มีส่วนผสมในการทำละลายแตกต่างไปจากกลุ่ม คือข้อใด

โดยทั่วไปจะใช้ในการเติมเจือจางสีให้ได้ความหนืดที่เหมาะสมกับการใช้งาน ลักษณะเฉพาะของทินเนอร์เป็นของเหลวใส, ไม่มีสี, ระเหยง่าย นอกจากนี้ ทินเนอร์ที่ดียังมีส่วนช่วยให้ฟิล์มสีมีความเรียบขึ้นอีกด้วย ช่วยให้การทาหรือฉีดสเปรย์สีเป็นเรื่องที่ง่ายและเร็วขึ้น โดยที่ไม่ทิ้งร่องรอยหรือความไม่สมบูรณ์ของพื้นผิว ทินเนอร์ถูกนิยมนำมาประยุกต์ใช้ในหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการนำมาล้างเครื่องมือพ่นสี แปรงทาสี หรือหุ่นยนต์อุตสาหกรรม

มีส่วนผสมในการทำละลายแตกต่างไปจากกลุ่ม คือข้อใด
มีส่วนผสมในการทำละลายแตกต่างไปจากกลุ่ม คือข้อใด


ตัวทำละลาย (Solvent) ที่นำมาผสมกันเพื่อทำเป็นทินเนอร์ ได้แก่ แอลกอฮอล์ (Alcohol), เอสเตอร์ (Ester), คีโตน (Ketone), อะโรมาติก (Aromatic), อีเตอร์ (Ether) และกลุ่มไฮโดรคาร์บอน (Hydrocarbon)  เมื่อนำตัวทำละลายเหล่านี้มาผสมกันในสัดส่วนที่เหมาะสมจะได้ทินเนอร์ที่ใช้งานได้ดีตามวัตถุประสงค์ต่าง ๆ 

ตัวทำละลายอินทรีย์ที่มักนิยมใช้เป็นส่วนประกอบหลักของทินเนอร์ ได้แก่ โทลูอีน (Toluene) ซึ่งนอกจากพบในทินเนอร์แล้ว ยังพบได้ในผลิตภัณฑ์อื่น เช่น กาวที่ใช้ซ่อมรองเท้า กาวสำหรับต่อท่อพลาสติก เป็นต้น ในทินเนอร์ประกอบด้วยโทลูอีน ประมาณร้อยละ 66 ร่วมกับตัวทำละลายอื่น ได้แก่ คีโทน ประมาณร้อยละ 17 และแอลกอฮอล์ ประมาณร้อยละ 17

ประโยชน์และการใช้งาน

ทินเนอร์ มักใช้มากทั้งในภาคอุตสาหกรรม และภาคครัวเรือน ได้แก่

① ภาคอุตสาหกรรม

ใช้มากในอุตสาหกรรมสี, โรงพิมพ์, ผลิตพลาสติก, ผลิตสายไฟ รวมถึงอุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่จำเป็นต้องใช้ตัวทำละลายสารเคมีชนิดอื่นในกระบวนการผลิต เช่น การละลาย และเจือจางสีหรือหมึกพิมพ์ เป็นต้น

② ภาครัวเรือน

ใช้มากในงานประเภทสี, งานไม้, อู่ซ่อมรถ, โดยใช้ผสมสีเคลือบ สีทา, แลกเกอร์ โดยแบ่งสีหรือสิ่งที่ต้องการผสมใส่ภาชนะ และเททินเนอร์ลงผสมพร้อมคนให้เข้ากันตามอัตราส่วนที่พอเหมาะ

มีส่วนผสมในการทำละลายแตกต่างไปจากกลุ่ม คือข้อใด
มีส่วนผสมในการทำละลายแตกต่างไปจากกลุ่ม คือข้อใด

ทินเนอร์ อันตรายแค่ไหน?

