอายุ 23 ปีด้วย “เกียรตินิยมอันดับที่หนึ่ง” และได้รับประกาศนียบัตรช่างปั้นช่างเขียน ต่อมาได้สอบคัดเลือกและได้รับตำแหน่งเป็นศาสตราจารย์

3. ผลงานน่าทึ่งของ “คอร์ราโด” ในช่วงเริ่มอาชีพศิลปิน

ศาสตราจารย์คอร์ราโดมีความรอบรู้ทางด้านประวัติศาสตร์ศิลปะ วิจารณ์ศิลป์ และปรัชญา โดยเฉพาะมีความสามารถทางด้านศิลปะแขนงประติมากรรมและจิตรกรรมเป็นอย่างสูง ได้สร้างสรรค์ผลงานศิลปะไว้มากมาย และได้รับรางวัลชนะเลิศการประกวดออกแบบอนุสาวรีย์จากรัฐบาลหลายครั้ง เช่น ผลงานอนุสาวรีย์ผู้กล้าในสงครามโลกครั้งที่ 1 บนเกาะเอลบา และต่อมาในปี พ.ศ. 2466 ศาสตราจารย์คอร์ราโดได้ชนะการประกวดการออกแบบเหรียญเงินตราสยามที่จัดขึ้นในยุโรป เป็นต้น 

4. การเข้ารับราชการในแผ่นดินสยาม

ครั้งหนึ่ง ศาสตราจารย์คอร์ราโดมีความต้องการแสวงหาสถานที่ปฏิบัติงานแห่งใหม่ ในช่วงเวลานั้นตรงกับรัชกาลที่ 6 ของประเทศไทย ซึ่งพระองค์ มีพระราชประสงค์ต้องการบุคลากรที่เชี่ยวชาญในด้านศิลปะตะวันตก 

เพื่อที่จะเข้ามารับราชการเป็นช่างปั้นในแผ่นดินไทย และทำการฝึกสอนช่างไทยให้มีความสามารถในการสร้างงานประติมากรรมแบบตะวันตกได้ 

ทางรัฐบาลอิตาลีจึงได้ยื่นข้อเสนอโดยการส่งคุณวุฒิและผลงานของศาสตราจารย์คอร์ราโดให้สยามพิจารณา ในที่สุดศาสตรจารย์คอร์ราโดก็ได้รับการคัดเลือกให้มาปฏิบัติงานในสยาม เขาและครอบครัวจึงเดินทางมายังสยามเพื่อเข้ามารับราชการเป็นช่างปั้นประจำกรมศิลปากร กระทรวงวัง เมื่อวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2466 ขณะมีอายุได้ 32 ปี และได้รับการแต่งตั้งให้เป็นอาจารย์สอนวิชาช่างปั้นหล่อ แผนกศิลปากรสถานแห่งราชบัณฑิตยสภา ในปี พ.ศ. 2469 

เมื่อแรกเริ่มการเข้ารับราชการ ศาสตาจารย์คอร์ราโดทำสัญญารับราชการในสยามเป็นระยะเวลา 3 ปี ด้วยอัตราเงินเดือน 800 บาท 

5. อาจารย์ฝรั่งคนแรกที่คิดหลักสูตรการเรียนศิลปะในไทย

ศาสตราจารย์คอร์ราโด ได้วางหลักสูตรอบรมให้แก่ผู้ที่สนใจในวิชาประติมากรรม โดยไม่เก็บค่าธรรมเนียมใดๆ ซึ่งต่อมาบุคคลที่ผ่านการอบรม ก็ได้เป็นหนึ่งในกำลังสำคัญของกิจการงานปั้นหล่อของกรมศิลปากร ทำให้ทางราชการได้ขอให้ศาสตราจารย์คอร์ราโดวาง “หลักสูตรการศึกษา” รูปแบบเดียวกันกับสถาบันศิลปะในยุโรป

ศาสตรจารย์คอร์ราโดจึงได้วางหลักสูตรวิชาจิตรกรรมและประติมากรรมขึ้น เพื่อใช้ในโรงเรียนประณีตศิลปกรรม สังกัดกรมศิลปากร ภายหลังได้เปลี่ยนชื่อเป็น “โรงเรียนศิลปากรแผนกช่าง” และพัฒนาการเรียนการสอนเรื่อยมา ต่อมาโรงเรียนนี้ถูกยกฐานะขึ้นเป็น มหาวิทยาลัยศิลปากร เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2486 โดยได้จัดตั้งคณะจิตรกรรมขึ้นมา และศาสตราจารย์คอร์ราโดก็ได้ดำรงตำแหน่งคณบดีคนแรกของคณะจิตรกรรมด้วย

