ข้อใดเป็นความหลากหลายของระบบนิเวศ

1. ข้อใดให้ความหมายของความหลากหลายทางชีวภาพได้ถูกต้องที่สุด
ก. การมีสิ่งชนิดพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตหลากหลายชนิดมาอยู่รวมกัน ณ สถานที่หนึ่งในระบบนิเวศใดระบบนิเวศหนึ่ง
ข. สิ่งมีชีวิตหลายๆ ชนิดอยู่ร่วมกัน
ค. สิ่งมีชีวิตหลายๆชนิดอยู่ร่วมกันในระบบนิเวศน์หนึ่งๆ
ง. สิ่งมีชีวิตชนิดเดียวอาศัยร่วมกันมีความหลากหลายทางพันธุกรรมทำให้เกิดสายพันธุ์ต่างๆ

2. สภาพแวดล้อม ที่เป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ รวมไปถึงสิ่งไม่มีชีวิตอื่นๆ ที่เป็นปัจจัยทางกายภาพได้แก่อะไรบ้าง
ก. สารเคมี กรด เบส ดิน
ข. อุณหภูมิ ความชื้น ดิน พลังงาน
ค. อุณหภูมิ ความชื้น ดิน น้ำ
ง. ดิน น้ำ ความชื้น สารเคมี

3. พืชมีวิวัฒนาการจากสาหร่ายพวกใด
ก. สาหร่ายพวก Charophycean
ข. สาหร่ายพวก สีเขียวแกมน้ำเงิน
ค. สาหร่ายพวก สไปรนีน่า
ง. สาหร่ายพวก Charotophy

4. สัตว์สามารถจำแนกออกเป็นประเภทใหญ่ๆ กี่ประเภท อะไรบ้าง
ก. 3 ประเภท ได้แก่ สัตว์มีกระดูกสันหลัง สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
ข. 3 ประเภท ได้แก่ สัตว์มีกระดูกสันหลัง สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง สัตว์เลือดอุ่น
ค. 2 ประเภท ได้แก่ สัตว์มีกระดูกสันหลัง สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง
ง. 2 ประเภท ได้แก่ สัตว์มีกระดูกสันหลัง สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม

5. Artificial system เป็นการจำแนกสิ่งมีชีวิตโดยอาศัยหลักการใด
ก. พิจารณาความสัมพันธ์ ทางวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตและการมีบรรพบุรุษร่วมกัน
ข. อาศัยหลักธรรมชาติ ลักษณะภายนอก ลักษณะภายใน พฤติกรรมและนิเวศวิทยา
ค. พิจารณาลักษณะภายนอก ลักษณะภายใน เอมบริโอและลักษณะทางชีวเคมี
ง. พิจารณาลักษณะภายนอกทั่วๆ ไปเท่าสังเกตได้ ลักษณะคล้ายกันจัดอยู่พวกเดียวกัน ลักษณะแตกต่างกันจัดแยกกันออกไป

6. ข้อใดคือหลักเกณฑ์ในการจำแนกสิ่งมีชีวิต
ก. ลักษณะที่อยู่อาศัย
ข. ลักษณะโครงสร้าง
ค. ลักษณะพฤติกรรม
ง. ลักษณะการดำรงชีวิตในระบบนิเวศน์

7. อาณาจักรของสิ่งมีชีวิตแบ่งได้เป็นกี่อาณาจักร
ก. 2 อาณาจักร
ข. 3 อาณาจักร
ค. 4 อาณาจักร
ง. 5 อาณาจักร

8. เห็ดเป็นสิ่งมีชีวิตที่จัดอยู่ในอาณาจักรใด
ก. อาณาจักรโมเนอรา (kingdom Monera)
ข. อาณาจักรโพรทิสตา (kingdom Protista)
ค. อาณาจักรฟังไจ (kingdom Fungi)
ง. อาณาจักรพืช (kingdom Plantae)

9. สิ่งมีชีวิตชนิดใดมีจำนวนชนิดมากที่สุดรองจากสาหร่าย
ก. เห็ดรา
ข. โปรโตซัว
ค. พืช
ง. สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง

10. หนอนทะเลเป็นสิ่งมีชีวิตที่จัดอยู่ในไฟลัมใดต่อไปนี้
ก. phylum Coelenterata
ข. phylum Platyhelminthes
ค. phylum Mollusca
ง. phylum Annelida

11. ปูน้ำจืดและปูน้ำเค็ม เป็นสิ่งมีชีวิตที่จัดอยู่ในไฟลัมใดดังต่อไปนี้
ก. phylum Echinodermata
ข. phylum Chaetognatha
ค. phylum Arthropoda
ง. phylum Mollusca

12. วัว ควาย กระต่าย หนอน เป็นสิ่งมีชีวิตที่จัดอยู่ในผู้บริโภคกลุ่มใด
ก. Herbivore
ข. Carnivore
ค. Omnivore
ง. Scauenger

13. นกแร้ง ไส้เดือนดิน กิ้งกือ ปลวก เป็นสิ่งมีชีวิตที่จัดอยู่ในผู้บริโภคกลุ่มใด
ก. Herbivore
ข. Carnivore
ค. Omnivore
ง. Scauenger

14. ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศน์ที่มีการกินต่อกันเป็นทอดๆ ตามลำดับ เรียกความสัมพันธ์นี้ว่าอะไร
ก. ห่วงโซ่อาหาร
ข. สายใยอาหาร
ค. ห่วงโซ่ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิต
ง. สายใยความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิต

15. สิ่งมีชีวิตที่ไม่สามารถสร้างอาหารเองได้ ดำรงชีวิตโดยการหลั่งเอนไซม์ออกมาย่อยสลายซากพืชซากสัตว์
กลายเป็นอินทรีย์สารโมเลกุลเล็กๆ แสงดูดซึมเราจัดเป็นสิ่งมีชีวิตกลุ่มใดในระบบนิเวศน์
ก. producer
ข. consumer
ค. Decomposer
ง. carnivore

16. กล้วยไม้ที่ขึ้นเกาะตามต้นไม้ใหญ่เพื่ออาศัยแร่ธาตุจากเปลือกไม้ เป็นความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตแบบใด
ก. ภาวะการเป็นผู้อาศัย
ข. ภาวะการได้ประโยชน์ร่วมกัน
ค. ภาวะการเกื้อกูล
ง. ภาวะพึ่งพากันและกัน

17. ต้นไม้ใหญ่บังแสงไม่ให้สองถึงต้นไม้เล็กที่อยู่ข้างล่าง ทำให้ต้นไม้เล็กไม่สามารถเจริญเติบโตได้เป็นความสัมพันธ์แบบใด
ก. ภาวะกีดกัน
ข. ภาวะของการแข่งขัน
ค. ภาวะเป็นกลาง
ง. ภาวะการเป็นผู้อาศัย

18. มนุษย์มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ (Scientifiname) ว่า Homo sapiens คำว่า Homo เป็นชื่อของอะไร
ก. จีนัส
ข. ไฟลัม
ค. คลาส
ง. คิงดอม
19. นักวิทยาศาสตร์คนแรกที่นำคำว่า “สปีชี” มาใช้ในชีววิทยาคือใคร
ก. อาริสโตเติล
ข. จอห์น เรย์
ค. ดาวินชี
ง. โรเบิร์ต ฮุค

20. สุนัข วัว แมว จัดอยู่ในสิ่งมีชีวิตคลาสใดต่อไปนี้
ก. class vermes
ข. class pisecst
ค. class aves
ง. class mamalia

คือ คำจำกัดความของการมีสิ่งมีชีวิตนานาชนิดบนโลกใบนี้ ไม่ว่าจะเป็นการดำรงอยู่ของพืช สัตว์ แบคทีเรีย เชื้อรา หรือมนุษย์ ต่างล้วนอาศัยอยู่ในถิ่นฐานเฉพาะของตนตามภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วโลก ดำเนินชีวิตอยู่ภายในระบบนิเวศที่มีสภาพภูมิประเทศ ภูมิอากาศและสภาพแวดล้อมที่หลากหลาย จากการสะสม ปรับปรุง เปลี่ยนแปลง ตลอดจนถึงการวิวัฒนาการ เพื่อความอยู่รอดตลอดระยะเวลาหลายล้านปีที่ผ่านมา ทำให้การคงอยู่ของความแตกต่างในสิ่งมีชีวิตแต่ละสายพันธุ์และความหลากหลายภายในชนิดพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตเหล่านั้น กลายเป็นองค์ประกอบและพื้นฐานสำคัญของธรรมชาติและระบบนิเวศของโลก

