ประเทศไทยมีการใช้พลังงานด้านใดมากที่สุด

ปัจจุบันไทยมีกำลังผลิตไฟฟ้ารวมทั้งประเทศอยู่ที่ประมาณ 42,000 เมกะวัตต์ ซึ่งมากกว่า 60 เปอร์เซ็นต์ หรือ 28,129 เมกะวัตต์ ผลิตจากก๊าซธรรมชาติ อีกประมาณ 15 เปอร์เซ็นต์ ผลิตจากถ่านหิน ที่เหลือเป็นไฟฟ้าที่ได้จากเขื่อน พลังงานหมุนเวียน เช่น ชีวมวล แสงอาทิตย์ ลม และรับซื้อจากต่างประเทศ ได้แก่ ลาวและมาเลเซีย อีก 10 เปอร์เซ็นต์

ดังนั้นจะเห็นว่าไทยใช้ก๊าซธรรมชาติผลิตไฟฟ้าเป็นหลัก โดยโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ทั้งของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และของเอกชน ส่วนมากเป็นโรงไฟฟ้าก๊าซ

แต่ปริมาณก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยกำลังลดลงเรื่อยๆ ทำให้ในอนาคตไทยจะพึ่งพาก๊าซธรรมชาติได้น้อยลง หรืออาจต้องนำเข้าก๊าซธรรมชาติจากต่างประเทศเพื่อผลิตไฟฟ้า ซึ่งอาจส่งผลต่อความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศ

ขณะที่การใช้พลังหมุนเวียนในประเทศไทยยังมีน้อยอยู่ เมื่อเทียบกับต่างประเทศที่หันมาให้ความสำคัญกับพลังงานหมุนเวียนเพราะต้องการแก้ปัญหาโลกร้อน หลายประเทศ เช่น แคนาดา สวีเดน เดนมาร์ก นิวซีแลนด์ ผลิตไฟฟ้าจากลมและแสงอาทิตย์ได้มากกว่า 60 เปอร์เซ็นต์ของกำลังผลิตทั้งประเทศแล้ว

ย้อนกลับมาที่ไทย หากไม่นับเขื่อนขนาดใหญ่ ทุกวันนี้โรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนในไทยที่ กฟผ.รับซื้อไฟฟ้ามีอยู่ 58 แห่ง และมีกำลังผลิตรวมอยู่ที่ประมาณ 1,300 เมกะวัตต์เท่านั้น หรือเท่ากับ 3 เปอร์เซ็นต์ (ข้อมูลเดือนมิถุนายน 2561) และทั้งหมดเป็นโรงไฟฟ้าขนาดเล็กที่มีกำลังผลิตต่ำกว่า 100 เมกะวัตต์

ทันข่าวพลังงาน

03 มีนาคม 2564

50,157

ไฟฟ้าที่ใช้ในประเทศไทย...มาจากไหน?

ประเทศไทยมีการใช้พลังงานด้านใดมากที่สุด
Highlight

ทันข่าวToday จะมาชวนคุยเรื่องใกล้ตัว ที่เราต้องใช้ทุกวัน นั้นก็คือ "ไฟฟ้า" 
วันนี้ เรามาหาคำตอบกันว่า ไฟฟ้าของประเทศไทยได้มาจากไหน?

คำตอบที่เราจะได้จากคำถามนี้ เรามาเริ่มที่

1.แหล่งพลังงานไฟฟ้าที่ใช้กันไทยทุกวันนี้มาจากที่ไหน ? 

▪️ ก๊าซธรรมชาติ 57.8% 
▪️ นำเข้า coal / lignite 16.2% 
▪️ นำเข้า 12.2% 
▪️ พลังงานทางเลือก (Renewable Energy) 10.4%
▪️ พลังงานน้ำ 2.9% 
▪️ น้ำมัน 0.5% 

เห็นว่าไทยใช้ก๊าซธรรมชาติผลิตไฟฟ้าเป็นหลัก โดยโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ทั้งของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และของเอกชน ส่วนมากเป็นโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติ 

2. แหล่งพลังงานในไทยอยู่ที่ไหนบ้าง ?

