ถ่ายเป็นเลือดมาจากสาเหตุอะไร

               การถ่ายเป็นเลือด หากไม่ร้ายแรงก็อาจจะเกิดจากริดสีดวงทวาร แต่หากร้ายแรงกว่านั้นอาการถ่ายเป็นเลือด คือจุดเริ่มต้นของมะเร็งลำไส้ใหญ่นั่นเอง จึงไม่ควรชะล่าใจและปล่อยปละละเลยเมื่อเกิดอาการนี้ขึ้นกับคุณ

ถ่ายเป็นเลือดมาจากสาเหตุอะไร

Show

ริดสีดวง VS มะเร็งลำไส้ใหญ่

  • 90% ของคนที่เป็นริดสีดวงทวาร เวลาถ่ายอุจจาระจะขับถ่ายเหมือนปกติก่อน หลังจากนั้นจึงตามมาด้วยหยดเลือด จุดสังเกตง่ายๆ คือเลือดที่ว่านี้จะไม่ปะปนมากับอุจจาระเพราะเลือดที่เกิดขึ้นนั้นสาเหตุมาจากการเบ่งระหว่างขับถ่าย ทำให้กลุ่มหลอดเลือดดำที่ขอดอยู่ปริแตกออกมากลายเป็นหยดเลือดนั่นเอง คนที่เป็นริดสีดวงทวารเวลาขับถ่ายแล้วจะมีเลือดสดๆ หยดมาหลังขับถ่ายไปแล้ว บางคนอาจจะไม่รู้สึกเจ็บปวดเลย แต่บางคนอาจจะมีอาการเจ็บที่ทวารหนักรู้สึกว่าขับถ่ายยาก และอาจมีอาการคันร่วมด้วย
    ถ่ายเป็นเลือดมาจากสาเหตุอะไร
  • บางคนอาจจะคลำเจอก้อนที่ปากทวารหนัก แต่ถ้าอาการไม่รุนแรงมากก้อนที่ว่าจะหดกลับเข้าไป หากรุนแรงก็จะมีอาการเจ็บถึงกับนั่งเก้าอี้ปกติไม่ได้แม้แต่ยืนก็รู้สึกปวด ถ้าดูแลตัวเองอย่างดี เช่น ไม่มีพฤติกรรมนั่งแช่นานๆ ก่อนขับถ่าย ไม่ปล่อยให้ท้องผูกเป็นประจำ ไม่อั้นอุจจาระนานๆ มีอาการปวดเมื่อไหร่ก็ควรขับถ่ายทันทีก็จะไม่มีอาการรุนแรง
  • คนที่มีปัญหาเกี่ยวกับลำไส้ เวลาขับถ่ายจะมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย คือเวลาขับถ่ายจะมีอาการปวดเบ่ง อุจจาระจะปนมากับมูกเลือด ลักษณะของอุจจาระจะเป็นก้อนเรียวเล็กผิดจากปกติ เนื่องจากลำไส้มีความผิดปกติ และสีอุจจาระจะออกสีแดงถึงดำ เนื้อค่อนข้างเหลว มีกลิ่นเหม็นกว่าปกติ รวมถึงน้ำหนักลดโดยไม่มีสาเหตุ เบื่ออาหารร่วมด้วย อาการผิดปกติเช่นนี้อาจเข้าข่ายมะเร็งลำไส้ใหญ่ จึงควรรีบปรึกษาแพทย์เป็นการด่วน

อย่านิ่งนอนใจ…ถ้าขับถ่ายเป็นเลือด                 การขับถ่ายแล้วมีเลือดหยดจะเป็นอาการเริ่มต้นของริดสีดวงที่หลายคนคิดว่าเป็นเรื่องเล็กน้อยแล้ว ถ้าไม่สังเกตความผิดปกตินี้ให้ดี แทนที่จะเป็นริดสีดวงแล้วรักษาหาย หรือเป็นแค่แผลขอบทวารหนัก ฝีที่ทวารหนัก หรือเป็นโรคเส้นเลือดในเยื่อบุผนังลำไส้แตก แต่อาการร้ายแรงที่สุดของการขับถ่ายแล้วมีเลือดปนออกมาปนด้วยอาจเป็นจุดเริ่มต้นของมะเร็งลำไส้นั่นเอง