  • เป็นวัตถุไวไฟ และเป็นพิษ ห้ามรับประทานหรือสูดดม ควรใช้ในที่ที่มีอากาศถ่ายเทได้ดี
  • ไอระเหยสามารถกระจายไปได้ในระยะไกล สามารถทำให้ติดไฟและเกิดระเบิดได้ ไม่ควรใช้ในสถานที่อับลม หรือในที่ที่มีสวิทซ์ไฟ เครื่องทำความร้อน เครื่องไฟฟ้าที่ไม่มีระบบกันการระเบิดหรือมีเปลวไฟและประกายไฟ


สารประกอบพวกไฮโดรคาร์บอน (Hydrocarbon) ที่ใช้ ได้แก่ โทลูอีน (Toluene), เบนซีน (Benzene) และไซลีน (Xylene) สารเหล่านี้มีฤทธิ์กดประสาท และหลอนประสาท โดยเฉพาะโทลูอีน หากนำมาสูดดมจะทำให้รู้สึก เคลือบเคลิ้ม สนุกสนาน หากสูดดมมากจะทำให้รู้สึกมึนเมา พูดจาไม่ชัดเจน มีอาการประสาทหลอน ไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ หากมีการสูดดมมาก และเป็นระยะเวลายาวนาน จะทำให้ระบบทางเดินหายใจระคายเคือง เยื่อบุในระบบทางเดินหายใจถูกทำลาย หลอดเลือดฝอยแตก มีการอักเสบของระบบทางเดินหายใจ และทำให้เกิดความล้มเหลวของระบบหายใจตามมา

นอกจากนั้น . . . สารประกอบไฮโดรคาร์บอนยังมีส่วนในการเกิดมะเร็งได้ด้วย รวมถึงสารประกอบในกลุ่มอื่นจำพวกคีโตน และอีเทอร์เช่นกัน

ทำอย่างไร? เมื่อร่างกายสัมผัสกับทินเนอร์

ทินเนอร์เป็นสารเคมีอันตรายที่อาจส่งผลกระทบต่อร่างกายคุณโดยไม่รู้ตัว ซึ่งสารนี้สามารถเข้าสู่ร่างกายมนุษย์ได้หลายทาง ดังนี้

1) การสัมผัสทางร่างกาย เมื่อผิวหนังสัมผัสกับทินเนอร์ จะส่งผลให้ผิวหนังบริเวณนั้นมีอาการแห้ง แดง ระคายเคือง รวมทั้งอาจเกิดอาการผิวหนังอักเสบได้ หากผิวสัมผัสกับทินเนอร์บ่อยครั้ง หากทินเนอร์กระเด็นหรือสัมผัสกับดวงตาจะทำให้เกิดอาการปวด แสบร้อน และมีน้ำตาไหล

2) การสูดดม จะส่งผลเสียต่อระบบประสาทและร่างกาย โดยทำให้มีอาการต่าง ๆ เกิดขึ้น เช่น เจ็บคอ แสบจมูก ไอ ปวดศีรษะ คลื่นไส้ วิงเวียน หมดสติ หรือเกิดภาวะเคลิ้มสุขที่นำไปสู่การเสพติดตามมา เป็นต้น

3) การรับประทาน ผลกระทบต่อร่างกายจากการรับประทานทินเนอร์นั้นอาจคล้ายกับการสูดดม แต่ก็อาจมีอาการเฉพาะเกิดขึ้น เช่น ปวดท้อง แสบร้อน คลื่นไส้ และอาเจียน เป็นต้น

► หากได้รับทินเนอร์เข้าสู่ร่างกายหรือสัมผัสสารอันตรายนี้ โดยไม่ได้ตั้งใจ อาจรับมือได้ด้วยวิธีการ ดังต่อไปนี้

  • ถ้าสัมผัสผิวหนัง ให้ถอดหรือเปลี่ยนเสื้อผ้าที่ปนเปื้อนทินเนอร์ออก และล้างผิวหนังบริเวณที่สัมผัสกับสารนี้ด้วยน้ำเปล่าปริมาณมากหรืออาบน้ำชำระล้างร่างกาย หากมีอาการที่รุนแรงควรรีบไปพบแพทย์
  • ถ้าเข้าสู่ดวงตา ให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดจนกระทั่งอาการปวดแสบดีขึ้น ในบางกรณีอาจต้องใช้นิ้วเปิดเปลือกตาบนและล่างให้ห่างจากกัน เพื่อชะล้างสารเคมีภายในดวงตาและใต้เปลือกตาออกไป จากนั้นให้รีบไปพบแพทย์โดยด่วน
  • ถ้าสูดดม ให้พาตัวเองออกมาจากบริเวณที่มีทินเนอร์ปนเปื้อนในอากาศ จากนั้นให้หายใจเพื่อนำเอาอากาศบริสุทธิ์เข้าไปภายในร่างกาย หากพบว่ามีอาการผิดปกติเกิดขึ้นควรไปพบแพทย์ทันที

