อนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำในประเทศไทย คือพื้นที่ใด

อนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำในประเทศไทย คือพื้นที่ใด

           อนุสัญญาแรมซาร์หรืออนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำเกิดขึ้นจากการที่ประเทศต่าง ๆ ได้ตระหนักถึงความสำคัญของบริเวณพื้นที่ชุ่มน้ำ  (wetlands)  ซึ่งกำลังถูกคุกคามนำไปสู่การประชุม  เพื่อรับรองอนุสัญญาดังกล่าวที่เมืองแรมซาร์  ประเทศอิหร่าน  พ.ศ.  2514

            อนุสัญญานี้มีวัตถุประสงค์หลักในการอนุรักษ์และยับยั้งการสูญหายของพื้นที่ชุ่มน้ำในโลกและสนับสนุนให้มีการใช้ประโยชน์จากพื้นที่ชุ่มน้ำอย่างชาญฉลาด  ประเทศที่เข้าร่วมในข้อตกลงจะต้องคัดเลือกพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับชาติหรือนานาชาติอย่างน้อย  1  แห่ง  บรรจุในทะเบียนพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศ  ซึ่งพิจารณาจากเกณฑ์ที่กำหนดขึ้นในข้อตกลงของอนุสัญญา  กำหนดและวางแผนในการใช้ประโยชน์จากพื้นที่ชุ่มน้ำทุกแห่งในประเทศ  ไม่ว่าจะขึ้นทะเบียนหรือไม่ก็ตาม

"วันพื้นที่ชุ่มน้ำโลก" ตรงกับวันที่ 2 กุมภาพันธ์ของทุกปี ถูกกำหนดขึ้นครั้งแรก ณ ที่ประชุมอนุสัญญาแรมซาร์ เมืองแรมซาร์ ประเทศอิหร่าน เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2514 เพื่อการอนุรักษ์ ป้องกัน และยับยั้งการสูญเสียของพื้นที่ชุ่มน้ำทั่วโลก

วันที่ 2 กุมภาพันธ์ ของทุกปีถูกกำหนดให้เป็น "วันพื้นที่ชุ่มน้ำโลก" ซึ่งมีความสำคัญทางด้านทรัพยากรธรรมชาติอย่างมาก เพราะถือเป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายของระบบนิเวศมากที่สุดในโลก

หลายคนอาจจะยังไม่เคยรู้ว่า "พื้นที่ชุ่มน้ำ" คืออะไร? แล้วทำไมถึงต้องมีการกำหนดวันพื้นที่ชุ่มน้ำโลกขึ้นมา กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ หาคำตอบมาให้รู้กันดังนี้

1. พื้นที่ชุ่มน้ำ คืออะไร?

"พื้นที่ชุ่มน้ำ" เป็นพื้นที่มีระบบนิเวศที่มีความอุดมสมบูรณ์มากที่สุด พื้นที่ชุ่มน้ำมีประโยชน์คือ เป็นแหล่งความหลากหลายของพืชและสัตว์นานาชนิดที่อาศัยทรัพยากรน้ำและทรัพยากรชีวภาพ ที่เป็นปัจจัยพื้นฐานในการดํารงชีวิต

อีกทั้งยังเป็นแหล่งกักเก็บน้ำ ป้องกันน้ำท่วม ลดการพังทลายหน้าดิน ช่วยควบคุมการไหลเวียนของน้ำไปยังแหล่งน้ำใต้ดิน และรักษาความสมดุลทางธรรมชาติ

2. "วันพื้นที่ชุ่มน้ำโลก" เริ่มมีขึ้นครั้งแรกเมื่อไร?

เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2514 (หรือ ค.ศ.1971) นานาชาติได้ร่วมยกร่างและลงนามในการรับรอง “อนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำ” ที่มีความสําคัญระหว่างประเทศ โดยเฉพาะเป็นแหล่งที่อยู่ของ “นกน้ำ” โดยเกิดขึ้นครั้งแรก ณ เมือง Ramsar ประเทศอิหร่าน และเป็นที่รู้จักกันในนามอนุสัญญาแรมซาร์

จากนั้นก็มีการเฉลิมฉลองวันพื้นที่ชุ่มน้ำโลกในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ เรื่อยมาทุกปี ในฐานะที่เป็นวันครบรอบของอนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำ ต่อมาสำนักเลขาธิการอนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำ ได้จัดเฉลิมฉลอง World Wetlands Day (วันพื้นที่ชุ่มน้ำโลก) อย่างจริงจังมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2540 (ค.ศ.1997) 

3. ทำไมต้องมีวันพื้นที่ชุ่มน้ำโลก?