FYI !! ลักษณะของเลือด…บอกโรคได้นะ                 หากมีอาการขับถ่ายแล้วมีเลือดปะปน เป็นเลือดสดๆ เป็นๆ หายๆ ก็มักจะเป็นอาการของริดสีดวง แต่เมื่อไหร่ที่มีมูกเลือดปนอยู่ในเนื้อเดียวกับอุจจาระ ก็ให้หมั่นสังเกตต่อเนื่องว่ามีอาการอื่นๆ เป็นร่วมด้วยหรือไม่ และควรรีบนัดพบแพทย์เพื่อทำการตรวจอย่างละเอียดต่อๆ หลากหลายวิธี ตั้งแต่ใช้นิ้วตรวจทางทวารหนักเพื่อดูลักษณะของอุจจาระ การตรวจหาก้อนหรือความผิดปกติอื่นภายในทวารหนัก หรือมีการส่องกล้องทางทวารหนัก เป็นต้น

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม

โรงพยาบาลเปาโล พหลโยธิน โทร. 0-2271-7000 ต่อ โรคระบบทางเดินอาหารและตับ

หากขับถ่ายแล้วมีเลือดออก หลายคนมักคิดว่าเป็นโรคริดสีดวงทวาร ไม่ทันคาดคิดว่าอาจเป็นสัญญาณเตือนของเนื้องอกหรือโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย ทั้งที่บางอาการอาจมีความคล้ายคลึงกัน ดังนั้นควรหมั่นสังเกตและไม่ควรชะล่าใจในการเข้ารับการตรวจวินิจฉัยกับแพทย์เพื่อทำการรักษาได้ถูกวิธีก่อนสายเกินแก้ 

ริดสีดวงทวารหนัก

เมื่อสังเกตว่ามีเลือดออกปนมากับอุจจาระ คนส่วนใหญ่อาจคิดเอาเองว่าเป็นอาการของโรคริดสีดวงทวารหนัก ซึ่งริดสีดวงทวารหนักคือ กลุ่มของหลอดเลือดบริเวณทวารหนักที่มีลักษณะโป่งพอง โดยปกติ ริดสีดวงทวารหนัก จัดเป็นอวัยวะอันหนึ่งของร่างกายมนุษย์ แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ ริดสีดวงทวารหนักภายใน (Internal Hemorrhoid) ตามปกติจะไม่โผล่ออกมาให้เห็นและคลำไม่ได้และมักจะถูกคลุมด้วยเยื่อลำไส้ใหญ่ตอนปลายสุดจะไม่ก่อให้เกิดความเจ็บปวดในขณะที่ยังไม่มีอาการแทรกซ้อน ส่วนริดสีดวงทวารหนักภายนอก (External Hemorrhoid) จะเกิดขึ้นบริเวณปากรอยย่นทวารหนัก จากการที่กลุ่มหลอดเลือดดำใต้ผิวหนังปากทวารหนักโป่งพอง สามารถมองเห็นและคลำได้ อาจมีอาการเจ็บปวด อาการของโรคอาจพบได้ตั้งแต่รู้สึกไม่สุขสบายบริเวณทวารหนัก คลำได้ก้อน อาการปวด อาการคัน หรืออาจมีเลือดสดติดกระดาษชำระขณะเช็ดทำความสะอาด พบเลือดในโถส้วมหรือปนออกมากับอุจจาระ 

มะเร็งลำไส้ตรง

แต่สำหรับมะเร็งลำไส้ตรงหรือลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย (Rectal Cancer) คือมะเร็งที่เกิดขึ้นบริเวณลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย ใกล้กับทวารหนัก พบได้บ่อยทั้งในเพศชายและเพศหญิง กลุ่มเสี่ยงที่สำคัญคือ ผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคมะเร็ง ผู้ป่วยที่เป็นโรคอาจแสดงอาการได้หลายแบบ เช่น ถ่ายมีเลือดสดปนกับอุจจาระ หากเป็นมากอาจมีก้อนอุจจาระขนาดเล็กลง ท้องผูก รู้สึกถ่ายอุจจาระไม่สุด อาจมีอาการท้องผูกสลับกับท้องเสีย ปวดท้องน้อย อ่อนเพลีย น้ำหนักลด ซึ่งอาการแสดงขึ้นอยู่กับขนาดของก้อน และตำแหน่งของก้อนมะเร็งที่พบ 