1. ก๊าซธรรมชาติ
สำหรับก๊าซธรรมชาติ ประเทศไทยมีแหล่งผลิตราว 13 แห่งกระจายอยู่ทั่วภูมิภาค โดยมีแหล่งใหญ่คือ แหล่งบงกช และ แหล่งเอราวัณ ซึ่งทั้งสองแหล่งนี้ตั้งอยู่ในอ่าวไทย และล่าสุดมีแหล่งบงกชใต้เพิ่มเข้ามา ที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงกัน

2. น้ำมันดิบ
แหล่งพลังงานน้ำมันของไทยแบ่งออกเป็นสองประเภท คือ

▪️ แหล่งพลังงานบนบก
แหล่งพลังงานบนบกจะมีอยู่ที่ภาคเหนือและภาคกลาง เช่น แอ่งฝาง แอ่งพิษณุโลก เป็นต้น
▪️ แหล่งพลังงานในทะเล
เช่น แอ่งจัสมิน แอ่งบานเย็น เป็นต้น

3. ถ่านหิน
ประเทศไทยมีแหล่งถ่านหินกระจายอยู่ทั่วประเทศ โดยเฉพาะภาคเหนือและภาคตะวันออก และโดยส่วนมากเป็นถ่านหินลิกไนต์ ซึ่งเป็นถ่านหินคุณภาพต่ำ โดยแหล่งผลิตถ่านหินที่ใหญ่ที่สุดของไทยที่หลายคนรู้จักกันดีคือเหมืองถ่านหินในอำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง ซึ่งใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้าเป็นหลัก

นอกเหนือจากก๊าซธรรมชาติ น้ำมันดิบ และถ่านหิน ประเทศไทยยังมีการใช้พลังงานทดแทน เช่น พลังงานน้ำจากเขื่อน หรือพลังงานแสงอาทิตย์ ที่ทางภาครัฐกำลังผลักดันให้มีสัดส่วนพลังงานในประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น

3. ใครผลิตไฟฟ้าบ้าง ? 

ปัจจุบันไทยมีกำลังผลิตไฟฟ้ารวมทั้งประเทศอยู่ที่ประมาณ 45,595.87 เมกะวัตต์ 
▪️ ผลิตเองจาก กฟผ. 35.13% 
▪️ รับซื้อจากเอกชน 64.87%

ซึ่งการรับซื้อจากเอกชน มาจากที่ไหนบ้าง? 
▪️ จากประเทศลาว และมาเลเซีย 12.55% 
▪️ ผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ (IPP) 32.78%
▪️ ผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายเล็ก  (SPP) และผู้ผลิตโรงไฟฟ้าขนาดเล็กที่มีกำลังผลิตต่ำกว่า 100 เมกะวัตต์ (VSPPS) 20.84%

*ข้อมูลจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ปี 2563

4. ทำไม กฟผ.ต้องซื้อไฟฟ้าจากเอกชน ? 

ทำไม กฟผ.ไม่สามารถที่จะผลิตกระแสไฟฟ้าได้เอง? 
นี่อาจจะเป็นคำถามที่หลาย ๆ คนสงสัย 

เรื่องนี้มีที่มาที่ไป ซึ่งเหตุผลนั้น ก็คือ 
จากข้อมูลเรื่องการรับซื้อไฟฟ้าจากเอกชนตามนโยบายรัฐบาลที่กำหนดเอาไว้ 

▪️ ในปี 2532 
ให้มีการส่งเสริมเอกชนเข้ามามีบทบาทในการผลิตไฟฟ้าเนื่องจาก จะเป็นการเพิ่มการแข่งขันในกิจการพลังงานไฟฟ้า ทำให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นและผู้บริโภคมีพลังงานไฟฟ้าใช้อย่างเพียงพอในราคาที่เหมาะสม
นอกจากนี้ยัง ลดภาระการลงทุนของรัฐและลดภาระหนี้สินของประเทศ ส่งเสริมให้มีการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น กรณีของโครงการผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก หรือ SPP ซึ่งใช้ระบบพลังงานความร้อนร่วม เป็นต้น ทำให้ผู้ใช้ไฟฟ้าได้รับบริการและคุณภาพไฟฟ้าที่ดีขึ้น สนับสนุนประชาชนให้มีส่วนร่วมในการพัฒนากิจการด้านพลังงานของประเทศและช่วยพัฒนาตลาดทุน

▪️ ในปี 2535
รัฐบาลมีนโยบายลดภาระการลงทุนภาครัฐ และเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้า โดยมีมติ ครม.เห็นชอบเรื่องแนวทางในการดำเนินงานในอนาคตของ กฟผ.กำหนดขั้นตอนและแนวทางให้เอกชนมีบทบาทมากขึ้นในกิจการไฟฟ้าประเทศไทย ให้มีการลงทุนจากภาคเอกชนในการผลิตไฟฟ้ารูปแบบของ IPP และจะต้องขายไฟฟ้าให้กับ กฟผ. และให้ออกระเบียบการรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตรายเล็ก ซึ่งใช้พลังงานนอกรูปแบบ เป็นการแบ่งเบาภาระทางด้านการลงทุนของรัฐในระบบการผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าด้วย

