Grab กับ uber ต่าง กัน อย่างไร

จากกรณีกระแสวิพากษ์วิจารณ์บนโลกสังคมออนไลน์ ถึงประเด็นของ อูเบอร์ (Uber) และแกร็บ (Grab) ทางเลือกใหม่ด้านการเดินทางผ่านแอปพลิเคชันบนโทรศัพท์มือถือ เป็นที่กล่าวถึงในวงกว้าง ผู้บริโภคให้การชื่นชมทั้งราคาที่เหมาะสมกับผู้บริโภค และมีบริการที่ดีกว่ารถแท็กซี่สาธารณะทั่วไป แต่ทั้ง 2 ธุรกิจนี้ ยังไม่ใช่บริการที่ถูกกฎหมาย โดยก่อนหน้านี้ เกิดเหตุการณ์ที่ไม่ดีนักกับคนขับอูเบอร์อีกด้วย (ข่าวที่เกี่ยวข้อง คุมตัวหนุ่มขับอูเบอร์ ถูกล้อมรถ เสียค่าปรับ 2 พัน)

เมื่อเทียบกับกระแสสังคมขณะนี้ อูเบอร์และแกร็บ ยังคงเป็นที่หนึ่งด้านการบริการเมื่อเทียบกับแท็กซี่ที่พบแต่คำก่นด่า วันนี้ ‘ทีมข่าวไทยรัฐออนไลน์’ จึงขอนำประสบการณ์จากผู้ใช้บริการอูเบอร์และแกร็บ บางส่วน ที่ขอบอกว่า “ไม่น่าประทับใจ” เอาเสียเลยมาให้ชมกันบ้าง โดยไม่ได้เป็นการดิสเครดิตใคร แต่ต้องการให้เห็นอีกแง่มุมหนึ่งของการบริการ

เริ่มที่ อูเบอร์

คิดค่าทางด่วนเกิน

ผู้ใช้บริการรายหนึ่ง โดนเก็บค่าทางด่วน ทั้งที่ไม่ได้ผ่าน ซึ่งแจ้งปัญหาผ่านระบบแล้วถึง 4 ครั้ง ยังไม่ได้รับการติดต่อแก้ปัญหา


เก็บค่าโดยสารโดยไม่ได้ใช้บริการ

ผู้ใช้บริการถูก อูเบอร์ เรียกเก็บค่าโดยสาร จำนวนกว่า 600 บาท โดยที่ไม่ได้เรียกใช้บริการ หักอัตโนมัติผ่านระบบบัตรเครดิต ซึ่งมีผู้มาแสดงความคิดเห็นมากมาย เพราะเคยโดนเรียกเก็บค่าบริการเหมือนกัน


คนขับหงุดหงิด ทนฟังเสียงลูกค้าไม่ได้

ผู้ใช้รายหนึ่งโพสต์แสดงความคิดเห็นว่า คนขับรถ ไม่สามารถทนฟังเสียงผู้โดยสารคุยโทรศัพท์ได้ ทั้งที่พูดจาสุภาพ และไม่ได้พูดล่วงเกินใดๆ กับคนขับ และมองว่า อูเบอร์ ไม่สามารถตอบโจทย์ได้


โดนเรียกเก็บค่าบริการเพิ่ม

ผู้ใช้บริการรายนี้ เรียกอูเบอร์ โดยระบบได้หักเงินจากบัตร รวมกับส่วนลดการเดินทางเรียบร้อยแล้ว หลังจากถึงที่หมาย คนขับกลับเรียกเก็บเงินเพิ่มอีก 78 บาท อีกทั้งยังติดต่ออูเบอร์ ให้แก้ไขปัญหาไม่ได้ ทางอินบ็อกซ์เฟซบุ๊ก ก็ไม่สามารถติดต่อได้


โดนยกเลิกสามคันรวด!

ใครบอกว่า อูเบอร์ ไม่ปฏิเสธผู้โดยสาร ล่าสุดโดนผู้ใช้บริการประชดจนหงายหลัง เนื่องจากโดนคนขับปฏิเสธสามคันรวด และที่เจ็บใจมากกว่านั้น คือคนขับ บอกให้เจ้าตัวกดยกเลิกเอง อ้างว่า ไม่มีปุ่มยกเลิกภายในแอปพลิเคชัน เพียงเพราะกลัวเสียประวัติ ซึ่งหากผู้ใช้งานยกเลิกหลังจากเรียก 5 นาที ก็จะถูกคิดค่าปรับ 45 บาท และเสี่ยงโดนแบนในการใช้งานครั้งต่อไปอีกด้วย

ค่าโดยสารแพงมาก!