วิธีหลีกเลี่ยงการรับสารพิษจากทินเนอร์

หากจำเป็นต้องใช้ทินเนอร์หรือผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของทินเนอร์ ควรใช้งานสารเคมีชนิดนี้อย่างระมัดระวัง และปฏิบัติตามคำแนะนำเพื่อความปลอดภัย ดังนี้

มีส่วนผสมในการทำละลายแตกต่างไปจากกลุ่ม คือข้อใด
มีส่วนผสมในการทำละลายแตกต่างไปจากกลุ่ม คือข้อใด

  • ระหว่างใช้งานควรสวมหน้ากากหรือผ้าปิดจมูก สวมถุงมือ รองเท้า และสวมเสื้อผ้าให้มิดชิด เพื่อหลีกเลี่ยงการสูดดมสารพิษที่อาจสะสมในร่างกายและระบบทางเดินหายใจ
  • เมื่อสัมผัสกับตา ผิวหนัง ให้ล้างด้วยน้ำสะอาด และหากมีอาการหนักให้รีบพบแพทย์
  • หากมีการกลืนกิน ห้ามอาเจียน และรีบนำส่งแพทย์
  • ควรปิดฝาให้แน่น เมื่อเลิกใช้งานแล้ว
  • ไม่ควรถ่ายทินเนอร์ลงในภาชนะที่ไม่มีฉลาก
  • ควรเก็บในที่มิดชิดและห่างจากมือเด็ก
  • สถานที่เก็บควรมีอุณหภูมิระหว่าง 0-40 องศาเซลเซียส ไม่เก็บใกล้แหล่งความร้อน แสงแดด ประกายไฟ
  • อ่านฉลากและคู่มือการใช้ผลิตภัณฑ์อย่างละเอียดก่อนใช้
  • สวมเสื้อผ้าที่มิดชิดและเหมาะสมกับงาน เพื่อป้องกันร่างกายสัมผัสกับสารเคมี
  • สวมถุงมือที่ทนทานต่อทินเนอร์ขณะใช้ผลิตภัณฑ์
  • สวมแว่นตาป้องกันทุกครั้งที่ต้องใช้ทินเนอร์ เพื่อป้องกันการระเหยหรือการกระเด็นใส่ดวงตา
  • ห้ามสูบบุหรี่ เนื่องจากสารเคมีที่ปนเปื้อนในอากาศสามารถผ่านเข้าสู่ร่างกายได้ด้วยการหายใจและการสูบบุหรี่
  • ตรวจสุขภาพเป็นประจำ หากงานที่ทำต้องมีการสัมผัสกับทินเนอร์เป็นประจำไม่ว่าด้วยวิธีใดก็ตาม
  • เก็บทินเนอร์ไว้ในที่ที่เหมาะสม โดยเก็บให้ห่างจากเด็กและสัตว์เลี้ยง
  • ระมัดระวังการทำงานที่อาจก่อให้เกิดประกายหรือเปลวไฟ เนื่องจากทินเนอร์เป็นสารเคมีที่สามารถติดไฟได้
  • แบ่งเวลาพักหายใจในบริเวณที่มีอากาศบริสุทธิ์เป็นระยะ หากต้องทำงานในพื้นที่ที่มีการใช้สารระเหย

เกร็ดความรู้ส่งท้ายกันหน่อย!

หลายคนอาจจะสงสัยว่า “น้ำมันสน” คืออะไร? วันนี้เราเลยมีความรู้เกี่ยวกับน้ำมันสนมาฝากกันด้วย

มีส่วนผสมในการทำละลายแตกต่างไปจากกลุ่ม คือข้อใด
มีส่วนผสมในการทำละลายแตกต่างไปจากกลุ่ม คือข้อใด

น้ำมันสน (Pine Oil) 

เป็นสารซึ่งเกิดจากการสกัดจากต้นสน เป็นสารประกอบพวกไฮโดรคาร์บอน มีลักษณะเป็นของเหลว สีเหลืองใส สามารถละลายได้ในน้ำมัน ช่วยในการฆ่าเชื้อได้ มักจะนำไปใช้ในการผสมสีน้ำมัน เรียกว่าเป็นสิ่งจำเป็นของช่างทาสี และช่างเขียนภาพอีกด้วย

มีส่วนผสมในการทำละลายแตกต่างไปจากกลุ่ม คือข้อใด
มีส่วนผสมในการทำละลายแตกต่างไปจากกลุ่ม คือข้อใด