ข้อใดเป็นความหลากหลายของระบบนิเวศ
ข้อใดเป็นความหลากหลายของระบบนิเวศ

ความหลากหลายทางชีวภาพ สามารถจำแนกออกเป็น 3 ระดับ คือ

ความหลากหลายทางพันธุกรรม (Genetic Diversity) หมายถึง ความแปรผันทางพันธุกรรมที่เกิดขึ้นภายในประชากรของสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกัน เป็นความแตกต่างของสารพันธุกรรมภายในสิ่งมีชีวิตแต่ละชีวิตที่ได้รับการถ่ายทอดจากบรรพบุรุษผ่านทางหน่วยพันธุกรรมหรือ “ยีน” (Gene) ซึ่งส่งผลให้เกิดความเป็นเอกลักษณ์ ลักษณะเด่น หรือความแตกต่างขึ้นภายในประชากรของสิ่งมีชีวิตชนิดนั้น ๆ เช่น การมีสีสันและลวดลายที่หลากหลายของหอยทาก “โกลฟว์ สเนล” (Grove Snail) รวมถึงการมีสีของเส้นผม สีของผิวหนัง และสีของนัยน์ตาแตกต่างกันออกไปในประชากรของมนุษย์ 

ข้อใดเป็นความหลากหลายของระบบนิเวศ
ข้อใดเป็นความหลากหลายของระบบนิเวศ
แม้จะเป็นหอยทากชนิดเดียวกัน แต่มีสีสันที่แตกต่างกัน เนื่องจากมีพันธุกรรมที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว

 

ความหลากหลายทางชนิดพันธุ์ (Species Diversity) หมายถึง ความแปรผันทางชนิดพันธุ์ (Species) ที่เกิดขึ้นในระดับกลุ่มของสิ่งมีชีวิต ซึ่งมีจุดเริ่มต้นมาจากความหลากหลายทางพันธุกรรมที่ผ่านการสะสมและการวิวัฒนาการมาอย่างยาวนาน ซึ่งความหลากหลายทางชนิดพันธุ์ถือเป็นผลจากกระบวนการคัดเลือกโดยธรรมชาติ (Natural Selection) ที่ทำให้เกิดทั้งการสูญพันธุ์และการก่อกำเนิดของสิ่งมีชีวิตสายพันธุ์ใหม่ เป็นการเปลี่ยนแปลงเพื่อความอยู่รอดท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไปของโลก

ข้อใดเป็นความหลากหลายของระบบนิเวศ
ข้อใดเป็นความหลากหลายของระบบนิเวศ

 

ความหลากหลายทางระบบนิเวศ (Ecological Diversity) หมายถึง การดำรงอยู่ของระบบนิเวศแต่ละประเภทบนโลก ไม่ว่าจะเป็นระบบนิเวศบนบก (Terrestrial Ecosystems) และระบบนิเวศในน้ำ (Aquatic Ecosystems) เช่น ป่าดงดิบ ทุ่งหญ้า ป่าชายเลน ทะเลสาบ หรือ ชายหาดและแนวปะการัง ตลอดจนระบบนิเวศเมือง (Urban Ecosystems) ที่มนุษย์สร้างขึ้น ซึ่งความหลากหลายทางระบบนิเวศนั้น เป็นผลจากความแตกต่างทางสภาพภูมิประเทศ ภูมิอากาศและสภาพแวดล้อมในแต่ละพื้นที่ของโลก อีกทั้ง ยังนับเป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้เกิดเอกลักษณ์และลักษณะเด่นของสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิด ซึ่งภายในระบบนิเวศแต่ละประเภท ล้วนมีสิ่งมีชีวิตที่แตกต่างกันออกไปอาศัยอยู่