รู้หรือไม่? พื้นที่ชุ่มน้ำของโลกเกือบ 90% เสื่อมโทรมลงตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 1700 และเราสูญเสียพื้นที่ชุ่มน้ำเร็วกว่าพื้นที่ป่าถึง 3 เท่า ทั้งๆ ที่ "พื้นที่ชุ่มน้ำ" เป็นระบบนิเวศที่มีความสำคัญอย่างยิ่งยวด

เนื่องจากเพราะเป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพมากที่สุด มีส่วนช่วยปรับสมดุลของสภาพอากาศ เป็นแหล่งสำรองน้ำจืด และเป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ จึงส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจโลกอีกด้วย

ดังนั้นจึงเป็นเรื่องเร่งด่วนที่จะต้องสร้างความตระหนักรู้ในระดับประเทศและระดับโลกเกี่ยวกับ "พื้นที่ชุ่มน้ำ" เพื่อยับยั้งการสูญเสียแหล่งระบบนิเวศอันสำคัญเช่นนี้อย่างรวดเร็ว และสนับสนุนให้มีการดำเนินการด้านอนุรักษ์และฟื้นฟูพื้นที่ชุ่มน้ำให้มากที่สุด และได้เกิดเป้าประสงค์หลักของ "วันพื้นที่ชุ่มน้ำโลก" ขึ้นมาก็คือ

  • เพื่อกระตุ้นให้ผู้คนทั่วโลกตระหนักรู้ อนุรักษ์ และใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ชุ่มน้ำอย่างยั่งยืนเท่าที่จะเป็นไปได้
  • เพื่อเป็นการอนุรักษ์ระบบนิเวศพื้นที่ชุ่มน้ำที่ยังเหลืออยู่ทุกแห่งทั่วโลก

4. "Wetlands Action for People and Nature" ธีมรณรงค์ปี 2565

สำหรับธีมรณรงค์ของ World Wetlands Day ในปีนี้ คือ "Wetlands Action for People and Nature" ซึ่งแปลความได้ว่า "ลงมือดูแลอนุรักษ์/ฟื้นฟูพื้นที่ชุ่มน้ำ เพื่อผู้คนและธรรมชาติ

โดยเน้นให้ผู้คนเห็นความสำคัญของการดำเนินการด้านต่างๆ เพื่อให้แน่ใจว่ามีการอนุรักษ์และใช้พื้นที่ชุ่มน้ำอย่างยั่งยืนสำหรับมนุษย์และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมทั่วโลก

5. "วันพื้นที่ชุ่มน้ำโลก" ในประเทศไทย

ประเทศไทย เข้าเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำ เป็นลำดับที่ 110 เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ.2514 โดยได้เสนอ “พรุควนขี้เสี้ยน” ในเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย จังหวัดพัทลุง ขึ้นทะเบียนเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศแห่งแรกของประเทศไทย และลำดับที่ 948 ของโลก

หาก “น้ำ” คือแหล่งกำเนิดของชีวิต “พื้นที่ชุ่มน้ำ” ก็เปรียบเสมือนบ้านหลังใหญ่ที่ให้ทุกชีวิตได้พึ่งพิงอาศัย และเมื่อบ้านเริ่มมีรอยแตกร้าว ก็ถึงเวลาแล้วที่เจ้าบ้านอย่างเราควรจะกลับมาดูแลใส่ใจอย่างจริงจัง

ว่าแต่… พื้นที่ชุ่มน้ำคืออะไร?