ปัจจุบันได้มีการนำมาใช้เป็นส่วนผสมเครื่องสำอาง ใช้ในสปา มีประโยชน์ในการนวดลดเซลลูไลท์ มีคุณสมบัติกระตุ้น ต้านเชื้อโรค จึงเหมาะสำหรับใช้กระจายในอากาศเพื่อช่วยให้อากาศบริสุทธิ์ ช่วยให้รู้สึกหายใจปลอดโปร่งสดชื่น ลดอาการหายใจติดขัด อาการไอ หลอดลมอักเสบ ไข้หวัด และไซนัส

น้ำมันสนจะไว้ใช้สำหรับช่างงานไม้เป็นหลัก เพราะไว้ใช้ผสมสีจำพวกสีน้ำมัน สีรองพื้นกันสนิม สีรองพื้นไม้ สีย้อมไม้ สีรองพื้นปูนเก่า วานิช เป็นต้น แต่ไม่ควรใช้ผสมสีแลคเกอร์ สีพ่นอุตสาหกรรม และสียูรีเทน

มีส่วนผสมในการทำละลายแตกต่างไปจากกลุ่ม คือข้อใด
มีส่วนผสมในการทำละลายแตกต่างไปจากกลุ่ม คือข้อใด

น้ำมันสน เป็นอันตรายไหม?

อันตรายจากการกิน

โดยเฉพาะกับสัตว์เลี้ยงจะอันตรายมาก หากสัตว์กินน้ำมันสนเข้าไปแล้ว อันนี้ถือว่าอันตรายมากที่สุด ขนาดที่เป็นพิษต่อสุนัขและแมวคือ 1 – 2.5 มิลลิลิตรต่อน้ำหนักตัวหนึ่งกิโลกรัม ถ้าแมวหนัก 4 กิโลกรัม กินน้ำมันสนเพียง 4 – 10 มิลลิลิตรก็ถึงตายได้ ซึ่งมันจะถูกดูดซึมเข้าทางลำไส้ได้ไวมาก และสำหรับแมวแล้วยิ่งอันตรายมาก เพราะอาการพิษจะปรากฏไวและรุนแรงมากกว่าสุนัขอย่างมากเช่นกัน

อันตรายจากการสัมผัสทางผิวหนัง

การสัมผัสโดนที่ผิวหนังหรือเนื้อเยื่ออ่อน เช่น หนังตาหรือเหงือก เหล่านี้จะทำให้สัตว์เกิดความรู้สึกแสบร้อน ระคายที่ผิวหนัง

อันตรายจากการสูดดม

อันตรายของกลิ่น ทำให้อาการคลื่นไส้และมึนหัวได้ง่าย ๆ และจะมีอาการซึมได้

ทินเนอร์ VS น้ำมันสน ต่างกันอย่างไร?

#ทินเนอร์

  • ใช้ผสมสีน้ำมัน สีทากันสนิม สีทาเหล็ก ซิลเลอร์ แล็คเกอร์ ยูรีเทน แทบจะทุกชนิด
  • สีจะแห้งเร็ว แต่การใช้งานขึ้นอยู่กับเกรดของทินเนอร์
  • เวลาสัมผัสผิวจะแสบร้อน อาจจะทำให้เมา หรือเวียนหัวได้

#น้ำมันสน

  • ใช้ผสมสีน้ำมัน สีทากันสนิม สีทาเหล็ก
  • ใช้สำหรับสีที่แห้งช้าและต้องการความหนาของสี
  • สีจะแห้งช้า เวลาล้างไม่แสบร้อนมาก กลิ่นไม่แสบจมูก
  • ไม่เมาหรือเวียนหัว ใช้ล้างแปรงสีน้ำมัน
  • ส่วนใหญ่จะใช้กับสีที่เป็นสีทึบ
  • ไม่สามารถใช้กับแล็คเกอร์หรือยูรีเทนได้ เพราะส่วนผสมไม่เข้ากัน เปรียบเทียบเหมือนเอาน้ำมันไปผสมกับน้ำ
  • งานสี ถ้าเอาทินเนอร์ลงก่อน ต้องรอจนทินเนอร์แห้ง สามารถทาสีน้ำมันที่ผสมน้ำมันสนทับได้
  • งานสี ถ้าเอาสีน้ำมันไม่ว่าจะผสมน้ำมันสนหรือทินเนอร์ลงก่อน แล้วทับด้วยสีที่ผสมทินเนอร์ ตัวทินเนอร์อาจจะกัดสีที่ลงก่อน ทำให้ลอก ล่อน หรือเหลืองได้