การศึกษาไทยกับต่างประเทศแตกต่างกันอย่างไร

หลายคนคงเคยได้ยินว่า ‘การศึกษาเป็นประตูสู่โอกาส’ เพราะไม่ว่าจะคนเชื้อชาติใด หรืออยู่มุมไหนของโลก ล้วนหวังให้การศึกษาเป็นตัวเปลี่ยนชีวิต ผู้ปกครองหลายคนจึงพยายามส่งลูกเรียนให้สูงที่สุด แม้ตนเองจะไม่มีโอกาสได้เรียนก็ตาม

Show

จริงอยู่ที่การศึกษาเป็นจุดเริ่มต้นของโอกาส แต่ขณะเดียวกัน การศึกษาก็สามารถเป็นจุดเริ่มต้นของความเหลื่อมล้ำได้เช่นกัน มีเด็กอีกหลายคนที่ถูกกีดกันออกจากระบบการศึกษาด้วยปัจจัยต่างๆ โดยเฉพาะเด็กในประเทศกำลังพัฒนา การศึกษาจึงเป็นทั้งสะพานสู่โอกาส และเป็นกำแพงหนาสูงที่กั้นคนจำนวนหนึ่งเอาไว้ข้างหลัง

101 ชวนคุณมองเทรนด์ ‘การศึกษาโลก’ ไล่เรียงตั้งแต่ภาพรวมการศึกษา วิกฤตการเรียนรู้และแนวทางแก้ไข รวมถึงทักษะที่จำเป็นสำหรับพลเมืองในศตวรรษที่ 21 ก่อนจะย้อนกลับมาสำรวจ ‘สถานการณ์การศึกษาไทย’ ที่ยังคงประสบกับปัญหาความยากจน และความเหลื่อมล้ำที่ไม่เคยจางหายไป รวมถึงฉายภาพแนวโน้มค่าใช้จ่ายในการเรียน และมาตรการที่รัฐควรเข้ามาช่วยเหลืออนาคตของชาติ

:: ส่องเทรนด์การศึกษาโลกในศตวรรษที่ 21 ::

การศึกษาไทยกับต่างประเทศแตกต่างกันอย่างไร

เทรนด์ 1: คนไปโรงเรียนมากขึ้น

การศึกษาไทยกับต่างประเทศแตกต่างกันอย่างไร

ช่วงหลายสิบปีมานี้ อัตราการสมัครเข้าเรียนในโรงเรียนของเด็กทั่วโลกเพิ่มขึ้น เช่น ปี 1970 บริเวณแอฟริกาใต้สะฮารา (Sub-Saharan Africa) และบริเวณเอเชียใต้ เคยมีอัตราการเข้าโรงเรียนประมาณ 68% และ 47% ตามลำดับ

แต่ในปี 2010 อัตราการเข้าเรียนในทั้งสองภูมิภาคเพิ่มขึ้นมากกว่า 100% ขณะที่ในกลุ่มประเทศรายได้ต่ำ (low-income countries) อัตราการเข้าโรงเรียนก็เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เช่น แซมเบีย ที่อัตราการเข้าเรียนระดับมัธยมศึกษาเพิ่มขึ้นเกือบ 75% ภายในช่วงปี 2000-2010

เทรนด์ 2: เด็กผู้หญิงได้ไปโรงเรียน

การศึกษาไทยกับต่างประเทศแตกต่างกันอย่างไร

ประชากรในกลุ่มชายขอบ (marginalized groups) โดยเฉพาะเด็กผู้หญิง (ซึ่งถือว่าเป็นประชากรชายขอบในเรื่องการศึกษาในหลายประเทศ) มีอัตราการเข้าเรียนในระดับประถมศึกษาสูงขึ้น ถ้ามองเฉพาะในประเทศที่กำลังพัฒนา อัตราส่วนของเด็กหญิงต่อเด็กชายเพิ่มขึ้นจาก 0.84 เป็น 0.96 ภายในช่วงปี 1991-2007

ขณะที่ในกลุ่มประเทศรายได้ต่ำ อัตราการเข้าเรียนระดับประถมศึกษาของเด็กหญิงคิดเป็น 78% และมีอัตราสำเร็จการศึกษาถึง 63%