▪️ ในปี 2537
กฟผ. ได้ประกาศรับซื้อไฟจากเอกชนรายใหญ่เป็นครั้งแรก ซึ่งปริมาณการรับซื้อไฟฟ้าจะอยู่ภายใต้มติเห็นชอบของ คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ มาจนถึงปัจจุบัน

ข้อมูลอ้างอิง 
https://www.egat.co.th/index.php?option=com_content&view=article&id=80&Itemid=116

ทันข่าวพลังงาน ไฟฟ้า

  • Share

ข่าวยอดนิยม

ประเทศไทยมีการใช้พลังงานด้านใดมากที่สุด

5 หุ้น ผลิตแบตเตอรี่ เกาะเทรนด์นวัฒกรรมรถยนต์ EV

ประเทศไทยมีการใช้พลังงานด้านใดมากที่สุด

ไฟฟ้าที่ใช้ในประเทศไทย...มาจากไหน?

ประเทศไทยมีการใช้พลังงานด้านใดมากที่สุด

4 ประเภทรถไฟฟ้า ที่ต้องรู้จัก

ประเทศไทยมีการใช้พลังงานด้านใดมากที่สุด

น้ำมันเบนซิน เติมผิดสลับชนิดกัน รถจะพังมั้ย?

ประเทศไทยมีการใช้พลังงานด้านใดมากที่สุด

8 คำถามน่ารู้ ชาวบ้านขายไฟ "โซลาร์เซลล์" ได้ยังไง ?

ประเทศไทยมีการใช้พลังงานด้านใดมากที่สุด

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ประเทศไทยมีการใช้พลังงานด้านใดมากที่สุด

ทันข่าวพลังงาน

OR ชี้แจงทำธุรกิจเมียนมา เคารพด้านสิทธิมนุษยชนอย่างเคร่งครัด ย้ำชะลอลงทุนคลังน้ำมันแล้ว

ประเทศไทยมีการใช้พลังงานด้านใดมากที่สุด

ทันข่าวพลังงาน

OR ตั้งเป้าเป็นผู้นำด้านระบบนิเวศยานยนต์ไฟฟ้า ขยาย EV Station PluZ ให้ครบ 7,000 เครื่องชาร์จ ในปี 2573

ประเทศไทยมีการใช้พลังงานด้านใดมากที่สุด

ทันข่าวพลังงาน

GPSC Young Social Innovator : ผลิตภัณฑ์เซรั่มจากเห็ดเยื่อไผ่ จากนวัตกรรมสู่ธุรกิจเพื่อสังคม

ประเทศไทยมีการใช้พลังงานด้านใดมากที่สุด

ทันข่าวพลังงาน

Net Zero เป้าหมายมีไว้ให้ไปถึง

ประเทศไทยมีการใช้พลังงานด้านใดมากที่สุด

ทันข่าวพลังงาน

รู้จัก Net Zero คืออะไร

ประเทศไทยมีการใช้พลังงานด้านใดมากที่สุด

ทันข่าวพลังงาน

การนิคมฯ ตั้งเป้า 2 ปีดันไทยขึ้น Hub ด้าน EV อาเซียน

ประเทศไทยมีการใช้พลังงานด้านใดมากที่สุด

ทันข่าวพลังงาน

ต้นทุนน้ำมันไม่ต่างกัน แต่ราคาขายปลีกต่างกันเพราะอะไร

ประเทศไทยมีการใช้พลังงานด้านใดมากที่สุด

ทันข่าวพลังงาน

อนาคตยานยนต์ไร้คนขับอย่างปลอดภัย

ประเทศไทยมีการใช้พลังงานด้านใดมากที่สุด

ทันข่าวพลังงาน

on-ion EV Charging Station

ประเทศไทยมีการใช้พลังงานด้านใดมากที่สุด

ทันข่าวพลังงาน

EVme บริการเช่ารถยนต์ไฟฟ้า

ประเทศไทยมีการใช้พลังงานด้านใดมากที่สุด

ทันข่าวพลังงาน

GPSC - ธ.ก.ส. ศึกษาพื้นที่เกษตร ผลิตไฟฟ้าจากโซลาร์ฯ-ลม ประยุกต์ใช้พลังงานสะอาด พลิกโฉมเกษตรสู่ Smart Farming

ประเทศไทยมีการใช้พลังงานด้านใดมากที่สุด

ทันข่าวพลังงาน

Swap & Go นวัตกรรมทางเลือกพลังงานสะอาด

ประเทศไทยมีการใช้พลังงานด้านใดมากที่สุด

ทันข่าวพลังงาน

OR ร่วมกับ ปตท. BIG และ Toyota เปิดสถานีต้นแบบเติมไฮโดรเจนสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า FCEV แห่งแรกของประเทศไทย

ประเทศไทยมีการใช้พลังงานด้านใดมากที่สุด

ทันข่าวพลังงาน

EV Verse กลุ่ม ปตท.