อาการของริดสีดวงทวารที่แตกต่างจากโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย คือ ถ่ายเป็นเลือด อาจคลำได้ก้อนเนื้อในรูทวารหนัก อาจมีก้อนเนื้อปลิ้นและยุบกลับเข้าไปทวารหนักได้ (มะเร็งลำไส้ใหญ่ส่วนปลายจะไม่มีก้อนเนื้อปลิ้นออกมา) อาจมีอาการปวดก้น (มะเร็งลำไส้ใหญ่ส่วนปลายจะไม่มีอาการปวดก้น) ถ่ายไม่ค่อยออก ต้องเบ่ง หรือถ่ายบ่อย คันหรือระคายเคืองรอบปากทวารหนัก เจ็บ เป็นต้น 

ถ่ายเป็นเลือดมาจากสาเหตุอะไร

วิธีการรักษา

การรักษาโรคริดสีดวงขึ้นอยู่กับอาการและความรุนแรงของโรค ประกอบด้วย 2 วิธีหลักใหญ่ ๆ ได้แก่ การผ่าตัดและไม่ผ่าตัด แต่ในกรณีที่แพทย์สงสัยว่าจะเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย การส่องกล้องลำไส้ใหญ่จะเป็นวิธีที่ช่วยแยกโรคให้ชัดเจนขึ้นเพื่อนำไปสู่การรักษาที่เหมาะสม ปกติแล้วหน้าที่ของกล้ามเนื้อหูรูดจะเป็นตัวที่ช่วยในเรื่องของการกลั้น หรือการขับถ่าย หากก้อนมะเร็งอยู่ตรงบริเวณกล้ามเนื้อหูรูด แพทย์จะทำการล้วงเข้าไปบริเวณทวารเพื่อตรวจตำแหน่งของก้อนมะเร็ง จากนั้นทำการตัดชิ้นเนื้อเพื่อนำไปตรวจทางพยาธิวิทยา หากเป็นวิธีการรักษาแบบเดิม แพทย์อาจต้องผ่าตัดกล้ามเนื้อหูรูดออกไปด้วยเพื่อให้สามารถตัดก้อนออกได้หมด ซึ่งจะทำให้คนไข้ต้องใช้การขับถ่ายผ่านถุงทางหน้าท้องไปตลอดชีวิต 

แต่ด้วยความก้าวหน้าเทคโนโลยีและประสบการณ์ของแพทย์ผู้ชำนาญการ ในปัจจุบันมีการผ่าตัดรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย ด้วยเทคโนโลยีผ่าตัดผ่านกล้องรักษาเนื้องอกหรือมะเร็งลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย แบบเก็บกล้ามเนื้อหูรูดทวารหนัก (Sphincter Saving Surgery) เป็นอีกหนึ่งทางเลือกการรักษา เพื่อป้องกันไม่ให้คนไข้ต้องขับถ่ายผ่านทางถุงหน้าท้องไปตลอดชีวิต การผ่าตัดในรูปแบบนี้จะใช้กับผู้ป่วยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ส่วนปลายเป็นหลัก ซึ่งการผ่าตัดเก็บกล้ามเนื้อหูรูดต้องอาศัยความร่วมมือกันของแพทย์ผู้ชำนาญการและบุคลากรทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องเป็นขั้นตอนสำคัญในการรักษาผู้ป่วยกลุ่มนี้ เพราะการร่วมกันวิเคราะห์โรคและสรุปแนวทางการรักษาของผู้ป่วยแต่ละราย โดยทีมแบบสหสาขาวิชาชีพ (Multidisciplinary Team) ซึ่งประกอบด้วย ศัลยแพทย์ลำไส้ใหญ่และทวารหนัก อายุรแพทย์ทางเดินอาหาร อายุรแพทย์มะเร็ง รังสีแพทย์ แพทย์รังสีรักษา พยาธิแพทย์ จะทำให้ได้แผนการรักษาที่เหมาะสมกับผู้ป่วย  อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า การรักษาโรคนี้ด้วยการฉายรังสีร่วมกับการรักษาด้วยเคมีบำบัดอย่างเหมาะสมก่อนการผ่าตัดรักษา จะเพิ่มโอกาสการผ่าตัดเก็บกล้ามเนื้อหูรูดในผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย ไม่ต้องใช้การขับถ่ายผ่านถุงหน้าท้อง 