ผู้โดยสารรายนี้ โพสต์เปรียบเทียบราคาค่าโดยสารจากห้วยขวาง ไปดอนเมือง ขาไปนั่งแท็กซี่ จ่ายตามราคามิเตอร์เพียง 190 บาท ขากลับลองใช้บริการอูเบอร์ ปรากฏว่า ค่าโดยสารสูงถึง 367 บาท ทั้งๆ ที่เป็นช่วงเวลากลางคืน การจราจรไม่ติดขัด ถึงกับเข็ดจากการใช้บริการครั้งแรกกันเลยทีเดียว


มาดูด้านของ แกร็บ กันบ้าง ก็ไม่น้อยหน้า

Grab ราคาพุ่งพรวด!

ช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่ผ่านมา ผู้โดยสารถึงกับบ่น เพราะปกติใช้บริการเฉลี่ย 70-80 บาท แต่ในครั้งนี้พุ่งสูงถึง 270 บาท ถามหาความยุติธรรม มีการควบคุมราคาตามมาตรฐานบ้างไหม?

คนขับหัวหมอ

ผู้โดยสารรายหนึ่งใช้บริการแกร็บคาร์ ค่าโดยสารจริง 57 บาท และได้จ่ายค่าโดยสารไป 100 บาท แต่คนขับกลับหัวหมอ ทอนเงินให้เพียง 20 บาท โดยอ้างว่าเพิ่งทอนเงินให้ลูกค้าก่อนหน้านี้จนไม่มีเงินเหลือ หลังจากนั้นผู้ใช้บริการโทรศัพท์ไปร้องเรียน ซึ่งทางแกร็บ ได้รับเรื่องไว้ แต่ก็หายเงียบเข้ากลีบเมฆ

ก้นยังไม่ทันติดเบาะ ตัดเงินในบัตรทันที!

ผู้โดยสารรายนี้รู้สึกไม่ได้รับความยุติธรรม โดยเจ้าตัวเรียกรถและตัดเงินผ่านบัตร ซึ่งหลังจากกดเรียกรถผ่านแอปพลิเคชัน พบว่าเงินถูกหักออกจากบัตรทันที ทั้งๆ ที่ยังไม่ทันนั่งบนรถ โดยแกร็บอ้างว่าเป็นการประกันเงินหรือสำรองเงินไว้ก่อน หากค่าบริการไม่ถึงจำนวนที่หัก จะได้รับเงินคืนภายใน 5-7 วัน แบบนี้ก็ได้เหรอ...

ทั้งนี้ ผู้สื่อข่าวได้สอบถามไปยัง อูเบอร์ กรณีการแก้ไขปัญหาด้านกฎหมาย นางสาวศิริภา จึงสวัสดิ์ ผู้จัดการประจำประเทศไทยของอูเบอร์ (Uber Thailand) เปิดเผยกับทีมข่าวไทยรัฐออนไลน์ว่า อูเบอร์ได้มีการหารือ และพูดคุยกับกระทรวงคมนาคม อย่างต่อเนื่อง เพื่อต้องการเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาระบบคมนาคมไทย ตลอดจนคิดค้นนวัตกรรม ช่วยให้คนในสังคมไทยเข้าถึงระบบขนส่งอย่างเสมอภาคและเท่าเทียม ซึ่งจากการหารือเมื่อเดือน มี.ค. ที่ผ่านมา ทำให้ภาครัฐได้เข้าใจถึงรูปแบบการให้บริการในระบบ Ride Sharing หรือการใช้รถร่วมโดยสารด้วยกัน และได้มีการสรรหาองค์กรอิสระเข้ามาร่วมศึกษาด้วย โดยระหว่างนี้ต้องใช้เวลานาน 6-12 เดือน ก่อนที่จะออกมาเป็นรูปเป็นร่าง

ทางด้าน แกร็บแท็กซี่ หรือ แกร็บคาร์ ทางทีมข่าวไทยรัฐออนไลน์ ได้มีการติดต่อประสานงานเพื่อพูดคุยในประเด็นดังกล่าว แต่ยังไม่สามารถติดต่อได้

ทั้งนี้ จากข้อมูลของกรมการขนส่งทางบก ระบุว่า ผู้บริโภคสามารถเรียกรถผ่านแอปพลิเคชันได้ตามปกติโดยไม่ผิดกฎหมาย ส่วนแกร็บคาร์ ยังคงผิดกฎหมายเพราะถือเป็นรถป้ายดำเช่นเดียวกับอูเบอร์ เนื่องจากเป็นการใช้รถยนต์ผิดประเภทจากที่จดทะเบียนไว้.

