สภาพเศรษฐกิจในสมัยธนบุรีมีลักษณะอย่างไร

 อุปสงค์และอุปทาน กล่าวคือประการที่หนึ่ง เมื่อพ่อค้าชาวต่างชาติทราบว่าสินค้าที่นำเข้ามาขาย ที่กรุงธนบุรี จำหน่ายได้ดีและได้ราคาสูง ชาวต่างชาติก็นำสินค้าลงเรือมาขายยังกรุงธนบุรีเป็นจำนวนมาก สามารถบรรเทาความอดอยาก และการขาดแคลนเครื่องอุปโภคบริโภค ประการที่สอง เมื่อราษฎรที่หลบหนีอยู่ตามป่าทราบข่าว ว่าพระเจ้าตากสิน ซื้อข้าวปลาอาหารแจกราษฎร ต่างก็พากันออกจากป่าเข้ามาอาศัยอยู่ในกรุงธนบุรีเพิ่มขึ้น จะได้เป็นกำลังของชาติในการรวบรวมอาณาจักรต่อไปประการที่สาม เมื่อพ่อค้าแข่งขันกันนำสินค้าเข้ามาขายเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก เกินความต้องการของราษฎร ราคาสินค้าก็ถูกลงตามลำดับความเดือนร้อนของราษฎรก็หมดไป หลังจากบ้านเมืองเข้าสู่ภาวะปกติ พระเจ้าตากสิน โปรดให้แต่งสำเภา ออกไปค้าขายยัง

การค้าสำเภาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นปัจจัยสำคัญที่ค้ำจุนเศรษฐกิจและสร้างความแข็งแกร่งแก่อาณาจักรมาโดยตลอด แม้กระทั่งเข้าสู่สมัยกรุงธนบุรียังคงใช้การค้าสำเภานี้อยู่ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการสนับสนุนการสร้างกรุงธนบุรีเป็นราชธานีแห่งใหม่หลังกรุงศรีอยุธยาแตก ซึ่งพระเจ้าตากทรงทำการค้าสำเภาจนได้กำไรถึงร้อยละร้อยเลยทีเดียว!

เป็นที่ทราบกันดีว่า สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีหรือพระเจ้าตากทรงมีเชื้อสายจีน พระราชบิดาเป็นชาวจีนที่ประกอบอาชีพค้าขายมาก่อน จนตั้งตัวมีฐานะมั่นคง ประมูลเก็บอากรบ่อนเบี้ยจนได้เป็นถึง “ขุนพัฒน์” ดังนั้นพระเจ้าตากจึงทรงคุ้นเคยเรื่องการค้าขายเป็นอย่างดี

สอดคล้องกับพงศาวดารที่กล่าวถึงพระเจ้าตากว่า “เดิมชื่อจีนแจ้ง เป็นพ่อค้าเกวียนมีความชอบในแผ่นดิน ได้ไปเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินอยู่ ณ เมืองตาก…” และ “ขณะนั้นยังมีบุตรจีนคลองสวนพลูคนหนึ่ง ขึ้นไปค้าขายอยู่ ณ เมือกตากหลายปี…”

สภาพเศรษฐกิจในสมัยธนบุรีมีลักษณะอย่างไร
พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสิน ที่ จ.จันทบุรี

ภายหลังจากกรุงศรีอยุธยาแตก พระเจ้าตากทรงรวบรวมกำลังกอบกู้บ้านเมืองสำเร็จ แต่การจะสร้างความแข็งแกร่งให้กรุงธนบุรีนั้นเป็นเรื่องยากลำบาก เพราะเวลานั้นต้องประสบปัญหาด้านเศรษฐกิจหลายประการ ทว่าสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้เศรษฐกิจกรุงธนบุรีมั่นคงได้นั้นคือกำไรจากการค้าสำเภา

จากวิจัยเรื่อง “การค้าสำเภาของไทยสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น” ของ วราภรณ์ ทินานนท์ ระบุว่า เนื่องจากสภาพบ้านเมืองในระยะเวลานั้นทรุดโทรมในทุกด้าน และรายได้จากการเก็บภาษีอากรจากราษฎรก็ไม่เพียงพอต่อการฟื้นฟูบ้านเมือง ดังนั้นการแต่งเรือสำเภาไปค้าขายจึงเป็นทางนำรายได้เข้าสู่ประเทศ และในขณะเดียวกันก็เป็นรายได้ของบรรดาขุนนางและพ่อค้าเอกชนต่าง ๆ ด้วย 

นับตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาถึงกรุงธนบุรี สินค้าของราชสำนักจะที่นำไปค้าขายสำเภานั้นส่วนมากเป็นของป่าและแร่ธาตุ ซึ่งได้มาจาก “ส่วย” ที่ได้จากผลผลิตของชาวบ้านในแต่ละท้องถิ่นในอัตราที่กำหนดไว้อย่างแน่นอนและสม่ำเสมอ หรือไม่แล้ว ราชสำนักก็จะเกณฑ์แรงงานไพร่ไปหาของป่าสำหรับนำมาค้าขาย

โคะอิสุมิ จุงโกะ ระบุข้อมูลในบทความ “การแผ่ขยายอำนาจของรัฐสยามในสมัยธนบุรีและต้นรัตนโกสินทร์” (อาทิตย์ เจียมรัตตัญญู แปล) ในศิลปวัฒนธรรม ฉบับกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 ว่า โยฮัน เกอร์ฮาร์ด เคอนิก นักพฤกษศาสตร์ชาวเยอรมันซึ่งเข้ามาเยือนสยามในปลายทศวรรษ 1770 ได้ตั้งข้อสังเกตไว้ว่าสยามในขณะนั้นอุดมด้วยสิ่งของนานาประเภทที่นำเข้าจากจีนและว่าสมเด็จพระเจ้าตากสินทรงได้ผลประโยชน์มหาศาลจากการซื้อสินค้านำเข้าที่ดีที่สุดในราคาที่ถูกมากและขายต่ออีกทอดหนึ่งให้พ่อค้าในเมืองด้วยกำไรร้อยละร้อย

คลิกอ่านเพิ่มเติม : ตามติดปฏิบัติการ พระเจ้าตาก “ตามล่า” รัชทายาทกรุงศรีอยุธยา

คลิกอ่านเพิ่มเติม : พระราชภารกิจ “คืนความสุข” ของ “พระเจ้าตาก” ฟื้น-สร้างธนบุรีเหมือนครั้งบ้านเมืองยังดี

โคะอิสุมิ จุงโกะ อธิบายว่า การค้าที่สร้างกำไรร้อยละร้อยนี้อาจเป็นรายได้จากการค้าสำเภากับจีน ซึ่งถึงแม้ว่าราชสำนักจีนจะให้การยอมรับพระเจ้าตากเมื่อช่วงท้ายของรัชกาล แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะไม่มีการค้าสำเภาเกิดขึ้น โดยการค้าสำเภามีอยู่โดยตลอด ส่วนใหญ่ทำโดยสำเภาจีน และชาวจีน ทั้งที่อยู่ในจีนและในกรุงธนบุรี

นอกจากนี้ พระเจ้าตากทรงสนับสนุนชาวจีนที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการค้าสำเภาด้วย เช่น จีนมั่วเสง ได้รับพระกรุณาโปรดฯ เป็นหลวงอภัยพานิช นำสินค้าลงสำเภาไปขายที่จีนปีละ 15 ลำ และสำเภาส่วนตัวอีกปีละ 2 ลำ ซึ่งได้ผลกำไรปีละจำนวนมาก

นิธิ เอียวศรีวงศ์ ระบุในหนังสือ “การเมืองไทยสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี” ว่า “สิ่งที่ขาดหายไปในการค้าคือ การค้าในระบบบรรณาการ ซึ่งเป็นผลประโยชน์โดยตรงของรัฐบาลไทย เพราะเป็นโอกาสที่จะส่งสินค้าไปขายเมืองจีนโดยไม่ต้องเสียภาษี อีกทั้งยังอาจขอสิทธิในการซื้อสินค้าที่ต้องการกลับโดยไม่ต้องเสียภาษีออกอีกด้วยเช่นกัน เพราะฉะนั้น ในส่วนที่เป็นการค้าในระบบบรรณาการนี้ รัฐบาลของพระเจ้ากรุงธนบุรีก็ขาดรายได้ไปบ้าง”