ตรวจวินิจฉัยลำไส้ใหญ่

หากมีอาการถ่ายเป็นเลือดหรือมีอาการผิดปกติที่บริเวณช่องท้อง ซึ่งอาจเกิดจากสาเหตุอื่น ๆ อาทิ มีแผลที่ทวารหนักในผู้ป่วยท้องผูก โรคถุงผนังลำไส้ หรือมีหลอดเลือดที่ผนังลำไส้ผิดปกติ ฯลฯ  ร่วมกับปัจจัยเสี่ยงที่พบได้บ่อย ๆ อาทิ พันธุกรรม อายุที่เพิ่มมากขึ้นมากกว่า 45 – 50 ปีขึ้นไป เป็นโรคอ้วน ชอบทานอาหารที่มีไขมันสูง เนื้อแดง รวมถึงผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูป ดื่มแอลกอฮอล์ ฯลฯ ควรเข้ารับการตรวจวินิจฉัยลำไส้ใหญ่ โดยแพทย์จะทำการซักประวัติและตรวจร่างกายอย่างละเอียด  มีการตรวจเลือด และตรวจรายการอื่นเพิ่มเติม อาทิ การตรวจสวนแป้งลำไส้ใหญ่ การตรวจลำไส้ใหญ่ด้วยเทคนิคภาพเสมือน (CT Colonoscopy) การส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ (Colonoscopy)  และตรวจดูระดับของคาร์ซิโนเอมบริโอนิก แอนติเจน (Carcinoembryonic Antigen หรือ CEA) เพื่อบอกพยากรณ์โรคและใช้ติดตามการรักษา หากแพทย์มีความสงสัยจะส่งพิสูจน์โรคจากการตัดชิ้นเนื้อและการประมาณระยะของโรคทางคลินิกด้วยภาพถ่ายรังสีเป็นขั้นตอนการประเมินโรคในเบื้องต้นที่มีความสำคัญ ทั้งนี้การประมวลผลการตรวจและการวางแผนการรักษาโดยทีมแพทย์สหสาขาจะช่วยให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่เหมาะสมที่สุดและมีคุณภาพชีวิตที่ดี กลับไปใช้ชีวิตตามปกติได้ในที่สุด 

บทบาทของรังสีรักษา

การรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่ส่วนปลายจะใช้การผ่าตัดเป็นวิธีหลัก โดยจะใช้รังสีรักษาและเคมีบำบัดเป็นการรักษาเสริมหรือร่วมกับการผ่าตัด  ซึ่งโดยทั่วไปแพทย์จะทำการตรวจร่างกายและตรวจทวารหนัก เมื่อพบก้อนเนื้อผิดปกติก็จะตัดเอาชิ้นเนื้อส่งตรวจทางพยาธิ ถ้าผลรายงานชิ้นเนื้อว่าเป็นมะเร็ง แพทย์จะตรวจเพื่อจัดระยะของรอยโรคซึ่งมีการตรวจเลือดทางห้องปฏิบัติการและเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan) หรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI Scan) หรืออาจใช้เพทซีที (PET/CT Scan) สำหรับมะเร็งลำไส้ใหญ่ส่วนปลายที่อยู่ในระยะเริ่มแรก (คือระยะที่ 1 – 2) อาจรักษาด้วยการผ่าตัดเพียงอย่างเดียว แต่ถ้ามะเร็งลุกลามทะลุถึงชั้นเนื้อเยื่อที่หุ้มรอบลำไส้ใหญ่ (Serosa Layer) หรือลุกลามเข้าสู่ต่อมน้ำเหลืองในอุ้งเชิงกรานก็จำเป็นต้องใช้การรักษาแบบผสมผสาน ทั้งการผ่าตัด การฉายรังสี และการให้เคมีบำบัด สำหรับการรักษาโรคมะเร็งด้วยรังสีในอดีต การฉายรังสีมักจะตามหลังการผ่าตัด แต่ในปัจจุบันมีข้อมูลทางการแพทย์ที่บ่งชี้ว่า การฉายรังสีรักษาร่วมกับเคมีบำบัดก่อนการผ่าตัดจะช่วยลดขนาดของก้อนและลดระยะของรอยโรค ทำให้เพิ่มโอกาสในการผ่าตัดเอาก้อนมะเร็งออกได้หมด และเพิ่มโอกาสในการผ่าตัดแบบเก็บกล้ามเนื้อหูรูดได้มากขึ้น โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีรอยโรคอยู่ใกล้กับหูรูดของทวารหนัก นอกจากนี้การเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ต่อกระเพาะปัสสาวะและลำไส้เล็กในอุ้งเชิงกรานก็ลดลง โอกาสเกิดการกำเริบของโรคในช่องเชิงกรานน้อยลง 