เทรนด์ 3: คนจำนวนมากยังขาดโอกาส

การศึกษาไทยกับต่างประเทศแตกต่างกันอย่างไร

แม้อัตราการเข้าศึกษาต่อในหลายประเทศเพิ่มขึ้น แต่เด็กอีกกลุ่มหนึ่งยังถูกกีดกันออกจากระบบการศึกษา เพราะความยากจน เพศสภาพ เชื้อชาติ และสภาพเศรษฐกิจ สังคม รวมถึงการเมืองในประเทศ

‘การเมืองในประเทศ’ เช่น ประเทศซูดานใต้ ที่เจอกับความขัดแย้งภายในประเทศอย่างยาวนาน ทำให้ในปี 2011 ซูดานใต้มีอัตราการเข้าศึกษาต่อในระดับประถมศึกษาเพียง 41% นอกจากนี้ ประเทศที่เจอกับสถานการณ์ความไม่สงบภายในประเทศยังมีอัตราการลาออกจากโรงเรียนกลางคันสูง และมีอัตราการสำเร็จการศึกษา รวมถึงการอ่านออกเขียนได้ต่ำ

‘ความยากจน’ เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ทำให้เด็กไม่สามารถเข้าถึงการศึกษาได้ ในปี 2014 เด็กเกือบ 300 ล้านคนทั่วโลกที่มาจากครอบครัวยากจนไม่ได้เข้าศึกษาต่อในโรงเรียน หรือถ้ามีโอกาสได้เข้าเรียน พวกเขาก็มีแนวโน้มจะออกจากโรงเรียนกลางคันสูงเช่นกัน

แม้เด็กผู้หญิงจำนวนมากจะได้รับโอกาสในการเข้าถึงการศึกษาเพิ่มขึ้น แต่ ‘เพศสภาพ’ ก็เป็นอีกปัจจัยกีดกันเด็กออกจากระบบการศึกษา โดยภาพรวมในระดับโลก เด็กหญิงยังมีอัตราการเข้าโรงเรียนน้อยกว่าเด็กชายถึงสองเท่า แม้แต่ในภูมิภาคที่ค่อนข้างมีความเท่าเทียมด้านเพศสภาพอย่างแอฟริกาเหนือและตะวันออกกลางก็ยังเจอการกีดกันนี้อยู่

เทรนด์ 4: การเรียนรู้อยู่ในวิกฤต

การศึกษาไทยกับต่างประเทศแตกต่างกันอย่างไร

#1 เรียนไป แต่ใช้ไม่ได้

แม้การศึกษาจะขยายตัวอย่างรวดเร็ว แต่นั่นทำให้การศึกษาในหลายๆ ที่ไม่มีคุณภาพเท่าที่ควร โดยในระดับโลก เด็กกว่า 125 ล้านคนจากทั่วโลกที่เรียนในโรงเรียนมาแล้วอย่างน้อย 4 ปี แต่กลับไม่สามารถอ่านออก หรือคิดคำนวณทางคณิตศาสตร์ได้อย่างถูกต้อง ในบางประเทศ เด็กที่เรียนจบเกรด 2 เกือบ 90% ไม่สามารถอ่านคำง่ายๆ ได้แม้แต่คำเดียว และถ้าเป็นเด็กที่มีฐานะยากจน ปัญหานี้ก็ยิ่งทวีความรุนแรงขึ้นไปอีก

ในการประเมินระดับนานาชาติ นักเรียนในประเทศที่มีรายได้น้อยหรือปานกลางทำคะแนนได้น้อยกว่านักเรียนจากประเทศในกลุ่ม OECD (ประเทศในกลุ่มองค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ) เช่น ประเทศตูนิเซียต้องใช้เวลามากกว่า 180 ปี เพื่อจะทำคะแนนวิชาคณิตศาสตร์ให้ถึงคะแนนเฉลี่ยของประเทศในกลุ่ม OECD