ประเทศไทยมีการใช้พลังงานด้านใดมากที่สุด

ทันข่าวพลังงาน

GPSC–INSEE Ecocycle ศึกษาตั้งโรงไฟฟ้า RDF และโรงงานรีไซเคิลแผงโซลาร์ฯ-แบตเตอรี่ ตอบโจทย์ไทยใช้พลังงานสะอาด มุ...

ประเทศไทยมีการใช้พลังงานด้านใดมากที่สุด

ทันข่าวพลังงาน

GPSC ประกาศผลผู้ชนะเลิศโครงการ “GPSC Greenovation Startup Sandbox”

ประเทศไทยมีการใช้พลังงานด้านใดมากที่สุด

ทันข่าวพลังงาน

GPSC จับมือเรือนจำกลางระยองและวิทยาลัยเทคนิคระยอง พัฒนาทักษะอาชีพผู้ต้องขังมีความรู้ติดตั้งโซลาร์เซลล์

ประเทศไทยมีการใช้พลังงานด้านใดมากที่สุด

ทันข่าวพลังงาน

GPSC จับมือภาครัฐ ชุมชน และคู่ค้า ร่วมปลูกป่าเขาห้วยมะหาด จ.ระยอง ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนมุ่งสู่ Net Zero

ประเทศไทยมีการใช้พลังงานด้านใดมากที่สุด

ทันข่าวพลังงาน

GC มุ่งสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์พลาสติกและเคมีภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูง คาร์บอนต่ำ สอดรับ 5 เมกะเทรนด์

ประเทศไทยมีการใช้พลังงานด้านใดมากที่สุด

ทันข่าวพลังงาน

พีทีที ลูบริแคนท์ส เปิดตัวผลิตภัณฑ์สำหรับรถยนต์ไฟฟ้า (EV Fluids)

ประเทศไทยใช้แหล่งพลังงานแบบใดมากที่สุด

ร้อยละ 90 ของพลังงานที่ใช้ในเมืองไทยผลิตในรูปแบบดั้งเดิม จากรูปแบบของการใช้พลังงานเชื้อเพลิงเช่น น้ำมัน แก๊สธรรมชาติ และถ่านหิน โดยส่วนที่เหลือเป็นพลังงานจากพลังงานทางเลือก อาทิ มวลชีวภาพ แก๊สชีวภาพ พลังงานน้ำ พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม ฯลฯ

การใช้พลังงานของประเทศไทยด้านคมนาคมใช้พลังงานอะไร

จากการใช้พลังงานในแต่ละวัน จะพบว่าในชีวิตประจำวันส่วนใหญ่ของทุกคนเกี่ยวกับการคมนาคมขนส่ง ซึ่งจำเป็นต้องใช้น้ำมันเชื้อเพลิงทั้งสิ้น แต่ประเทศไทยแหล่งปิโตรเลียมไม่เพียงพอต่อความต้องการการใช้ในประเทศ ปัจจุบันประเทศไทยจึงต้องนำเข้าน้ำมันดิบมากกว่า ร้อยละ 80 ของความต้องการใช้ภายในประเทศ

ประเทศไทยมีการใช้พลังงานขั้นสุดท้ายประเภทไหนมากที่สุด

ในด้านสัดส่วนการใช้พลังงานเชิงพาณิชย์ขั้นสุดท้าย ประเทศไทยยังคงมีการใช้พลังงานน้ำมันเป็นหลัก และยังมีอัตราส่วนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง สาเหตุจากการเติบโตของการขนส่งและภาคคมนาคม รวมถึงประชากรที่ใช้รถใช้ถนน (อนึ่งกราฟของการใช้พลังงานจะไม่รวมการใช้พลังงานทดแทน)

สถานการณ์ปัจจุบันของพลังงานภายในประเทศไทยเป็นอย่างไร

ประเทศไทยมีการใช้พลังงานขั้นสุดท้ายในช่วงเดือนแรกของปี 2564 มีปริมาณ 6,304 พันตัน เทียบเท่าน้ำมันดิบ ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 19.0 คิดเป็นมูลค่ากว่า 76,437 ล้านบาท การใช้พลังงานยังคงเพิ่มขึ้น ตามการเติบโตทางเศรษฐกิจโดยที่ น้ำมัน สำเร็จรูป ยังคงเป็นพลังงาน ที่ใช้มากที่สุดคิดเป็น ร้อยละ 45.0 ของการใช้พลังงาน ...