รำมีรูปแบบการแสดงอย่างไรบ้าง

        เป็นการแสดงพื้นเมืองที่เกิดขึ้นในชนบทของทุกภาคของประเทศไทย สะท้อนให้เห็นวัฒนธรรม และสภาพของสังคม รวมทั้งการดำรงชีวิตความเป็นอยู่ในแต่ละท้องถิ่น ที่มีความแตกต่างกันตามลักษณะภูมิอากาศ ออกมาเป็นการแสดงในรูปแบบของการละเล่นกันในกลุ่มชนเพื่อพิธีการ เพื่อความสนุกสนาน หรือเพื่อเทศกาลที่สำคัญๆ ได้แก่

รูปแบบการแสดง รำ ระบำ ละคร

พฤศจิกายน 20, 2555



รูปแบบการแสดง
รำ  ระบำ  ละคร

          รำ   ระบำ  ละคร  เป็นรูปแบบการแสดงนาฏศิลป์ไทยอันมีลีลาอ่อนช้อยงดงามตามลักษณะประณีตศิลป์  การแสดงรำ  และระบำ  เป็นพื้นฐานสำคัญส่วนหนึ่งในการแสดงละคร  ดังนั้น  รำ   ระบำ  ละคร   จึงมีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกันในเชิงศิลปะที่ควรแก่การศึกษา  สืบทอด  และอนุรักษ์

          รำ   ตามความหมายในพจนานุกรมฉบับราชบัฑิตยสถาน  พ.ศ. 2525  กล่าวว่า  “ รำ   เป็นคำกริยา  หมายถึง  การแสดงท่าเคลื่อนไหวคนเดียวหรือหลายคน  โดยมีลีลาและแบบท่าการเคลื่อนไหว  และมีจังหวะ  ลีลาเข้ากับเสียงที่ทำจังหวะเพลงร้องหรือเพลงดนตรี ”     ส่วนอาจารย์มนตรี  ตราโมท  ได้ให้ความหมายของ รำ  ว่า  “ รำ  เป็นกริยา  หมายถึงอากัปกริยลีลาท่าทางการเคลื่อนไหวของมนุษย์  โดยใช้ใบหน้า  ลำตัว  แขน  ขา  ฯลฯ  เป็นสื่อความหมายในลักษณะที่อ่อนช้อย  นุ่มนวล  งดงาม     นอกจากนี้ อาภรณ์   มนตรีศาสตร์  และจาตุรงค์  มนตรีศาสตร์  ได้กล่าวถึงคำว่า  รำ  ไว้ในหนังสือวิชานาฏศิลป์ว่า  “ รำ  หมายถึง  ศิลปะแห่งการรำเดี่ยว รำคู่  จะรำประกอบอาวุธรำทำบท  หรือรำใช้บทที่หนักไปทางเต้นก็มี  เช่น  รำโคม  รำในความหมายต่อมา  คือ  รำละคร     ดังนั้นกล่าวได้ว่า  รำ  เป็นกริยา  ลีลา  ท่าทาง  การเคลื่อนไหวของมนุษย์  อย่างมีจังหวะลีลาเข้ากับลียงเพลงหรือ ดนตรี ในลักษณะอ่อนช้อยงดงาม  โดยสามารถสื่อความหมายได้
                   รำ  แบ่งออกตามลักษณะสำคัญได้  2 ประเภท  คือ
                             1.  รำเดี่ยว   คือ      การรำที่มีผู้แสดงรำเพียงคนเดียว   ได้แก่  รำฉุยฉายต่าง ๆ  อาทิ

- รำฉุยฉายพราหมณ์
- รำฉุยฉายเบญกาย
- รำฉุยฉายวันทอง  เป็นต้น

รำมีรูปแบบการแสดงอย่างไรบ้าง

รำฉุยฉายเบญกาย 

                                         ที่มาของภาพ http://www.gotoknow.org/blogs/posts/136894


                             2. รำคู่    คือ   การรำที่ใช้ผู้แสดง 2 คน  นิยมใช้ในการเบิกโรง  เช่น

- รำแม่บท 

- รำกิ่งไม้เงินทอง 


- รำประเลง 

- รำอวยพร     เป็นต้น

รำมีรูปแบบการแสดงอย่างไรบ้าง

                                                         รำคู่ ชุดรำประเลง

                 ที่มาของภาพ http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=rouenrarai&month=18-02-2011&group=13&gblog=22