โคะอิสุมิ จุงโกะ ยังอธิบายอีกว่า นอกจากนี้ แทนที่จะเป็นส่วย ภาษีอากรต่างหากที่น่าจะเป็นแหล่งรายได้ที่สำคัญอีกทางหนึ่งทั้งในรูปของเงินและวัตถุสิ่งของสำหรับกษัตริย์จะทรงใช้ในกิจการภายในหรือค้าขายกับต่างประเทศ ดีบุกซึ่งเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญชนิดหนึ่งซึ่งผลิตในภาคใต้ โดยเฉพาะที่เกาะถลางหรือภูเก็ต เป็นภาษีชนิดหนึ่งที่สมเด็จพระเจ้าตากและกษัตริย์ต้นรัตนโกสินทร์ทรงได้รับในอัตรา 1 ชั่งจากดีบุกทุกๆ 1 ภารา

อย่างไรก็ตาม ด้วยสภาวะศึกสงครามและปัญหาการควบคุมกำลังคนที่ต้องอาศัยไพร่ส่วยหรือไพร่หลวงเข้าป่าไปเก็บทำให้น่าจะได้ของป่ามาไม่มากเพียงพอ จำนวนสินค้าป่าที่นำเอาไปขายจึงไม่น่าจะมีมากนัก จึงอาจสงวนเอาไว้แลกเปลี่ยนกับสินค้าในตลาดอื่นซึ่งเป็นที่ต้องการด้วย

เศรษฐกิจในช่วงแรกของสมัยธนบุรีมีลักษณะเป็นอย่างไร

เศรษฐกิจในสมัยธนบุรีเป็นเศรษฐกิจแบบยังชีพเช่นเดียวกับอยุธยา (คือทำพอมีพอกินในแต่ละครอบครัว) การทำนาเป็นอาชีพหลัก นอกจากนั้นก็มีการปลูกฝ้าย ยาสูบ อ้อย ผัก และผลไม้กันทั่วไป เมื่อบ้านเมืองพ้นจากภาวะสงครามไม่มีข้าศึกมารบกวน ราษฎรก็มีเวลาตั้งหน้าประกอบการอาชีพ ทำให้ฐานะความเป็นอยู่ของครอบครัวดีขึ้น บ้านเมืองจึงสามารถกลับ ...

สภาพสังคมในสมัยธนบุรีตอนต้นมีลักษณะอย่างไร

1. พระมหากษัตริย์ มีศักดินา 100000 ไร่ 2. พระบรมวงศานุวงศ์มีศักดินา 10000 ไร่ 3. ขุนนาง มีศักดินา 1000 ไร่ 4. ไพร่เป็นชนชั้นที่มีมากที่สุดในสังคม มีศักดินา 25ไร่ 5. ทาส มีศักดินา 5 ไร่ สภาพสังคมสมัยกรุงธนบุรี มีลักษณะคล้ายคลึงกับสมัยอยุธยา คือ มีการแบ่งชนชั้นศักดินาออกเป็น - ผู้คนในกรุงธนบุรีถูกควบคุมโดยการสักเลก

ข้อใดเป็นการฟื้นฟูเศรษฐกิจสมัยธนบุรี

ทรงมีพระราโชบายทำให้กรุงธนบุรีมีสถานะเป็นเมืองท่า โดยชักชวนให้สำเภาจีนก็ดี เรือบริษัทการค้าตะวันตกก็ดีเข้ามาขายสินค้าเพื่อให้เกิดการแข่งขัน ทำให้ราคาสินค้าถูกลงจนในที่สุดสามารถแก้ไขปัญหาเรื่องความอดอยากขาดแคลน

พระเจ้าตากสินมหาราชทรงแก้ปัญหาเศรษฐกิจสมัยธนบุรีด้วยวิธีใด

การแก้ปัญหาเฉพาะหน้าทางเศรษฐกิจในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินด้วยการสละพระราชทรัพย์ซื้อข้าวสารจากพ่อค้าต่างเมืองมาแจกจ่ายราษฎร และการสนับสนุนให้พ่อค้าต่างชาติ เช่น ชาวจีน เข้ามาค้าขายในกรุงธนบุรีและทำไร่อ้อย ไร่พริกไทยตามหัวเมืองชายฝั่งตะวันออกและภาคใต้ทำให้ภาวะขาดแคลนอาหารบรรเทาแล้ว การแก้ปัญหาระยะยาวคือโปรดฯให้เจ้านาย ...