คุณภาพการศึกษาที่ย่ำแย่ จึงส่งผลให้กำลังแรงงานที่ออกจากระบบการศึกษาไม่มีทักษะที่สามารถนำไปใช้ทำงานได้จริง หรือถ้าเริ่มทำงานแล้ว ก็ยังไม่มีทักษะพื้นฐานเพียงพอที่จะพัฒนาตนเองต่อ เช่น ในบางประเทศกำลังพัฒนา ผู้ใหญ่ที่ ‘ได้รับการศึกษา (educated)’ จำนวนมากแทบไม่มีทักษะในการทำงานเลย เช่น ในกานา 80% ของวัยทำงานมีทักษะอ่านออกเขียนได้ต่ำมาก ซึ่งถ้าเทียบกับกลุ่มประเทศรายได้สูงแล้ว จำนวนคนที่มีทักษะอ่านออกเขียนได้ต่ำคิดเป็นเพียง 15% เท่านั้น จึงอาจกล่าวได้ว่านี่คือวิกฤตการเรียน ที่เด็กจำนวนมาก ‘เรียนไปแล้ว’ แต่ ‘ใช้ไม่ได้จริง’

#2 เด็กยากจน ยังคงไม่ได้เรียน

พื้นเพของครอบครัว (การศึกษาของผู้ปกครอง สถานะทางเศรษฐกิจและสังคม และสภาพบ้านที่อยู่อาศัย) เป็นปัจจัยสำคัญต่อผลลัพธ์การเรียนรู้ เช่น ในฝรั่งเศส ผลการทดสอบ PISA ในวิชาวิทยาศาสตร์ ระหว่างเด็กที่ร่ำรวยกับเด็กที่ยากจนต่างกัน 115 คะแนน ขณะที่ในฮังการีต่างกันถึง 202 คะแนน ซึ่งถ้าใช้นิยามของการทดสอบ PISA ความแตกต่าง 100 คะแนนเทียบได้หยาบๆ กับการเรียน 3 ปี ซ้ำร้าย ช่องว่างระหว่างนักเรียนที่ยากจนและร่ำรวยยังมีแนวโน้มจะกว้างขึ้นเรื่อยๆ เมื่อนักเรียนขยับไปเรียนในระดับชั้นที่สูงขึ้น

อย่างไรก็ดี แม้คุณภาพของโรงเรียนจะมีผลต่อการเรียนรู้ เพราะถ้าเด็กนักเรียนยากจนได้รับการศึกษาจากโรงเรียนที่มีคุณภาพ ผลการเรียนของนักเรียนจะอยู่ในระดับมาตรฐานที่ไม่ต่างจากนักเรียนร่ำรวยเท่าไรนัก แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า โรงเรียนทุกโรงเรียนไม่ได้มีคุณภาพเท่ากันหมด เด็กฐานะปานกลางไปจนถึงร่ำรวยสามารถเลือกโรงเรียนที่ตอบสนองและพัฒนาความสามารถของพวกเขาได้อย่างเต็มที่ เด็กยากจนกลับไม่มีโอกาสนั้น

การศึกษาไทยกับต่างประเทศแตกต่างกันอย่างไร

เทรนด์ 5: ทักษะใหม่แห่งศตวรรษที่ 21

การศึกษาไทยกับต่างประเทศแตกต่างกันอย่างไร

ทักษะแบบที่ 1: ทักษะทางด้านการคิด (cognitive skills) คือความสามารถในการเข้าใจความคิดที่ซับซ้อน และนำมาประยุกต์ใช้ได้ ซึ่งเป็นทักษะที่จำเป็นต่อการเรียนรู้และการพัฒนาตนเองไปสู่ความเป็นมืออาชีพ เช่น ทักษะทางการคิดคำนวณขั้นพื้นฐาน การคิดเชิงวิพากษ์ (critical thinking) และการแก้ปัญหา

ทักษะแบบที่ 2: ทักษะทางอารมณ์และสังคม (socioemotional skills) หรือบางครั้งเรียกว่า ทักษะเชิงพฤติกรรม (non-cognitive skills) ซึ่งเป็นพฤติกรรม ทัศนคติ และคุณค่าที่คนๆ หนึ่งจำเป็นต้องมี เพื่อจะใช้เป็นแนวนำทางในการดำเนินชีวิต รวมถึงรับมือกับปัญหาและความท้าทายต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และถูกต้องตามทำนองคลองธรรม