เทคนิคการฉายรังสีในปัจจุบันได้พัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีการใช้เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan) คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI Scan) และ / หรือเพทซีทีสแกน (PET/CT Scan) มาช่วยในการกำหนดขอบเขตของการรักษาด้วยรังสี ใช้เพื่อการคำนวนและการวางแผนการรักษาทางรังสี จากเดิมที่การฉายรังสีเป็นแบบสองมิติ ซึ่งมีผลกระทบต่ออวัยวะภายใน เช่น กระเพาะปัสสาวะ  ลำไส้เล็ก และไขกระดูก ปัจจุบันสามารถวางแผนการฉายรังสีสามมิติรูปแบบต่าง ๆ เช่น การฉายรังสีสามมิติแบบปรับความเข้มรังสี (IMRT) การฉายรังสีปรับความเข้มเชิงปริมาตรแบบหมุนรอบตัว (VMAT) ร่วมกับการใช้ภาพนำวิถี (IGRT) ในการฉายรังสี ทำให้รักษาได้อย่างชัดเจน สะดวก และรวดเร็ว ลดภาวะแทรกซ้อนทั้งในระยะเฉียบพลันและในระยะยาวต่ออวัยวะในช่องเชิงกราน เพิ่มคุณภาพชีวิตให้กับผู้ป่วยได้มากขึ้น

หากสังเกตเห็นเลือดออกจากทวารหนักควรตื่นตัวและเข้ารับการตรวจอย่างละเอียด เพื่อให้ได้การวินิจฉัยที่ถูกต้อง ทั้งนี้หากพบว่าเป็นมะเร็งจะได้ทำการรักษาทันทีเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีในระยะยาว

ทำยังไงให้หยุดถ่ายเป็นเลือด

การป้องกันอาการถ่ายเป็นเลือด ดื่มน้ำสะอาดปริมาณมาก ๆ ฝึกสุขนิสัยในการขับถ่าย ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพราะแอลกอฮอล์อาจทำปฏิกิริยากับเนื้อเยื่ออวัยวะภายในระบบทางเดินอาหาร เสี่ยงต่อการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร และอาจลดสมรรถภาพในการแข็งตัวของเลือด

ถ่ายเป็นเลือดอันตรายไหม

การถ่ายเป็นเลือดสดหรือมีลิ่มเลือดไหลออกมาพร้อมกับอุจจาระ แต่ไม่มีอาการปวดแสบทวารหนักหรือคลำได้ก้อนบริเวณทวารหนัก อาการลักษณะนี้เป็นอาการบ่งชี้ว่าอาจมีเลือดออกในลำไส้ใหญ่ หากมีเลือดไหลออกมาเล็กน้อยและหยุดไหลได้เอง สามารถรอดูอาการและมารับการตรวจภายหลังได้ แต่หากมีเลือดไหลออกมากควรรีบมารับการตรวจและรักษาโดยเร็วที่สุด

เป็นริดสีดวงถ่ายเป็นเลือดอันตรายไหม

หากขับถ่ายแล้วมีเลือดออก หลายคนมักคิดว่าเป็นโรคริดสีดวงทวาร ไม่ทันคาดคิดว่าอาจเป็นสัญญาณเตือนของเนื้องอกหรือโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย ทั้งที่บางอาการอาจมีความคล้ายคลึงกัน ดังนั้นควรหมั่นสังเกตและไม่ควรชะล่าใจในการเข้ารับการตรวจวินิจฉัยกับแพทย์เพื่อทำการรักษาได้ถูกวิธีก่อนสายเกินแก้