ปัญหาแท็กซี่ไม่รับผู้โดยสาร, มารยาทแย่, ขับขี่ไม่ปลอดภัย, และหนักสุดคือทำตัวเยี่ยงโจร เป็นปัญหาคาราคาซังที่ผ่านมานานหลายปีผ่านไปก็ไม่มีหน่วยงานใดสามารถจัดการได้ แถมล่าสุดเล็งขอขึ้นค่าโดยสารขึ้นอีกโดยยังไม่เห็นแนวทางการพัฒนาคุณภาพของผู้ขับขี่อย่างเป็นรูปธรรมเท่าไหร่นัก ซึ่งวันนี้สมาร์ทโฟนที่พวกเราถืออยู่อาจจะเป็นตัวกระตุ้นให้ตลาดเกิดการเปลี่ยนแปลงได้ จึงอยากขอเชิญชวน เพื่อนๆร่วมด้วยช่วยจบปัญหาแท็กซี่ไร้คุณภาพกับ 3 แอพเรียกแท็กซี่ EasyTaxi, GrabTaxi และ Uber กันครับ

ทำไมต้องใช้แอพเรียกแท็กซี่

  • ไม่ปฎิเสธผู้โดยสาร กดเรียกแล้วมารอรับถึงที่

  • แสดงความคิดเห็นหลังใช้บริการได้ มารยาทดีไม่ดี ขับขี่ไม่ปลอดภัย เรารู้ได้หมด

  • รู้ตัวคนขับ มีประวัติชัดเจน ติดตามกรณีของหายได้

  • จ่ายเงินด้วยบัตรเครดิต(เฉพาะบางแอพ) หมดปัญหาเงินทอนไม่มี

  • โปรโมชั่นส่วนลดเพียบ!

ในปัจจุบันนี้มี 3 แอพที่กำลังทำตลาดในเมืองไทยอย่างเมามันส์คือ EasyTaxiGrabTaxi และ Uber ซึ่งผมได้ลองทำตารางเปรียบเทียบค่าบริการและความสามารถของแต่ละอันมาให้ดูกันนะครับ ถ้าข้อมูลส่วนไหนผิดหรืออยากให้เพิ่มตรงไหน บอกได้ครับ