ข้อใดเป็นความหลากหลายของระบบนิเวศ

ข้อใดเป็นความหลากหลายของระบบนิเวศ

ข้อใดเป็นความหลากหลายของระบบนิเวศ

โลก จึงประกอบขึ้นจากระบบนิเวศอันหลากหลายกระจายตัวอยู่ตามพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วโลก ความหลากหลายทางพันธุกรรม ความหลากหลายทางชนิดพันธุ์และความหลากหลายทางระบบนิเวศ จึงเป็นองค์ประกอบสำคัญของความหลากหลายทางชีวภาพที่ก่อให้เกิดสมดุลของโลก

ความสำคัญของความหลากหลายทางชีวภาพและสถานการณ์ปัจจุบัน

ความหลากหลายทางชีวภาพจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้สิ่งมีชีวิตสามารถดำรงอยู่ได้ภายใต้ความเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมโลกในทุกยุคทุกสมัย ถึงแม้โลกจะเผชิญกับความแห้งแล้ง ความหนาวเย็น หรือโรคระบาด ความหลากหลายทางชีวภาพถือเป็นเครื่องการันตีความอยู่รอดของทุกชีวิต อีกทั้งยังเป็นรากฐานสำคัญของระบบนิเวศที่ให้กำเนิด “นิเวศบริการ” (Ecological Services) ซึ่งสร้างทรัพยากรและคุณประโยชน์มากมายต่อทุกชีวิต

แต่ในปัจจุบันนี้ ทุกๆ ปี มีสิ่งมีชีวิตสูญพันธุ์ราว 10,000 ชนิดทั่วโลก ซึ่งถือเป็นอัตราที่รวดเร็วเกิดกว่าการสูญพันธุ์ในยุคก่อนที่มนุษย์ถือกำเนิดขึ้นหลายร้อยเท่า แม้ว่าการสูญพันธุ์จะเป็นหนึ่งในกฎเกณฑ์ของธรรมชาติ แต่การอัตราการสูญเสียที่เกิดขึ้น ณ ขณะนี้ ถือเป็นปรากฏการณ์ที่ไม่สามารถปฏิเสธได้เลยว่ามนุษย์ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของปัจจัยดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นการเติบโตของประชากรและการพัฒนาของสังคมเมืองที่นำไปสู่การทำลายถิ่นฐานที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติของสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ การรุกรานเพื่อแสวงหาประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ รวมไปถึงปลดปล่อยของเสียและมลพิษ ซึ่งนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมโลกครั้งยิ่งใหญ่

ข้อใดเป็นความหลากหลายของระบบนิเวศ
ข้อใดเป็นความหลากหลายของระบบนิเวศ

นอกเหนือจากการสูญพันธุ์ไปของสิ่งมีชีวิตบางชนิด การเสื่อมโทรมลงของระบบนิเวศเป็นผลกระทบที่ไม่อาจลีกเลี่ยงเช่นเดียวกัน ซึ่งหากสถานการณ์ในปัจจุบันยังคงดำเนินต่อไปโดยปราศจากการเปลี่ยนแปลงใด ๆ สิ่งมีชีวิตกว่าร้อยละ 20 ชนิดทั่วโลกอาจจะสูญเสียพันธุ์ไปอย่างถาวรภายในอีก 30 ปีข้างหน้า โดยเฉพาะพื้นที่ซึ่งมีความสำคัญทางด้านความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity Hotspot) ที่มีชนิดพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตซึ่งเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ (Endangered Species) และมี “สิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่น” (Endemic Species) อาศัยอยู่อย่างหนาแน่น