           ระบำ  คำว่าระบำพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน  พ.ศ.2525  ให้ความหมายว่า  หมายถึง  “การฟ้อนรำเป็นชุดกัน   ทั้งนี้  เรณู  โกศินานนท์  และคณะได้กล่าวถึง  ความหมายของคำว่า  ระบำ ไว้ในหนังสือ  ดนตรีศึกษาว่า  “ระบำ  หมายถึง  การแสดงที่ใช้คนเป็นจำนวนมากกว่า  2  คนขึ้นไป  มีทั้งเนื้อร้องและไม่มีเนื้อร้อง  ใช้เพียงดนตรีประกอบการร่ายรำ   ส่วนอาภรณ์  มนตรีศาสตร์  และ  จาตุรงค์  มนตรีศาสตร์  กล่าวในหนังสือวิชานาฏศิลป์ว่า  “ระบำ  หมายถึง ศิลปะของการร่ายรำที่แสดงพร้อมกันเป็นหมู่เป็นชุดกัน  ไม่ดำเนินเรื่องราว  ท่าทางที่กรีดกรายร่ายรำบางอย่างอาจไม่มีความหมายอะไร  นอกจากความสวยงาม  แต่บางครั้งก็มีความหมายตามท่าทีและบทร้อง   กล่าวได้ว่า  ระบำ  คือการฟ้อนรำเพียงเพื่อความงดงามของศิลปะการรำและความรื่นเริงบันเทิงใจ  ไม่มีการดำเนินเป็นเรื่องราว
          ระบำจำแนกออกได้เป็น  2  ประเภท  คือ

1.ระบำมาตรฐาน  หมายถึง  การแสดงที่มีลักษณะการแต่งกายยืนเครื่อง  พระ  นาง (แต่เดิมตัวพระสวมเสื้อแขนยาว ปัจจุบันตัวพระละครนิยมใส่เสื้อแขนสั้น)  ตลอดจนท่ารำเพลงร้องและดนตรี  มีกำหนดไว้เป็นแบบแผนที่มีลักษณะเฉพาะตัว  เช่น  ระบำสี่บท  ต่อมามีผู้ประดิษฐ์ระบำซึ่งเลียนแบบระบำสี่บทขึ้นอีกหลายชุด  ได้แก่  ระบำย่องหงิด  ระบำดาวดึงส์  ระบำเทพบันเทิง  ระบำกฤดาภินิหาร


รำมีรูปแบบการแสดงอย่างไรบ้าง

                                                         


ระบำย่องหงิด



                          ที่มาของภาพ 


http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=rouenrarai&month=18-08-2011&group=15&gblog=24

           2.  ระบำเบ็ดเตล็ด  หมายถึง  การแสดงที่แต่งกายตามรูปแบบลักษณะการแสดงนั้นๆ  หรือการแสดงที่เป็นศิลปะเฉพาะท้องถิ่น  ต่อมามีผู้คิดแต่งเพลงและประดิษฐ์ท่ารำ  และระบำมากขึ้น  โดยนำมาประกอบการแสดงโขนหรือละครบ้าง  ประดิษฐ์ท่ารำเป็นชุดเบ็ดเตล็ดต่าง ๆ บ้าง  เช่น

ระบำชุดโบราณคดี             ระบำเริงอรุณ           ระบำดอกบัว
ระบำนพรัตน์                     ระบำสี่ภาค              ระบำชุมนุมเผ่าไทย
ระบำไตรภาคี                    ระบำตรีลีลา            ระบำไกรลาศสำเริง ฯลฯ 

รำมีรูปแบบการแสดงอย่างไรบ้าง

                                                             ระบำสี่ภาค

                                                 ที่มาของภาพ  

ichat.in.th


        นอกจากนี้ยังมีระบำที่คิดประดิษฐ์โดยเลียนอิริยาบถของสัตว์ต่าง ๆ  ในท่วงท่านาฏศิลป์  เช่น