ทักษะแบบที่ 3: ทักษะเชิงเทคนิค (technical skills) คือความรู้ ความเชี่ยวชาญ และการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ที่คนทำงานจำเป็นต้องมีเพื่อจะปฏิบัติหน้าที่ได้เต็มศักยภาพ ซึ่งการจะพัฒนาทักษะประเภทนี้ต้องอาศัยการเรียนรู้ การใช้เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่จำเป็นต่อการทำงาน

ทักษะทั้ง 3 ประเภทไม่ได้แยกขาดจากกันอย่างสิ้นเชิง แต่เป็นทั้งตัวสนับสนุนและเสริมแรงซึ่งกันและกัน จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่คนๆ หนึ่งจะต้องพัฒนาทักษะทั้ง 3 ประเภทของตน เพื่อพร้อมรับกับความเปลี่ยนแปลง และสามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขบนโลกที่ผันผวนใบนี้

:: สำรวจความเหลื่อมล้ำการศึกษาไทยเพิ่มโอกาสให้เด็กยากจน ::

การศึกษาไทยกับต่างประเทศแตกต่างกันอย่างไร

#ข้อเท็จจริง 1: เด็กไทยจำนวนมากอยู่นอกระบบการศึกษา

การศึกษาไทยกับต่างประเทศแตกต่างกันอย่างไร

แม้นักเรียนไทยส่วนใหญ่จะสามารถเข้าถึงการศึกษาได้ แต่ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษายังเป็นปัญหาที่น่ากังวล

ประเทศไทยมีเด็กเยาวชนวัยเรียนการศึกษาขั้นพื้นฐาน (อายุ 3-17 ปี) นอกระบบการศึกษามากกว่า 670,000 คนทั่วประเทศ เพราะปัญหาความยากจน ความด้อยโอกาสทางสังคม ความพิการและปัญหาครอบครัว

*อ้างอิง: รายงานเรื่องความไม่เสมอภาคทางการศึกษาของคณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา (กอปศ.)

#ข้อเท็จจริง 2: นักเรียนกว่า 1.1 แสนคนอยู่ในครัวเรือนที่มีรายได้ต่ำกว่าวันละ 100 บาท

การศึกษาไทยกับต่างประเทศแตกต่างกันอย่างไร

นักเรียนยากจนทั่วประเทศ มีจำนวนกว่า 115,203 คน ในระดับประถมและมัธยมศึกษาตอนต้น คิดเป็นร้อยละ 2.3 ของนักเรียนทั้งหมดในระดับประถมและมัธยมศึกษาตอนต้น

ผลดังกล่าวคำนวณจากแบบคัดกรองที่เสนอโดย ชัยยุทธ ปัญญสวัสดิ์สุทธิ์ และคณะ โดยพิจารณาจากเกณฑ์รายได้ครัวเรือนไม่เกิน 3,000 บาท และเงื่อนไข 4 ด้าน ได้แก่

-ภาระพึ่งพิงของครอบครัว

-สภาพที่อยู่อาศัย

-การถือครองยานพาหนะ

-เป็นเกษตรกรที่มีที่ดินทำกินไม่เกิน 1 ไร่

#ข้อเท็จจริง 3: การศึกษาเป็นทั้งโอกาสและภาระของครอบครัวยากจน

การศึกษาไทยกับต่างประเทศแตกต่างกันอย่างไร

หากใช้เกณฑ์เด็กยากจนที่มาจากครอบครัวซึ่งมีรายได้เฉลี่ยไม่ถึง 3,000 บาทต่อเดือน หรือ 36,000 บาทต่อปี ครอบครัวยากจนจะต้องแบกรับรายจ่ายทางการศึกษาคิดเป็นร้อยละ 22 ของรายได้ทั้งหมด มากกว่าครัวเรือนร่ำรวยถึง 4 เท่า

*อ้างอิงจากข้อมูลบัญชีรายจ่ายการศึกษาแห่งชาติ ในงานสัมมนา ‘ก้าวต่อไปของการช่วยเหลือนักเรียนยากจนพิเศษ’ เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2562

#ข้อเท็จจริง 4: การศึกษาไทยไม่ได้ฟรีทั้งหมด

การศึกษาไทยกับต่างประเทศแตกต่างกันอย่างไร

แม้ประเทศไทย นักเรียนชั้นประถมศึกษามีค่าใช้จ่ายเฉลี่ย 3,267 บาทต่อคนต่อปี ขณะที่ค่าใช้จ่ายของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นมีจำนวนมากกว่าเกือบสองเท่า คือ 6,378 บาทต่อคนต่อปี 