ตามอนุสัญญาแรมซาร์ (Ramsar Convention) หรืออนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำ จากสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ให้คำจำกัดความของคำว่า “พื้นที่ชุ่มน้ำ” (Wetlands) หมายถึง “ที่ลุ่ม ที่ราบลุ่ม ที่ชื้นแฉะ พรุ แหล่งน้ำ ทั้งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและที่มนุษย์สร้างขึ้น ทั้งที่มีน้ำขัง หรือ น้ำท่วมอยู่ถาวรและชั่วครั้งชั่วคราว ทั้งที่เป็นแหล่งน้ำนิ่ง และน้ำไหล ทั้งที่เป็นน้ำจืด น้ำกร่อย และน้ำเค็ม รวมไปถึงชายฝั่งทะเล และในทะเลที่บริเวณซึ่งเมื่อน้ำลดลงต่ำสุด มีความลึกของระดับน้ำไม่เกิน 6 เมตร ตัวอย่างเช่น ห้วย หนอง คลอง บึง แม่น้ำ หาดโคลน หาดเลน ชายทะเล ป่าพรุ ป่าเลน รวมทั้งนาข้าว นากุ้ง นาเกลือ เป็นต้น”

  • อนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำในประเทศไทย คือพื้นที่ใด
    Photo Credit: wetlands.onep.go.th


อนุสัญญาแรมซาร์ ได้ถูกกำหนดและตั้งชื่อตามชื่อสถานที่จัดให้มีการประชุมเพื่อรับรองอนุสัญญาเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2514 ณ เมืองแรมซาร์ ประเทศอิหร่าน อนุสัญญาดังกล่าวเป็นข้อตกลงระหว่างรัฐบาล ซึ่งกำหนดกรอบการทำงานสำหรับความร่วมมือระหว่างประเทศ เพื่อการอนุรักษ์แหล่งที่อยู่อาศัยที่เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำ ซึ่งวันที่ 2 กุมภาพันธ์ของทุกปี ได้ถูกกำหนดให้กลายเป็น “วันพื้นที่ชุ่มน้ำโลก” (World Wetlands Day) เพื่อให้ทุกคนตระหนักถึงความสำคัญของพื้นที่แห่งนี้ โดยปัจจุบันมีภาคีเครือข่ายทั่วโลกรวม 171 ประเทศ และมีพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับโลก จำนวน 2,293 แห่ง​ 

ในคู่มืออนุสัญญาแรมซาร์ (The Ramsar Convention Manual) ได้แบ่งประเภทของพื้นที่ชุ่มน้ำเป็น 5 ประเภท คือ

1. พื้นที่ทางทะเล (Marine) เป็นบริเวณที่ไม่อยู่ภายใต้อิทธิพลของกระแสจากแม่น้ำ ได้แก่ พื้นที่ชุ่มน้ำชายฝั่งทะเล รวมถึงทะเลสาบน้ำเค็ม หาดหิน และแนวปะการัง

2. พื้นที่ปากแม่น้ำ (Estuarine) เป็นบริเวณที่แม่น้ำและทะเลมาบรรจบกัน มีความเค็มระหว่างน้ำทะเลและน้ำจืด ได้แก่ ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ ที่ราบลุ่มน้ำขึ้นถึง และพื้นที่ป่าชายเลน

3. พื้นที่ทะเลสาบ (Lacustrine) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ หรือพื้นที่ที่มีน้ำขังตลอดเวลาหรือบางฤดู และมีกระแสน้ำไหลเล็กน้อย มีความลึกมากกว่า 2 เมตร ได้แก่ พื้นที่ชุ่มน้ำบริเวณทะเลสาบ บึงต่าง ๆ

4. พื้นที่แหล่งน้ำไหล (Riverine) บริเวณที่มีน้ำไหลตลอดปี หรือบางฤดู ได้แก่ พื้นที่ชุ่มน้ำบริเวณแม่น้ำ ลำธาร ห้วย

5. พื้นที่หนองน้ำ หรือที่ลุ่มชื้นแฉะ (Palustrine) เป็นพื้นที่ที่มีน้ำท่วมขังตลอดเวลา หรือบางฤดู มีความลึกไม่เกิน 2 เมตร และมีพืชน้ำปกคลุมผิวน้ำมากกว่าร้อยละ 30 ได้แก่ ที่ลุ่มชื้นแฉะ ที่ลุ่มน้ำขัง และหนองน้ำซับ