ระบำมยุราภิรมย์                ระบำกุญชรเกษม               ระบำมฤคระเริง
ระบำบันเทิงกาสร               ระบำไก่                            ระบำนกสามหมู่
ระบำเงือก                        ระบำม้า                            ระบำกินรีร่อน  เป็นต้น

รำมีรูปแบบการแสดงอย่างไรบ้าง

ระบำกินรีร่อน

ที่มาของภาพ http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=abird&month=31-05-2010&group=35&gblog=30



ครั้นต่อมาเริ่มตั้งแต่ปี  พ.ศ.2498  ได้มีการจัดการแสดงนาฏศิลป์ไทยไปเผยแพร่ในฐานะทูตวัฒนธรรมเพื่อเจริญสัมพันธไมตรีอันดีงามกับต่างประเทศ  ตลอดจนแลกเปลี่ยนศิลปวัฒนธรรม  จึงมีระบำมิตรสัมพันธ์ต่างประเทศเกิดขึ้นอีก  ได้แก่

              ระบำจีน  -  ไทยไมตรี
              ระบำพม่า  -  ไทยอธิษฐาน
              ระบำลาว  -   ไทยปณิธาน
              ระบำมิตรไมตรีญี่ปุ่น  -  ไทย

รำมีรูปแบบการแสดงอย่างไรบ้าง

                                                     ระบำจีน ไทยไมตรี

                                  ที่มาของภาพ 


http://www.korattheatre.go.th 





                    นอกจากนี้ยังได้มีการประดิษฐ์ชุดวีระชัยและกราวต่าง ๆ  เช่น

              ระบำวีระชัยลิง (สิบแปดมงกุฎ)               ระบำวีระชัยยักษ์ (เสนายักษ์)
              ระบำครุฑ                                            ระบำกราววีรสตรี
              ระบำกราวชัย  เป็นต้น


รำมีรูปแบบการแสดงอย่างไรบ้าง





                                                       ระบำวีระชัยยักษ์

                                ที่มาของภาพ 

http://www.korattheatre.go.th




                ต่อมาได้มีการฟื้นฟูการแสดงนาฏศิลป์พื้นเมืองมากขึ้น  ดังนั้นการแสดงที่เป็นศิลปะเฉพาะท้องถิ่น  ประเภท  ฟ้อน  หรือเซิ้งต่าง ๆ  จึงจัดเข้ารวมกลุ่มในประเภทการแสดงพื้นเมืองด้วย



         ละคร  คำว่า  “ละคร”   ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน  พ.ศ.2525  กล่าวว่า  หมายถึง  “การเล่นจำพวกหนึ่ง  ปกติตัวแสดงแต่งเครื่อง  มีบอกบทลำนำดัง ๆ  มีท่ารำและมีทำเพลงมักแสดงเป็นเรื่องราว    ส่วน  นิตยา  จามรมาน  ผู้เชี่ยวชาญการสอนนาฏศิลป์ไทย  วิทยาลัยนาฏศิลป  สถาบันนาฏดุริยางศิลป์  กรมศิลปากร  ได้กล่าวถึงคำว่า  “ละคร”  ไว้ใน  ศ.035  การแสดงละคร  1  ว่า  “ละคร”  คือ  มหรสพอย่างหนึ่งที่เล่นเป็นเรื่องราวต่าง ๆ  มุ่งหมายที่จะก่อให้เกิดความบันเทิงใจสนุกสนานเพลิดเพลิน  หรือเร้าความรู้สึกของผู้ดู  ขณะเดียวกัน  ผู้ดูก็จะได้แนวความคิด  คติธรรม  และปรัชญาจากการละครนั้น    

                กรมวิชาการ  กระทรวงศึกษาธิการ  ได้กล่าวถึงความหมายของคำว่า “ละครว่า  “คือ ศิลปะที่เกิดขึ้นจากการนำภาพจากประสบการณ์และจินตนาการของมนุษย์มาผูกเป็นเรื่อง
และจัดเสนอในรูปของการแสดง โดยมีนักแสดงเป็นสื่อความหมายและเรื่องราวต่อผู้ชม   กล่าวได้ว่า  ละคร  คือการแสดงที่เป็นเรื่องราวนั่นเอง  ดังนั้นการแสดงที่เล่นเป็นเรื่องราว  อาจจะเป็นทั้งเรื่องหรือตัดตอนการแสดงมาเป็นชุดและตอน  ก็จัดอยู่ในประเภทของการละครทั้งสิ้น