ถึงแม้พื้นที่ซึ่งมีความสำคัญทางด้านความหลากหลายทางชีวภาพเหล่านี้ จะคิดเป็นเพียงร้อยละ 2.3 ของพื้นผิวโลกทั้งหมด แต่กว่าร้อยละ 44 ของพืชพรรณในโลกล้วนดำรงอยู่ในพื้นที่เฉพาะเหล่านี้ ซึ่งในอีกความหมายหนึ่ง คือพืชเหล่านี้เป็นชนิดพันธุ์ที่ไม่สามารถพบเห็นได้ในพื้นที่อื่นๆ ของโลก เช่น สิ่งมีชีวิตบนเกาะนิวซีแลนด์ ซึ่งเป็นพื้นที่ซึ่งมีความสำคัญทางด้านความหลากหลายทางชีวภาพของโลก โดยกว่าร้อยละ 90 ของชนิดพันธุ์แมลงและกว่าร้อยละ 80 ของชนิดพันธุ์พืชที่มีท่อลำเลียง (Vascular Plants) ล้วนเป็นสิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่นที่ไม่ปรากฏบนส่วนไหนของโลกใบนี้อีกแล้ว และการสูญเสียสิ่งมีชีวิตบนเกาะแห่งนี้ หมายถึงการสูญพันธุ์จากโลกไปอย่างถาวร

สืบค้นและเรียบเรียง

คัดคณัฐ ชื่นวงศ์อรุณ และณภัทรดนัย


ข้อมูลอ้างอิง

National Geographic Society – https://www.nationalgeographic.org/encyclopedia/biodiversity/

National Geographic – https://www.nationalgeographic.com/environment/2019/05/ipbes-un-biodiversity-report-warns-one-million-species-at-risk/

ข้อใดจัดเป็นความหลากหลายของระบบนิเวศ

ความหลากหลายระหว่างระบบนิเวศเป็นความหลากหลายทางชีวภาพซึ่งซับซ้อน สามารถเห็นได้จากความแตกต่างระหว่างระบบนิเวศประเภทต่างๆ เช่น ป่าดงดิบ ทุ่งหญ้า ป่าชายเลน ทะเลสาบ บึง หนอง ชายหาด แนวปะการัง ตลอดจนระบบนิเวศที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น ทุ่งนา อ่างเก็บน้ำ หรือแม้กระทั้งชุมชนเมือง ของเราเอง ในระบบนิเวศเหล่านี้ สิ่งมีชีวิตก็ต่าง ...

ความหลากหลายของระบบนิเวศหมายถึงอะไร

3.ความหลากหลายของระบบนิเวศหรือแหล่งที่อยู่อาศัย (Ecological system diversity หรือ Habitat diversity) คือความซับซ้อนของลักษณะพื้นที่ที่แตกต่างกันในแต่ละภูมิภาคของโลก เมื่อประกอบกับสภาพภูมิอากาศ ลักษณะภูมิประเทศทำให้เกิดระบบนิเวศหรือถิ่นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตที่แตกต่างกัน การที่สามารถพบสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ในแต่ละ ...

ความหลากหลายของระบบนิเวศมีความสำคัญในเรื่องใด

ความแตกต่างหลากหลายระหว่างระบบนิเวศ ทำให้โลกมีถิ่นที่อยู่อาศัยเหมาะสมสำหรับสิ่งมีชีวิตต่างๆ ระบบนิเวศแต่ระประเภทให้ประโยชน์แก่การดำรงชีวิตของมนุษย์แตกต่างกัน หรืออีกนัยหนึ่งให้ “ บริการทางสิ่งแวดล้อม ” (environmental service) ต่างกันด้วย อาทิเช่น ป่าไม้ทำหน้าที่ดูดซับน้ำ ไม่ให้เกิดน้ำท่วมและการพังทลายของดิน ส่วน ...

ข้อใดจัดเป็นความหลากหลายทางพันธุกรรม

1.ความหลากหลายทางพันธุกรรม ( Genetic diversity) หมายถึง ความหลากหลายทางพันธุกรรมที่สิ่งมีชีวิตแต่ละชีวิตได้รับการถ่ายทอดมาจากรุ่นพ่อแม่และส่งต่อไปยังรุ่นต่อไปเช่น ลักษณะความหลากหลายของลวดลายและสีของหอยทาก Cepaea nemoralls (อธิบายเพิ่มเติม ) ความหลากหลายของสีสันของ emerald tree boas Corallus canius (อธิบายเพิ่มเติม ) ...