  ศูนย์บริการแท็กซี่ EasyTaxi GrabTaxi UberX Uber Black
ค่าบริการเรียกรถ 20 20 25
ค่าโดยสารเริ่มต้น 0-1 กม. 35 35 35 25 45
ประเภทรถ แท็กซี่ทั่วไป แท็กซี่ทั่วไป แท็กซี่ทั่วไป รถทั่วไปป้ายดำ รถลิมูซีนป้ายเขียว
รถติด-จอดรอ (กำลังจะปรับขึ้น) 1.5 บาท/นาที 1.5 บาท/นาที 1.5 บาท/นาที
ค่าใช้จ่ายต่อระยะทาง 5 บาท/กม.
*เพิ่มขึ้น 50สต./ระยะทาง 10 กม.
5 บาท/กม.
*เพิ่มขึ้น 50สต./ระยะทาง 10 กม.
5 บาท/กม.
*เพิ่มขึ้น 50สต./ระยะทาง 10 กม.
4.5 บาท/กม. 9.2 บาท/กม.
ค่าใช้จ่ายต่อเวลา 1 บาท/นาที 2.5 บาท/นาที
ค่าโดยสารขั้นต่ำ 45 บาท 75 บาท
การชำระเงิน เงินสด เงินสด/บัตรเครดิต เงินสด/บัตรเครดิต บัตรเครดิต บัตรเครดิต
ค่าทางด่วน จ่ายแยก จ่ายแยก จ่ายแยก รวมในบิล รวมในบิล
แชร์ค่าเดินทาง เงินสด *หารกันเอง เงินสด *หารกันเอง เงินสด *หารกันเอง แชร์ผ่านบัตร แชร์ผ่านบัตร
จำนวนรถ ไม่มีข้อมูล ~800 คัน ~800 คัน น้อยมาก น้อย
แจ้งค่าโดยสาร มิเตอร์บนรถ มิเตอร์บนรถ มิเตอร์บนรถ ประมาณการผ่านแอพ ประมาณการผ่านแอพ
การคิดค่าโดยสาร ตั้งแต่ขึ้นรถ? ตั้งแต่ขึ้นรถ ตั้งแต่ขึ้นรถ ตั้งแต่ขึ้นรถ ตั้งแต่ขึ้นรถ
ค่าโดยสารในชม.เร่งด่วน/รถขาด มี (1.25 – 1.9 เท่า) มี (1.25 – 1.9 เท่า)
ตำแหน่งปัจจุบันของแท็กซี่ และแสดงระยะเวลาที่ต้องรอ มี มี มี มี
เรียกล่วงหน้า มี
แชร์ข้อมูลเดินทาง มี มี มี
ติชมบริการ มี มี มี มี
Android  
Grab กับ uber ต่าง กัน อย่างไร
Grab กับ uber ต่าง กัน อย่างไร
Grab กับ uber ต่าง กัน อย่างไร
Grab กับ uber ต่าง กัน อย่างไร
iOS  
Grab กับ uber ต่าง กัน อย่างไร
Grab กับ uber ต่าง กัน อย่างไร
Grab กับ uber ต่าง กัน อย่างไร
Grab กับ uber ต่าง กัน อย่างไร
Windows Phone  
Grab กับ uber ต่าง กัน อย่างไร
Grab กับ uber ต่าง กัน อย่างไร
Grab กับ uber ต่าง กัน อย่างไร
Grab กับ uber ต่าง กัน อย่างไร

อธิบายเพิ่มเติม

EasyTaxi & GrabTaxi : บริการจะคล้ายกันมาก ปกติจะเจอแท็กซี่รับทั้งสองแอพนี้ในเวลาเดียวกัน EasyTaxi จะคิดค่าเรียกถูกกว่าเล็กน้อย แต่ GrabTaxi จะทำตลาดดุกว่ามาก และมีแคมเปญการตลาดพร้อมโปรโมชั่นส่วนลดเพียบ
*EasyTaxi แม้มีระบบการชำระเงินด้วยบัตรเครดิต แต่เหมือนว่าจะยังไม่มีแท็กซี่ในไทยรองรับ

[Updated 4 Dec 14] GrabTaxi : เปิดรับชำระค่าโดยสารด้วยบัตรเครดิตจากความร่วมมือกับธนาคารกสิกรแล้ว

Uber Black : บริการแท็กซี่แบบลิมูซีน เอารถป้ายเขียวมาวิ่งรับผู้โดยสาร พบรถกันขั้นต่ำก็ Camry Accord หรือไปสุดที่ Mercedez หรือ BMW กันเลยทีเดียว แต่ค่าบริการก็จะแพงกว่าปกติพอสมควรเช่นกัน และรถมีไม่มากนัก 

Grab กับ uber ต่าง กัน อย่างไร
ภาพจาก iinnn.net // Uber แท็กซี่สุดหรูกับคนขับรถส่วนตัว

Uber X : บริการแท็กซี่โดยใครๆก็สมัครทำได้ หรือเรียกง่ายๆว่าเป็นรถทะเบียนขาว-ดำ ที่พวกเราขับกันทั่วไปเนี่ยแหละ มีตั้งแต่ toyota vios-altis ค่าบริการช่วงแนะนำจะถูกว่าแท็กซี่ทั่วไป แต่ต่อไปยังไม่ทราบ แต่บางคนก็เป็นห่วงคือความปลอดภัย เพราะเป็นใครที่ไหนมาขับก็ไม่มีใครรู้

Grab กับ uber ต่าง กัน อย่างไร
Grab กับ uber ต่าง กัน อย่างไร

ภาพจาก iinnn.net // Uber แท็กซี่สุดหรูกับคนขับรถส่วนตัว

5Uber X เป็นบริการที่เปิดให้บริการมาแล้วในหลายประเทศและเกิดปัญหามากมาย…ไม่ใช่ว่าผู้ใช้ร้องเรียนในความปลอดภัยนะ แต่เป็นคนขับแท็กซี่ออกมาโวยว่า Uber X แย่งงาน แย่งผู้โดยสารไปซะหมดเลย 😛