                การละครไทย  จำแนกได้เป็น  3  ประเภท  คือ

                   1.  ละครที่ดำเนินเรื่องด้วยลีลาของการรำ  มีบทร้อง  และดนตรี  ประกอบการร่ายรำ  เป็นสื่อให้ผู้ดูเข้าใจความหมายของเรื่องราวได้  ละครชนิดนี้เรียกว่า  ละครรำ  ทั้งนี้ละครรำแบ่งตามลักษณะวิธีการแสดงออกเป็น  2  ลักษณะ  ดังนี้
                             1.1  ละครที่เป็นแบบแผนดั้งเดิม  สืบเนื่องมาแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา  ได้แก่
                                      ละครโนห์รา  หรือชาตรี
                                      ละครนอก
                                      ละครใน 




รำมีรูปแบบการแสดงอย่างไรบ้าง

                                      ละครชาตรี เรื่องมโนราห์ ตอนพระสุธนเลือกคู่

                  ที่มาของภาพ http://www.oknation.net/blog/print.php?id=666926


รำมีรูปแบบการแสดงอย่างไรบ้าง

                                                   ละครนอก เรื่องสังข์ทอง

รำมีรูปแบบการแสดงอย่างไรบ้าง

                                                    ละครใน เรื่อง อิเหนา

ที่มาของภาพ http://i630.photobucket.com/albums/uu24/babubuabua/1d764b5f.jpg


            1.2  ละครปรับปรุงขึ้นตามสมัยนิยม  เกิดขึ้นในราวรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่  5  ได้แก่
                                      ละครดึกดำบรรพ์
                                      ละครพันทาง
                                      ละครเสภา 

รำมีรูปแบบการแสดงอย่างไรบ้าง

                                             ละครดึกดำบรรพ์ เรื่องสังข์ทอง

               ที่มาของภาพ 


http://www.snr.ac.th/elearning/parntip/picture/3



รำมีรูปแบบการแสดงอย่างไรบ้าง


                                                  ละครพันทางเรื่อง พระลอ



ที่มาของภาพ 



http://www.isan.clubs.chula.ac.th/webboard/pic_files/20100209080404.jpg



รำมีรูปแบบการแสดงอย่างไรบ้าง


                                                ละครเสภา เรื่อง ขุนแผน


                                                 ที่มาของภาพ  

snr.ac.th



รำมีรูปแบบการแสดงอย่างไรบ้าง




ละครร้อง เรื่องสาวเครือฟ้า

ที่มาของภาพ 


guru.sanook.com








                 

    3.  ละครที่ดำเนินเรื่องด้วยบทพูด  และแสดงท่าทางแบบสามัญชน  ประกอบการพูด  เป็นสื่อให้ผู้ดูเข้าใจความหมาย  เรียกว่า  ละครพูด  แบ่งออกเป็น  3  ลักษณะ  คือ 


                             3.1  ละครพูดล้วน ๆ      ดำเนินเรื่องโดยบทพูดเพียงอย่างเดียว
                             3.2  ละครพูดสลับลำ      ดำเนินเรื่องด้วยบทพูดสลับกับการร้อง  แต่เน้นความสำคัญที่บทพูด  ส่วนบทร้องนั้นสามารถ ตัดออกได้
                             3.3  ละครสังคีต            ดำเนินเรื่องด้วยบทพูดและบทร้อง  ซึ่งมีความสำคัญในการดำเนินเรื่อง  จะตัดอย่างใด อย่างหนึ่งออกมิได้

รำมีรูปแบบการแสดงอย่างไรบ้าง

                              ละครสังคีต เรื่อง หงส์ทอง (หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล)

ที่มาของภาพ http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/820/44820/images/32.jpg