นอกจากนี้ยังรวมถึงแหล่งน้ำที่มนุษย์สร้างขึ้น (Human-made) ด้วย เช่น นาข้าว นาเกลือ บ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ ชลประทาน อ่างเก็บน้ำ พื้นที่ชุ่มน้ำแบบบึงประดิษฐ์บำบัดน้ำเสีย คลองที่ขุดขึ้น รวมถึงเขาหินปูนและระบบอุทกวิทยาใต้ดินที่มนุษย์สร้างขึ้น

  • อนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำในประเทศไทย คือพื้นที่ใด
    Photo Credit: wetlands.onep.go.th


พื้นที่ชุ่มน้ำ เป็นระบบนิเวศที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง และมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์และสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ทั้งพืชและสัตว์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นแหล่งผลิตที่สำคัญของห่วงโซ่อาหาร การป้องกันและบรรเทาผลกระทบจากธรรมชาติ แต่ในปัจจุบันพื้นที่ชุ่มน้ำได้แปรเปลี่ยนสภาพไปใช้ประโยชน์ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การพัฒนาเขตเมือง การขยายพื้นที่เกษตรกรรมและอุตสาหกรรม รวมถึงผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทำให้ระบบนิเวศพื้นที่ชุ่มน้ำมีสภาพเสื่อมโทรมและลดจำนวนลงอย่างต่อเนื่องและรุนแรง

ทั้งนี้ข้อมูลพื้นที่ชุ่มน้ำทั่วโลกในปัจจุบัน พบว่า พื้นที่ชุ่มน้ำในแผ่นดินและพื้นที่ชุ่มน้ำชายฝั่งทะเลมีพื้นที่ครอบคลุมมากว่า 12.1 ล้าน ตารางกิโลเมตร

โดยทวีปเอเชียมีขนาดพื้นที่ชุ่มน้ำรวมมากที่สุด ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบข้อมูลในอดีตที่ผ่านมา (พ.ศ. 2561) พบว่า พื้นที่ชุ่มน้ำตามธรรมชาติลดลง ร้อยละ 35 (คิดเป็น 3 เท่าของอัตราการสูญเสียป่าไม้) ส่วนพื้นที่ชุ่มน้ำที่มนุษย์สร้างขึ้นมี เพิ่มขึ้น ร้อยละ 12 ของพื้นที่ชุ่มน้ำทั่วโลก (ซึ่งคาดว่ามีแนวโน้มเพิ่มอีก)

คุณค่าของพื้นที่ชุ่มน้ำ

คุณค่าโดยรวมของพื้นที่ชุ่มน้ำจากข้อมูลของกองจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้แบ่งบริการที่ได้รับจากระบบนิเวศพื้นที่ชุ่มน้ำออกเป็น 4 ด้าน คือ ด้านวัฒนธรรม ด้านการเป็นแหล่งผลิต ด้านการควบคุม และด้านการสนับสนุน

ด้านวัฒนธรรม พื้นที่ชุ่มน้ำเป็นพื้นที่ที่มีคุณค่าทางจิตใจและความเชื่อ เป็นแหล่งนันทนาการและการพักผ่อน การท่องเที่ยว ทั้งยังเป็นแหล่งขนบธรรมเนียม ประเพณีและวัฒนธรรมเพื่อใช้ในการศึกษา เป็นต้น ด้านการเป็นแหล่งผลิต เป็นแหล่งทำประมง และสัตว์น้ำอื่น ๆ เป็นแหล่งผลิตเนื้อไม้ อาหารสัตว์ แหล่งทรัพยากรพันธุกรรม แหล่งสมุนไพร แหล่งพลังงานที่สามารถนำมาทำเป็นเชื้อเพลิงได้ ด้านการควบคุม เป็นแหล่งกักเก็บก๊าชคาร์บอน ช่วยเรื่องการกรองสารพิษ การควบคุมการไหลของน้ำ การบรรเทาน้ำท่วม การป้องกันการกัดเซาชายฝั่ง การย่อยสลายของเสีย ซึ่งทั้งหมดมีผลกระทบต่อการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพในแหล่งพื้นที่ชุ่มน้ำ และด้านการสนับสนุน เป็นแหล่งผลิตขั้นปฐมภูมิ การหมุนเวียนธาตุอาหาร และการเกิดวัฏจักรน้ำ เป็นต้น