ข้อควรรู้ :

  • ระบบการคิดเงินค่าเดินทางของ Uber และ EasyTaxi+GrabTaxi ต่างกัน

  • EasyGrab จะเป็นการวางระบบครอบปกติเท่านั้น การคิดเงินค่าเดินทางยังใช้มิเตอร์ปกติ รถวิ่งคิดเงินกม.ละ 5 บาท รถจอดหรือติดคิด 1.5 บาทต่อนาที

  • Uber จะทำระบบขึ้นมาใหม่เลย และจะรถวิ่งหรือรถจอดก็เสียเงินคิด ไม่มีหยุดอันใดอันหนึ่ง แต่โดยรวมก็ยังถูกกว่าแท็กซี่อยู่ราว 10-15%

  • Uber ไม่ต้องควักเงินเสียค่าทางด่วนให้คนขับ เพราะมันจะหักในยอดรวมอยู่แล้ว

  • Uber จะไม่มีมิเตอร์บอกค่าใช้จ่ายปัจจุบันเป็นเท่าไหร่อย่างไร ไปรอลุ้นอีกทีตอนบิลแจ้งค่าบริการเข้ามาในอีเมล์เท่านั้น

  • ทั้ง Uber และ EasyGrab จะคิดค่าบริการเมื่อเราขึ้นรถแล้วเท่านั้น ใครโดนกดก่อนโปรดโวยหรือร้องเรียนไปที่ Call Center ของแอพนั้นๆ

สาเหตุที่หลายๆคนยังไม่ใช้งาน

  • มีค่าเรียกรถ 20-25 บาท

  • จำนวนรถที่ใช้แอพยังมีไม่มาก ต้องรอแท็กซี่วิ่งมาหา ซึ่งบางคนโดนไปเกินครึ่งชม.ก็มี

  • ต้องกดเรียกผ่านสมาร์ทโฟนวุ่นวาย ยืนริมถนนเรียกเลยง่ายกว่า

แต่ในทางกลับกันก็อยากให้ช่วยๆกันใช้แอพเหล่านี้กันเยอะๆนะครับ เพราะลึกๆแล้วเชื่อว่ามันน่าจะสร้างความเปลี่ยนแปลงหลายๆอย่างต่อคุณภาพชีวิตคนไทยได้ไม่มากก็น้อยครับ

สรุป…ใช้แอพไหนดี?

คำตอบที่ผมจะให้ได้ดีที่สุดคงเป็นลองมันทั้ง 3 แอพครับ เพราะแต่ละแอพแต่ละพื้นที่ใช้งาน แต่ละช่วงเวลามีจำนวนรถไม่เท่ากัน แม้ว่า UberX อาจจะดูแล้วถูกสุดแต่ก็มีรถน้อย แถมบางคนยังไม่ค่อยไว้ใจเท่าไหร่ ฉะนั้นลองกดดูอันไหนมีรถ ใช้แล้วประทับใจ ก็ใช้ต่อได้เลยครับ 😀

โปรโมชั่นสำหรับคนที่ยังไม่เคยลองใช้งาน

GrabTaxi : ลูกค้า True รับส่วนลด 50-100 บาท รายละเอียดเพิ่มเติมกดเข้าไปอ่านเองนะ

Grab กับ uber ต่าง กัน อย่างไร

หรือกด promo code : “WELCOME” เพื่อรับค่าโดยสารฟรี 50 บาท (โปะค่าเรียก 25 บาท และค่าโดยสารจริงอีก 25 บาท)

Uber : ทดลองใช้งานฟรี 200 บาท โดยกดเข้าไปลงทะเบียนที่ https://get.uber.com/invite/gdiwo หรือกด promo code ในแอพรหัส gdiwo ก็ได้ครับ ถ้าไม่ชอบใจยังไงก็ถือว่าได้ขึ้นรถแท็กซี่ฟรีครั้งนึงอ่ะนะ 😀

Grab กับ uber ต่าง กัน อย่างไร

หรือถ้าใครใช้ Dtac แล้วมีสิทธิ์ Reward หรือ Reward Xtra รับเครดิตฟรี 300-400 บาทสำหรับการใช้งานครั้งแรก ใช้ได้ภายใน 30 พ.ย. 57 นี้เท่านั้น รายละเอียดเพิ่มเติม