สรุป
          รำ  ระบำ  ละคร  เป็นรูปแบบการแสดงที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกัน  อันเป็นรากฐาน  การแสดงนาฏศิลป์ไทยที่สืบทอดมาแต่บรรพบุรุษ  มีการถ่ายทอด อนุรักษ์ สร้างสรรค์ ก่อให้เกิด  รูปแบบการแสดงมากมาย  ทั้งในลักษณะการร่ายรำ  ตลอดจนการละครต่าง ๆ  โดยมีการวางรากฐานแห่งการศึกษาในลักษณะของการฝึกหัดเบื้องต้น  ในรูปแบบของการร่ายรำ  ทั้งนี้รำแม่บทใหญ่  จัดเป็นการรำชุดหนึ่งในกระบวนการฝึกหัดเบื้องต้นทางนาฏศิลป์ไทย  อันสืบทอดความรู้จากบรมครูสู่อนุชนรุ่นหลัง  เพื่อคงคุณค่าแห่งความงดงามทางนาฏศิลป์เป็นมรดกวัฒนธรรมล้ำค่าของแผ่นดินสืบมาจวบจนปัจจุบัน 


รายการอ้างอิง

อาจารย์จินตนา  สายทองคำ หัวหน้าภาควิชานาฏศิลป์ คณะศิลปนาฏดุริยางค์

พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 , หน้า 673.

มนตรี  ตราโมท. เอกสารประกอบการสอนวิชาประวัติการละครไทย, วิทยาลัยนาฏศิลป, พ.ศ.2527.

อาภรณ์  มนตรีศาสตร์  และ จตุรงค์  มนตรีศาสตร์.วิชานาฏศิลป์, หน้า 74.

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน  พ.ศ.2525,หน้า 285.

เรณู  โกศินานนท์  และคณะ,ดนตรีศึกษา,หน้า 86.

อาภรณ์  มนตรีศาสตร์  และ  จาตุรงค์  มนตรีศาสตร์,วิชานาฏศิลป์,หน้า 74.

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน  พ.ศ.2525,หน้า  703.

นิตยา  จามรมาน  และคณะ,  035  การแสดงละคร 1 , หน้า 1.

กรมวิชาการ  กระทรวงศึกษาธิการ, ศิลปะการละครเบื้องต้น 1 , 2  ตอนที่  1 , หน้า 1.






ใช้ร่วมกัน

ใช้ร่วมกัน

รำหมู่ มีการแสดงอะไรบ้าง

การรำหมู่ คือ การแสดงที่ใช้ผู้แสดงมากกว่า ๒ คนขึ้นไป มุ่งความงามของท่ารำและความพร้อมเพรียงของผู้แสดง เช่น รำโคม รำพัด รำซัดชาตรี เป็นต้น ในกรณีที่นำการแสดงที่ตัดตอนมาจากการแสดงละคร และการรำนั้นเป็นการรำของตัวละครตัวเดียวมาก่อน เมื่อนำมารำเป็นหมู่ก็ยังคงเรียกว่ารำตามเดิม เช่น รำสีนวล รำแม่บท

การแสดงรำและระบำมีลักษณะอย่างไร

หมายถึง ศิลปะแห่งการร่ายรำที่มีผู้แสดงตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปด้วยความพร้อมเพรียง มีลักษณะการแต่งกายคล้ายคลึงกัน กระบวนท่าร่ายรำคล้ายคลึงกัน ไม่เล่นเป็นเรื่องราว อาจมีบทขับร้องประกอบการรำเข้าทำนองเพลงดนตรี ซึ่งระบำแบบมาตรฐานมักบรรเลงด้วยวงปี่พาทย์ การแต่งกายนิยมแต่งกายยืนเครื่องพระ-นาง หรือแต่งแบบนางในราชสำนัก เช่น ระบำสี่บท ...

ระบำ แบ่งรูปแบบของการแสดงไว้กี่ลักษณะ *

ระบำ แบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ 2 ประเภท คือ ระบำมาตรฐาน และ ระบำเบ็ดเตล็ด

รูปแบบการแสดงนาฏศิลป์ไทย มีอะไรบ้าง

นาฏศิลป์ไทย นาฏศิลป์ไทย แบ่งออกเป็น แบ่งออกเป็น 5 ประเภท 1. ระบา 2. ร าา 3. การแสดงพื้นเมือง การแสดงพื้นเมือง 4. โขน 5. ละคร