ทั้งนี้พื้นที่ชุ่มน้ำเป็นพื้นที่ที่ต้องกำหนดแผนการบริหารจัดการเพื่อนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อระบบนิเวศ ความสำคัญนั้นตรงตามชื่อคือ “ชุ่มน้ำ” พื้นที่แห่งนี้จึงเป็นแหล่งเพาะพันธุ์และขยายพันธุ์ของสัตว์และพืชนานาชนิด เพื่อเติมเต็มระบบนิเวศ ความหลากหมายทางชีวภาพ และความอุดมสมบูรณ์ในการใช้ชีวิตของมนุษย์ ซึ่งถือเป็นพื้นที่ที่ควรค่าแก่การป้องกันและดูแลรักษาอย่างยิ่ง

  • อนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำในประเทศไทย คือพื้นที่ใด
    Photo Credit: wetlands.onep.go.th

พื้นที่ชุ่มน้ำในประเทศไทยมีที่ไหนบ้าง?

ประเทศสมาชิกอนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำจากทั่วโลก มีจำนวนทั้งหมด 171 ประเทศ สำหรับประเทศไทยเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำ ในลำดับที่ 110 เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 โดยเสนอ “พรุควนขี้เสี้ยน” ในเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย จ.พัทลุง ขึ้นทะเบียนเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศแห่งแรกของประเทศไทย (Ramsar Site) และในลำดับ 948 ของโลก

อนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำในประเทศไทย คือพื้นที่ใด *

ประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำ เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2541 เป็นประเทศลำดับที่ 110 ซึ่งการเข้าเป็นภาคีนั้นประเทศสมาชิกต้องเสนอพื้นที่ชุ่มน้ำ 1 แห่ง ขึ้นเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศ ประเทศไทยจึงได้เสนอพรุควนขี้เสียน ในเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย จังหวัดพัทลุง ขึ้นเป็นพื้นที่ชุ่ม ...

อนุสัญญาใดที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่ชุ่มน้ำ

อนุสัญญาแรมซาร์ (Ramsar Convention) หรืออนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศ ได้ถูกกำหนดและตั้งชื่อตามชื่อสถานที่จัดให้มีการประชุมเพื่อรับรองอนุสัญญาเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2514 ณ เมืองแรมซาร์ ประเทศอิหร่าน อนุสัญญาดังกล่าวเป็นข้อตกลงระหว่างรัฐบาล ซึ่งกำหนดกรอบการทำงานสำหรับความร่วมมือระหว่าง ...

พื้นที่ชุ่มน้ําในไทย มีที่ไหนบ้าง

พื้นที่ชุ่มน้ำของประเทศไทย.
พรุควนขี้เสี้ยน ในเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย จ.พัทลุง.
เขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงโขงหลง จ.หนองคาย.
ดอนหอยหลอด จ.สมุทรสงคราม.
ปากแม่น้ำกระบี่ จ.กระบี่.
เขตห้ามล่าสัตว์ป่าหนองบงคาย จ.เชียงราย.
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพฯ (พรุโต๊ะแดง) จ.นราธิวาส.

อนุสัญญาแรมซาร์ให้ความสำคัญกับพื้นที่บริเวณใด

ตามอนุสัญญาแรมซาร์ (Ramsar Convention) หรืออนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำ (ในมาตรา 1.1 และมาตรา 2.1 ของอนุสัญญาได้ให้คำนิยามพื้นที่ชุ่มน้ำไว้ว่า "พื้นที่ชุ่มน้ำ (Wetlands) หมายถึง ที่ลุ่ม ที่ราบลุ่ม ที่ชื้นแฉะ พรุ แหล่งน้ำ ทั้งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและที่มนุษย์สร้างขึ้น ทั้งที่มีน้ำขังหรือ น้ำท่วมอยู่ถาวรและชั่วครั้ง ...