Grab กับ uber ต่าง กัน อย่างไร

แล้วเพื่อนๆที่เคยลองใช้แอพใดแอพหนี่งเหล่านี้มาแล้ว มาแชร์ประสบการณ์กันหน่อยครับ ว่าเป็นยังไงกันบ้าง 🙂

ตารางค่าโดยสารแท็กซี่ปัจจุบัน4

กิโลเมตรที่ ค่าโดยสาร
0-1 35 บาท
2-12 5 บาท/กิโลเมตร
12-20 5.50 บาท/กิโลเมตร
20-40 6 บาท/กิโลเมตร
40-60 6.50 บาท/กิโลเมตร
60-80 7.50 บาท/กิโลเมตร
80 ขึ้นไป 8.50 บาท/กิโลเมตร

ในกรณีที่รถจอดหรือเคลื่อนที่ได้ไม่เกิน 6 กิโลเมตร/ชั่วโมง มิเตอร์เวลาจะเดิน อัตราค่าโดยสาร 1.50 บาท/นาที โดยเตรียมปรับขึ้นเป็น 2 บาท/นาทีในเดือนธันวาคมนี้ และระยะทางที่จะเพิ่มขึ้น 50 สต. จะลงเหลือ 10 กม. ไม่ใช่ 12 เช่นเคย

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับแท็กซี่ในประเทศไทย

  • ข้อมูลจากปี 2013 – จำนวนแท็กซี่ในประเทศไทยมีอยู่ราว 120,000 คัน โดยคิดเป็นแท็กซี่ของสหกรณ์กว่า 80,000 คัน ซึ่งมีสหกรณ์แท็กซี่ราว 40 แห่ง7
  • เฉพาะแท็กซี่ในกรุงเทพ มีอยู่ราว 108,500 คัน8
  • แม้ว่าจะมีรถแท็กซี่เยอะขนาดนี้ แต่ว่าจำนวนก็มีไม่พอจำนวนคนขับ7
  • และแม้ว่าจะมีรถแท็กซี่เยอะขนาดนี้ ก็ยังมีปัญหาร้องเรียนว่ารถไม่พอ ไม่รับผู้โดยสารอยู่เสมอ8

สถิติปัญหาการร้องเรียนแท็กซี่ไปยังกรมขนส่งฯ8

ลำดับ

ข้อหาความผิด

ต.ค.54 –ก.ย. 55 ต.ค.55- เ.ม.ย.56

รวม/ราย

จำนวน /ราย จำนวน/ราย
1 ปฏิเสธไม่รับผู้โดยสาร 10,330 9,832 20,162
2 แสดงกิริยาวาจาไม่สุภาพ 2,642 1,981 4,623
3 ส่งไม่ถึงจุดหมายปลายทาง 2,153 3,614 5,767
4 พาไปในเส้นทางที่อ้อม 1,066 995 2,061
5 ขับรถในลักษณะประมาทหรือน่าหวาดเสียว 834 587 1,421
6 ไม่ใช้มาตรค่าโดยสาร 787 1,426 2,213
7 ใช้รถอุปกรณ์ส่วนควบไม่ถูกต้อง
(มิเตอร์เดินเร็ว,ติดฟิล์ม)
677 435 1,112
8 เรียกเก็บค่าโดยสารเกินอัตรา 482 522 1,004
9 เรื่องอื่นๆ(เช่น การแต่งกาย,สูบบุหรี่) 501 791 1,292
รวม 19,472 20,183 39,655

อ้างอิงและข้อมูลเพิ่มเติม

1EasyTaxi : http://www.easytaxi.com

2GrabTaxi : http://grabtaxi.com/bangkok-thailand-th/

3Uber : https://www.uber.com

4อัตราค่าโดยสารแท็กซี่ : http://th.wikipedia.org/wiki/แท็กซี่

5BI : http://www.businessinsider.com/uber-new-york-city-office-protests-2014-9

6ไทยรัฐ : http://www.thairath.co.th/content/457520

7กบนอกกะลา : http://www.mcot.net/site/content?id=51027f59150ba0ef22000086#.VEXYkb4eTao

8ประชาชาติธุรกิจ : http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1371625073

Grab กับ uber ต่าง กัน อย่างไร