*อ้างอิงจากข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ ซึ่งสำรวจครัวเรือนที่มีบุตรหลานกำลังศึกษาในโรงเรียนรัฐจำนวน 8.2 ล้านครัวเรือนเมื่อปี พ.ศ. 2558

ค่าเดินทางและค่าเครื่องแบบเป็นภาระมากกว่าที่คิด

การศึกษาไทยกับต่างประเทศแตกต่างกันอย่างไร

ครัวเรือนยากจนมีภาระค่าเดินทางไปกลับโรงเรียนมากกว่า 1 ใน 3 ของค่าใช้จ่ายทางการศึกษาทั้งหมด 

เมื่อรวมกับค่าเครื่องแบบจะคิดเป็นสัดส่วนเกินร้อยละ 60 ของค่าใช้จ่ายทางการศึกษาทั้งหมด

*อ้างอิงจากข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ ซึ่งสำรวจครัวเรือนที่มีบุตรหลานกำลังศึกษาในโรงเรียนรัฐจำนวน 8.2 ล้านครัวเรือนเมื่อปี พ.ศ. 2558

ค่าใช้จ่ายด้านการศึกษามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี

การศึกษาไทยกับต่างประเทศแตกต่างกันอย่างไร

ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554 เป็นต้นมา โดยในปี พ.ศ. 2558 ครัวเรือนมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยทุกระดับการศึกษาเท่ากับ 6,881 บาทต่อคนต่อปี เพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ. 2554 ถึงร้อยละ 44 

อ้างอิงจากข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ ซึ่งสำรวจครัวเรือนที่มีบุตรหลานกำลังศึกษาในโรงเรียนรัฐจำนวน 8.2 ล้านครัวเรือนเมื่อปี พ.ศ. 2558

เมืองหลวงอย่างกรุงเทพมหานครถือเป็นพื้นที่ที่มีค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาสูงที่สุดเมื่อเทียบกับทุกภูมิภาค

การศึกษาไทยกับต่างประเทศแตกต่างกันอย่างไร

*อ้างอิงจากข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ ซึ่งสำรวจครัวเรือนที่มีบุตรหลานกำลังศึกษาในโรงเรียนรัฐจำนวน 8.2 ล้านครัวเรือนเมื่อปี พ.ศ. 2558

แนวทางการให้เงินอุดหนุนจากโครงการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อหลักประกันโอกาสทางการเรียนรู้

การศึกษาไทยกับต่างประเทศแตกต่างกันอย่างไร

ชัยยุทธ ปัญญสวัสดิ์สุทธิ์ และคณะ แบ่งออกเป็น 2 ระดับ ได้แก่

– อัตราเงินอุดหนุนขั้นสูง — มอบค่าเล่าเรียนหรือค่าบำรุงการศึกษา ค่าเครื่องแบบ ค่าหนังสือ อุปกรณ์การเรียนต่างๆ ค่าเดินทางไปเรียน และค่าอาหารเช้าหรือกลางวัน

นักเรียนประถม 4,092 บาทต่อปี

นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น 7,974 บาทต่อปี

-อัตราเงินอุดหนุนขั้นต่ำ — ค่าเดินทางไปเรียน และค่าอาหารเช้าหรือกลางวัน  

นักเรียนประถม 2,701 บาทต่อปี

นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น 5,620 บาทต่อปี

จากแนวทางการให้เงินอุดหนุนดังกล่าว รวมแล้วรัฐจะใช้เงินเริ่มต้นที่ 563 ล้านบาท เมื่อใช้อัตราอุดหนุนขั้นสูง และ 380 ล้านบาท สำหรับอัตราอุดหนุนขั้นต่ำ

การศึกษาไทยกับต่างประเทศแตกต่างกันอย่างไร

ผลงานชิ้นนี้เป็นส่วนหนึ่งของความร่วมมือระหว่าง กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) และ The101.world

กสศ. ความเสมอภาคทางการศึกษา ความเหลื่อมล้ำ The101.world ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ความยากจน การศึกษาไทย การศึกษาโลก