6. การได้รับสัญชาติไทยของอาจารย์ศิลป์

ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 พ.ศ. 2485 ประเทศอิตาลียอมจำนนต่อฝ่ายสัมพันธมิตร ชาวอิตาลีในไทยจึงตกอยู่ภายใต้การควบคุมตัวของญี่ปุ่น ครั้งนั้น.. ศาสตราจารย์คอร์ราโดเกือบจะโดนควบคุมตัวไปเป็นเชลยศึกด้วย แต่ทางการไทยนำโดย “หลวงวิจิตรวาทการ” เล็งเห็นว่าท่านได้สร้างคุณูปการให้แก่ประเทศไทยอย่างมาก จึงได้ดำเนินการโอนสัญชาติจากสัญชาติอิตาลีมาเป็นสัญชาติไทย โดยเปลี่ยนชื่อของท่านจากนายคอร์ราโด เฟโรจี ให้มาเป็น "นายศิลป์ พีระศรี" นับแต่นั้นเป็นต้นมา

ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี อุทิศชีวิตให้กับวงการศิลปะไทยเรื่อยมาจนถึง พ.ศ. 2505 ท่านได้ล้มป่วยลงด้วยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ และได้ถึงแก่อนิจกรรม ในวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2505 ที่โรงพยาบาลศิริราช ด้วยภาวะหัวใจล้มเหลว หลังการผ่าตัดรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่ สิริอายุได้ 69 ปี 241 วัน 

อัฐิของท่านถูกแยกไปเก็บไว้ 3 ส่วนด้วยกัน คือ ส่วนแรกเก็บที่สุสานชิมิเตโร เดญลี อัลลอรี เมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี ส่วนที่สองถูกบรรจุในอนุสาวรีย์ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ณ ลานศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ณ ม.ศิลปากร และส่วนที่สามถูกเก็บไว้ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ศิลป์ พีระศรี อนุสรณ์ ในกรมศิลปากร

7. ผลงานของอาจารย์ “ศิลป์ พีระศรี”

ในช่วงบั้นปลายชีวิตก่อนจะถึงแก่อนิจกรรม อาจารย์ศิลป์ได้อุทิศเวลาที่เหลือให้กับวงการศิลปะไทย ทั้งการสอน การสร้างสรรค์ผลงาน รวมไปถึงการได้ศึกษาศิลปะไทยอย่างลึกซึ้ง เพื่อการสร้างสรรค์งานศิลปะไทยสมัยใหม่ที่ควรจะมีเอกลักษณ์ของไทยไว้ให้สืบต่อไป แม้ความรู้ด้านศิลปะตะวันตกเริ่มแพร่หลายแล้วก็ตาม

ตลอดชั่วชีวิตการทำงานกว่า 39 ปีในประเทศไทย อาจารย์ศิลป์ พีระศรี ได้รับหน้าที่ออกแบบปั้นและควบคุมการหล่อพระบรมราชานุสาวรีย์และอนุสาวรีย์สำคัญของไทยจำนวนมาก และมีผลงานที่โดดเด่นมากมาย ได้แก่

ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี เดินทางมาจากประเทศใด

ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ได้ออกเดินทางโดยทางเรือจากประเทศอิตาลีถึงกรุงสยาม ในราวต้นเดือนมกราคม พ.. 2466 อายุได้ 31 ปี เข้ารับราชการในตำแหน่งช่างปั้นของกรมศิลปากร กระทรวงวัง เมื่อวันที่ 14 มกราคม ปีเดียวกัน โดยมีสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ศิลปินเอกแห่งกรุงสยามเป็นองค์อุปถัมภ์

ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี ได้ถึงแก่กรรมในปี พ.ศ อะไร

ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ถึงแก่กรรมด้วยโรคหัวใจและโรคเนื้องอกในลำไส้ที่โรงพยาบาลศิริรราช เมื่อคืนวันที่ 14 พฤษภาคม .. 2505 รวมอายุได้ 69 ปี 7 เดือน 29 วัน ท่านได้อุทิศตนให้กับราชการไทยเป็นเวลาทั้งสิ้น 38 ปี 4 เดือน

ท่านอาจารย์ศิลป์ พีระศรี ได้รับการเปลี่ยนชื่อเมื่อใด

ทางฝ่ายรัฐบาลไทยได้พยายามหาหนทางช่วยโดยเจรจากับฝ่ายญี่ปุ่นขอให้ทางการไทยเป็นผู้ควบคุมตัว และเพื่อเป็นการตัดปัญหาทั้งหมดทางกรมศิลปากรจึงจัดการให้อาจารย์ฝรั่งโอนสัญชาติมาเป็นไทย และเปลี่ยนชื่อจาก “คอร์ราโด เฟโรจี” เป็น ศิลป์ พีระศรี ในปี พ.ศ. 2487.

อาจารย์ศิลป์ พีระศรี ได้ถูกขนานนามว่าอย่างไร

ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี บิดาแห่งวงการศิลปะ